การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณะมีผลการบริหารจัดการหลักสูตรในระดับดี แสดงให้เห็นถึงกระบวนการบริหารจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ นำผลจากการบริหารหลักสูตรมาวิเคราะห์เพื่อจัดทำแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร ปี 2568 ดังนี้ 1. จัดให้มีการจัดสัมมนาและสอบถามผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 2. แต่งตั้งกรรมการพัฒนาหลักสูตรทั้งภายในและภายนอก รวมถึงอนุกรรมการการจัดทำหลักสูตร 3. จัดทำ PLO/YLO/CLO และโครงร่างหลักสูตร 4. แต่งตั้งผู้รับผิดชอบแต่ละกลุ่มวิชา จัดทำชื่อและคำอธิบายรายวิชา 5. ประชุมคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาเห็นชอบและกรรมการพัฒนาหลัักสูตรเพื่อพิจารณาอนุมัติ 5, แก้ไขตามคำแนะนำของกรรมการพัฒนาหลักสูตร ุ6. ส่งหลักสูตรตามลำดับขั้นเพื่อให้สภามหาวิทยาลัยอนุมัติ การประชุมบุคลากรวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณบดีวิทยาลัย
2) อาจารย์ประจำคณะมีคุณวุฒิและตำแหน่งวิชาการในระดับสูงแสดงให้เห็นถึงคุณภาพของอาจารย์ในเชิงวิชาการและงานวิจัยที่นำไปใช้ในการเรียนการสอนเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ปรับปรุงแผนการพัฒนอาจารย์ให้มีความชัดเจนและละเอียดมากขึ้น 1.แผนพัฒนาบุคลากร 2.คู่มือการพัฒนาและการทำงานของบุคลากร 3.การประชุมบุคลากรประจำเดือน 4.การสัมมนาวิทยาลัยประจำภาคการศึกษา 5.การประชุมสัมมนาบุคลากรประจำปีการศึกษา คณบดี/รองคณบดีฝ่ายบริหาร
3) คณะมีการจัดการบริการนักศึกษาอย่างครบถ้วนและมีการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของนักศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งถือเป็นแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการ พัฒนาแนวทางการสื่อสารกับนักศึกษาให้รอบด้านและนำเอาผลลัพธ์มาวิเคราะห์ผลอย่างละเอียดและรอบด้าน พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาและเพื่อการจัดการให้มีประสิทธิผลมากขึ้น พัฒนาแนวทางการสื่อสารกับนักศึกษาให้มีประสิทธิผลมากขึ้น การปฐมนิเทศนักศึกษาประจำปี ประจำห้องวิจัย จัดกระบวนการเรียนการสอนที่ให้ความสำคัญกับผู้เรียน นำผลการประเมินรายวิชาและประเมินความพึงพอใจมาวิเคราะห์เพื่อดำเนินการวางแผนแก้ไขปรับปรุง นำเอาข้อเสนอและข้อจำกัดมาทำแผนงานรายงานต่อมหาวิทยาลัยเพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไข อาจารย์ทุกท่าน/รองคณบดีทุกท่าน/คณบดี กรรมการวิทยาลัย

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณะมีการจัดโครงการและกิจกรรมที่เหมาะสมในการส่งเสริมคุณลักษณ์ของบัณฑิตครบทั้ง 5 ด้าน ควรมีการติดตามและแสดงผลการประเมินโครงการ/กิจกรรมให้ครบทุกกิจกรรม ปีการศึกษา2566คณะได้มีการปรับปรุงให้มีแบบฟอร์มการนำเสนอการติดตามและแสดงผลโครงการ/กิจกรรมที่สามารถสื่อสารให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบและเข้าใจเกี่ยวกับการจัดโครงการและกิจกรรมในการส่งเสริมคุณลักษณ์ของบัณฑิตครบทุกกิจกรรมทั้ง 5 ด้าน 1.ดำเนินการผ่านการประชุมบุคลากรทุกระดับในลักษณะ การประชุมประจำเดือน การประชุมสัมมนาประจำภาคการศึกษา การสัมมนาประจำปี การปรับปรุงคุณภาพการสื่อสารภายในองค์กร 2.ปรับปรุงพัฒนาแบบฟอร์มการขออนุมัติ/แบบฟอร์มการประเมินผมและแบบฟอร์มการสรุปผลการดำเนินโครงการที่มีความเหมาะสมกระชับและชัดเจนต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมากขึ้น อาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการ/รองคณบดีทุกท่าน /คณบดี
2)

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) มีระบบและกลไกในการบริหารจัดการการพัฒนางานวิจัยของอาจารย์และนักศึกษา - มีระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมงานวิจัย - มีห้องวิจัยและเครื่องมือที่ทันสมัย - มีความร่วมมือกับทั้งระดับชาติและนานาชาติทั้งของภาครัฐและเอกชนในการจัดประชุมวิชาการเพื่อเผยแพร่งานวิจัย - ส่งเสริมอาจารย์ในการพัฒนางานวิจัยอย่างต่อเนื่อง เพิ่มขนาดและคุณภาพของห้องวิจัยเพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักศึกษา 1.แผนการขออนุมัติเพื่อปรับปรุงห้องเสนอต่อมหาวิทยาลัย 2.แผนการปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัยและพัฒนา อาจารย์/นักวิจัยทุกท่าน/รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมฯ/คณบดี
2) คณะมีการส่งเสริมให้มีการขอทุนวิจัยโดยเฉพะทุนวิจัยจากภายนอกสถาบันซึ่งได้เป็นจำนวนมาก ส่งเสริมและหาแนวทางให้อาจารย์ขอทุนวิจัยจากภายนอกเพิ่มมากขึ้น 1.สร้างเครือข่ายการวิจัย 2.สร้างเครือข่ายกับแหล่งทุนวิจัยเพิ่มมากขึ้น 3.ประชุมสัมมนาบุคลากรในเรื่องการขอทุนวิจัยจากภายนอก คณบดี
3) อาจารย์ของวิทยาลัยได้มีการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการในทุกระดับทั้งระดับชาติและนานาชาติเป็นจำนวนมากและมีค่าน้ำหนักของผลงานสูง และที่มีความโดดเด่นคือคณาจารย์ได้รับการจดทะเบียนอนุสิทธิบัตรเป็นจำนวนมากแสดงถึงการสร้างผลงานหรือสิ่งประดิษฐ์จนเป็นที่ยอมรับ 1.เพิ่มคุณภาพและปริมาณของการตีพิมพ์งานวิจัยให้สูงขึ้น 2.เพิ่มการจัดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาให้ดีมากขึ้นทั้งคุณภาพและปริมาณ 1.กระตุ้นและส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับวารสารนานาติให้มากขึ้น 2.ใส่ข้อกำหนดเกี่ยวกับรายวิชาโครงงานฯของหลักสูตรในระดับปริญญาตรีในเรื่องการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา 3.กระตุ้นให้มหาวิทยาลัยมีแนวทางการรองรับผลงานทางด้านทรัพย์สินทางปัญญาเพิ่มมากขึ้น อาจารย์ทุกท่าน/รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรม/คณบดี

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) พัฒนางานอนุสิทธิบัตรให้ได้ถึงสิทธิบัตร 1.การจดทะเบียนอนุสิทธิบัตรใช้ระยะเวลานานาถึง5ปีจึงจะได้รับสิทธิบัตร 2.จากข้อ1 แต่น้ำหนักคะแนนของผลงานทางวิชาการในรูปของสิทธิบัตรยังมีค่าน้อยกว่าการตีพิมพ์ผลงานในวารสารระดับนานาชาติ 3.ในข้อเท็จจริงสิทธิบัตรกับอนุสิทธิบัตรมีผลในทางปฏิบัติไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ส่งเสริมการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาในรูปของสิทธิบัตรให้เพิ่มมากขึ้น ส่งเสริมการขอทุนวิจัยและการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาในรูปของสิทธิบัตรให้เพิ่มมากขึ้น คณบดี

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณะมีศักยภาพในการบริการวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนานักศึกษา สังคมและชุมชนภายนอก ทั้งแบบมีรายได้และให้เปล่าอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน อุปสรรค 1.ระบบบริหารจัดการงานบริการวิชาการในเชิงพาณิชย์ยังไม่เข้มแข็งมากพอ 2.ระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่องานบริการทางวิชาการยังไม่เหมาะสม 1.เพิ่มคุณภาพของงานบริการวิชาการในเชิงพาณิชย์ให้มากขึ้น 2.พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่องานบริการทางวิชาการให้มากขึ้น 1.กิจกรรมการพัฒนาปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่องานบริการทางวิชาการ 2.กิจกรรมการบูรณาการงานสอน งานวิจัยและงานบริหารวิชาการ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาฯ/ผู้จัดการศูนย์BIS

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ควรแสดงเอกสารอ้างอิงที่เป็นแผนการบริการวิชาการประจำปีที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จในระดับแผนและโครงการบริการวิชาการแก่สังคมที่ชัดเจน เพื่อเปรียบเทียบกับผลการดำเนินโครงการในข้อ 4 ว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่ 1.ขาดการสื่อสารให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกระดับเข้าใจเรื่องงานบริการวิชาการที่ดำเนินการ ปรับปรุงเรื่องแผนงาน การดำเนินงาน การวัดและประเมินผลและการสรุปรวมทั้งการายงานผลการดำเนินกิจกรรมการบริหารวิชาการให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและชัดเจนมากขึ้น จัดทำแบบฟอร์มการดำเนินการจัดงานบริหารวิชาการที่กระชับ ชัดเจน เพื่อการดำเนินงานในทุกขึ้นตอนของการจัดการรวมทั้งการสื่อสาร เพื่อจัดให้มี เอกสารอ้างอิงที่เป็นแผนการบริการวิชาการประจำปีที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จในระดับแผนและโครงการบริการวิชาการแก่สังคมที่ชัดเจน เพื่อเปรียบเทียบกับผลการดำเนินโครงการ ว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาฯ/ผู้จัดการศูนย์BIS

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์มีโครงการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ที่ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งด้านนสิ่งแวดล้อม และการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย พัฒนาโครงการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ที่ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งด้านนสิ่งแวดล้อม และการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น กิจกรรมบูรณาการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ที่ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม และการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาฯ/รองคณบดีฝ่ายบริหาร
2) อาจารย์บุคลากร นกัศึกษารวมถึงศิษยเ์ก่าในวิทยาลยัมีความสามคัคีให้ความร่วมมือและประสานงานใน การทำกิจกรรมอย่างเข้มแข็ง ปรับปรุงคุณภาพและปริมาณของความร่วมมือและการประสานงานของอาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และศิษยเ์ก่าในวิทยาลัยในเรื่องความร่วมมือและประสานงานใน การทำกิจกรรม 1.ปรับปรุงประสิทธิภาพของความเข้มแข็งของสมาคมศิษย์เก่าวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ 2.กิจกรรมวันคืนสู่่เหย้าชาวBMERSU 3.กิจกรรมค่ายวิศวกรรมชีวการแพทย์ม.รังสิตสัญจร 4.กิจกรรมเรียนรู้วิชาชีพกับพี่ๆฺBMERSU รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา/คณบดี

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) 1.โครงสร้างพื้นฐานของการงานพัฒนาด้านนี้มีข้อจำกัด/ขาดแคลน งบประมาณ/สถานที่ของการจัดกิจกรรมมีจำกัด 1.ควรเพิ่มงบประมาณในส่วนของกิจกรรมนักศึกษาให้เพิ่มมากขึ้น 2.ควรจัดให้มีสถานที่สำหรับที่ตั้งของสโมสรนักศึกษา/ชมรมนักศึกษา 1.กิจกรรมวิศวกรชีวการแพทย์สู่ชุมชน 2.กิจกรรมวันคืนสู่เหย้าชาวBMERSU 3.กิจกรรมวิศวกรรมชีวการแพทย์ม.รังสิตสัญจร รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา/ฝ่ายต่างประเทศ/คณบดี

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) มีการสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรทั้งสายงานวิชาการและงานสนับสนุน จนเกิดผลชัดเจน 1.ขาดโครงสร้างพื้นฐาน 2.ขาดงบประมาณ 3.ขาดแรงจูงใจเรื่องเงินเดือน 1.พัฒนาความพอเพียงและความพร้อมใช้ของโครงสร้างพื้นฐานด้านการเรียนการสอนในภาคปฏิบัติการ 2.พัฒนาศักยภาพบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน 1.การสัมมนาประจำปี 2.การประชุมประจำเดือน 3.การสัมมนาประจำภาคการศึกษา 4.การศึกษาดูงานทั้งในและต่่างประเทศ 5.มหาวิทยาลัยควรปรับฐานเงินเดือนของบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนให้มากขึ้นเพื่อสอดคล้องกับค่าครองชีพและภาวะเงินเฟ้อ คณบดี
2) มีโครงการตามแผนยุทธศาสตร์ 6 โครงการ ประกอบด้วย 36 กิจกรรม ซึ่งบรรลุผล และสร้างความพึงพอใจต่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมในระดับสูง เน้นการปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานในแง่คุณภาพให้ดีมากขึ้น 1.การปรับโครงการการบริหารภายใน 2.การพัฒนาบุคลากรเดิมให้สามารถปฏิบัตงานได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมภายนอก 2.การรับบุคลากรกรใหม่ คณบดี
3) มีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม สามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานของวิทยาลัยฯ ให้มีความโดดเด่น จัดทำแผนและดำเนินการตามแผนงานที่สอดคล้องกับโลกแห่งความเป็นจริงให้มีความชัดเจน เป็นรูปธรรม สามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานของวิทยาลัยฯให้สามารถแข่งขันได้ในระดับชาติและนานาชาติ ให้มีความโดดเด่นมากขึ้น 1.แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัยในระยะ5ปี 2.การจัดทำแผนปฏิบัติการโครงงานและการบริหารจีัดการการดำเนินการวัดและประเมินผลโครงการต่างๆที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ คณบดี/รองคณบดี/หัวหน้าหลักสูตร/ผอ.หลักสูตร/กรรมการวิทยาลัย

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) 1.ระบบโครงสร้างพื้นฐานทั้งในด้านการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการยังไม่เพียงพอและไม่เหมาะสมกับจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มมากขึ้น 2.ระบบและค่าตอบแทนของบุคลากรทั้งสายอาจารย์และเจ้าหน้าที่ อยู่ในสถานะที่ค่อนข้างยากลำบากมากขึ้นในการที่จะดึงดูดคนเก่งให้เข้ามาร่วมพัฒนา 1.ปรับปรุงและพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทั้งในด้านการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการให้เพียงพอและเหมาะสมกับจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มมากขึ้นและโลกที่เปลี่ยนไป 2.พิจารณาระบบและค่าตอบแทนของบุคลากรทั้งสายอาจารย์และเจ้าหน้าที่ ให้สามารถอยู่ในสถานะที่จะดึงดูดคนเก่งให้เข้ามาร่วมพัฒนาได้ นำเสนอแผนการปรับปรุงและพัฒนาสร้างพื้นฐานทั้งในด้านการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการให้เพียงพอและเหมาะสมกับจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มมากขึ้นและโลกที่เปลี่ยนไป คณบดี