การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยนานาชาติ

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) วิทยาลัยนานาชาติ ให้การดูแลนักศึกษานานาชาติที่มีความหลากหลาย ทั้งด้านวิชาการและกิจกรรมนักศึกษาที่ส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ ได้อย่างครบถ้วน กิจกรรมพัฒนาขึ้นเป็นไปตาม PLO, YLO, และ CLO (Program Learning, Year Learning & Couse Learning Outcome) เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ความเป็นเลิศในการศึกษาและพัฒนาบัณฑิต - กิจกรรมพัฒนาทักษะ (Skill) เพื่อเตรียมพร้อมทั้งความเป็นมืออาชีพในการทำงาน เช่น TNSC Sale competition Business case competition , Hackathon, ICT Business Pitch - กิจกรรมพัฒนาการสื่อสาร Speech contest - การลงพื้นที่ร่วมกับชุมชน เพื่อพัฒนาสินค้าทั้งด้านบรรจุภัณฑ์และการสร้างแบรนด์ (Business consultancy หลักสูตร MIDB) ทุกหลักสูตรในวิทยาลัย

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) วิทยาลัยนานาชาติ ควรส่งเสริม สนับสนุนและผลักดันให้อาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ โดยผู้รับผิดชอบในการขอตำแหน่งทางวิชาการของวิทยาลัย ศึกษาข้อมูลของอาจารย์แต่ละท่าน ทางด้านเอกสารคำสอน และงานวิจัย รวมทั้งเทคนิคการสอน มีระบบพี่เลี้ยงดูแลให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิดในจุดที่อาจารย์จะต้องมีการพัฒนาต่อไป - วางแผนพัฒนาบุคลากรด้านงานวิจัย ส่งเสริมให้ขอตำแหน่งวิชาการและเงินทุนวิจัยสนับสนุน - ให้กรรมการชุดงานวิจัยส่งเสริมระบบพี่เลี้ยงงานวิจัย เข้าอบรมกิจกรรมงานวิจัยทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย กรรมการส่งเสริมงานวิจัย

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) วิทยาลัยฯ มีกิจกรรมส่งเสริมงานวิจัยในระดับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเป็นจำนวนมาก - เน้นแหล่งตีพิมพ์เป็นระดับวารสารนานาชาติ - เน้นทำวิจัยตอบสนองประโยชน์ต่อสังคม และองค์กร - เน้นการเพิ่มหาแหล่งเงินทุนวิจัย - เข้าร่วมอบรมสัมมนาการทำวิจัย - ประชุม กรรมการฝ่ายส่งเสริมงานวิจัยวิทยาลัย

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) - วิทยาลัยฯ ควรส่งเสริมให้อาจารย์และนักศึกษาตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารที่อยู่ในฐานระดับนานาชาติให้มากขึ้น - วิทยาลัยฯ ควรสนับสนุนให้อาจารย์ขอทุนวิจัยภายในและภายนอกมากขึ้น ประชาสัมพันธ์ให้อาจารย์และนักศึกษาให้ส่งผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติมากขึ้น ส่งรายชื่อ Link วารสารนานาชาติต่าง ๆ , Website ให้แก่อาจารย์และนักศึกษา ทุกหลักสูตร
2)

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) วิทยาลัยนานาชาติมีการให้บริการวิชาการที่ตอบสนองต่อความต้องการของนักศึกษา ชุมชน หรือสังคม รวมทั้งมีความร่วมมือกับองค์กรภายนอก ได้แก่ British Council (ประเทศไทย) - เข้าร่วมกิจกรรมการบริหารวิชาการในระดับสถาบันและสากล - ใช้องค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี อบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรในสังคม - RSU IELTS Test Center แต่งตั้งโดย British Council (ประเทศไทย) - Digital Technology for smart Teaching หลักสูตร IB และ ICT

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) - วิทยาลัยนานาชาติ ควรระบุแผนการใช้ประโยชน์จากโครงการบริการวิชาการ ให้ชัดเจน - เพิ่มเติมรายละเอียดของผลลัพธ์ที่แสดงถึงการบรรลุเป้าหมายของโครงการบริการวิชาการ เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ ผลการประเมินความพึงพอใจในด้านต่าง ๆ และการได้รับประโยชน์ แจ้งทุกฝ่ายที่จัดทำโครงการบริการวิชาการให้ระบุแผนการใช้ประโยชน์จากโครงการบริการให้ชัดเจน และแสดงผลลัพธ์ (Key Result) ของผู้เข้าร่วมให้ชัดเจนขึ้น โครงการ Digital Technology for smart Teaching อบรมบุคคล / ครูภายนอก เพื่อให้เกิดทักษะการสอนที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่แทนที่วิธีการสอนแบบเดิมในตำรา หลักสูตรธุรกิจระหว่างประเทศ (IB) และหลักสูตรนวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT)
2)

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) - วิทยาลัยฯ มีหลักสูตรที่สอดแทรกกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมเข้าไปอยู่ในแผนการสอนในรายวิชา คงไว้เพื่อเป็นแบบอย่างและแนวทางในการส่งเสริม สนับสนุน และต่อยอดต่อไป - มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ด้วยบริบทของทางคณะที่มีนักศึกษานานาชาติเข้ามาศึกษา ส่งผลดีต่อการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่มีความหลากหลาย แต่อย่างไรก็ดีควรเพิ่มการมีส่วนร่วมจากนักศึกษาไทยจากคณะวิชาอื่นๆ เพื่อพัฒนากิจกรรมไปสู่งกว้าง มีการนำนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม Academic Integration (การบูรณาการทางวิชาการ) ผ่านงานวิชาการต่าง ๆ ระหว่างนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างประเทศทั้งในด้านวิชาการและศิลปะวัฒนธรรม - กิจกรรมในรายวิชา IBM445 (Cross Cultural Management) ระหว่างวิทยาลัยนานาชาติและคณะบริหารธุรกิจ - IRS111 (Social Dharmacracy) ร่วมกับนักศึกษาไทยคณะบริหารธุรกิจ และคณะเทคนิคการแพทย์ - นักศึกษาอาสาสมัครนานาชาติ เข้าร่วมกิจกรรมกับนักศึกษาไทย คณะเทคโนโลยีอาหาร (Food Technology) ในการทำอาหารร่วมกันและเรียนรู้กระบวนการแปรรูปสินค้าเกษตร - IMK326, IMK 327 วิชาทางด้าน Marking เข้าร่วมกับวิชาของคณะบริหารหลักสูตรภาษาไทยร่วมกันในระดับสถาบันทั้งมหาวิทยาลัยเข้าร่วม - หลักสูตร IB, ICT - ฝ่ายกิจการนักศึกษา
2)

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ด้วยความหลากหลายของกิจกรรม ที่ทางคณะได้ดำเนินการทุกปี รวมถึงการบูรณาการเรื่องศิลปวัฒนธรรมเข้ากับรายวิชาของวิทยาลัยฯ ซึ่งสร้างความโดดเด่นเป็นอย่างมาก ควรสนับสนุนเพื่อการต่อยอด ผลงานหรือกิจกรรม /โครงการ เพื่อสร้างมาตรฐานด้านศิลปะและพหุวัฒนธรรม ที่ส่งผลให้เกิดการยอมรับในระดับชาติ ได้ยกระดับกิจกรรมจากภายในวิทยาลัย เข้าร่วมกับศูนย์ส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรม เพื่อเป็นระดับสถาบัน และโอกาสต่อไปจะพัฒนาไปร่วมกับหน่วยงานภายนอกเพื่อให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ - RSUNIVAL (วันสงกรานต์) - International Day ฝ่ายกิจการนักศึกษา

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) มีการบริหารแบบมีส่วนร่วม มีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดต่างๆ ซึ่งมีบุคลากรเข้ามาเป็นกรรมการเพื่อร่วมกันดำเนินงาน กำกับดูแลงานในวิทยาลัยให้ดำเนินไปตามแผนที่วางไว้ อย่างไรก็ดี ในการออกคำสั่งแต่งตั้ง ควรระบุหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการชุดนั้นๆ ด้วย ได้มีคำสั่งแต่งตั้งกรรมการชุดต่าง ๆ ออกมาใหม่ในปีดังกล่าวและจะระบุภาระหน้าที่ในคำสั่งให้ชัดเจน หนังสือคำสั่งแต่งตั้ง กรรมการแต่งตั้งชุดต่าง ๆ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) - กำหนดแผนพัฒนารายบุคคลของบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนให้ชัดเจน - กำหนดแผนการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ รวมอาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการแล้ว - วิทยาลัยต้องวางแผนอัตรากำลังของคณาจารย์ให้สอดคล้องกับจำนวนนนักศึกษาที่เพิ่มขึ้น - ฝ่ายบริหารยกระดับจัดทำแผนพัฒนาบุคคล (IDP) โดยกำหนดในด้านการพัฒนาคุณวุฒิจากวุฒิ ป.โท ไปสู่ ป.เอก และส่งเสริมให้อาจารย์ขอตำแหน่งวิชาการเพิ่มขึ้น - ขออนุมัติในการเพิ่มอัตรากำลังคนทั้งอาจารย์และเจ้าหน้าที่จากมหาวิทยาลัย - ฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้ารับการอบรมกิจกรรม IDP (Individual Development Plan ) จัดขึ้นโดยมหาวิทยาลัย - ประชุมในวิทยาลัยเพื่อแจ้งอาจารย์ทราบ IDP รอคณบดีฝ่ายบริหารและกรรมการฝ่ายพัฒนาบุคลากรของวิทยาลัย
2)
3)