การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
คณะรัฐศาสตร์

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) อาจารย์ประจำเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีชื่อเสียงในวงการศึกษาทางด้านรัฐศาสตร์ และมีวุฒิปริญญาเอกจำนวนสูงกว่าเกณฑ์ แนวทางเสริม ใช้จุดแข็งในข้อนี้เป็นโอกาสในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัย รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพของบัณฑิต การสร้างความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษาในประเทศและต่างประเทศ กิจกรรมการทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการทางวิชาการกับ ม. บูรพา และ Aisyiyah University, Indonesia ผู้บริหารคณะ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ค่า FTES สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ และการดำรงตำแหน่งทางวิชาการต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ดังนั้น ทางคณะควรวางแผนปรับปรุงการดำเนินการในประเด็นของการพัฒนาอาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ และการรักษาค่า FTES ให้เป็นไปตามเกณฑ์ โดยการวิเคราะห์อัตรากำลัง ณ ปัจจุบัน และกำหนดเป้าหมายการดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ที่จะทำให้คณะมีผลการดำเนินงานเป็นไปตามเกณฑ์ ให้การสนับสนุนอย่างจริงจังกับอาจารย์ที่จะต้องพัฒนาตนเองให้เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการตามเป้าหมาย และพิจารณาความเหมาะสมของการเปิดรายวิชาในแต่ละภาคการศึกษา รวมทั้งจำนวนอัตรากำลังว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมหรือไม่ ส่งเสริมให้อาจารย์ที่ยังไม่มีตำแหน่งทางวิชาการขอทุนวิจัยอย่างต่อเนื่อง มีคณาจารย์ขอทุนวิจัยในปีการศึกษา 2566 จำนวน 3 โครงการ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและผู้อำนวยการหลักสูตรระดับปริญญาตรี
2) ควรพิจารณาเพิ่มจำนวนกิจกรรมพัฒนานักศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อเพิ่มโอกาสแก่นักศึกษาสามารถเข้าร่วมกิจกรรมนอกเหนือจากค่ายสิงห์รังสิต นอกจากนี้ควรวางแผนและออกแบบกิจกรรมให้มุ่งสู่การพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี การพานักศึกษาไปทำกิจกรรมหรือทัศนศึกษาภายนอกให้ได้ภาคการศึกษาอย่างน้อยกิจกรรมละ 1 โครงการ กิจกรรมทัศนศึกษารัฐสภา และโครงการจิตอาสา รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
3) ขอให้ทางคณะพิจารณาทบทวนแผนปฏิบัติการ ที่ตอบโจทย์ตัวบ่งชี้ 1.5 และ 1.6 และ 4.1 ให้ชัดเจน เพื่อจำแนก การบริการนักศึกษาและศิษย์ก่า กับ กิจกรรมหรือโครงการพัฒนานักศึกษา และโครงการหรือกิจกรรมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยกำหนดวัตถุประสงค์โครงการ กลุ่มเป้าหมาย และตัวชี้วัดความสำเร็จเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ขอให้ปรับระบบกำกับดูแลการดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และมีการรายงานผลการดำเนินงานอย่างจริงจัง เพื่อให้ได้ข้อมูลป้อนกลับที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง การระดมความร่วมมือกับทุกภาคส่วนของคณะรัฐศาสตร์กับชุมชนภายนอก กิจกรรมความร่วมมือระหว่างคณาจารย์กับเครือข่ายศิษย์เก่า นักศึกษาปัจจุบันไปทำกิจกรรมบริการสังคมแก่ชุมชนภายนอกวัดนาวง ผู้บริหารคณะ

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ปีการศึกษา 2565 ที่ผ่านมา คณะได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยทั้งภายในและภายนอก และเงินทุนวิจัยต่ออาจารย์ประจำสูงกว่าเกณฑ์ ส่งเสริมให้คณาจารย์หน้าใหม่ที่ไม่เคยรับทุนมาก่อนเข้าสู่กระบวนการรับขอทุนวิจัย คณะรัฐศาสตร์ใช้กิจกรรมการประชุมกรรมการบริหารคณะติดตามความคืบหน้าการทำวิจัยของคณาจารย์แต่ละท่าน รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
2) มีระบบสนับสนุนภายในคณะในการทำวิจัย ได้แก่ ระบบพี่เลี้ยงในการวิจัย ระบบการคำนวณเทียบภาระงานให้อาจารย์ผู้ได้รับทุนวิจัยที่มีมูลค่า 1 แสนบาทขึ้นไป และการจัดพื้นที่ในการนำเสนอผลงานวิจัยของอาจารย์ให้แก่คณาจารย์และนักศึกษาร่วมรับฟัง - - -

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ผลงานวิชาการที่นำเสนอในการประชุมวิชาการและวารสารวิชาการต่างๆ ยังกระจุกตัวอยู่กับอาจารย์บางท่าน อาจมีนโยบายการทำวิจัยร่วมกันเป็นทีม เพื่อสร้างศักยภาพนักวิจัยเพิ่มขึ้น ส่งเสริมคณาจารย์หน้าใหม่ไปนำเสนอผลงานวิชาการในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ RSU International Cofference Research รองคณบดีฝ่ายวิชาการหรือ ผอ.หลักสูตรทุกหลักสูตร
2) ควรมุ่งพัฒนาการเผยแพร่ผลงานวิชาการในวารสารระดับชาติและนานาชาติเพิ่มขึ้น ส่งเสริมคณาจารย์ทุกคนให้พัฒนาผลงานบทความวิชาการไปตีพิมพ์เผยแพร่วารสารระดับชาติขึ้นไป ผลักดันให้คณาจารย์ส่งผลงานวิชาการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่มีฐานระดับขั้นต่ำ Tier 2 ขึ้นไป คณาจารย์ทุกท่าน

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) -

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) โครงการที่อ้างอิงการบริการวิชาการ เป็นโครงการที่จัดทางด้านวิชาการให้แก้นักเรียนนักศึกษา จึงเสนอให้เพิ่มเติมการบริการวิชาการที่จัดให้ชุมชนหรือสังคมมากขึ้น โดยจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษาเชื่อมโยงกับผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ (KR) ของแผนยุทธศาสตร์ ให้คณาจารย์ประจำมีบทบาทและกิจกรรมบริการวิชาการให้มากขึ้น โครงการแนะนำหนังสือตำราที่ควรอ่านทางรัฐศาสตร์ รองคณบดีฝ่ายบริการหรือ ผอ.หลักสูตรทุกหลักสูตร
2) ควรมีการสรุปผลการดำเนินงานการบริการวิชาการในรูปของ PDCA และจัดบริการวิชาการทั้งที่มีรายได้และแบบให้เปล่า เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตามนโยบายของแผนการพัฒนาประเทศ มีการทำแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ร่วมกิจกรรม โครงการบริการวิชาการแก่โรงเรียนวัดนาวง ผู้บริหารทุกท่าน

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณะรัฐศาสตร์มีการสร้างการมีส่วนร่วมของคณาจารย์และนักศึกษา ในการดำเนินกิจกรรมด้านการวางแผนและดำเนินโครงการด้านการทำนุบารุงศิลปะและวัฒนธรรม โดยแต่งตั้งให้รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา เป็นประธานกรรมการทำนุบารุงศิลปะและวัฒนธรรม และใช้หลักการมอบอำนาจให้ประธานกรรมการสามารถแต่งตั้งกรรมการท่านอื่นๆ ได้ ซึ่งที่ผ่านมาได้แต่งตั้งกรรมการสโมสรนักศึกษาประจำคณะให้ดำรงตำแหน่งกรรมการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมควบคู่ไปด้วย ส่งเสริมให้คณาจารย์ เจ้าหน้าที่และนักศึกษาแต่งกายเสื้อผ้าไทยมาสถานศึกษา วันไหว้ครูคณะรัฐศาสตร์ คณาจารย์ทุกคน

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) มีการกำหนดแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษาด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมที่ชัดเจน ตลอดจนมีการกำกับ และการประเมินผลความสำเร็จของโครงการและแผนอย่างครบถ้วน มีความพยายามทำกิจกรรมส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมนอกสถานศึกษา กิจกรรมทัศนศึกษาในโบราณสถาน วัดวาอาราม รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา
2) ควรนำผลการประเมินการดำเนินงานกิจกรรม/โครงการ มาใช้ในการปรับปรุงหรือพัฒนากิจกรรมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้มีความหลากหลายมากขึ้น และสอดคล้องกับแผนการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัย การระดมความเห็นของคณาจารย์และนักศึกษามาออกแบบกิจกรรมเพื่อตอบโจทย์ความหลากหลายทางวัฒนธรรม กิจกรรมสัมมนาทางวิชาการของคณะที่เกี่ยวข้องกับทางศิลปะและวัฒนธรรม รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ไม่พบ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ปรับปรุงระบบและกลไกการบริหารคณะอย่างมีคุณภาพ และการให้ความสำคัญต่อการบริหารและดำเนินงานอย่างมีคุณภาพ ในทุกองค์ประกอบ เพื่อให้การประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานตามปกติ รายงานผลและชี้แจงถึงอุปสรรคข้อจำกัดในการบริหารโดยให้มีรูปแบบของคณะทำงานให้มากขึ้น การประชุมกรรมการ บริหารคณะ รองคณบดีฝ่ายบริหารและเลขานุการคณะ
2) คณะกรรมการชุดต่างๆ ที่มีการแต่งตั้งของคณะ ควรมีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ ในการจัดทำแผน การดำเนินงานตามแผน และการติดตามประเมินผล การระดมความคิดเพื่อออกแบบกิจกรรมในแต่ละภาคการศึกษา การประชุมกรรมการบริหารคณะ รองคณบดีฝ่ายบริหาร
3) ควรมีการมอบหมายผู้บริหารคณะให้รับผิดชอบกำกับติดตามการรายงานผลการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน อย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลการดำเนินงานโดยแท้จริง แบ่งบทบาทให้คณาจารย์ประจำที่ไม่มีคำแหน่งบริหารเข้ามามีบทบาทรับผิดชอบให้มากขึ้น การประชุมกรรมการบริหารคณะ คณบดี