การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
คณะเทคนิคการแพทย์

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) มีการวางแผน และดำเนินงานด้านการพัฒนานักศึกษาอย่างเป็นระบบ สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย คณะ และหลักสูตร ครอบคลุมผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ต้องการ และคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง -โครงการเตรียมความพร้อมนักศึกษาชั้นปีที่ 1 เข้าสู่คณะเทคนิคการแพทย์ -โครงการพัฒนาประสบการณ์วิชาชีพให้กับนักศึกษา ศิษย์เก่า และบุคคลภายนอก -โครงการเทคนิคการแพทย์ชุมชน -โครงการนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมของนักศึกษา - โครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม รองคณบดีฝ่ายวิชาการ/รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา/หัวหน้าสาขา
2) คณะมีการจัดการระบบฐานข้อมูลนักศึกษาอย่างเป็นระบบ ซึ่งสนับสนุน/ส่งเสริม การให้คำปรึกษา ตลอดจนการติดตามช่วยเหลือนักศึกษาได้เป็นอย่างดี ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง -โครงการเตรียมความพร้อมนักศึกษาชั้นปีที่ 1 เข้าสู่คณะเทคนิคการแพทย์ - กิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทํางานเมื่อสําเร็จการศึกษา -กิจกรรมการจัดทำ portfolio online รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ควรวางแผนเรื่องกำลังคน โดยฉพาะประเด็นอาจารย์ผู้สอน โดยคำนึงถึงข้อกำหนดของสภาวิชาชีพ ดำเนินการรับอาจารย์เพิ่มให้เพียงพอในแต่ละกลุ่มวิชาตามสัดส่วนอาจารย์ผู้สอนต่อจำนวนนักศึกษาอ้างอิงตามข้อกำหนดของสภาฯ -กิจกรรมคัดเลือกและสัมภาษณ์อาจารย์ใหม่ -กิจกรรมปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่ รองคณบดีฝ่ายบริหาร/หัวหน้าสาขา

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณะเทคนิคการแพทย์มีระบบการสนับสนุนและส่งเสริมการทำวิจัยอย่างเข้มแข็งของทั้งนักศึกษาและอาจารย์อย่างเป็นระบบ ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง -โครงการนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมของนักศึกษา -โครงการส่งเสริมความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ -โครงการจัดการความรู้ด้านงานวิจัยงานสร้างสรรค์และนวัตกรรม รองคณบดีฝ่ายวิชาการ/รองคณบดีฝ่ายบริหาร
2) อาจารย์ได้ทำการขอทุนวิจัยและได้มีเงินทุนวิจัยจากทั้งภายนอกและภายในสถาบันเพิ่มมากขึ้น ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง -โครงการนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมของนักศึกษา -โครงการส่งเสริมความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ -โครงการจัดการความรู้ด้านงานวิจัยงานสร้างสรรค์และนวัตกรรม รองคณบดีฝ่ายวิชาการ/รองคณบดีฝ่ายบริหาร
3) คณาจารย์มีผลงานวิจัยที่มีคุณภาพและสามารถตีพิมพ์เผยแพร่ในการประชุมวิชาการและในวารสารระดับชาติและนานาชาติเป็นจำนวนมาก ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง -โครงการนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมของนักศึกษา -โครงการส่งเสริมความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ -โครงการจัดการความรู้ด้านงานวิจัยงานสร้างสรรค์และนวัตกรรม รองคณบดีฝ่ายวิชาการ/รองคณบดีฝ่ายบริหาร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ผลงานวิชาการยังเป็นอาจารย์ชุดเดิมที่มีงานวิจัยเป็นประจำทุกปี -มุ่งเน้นสร้างทีมวิจัย และสร้างเครือข่ายกับสถาบันหรือองค์กรภายนอกในการผลิตผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง -โครงการนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมของนักศึกษา -โครงการจัดการความรู้ด้านงานวิจัยงานสร้างสรรค์และนวัตกรรม รองคณบดีฝ่ายวิชาการ/รองคณบดีฝ่ายบริหาร
2) จำนวนอาจารย์ที่ได้ทุนวิจัยยังน้อย ควรหาแนวทางกระตุ้นให้อาจารย์ที่ยังไม่มีผลงานวิจัยและอาจารย์รุ่นใหม่ให้ขอทุนวิจัยมากขึ้น -ส่งเสริมให้คณาจารย์มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ สร้างแรงจูงใจจากการเชิญอาจารย์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญหรือมีความโดดเด่นด้านการสร้างและผลิตงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ เพื่อเป็นแนวทางอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ -โครงการจัดการความรู้ด้านงานวิจัยงานสร้างสรรค์และนวัตกรรม รองคณบดีฝ่ายวิชาการ/รองคณบดีฝ่ายบริหาร
3) ให้อาจารย์รุ่นใหม่ ได้ร่วมทำวิจัยกับอาจารย์ผู้มีประสบการณ์ และร่วมกันเขียนผลงานวิชาการเพื่อเป็นผลงานของอาจารย์และทำให้อาจารย์รุ่นใหม่มีประสบการณ์ในการทำวิจัยและเขียนผลงานเพื่อตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ -มุ่งเน้นสร้างทีมวิจัย และสร้างเครือข่ายกับสถาบันหรือองค์กรภายนอกในการผลิตผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง -โครงการจัดการความรู้ด้านงานวิจัยงานสร้างสรรค์และนวัตกรรม รองคณบดีฝ่ายวิชาการ/รองคณบดีฝ่ายบริหาร

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) มีการดำเนินโครงการบริการวิชาการแบบให้เปล่าทั้งแบบ online และ onsite ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง -โครงการเทคนิคการแพทย์ชุมชน -โครงการประชุมวิชาการประจำปี หรือหลักสูตรอบรมระยะสั้น -กิจกรรมรับบริจาคโลหิตของกลุ่มวิชาธนาคารเลือด -กิจกรรม open house หัวหน้าสาขา

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ควรมีการพัฒนาโครงการบริการวิชาการที่สามารถสร้างรายรับให้แก่คณะฯ เพิ่มการบริการวิชาการแบบมีรายได้ให้มากขึ้น -โครงการประชุมวิชาการประจำปี หรือหลักสูตรอบรมระยะสั้น -กิจกรรมการตรวจภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบบี หัวหน้าสาขา/หัวหน้าห้องปฏิบัติการคลินิกฯ

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) มีโครงการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมที่ครอบคลุมทุกด้านและมีความโดดเด่น เช่น 1. โครงการด้านการส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมไทย 2. โครงการสร้างจิตสานึกในการทำนุบำรุง ปกป้องรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3. โครงการที่ส่งเสริมความเป็นอัตลักษณ์ของคณะเทคนิคการแพทย์ 4. โครงการคัดแยกขยะที่ส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกและตระหนักในด้านสิ่งแวดล้อม ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง -โครงการส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมไทย - โครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม -โครงการเตรียมความพร้อมนักศึกษาชั้นปีที่ 1 เข้าสู่คณะเทคนิคการแพทย์ -โครงการพัฒนาประสบการณ์วิชาชีพให้กับนักศึกษา ศิษย์เก่า และบุคคลภายนอก รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ไม่มีปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณะมีการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลครบทั้ง 10 ประการ โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ นำหลักธรรมาภิบาล 10 ประการ มาใช้ในการบริหารงานของคณะให้ครบถ้วนอย่างต่อเนื่อง - กิจกรรมการประชุมคณะกรรมการประจำคณะและบุคลากรคณะเทคนิคการแพทย์ -กิจกรรมการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอน -กิจกรรมการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่ออาจารย์ที่ปรึกษา -กิจกรรมการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต -โครงการเทคนิคการแพทย์ชุมชน คณบดี/กรรมการบริหาร
2) มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงครอบคลุมรอบด้าน และมีการดำเนินการเพื่อให้ความเสี่ยงลดลง โดยเฉพาะในเรื่องการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของนักศึกษา จัดให้มีกิจกรรมการควบคุมภายในที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ - การคัดเลือกนักศึกษาใหม่มีการใช้คะแนนภาษาอังกฤษจากการสอบ O-NET และ GAT ร่วมด้วย - ใช้ภาษาอังกฤษในการสอน ได้แก่ การให้นักศึกษาฟัง พูด อ่าน เขียนในรายวิชา ได้แก่ สัมมนาทางเทคนิคการแพทย์ (MTH308/406) - การใช้ภาษาอังกฤษใน PowerPoint ของผู้สอนในภาคทฤษฎีทุกรายวิชาของคณะ - มีการสอนภาคปฏิบัติเป็นภาษาอังกฤษอย่างน้อย 1 คาบ ในรายวิชาต่าง ๆ - จัดให้มีกิจกรรมพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาคณะเทคนิคการแพทย์ชั้นปีที่ 4 ก่อนสำเร็จการศึกษา -กิจกรรมจัดการเรียนการสอนที่สอดแทรกภาษาอังกฤษ (ฟัง พูด อ่าน เขียน) ในการเรียนการสอนอย่างน้อย 1 เรื่อง ของแต่ละรายวิชา รองคณบดีฝ่ายบริหาร/รองคณบดีฝ่ายวิชาการ/อาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชา
3) แนวปฏิบัติที่ดีในด้านการผลิตบัณฑิต และความเป็นนานาชาติ โดยได้รับรางวัลชมเชย 2 รางวัล จากการร่วมจัดส่งผลงานการถอดประสบการณ์ความรู้ของโครงการการจัดการความรู้ฯ ประจำปีการศึกษา 2565 ของคณะฯ ให้กับมหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อนำไปเผยแพร่ในงานการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยในชื่อธีมงาน คือ “แนวปฏิบัติที่ดี Good Practice ประจำปี 2565” นั้น ส่งผลให้มีผลงานของคณะเทคนิคการแพทย์ได้รับรางวัลชมเชยจำนวนทั้งสิ้น 2 รางวัล ได้แก่ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้หัวข้อ เรื่อง “สื่อการสอนออนไลน์ ถูกใจวัยโจ๋” และ เรื่อง “ส่งเสริมการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาต่างประเทศ" ทำอย่างต่อเนื่อง โดยค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ตามประเด็นความรู้ และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของสถาบัน โครงการ การจัดการความรู้ด้านงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรม รองคณบดีฝ่ายบริหาร/รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ไม่มีปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา - - -