การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2567
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
คณะดิจิทัลอาร์ต

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณะดิจิทัลอาร์ตมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อเสริมสร้างทักษะและความรู้ของนักศึกษา ทั้งในด้านศิลปะดิจิทัลและการออกแบบ รวมถึงกิจกรรมที่เน้นการทำงานเป็นทีมและการคิดเชิงสร้างสรรค์ ปรับปรุงด้านการบริหารจัดการโครงการให้เกิดการมีส่วนร่วมมากขึ้น 1. โครงการ Openhouse 2. Digicamp 3. Symposium 4. Masterclass 5. โครงการความร่วมมือระหว่างคณะและสถบันอื่นๆ 1. รองคณบดีฝ่านกิจการนักศึกษา 2. รองคณบดีฝ่ายวิชาการ 3. อาจารย์ภายในคณะ
2) คณะดิจิทัลอาร์ตมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อเสริมสร้างทักษะและความรู้ของนักศึกษา ทั้งในด้านศิลปะดิจิทัลและการออกแบบ รวมถึงกิจกรรมที่เน้นการทำงานเป็นทีมและการคิดเชิงสร้างสรรค์ 1. ปัญหาในการจัดกิจกรรม การจัดกิจกรรมบางประเภทมีข้อจำกัดด้านเวลา และทรัพยากร เช่น การขาดแคลนอุปกรณ์สำหรับเวิร์กชอป หรือพื้นที่จัดกิจกรรมที่ไม่เพียงพอ 2. การเข้าร่วมของนักศึกษา การมีส่วนร่วมของนักศึกษายังไม่ครอบคลุมทุกกลุ่ม เนื่องจากตารางเรียนที่แน่น และบางกลุ่มยังไม่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม 3. การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์กิจกรรมผ่านแพลตฟอร์มบางช่องทางอาจไม่เข้าถึงนักศึกษาทุกคน 1. ปรับปรุงการจัดตารางกิจกรรม วางแผนตารางกิจกรรมให้เหมาะสมกับช่วงเวลาที่นักศึกษาว่าง 2. เพิ่มความหลากหลายของกิจกรรม: ขยายประเภทกิจกรรม เช่น การสร้างพื้นที่ทดลอง (Maker Space) การจัดแคมป์เชิงปฏิบัติการ และเวิร์กชอปเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ 3. พัฒนาการประชาสัมพันธ์: ใช้แพลตฟอร์มที่เป็นที่นิยมของนักศึกษา เช่น TikTok และจัดทำเนื้อหาแบบอินเทอร์แอคทีฟ เพื่อเพิ่มความสนใจ 4. ส่งเสริมการมีส่วนร่วม ออกแบบกิจกรรมที่สามารถสะสมหน่วยกิตหรือคะแนนเสริม เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเข้าร่วม 1. โครงการ Digicamp 2. โครงการ English Club 3. โครงการ Openhouse 4. โครงการ Master Class 5. โครงการ Art Market ตลาดจรจัด 1. รองคณบดีฝ่ายวิชาการ 2. รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา 3. คณาจารย์ในคณะ 4. เจ้าหน้าที่

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ควรมีแผนและกำกับติดตามส่งเสริมพัฒนาบุคลากรเพื่อพัฒนาด้านตำแหน่งวิชาการและให้มีการศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกที่มีจำนวนมากขึ้นตามเกณฑ์ การดำเนินการเชิงรุกเพื่อพัฒนาความรู้ด้านการเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ โดยให้รองคณบดีฝ่ายวิชาการเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านการขอตำแหน่งวิชาการ โครงการวิชาการที่สนับสนุนความรู้ด้านการเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการภายในและนอกมหาวิทยาลัย รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
2) ควรวางแผนอัตรากำลังคน เพื่อพัฒนาอัตราส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ คณะได้มีกระบวนการเปิดรับอาจารย์ประจำเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการดูและนักศึกษาให้ได้สัดส่วน 1. กระบวนการประชุมหารือภายในคณะเพื่อเปิดรับอาจารย์ประจำเพิ่มเติม 2. กระบวนการประชุมหารือภายในแขนงวิชาเพื่อเปิดรับอาจารย์ประจำเพิ่มเติม 1. คณะกรรมการคณะดิตจิทัลอาร์ต 2. อาจารย์ประจำแขนงวิชา

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ศาสตร์เฉพาะทางที่เป็นความถนัดของคณะทำให้มีโอกาสสูงที่จะได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากหน่วยงานภายนอกทั้งภาครับ และภาคเอกชน เช่นกองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ คณะได้ส่งเสริมอย่างต่อเนื่องสำหรับคณาจารย์ที่ดำเนินโครงการวิจัยจากหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน 1. สนับสนุนด้านการลดภาระงาน 2. สนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกต่างในการดำเนินโครงการ 1. คณบดีฯ 2. รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ควรมีการดำเนินงาน PDCA โดยเฉพาะเรื่องการประเมินผลการดำเนินงานด้านงานวิจัย เพือนำมาสู่การปรับปรุงแผนงานในปีต่อๆ ไป (เช่นการพัฒนาฐานข้อมูลผลงานวิจัย/วิชาการ/งานสร้างสรรค์ ของคณาจารย์ เป็นตัวอย่างของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ด้านการผลิตผลงานวิจัย) คณะได้ดำเนินการวิเคราะห์ PDCA และหาแนวทางในการวางแผนงานอย่างเหมาะสม ในวาระการประชุมกรรมการคณะ การประชุมกรรมการคณะดิจิทัลอาร์ต 1. คณะกรรมการคณะดิจิทัลอาร์ต 2. อาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการ

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) มีโครงการบริการวิชาการหลากหลายรูปแบบทั้งที่เป็นโครงการประจำและโครงการต่อเนื่อง โดยเปิดโอกาสให้ทั้งคณาจารย์และนักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการบริการวิชาการ การหมุนเวียนผู้รับผิดชอบให้เกิดการมีส่วนร่วมมากขึ้น 1. โครงการนิทรรศการระดับนานาชาติ Symposium 2. Digicamp 3. Openhouse รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
2) มีโครงการหลายโครงการที่เป็นการบริการวิชาการแบบให้เปล่าซึ่งร่วมกับองค์กรระดับชาติและนานาชาติ โดยการบรูณาการให้เข้ากับรายวิชา ซึ่งเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับคณะ และยังสะท้อนศักยภาพด้านวิชาการและวิชาชีพ 1. สร้างความต่อเนื่องของโครงการโดยวางแผนความร่วมมือเพื่อให้เกิดโครงการที่ต่อยอดความสำเร็จและความร่วมมือที่มั่นคง 1. โครงการในศูนย์บริการวิชาการคณะดิจิทัลอาร์ต 2. โครงการ Digicamp 3. โครงการ Openhouse 1. รองคณบดีฝ่ายวิชาการ 2. รองคณบดีฝ่ายบริหาร
3) มีศูนย์บริการวิชาการของคณะที่มีการหารายได้เข้า โดยปีการศึกษาที่ผ่านมามี 1 โครงการ 1. พัฒนาระบบบริหารจัดการ 2. ดำเนินงานในลักษณะเชิงรุก โครงการภายในศูนย์บริการวิชาการ รองคณบดีฝ่ายบริหาร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) -ไม่มี- -ไม่มี- -ไม่มี- -ไม่มี-

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ไม่มี -ไม่มี- -ไม่มี- -ไม่มี-

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณะควรมีแผนยุทธศาสตร์และพัฒนาด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมในระดับคณะ โดยกำหนดวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จหรือค่าเป้าหมายที่ชัดเจน เพื่อประสิทธิภาพในการดำเนินการด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมในภาพรวมในระหว่างปี และการประเมินความสำเร็จในช่วงปลายปี คณะได้วางแผนด้านแผนยุทธศาสตร์และพัฒนาด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมในระดับคณะตามข้อเสนอแนะ 1. โครงการ Master Class 2. กระบวนการเรียนรู้รายวิชาในหลักสูตรเพื่อพัฒนาด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 1. รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา 2. อาจารยผู้สอนกลุ่มวิชาที่พัฒนาด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) มีระบบการบริหารภายในคณะวิชาที่ดี มีการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อรองรับการบริหารจัดการภายในที่รองรับการจัดการด้านบุคลากร งบประมาณ สิ่งอำนวยความสะดวก และการจัดการเรียนการสอน พัฒนาระบบให้เสถียรและสนับสนุนงานด้านต่างภายในคณะมากขึ้น โดยเฉพาะงานด้านวิชาการ ระบบสารสนเทศคณะดิจิทัลอาร์ต รองคณบดีฝ่ายบริหาร
2) มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งระดับหลักสูตรและคณะวิชาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจของคณะและมหาวิทยาลัย ขยายความรู้การประกันคุณภาพให้อาจารย์ในคณะเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วม งานประกันคุณภาพคณะ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) -ไม่มี- -ไม่มี- -ไม่มี- -ไม่มี-