การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2567
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
สถาบันการบิน

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ในการบริหารหลักสูตร และสถาบันฯ ควรจัดทำแผนพัฒนาตนเอง และ พัฒนาตำแน่งวิชาการ เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่หลักสูตร จัดทำแผนพัฒนาตนเอง อาจารย์ของสถาบันการบินจำนวน 7 คน มีตำแหน่งวิชาการ 3 คน ส่งขอตำแหน่ง ผศ. จำนวน 1 คน เตรียมขอตำแหน่งจำนวน 1 คน คงเหลืออาจารย์จำนวน 1 คน รองวิชาการฝ่ายวิชาการและเทคนิค
2) ควรสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่คล้ายคลึงกัน และสร้างสัมพันธ์ในการใช้อุปกรณ์ และบุคลากรร่วม ความร่วมมือของสถาบันการบินส่วนใหญ่ทำกับโรงเรียนการบิน ทำเป็น MOU ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งการเตรียมตัวก่อนไปเป็นนักบินฝึกหัด การร่วมมือกับโรงพยาบาลในการตรวจเวชศาสตร์การบินเพื่อการรับรองให้เป็นนักบินฝึกหัด รองคณบดีฝ่ายบริหาร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) การทำ MOU หน่วยงานที่คล้ายคลึงกัน ควรมีการร่วมมือกันเพื่อให้เกิดประโยขน์ต่อสถาบัน และมหาวิทยาลัย การทำ MOU ของสถาบันการบิน ทำกับโรงเรียนการบินในประเทศ จำนวน 1 แห่ง โรงเรียนการบินต่างประเทศจำนวน 4 แห่ง ได้แก่ประเทศ แคนาดา สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และสโลวิเนีย รองคณบดีฝ่ายบริหาร
2) ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี และ ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี ควรทำกิจกรรม หรือโครงการอื่นๆ ที่นอกเหนือจากที่ทำประจำให้หลากหลายมากขึ้น เช่น พี่ๆ ศิษย์เก่าพบน้องเพื่อเล่าประสบการณ์ และ เตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาแก่นักศึกษา รวมถึงให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่นักศึกษา และเป็นการสร้างทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ กิจกรรมของรุ่นพี่และศิษย์เก่าพบน้องในเรื่องการตรวจเวชศาสตร์การบิน การสอบ CPL License การสอบเข้าสายการบินทั้งในประเทศและต่างประเทศ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและวิเทศสัมพันธ์

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ส่งเสริม และสร้างแรงจูงใจให้อาจารย์ขอทุนวิจัย การสนับสนุนการทำวิจัย บทความทางวิชาการ เพื่อการเข้าตำแหน่งทางวิชาการ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ชึ่งเป็นความรับผิดชอบของอาจารย์ประจำ คณบดีสถาบันการบิน
2) สร้างระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัย พร้อมการวางแผนสำหรับการขอทุน และการเขียนของสถาบันการบินเอง โดยไม่ต้องรอหน่วยงานมหาวิทยาลัย การทำผลงานเพื่อรักษาสถานภาพตำแหน่งวิชาการ การเตรียมผลงานวิชาการของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรตามระยะเวลาที่กำหนด คณบดีสถาบันการบิน
3) สร้างพันธมิตรต่างคณะ ต่างสถาบัน เพื่อการร่วมมือในการทำวิจัย และเขียนงานวิจัย ทำงานวิจัยร่วมกับโรงเรียนการบิน โดยขอรับการสนับสนุนทุนภายนอก ข้อมูลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการฝึกบินของนักศึกษาสถาบันการบิน คณบดีสถาบันการบิน
4) เป็นกรรมการ และร่วมมือกับองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบินเพื่อศึกษา และทราบความก้าวหน้าของสายงาน และนำมาใช้ในการทำงานวิจัย ประสานงานและร่วมมือกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย โรงเรียนการบิน เพื่อติดตามเทคโนโลยีการบินการบิน และการฝึกบิน นำมาใช้ในการทำวิจัยได้ คณบดีสถาบันการบิน

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) จุดที่ควรพัฒนา - การทำงานวิจัย และการเขียนผลงานวิจัย ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง - ร่วมมือกับองค์กรภายนอกในการทำงานวิจัย ขอทุนสนับสนุนการวิจัยจากโรงเรียนการบินในหัวข้อการวิจัย เรื่อง ท่าอากาศยานที่ใช้ในการฝึกบินของโรงเรียนการบิน : กรณีศึกษาท่าอากาศยานนครราชสีมา รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
2) จุดที่ควรพัฒนา - การขอทุนวิจัยทั้งภายใน และภายนอก ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง - เริ่มจากทุนพัฒนาการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย - ทำงานวิจัยร่วมกับต่างสถาบัน - เป็นกรรมการองค์กรที่เกี่ยวข้องภายนอก สถาบันการบินได้ขอทุนภายในเป็นส่วนใหญ่ ทั้งในเรื่องพัฒนาการเรียนการสอน ทุนจากสถาบันวิจัย และการขอรับทุนภายนอกจากโรงเรียนการบิน คณบดีสถาบันการบิน

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) สถาบันการบินได้มีการจัดบริการวิชาการประจำปีการศึกษา 2566 ที่ชัดเจนสอดคล้องและตอบสนองความต้องการของสังคมเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านการบินและแรงจูงใจในการประกอบอาชีพนักบินพาณิชย์ ให้กับนักเรียนและผู้สนใจ ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์คณะ/สถาบันได้เป็นอย่างดี สถาบันการบินจัดให้มีการบริการ วิชาการประจำปีทั้งแบบไม่มีค่าใช้จ่ายและแบบมีค่าใช้จ่ายอย่างละ 1 โครงการ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
2) สถาบันการบินมีส่วนร่วมในการบริการวิชาการแก่สังคมในระดับสถาบัน โดยสถาบันการบินได้พยายามเข้าร่วมในการทำโครงการกับมหาวิทยาลัยเพราะจะได้มีจานวนคนที่มากพอและหมุนเวียนชมกิจกรรมของคณะต่างๆ ซึ่งในปีการศึกษา 2566 สถาบันการบินก็ได้เข้าร่วมโครงการกับมหาวิทยาลัย ได้แก่ กิจกรรมสอนการบิน Flight Simulator และการสอนทำเครื่องร่อนในวิชาหลักการบิน เป็นต้น รวมทั้งโครงการออกกำลังกายเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยรังสิตสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ การพัฒนานักศึกษาและบุคลากรให้มีสุขภาวะและจิตตปัญญา สร้างการทำงานเป็นทีมและสร้างจิตสำนึก สร้างเสริมสุขภาวะสำหรับนักศึกษาและบุคลากร มหาวิทยาลัยรังสิต และสร้างเครือข่ายแกนนำเยาวชนด้านธรรมาธิปไตย สถาบันการบินเข้าร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัยในการเสริมสร้างสุขภาพ และบุคลิกภาพเพื่อการตรวจเวชศาสตร์การบิน การเข้าร่วม Open House และ Academic Week รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
3) อาจารย์สถาบันการบินมีความรู้ ความสามารถ ศักยภาพในการให้บริการวิชาการ โดยเป็นกรรมการวิชาการในงานประชุมวิชาการ RSU Conference เป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ การประเมินผลงานวิชาการ การออกรายการโทรทัศน์ และการจัดรายการทางสถานีวิทยุในนามมหาวิทยาลัยรังสิต การเข้าร่วมทางสังคมเกี่ยวกับความรู้และเทคโนโลยีการบิน เมื่อมีหน่วยงานอื่นร้องขอมา รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) การเข้าศึกษาในสถาบันการบินมีต้นทุนที่สูง ดังนั้นการบริการวิชาการของสถาบันอาจจะส่งผลให้กับนักเรียน/ผู้สนใจที่เป็นกลุ่มเป้าหมายจึงมีจำนวนไม่มาก ดังนั้นการจัดโครงการอาจจะทำให้ไม่บรรลุในเชิงปริมาณ อาจจะต้องประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น สถาบันการดำเนินการประชาสัมพันธ์หลักสูตรทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย และจะนำเทคโนโลยี สื่อโซเชียลมาใช้ในการประชาสัมพันธ์มากยิ่งขึ้น รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและวิเทศสัมพันธ์

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) สถาบันการบินให้ความสำคัญต่อการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม โดยมีการกำหนดผู้รับผิดชอบ และจัดทำแผนการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมที่ดีงาม การกำกับติดตาม ประเมินผลสำเร็จของโครงการได้เป็นอย่างดี ศิลปะวัฒนธรรมเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับนักบินพาณิชย์ที่ต้องพบกับบุคคลต่างวัฒนธรรม จึงสามารถใช้ประโยชน์ในจุดแข็งของศิลปะและวัฒนธรรมไทยได้ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและวิเทศสัมพันธ์

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) การดำเนินโครงการและกิจกรรมโดยบูรณาการศิลปะและวัฒนธรรมเข้ากับรายวิชาเพื่อให้นักศึกษามีความตระหนักถึงความสำคัญในศิลปะวัฒนธรรมประเพณี ค่านิยมและวิถีชีวิตอันดีงาม การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น การปรับศิลปะวัฒนธรรมของไทยให้เข้ากันได้และเหมาะสมกับอาชีพของนักบินพาณิชย์ที่ต้องทำงานร่วมกันเป็นทีมทั้งในอากาศและภาคพื้น รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและวิเทศสัมพันธ์

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) สถาบันการบิน มีกระบวนการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เริ่มต้นจากการวิเคราะห์ SWOT เพื่อหาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และผลกระทบ กำหนดแผนพัฒนาสถาบันการบินสอดคล้องกับแผนพัฒนามหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2565-2569 ได้กำหนด ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ และเอกลักษณ์ ของสถาบันการบิน การบริหารจัดการเป็นระบบคณะกรรมการต่างๆ ร่วมกันพิจารณาเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อยมีประสิทธิภาพ การบริหารจัดการได้ดำเนินการตามแนวทางและข้อกำหนดของยุทธศาสตร์ชาติ แผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย และข้อกำหนดขององค์การการบินสากลระหว่างประเทศ รองคณบดีฝ่ายบริหาร
2) คณะผู้บริหารทุกคนมีประสบการณ์การบริหารมาแล้วทั้งสิ้น มีอายุการทำงานมาหลายสิบปีและมีความรู้ประสบการณ์โดยตรงทางด้านการบินโดยตรง อย่างไรก็ตามการบริหารงานสมัยใหม่จำเป็นต้องบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล 10 ประการ โดยยึดกรอบด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่กำหนดไว้ อาจารย์จำเป็นต้องปรับปรุงตนเองให้เป็นไปตามข้อกำหนดของ อว. แบะมหาวิทยาลัย เพื่อให้ทีมงานมีคุณสมบัติครบก่อนในจำนวนที่จำกัด คณบดีสถาบันการบิน

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ในด้านความคุ้มค่าการบริหารหลักสูตรนั้น ได้รับผลกระทบจากการที่ประเทศไทยมีการชะลอตัวด้านธุรกิจการบินทำให้จำนวนนักศึกษาลดลง เกิดความเสี่ยงในการบริหารหลักสูตรนักบินพาณิชย์ จึงควรกำหนดมาตรการลดความเสี่ยงดังกล่าวผ่านแผนบริหารความเสี่ยงของคณะ ความเสี่ยงของหลักสูตรขึ้นอยู่กับจำนวนนักศึกษา จึงต้องลดค่าใช้จ่ายของสถาบันให้อยู่ในเกณฑ์ที่เกินกว่ารายรับ รองคณบดีฝ่ายบริหาร
2) ในอนาคตอาจจำเป็นต้องเตรียมแผนอัตรากำลังบุคคลากรสายอาจารย์ที่มีความสามารถและคุณสมบัติสอดคล้องตามข้อกำหนดสากลและเกณฑ์การประกันคุณภาพของสถาบันการบิน การจัดหาบุคลากรทดแทนที่เหมาะสมเป็นความจำเป็นและเป็นแนวทางปฏิบัติที่จะต้องดำเนินการ คณบดีสถาบันการบิน