การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2567
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
คณะทัศนมาตรศาสตร์

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) โครงการงานประชุมวิชาการทัศนมาตรศาสตร์นานาชาติ ที่สามารถให้นักศึกษาและศิษย์เก่าได้เข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการ เปิดโอกาสให้นักศึกษาชั้นปีที่ 6 นำเสนอผลงานปริญญานิพนธ์ แบบโปสเตอร์แสดงในงานประชุมวิชาการทัศนมาตรศาสตร์นานาชาติ งานประชุมวิชาการทัศนมาตรศาสตร์นานาชาติ ประจำปีการศึกษา รองคณบดีฝ่ายบริหาร รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และอาจารย์ประจำรายวิชาสัมนาและวิจัย

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) อาจารย์ประจำยังมีจำนวนไม่เพียงพอ และ อาจารย์ระดับปริญญาเอกมีน้อย ส่งผลต่อค่า FTES ของคณะจึงเป็นภาระกิจเร่งด่วนในการหาอาจารย์ระดับปริญญาเอก เพิ่ม ส่งเสริมให้อาจารย์ประจำ ผู้ช่วยอาจารย์ ศึกษาต่อในสาขาที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับวุฒิการศึกษา พร้อมเปิดรับสมัครบุคลากรตำแหน่งอาจารย์เพิ่มทั้งวุฒิปริญญาโท และปริญญาเอก รองคณบดีฝ่ายบริหาร
2) อาจารย์ผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการมีน้อย เนื่องจากอาจารย์ประจำระดับปริญญาเอกมีน้อย การเริ่มงานวิจัยจึงเริ่มได้ช้า เห็นควรส่งเสริมการวิจัยระหว่างสถาบันที่สามารถทำงานวิจัยร่วมกัน ส่งเสริมให้อาจารย์ประจำเข้าอบรมหัวข้อเกี่ยวกับการทำวิจัย เพื่อพัฒนาเพิ่มศักยภาพด้านการทำงานวิจัยให้เพิ่มขึ้น เพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ งานอบรมที่เกี่ยวข้องกับการทำวิจัย รองคณบดีฝ่ายบริหาร และรองคณบดีฝ่ายวิชาการ
3) กิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาแก่นักศึกษามีจำนวนไม่มาก ควรมีกิจกรรมเพิ่มเติมในการเตรียมความพร้อมการทำงานของนักศึกษาเช่นการดูงานนอกสถานที่ การเชิญศิษย์เก่ามาบรรยาย จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการทำงานในวิชาชีพให้กันนักศึกษาที่จะสำเร็จเป็นบัณฑิต และนักศึกษาปัจจุบัน โดยเชิญศิษย์เก่ามาบรรยายชีวิตในการทำงานทางวิชาชีพ ทั้งด้านบริษัท โรงพยาบาล และการดำเนินธุรกิจส่วนตัว โครงการพิธีมอบเสื้อกาวน์ โครงการปัจฉิมนิเทศ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา
4) การบริการทางวิชาการแก่ศิษย์เก่ายังไม่เป็นรูปธรรม ควรจัดบริการทางวิชาการ เช่น จัดอบรม ทางคลินิกแก่ศิษย์เก่า เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ จัดกิจกรรมเพิ่มพูนความรู้ ทักษะแก่ศิษย์เก่าในงานประชุมวิชาการทัศนมาตรศาสตร์นานาชาติ ประจำปี เช่น กิจกรรม Workshop ภาคปฏิบัติเพื่อพัฒนาทักษะด้านวิชาชีพ โครงการงานประชุมวิชาการทัศนมาตรศาสตร์นานาชาติ ประจำปี รองคณบดีฝ่ายบริหารและรองคณบดีฝ่ายวิชาการ

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) - มีความหลากหลายของโจทย์หัวข้อวิจัย ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับคณาจารย์ และบุคลากรที่มีความสนใจจะศึกษาหาคำตอบวิจัยต่อไป - แหล่งทุนอุดหนุนงานวิจัยที่ผ่านมาทั้งหมดเป็นทุนที่ได้รับสนับสนุนจากภายในมหาวิทยาลัยรังสิต - คณาจารย์และบุคลากรของคณะฯ ควรจะมีการหาแหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัยจากภายนอกมหาวิทยาลัยรังสิตร่วมด้วย - สนับสนุนให้อาจารย์หาโจทย์หัวข้อวิจัยที่สนใจและทันสมัย เพื่อขอทุนทำวิจัย - สนับสนุนให้อาจารย์หาแหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัยจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยรังสิต รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และรองคณบดีฝ่ายบริหาร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณะควรมีการพัฒนาทีมวิจัยเพื่อสร้างความเข้มแข็งในการรับทุนวิจัย และการทำงานวิจัยของคณาจารย์ - ส่งเสริมให้อาจารย์มีการอบรมหัวข้อเกี่ยวกับการทำวิจัยและการขอทุนวิจัย เพื่อเป็นแนวทางสำหรับเขียนขอทุนวิจัยต่อไปทั้งภายในและภายนอก - ส่งเสริมให้อาจารย์ในคณะฯ สร้างทีมวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพและศักยภาพของการทำวิจัยอย่างเป็นทีม นำไปสู่การขอแหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัยทั้งภายในและภายนอก ประชุมคณะฯ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และรองคณบดีฝ่ายบริหาร
2) คณะควรมีแผนงานที่ครอบคลุมให้อาจารย์ในคณะมีการเผยแพร่งานวิจัยอย่างทั่วถึงทุกคน ซึ่งจะส่งผลในการขอตำแหน่งวิชาการของอาจารย์ต่อไป ส่งเสริมและติดตามผลอาจารย์ในคณะให้ทำงานวิจัยและเผยแพร่งานวิจัยทั้งระดับชาติและนานาชาติ เพื่อการขอตำแหน่งวิชาการของอาจารย์ในอนาคต และนำเสนอผลงานในงานประชุมวิชาการต่างๆ โดยเฉพาะงานประชุมวิชาการทัศนมาตรศาสตร์ ที่จัดขึ้นโดยคณะฯทุกปี งานประชุมวิชาการทัศนมาตรศาสตร์นานาชาติ ประจำปีการศึกษา รองคณบดีฝ่ายวิชารการ รองคณบดีฝ่ายบริหาร

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณะมีการบริการวิชาการที่ให้นักศึกษามีส่วนร่วมและบูรณาการกับการเรียนการสอนได้อย่างดี ทำให้เกิดผลต่อการพัฒนานักศึกษาในด้านประสบการณ์ฝึกปฏิบัติ และเกิดประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการออกปฏิบัติการตรวจคัดกรองโรคตาและวัดสายตาร่วมกับทีมอาจารย์ประจำคณะฯ ในโครงการออกหน่วยต่างๆ เช่น โครงการทัศนมาตรศาสตร์เคลื่อนที่ ประจำปีการศึกษา เพื่อฝึกปฏิบัติและเรียนรู้ด้านวิชาชีพและให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม โครงการทัศนมาตรศาสตร์เคลื่อนที่ ประจำปีการศึกษา รองคณบดีฝ่ายบริหาร รองคณบดีฝ่ายวิชาการ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา และอาจารย์ประจำวิชาคลินิก
2) คณะมีการบริการวิชาการในรูปแบบของการจัดทำวารสาร Rangsit Journal of Optometry ที่เป็นประโยชน์ในการรวบรวมผลงานวิจัยและองค์ความรู้จากงานวิจัย ที่สามารถเชื่อมโยงกับการเรียนการสอนและการทำวิจัยของนักศึกษา รวมทั้งได้เผยแพร่ความรู้ทางทัศนมาตรศาสตร์สู่สังคม จัดทำวารสาร Rangsit Journal of Optometry อย่างต่อเนื่องทุกปีเพื่ออัพเดทความรู้ทางวิชาชีพและเชื่อมโยงกับงานวิจัยในวิชาสัมนาและการทำวิจัยของนักศึกษาในคณะ วารสาร Rangsit Journal of Optometry อาจารย์ผู้รับผิดชอบ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ควรทบทวนการจัดทำแผนโครงการบริการวิชาการให้ชัดเจน เนื่องจากมีบางโครงการไม่ปรากฏในแผนปฏิบัติการ จัดทำแผนโครงการบริการวิชาการทุกโครงการให้ชัดเจนตามแผนปฏิบัติการ รองคณบดีฝ่ายบริหาร และรองคณบดีฝ่ายวิชาการ

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) มีคณะกรรมการด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมระดับคณะและมหาวิทยาลัย แต่งตั้งคณะกรรมการด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมระดับคณะและมหาวิทยาลัย เพื่อร่วมกันจัดกิจกรรมและเข้าร่วมกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมระดับคณะและมหาวิทยาลัยเป็นประจำ อาจารย์ผู้รับผิดชอบ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณะควรติดตามความสำเร็จตามเป้าหมายของโครงการที่กำหนดไว้ว่า ต้องมีการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอย่างน้อย 1 รายวิชา วางแผนบูรณาการจัดกิจกรรมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมร่วมกับรายวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่น OPM320 ความรู้คู่คุณธรรม อาจารย์ประจำวิชา
2) คณะอาจจัดโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมเพื่อให้นักศึกษามีความตรงต่อเวลา มีความซื่อสัตย์ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่ดีและเป็นคุณลักษณะพึงประสงค์ของนักศึกษาในทุกๆรายวิชา - สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมเสริมสร้างคุณลักษณะพึงประสงค์ของนักศึกษาในทุกรายวิชา โดยเฉพาะรายวิชา OPM320 ความรู้คู่คุณธรรม ที่นักศึกษาทุกคนจะต้องลงทะเบียน - วางแผนจัดโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมให้นักศึกษา เสริมสร้างวัฒนธรรมที่ดีและเป็นคุณลักษณะพึงประสงค์ - สอดแทรกคุณธรรม จริธรรมในทุกรายวิชา - กิจกรรมในรายวิชา OPM320 ความรู้คู่คุณธรรม อาจารย์ประจำแต่ละวิชา

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณะมีความชัดเจนและความครบถ้วนในการบริหารงานของคณะ ที่ครอบคลุมตั้งแต่การวิเคราะห์ปัจจัยทั้งภายในและภายนอกคณะเพื่อการทำแผนพัฒนาคณะที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยและของคณะ และเชื่อมโยงสู่การดำเนินการบริหารงานตามแผนปฏิบติการ แผนบริหารความเสี่ยง แผนพัฒนาบุคคล เป็นต้น - ติดตามความชัดเจนและความครบถ้วนในการบริหารงานของคณะการวิเคราะห์ปัจจัยทั้งภายในและภายนอก เพื่อการทำแผนพัฒนาคณะที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยและของคณะ และเชื่อมโยงสู่การดำเนินการบริหารงานตามแผนปฏิบติการ แผนบริหารความเสี่ยง แผนพัฒนาบุคคลเป็นประจำ ประชุมคณะฯ รองคณบดีฝ่ายบริหาร
2) คณะมีความครบถ้วนในการจัดทำแผนพัฒนาบุคคลากรเป็นรายบุคคล แนวทางเสริม - คณะควรเพิ่มความชัดเจนในการกำหนดระยะเวลาในการมุ่งสู่เป้าหมายของการพัฒนาอาจารย์ที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา ได้แก่ การขอตำแหน่งวิชาการของอาจารย์ ศักยภาพในการขอทุนวิจัย เป็นต้น - คณะควรเพิ่มความชัดเจนในการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุน - เพิ่มความชัดเจนในการกำหนดระยะเวลาในการมุ่งสู่เป้าหมายของการพัฒนาอาจารย์ที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาทั้งการขอตำแหน่งวิชาการของอาจารย์ และเพิ่มศักยภาพในการขอทุนวิจัย - เพิ่มความชัดเจนในการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุน สนับสนุนให้เข้าร่วมอบรมหัวข้อที่เป็นประโยชน์และสนับสนุนการศึกษาต่อและติดตามให้สำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาที่กำหนด รองคณบดีฝ่ายบริหาร
3) คณะให้ความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของทั้งระดับหลักสูตรและคณะ วางแผนและแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของทั้งระดับหลักสูตรและคณะ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ รองคณบดีฝ่ายบริหาร และอาจารย์ประจำหลักสูตร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณะควรเพิ่มผลสรุปจากแผนบริหารความเสี่ยงโดยย่อที่เน้นลำดับความสำคัญของการดำเนินงานบริหารความเสี่ยงเพื่อลดความเสี่ยงในปีการศึกษาถัดไป ได้แก่ ทุนวิจัยจากภายนอก ความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษา การขอตำแหน่งวิชาการของอาจารย์ เป็นต้น จัดทำสรุปผลแผนบริหารความเสี่ยงให้เป็นระบบในด้านต่างๆโดยลำดับความสำคัญของแต่ละความเสี่ยง รองคณบดีฝ่ายบริหาร
2) คณะควรเพิ่มการติดตามผลการดำเนินงานให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการและยุทธศาสตร์ของคณะ ให้ครบถ้วน ทั้งนี้ ให้รวมถึงการปรับปรุงแก้ไขแผนการบริหารงานของคณะในปีการศึกษาถัดไป จัดทำแผนและติดตามผลการดำเนินงานให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการและยุทธศาสตร์ของคณะและปรับปรุงแก้ไขแผนการบริหารงานให้ชัดเจนและแจ้งต่อที่ประชุม การประชุมคณะฯ รองคณบดีฝ่ายบริหาร