การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
คณะบริหารธุรกิจ

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) อาจารย์ของคณะมีคุณวุฒิปริญญาเอกในสัดส่วนที่สูงซึ่งแสดงถึงความมีศักยภาพของอาจารย์ ไม่มีปัญหา/อุปสรรคในระหว่างการดำเนินงาน
2) คณะมีการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมในการทำงานที่น่าสนใจ ลักษณะของโครงการเป็นการพัฒนาความพร้อมของนักศึกษาอย่างบูรณาการ ควรมีการจัดอย่างต่อเนื่อง คณะฯมีการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องในทุกปีการศึกษา

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) การจัดทำแผนงานเพื่อให้อาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ โดยอาจจะทำเป็นแผนพัฒนารายบุคคลตั้งแต่การวางแผนการทำผลงานวิจัยเพื่อเผยแพร่ผลงานตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด คณะฯมีการปรับแนวทางการทำผลงานวิจัยของอาจารย์ โดยให้เป็นในลักษณะร่วมมือกันระหว่างสาขาวิชา เพื่อให้เกิดความร่วมมือและแบ่งเบาภาระในการทำวิจัย

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) มีระบบและกลไกด้านการวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่ชัดเจน ไม่มีปัญหา/อุปสรรคในระหว่างการดำเนินงาน
2) มีจำนวนชิ้นผลงานวิจัยมาก ซึ่งมีทั้งในระดับชาติและนานาชาติ ไม่มีปัญหา/อุปสรรคในระหว่างการดำเนินงาน

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ผลงานวิจัยส่วนใหญ่ เป็นงานในระดับบัณฑิตศึกษา (ชื่อร่วมนักศึกษาและอาจารย์) มีเพียงไม่กี่ชิ้นที่เป็นชื่ออาจารย์เท่านั้น จึงควรมีการสนับสนุนให้อาจารย์ทำจึงควรมีการสนับสนุนให้อาจารย์ทำผลงานวิชาการเพิ่มขึ้น คณะฯมีการปรับแนวทางการทำผลงานวิจัยของอาจารย์ โดยให้เป็นในลักษณะร่วมมือกันระหว่างสาขาวิชา เพื่อให้เกิดความร่วมมือและแบ่งเบาภาระในการทำวิจัย
2) ปีการศึกษา 2565 ไม่มีการขอสนับสนุนทุนวิจัยทั้งมาภายใน คณะฯมีการปรับแนวทางการทำผลงานวิจัยของอาจารย์ โดยให้เป็นในลักษณะร่วมมือกันระหว่างสาขาวิชา เพื่อให้เกิดความร่วมมือและแบ่งเบาภาระในการทำวิจัย

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) มีระบบและกลไก มีแผนบริการวิชาการ ซึ่งมีการให้บริการวิชาการแบบให้เปล่า และแบบมีรายรับ ไม่มีปัญหา/อุปสรรคในระหว่างการดำเนินงาน

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ควรแยกแผนบริการวิชาการของคณะต่างหาก คณะฯกำลังพิจารณาดำเนินการ โดยดูจากความจำเป็นตามภารกิจที่คณะฯรับผิดชอบอยู่

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณะบริหารธูรกิจ มีความเข้มแข็งในการจัดทำโครงการและจัดสรรงบประมาณในการดำเนินโครงการรูปแบบพหุวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมในปีการศึกษา 2565 หลายโครงการ เช่น 1. โครงการเรียนรู้ร่วมกันในความเป็นนานาชาติระหว่างนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ 2. โครงการ English Exchange 2022 (International Activity) 3. โครงการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาด้านพัฒนาความเป็นสากลและพัฒนางานวิจัย นวัตกรรม ผู้ประกอบการ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างคณะบริหารธุรกิจ (สาขาวิชาการจัดการ) วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ และวิทยาลัยการออกแบบ 4. ความร่วมมือทางวิชาการ (Joint Projects in Business Program) ระหว่างคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต และ FPT University ประเทศเวียดนาม 5. โครงการบริหารฯ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (ครั้งที่ 14) ไม่มีปัญหา/อุปสรรคในระหว่างการดำเนินงาน
2) คณะบริหารธูรกิจได้เผยแพร่การดำเนินกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ต่อสาธารณชนผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียอย่างเป็นทางการของคณะฯ หลายช่องทาง ไม่มีปัญหา/อุปสรรคในระหว่างการดำเนินงาน
3) คณะบริหารธูรกิจมีทีมงานที่รับผิดชอบมีความเข้มแข็ง โดยมีการกำกับติดตามให้มีการดำเนินงานประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ และในระหว่างการดำเนินโครงการนั้นยังไม่เสร็จสิ้นหรือมีข้อจำกัดต่างๆ ในส่วนของโครงการนั้น ทางคณะก็จะทำการพูดคุย หารือ หรือเสวนากลุ่มย่อยเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดเพื่อให้โครงการนั้นประสบผลสำเร็จ อีกทั้งยังมีการประเมินความสำเร็จตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ของการดำเนินการทุกกิจกรรม เมื่อแล้วเสร็จได้จัดทำรูปเล่มการประเมินกิจกรรมตามตัวชี้วัดในแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และได้นำผลการประเมินที่ได้จากรายงานผลการประเมินตามแผนการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ทั้งปัญหา อุปสรรค การนำข้อเสนอแนะ จุดเด่น จุดด้อย มาปรับปรุงแก้ไขเพื่อนำไปใช้ในการประกอบการพัฒนา ปรับปรุงแผนและรูปแบบของการจัดกิจกรรมในปีการศึกษาถัดไป ไม่มีปัญหา/อุปสรรคในระหว่างการดำเนินงาน

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ควรเปิดโอกาสให้นักศึกษาเป็นผู้นำในการจัดกิจกรรมหรือโครงการส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมให้มากขึ้น โดยให้สร้างความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานภายนอก โดยมีคณาจารย์ฝ่ายกิจการนักศึกษาคอยดูแลแนะนำ ให้คำปรึกษา ก็จะทำให้การส่งเสริมเกิดผลขยายวงกว้างเพื่อต่อยอดไประดับชาติต่อไป สถานการณ์โควิดส่งผลต่อจำนวนนักศึกษาที่เข้ามาทำกิจกรรมทั้งในระดับหลักสูตรและคณะฯ คณะฯกำลังสร้างกลุ่มนักศึกษาให้มีจำนวนและความสามารถในการเข้ามารับผิดชอบในการทำกิจกรรม

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) มีโครงสร้างการบริหารคณะที่ชัดเจน โดยมีหน้าที่และภารกิจในการวางแผนการดำเนินงานของคณะให้เป็นไปตามพันธกิจภายใต้กรอบของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยรังสิต ไม่มีปัญหา/อุปสรรคในระหว่างการดำเนินงาน
2) ผู้บริหารฯหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจะต้องจัดทำรายงาน PDCA สำหรับโครงการ/กิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปแล้ว เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการให้เกิดความเหมาะสม และทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยหัวหน้าสาขาจะเป็นผู้จัดการรายงาน PDCA เพื่อนำเสนอต่อผู้บริหารคณะ สำนักงานวางแผนและคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย เพื่อรับทราบในความสำเร็จของการดำเนินงาน ไม่มีปัญหา/อุปสรรคในระหว่างการดำเนินงาน

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) อาจารย์ดำรงค์ตำแหน่งทางวิชาการมีน้อย ควรมีการพัฒนาอาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการในระดับสูงขึ้น จะต้องปรับมาตรการเพื่อให้การพัฒนาประสบความสำเร็จ บรรลุเป้าหมาย เช่น การทำวิจัยเป็นทีม การปรับภาระงานในแต่ละภาคการศึกษา การส่งเสริมให้ทำผลงานในลักษณะอื่นนอกเหนือจากวิจัย เป็นต้น คณะฯมีการปรับแนวทางการทำผลงานวิจัยของอาจารย์ โดยให้เป็นในลักษณะร่วมมือกันระหว่างสาขาวิชา เพื่อให้เกิดความร่วมมือและแบ่งเบาภาระในการทำวิจัย