การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2567
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยเภสัชศาสตร์

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) วิทยาลัยเภสัชศาสตร์มีหลักสูตรระดับปริญญาตรีทั้ง 2 สาขาผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานและผ่านการรับรองหลักสูตรโดยสภาเภสัชกรรม มีคณะอนุกรรมการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรทำงานร่วมกับสภาเภสัชกรรม โครงการเตรียมความพร้อมเพื่อการตรวจประเมินรับรองสถาบันผลิตบัณฑิตทางเภสัชศาสตร์ โดย สภาเภสัชกรรม หัวหน้าหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต
2) วิทยาลัยเภสัชศาสตร์มีหลักสูตรระดับมหาบัณฑิตและปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ได้รับการประเมินคุณภาพการศึกษาเป็นประจำทุกปี โดยมีคะแนนผลการประเมินในระดับดีและดีมาก พัฒนาศักยภาพนักศึกษา ให้มีคุณภาพสูง เพื่อให้หลักสูตรสามารถแข่งขันกับสถาบันอื่นที่จัดการเรียนการสอนบัณฑิตศึกษาได้ โครงการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ผู้อำนวยการหลักสูตรบัณฑิตศึกษา
3) วิทยาลัยเภสัชศาสตร์มีอาจารย์ที่มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกจำนวนมาก ซึ่งเพียงพอต่อจำนวนนักศึกษาที่มีอยู่ในหลักสูตร - - -
4) วิทยาลัยเภสัชศาสตร์มีการสนับสนุนให้อาจารย์ก้าวหน้าทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง พัฒนาและส่งเสริมการทำวิจัยและตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัย - รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย
5) วิทยาลัยเภสัชศาสตร์มีการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาได้ครบถ้วนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ทั้ง 5 ด้าน โดยทำเป็นประจำทุกปีการศึกษา วิทยาลัยพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้ง skill ของนักศึกษาและ facilities ของวิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอน โครงการพัฒนา Soft skills วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ฝ่ายวิชาการ
6) วิทยาลัยเภสัชศาสตร์มีการออกแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการศึกษาแบบเน้นผลลัพธ์ในวิชาทดสอบพิษวิทยาได้รับรางวัลชมเชยในการประกวดความรู้ KM ปีการศึกษา 2566 มีการนำเอาแนวทางไปจัดการบริหารองค์ความรู้ ในการเรียนการสอนวิชาอื่นๆต่อไป - คณะกรรมการจัดการองค์ความรู้ (KM)

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ควรสนับสนุนส่งเสริมให้อาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งวิชาการเพิ่มมากขึ้น วิทยาลัยดำเนินการส่งเสริมให้อาจารย์ทำผลงานวิชาการ เพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง ผ่านที่ประชุมคณะกรรมการวิชาการ โครงการเผยแพร่บทความทางวิชาการเพื่อการศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) มีระบบในการส่งเสริมการทำงานวิจัยที่ดีมาก ควรส่งเสริมให้มีการถ่ายทอดประสบการณ์การทำวิจัย การขอเงินทุนวิจัยให้กับอาจารย์ที่ยังไม่มีงานวิจัยได้เรียนรู้ วิทยาลัยดำเนินงานสนับสนุนให้อาจารย์รวมกลุ่มเพื่อดำเนินงานวิจัย โดยตัวอย่างที่ประสบผลสำเร็จคือกลุ่มนักวิจัยภายในศูนย์วิจัยและพัฒนาสมุนไพร ที่สามารถทำงานผลงานที่ดีเยี่ยมอย่างต่อเนื่อง - ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยต่างๆภายในวิทยาลัย
2) มีเงินทุนวิจัยเป็นจำนวนมาก ทั้งทุนวิจัยจากภายในสถาบัน และ ทุนวิจัยภายนอกสถาบัน จึงควรผลักดันให้เพิ่มทุนวิจัยจากภายนอกมากกว่าเดิมเพราะจะมีจำนวนเงินทุนวิจัย ที่มากกว่าและมีเงินสำหรับนักวิจัยด้วย วิทยาลัยพยายามส่งเสริมให้อาจารย์ขอทุนวิจัยภายนอกให้มากขึ้น โดยนำเข้ามาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาความดีความชอบประจำปี - คณะกรรมการบริหารวิทยาลัย
3) มีผลงานวิจัยตีพิมพ์เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะทางด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ จึงควรส่งเสริมให้ทำผลงานด้านนวัตกรรม และการจดสิทธิบัตร มีการส่งเสริมการทำวิจัยมุ่งเน้นการสร้างผลิตภัณฑ์มากขึ้น โดยร่วมมือกับหน่วยงานภาคเอกชนที่เข้าร่วมพัฒนานวัตกรรม การพัฒนาเภสัชภัณฑ์จากงานวิจัยร่วมกับบริษัทนารีฟาร์มา คณบดีและผู้อำนวยการศูนย์วิจัย และผู้จัดการโรงงานผลิตสมุนไพรและอาหารเสริม Sun Herb

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) - - - -

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) มีโครงการบริการวิชาการที่มีประสิทธิภาพ และเป็นงานบริการวิชาการที่มีคุณภาพทางวิชาการสูง ถ้าเพิ่มการบริการวิชาการสู่ชุมชนให้มากขึ้นจะทำให้เป็นการบริการวิชาการที่สมบูรณ์ วิทยาลัยดำเนินการส่งเสริมงานบริการวิชาการสู่ชุมชน โดยวางแผนให้ร้านยาคุณภาพเป็นผู้ดำเนินการจัดทำโครงการและดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โครงการพัฒนารูปแบบการให้บริการทางเภสัชกรรมของสถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้จัดการร้านยา วิทยาลัยเภสัชศาสตร์

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) - - - -

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) มีบุคลากรผู้รับผิดชอบดำเนินการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมที่มีศักยภาพ - - -
2) มีการกำหนดตำแหน่งและแต่งตั้งผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและสื่อสารองค์กรในโครงสร้างการบริหารของวิทยาลัย เพื่อร่วมสนับสนุนการดำเนินโครงการ/กิจกรรม กับรองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา แต่งตั้งคณะทำงานกิจกรรมต่างๆ ทำงานภายใต้การกำกับดูแลของผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและสื่อสารองค์กร เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น - ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและสื่อสารองค์กร
3) มีบุคลากรสายสนับสนุนที่มีศักยภาพ ซึ่งทำงานได้เก่งรอบด้าน (all - rounder) สามารถบริหารดำเนินการ และทำงานสนับสนุนการจัดกิจกรรมต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมศักยภาพของบุคลากรสายสนับสนุน โดยให้พัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอและเข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานกับบุคลากรสายสนับสนุนคณะเภสัชศาสตร์ต่างๆทั่วประเทศ เพื่อนำข้อดีข้อเสียของการทำงานจากที่ได้ไปศึกษาดูงาน มาพิจารณาปรับปรุงการทำงานของตนเอง โครงการประชุมวิชาการศูนย์ประสานงานเครือข่ายบุคลากรสายสนับสนุน คณะเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย (ศ.ค.ภ.ท.) รองคณบดีฝ่ายบริหาร
4) วิทยาลัยให้ความสำคัญที่จะใช้กิจกรรมทางด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ให้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการหล่อหลอมขัดเกลาจิตใจนักศึกษาให้มีจิตใจที่เข้มแข็ง มีเจตคติ และทัศนคติที่ดี พัฒนากิจกรรมที่ collab ร่วมกับวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาศรีมาราม ซึ่งเป็นหน่วยงานที่วิทยาลัยมีการดำเนินการจัดทำ MoU และพัฒนากิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนาร่วมกัน โดยวางแผนดำเนินการ content online เพื่อเพิ่มการรับรู้ให้แก่นักศึกษาได้สะดวก และเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น โครงการ ธมฺมจารี สุขํ เสติ ผู้ประพฤติธรรม อยู่เป็นสุข และโครงการเรียนรู้ เข้าใจความเป็นไทยในยุคปัจจุบัน วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและสื่อสารองค์กร
5) วิทยาลัยฯ มีแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินกิจกรรมพิธีทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง เจริญพระพุทธมนต์ และปฏิบัติธรรม โดยความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยเภสัชศาสตร์และวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาศรีมาราม ได้รับรางวัลชมเชยในการประกาศรางวัลการจัดการความรู้ (KM) ปีการศึกษา 2566 พัฒนากิจกรรมอื่นๆสำหรับการทำนุบำรุงฯ เพื่อนำมาบริหารจัดการองค์ความรู้ (KM) ต่อไป - คณะกรรมการจัดการองค์ความรู้ (KM)

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกอย่างต่อเนื่อง เช่น content creator หรือ influencer ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการสร้างสรรค์ และเผยแพร่ content กิจกรรมต่างๆ เพื่อเพิ่ม impact ต่อการรับรู้ของผู้ที่สนใจและสาธารณชน ให้เผยแพร่ไปในวงกว้างมากขึ้น วิทยาลัยมีแนวทางการ collab กับผู้สร้าง content มืออาชีพ เพื่อผลิต content ที่น่าสนใจเผยแพร่ลงสื่อ social ทางการของวิทยาลัย โดยในปีการศึกษา 2567 จะมีกิจกรรม Clear ธรรม กับ Pharm. D ที่มีการถ่ายทำแบบซีรีย์ ทั้งหมด 10 ตอน ซึ่งกำลังตัดต่อและจะออกเผยแพร่ในปีการศึกษานี้ โครงการประชาสัมพันธ์วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและสื่อสารองค์กร

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) วิทยาลัยเภสัชศาสตร์มีหน่วยงานที่หลากหลาย เช่น ศูนย์วิจัยฯ และสถานประกอบการเชิงพาณิชย์ ที่ส่งเสริมการดำเนินการของวิทยาลัย ทั้งด้านการวิจัย การเชื่อมโยงองค์ความรู้จากงานวิจัย/งานบริการวิชาการ สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การบูรณาการการเรียนการสอน รวมถึงการพัฒนานักศึกษาและอาจารย์ในองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเภสัชศาสตร์ วิทยาลัยดำเนินการจัดหาอาจารย์และบุคลากร เพื่อบรรจุแต่งตั้ง เข้าทำงาน รับผิดชอบขับเคลื่อนกิจกรรมของหน่วยงานสนับสนุนต่างๆของวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง - รองคณบดีฝ่ายบริหาร สำนักงบประมาณ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) - - - -