การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
สถาบันการทูตและการต่างประเทศ

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) จำนวนอาจารย์ที่มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกมีจำนวนมาก แสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งทางวิชาการได้อย่างชัดเจน ให้อาจารย์มีการขอตำแหน่งวิชาการเพิ่มมากขึ้น คณบดี
2) มีระบบอาจารย์ที่ปรึกษาที่ชัดเจนทำให้สามารถดูแลนักศึกษาได้อย่างใกล้ชิด และครอบคลุมในทุกด้าน ดำเนินการต่อเนื่อง คณบดี

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) จำนวนอาจารย์ที่ดำรงตำแหน่งวิชาการยังมีน้อย ควรสนับสนุนส่งเสริมการขอตำแหน่งวิชาการเพิ่มเติม โดยใช้การวางแผนการพัฒนารายบุคคลที่มหาวิทยาลัยกำหนด (IDP) และการบริหารจัดการการทำงานร่วมกัน รวมทั้งมีการติดตามปัญหาหรือความก้าวหน้าอย่างเป็นระบบ เร่งรัดให้อาจารย์แต่ละท่านทำผลงานเพื่อขอตำแหน่งวิชาการ Dr. Benjamin King ได้ตีพิมพ์บทความวิจัยในฐาน Scopus 2 และอยู่ในกระบวนการรวมรวมเอกสารเพื่อยื่นขอตำแหน่งวิชาการต่อไป คณบดี
2) เพิ่มการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาแก่นักศึกษา โดยประชาสัมพันธ์ให้ศิษย์เก่าเข้าร่วมด้วย เพื่อเป็นการให้ข้อมูลและความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพแก่ศิษย์เก่า และสร้างความเข็มแข็งให้กับเครือข่ายศิษย์เก่ากับนักศึกษาปัจจุบันด้วย เชิิญศิษย์เก่าที่ทำงานแล้วมาถ่ายทอดประสบกาณ์ให้นักศึกษที่กำลังจะจบได้รับฟัง หรือ จัดพานักศึกษาไปเยี่ยมชมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในอนาคต เช่น องค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เป็นต้น Study Visit to International Organization Study Visit to the Ministry of Foreign Affairs รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา/หัวหน้าภาควิชา

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) สถาบันมี Website ในการสืบค้นผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่เป็นของตนเอง พัฒนาให้มีงานวิจัยของอาจารย์และนักศึกษา บรรจุอยู่เพิ่มมากขึน https://idis.rsu.ac.th/ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา
2) สถาบันมีกิจกรรมวิชาการ ห้องสมุด และพื้นที่อำนวยความสะดวกสำหรับการส่งเสริมและสนับสนุนการทำวิจัยให้กับนักศึกษาและอาจารย์ จัดหาหนังสือ ตำราวิชาการ วารสารวิชาการเพิ่มเติมเพื่อให้นักศึกษาได้ค้นคว้า อาจารย์ทุกท่าน
3) อาจารย์ประจำสถาบันต่อท่าน มีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด กระตุ้นให้อาจารย์เขียนและตีพิมพ์บทความอย่างต่อเนื่อง อาจารย์ทุกท่าน

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) มีอาจารย์เพียง 1 ท่าน คือ ผศ.ดร.ศศิภัทรา ศิริวาโท เป็นอาจารย์ที่ได้รับทุนวิจัยจากภายนอกคือสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ อาจารย์ท่านอื่น อาจจะขอรับทุนสนับสนุนการทำวิจัยจากหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยรังสิต ในปีการศึกษา 2566 มีอาจารย์ขอทุนวิจัยเพิ่มเติมอีก 1 ท่าน คือ ดร.จิระโรจน์ มะหมัดกุล ขอทุนสนับสนุนการวิจัย จาก สถาบันวิจัย รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
2) ส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับที่สูงขึ้น เช่น TCI ฐาน 1 หรือ SCOPUS กระตุ้นให้อาจารย์แต่ละท่ายผลิดผลงานในกาีตีพิมพ์ในฐานต่างๆ ในปี 2566 นี้ Dr. Benjamin King ได้ตีพิมพ์บทความวิจัยในฐาน Scopus 2 King, B. D. (2023). Proportionality, defensive alliance formation, and Mearsheimer on Ukraine. Etikk i Praksis – Nordic Journal of Applied Ethics, 17(2), 69-82. https://doi.org/10.5324/eip.v17i2.5095 รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) การบริการวิชาการแก่สังคม ที่มีการบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอน ให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมทำให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้นอกห้องเรียน ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ในเรื่องการพัฒนานักศึกษาอย่างชัดเจน พัฒนากิจกรรมให้ตอบสนองความต้องการของชุมชนมากขึ้น ปรับปรุงพัฒนาโครงการ การทูตสู่ชุมชน จากผลการประเมินปีที่แล้ว รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
2) โครงการบริการวิชาการเป็นไปตามเป้าหมายและแนวทางเดียวกับที่สถาบันที่กำหนด โดยนำองค์ความรู้ของสาขาวิชาไปพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ดำเนินโครงการบริการวิชาการโดยให้ลงพื้นที่ซ้ำแล้วปรับกิจกรรมให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ปรับปรุงพัฒนาโครงการ การทูตสู่ชุมชน จากผลการประเมินปีที่แล้ว โครงการ การทูตสู่ชุมชน รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
2) เพิ่มโครงการบริการวิชาการแบบมีรายได้ เพื่อให้รองรับแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยปี 2565-2569 ระดมความคิดเกี่ยวกับโครงการที่มีรายได้ที่สอดคล้องกับองค์ความรู้ทางการทูตและการต่างประเทศ คณบดี

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) สถาบันฯ มีแผนการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม มีโครงการในการส่งเสริมให้นักศึกษาได้เรียนรู้วัฒนธรรมที่หลากหลาย มีการจัดสรรงบประมาณในการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม ซึ่งสามารถวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) การทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม สามารถอธิบายในรูปแบบของพหุวัฒนธรรม ซึ่งสามารถดำเนินการในรูปแบบของกิจกรรม เป็นหัวข้อหนึ่งของการเรียนการสอน และ/หรือทำร่วมกับนักศึกษาจะคณะอื่น เป็นต้น ประยุกต์เข้ากับการเรียนการสอนในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่น วิชา Thai Politics and Government ฯลฯ อาจาย์ผู้สอนแต่ละท่าน

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณะมีแนวปฏิบัติที่ดีที่สอดคล้องและบูรณาการกับการพัฒนาวิชาการและการวิจัย และการบริหารความเสี่ยง คณบดี

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ควรมีแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคลทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน นำระบบ IPD มาใช้ให้อาจารย์แต่ละท่านกรอกข้อมูล ห้อาจารย์แต่ละท่านกรอกข้อมูลในระบบ IPD คณบดี