การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยเภสัชศาสตร์

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม และสาขาเภสัชกรรมอุตสาหการ ได้รับการรับรองหลักสูตรและปริญญาตามกระบวนการรับรองปริญญาทางเภสัชศาสตร์จากสภาเภสัชกรรม ถือว่าเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานของหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ.2558 ส่วนหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ได้แก่หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ และปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ ได้รับการประเมินคุณภาพการศึกษาเป็นประจำทุกปี และมีคะแนนจากการประเมิน ในระดับดีและดีมาก ทั้งสองหลักสูตร อย่างต่อเนื่อง สะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษาและอาจารย์ที่มีคุณภาพทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี -หลักสูตรปริญญาตรี เน้นการพัฒนาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิต ตามเกณฑ์สภาวิชาชีพเภสัชกรรม -หลักสูตรบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท และปริญญาเอก) ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์หลักสูตรต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นการเรียนต่อระดับบัณฑิตศึกษา ส่งเสริมทุนวิจัยให้แก่อาจารย์ประจำหลักสูตร เพื่อดึงดูดผู้สมัครเข้าเรียน -การปรับปรุงห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเภสัชกรรม วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต -โครงการสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา -โครงการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา หัวหน้าหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต และ ผู้อำนวยการหลักสูตรบัณฑิตศึกษา
2) วิทยาลัยเภสัชศาสตร์มีอาจารย์ที่มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกจำนวนมาก ซึ่งเพียงพอต่อปริมาณนักศึกษาที่คงอยู่ในหลักสูตรฯ และวิทยาลัยได้ส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ให้มีความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง - - -
3) วิทยาลัยเภสัชศาสตร์มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ได้แก่ครุภัณฑ์พื้นฐานสำหรับการเรียน มีสภาพใช้งานได้ดีและมีจำนวนเพียงพอสำหรับการเรียนการสอนและการทำวิจัยของทั้งอาจารย์และนักศึกษา นอกจากนี้ยังมีโครงการต่างๆ ที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของนักศึกษา ทั้งในและนอกห้องเรียน ที่เป็นการพัฒนานักศึกษาได้ครบถ้วนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาทั้ง 5 ด้าน จัดหา สร้างสรรค์ ทรัพยากร ที่สนับสนุนการเรียนรู้ของนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับการประเมินเพื่อรับรองสถาบันการผลิตเภสัชกร และหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิตจากคณะกรรมการสภาวิชาชีพเภสัชกรรม -โครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตนักศึกษาวิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต -การปรับปรุงห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเภสัชกรรม วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต -โครงการจัดซื้อ วัสดุ อุปกรณ์ และครุภัณฑ์ ของศูนย์วิจัยและพัฒนายาและผลิตภัณฑ์สมุนไพร (ซ่อมแซม บำรุงรักษา) -โครงการจัดตั้งห้องปฏิบัติการด้านเภสัชกรรมอุตสาหการสำหรับนักศึกษาฝึกงาน ณ สถานที่ผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรซันเฮิร์บ ไทย ไชนีส แมนูแฟคเจอริ่ง ภายใต้การกำกับดูแลของวิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต -รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย -ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาสมุนไพร -ผู้จัดการโรงงานผลิตภัณฑ์สมุนไพรซันเฮิร์บ ไทย ไชนีส แมนูแฟคเจอริ่ง

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ควรสนับสนุนและส่งเสริมการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ประจำให้มีจำนวนมากขึ้น เพื่อสนับสนุนคุณภาพของอาจารย์ให้เพิ่มสูงขึ้น -วิทยาลัยส่งเสริมการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ และพัฒนาให้มีตำแหน่งที่สูงขึ้น โดยส่งเสริมและผลักดันผ่านที่ประชุมคณะกรรมการวิชาการ และคณะกรรมการประจำวิทยาลัยอย่างสม่ำเสมอ และยังดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการจัดทำแผนพัฒนาตนเอง (IDP) ที่กำหนดเรื่องการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ ตามนโยบายของมหาวิทยาลัย เพื่อให้อาจารย์ประจำ สามารถบรรลุเป้าหมายของตนเอง และส่งเสริมให้วิทยาลัยมีสัดส่วนอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง -วิทยาลัยเป็นกองบรรณาธิการวารสารวิชาการ IJHS ที่เผยแพร่บทความวิจัย ในฐาน TCI (กลุ่มที่ 2) ซึ่งอาจารย์ผู้เผยแพร่บทความวิจัย สามารถนำไปใช้ยื่นขอดำรงตำแหน่งทางวิชาการได้ ซึ่งในปีการศึกษา 2566 ได้นำฐานข้อมูลของวารสาร ให้อยู่ในฐานข้อมูลของ ThaiJO เพื่อเตรียมพัฒนาเข้าสู่ระบบของ Scopus ต่อไป - พัฒนาการเข้าถึงวารสาร Interprofessional Journal of Health Sciences ผ่านระบบ ThaiJO - เผยแพร่บทความทางวิชาการเพื่อการศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ -รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย -บรรณาธิการวารสาร IJHS

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) วิทยาลัยเภสัชศาสตร์มีระบบการส่งเสริมงานวิจัยของอาจารย์และนักวิจัยที่มีประสิทธิภาพอย่างดียิ่งจนเห็นผลงานเป็นที่ประจักษ์ทั้งทางด้านทุนวิจัยและผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ จัดทำฐานข้อมูลงานวิจัย และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ของสังคม -โครงการประชาสัมพันธ์วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต -รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย -ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและสื่อสารองค์กร
2) วิทยาลัยเภสัชศาสตร์มีทุนวิจัยเป็นจำนวนมากทั้งทุนวิจัยภายในและภายนอกสถาบันโดยเฉพาะได้รับทุนวิจัยภายนอกได้รับเป็นจำนวนมาก และมีผลทำให้มีการทำวิจัยที่มีประสิทธิภาพ สร้างความสัมพันธ์ กับหน่วยงานวิจัยระดับชาติ และสร้างกิจกรรมด้านวิจัยร่วมกัน (collaboration) การจัดตั้งศูนย์วิจัยที่เป็นเลิศในด้านต่างๆ เป็น research unit ใหม่ๆ ในวิทยาลัยเภสัชศาสตร์ -รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย -ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและสื่อสารองค์กร
3) วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ที่มีการส่งเสริมงานวิจัยอย่างต่อเนื่องจนมีผลงานวิจัยตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับนานาชาติจำนวนมากและต่อเนื่องทุกปี -ส่งเสริมศักยภาพอาจารย์นักวิจัย โดยให้อาจารย์ที่มีศักยภาพในการจัดทำบทความวิจัยระดับนานาชาติ รวมกลุ่มกับอาจารย์ที่กำลังพัฒนาตนเอง เพื่อสร้างงานวิจัยร่วมกัน และสามารถตีพิมพ์บทความวิจัยร่วมกัน -ส่งเสริมงานวิจัย collaboration กับนักวิจัยต่างสถาบัน และองค์กรภายนอก -โครงการประชุมวิชาการเภสัชศาสตรศึกษาแห่งชาติ ประจำปี 2567 Thai Pharmacy Education National Conference 2024 ภายใต้หัวข้อ Challenge of Pharmacy Education in The Next Decade ในวันที่ 6 – 8 มีนาคม พ.ศ. 2567 -รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย -ผู้อำนวยการฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ วิทยาลัยเภสัชศาสตร์

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ผลงานวิจัยที่เป็นผลิตภัณฑ์และสามารถจดทะเบียนอนุสิทธิบัตรถ้าพัฒนาจนเป็นสิทธิบัตรจะเป็นการเพิ่มคุณค่างานวิจัยให้ดียิ่งขึ้น ส่งเสริมการจดทะเบียน ลิขสิทธิ์ทางปัญญา ในผลงานวิจัย อย่างต่อเนื่อง โครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานส่วนกลาง (ทรัพย์สินทางปัญญา) ของมหาวิทยาลัยรังสิต ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย และอาจารย์นักวิจัย สังกัดวิทยาลัยเภสัชศาสตร์

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) - - - -

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หากโครงการบริการวิชาการสามารถบูรณาการกับการเรียนการสอนหรือการวิจัย และเกิดผลลัพธ์เป็นรูปธรรมได้ จะช่วยให้งานบริการวิชาการเกิดประโยชน์กับผู้ที่เกี่ยวข้องมากยิ่งขึ้น การนำโครงการบริการวิชาการ เข้าสู่กระบวนการเรียนการสอน และ การดำเนินการวิจัย ในปีการศึกษา 2566 โครงการสัมมนาวิชาการ ของศูนย์ความเป็นเลิศทางเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำ วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ -ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและสื่อสารองค์กร

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) วิทยาลัยเภสัชศาสตร์มีการกำหนดตำแหน่งและแต่งตั้งผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและสื่อสารองค์กร เพื่อร่วมวางแผนการดำเนินโครงการ/กิจกรรม กับรองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา ทำให้การดำเนินงานของวิทยาลัย ทั้งด้านการจัดกิจกรรม การสื่อสารเพื่อประสานงานความร่วมมือ และการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดี - - -
2) วิทยาลัยให้ความสำคัญที่จะใช้กิจกรรมทางด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ให้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการหล่อหลอมขัดเกลาจิตใจนักศึกษาให้มีจิตใจที่เข้มแข็ง และเป็นผู้อ่อนโยน เข้าใจสังคมและสิ่งรอบข้างได้ดี มีทัศนคติในการดำรงชีวิตที่ดี รู้จักการเสียสละ ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพบัณฑิต -ส่งเสริมกิจกรรมทางศาสนา โดยดำเนินการจัดกิจกรรมร่วมกับ collaboration อย่างต่อเนื่อง -โครงการ ธมฺมจารี สุขํ เสติ ผู้ประพฤติธรรม อยู่เป็นสุข -ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและสื่อสารองค์กร
3) วิทยาลัยได้สร้างเครือข่ายการดำเนินกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับองค์กรศาสนาระดับชาติ เช่น วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร โดยตกลงจัดทำบันทึกความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อเป้าหมายในการสร้างกิจกรรมสืบสานพระพุทธศาสนา ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างยั่งยืน ซึ่งในปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยสามารถผนวกกิจกรรมการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา บูรณาการเข้าสู่การเรียนการสอนในหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิตได้สำเร็จ -ส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน สม่ำเสมอ ตลอดปีการศึกษา ทั้งการดำเนินการจัดกิจกรรมที่วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ และการดำเนินกิจกรรมที่วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร -โครงการเรียนรู้ เข้าใจความเป็นไทยในยุคปัจจุบัน วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต -โครงการ ธมฺมจารี สุขํ เสติ ผู้ประพฤติธรรม อยู่เป็นสุข -ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและสื่อสารองค์กร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) วิทยาลัยควรดำเนินการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้เทคโนโลยีเกี่ยวข้องกับการทำ content กิจกรรมเพื่อเผยแพร่ผ่าน social media เพื่อเพิ่มการรับรู้ต่อสาธารณชน ให้มากขึ้น -ส่งเสริมการจัดทำ content กับ RSU Wisdom Media -โครงการประชาสัมพันธ์วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต -ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและสื่อสารองค์กร

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ผลการประเมินคุณภาพในทุกๆ องค์ประกอบ อยู่ในระดับดีมาก แสดงให้เห็นการบริหารจัดการที่ดีของทางวิทยาลัย -การนำข้อมูล ปัญหา อุปสรรค และผลการดำเนินการ เข้าสู่การหารือในที่ประชุมคณะกรรมการประจำวิทยาลัย ซึ่งมีอาจารย์ผู้บริหารจากฝ่ายต่างๆ ร่วมพิจารณา อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ตลอดปีการศึกษา ทำให้ประสิทธิภาพการดำเนินงาน กิจกรรมต่างๆของวิทยาลัย เป็นไปอย่างเรียบร้อย บรรลุเป้าหมายตัวชี้วัดความสำเร็จของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย -การประชุมคณะกรรมการประจำวิทยาลัยเภสัชศาสตร์ ประจำทุกเดือน -รองคณบดีฝ่ายบริหาร -สำนักงานเลขานุการคณบดี

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) - - - -