การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2567
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยฮอสปิตอลลิตี้

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) วิทยาลัยมีกิจกรรมพัฒนานักศึกษาที่หลากหลายกิจกรรม ครอบคลุมการพัฒนาทักษะตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิทั้ง 5 ด้าน โดยเฉพาะการจัดกิจกรรมเข้าค่าย เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างรุ๋นพี่รุ่นน้อง เกิดการและเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน - เน้นกิจกรรมที่เสริมทักษะการเรียนรู้และการทำงานร่วมกับผู้อื่นผ่านการทำโครงงานหรือการแข่งขัน - สนับสนุนกิจกรรมที่นักศึกษาได้ใช้ความคิดริเริ่มในการแก้ไขปัญหาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ - พัฒนาโครงการระยะยาวที่เชื่อมโยงกับการสร้างเครือข่ายระหว่างนักศึกษา ศิษย์เก่า และภาคีภายนอก - การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการทัศนศึกษาด้านอุตสาหกรรมบริการ Field trips in the Service Industry - โครงการส่งเสริมพัฒนาทักษะของนักศึกษาเพื่อสะท้อนผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับชั้นปี - โครงการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของนักศึกษา - โครงการพัฒนากิจกรรมส่งเสริมการตลาดและจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์วิทยาลัยฯ ( กิจกรรม Online LIVE in online Channel with Alumni) - โครงการพัฒนานักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2567 : CO-HOST Gala Night 2024 - ค่ายจิตอาสาพัฒนาชุมชน ประจำปีการศึกษา 2567 : Volunteer Camp 2024 - โครงการพัฒนานักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2567 : CO-HOST Gala Night 2024 คณบดี รองคณบดี ผู้อำนวยการหลักสูตร
2) วิทยาลัยมีการกำหนดคุณลักษณะพิเศษของนักศึกษา 6 ด้าน ซึ่งถือว่าเป็นจุดเด่นที่ดีมาก แต่อย่างไรก็ตามถ้าได้มีการประเมินผลของบัณฑิตให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน โดยเกิดผลลัพธ์ตามคุณลักษณะพิเศษนี้ได้จะนำไปสู่แนวปฏิบัติที่ดีได้ จัดทำระบบฐานข้อมูลเพื่อบันทึกข้อมูลการประเมินผลลัพธ์ของบัณฑิต และสร้างรายงานวิเคราะห์ผลการประเมินเพื่อใช้ในการพัฒนาหลักสูตร และแนวปฏิบัติให้สอดคล้องกับคุณลักษณะพิเศษ กิจกรรมจัดทำเกณฑ์และตัวชี้วัดการประเมินสมรรถนะนักศึกษาตามคุณลักษณะพิเศษทั้ง 6 ด้าน อย่างเป็นรูปธรรม คณบดี รองคณบดี และผู้อำนวยการหลักสูตร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) จัดทำแผนการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ และมีการติดตามหรือรายงานการดำเนินงานของผู้ที่อยู่ในแผน เช่น อาจจะต้องรายงานทุก 3 เดือน หรือ 6 เดือน เพื่อกระตุ้นให้เกิดผลเป็นรูปธรรม - วิเคราะห์ความต้องการและสถานะปัจจุบันของอาจารย์แต่ละท่าน โดยกำหนดเป้าหมายในการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ เช่น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ หรือศาสตราจารย์ พร้อมกับจัดทำแผนระยะสั้น (1-2 ปี) และแผนระยะยาว (3-5 ปี) สำหรับแต่ละบุคคล (IDP) - มีการติดตามความก้าวหน้าเป็นระยะ เช่น ทุก 3 เดือน หรือ 6 เดือน - รายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บริหารหรือคณะกรรมการที่รับผิดชอบ - วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น พร้อมหาแนวทางแก้ไข จัดทำแผนการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการเฉพาะรายบุคคล โดยระบุเป้าหมาย ระยะเวลา และแนวทางการสนับสนุน คณบดี และรองคณบดีฝฝ่ายวิชาการและวิจัย
2) วิทยาลัยมีการเปิดดำเนินการรวม 5 สาขาวิชามี 1 หลักสูตรที่ได้ผลประเมิน 4.05 อาจจะจัดสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับในหลักสูตรอื่นๆ ของวิทยาลัย ก็อาจจะทำให้การจัดการเรียนการสอนมีคุณภาพดียี่งขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้ภาพรวมในระดับวิทยาลัยมีคะแนนประเมินที่สูงขึ้น - รวบรวมแนวปฏิบัติที่ดีจากหลักสูตรที่ประสบความสำเร็จ เพื่อใช้เป็น “แนวทางมาตรฐาน” สำหรับหลักสูตรอื่น ๆ - แต่ละหลักสูตรนำเสนอผลการประเมิน และแลกเปลี่ยนปัญหา อุปสรรคที่พบเจอ พร้อมทั้งแนวทางแก้ไข จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีจากหลักสูตรที่ได้ผลประเมินสูงสุด โดยเชิญคณาจารย์จากทุกหลักสูตรเข้าร่วม รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) อาจารย์มีผลงานวิจัยจำนวนมาก และตีพิมพ์ในฐานข้อมูลที่มีคุณภาพระดับสูง - พัฒนาฐานข้อมูลกลาง (Research Repository) เพื่อรวบรวมผลงานวิจัยและบทความตีพิมพ์ของคณาจารย์ - สนับสนุนการขอทุนวิจัยและการขอรางวัลสำหรับผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย จัดทำคลังข้อมูลผลงานวิจัยออนไลน์ พร้อมทั้งเผยแพร่ผลงานวิจัยประจำปีของอาจารย์ในวิทยาลัยผ่านสื่อออนไลน์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) จำนวนเงินทุนวิจัยมีจำนวนน้อย ควรเสนอขอทุนวิจัยจากสถาบันวิจัยหรือแหล่งเงินทุนภายนอกแหล่งอื่น - เสนอขอทุนจากหน่วยงานวิจัยภาครัฐ เช่น สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.), สกสว., หรือกองทุนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี - ร่วมมือกับองค์กรเอกชนในรูปแบบงานวิจัยเชิงพาณิชย์ หรือวิจัยที่ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม - ให้คำปรึกษาเฉพาะบุคคลสำหรับการเขียนข้อเสนอโครงการให้มีประสิทธิภาพและโอกาสได้รับทุนสูงขึ้น จัดงานแนะนำและประชาสัมพันธ์แหล่งทุนภายนอกที่เหมาะสมกับสาขางานวิจัยต่าง ๆ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) - - - -
2) ไม่มี ไม่มี ไม่มี -

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ควรจัดทำแผนการบริการวิชาการแยกออกจากแผนปฏิบัติการประจำปี โดยเริ่มจากการวิเคราะห์ SWOT กำหนดวัตถุประสงค์ของแผน และตัวชี้วัดความสำเร็จให้ชัดเจน จัดทำแผนการบริการวิชาการของวิทยาลัย พร้อมวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ในการดำเนินงานบริการวิชาการปัจจุบันของแต่ละหลักสูตรของวิทยาลัย เพื่อกำหนดหัวข้อและเป้าหมายการบริการวิชาการ โครงการบริการวิชาการอย่างน้อยหลักสูตรละ 1 กิจกรรม ในปีรอบปีการศึกษา 2567 คณบดี รองคณบดี และผู้อำนวยการหลักสูตร
2) ทางวิทยาลัยควรร่วมกันหาแนวทางส่งเสริมให้มีผลงานวิชาการทางด้านบริการวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ ซึ่งอาจผลิตผลงานร่วมกันระหว่างอาจารย์และนักศึกษา เพื่อให้เห็นผลลัพธ์ในเชิงประจักษ์ - ส่งเสริมให้คณาจารย์ทำงานร่วมกับนักศึกษาในการทำวิจัยหรือโครงการบริการวิชาการที่ตอบโจทย์ชุมชนและอุตสาหกรรม - ส่งเสริมให้ผลงานที่ผลิตได้รับการเผยแพร่ในการประชุมวิชาการทั้งระดับชาติและนานาชาติ - ให้รางวัลหรือประกาศเกียรติคุณสำหรับผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ - พิจารณาผลงานวิชาการเป็นส่วนหนึ่งในการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณาจารย์ จัดทำโครงการที่อาจารย์เป็นที่ปรึกษาหรือผู้ร่วมวิจัย โดยมีนักศึกษาเข้าร่วมเป็นทีมในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ และเขียนบทความร่วมกัน คณบดี รองคณบดี ผู้อำนวยการหลักสูตร และคณาจารย์ของวิทยาลัย

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ผู้บริหารและคณาจารย์ให้ความสำคัญและสอดแทรกกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน ผสมผสานกับโครงการ แสดงให้เห็นถึงความเป็นไทย ในการผลิตบัณฑิตให้มีจิตใจเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ ช่วยเหลือ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน - จัดกิจกรรมด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมที่มีกิจรรมที่หลากหลายเพื่อให้นักศึกษาทุกคนเข้าไปมีส่วนร่วม - จัดกิจกรรมด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมที่เป็นแบบพหุวัฒนธรรมเพื่อให้นักศึกษาต่างชาติเข้าร่วมกิจกรรม และเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมของนักศึกษาจากชาติต่างๆ - โครงการ “ส่งเสริมทูตวัฒนธรรม ประจำปีการศึกษา 2567” (CO-HOST Star 2024) รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา ผู้อำนวยการหลักสูตร
2) วิทยาลัยมีระบบและกลไกชัดเจน มีคณะกรรมการที่รับผิดชอบด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมหลากหลายจากทั้ง 5 สาขา รวมถึงเจ้าหน้าที่และนักศึกษามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ - จัดทำแผนปฏิบัติการของวิทยาลัยด้านการทำนุบำรุงศิลปและวัฒนธรรมและมีโครงการและกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนใหับุคลากรและนักศึกษาได้ตระหนักรู้สึกซาบซึ้งและหวงแหนศิลปะและวัฒนธรรมชองชาติตนเอง - ส่งเสริมและอนุรักษ์ สืบสาน บูรณาการการดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม บนพื้นฐานความหลากหลายทางวัฒนธรรม สอดแทรกเนื้อหาและกิจกรรมด้านการทำนุบำรุงศิลปและวัฒนธรรมในรายวิชาที่เปิดสอนของทุกหลักสูตร รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา ผู้อำนวยการหลักสูตร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ควรร่วมกันสร้างผลงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการบริการวิชาการและการวิจัยให้มีความเชื่อมโยงกัน - จัดให้มีโครงการและกิจกรรมด้านการทำนุบำรุงศิลปและวัฒนธรรมที่มีความเชื่อมโยงกับการให้บริการวิชาการแก่สังคม - สอดแทรกความเชื่อมโยงด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการให้บริการวิชาการแก่สังคมในการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ โครงการ “ค่ายจิตอาสาพัฒนาชุมชน ประจำปีการศึกษา 2567” รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา และ ผู้อำนวยการหลักสูตร
2) ในปีต่อไป ควรกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของแผน ให้ท้าทายมากขึ้น นอกจากจะวัดเพียงจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 80% และ ความพึงพอใจไม่ต่ำกว่า 3.51 อาจวัดความสำเร็จในเรื่องของการมีผลงาน หรือสร้างนวัตกรรมทางด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของนักศึกษา จัดทำแผนปฏิบัติการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จที่เป็นผลงานของอาจารย์และนักศึกษาให้ชัดเจน โครงการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมที่กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จผลงานของอาจารย์และนักศึกษา จำนวน 1 โครงการ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณะมีการบริหารหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลทุกหลักสูตร - หลักสูตรบริหารและจัดการหลักสูตรตามระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา โดยให้อาจารย์ประจำหลักสูตรมีส่วนร่วมในการบริหารและดำเนินงาน - หลักสูตรนำเสนอและรายงานผลการดำเนินงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยเพื่อรับทราบและนำเสนอแนวทางการแก้ไขและพัฒนาหลักสูตร กำหนดการประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัย และ การประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตร คณบดี รองคณบดี และผู้อำนวยการหลักสูตร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ควรมีการกำหนดแผนพัฒนาบุคลากรเป็นรายบุคคลให้ชัดเจน ซึ่งสามารถใช้ระบบ IDP ของมหาวิทยาลัย - จัดทำแผนพัฒนาบุคลากรของวิทยาลัยทั้งสายการสอนและสายสนับสนุน โดยจัดทำแผนพัฒนาเป็นรายบุคคลให้ชัดเจน - นำเสนอผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาบุคลากรต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยเพื่อกำกับและควบคุมให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนที่กำหนด - ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรมีการพัฒนาตนเองตามแผนที่กำหนด - วิทยาลัยจัดการอบรมหัวข้อที่เกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรทั้งสายการสอนและสายสนับสนุน - ส่งบุคลากรเข้าอบรมและสัมมนาในหัวข้อที่เกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย คณบดี รองคณบดี ผู้อำนวยการหลักสูตร
2) มีการวางแผนในการขอทุนสนับสนุนงานวิจัย เพื่อลดความเสี่ยงด้านเงินทุนวิจัยที่มีจำนวนน้อย - ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรขอรับทุนสนับสนุนงานวิจัยทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย - จัดให้มีพี่เลี้ยงนักวิจัยสำหรับให้ความรู้และแนวทางการจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนสนับสนุนงานวิจัยทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย - หลักสูตรสร้างทีมนักวิจัยเพื่อร่วมกันจัดทำหัวข้อวิจัยที่สอดคล้องและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน จัดอบรมแก่บุคลากรหัวข้อเกี่ยวกับการจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัย คณบดี รองคณบดี และผู้อำนวยการหลักสูตร