การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2567
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยนิเทศศาสตร์

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) แนวทางการบริหารหลักสูตรและการพัฒนานักศึกษามีความชัดเจนเป็นรูปธรม ระดับวิทยาลัย และระดับหลักสูตร มีแผนในการบริหารหลักสูตร ทั้งในด้านวิชาการ และการพัฒนานักศึกษาผ่านกิจกรรมและโครงการที่อยู่ภายใต้แผนปฏิบัติการประจำปี กิจกรรมและโครงการที่อยู่ภายใต้แผนปฏิบัติการประจำปีทั้งหมด คณบดี รองคณบดีทุกผ่าย ผู้อำนวยการหลักสูตร และหัวหน้าหลักสูตร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ต้องพิจารณาและแก้ปัญหาเรื่องอัตราส่วนของจำนวนนักศึกษาเต็มเวลา : จำนวนอาจารย์ประจำ ทางวิทยาลัยนิเทศศาสตร์มีการพิจารณาเรื่องอัตราส่วนของจำนวนนักศึกษาเต็มเวลา : จำนวนอาจารย์ประจำ โดยมีการเพิ่มอัตราจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร เพื่อให้เป็นไปตามการคสามเหมาะสมของจำนวนนักศึกษา คณบดี และรองคณบดีฝ่ายบริหาร

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) แนวทางเสริม หากมีการเพิ่มเติมระบบสารสนเทศเกี่ยวกับการบริหารงานวิจัยของวิทยาลัยขึ้นเอง เพิ่มเติมจากของมหาวิทยาลัยก็จะทำให้ระบบการบริหารงานวิจัยมีความเข้มแข็งขึ้นอีก ดำเนินการเก็บข้อมูลการวิจัยของบุคลากร สร้างไฟล์เก็บข้อมูลการวิจัยของคณาจารย์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร
2) มีความสัมพันธ์ (connection) ที่ดีมากกับหน่วยภายนอกทั้งในเรื่องของแหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัยและสร้างสรรค์และพื้นที่ในการแสดงผลงานสร้างสรรค์ - ดำเนินกิจกรรมระหว่างเครือข่ายนิเทศศาสตร์ต่อไป คณบดีและรองคณบดี

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) -

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) มีโครงการวิชาการแบบมีรายได้ที่มีมูลค่าสูง       วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มีการสนับสนุนให้คณาจารย์มีการยื่นขอทุนสนับสนุนกับหน่วยงานภายนอก เพื่อดำเนินการโครงการบริการวิชาการที่มีรายได้ ทำให้มีการพัฒนาศักยภาพของอาจารย์ และนักศึกษา ตลอดจนการสร้างภาคีเครือข่ายในการบริการวิชาการร่วมกับกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน คณบดี และรองคณบดีฝ่ายวิชาการ
2) มีโครงการหลากหลาย วิทยาลัยนิเทศศาสตร มีการดำเนินโครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปี เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ตลอดจนการพัฒนานนักศึกษา โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปี คณบดี รองคณบดีทุกฝ่าย ผู้อำนวยการหลักสูตร และหัวหน้าหลักสูตร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) -

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) วิทยาลัยฯ สามารถสร้างสรรค์ภาพยนต์หนังสั้นจริยธรรมได้รับรางวัลประดับประเทศ ให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง - คณบดี รองคณบดี หัวหน้าหลักสูตรฯ
2) วิทยาลัยฯ มีโครงการที่หลากหลาย ให้ความสำคัญต่อการดำเนินงานกิจกรรมโครงการต่าง ๆ ที่เป็นการส่งเสริมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา และหัวหน้าหลักสูตรฯ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) N/A

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) วิทยาลัยนิเทศศาสตร์มีการบริหารจัดการภายในคณะอย่างดี โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการเรื่องบุคลากร งบประมาณ สิ่งอำนวยความสะดวก (วัสดุอุปกรณ์/สถานที่) โดยอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของผู้บริหารคณะ (กรรมการบริหารวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ ประกอบด้วย คณบดี รองคณบดี หัวหน้าหลักสูตร และเลขานุการ) โดยมุ่งเน้นการใช้หลักธรรมาภิบาลเพื่อให้วิทยาลัยนิเทศศาสตร์สามารถดำเนินงานให้บรรลุตามพันธกิจที่ได้ตั้งไว้ได้ ในปีการศึกษา 2567 วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ได้มีการวางแผนและการบริหารจัดการ ทั้งในเรื่องบุคลากร งบประมาณ สิ่งอำนวยความสะดวก (วัสดุอุปกรณ์/สถานที่) ให้เป็นไปตามงบประมาณในการสนับสนุน และความพึงพอใจของทุกฝ่าย คณบดี และคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยนิเทศศาสตร์
2) วิทยาลัยนิเทศศาสตร์สามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีอัตราร้อยละการได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษาภายใน 1 ปี ในปีการศึกษา 2566  เท่ากับร้อยละ 91.87 และมีผล การประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตตามผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรอยู่ในระดับ 4.56  คณาจารย์มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารทั้งในฐานสากลและฐาน TCI  รวม 27 ฉบับ คิดเป็นอัตราร้อยละ 39.13 ของจำนวนอาจารย์ประจำ และมีทุนวิจัยภายในและภายนอกรวมต่ออาจารย์ประจำ 22,773.19 บาท  และผลวิเคราะห์ความคุ้มทุนหลักสูตรมีความคุ้มทุนทั้ง 14 หลักสูตร สรุปได้ว่าวิทยาลัยนิเทศศาสตร์สามารถบริหารหลักสูตรได้อย่างคุ้มค่ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และมีศักยภาพในการแข่งขัน วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ได้มีการดำเนินการตามแผนการพัฒนาและส่งเสริมอาจารย์ การพัฒนานักศึกษา การส่งเสริมและพัฒนาบัณฑิต ในการบริหารจัดการหลักสูตรอย่างเป็นระบบ และมีการประเมินผลอย่างเป็นรูปธรรม และสอดคล้องได้อย่างคุ้มค่ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และมีศักยภาพในการแข่งขัน คณบดี คณะกรรมการบริหารวิทยาลัย และคณาจารย์ บุคลากรวิทยาลัยนิเทศศาสตร์
3) วิทยาลัยนิเทศศาสตร์มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจของคณะและมหาวิทยาลัย มีการดำเนินการตามระบบที่กำหนด โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรสายสนับสนุนทุกคนต้องเกิดความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งในระดับสาขาวิชาและระดับวิทยาลัย ส่งผลให้มีคะแนนประเมินหลักสูตรอยู่ในระดับที่ดีที่คะแนนเฉลี่ย 3.69 จาก 14 หลักสูตร วิทยาลัยนิเทศศาสตร์มีการดำเนินการตามระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจของคณะและมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรสายสนับสนุนทุกคน คณบดี คณะกรรมการบริหารวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ และบุคลากรวิทยาลัยนิเทศศาสตร์

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ควรพิจารณาการปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัย ที่ปรับตามแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต ฉบับปรับปรุง ปี พ.ศ.2567 โดยทบทวนการวิเคราะห์ SWOT และทบทวนกิจกรรม/โครงการที่สอดคล้องกับ SWOT Analysis และ key result ของแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต ฉบับปรับปรุง ปี พ.ศ.2567 วิทยาลัยนิเทศศาสตร์มีการดำเนินการพิจารณาการปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัย ที่ปรับตามแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต ฉบับปรับปรุง ปี พ.ศ.2567 และทบทวนการวิเคราะห์ SWOT ในปีการศึกษา2567 ใหม่ พร้อมทั้งทบทวนกิจกรรม/โครงการที่สอดคล้องกับ SWOT Analysis และ key result ของแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต ฉบับปรับปรุง ปี พ.ศ.2567 คณบดี คณะกรรมการบริหารวิทยาลัยนิเทศศาสตร์
2) วิทยาลัยนิเทศศาสตร์มีการรายงานความเสี่ยงครอบคลุมทุกด้าน แต่ควรเสริมการรายงานแนวโน้มของการลดค่าความเสี่ยงจากการดำเนินงานตามมาตรการลดความเสี่ยง วิทยาลัยนิเทศศาสตร์มีการรายงานความเสี่ยงครอบคลุมทุกด้านเป็นไปตามมหาวิทยาลัย และจัดทำการรายงานแนวโน้มของการลดค่าความเสี่ยงจากการดำเนินงานตามมาตรการลดความเสี่ยงในแต่ปีการศึกษา เพื่อให้เห็นผลของการปรับปรุงพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม คณบดี คณะกรรมการบริหารวิทยาลัยนิเทศศาสตร์
3) การรายงานการดำเนินงานภายใต้หลักธรรมาภิบาลต่างๆ ควรมีการประเมินผลการบริหารงานของผู้บริหารคณะโดยคณาจารย์และบุคลากรทั้งคณะ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์มีรายงานการจัดการประเมินผลการบริหารงานของผู้บริหารคณะโดยคณาจารย์และบุคลากรทั้งคณะภายใต้หลักธรรมาภิบาลต่างๆ ในทุกปี คณบดี คณะกรรมการบริหารวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ และบุคลากรวิทยาลัยนิเทศศาสตร์