การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2567
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
สถาบันการทูตและการต่างประเทศ

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) สถาบันมีการจัดการหลักสูตรที่มีคุณภาพ มีหลักสูตรที่ตรงกับความต้องการของผู้เรียน มีอาจารย์ที่มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกจำนวนมาก และการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานอย่างต่อเนื่อง เพิ่มจำนวนอาจารย์ประจำที่ได้รับการพัฒนาด้วยการเรียนต่อในหลักสูตรปริญญาเอก อาจารย์ที่มีวุฒิปริญญาโทสองท่านอยู่ระหว่างการเรียนปริญญาเอก รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
2) สถาบันมีกิจกรรมที่หลากหลายในการให้บริการแก่นักศึกษา ซึ่งเป็นกิจกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ ปรับปรุงให้มีกิจกรรมในลักษณะที่หลากหลายมากขึ้นกว่าเดิม จัดโครงการในรูปแบบใหม่เพิ่มเติม เช่น 1. โครงการดีเบต 3 ประเทศ จัดขึ้นที่ประเทศกัมพูชา 2. โครงการดูงานเพื่อเสริมสร้างการเรียบนรู้นอกห้องเรียนเพิ่มเติมในแต่ละภาคการศึกษา 3. โครงการจัดตั้ง Rangsit University Mode United Nations (RSUMUN) Club 4. โครงการจัดตั้ง Rangsit University Debate Club รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา/รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) สนับสนุนให้อาจารย์ของสถาบันขอตำแหน่งวิชาการเพิ่มขึ้น โดยการวางแผนการพัฒนารายบุคคล (IDP) ให้ข้อมูลรายละเอียดขั้นตอนในการยื่นขอตำแหน่งที่ชัดเจน ได้เชิญผู้อำนวยการสำนักงานมาตรฐานวิชาการมาอธิบายถึงวิธีการขอตำแหน่งวิชาการโดยละเอียด พร้อมทั้งตอบข้อซักถามของอาจารย์ของคณะ ทำให้มีความชัดเจน ส่งผลให้มีอาจารย์ 1 ท่านของคณะ คือ Dr. Benjamin D. King ได้ยื่นขอตำแหน่งวิชาการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) สถาบันมีระบบสารสนเทศในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของอาจารย์และนักศึกษา พัฒนาระบบให้มีงานตีพิมพ์ของนักศึกษาเพิ่มเติม การสนับสนุนให้นักศึกษาในระดับปริญญาตรีตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ หัวหน้าหลักสูตรปริญญาตรี

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) อาจารย์ขอทุนวิจัยภายในและภายนอกมีจำนวนน้อย สนับสนุนให้อาจารย์ขอทุนวิจัยที่แหล่งทุนภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ส่งข้อมูลให้อาจารย์ไทยและชาวต่างประเทศให้รับทราบในไลน์กลุ่มของคณะ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณาจารย์ของสถาบันการทูต ฯ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีชื่อเสียง มีผลงานทางวิชาการเป็นที่ประจักษ์และเป็นที่ยอมรับของสังคม ดังนั้น สถาบันควรพัฒนาโครงการบริการวิชาการใหม่ ๆ ตามอัตลักษณ์และความถนัดในด้านที่สถาบันมีความเชี่ยวชาญ ในรูปแบบการฝึกอบรม การสัมมนา การบรรยาย หรือการเสวนาทางวิชาการ ทั้งแบบให้เปล่า และมีรายได้ เพื่อเป็นการให้การศึกษาต่อเนื่องแก่ศิษย์เก่า ประชาชน ผู้สนใจ รวมไปถึงการวิจัยเพื่อชี้นำและตอบคำถามต่าง ๆ ให้แก่ชุมชน สังคม และประเทศชาติ สนับสนุนให้อาจารย์ได้มีการบริการวิชาการต่อสาธารณะเพิ่มเติม ในรูปแบบต่างๆ อาจารย์ของคณะเป็นคอลัมภ์นิสต์เขียนเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านการต่างประเทศลงหนังสือพิมพ์ออนไลน์ คณบดี

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ควรมีกระบวนการวางแผนการบริการวิชาการที่ชัดเจน ทั้งนี้ ควรมีการสำรวจปัญหาและความต้องการของประชาชน หรือสังคม เพื่อจะได้ออกแบบ/ จัดทำโครงการที่ตรงความต้องการ (Need) ของประชาชนอย่างแท้จริง แล้วนำโครงการต่าง ๆ มาจัดทำแผนบริการวิชาการของสถาบัน จัดให้มีกระบวนการติดตามประเมินผลและปรับปรุงแผน/พัฒนาการให้บริการวิชาการในปีถัดไป จัดทำการสำรวจความต้องการของผู้ใช้บริการถึงความจำเป็นของการจัดกิจกรรมบริการวิชาการ เพิ่มการสำรวจความต้องการสำหรับ โครงการการทูตสู่ชุมชน ณ วัดนาวง รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
2) เนื่องจากรายงานการประชุม เป็นเอกสารที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นหลักฐานที่แสดงผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมาของสถาบัน รายงานการประชุมที่มีการรับรองจากที่ประชุมแล้ว จึงจะถือว่าเป็นเอกสารอ้างอิงที่ใช้ได้ตามกฎหมาย ดังนั้น ควรให้ที่ประชุมของสถาบันรับรองรายงานการประชุมทุกครั้ง ปรับปรุงการจัดทำรายงานการประชุม เพ่ิ่มเติมใน ให้ในการประชุมมีการรับรองรายงานการประชุมทุกครั้ง คณบดี

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) สถาบันการทูตและการต่างประเทศ มีนักศึกษาทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ นับเป็นโอกาสที่ดีที่จะให้นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมที่หลากหลาย แนวทางเสริม: สถาบันควรจัดกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในรูปแบบพหุวัฒนธรรม นอกเหนือจากการพาไปทัศนศึกษา เพิ่มกิจกรรมพหุวัฒนธรรม คณะโดย Student Council จัดงานวันคริสต์มาส ให้เรียนรู้วัฒนธรรมที่หลากหลาย สภานักศึกษาของคณะ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ควรทบทวนกระบวนการจัดทำแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และเขียนอธิบายให้ชัดเจน การจัดทำแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น การประชุมคณะเพื่อระดมสมองในการจัดทำแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา
2) ควรทบทวนและกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ ที่นอกเหนือไปจากการวัดเรื่องจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ และ ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ เช่น เมื่อระบุว่าโครงการเยี่ยมชมสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ฯ ตอบสนองการสร้างคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ด้านคุณธรรม จริยธรรม ก็ควรมีตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการในเรื่องนี้ และเป็นตัวชี้วัดที่ชัดเจน วัดได้จริง กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการให้ชัดเจน ระดมความคิดในการประชุมประจำเดือนของคณะ เช่น กำหนดตัวชี้วัดเพิ่มเติม คือ ร้อยละของผู้เข้าร่วมที่สามารถอธิบายหรือสรุปสาระสำคัญของหัวข้อที่อบรม/สัมมนาได้ (ประเมินผ่านแบบทดสอบหลังการอบรม) คณะกรรมการคณะ

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) -

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ควรมีการระบุกิจกรรมหรือโครงการที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของสถาบันการทูตฯ ให้ครบทุกยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่คณะรับผิดชอบ ระบุกิจกรรมหรือโครงการที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย คณะกรรมการคณะประชุมหารือถึงกิจกรรมหรือ โครงการที่อยู่ในแผนของคณะให้มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยทุกข้อ คณะกรรมการคณะ
2) ควรมีการจัดสรรงบประมาณโครงการพัฒนาด้านการพัฒนาบุคลากรสอดคล้องกับแผนการพัฒนาอาจารย์ และตามแผนพัฒนารายบุคคล (IDP) และโครงการพัฒนาการเรียนการสอน พิจารณาแผนการพัฒนาบุคลากรแต่ละบุคคลเทียบกับงบประมาณด้านพัฒนาบุคลากรของคณะที่ได้รับจัดสรรจากมหาวิทยาลัย ประชุมคณะกรรมการคณะเพื่อพิจารณาความจำเป็นในการปรับเพิ่มงบประมาณด้านการพัฒนาบุคลากรของคณะ คณบดี
3) ควรทบทวนการเขียนรายงานการประชุมให้ครบถ้วน โดยเพิ่มเติมวาระรับรองรายงานการประชุม เนื่องจากเป็นเอกสารสำคัญทางกฎหมาย ปรับการเขียนรายงานการประชุมให้มีวาระครบถ้วน เพิ่มเติมวาระรับรองรายงานการประชุมในรายงานการประชุมให้ชัดเจน คณะกรรมการคณะ