รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์

วันที่ประเมิน: 30 กรกฏาคม 2567, 09:30น.

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

[ตัวบ่งชี้ 1.1] การบริหารการจัดการหลักสูตรตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร

เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
1. จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
2. คุณสมบัติอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม

ระบุชื่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่ผลงานวิชาการในรอบ 5 ปี หมดอายุในปีการศึกษาที่ตรวจ (ต้องเพิ่มผลงานชิ้นใหม่ในปีการศึกษาหน้า)

- ไม่มี
ข้อคิดเห็น
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
[สำหรับประเภทวิชาชีพ/ปฏิบัติการ]
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 2 ใน 5 คน ต้องมีประสบการณ์ในด้านการปฏิบัติการ
ระบุข้อคิดเห็น
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม

ระบุชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตรที่ผลงานวิชาการในรอบ 5 ปี หมดอายุในปีการศึกษาที่ตรวจ (ต้องเพิ่มผลงานชิ้นใหม่ในปีการศึกษาหน้า)

- ไม่มี
ข้อคิดเห็น
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
4. คุณสมบัติอาจารย์ผู้สอน ที่เป็นอาจารย์ประจำ
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน ที่เป็นอาจารย์พิเศษ
ข้อคิดเห็น
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ผลการประเมินจากผลการดำเนินงาน ตัวบ่งชี้ 1.1

องค์ประกอบที่ 2 การผลิตบัณฑิต

[ตัวบ่งชี้ 2.1] คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และ ด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ.2561

หมายเหตุ : *
(1) จำนวนบัณฑิตทั้งหมด หมายถึง ผู้รับปริญญา ในปีการศึกษา 2565 ประกอบด้วย บัณฑิตที่จบภาคการศึกษา 1/2565 , 2/2565 และ S/2566 [ปีต้องอัพเดตตามปีการศึกษาที่ประเมินย้อนหลัง 1 ปี]
(2) จำนวนบัณฑิตที่รับการประเมินจากผู้ใช้บัณฑิตต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาตาม (ข้อ1)

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
จำนวนบัณฑิตทั้งหมด 29 4.64
จำนวนบัณฑิตที่ได้รับการประเมินทั้งหมด 19
คะแนนเฉลี่ยรวมคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561 4.64
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 2.2] ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี

หมายเหตุ : *
(1) จำนวนบัณฑิตทั้งหมด จะต้องตรงกับตาราง ตัวบ่งชี้ 2.1
(2) จำนวนบัณฑิตที่ตอบแบบสำรวจจะต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
จำนวนบัณฑิตทั้งหมด 29 4.07
จำนวนบัณฑิตที่ตอบแบบสำรวจ 27
จำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษา [มีงานทำในองค์กร] 19
จำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษา [ประกอบอาชีพอิสระ] 0
จำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษา [ประกอบกิจการส่วนตัว/ธุรกิจครอบครัว] 3
จำนวนบัณฑิตที่ไม่ได้งานทำ 5
จำนวนบัณฑิตที่ศึกษาต่อ 0
จำนวนบัณฑิตที่อุปสมบท 0
จำนวนบัณฑิตที่เกณฑ์ทหาร 0
จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาที่มีงานทำก่อนเข้าศึกษา 0
ร้อยละที่ได้ 81.48
ผลลัพธ์ที่ได้ 4.07
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 2 (2 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 4.36 คะแนน

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

[ตัวบ่งชี้ 3.1] การรับนักศึกษา

คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การรับนักศึกษา:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
จากการประเมินขั้นตอนการรับนักศึกษาพบว่า จำนวนผู้สมัครเรียนในหลักสูตรฯ มีแนวโน้มที่ จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี การศึกษา 2566 มีจำนวนนักศึกษาเพิ่มขึ้นากจำนวนนักศึกษาเมื่อครั้งเปิดหลักสูตรถึงสี่เท่า และมีจำนวนนักศึกษามากกว่าปี การศึกษา 2565 เกือบสองเท่า ซึ่งอาจเป็นผลมาจาก ขั้นตอนการประชาสัมพันธ์ข้อมูลของหลักสูตรฯ ทางช่องทางออนไลน์เป็นไปอย่างดีเยี่ยม จึงมีผู้สนใจเรียน ติดต่อเข้ามาสอบถามข้อมูลเป็นระยะ ซึ่งทางคณะฯ ก็ได้ให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจอย่างละเอียด อีก ทั้งงานบูธแคมป์ ออนไลน์นักสืบรุ่นจิ๋วยังได้รับความสนใจจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ประเมินได้ว่าขั้นตอนการรับนักศึกษาที่หลักสูตรฯ ดำเนินการในปี การศึกษา 2566 เป็นไปได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้ทางหลักสูตรฯ จึงวางแผนที่จะประชาสัมพันธ์ด้วยวิธีการดังกล่าวอย่าง ต่อเนื่อง โดยอาจมีการเพิ่มวิธีการประชาสัมพันธ์ให้มีความน่าสนใจและทันสมัยขึ้น เพื่อให้ได้รับความสนใจ จากผู้ที่มีแนวโน้ มที่จะมาสมัครเรียนมากยิ่งขึ้น เช่น การลงข้อมูลกี่ยวกับการเรียนการสอนเพื่อ ประชาสัมพันธ์ทางช่องทางออนไลน์ให้บ่อยขึ้น และการใช้ Tiktok เพื่อเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรมีการดำเนินการที่หลากหลายในการรับนักศึกษานอกเหนือจากการประชาสัมพันธ์ในช่องทางออนไลน์  เช่น การจัดค่ายเป็นต้น ซึ่งประเด็นเหล่านี้อาจจะนำไปกำหนดอยู่ในแผนระบบและกลไกการรับนักศึกษาเพิ่มเติมได้ ซึ่งอาจเกิดจากการที่หลักสูตรได้มีการทบทวนระบบและกลไกของปีที่ผ่าน ๆ มา จึงมีการปรับกลไก
การเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1.จากการปรับปรุงกระบวนการการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียนให้แก่นักศึกษาผ่านการปฐมนิเทศ และการสอนปรับพื้นฐาน ทบทวนความรู้ ด้านวิทยาศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมปลาย เพื่อปรับพื้นฐานทางวิชาวิทยาศาสตร์ให้แก่นักศึกษาที่ไม่มี พื้นฐาน เพื่อให้มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เบื้องต้นสำหรับการเรียนในรายวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยมีกิจกรรม ต่างๆ เช่น การแนะนำรายวิชาในหลักสูตร กิจกรรมปรับ Mindset เพื่อให้นักศึกษาที่ไม่ได้จบแผนการเรียน วิทยาศาสตร์ เปิดใจกับการเรียนมากขึ้น หลักสูตรสามารถประเมินโครงการอาชญาฯเตรียมความพร้อมและปรับพื้นฐานการเรียนของนักศึกษาชั ้นปี ที่ 1 พบว่ามี คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมนี้ อยู่ที่ 4.52
2.ภาคเรียนที่ S/2566 หลักสูตรได้ดำเนินการกิจกรรมอื่น ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา โดยมีการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ประจำปีการศึกษา 2566 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2566 จึงจัดแบบ on-site กำหนดการเริ่มจากการให้คณบดีและประธานกรรมการคณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม กล่าวต้อนรับนักศึกษาประจำปีการศึกษา 2566 และแนะนำหลักสูตรในภาพรวม จากนั้นอาจารย์ประจำหลักสูตรทุกท่านแนะนำตนเอง ตามด้วยตัวแทนจากสโมสรนักศึกษาคณะอาชญาฯ และบัณฑิตที่จบไปแล้ว แนะนำตนเองและการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยในฐานะรุ่นพี่ ก่อนให้อาจารย์ รุ่นพี่ และเพื่อน ๆ ได้รู้จัก และปิดท้ายด้วยการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ซักถามข้อสงสัย และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้พบอาจารย์ที่ปรึกษาที่จะคอยดูแลนักศึกษาไปตลอดจนจบการศึกษา นอกจากนี้ หลักสูตรฯ มีการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาด้านการสร้างเสริมคุณลักษณะภายใน (Soft skills) ที่ดี ผ่านรายวิชา RSU 111 สังคมธรรมาธิปไตย ที่มีจุดมุ่งหมายรายวิชาต้องการปลูกฝังคุณลักษณะที่ดีความเป็นพลเมือง ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อตนเอง และความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม ความเคารพในความแตกต่าง กติกา สิทธิของผู้อื่น และความเสมอภาค ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ทำให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข รายวิชาดังกล่าวนักศึกษาใหม่ทุกคนต้องเรียนในภาคเรียนที่ S/2566

          ก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1/2566 หลักสูตรได้มีการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาสู่การเรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ในภาคเรียนที่ 1 ผ่านโครงการอาชญาฯเตรียมความพร้อมและปรับพื้นฐานการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จัดขึ้นในวันที่  18  สิงหาคม 2566  เพื่อให้นักศึกษาใหม่ได้ทบทวนความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมปลาย เพื่อปรับพื้นฐานทางวิชาวิทยาศาสตร์ให้แก่นักศึกษาที่ไม่มีพื้นฐาน เพื่อให้มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เบื้องต้นสำหรับการเรียนในรายวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยมีกิจกรรมต่างๆ เช่น การแนะนำรายวิชาในหลักสูตร กิจกรรมปรับ Mindset เพื่อให้นักศึกษาที่ไม่ได้จบแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ เปิดใจกับการเรียนมากขึ้น และมีการแนะนำรายวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ต้องเรียนโดยรุ่นพี่ เพื่อให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ทราบว่าแต่ละรายวิชาเกี่ยวกับอะไร และต้องเรียนอย่างไร นอกจากนี้ การจัดกิจกรรมดังกล่าวเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาใหม่ รวมทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับรุ่นพี่และคณาอาจารย์ในหลักสูตรอีกด้วย


 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ควรมีการประเมินร้อยละของนักศึกษาใหม่ที่มีความพร้อมในการศึกษาจากการเข้าร่วมกิจกรรมการเตรียมความพร้อมต่าง ๆ ว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ เพื่อจะได้นำผลประเมินดังกล่าวไปใช้ในการปรับปรุงกระบวนการ หรือกิจกรรมในรอบถัดไป รวมทั้งคาดหวังการรักษาอัตราการคงอยู่ของนักศึกษาใหม่เพิ่มมากขึ้น
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 3.2] การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา

คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษาปริญญาตรี:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1.โครงการอาชญาฯ เราไม่ทิ้งกัน เป็นโครงการดูแลนักศึกษาที่ดี  และมีผลประเมินสูงถึง 4.5
2.ปีการศึกษา 2566 จากการประเมินการดำเนินการด้านการควบคุมดูแลและการให้คำปรึกษาพบว่า อาจารย์ที่ปรึกษาสามารถให้คำปรึกษาต่างๆ แก่นักศึกษาได้อย่างครอบคลุมผ่านทาง Application Line  และ หลักสูตรจัดโครงการอาชญาฯเราไม่ทิ้งกัน ให้แก่นักศึกษาที่มีปัญหาทางการเรียนวิชาด้านวิทยาศาสตร์ที่มีเนื้อหาซับซ้อนตามคำบอกเล่าของนักศึกษา  โดยอาจารย์และรุ่นพี่มาช่วยกันติวผ่านช่องทาง Zoom เพื่อให้นักศึกษาได้ทบทวนเนื้อหาในรายวิชานั้นๆ  และสอบถามในประเด็นที่ไม่เข้าใจ

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ไม่พบการรายงานผลประเมินระบบอาจารย์ที่ปรึกษา และผลประเมินอาจารย์ที่ปรึกษารายบุคคล เพื่อนำผลประเมินมาปรับปรุงระบบดังกล่าวต่อไป
การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1.มีการระบุทักษะสามกลุ่มที่สำคัญกับการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21  และมีระบบกลไกและกิจกรรมหลากหลายในการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
2.ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรได้ดำเนินการหลาย ๆ กิจกรรมประกอบกัน ทั้งในรูปแบบออนไลน์และ onsite เช่น สวทช. และการพานักศึกษาไปดูงานนอกสถานที่ในรายวิชาต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาได้มีความเข้าใจและเห็นการทำงานจริงของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมและนิติวิทยาศาสตร์ ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง นอกจากนี้ หลักสูตรฯ ยังใช้แนวปฏิบัติเช่นเดียวกับปีการศึกษา 2565 โดยมีการเรียนเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานภายนอกต่าง ๆ มาให้ความรู้ในแต่ละรายวิชา เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้ที่เกี่ยวข้องกับในแต่ละรายวิชาแบบทันสมัยจากปฏิบัติงานจริง

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
1.ควรแสดงตารางการ Mapping ระหว่างทักษะในศตวรรตที่ 21 ด้านต่าง ๆ กับกิจกรรม/โครงการ ที่ใช้ในการพัฒนาให้เกิดทักษะด้านนั้น ๆ ตลอดจนตัวชี้วัดความสำเร็จ
2.ควรรายงานผลประเมินตามข้อ 1 ถึงร้อยละของนักศึกษาที่ได้รับการพัฒนาให้เกิดทักษะในศตวรรตที่ 21 ตามกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อนำผลประเมินมาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการ หรือกิจกรรมในรอบถัดไป
การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในการส่งเสริมให้เกิดการสร้างผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1.มีระบบการพัฒนานักศึกษาด้านงานวิจัยที่เข้มแข็ง นักศึกษาทุกคนต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาระเบียบวิธีวิจัยเพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจถึงหลักการ ในการทำวิจัยเบื้องต้นและฝึกทักษะการทำวิจัยให้แก่นักศึกษา
2.นักศึกษามีการประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางด้านอาชญวิทยา และองค์ความรู้ที่ได้จากหลักสูตรในการทำวิจัยได้เป็นอย่างดี
3.นอกจากนี้ สำหรับแผนการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาด้านการสร้างผลงานวิจัยในอนาคต หลักสูตรฯ จะมีการจัดให้นักศึกษาระดับปริญญาโทและเอกของคณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม หรือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีของคณะฯ ที่จบการศึกษาไปแล้ว มาบรรยายให้ความรู้และบอกเล่าประสบการณ์ การปฏิบัติงาน ตลอดจนให้มุมมองด้านอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรมที่สามารถนำไปใช้ในการต่อ ยอดงานวิจัยใหม่ๆได้ในอนาคต

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หากพิจารณาเลือกหัวข้อหรือผลงานของนักศึกษาที่สามารถตีพิมพ์เผยแพร่ได้ นอกจากเป็นการพัฒนานักศึกษาแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ประชาสัมพันธ์เรื่องคุณภาพบัณฑฺิตได้อีกทางหนึ่ง 
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 3.3] ผลที่เกิดกับนักศึกษา

หลักสูตรเปิดปีการศึกษา 2561 เป็นหลักสูตร 4 ปี (สำเร็จการศึกษาปีแรก: 2564)
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การคงอยู่
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2564
ร้อยละ 66.67
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2565
ร้อยละ 79.41
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2566
ร้อยละ 67.39
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
 
การสำเร็จการศึกษา
ร้อยละอัตราสำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2564
ร้อยละ 76.67
ร้อยละอัตราสำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2565
ร้อยละ 85.29
ร้อยละอัตราสำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2566
ร้อยละ 73.91
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ความพึงพอใจและผลการจัดการข้อร้องเรียนของนักศึกษา
ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาเฉลี่ย ปีการศึกษา 2564 ร้อยละ 4.40
ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาเฉลี่ย ปีการศึกษา 2565 ร้อยละ 4.45
ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาเฉลี่ย ปีการศึกษา 2566 ร้อยละ 4.48
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 3 (3 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 3.00 คะแนน

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

[ตัวบ่งชี้ 4.1] การบริหารและพัฒนาอาจารย์

คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
ระบบการรับและแต่งตั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
การรับและแต่งตั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเป็นไปตามระบบและกลไกที่ทางหลักสูตรและคณะได้กำหนด หลักสูตร ได้ประเมินระบบการรับและแต่งตั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรก็พบว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้ สำหรับประเด็นที่อาจจะต้องพิจารณาเพื่อปรับปรุงคือ การผลักดันให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรขอตำแหน่งทางวิชาการและมีผลงานตีพิมพ์ในรอบ 5 ปี ตามเกณฑ์คุณสมบัติผู้รับผิดชอบหลักสูตร
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
        ปีการศึกษา 2566 ได้มีการปรับเปลี่ยนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร คือ อ.ยุวดี เทอดอุดมธรรม และ อ.วรางคณา เล็กตระกูล เนื่องจากอาจารย์ทั ้ง 2 ท่านไม่มีผลงานวิชาการตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาการ และโดยได้เปลี่ยนเป็นอาจารย์ผศ.ดร.รัชนก ขาศิริ และ อ.รัชติพรรณ ปิติวรารมย์แทน จึงทำให้ร้อยละการคงอยู่ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรในปีการศึกษา 2566 เท่ากับ 60 (อ้างอิงหน้า 73) จึงควรวางแผนให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกท่านผลิตผลงานทางวิชาการโดยสม่ำเสมอ อาจกำหนดเป้าหมายตามเกณฑ์ มรส. ที่ค่าถ่วง 0.4 ต่อคนต่อปี เป็นต้น
 
ระบบการบริหารอาจารย์:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
การสำรวจความพึงพอใจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม โดยผลสรุปการประเมินความพึงพอใจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรในปีการศึกษา 2566 มีค่าเฉลี่ยรวม เท่ากับ 4.60 ซึ่งมากกว่าการประเมินความพึงพอใจเมื่อปีการศึกษา 2565 (4.57)
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
 
ระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ให้มีคุณภาพทั้งด้านความรู้ ความสามารถในเนื้อหาวิชาที่รับผิดชอบ สามารถก้าวทันวิทยาการสมัยใหม่ มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ การวิจัย และการพัฒนาศาสตร์ในสาขาวิชาที่รับผิดชอบ:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1.มีการวางแผนสนับสนุนให้อาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งวิชาการที่ชัดเจน เช่น อาจารย์ที่จะขอตำแหน่งวิชาการได้รับยกเว้นให้ไม่ต้องสอนในภาคการเรียนที่ 3 เป็นต้น 
2.มีกิจกรรมที่ส่งเสริมทั้งวิชาการและวิชาชีพของอาจารย์ทุกท่าน
3.จากการทบทวนกระบวนการระบบและกลไกในการบริหารและพัฒนาอาจารย์ พบว่าการบริหารและพัฒนาอาจารย์เป็นไปตามระบบและกลไกที่ทางหลักสูตร คณะ และมหาวิทยาลัยได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติ ทั้งนี้ ในการบริหารและการพัฒนาอาจารย์ด้านต่างๆ ทางหลักสูตรได้มีการวัดผลความสำเร็จ โดยจะเปรียบเทียบผลงานที่เกิดขึ้นจริงกับเป้าหมาย

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรไม่ได้แสดงแผนการพัฒนาบุคลากรเป็นรายบุคคลที่ตอบคุณภาพทั้งด้านความรู้ ความสามารถในเนื้อหาวิชาที่รับผิดชอบ สามารถก้าวทันวิทยาการสมัยใหม่ มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ การวิจัย และการพัฒนาศาสตร์ในสาขาวิชาที่รับผิดชอบ ทั้งนี้ หลักสูตรสามารถ Download แบบฟอร์ม IDP ของ HRD มาใช้ในการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรเป็นรายบุคคลได้ เพื่อจะได้ประเมินความสำเร็จของการพัฒนาว่าเป็นไปตามแผนหรือไม่
 
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)

[ตัวบ่งชี้ 4.2] คุณภาพอาจารย์

4.2.1 ร้อยละของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้งหมด 5 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 3
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 60.00
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 20 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
4.2.2 ร้อยละของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้งหมด 5 5.00
[2] ไม่มีตำแหน่งทางวิชาการ [อาจารย์] 2
[3] ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ 2
[4] ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ 1
[5] ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ 0
[6] ดำรงตำแหน่งทางวิชาการทั้งหมด [3] + [4] + [5] 3
[7] ร้อยละที่ได้ [6] X 100 / [1] 60.00
[8] ผลลัพธ์ที่ได้ [7] x 5 / 60 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
4.2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
หมายเหตุ เป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในรอบปีที่รับการประเมินเท่านั้น [ช่องไหนไม่มีผลงานให้ใส่ 0 ไม่ปล่อยว่าง]
จำนวนผลงานทางวิชาการตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 0 0 3
จำนวนผลงานสร้างสรรค์ตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 0 0 0
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] ผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ 3.00 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้งหมด 5
[3] ร้อยละที่ได้ [1] X 100 / [2] 60.00
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 20 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
รายการหลักฐาน ตัวบ่งชี้ 4.2 คุณภาพอาจารย์
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ตัวบ่งชี้ 4.2 คุณภาพอาจารย์ คะแนนที่ได้ 5.00 คะแนน

[ตัวบ่งชี้ 4.3] ผลที่เกิดกับอาจารย์

หมายเหตุ :
(1) ยกเว้นกรณี การเกษียณอายุงาน และการเสียชีวิต
(2) หากรายชื่อมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากปรับเข้าเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร พ.ศ. 2558 ให้ถือว่าอัตราการคงอยู่ครบในปีการศึกษาแรกที่ปรับเข้าเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร 2558
(3) หากรายชื่อที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบท่านใหม่ต้องมีประสบการณ์ร่วมบริหารหลักสูตรมาไม่น้อยกว่า 9 เดือน (มีหลักฐานรายงานการประชุมภาควิชาหรือการประชุมหลักสูตร)
(4) รายงานถึงสิ้นสุดปีการศึกษา 2566 และจะได้รับการประเมินแนวโน้มผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นต้องประเมิน จาก ≥ 3 ชุดข้อมูล
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การคงอยู่ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2564
ร้อยละ 80.00
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2565
ร้อยละ 100.00
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2566
ร้อยละ 60.00
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปี 2566 ได้มีการปรับเปลี่ยนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร คือ นางยุวดี เทอดอุดมธรรม และนางสาววรางคณา เล็กตระกูล เนื่องจากอาจารย์ทั้ง 2 ไม่มีผลงานวิชาการตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาการ และโดยได้เปลี่ยนเป็นอาจารย์ ผศ.ดร.รัชนก ขำศิริ  และนางสาวรัชติพรรณ ปิติวรารมย์แทน จึงทำให้คะแนนร้อยละการคงอยู่ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรในปีการศึกษา 2564  เท่ากับ 60
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ความพึงพอใจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีต่อการบริหารหลักสูตร
ความพึงพอใจ ในปีการศึกษา 2564 ร้อยละ 4.55
ความพึงพอใจ ในปีการศึกษา 2565 ร้อยละ 4.57
ความพึงพอใจ ในปีการศึกษา 2566 ร้อยละ 4.60
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

[ตัวบ่งชี้ 5.1] สาระของรายวิชาในหลักสูตร

24
23
95.83
คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การออกแบบหลักสูตร และสาระรายวิชาในหลักสูตรที่ปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน มีหลักสูตรหรือรายวิชาที่เป็นความร่วมมือกับสถานประกอบการ
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1.ผู้สำเร็จการศึกษา มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานและจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร โดยรวมในระดับดี โดยให้ความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายวิชาในหลักสูตร และมีข้อคิดเห็นของคณาจารย์ที่มีต่อผลการประเมินดังกล่าวนำไปสู่การเพิ่มรายวิชาในข้อ 2.  รวมทั้งมีกระบวนการประเมินโดยใช้แบบสอบถามในการสอบถามจากนายจ้าง ผู้ให้การฝึกงาน รวมไปถึงพี่เลี ้ยงในการฝึ กงานและสหกิจศึกษา นำไปสู่การเพิ่มรายวิชาในข้อ 2.
2.หลักสูตรได้มีการเพิ่มรายวิชา CJA 218 การตรวจพิสูจน์ลายนิ้วมือและพยานเอกสารวิชา PAT 209 พยาธิสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับนักศึกษาสาขาอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ และ วิชา CJA 208 นิติเคมีเบื ้องต้น เป็นวิชาชีพเลือก และได้สอดแทรกความรู้ ที่ทันสมัยเข้ากับปัญหาในปัจจุบัน เช่น อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ในรายวิชา CJA406 คอมพิวเตอร์และกฎหมายด้านคอมพิวเตอร์รวมทั ้งมีการปรับปรุง เพิ่มเติมหัวข้อในรายวิชาต่างๆ เช่น พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ให้สอดคล้องกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป


 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรอาจเพิ่มรายละเอียดในเรื่องการประเมินกระบวนการและการปรับปรุงกระบวนการในประเด็นนี้
 
มีการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิที่ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน (Learner Person, Innovative Co-Creator, Active Citizen) ตามวิสัยทัศน์และจุดเน้นของหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
การกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ให้ความสำคัญกับการดำเนินการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิที่ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน อันได้แก่ Learner Person (ผู้เรียนรู้ที่พึ่งพาตนเองได้) Co-creator (ผู้เรียนทำงานร่วมกับผู้อื่นได้) และ Active Citizen (ผู้เรียนร่วมสร้างประโยชน์ให้ส่วนรวม) มีการกำหนดอย่างชัดเจนในมคอ.2  หมวดที่ 4 ผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอนและการประเมินผลในหัวข้อการพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของนักศึกษา
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรควรแสดงการ Mapping ระหว่างกลุ่มรายวิชา เทียบกับผลลัพธ์ผู้เรียน 3 ด้าน เพื่อใช้ในการปรับปรุงกระบวนการ Mapping ดังกล่าว เพื่อให้เกิดสัมฤทธิผลของร้อยละนักศึกษา ที่เกิดผลลัพธ์ผู้เรียนในแต่ละด้าน
 
การปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าในศาสตร์สาขานั้นๆ และเชื่อมโยงกับการนำไปใช้ได้จริง
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1.มีการใช้สถานการณ์จริงมาประยุกต์กับการเรียนการสอนในชั้นเรียน
2.มีรายวิชาที่ปรับปรุงให้ทันสมัยจำนวน 23 รายวิชา จากทั้งหมด 28 รายวิชา คิดเป็นร้อยละ 82.14 เป็นไปตามเป้าหมาย KR1.2.1 ที่ร้อยละ 80
3.ในปีการศึกษา 2566 รายวิชาต่าง ๆ มีการปรับปรุง เพิ่มเติม หัวข้อต่างๆ ในการเรียนการสอน โดยเน้นให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริงเพื่อรู้เท่าทันอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เช่น รายวิชา CJA 406 คอมพิวเตอร์ และกฎหมายด้านคอมพิวเตอร์สำหรับนิติวิทยาศาสตร์ มีการเพิ่มเติมหัวข้อการเรียนการสอนเรื่องพรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลการการสืบสวนอาชญากรรมไซเบอร์ การเก็บหลักฐานกรณีเว็บพนันออนไลน์ หรือรายวิชา CJA 314 องค์กรอาชญากรรมและอาชญากรรมข้ามชาติ สอนเรื่อง อาชญากรรมข้ามชาติเชิงเศรษฐกิจและอาชญากรรมไซเบอร์ต่างๆ เช่น แก๊งค์ call center เพื่อให้นักศึกษาทราบถึงรูปแบบวิธีการของอาชญากรรมเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อและสามารถเป็นกระบอกเสียงในการช่วยเฝ้าระวังหรือแนะนำบุคคลรอบตัวไม่ให้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ได้ ส่วนรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย จะมีการเรียนการสอนเกี่ยวกับกฎหมายหรือพระราชบัญญัติ  ต่าง ๆ ที่สำคัญและมีความเกี่ยวข้องกับงานด้านอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงให้เข้ากับบริบทสังคมในปัจจุบัน เช่น พรบ.ป้องกันและปราบปรามการทรมาน  cละการกระทำให้บุคคลสูญหาย เพื่อให้นักศึกษาเกิดเข้าใจและมีองค์ความรู้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตจริง

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ควรรายงานสัมฤทธิผลการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาที่มีการปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยต่อความต้องการของผู้เรียน และการมีส่วนร่วมของสถานประกอบการว่าเป็นไปตามแผนการปรับปรุงร้อยละเท่าใด โดยอาจจะรายงานจากผลประเมินใน RQF.5

ควรเพิ่มเติมรายละเอียดจากการนำระบบและกลไกไปใช้ในการดำเนินการ รวมถึงการประเมินกระบวนการและการปรับปรุงกระบวนการในปีการศึกษา 66
 
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 5.2] การวางระบบผู้สอน และกระบวนการจัดการเรียนการสอน

คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดผู้สอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1.มีการกำหนดผู้สอนเหมาะสมตามภาระงาน
2.ผลประเมินการสอนอยู่ในระดับดีมาก(คะแนนประเมินความพึงพอใจผู้สอนทุกท่านเฉลี่ย  4.11ขึ้นไป
3.การปฏิบัติในขั้นตอนการกำหนดผู้สอนปีการศึกษา 2566 เป็นไปตามกลไกที่วางไว้ โดยในทุกรายวิชามีอาจารย์ผู้สอนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้น ๆ ส่วนบางรายวิชาที่อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรหรืออาจารย์ประจำหลักสูตรไม่มีความเชี่ยวชาญ เช่น รายวิชาเกี่ยวกับกฎหมายหรือรายวิชาเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ หลักสูตรฯ ก็มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิในหัวข้อนั้น ๆ มาร่วมบรรยายให้ความรู้แก่นักศึกษาในแต่ละรายวิชา แต่ก็ยังคงมีอาจารย์ผู้รับผิดชอบ/อาจารย์ประจำหลักสูตรเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและเป็นผู้ประสานงาน 

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรสามารถอาจเพิ่มความชัดเจนของการกำหนดอาจารย์ผู้สอนตามรายวิชา โดยเพิ่มข้อมูลคุณวุฒิ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ งานวิจัย ผลงานตีพิมพ์ และประสบการณ์บริการวิชาการ เป็นต้น อีก 1 คอลัมน์

อาจเพิ่มเติมรายละเอียดความเชี่ยวชาญ ของอาจารย์ผุ้สอนเพื่อความสอดคล้องกับการวางระบบผู้สอน และกระบวนการจัดการเรียนการสอน

 
การกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียนรู้ (มคอ.3 และ มคอ.4) และการจัดการเรียนการสอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1.มีการติดตาม ตรวจสอบ ควบคลุมให้เป็นไปตามกำหนด ซึ่งเมื่อพบปัญหา ก็ปรับกระบวนการหาแนวทางแก้ไขให้สอดคล้องกับบริบทของอาจารย์ที่ต่างกัน ทำให้สามารถดำเนินการได้สำเร็จ
2.ผลการนำกลไกที่วางไว้ไปปฏิบัติในปีการศึกษา 2566 ไม่พบปัญหาใดในขั้นตอนการกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียนรู้ (มคอ.3) และการจัดการเรียนการสอน อาจารย์แต่ละรายวิชาได้จัดทำและ upload มคอ.3 ขึ้นในระบบออนไลน์ของมหาวิทยาลัย อาจมีบางรายวิชาที่อาจารย์มีภาระงานค่อนข้างเยอะ ส่งผลให้มีการจัดทำและ upload ล่าช้า แต่ทางหลักสูตรฯ ก็ให้เจ้าหน้าที่ประจำหลักสูตรฯ เป็นผู้ติดตามผ่านทาง Application Line เนื่องจาก Application ดังกล่าวสามารถพูดคุยติดต่อสื่อสารกันได้สะดวกและรวดเร็วมากกว่า อาจารย์บางท่านอาจไม่มีเวลาตรวจสอบ E-mail จึงเลือกใช้การติดตาม มคอ. 3 ผ่าน Application Line อีกหนึ่งช่องทาง พบว่าการดำเนินการสามารถบรรลุผลตามกำหนดเวลา

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ไม่พบการรายงานการปรับปรุงกระบวนการของปีการศึกษา 2566 หลักสูตรอาจรายงานรายวิชาที่มีการนำผลประเมินจาก RQF.5 มาใช้ในการปรับปรุง RQF.3
 
การจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีที่มีการบูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1.มีการจัดการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
2.กลไกที่หลักสูตร วางไว้ในการจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีที่มีการบูรณาการกับการวิจัย หลักสูตรฯ มีการวางแผนจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการกับการวิจัยผ่านรายวิชาต่างๆ อาทิ จิตวิทยากับกระบวนการยุติธรรม เหยื่อวิทยา ฯ ก็มีการยกตัวอย่างให้นักศึกษาเข้าใจในแต่ละหัวข้อด้วยงานวิจัยร่วมสมัยที่เกี่ยวข้อง หรือรายวิชาการพิสูจน์หลักฐานได้ให้นักศึกษาอ่านบทความวิจัยเป็นภาษาอังกฤษเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้การพัฒนาการของความรู้และเทคโนโลยีในการตรวจพิสูจน์หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์
กลไกที่หลักสูตร วางไว้ในการจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีที่มีการบูรณาการกับการบริการวิชาการทางสังคม หลักสูตรฯ เน้นให้แต่ละวิชาผลักดันให้นักศึกษาเข้าร่วมการจัดงานเสวนาวิชาการ การบริการวิชาการทางสังคม มีการจัดกิจกรรมซ้อมเผชิญเหตุกราดยิง ณ กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2566 เพื่อให้นักศึกษามีทักษะการเอาตัวรอดและช่วยเหลือผู้อื่นในสถานการณ์ที่ไม่อาจคาดหมายได้ซึ่งเป็นการเรียนจริงและปฏิบัติจริง การเข้าฟังบรรยาย ในหัวข้อ “โครงการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องที่พึ่งแรกของ ประชาชน” เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 ณ อุทธรณ์ชำนัญพิเศษ ศาลยุติธรรม และการอภิปรายในโครงการ “ไกล่เกลี่ก่อนฟ้อง ที่พึ่งแรกของประชาชน” โดยศาลอุทธรณ์ร่วมกันคณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567  ณ มหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อเป็นการให้นักศึกษามีความเข้าใจ และทราบถึงกระบวนการ รวมทั้งเห็นถึงประโยชน์ของกระบวนการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องและนำความรู้ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้แก่ตนเองหรือให้สามารถให้ตำแนะนำแก่บุคคลอื่นได้

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
1.ควรแสดงชื่อรายวิชาที่มีการบูรณาการกับพันธกิจต่าง ๆ โดยระบุวัตถุประสงค์ของการบูรณาการในแต่ละรายวิชา เพื่อนำผลประเมินตามวัตถุประสงค์มาใช้ในการปรับปรุงการ Mapping รายวิชากับพันธกิจต่าง ๆ ตลอดจนการจัดการเรียนการสอนต่อไป
2.ควรกำหนดระบบและกลไกในการจัดการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการกับการวิจัยการบริการทางสังคมและการบำรุงศิลปะวัฒนธรรมและความเป็นไทยให้ชัดเจน 
3.ควรระบุรายวิชาที่มีการบูรณาการกับพันธกิจต่าง ๆ ทั้งทางด้านการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคม และศิลปะและวัฒนธรรมไทย 

 
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 5.3] การประเมินผู้เรียน

คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ที่ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน (Learner Person, Innovative Co-Creator, Active Citizen) ตามวิสัยทัศน์และจุดเน้นของหลักสูตร ตลอดจนมาตรฐานวิชาชีพ (ถ้ามี)
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1.มีระบบกลไก การนำไปปฏิบัติ และการทวบทวนกระบวนการ
2.ปีการศึกษา 2566 เมื่อพิจารณาจาก มคอ.3 ของแต่ละรายวิชาที่เปิดสอนพบว่า สามารถวางแผนการเรียนการสอนได้เป็นไปตามผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้  ใน มคอ.2 โดยรายวิชาส่วนใหญ่มีวิธีการประเมินตามมาตรฐานผลการเรียนรู้

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ควรรายงานสรุปสัมฤทธิผลการเรียนรู้รายวิชา ตาม TQF5 และ DOE3 จาก RQF.5 เพื่อใช้ในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนรายวิชาต่อไป 
การตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1.มีการทวนสอบไม่น้อยกว่า 25% ของรายวิชาทั้งหมด โดยล้อไปกับผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2561 
2.การประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในทุกวิชาเป็นไปตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตรงตาม ที่กำหนดไว้ใน มคอ. 2 และกลยุทธ์ในการประเมินผู้เรียนสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และลักษณะการเรียนการสอนในรายวิชานั้น ๆ

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
การกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอน และประเมินหลักสูตร (มคอ.5 มคอ.6 และ มคอ.7)
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1.อาจารย์ผู้สอนแต่ละรายวิชาจัดทฎและ Upload RQF.5 เข้าระบบภายในกำหนด โดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ดำเนินการตรวจสอบรายละเอียดที่เขียนไว้ภายใน RQF.5 เพื่อพิจารณาถึงผลและปัญหาที่อาจเกิดขึ ้นในการสอนและข้อเสนอแนะที่ควรต้องปรับปรุงในการจัดการเรียนการสอนแต่ละรายวิชา ซึ่งพบว่าการประเมินการจัดการเรียนการสอน และประเมินหลักสูตรเป็นไปตามที่วางไว้ การประเมินผลการเรียนรู้ ของผู้เรียนในทุกรายวิชาเป็นไปตามผลการเรียนรู้ตรงตามที่กำหนดไว้ในมคอ. 2 การกระจายของคะแนนในรายวิชาที่เปิ ดสอนส่วนใหญ่เป็ นไปตามปกติ
2.อาจารย์ผู้สอนแต่ละรายวิชาจัดทำและ Upload มคอ.5 เข้าระบบภายในกำหนด โดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ดำเนินการตรวจสอบรายละเอียดที่เขียนไว้ภายในมคอ.5 เพื่อพิจารณาถึงผลและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในการสอนและข้อเสนอแนะที่ควรต้องปรับปรุงในการจัดการเรียนการสอนแต่ละรายวิชา พบว่าการประเมินการจัดการเรียนการสอน และประเมินหลักสูตร เป็นไปตามที่วางไว้ การประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในทุกรายวิชาเป็นไปตามผลการเรียนรู้ตรงตามที่กำหนดไว้ในมคอ. 2 การกระจายของคะแนนในรายวิชาที่เปิดสอนส่วนใหญ่เป็นไปตามปกติ

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 5.4] ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

หมายเหตุ: KPI ให้สอดคล้องและเป็นไปตามที่ระบุใน มคอ.2
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
1. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรอย่างน้อยร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผน ติดตาม และทบทวนการดำเนินงานหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
2. มีรายละเอียดของหลักสูตรตามแบบ มคอ.2 ที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ หรือมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา [ถ้ามี]
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและนิติ วิทยาศาสตร์เป็ นหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566 โดยได้รับการรับทราบจาก สป.อว. เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2566
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
3. มีรายละเอียดของรายวิชา และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม [ถ้ามี] ตามแบบ มคอ.3 และ มคอ.4 อย่างน้อยก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาให้ครบทุกรายวิชา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรควรใช้แบบฟอร์มใหม่ RQF.3 
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
4. จัดทำรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา และรายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม [ถ้ามี] ตามแบบ มคอ.5 และ มคอ.6 ภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่เปิดสอนให้ครบทุกรายวิชา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรควรใช้แบบฟอร์มใหม่ RQF.5 เพื่อรายงานค่าร้อยละนักศึกษาที่มีสัมฤทธิผลการเรียนรู้ตามที่รายวิชากำหนด
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
5. จัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตรตามแบบ มคอ.7 ภายใน 60 วัน หลังสิ้นสุดปีการศึกษา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
6. มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ที่กำหนดใน มคอ.3 และ มคอ.4 [ถ้ามี] อย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรเปิดทำการสอนจำนวน 24 รายวิชา มีผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ที่กำหนดใน RQF.3 และ RQF.4 (ถ้ามี) จำนวน 6 วิชา คิดเป็นร้อยละ 25
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
7. มีการพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน หรือการประเมินผลการเรียนรู้จากผลการประเมินการดำเนินงานที่รายงานใน มคอ.7 ปีที่แล้ว
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรมีการพัฒนา ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์ การสอน และการประเมินผลการเรียนรู้ ตามข้อเสนอแนะใน RQF.7 ของปีการศึกษา 2565 ซึ่งได้ดำเนินการเรียบร้อย เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2566 แต่ไม่มีสรุปการปรับปรุง
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
8. อาจารย์ใหม่ [ถ้ามี] ทุกคน ได้รับการปฐมนิเทศ หรือคำแนะนำด้านการจัดการเรียนการสอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
 ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ . มีการรับ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรใหม่ จ านวน 2 คน โดยได้รับการปฐมนิเทศและคำแนะนำด้านการจัดการเรียนการสอน ดังนี ้
- ภาระงานสอน ยึดตามภาระงานปกติที่ กำหนดโดยมหาวิทยาลัย หลักสูตรจะ ด าเนินการวางแผนรายวิชาที่จะเปิดสอนในแต่ละปี การศึกษาล่วงหน้าอย่างน้อย 1 ปี - ภาระงานการท างานวิชาการ มีการอิง ตามแนวทางการพัฒนาบุคลากรสาย อาจารย์ของมหาวิทยาลัย หลักสูตรให้ อาจารย์แต่ละคนทำแผนพัฒนาตนเอง
- ภาระงานบริการวิชาการและกิจกรรม อื่นๆ คณะและหลักสูตรจะมอบหมาย ภารกิจ
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
9. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกคนได้รับการพัฒนาทางวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปี การศึกษา 2566 อาจารย์ผู้รับผิดชอบ หลักสูตรทุกคน ได้มีการพัฒนาคุณภาพ อาจารย์ทางวิชาการ/ วิชาชีพ ดังต่อไปนี ้
     1. รศ.ดร.ธเนศ พงศ์ธีรัตน์เข้าร่วมอบรม 2 ครั ้ง -หัวข้อ กิจกรรมการอบรมเรื่อง การอบรม เชิงปฏิบัติการแพทยศาสตร์ศึกษาขั ้น พื ้นฐาน วันที่ 20 ก.ค. 2566
- โครงการถ่ายทอดประสบการณ์เรื่อง เทคนิคการเขียน manuscript เพื่อตีพิมพ์ ในวารสารนานาชาติวันที่ 9 ต.ค. 2566
     2. ดร.ภูมภัสส์ พุทธ์ผดุงวิพล เข้าร่วม อบรม 1 ครั ้ง -กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Developing a Competency-Based Curriculum
     3.ผศ.ดร.รัชนก ข าศิริเข้าร่วมอบรม 3 ครั ้ง - กิจกรรมฝึ กอบรมหลักสูตร "Prompt Engineering และ ChatGPT" 29 พฤษภาคม 2566 - การประชุมวิชาการประจ าปี ภาควิชา พยาธิวิทยา PAC2023 RAMATHIBODI PATHOLOGY ACADEMIC CONFERENCE 2023 1 มิถุนายน 2566- - เข้าร่วมการอบรม “ เรื่อง การปฏิบัติการ ทางคลินิกที่ดี GOOD CLINICAL PRACTICE (GCP)" 9 พฤษภาคม 2567
     4.ผศ.ปฐวีณ์กร เกษโกมล เข้าร่วมอบรม 2 ครั ้ง - การประชุมวิชาการประจ าปี ภาควิชา พยาธิวิทยา PAC2023 RAMATHIBODI PATHOLOGY ACADEMIC CONFERENCE 2023 - กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Developing a Competency-Based Curriculum
     5.นางสาวรัชติพรรณ ปิ ติวรารมย์เข้าร่วม อบรม 2 ครั ้ง - กิจกรรม เสวนาวิชาการ เรื่อง “กระบวนการพัฒนาพฤตินิสัย การแก้ไข ฟื ้นฟู หลักการปล่อยตัวผู้ต้องขัง” - กิจกรรมอบรมหลักสูตร การไกล่เกลี่ย ก่อนฟ้อง

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
10. จำนวนบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอน [ถ้ามี] ได้รับการพัฒนาวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ต่อปี
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตร อาชญาวิทยาและนิติ วิทยาศาสตร์ มีบุคลากรสายสนับสนุนการเรียนการสอน จ านวน 1 คน โดยได้รับ การพัฒนาทางวิชาการ/ วิชาชีพ จำนวน 2 ครั้งในปีการศึกษา 2566 คิดเป็นร้อยละ 100
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
11. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้าย/บัณฑิตใหม่ที่มีต่อคุณภาพหลักสูตร เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.50 จากคะแนนเต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ จัดทำแบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย/ บัณฑิตใหม่ โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.48
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
12. ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตใหม่ เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.50 จากคะแนนเต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ จัดทำแบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตใหม่ โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.65
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
13. ร้อยละ 80 ของรายวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอน สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนด
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรอาชญา วิทยาและนิติวิทยาศาสตร์มีการจัดการเรียนการสอน จำนวน 28 รายวิชา โดยสามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนด คิดเป็นร้อยละ 100
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
14. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อคุณภาพการสอน รวมทุกรายวิชา เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตร อาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์
มีการจัดการเรียนการสอน จำนวน 28 รายวิชา โดยมีการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อคุณภาพการสอน จำนวน 28 รายวิชา ซึ่งรวมทุกรายวิชามีคะแนนเฉลี่ย  4.58
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
15. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อทรัพยากรสนับสนุนการเรียนการสอน เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.51 จากคะแนน เต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตร อาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์  จัดทำแบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อทรัพยากรสนับสนุนการเรียนการสอน (ควรครอบคลุมนักศึกษาทุกชั้นปีการศึกษา) โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.73
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ข้อสังเกตไม่มีไฟล์แบบประเมินนักศึกษารายบุคคล
ผลการประเมินจากผลการดำเนินงาน ตัวบ่งชี้ 5.4
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] รวมจำนวนตัวบ่งชี้ในแต่ละปี 15 5.00
[2] จำนวนตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการผ่านเฉพาะตัวบ่งชี้ที่ 1-5 1-5
[3] ร้อยละของตัวบ่งชี้ที่ 1-5 ที่ผ่าน [ถ้าผ่านทั้ง 5 ข้อจะเป็นร้อยละ 100] 100
[4] จำนวนตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการผ่านรวม 15
[5] ร้อยละของตัวบ่งชี้ทั้งหมดที่ผ่าน 100.00
*หมายเหตุการกำหนดเงื่อนไขเกณฑ์การประเมิน
ถ้า [3] น้อยกว่าร้อยละ 100 ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 0.00
ถ้า [5] มีการดำเนินงานน้อยกว่า ร้อยละ 80 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 0.00
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 80 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 3.50
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 80.01 - 89.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 4.00
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 90.00 -94.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 4.50
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 95.00 -99.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 4.75
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 100 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 5.00
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 5 (4 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 3.50 คะแนน

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

[ตัวบ่งชี้ 6.1] สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

คะแนนที่ได้ 4
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ได้นำข้อร้องเรียนและข้อเสนอแนะที่ได้รับการประเมินความพึงพอใจจากอาจารย์และนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรและสิ่งสนับสนุน การเรียนรู้จากปี การศึกษาที่ผ่านมา มาพิจารณาหาแนวทางการปรับปรุงและแก้ไข โดยในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรฯ ดำเนินการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์สำหรับการทดลองปฏิบัติให้แก่นักศึกษาในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเชิงปฏิบัติมากยิ่งขึ้น และห้องปฏิบัติการนิติวิทยาศาสตร์ยังสามารถใช้เป็น พื้นที่ส่วนกลางในการทำงานหรือปรึกษากันของนักศึกษาอีกทางหนึ่ง ซึ่งจะเห็นว่าหลักสูตรฯ มีกลไกใน การเพิ่มประสิทธิภาพของสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ รวมไปถึงอาจารย์ทุกท่านได้มีส่วนร่วมทำให้เกิดกลไก ดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้การประเมินจากอาจารย์และนักศึกษาถือเป็ นช่องทางที่จะทำให้ทางหลักสูตรได้ นำมาแก้ไขและปรับปรุงให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและผลจากการแก้ไขปรับปรุงจะสามารถเพิ่มความพึงพอใจของนักศึกษาได้อีกด้วย
 
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
ระบบการดำเนินงานของภาควิชา/คณะ/สถาบัน โดยมีส่วนร่วมของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เพื่อให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 มีการปรึกษาหารือระหว่างคณะกรรมการบริหารหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน รวมถึงเจ้าหน้าที่ประจำหลักสูตร เกี่ยวกับสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และสิ่งอำนวยความสะดวก ซึ่งจากการประเมินแล้วพบว่าสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่จำเป็นโดยเฉพาะในรายวิชาทางนิติวิทยาศาสตร์ ถือได้ว่ามีเท่าที่จำเป็น

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ควรรายงานเพิ่มเติมเกี่ยวกับการอบรมกับสำนักหอสมุดของมหาวิทยาลัย เรื่องวิธีการสืบค้นข้อมูลในห้องสมุด หรือหนังสือที่ได้จัดซื้อ หากได้มีการปฏิบัติเสร็จสิ้นแล้ว
 
จำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
มีหนังสือ และคอมพิวเตอร์ไว้บริการสำหรับนักศึกษา 
มีการปรับปรุงเว็บไซต์ให้ทันสมัย

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
1.ควรมีระบบ Database ให้นักศึกษาเข้าถึงตัวอย่างปริญญานิพนธ์ของรุ่นพี่ หรือ E-book หรือสื่อการเรียนการสอนต่างๆ 
2.หลักสูตรได้คาดการณ์ว่า สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ต่าง ๆ อาจจะไม่เพียงพอเนื่องจากการรับนักศึกษาที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ไม่พบรายงาน List สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่ต้องการรับการสนับสนุนให้มีทั้งชนิดและจำนวนที่เพิ่มขึ้นให้พอเพียงและเหมาะสมกับจำนวนนักศึกษา
กระบวนการปรับปรุงตามผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1.ผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล พบว่ามีคะแนนประเมินอยู่ในระดับดีมาก และมีแนวโน้มที่ดีทั้งสองกลุ่ม
2.มีกระบวนการปรับปรุงตามผลการประเมินความพึงพอใจของทั้งสองกลุ่ม ได้แก่ หลักสูตรมีการพัฒนาปรับปรุงเว็บไซต์ของคณะอย่างต่อเนื่อง โดยในเว็บไซต์ได้มีการพัฒนา ระบบสืบค้นรายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระของนักศึกษาที่เรียนจบไปแล้วมากยิ่งขึ ้น นอกจากนี ้ ยังมีการ อัพโหลดบทความที่น่าสนใจของอาจารย์และนักศึกษา กิจกรรมต่าง ๆ ของนักศึกษา ข่าวสาร ประชาสัมพันธ์หลักสูตรอบรมระยะสั ้นต่าง ๆ รวมไปถึงการอัพโหลดวีดีโอที่ใช้เป็ นสื่อในการเรียนรู้ เพื่อใช้ เป็ นแนวทางในการป้ องกันแก้ไขปัญหาอาชญากรรมที่เกิดในสังคมปัจจุบัน เพื่อให้รู้ เท่าทันกับภัย อาชญากรรมที่มาในรูปแบบต่าง ๆ โดยเว็บไซต์ที่ได้ปรับปรุงใหม่นั ้นนักศึกษาสามารถเปิดดูเล่มรายงาน บทความ สื่อวีดีโอได้ตลอดเวลา หลักสูตรได้สนบั สนุนการซือ้ลิขสิทธิ์โปรแกรม ZOOM เพื่อให้อาจารย์และนักศึกษาใช้ในการ เรียนการสอนและการประชุมต่าง ๆ อย่างไม่จ ากัด นอกจากนี ้ จากการส ารวจความต้องการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ทั ้ง 2 กลุ่ม ได้แก่ นักศึกษา และ อาจารย์ พบว่า ทั ้งสองกลุ่มมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมที่เหมือนกัน คือ ต้องการให้หลักสูตรสนับสนุนเครื่อง คอมพิวเตอร์พกพาเครื่องใหม่ ดังนั ้น ในปี การศึกษา 2566 หลักสูตรได้ทำการปรับปรุงและแก้ไขปัญหา เกี่ยวกับสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้โดยการซื ้อเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาเครื่องใหม่ เพื่อสนับสนุนใช้เป็ นสื่อ ด้านการเรียนการสอนของนักศึกษาและอาจารย์ถือเป็ นการปรับปรุงกระบวนการที่เป็ นรูปธรรม รวมถึงมี การจัดซื ้อวัสดุอุปกรณ์ส าหรับการเรียนการสอนรายวิชาการบริหารจัดการการตรวจสถานที่เกิดเหตุ

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 6 (1 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 4.00 คะแนน

รายงานผลการวิเคราะห์จุดเด่น/จุดแข็ง แนวทางเสริม จุดที่ควรพัฒนา และแนวทางปรับปรุง

จุดเด่นและแนวทางเสริม

  1. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ เป็นหลักสูตรแรกที่บูรณาการศาสตร์อาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์เข้าด้วยกันและเปิดสอนในระดับชั้นปริญญาตรี อีกทั้งยังเป็นหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตที่เปิดกว้างให้นักเรียนไม่ว่าจะเป็นสายวิทย์-คณิตหรือสายศิลป์ ที่สนใจ สามารถเข้ามาเรียนได้
  2. หลักสูตรมีรายวิชาที่มีความทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ กระแสสังคม เช่น การซ้อมเผชิญเหตุกราดยิง ศิลปะ ป้องกันตัว ยูยิตสู การรู้เท่าทันอาชญากรรมไซเบอร์ซึ่งนักศึกษาสามารถนำมาปรับใช้ รับมือใน สถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในชีวิต รวมทั้งวิชาบูรณาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์เป็นการ ผสมผสานความรู้ทั้งทางด้านอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ บูรณาการกันเพื่อให้นักศึกษาได้ฝึ กคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์แนวทาง กระบวนการในการสืบสวนสอบสวนคดีและนำไปประยุกต์ใช้ กับ สถานการณ์ที่พบเจอในชีวิตประจำวันได้
  3. หลักสูตรมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์มีผลงานวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ที่มีคุณภาพสูง
  4. มีการวางแผนในการรับนักศึกษาที่ดี และได้จำนวนนักศึกษาใหม่มากกว่าเป้าหมายที่วางไว้
  5. หลักสูตรมีการประชาสัมพันธ์และกิจกรรมการจัดงาน Open House และจัดบูธแคมป์นักสืบรุ่นจิ๋ว (โคนันรุ่นที่ 6) ซึ่งได้รับความสนใจจากนักเรียนระดับชั้นมัธยมปลายเป็นจำนวนมาก โดยในการจัดครั้งนี้เปิดโอกาสให้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 4-6 เนื่องจากพบว่ามีนักเรียนที่ทำการสอบเทียบ GED เพื่อเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรมมีการจัดงานเสวนาวิชาการ 1 ครั้ง ได้แก่ งานเสวนาวิชาการ หัวข้อ การไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง ” ซึ่งการจัดงานเสวนาวิชาการดังกล่าวได้รับความสนใจเป็นจำนวนมาก เปรียบเสมือนการประชาสัมพันธ์หลักสูตรฯ ทำให้แผนการรับเข้านักศึกษาปีการศึกษา 2566 ของหลักสูตร จำนวน 60 คน แต่มีจำนวนนักศึกษามาเข้าศึกษาจริงจำนวน 202 คน
  6. หลักสูตร มีอาจารย์ที่มีวุฒิปริญญาเอกทั้งสิ้น 3 ท่าน คิดเป็นร้อยละ 60 สูงกว่าที่เกณฑ์กำหนด

จุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง

  1. ควรส่งเสริมให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตรสร้างผลงานวิจัยอันเป็นประโยชน์ต่อสังคมทั้งทางด้านอาชญาวิทยาและด้านนิติวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้แวดวงอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย รวมถึงสามารถนำแนวทางการวิจัยและผลการวิจัยมาใช้สอนนักศึกษาในห้องเรียนได้
  2. ควรพัฒนาด้านการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้เข้าร่วมเพื่อให้เกิดความผูกพันกับคณะฯ และเพิ่มพูนประสบการณ์การใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยให้มากยิ่งขึ้น โดยมีการ mapping กิจกรรมต่างๆ กับทักษะต่าง ๆ เพื่อวัด outcome แล้วนำผลประเมินสู่การปรับปรุงกิจกรรม
  3. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรควรมีผลงานวิชาการในรอบ 5 ปี โดยสม่ำเสมอทุกท่าน เพื่อรักษาอัตราการคงอยู่ของอาจารย์ให้คงที่
  4. หลักสูตรควรมีแผนพัฒนาอาจารย์เป็นรายบุคคล (อาจใช้แบบฟอร์ม IDP ของ HRD) เพื่อกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผน
  5. เนื่องจากหลักสูตรมีการรับนักศึกษาที่มีปริมาณมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ควรวางแผนในการดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิดเพื่อให้มีอัตราการคงอยู่ และอัตราสำเร็จการศึกษาที่ดีขึ้น
  6. อาจปรับหรือหาแนวทางในการเพิ่มอัตราการสำเร็จการศึกษาตามเกณฑ์ของนักศึกษา

สรุปผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลดำเนินการ
กรรมการ
1.1 การบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่กำหนดโดยสกอ. ผ่าน
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ.2561 4.64
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี 4.07
3.1 การรับนักศึกษา 3.00
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา 3.00
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา 3.00
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์ 3.00
4.2 คุณภาพอาจารย์ 5.00
4.3 ผลที่เกิดกับอาจารย์ 3.00
5.1 สาระของรายวิชาในหลักสูตร 3.00
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน 3.00
5.3 การประเมินผู้เรียน 3.00
5.4 ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 5.00
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 4.00
ผลการประเมินเฉลี่ยรวม [13 ตัวบ่งชี้] 3.59

การวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาภายใน ของคณะกรรมการประเมิน ฯ

องค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
1 ผ่านการประเมิน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 2 - - 4.36 4.36 ระดับคุณภาพดีมาก
3 3 3.00 - - 3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
4 3 3.67 - - 3.67 ระดับคุณภาพดี
5 4 3.00 3.67 - 3.50 ระดับคุณภาพดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ระดับคุณภาพดี
ผลการประเมิน 3.29 3.75 4.36 3.59 ระดับคุณภาพดี
ระดับคุณภาพ ระดับคุณภาพดี ระดับคุณภาพดี ระดับคุณภาพดีมาก