รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์

วันที่ประเมิน: 26 กรกฏาคม 2567, 09:30น.

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

[ตัวบ่งชี้ 1.1] การบริหารการจัดการหลักสูตรตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร

เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
1. จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
2. คุณสมบัติอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม

ระบุชื่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่ผลงานวิชาการในรอบ 5 ปี หมดอายุในปีการศึกษาที่ตรวจ (ต้องเพิ่มผลงานชิ้นใหม่ในปีการศึกษาหน้า)

- ไม่มี
ข้อคิดเห็น
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
[สำหรับประเภทวิชาชีพ/ปฏิบัติการ]
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 2 ใน 5 คน ต้องมีประสบการณ์ในด้านการปฏิบัติการ
ระบุข้อคิดเห็น
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม

ระบุชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตรที่ผลงานวิชาการในรอบ 5 ปี หมดอายุในปีการศึกษาที่ตรวจ (ต้องเพิ่มผลงานชิ้นใหม่ในปีการศึกษาหน้า)

- ไม่มี
ข้อคิดเห็น
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
4. คุณสมบัติอาจารย์ผู้สอน ที่เป็นอาจารย์ประจำ
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน ที่เป็นอาจารย์พิเศษ
ข้อคิดเห็น
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ผลการประเมินจากผลการดำเนินงาน ตัวบ่งชี้ 1.1

องค์ประกอบที่ 2 การผลิตบัณฑิต

[ตัวบ่งชี้ 2.1] คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และ ด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ.2561

หมายเหตุ : *
(1) จำนวนบัณฑิตทั้งหมด หมายถึง ผู้รับปริญญา ในปีการศึกษา 2565 ประกอบด้วย บัณฑิตที่จบภาคการศึกษา 1/2565 , 2/2565 และ S/2566 [ปีต้องอัพเดตตามปีการศึกษาที่ประเมินย้อนหลัง 1 ปี]
(2) จำนวนบัณฑิตที่รับการประเมินจากผู้ใช้บัณฑิตต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาตาม (ข้อ1)

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
จำนวนบัณฑิตทั้งหมด 45 4.84
จำนวนบัณฑิตที่ได้รับการประเมินทั้งหมด 15
คะแนนเฉลี่ยรวมคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561 4.84
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- มีการประเมินและรายงานผลการประเมินรายข้อย่อยตาม TQF 5 ด้าน และ DOE 3 ด้าน โดยละเอียด และมีค่าผลประเมินอยู่ในระดับดีมากทุกข้อย่อยของทุกด้าน
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- กรณีถ้าผู้ใช้บัณฑิตมีความเห็นถึงแนวทางการพัฒนา learning outcome ต่าง ๆ เพิ่มเติมในแบบสอบถามนั้น หลักสูตรสามารถสรุปความเห็นเพิ่มเติมดังกล่าวเป็นข้อๆ ต่อท้ายการรายงานคะแนนประเมิน เพื่อพิจารณาเป็นความเห็นของ stakeholder need ประจำปี ซึ่งจะเป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับการ post audit ในอนาคตตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร พ.ศ.2565 เพื่อนำไปปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน หรือ กิจกรรมพัฒนานักศึกษาต่อไป
 
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 2.2] ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี

หมายเหตุ : *
(1) จำนวนบัณฑิตทั้งหมด จะต้องตรงกับตาราง ตัวบ่งชี้ 2.1
(2) จำนวนบัณฑิตที่ตอบแบบสำรวจจะต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
จำนวนบัณฑิตทั้งหมด 45 5.00
จำนวนบัณฑิตที่ตอบแบบสำรวจ 36
จำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษา [มีงานทำในองค์กร] 28
จำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษา [ประกอบอาชีพอิสระ] 1
จำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษา [ประกอบกิจการส่วนตัว/ธุรกิจครอบครัว] 4
จำนวนบัณฑิตที่ไม่ได้งานทำ 0
จำนวนบัณฑิตที่ศึกษาต่อ 1
จำนวนบัณฑิตที่อุปสมบท 0
จำนวนบัณฑิตที่เกณฑ์ทหาร 0
จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาที่มีงานทำก่อนเข้าศึกษา 2
ร้อยละที่ได้ 100.00
ผลลัพธ์ที่ได้ 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- หลักสูตรมีการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจัยภายนอกที่เป็นแรงสนับสนุนให้วิชาชีพวิศวกรชีวการแพทย์มีความสําคัญต่อตลาดแรงงาน และภาวะเศรษฐกิจของประเทศโดยละเอียดสามารถสรุปได้ว่าหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ที่เกี่ยวข้องให้ความสําคัญกับงานวิศวกรรมชีวการแพทย์มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีตําแหน่งงานทางด้านวิศวกรชีวการแพทย์เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้บัณฑิตของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์มหาวิทยาลัยรังสิตมีอัตราการทํางานครบ 100 เปอร์เซ็นต์ในทุกปี
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 2 (2 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 4.92 คะแนน

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

[ตัวบ่งชี้ 3.1] การรับนักศึกษา

คะแนนที่ได้ 4
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
          หลักสูตรมีระบบ มีกลไก มีการนําระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดําเนินงาน มีการประเมินกระบวนการ มีการ ปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม มีผลการ ดําเนินงานเชิงผลลัพธ์เป็นไปตามเป้าหมายเทียบกับ KPI (OKRs) ปีการศึกษา 2566 KR1.1.4 จํานวนนักศึกษาแรกเข้าในระดับปริญญาตรีเป็นไปตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ใน RQF.2 ค่า เป้าหมาย 50 คนต่อปี ผลการดําเนินงาน นักศึกษารับเข้าจํานวน 138 คน
 
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การรับนักศึกษา:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรดําเนินการจัดทําและปรับปรุงกระบวนการรับสมัครนักศึกษาใน รูปแบบ PDCA ทั้งการวางแผนการรับสมัครนักศึกษาที่ดําเนินการตลอดทั้งปี ดังจะเห็นได้จากเอกสาร PDCA รายงานสรุป PDCA โครงการ ค่าย Pre – BME ครั้งที่ 13, Open House และ กิจกรรมรังสิตวิชาการ ประจําปีการศึกษา 2566 ซึ่งวิทยาลัยได้ดําเนินการปรับปรุงกิจกรรมอย่างต่อเนื่องโดยในปีการศึกษา 2566 ร่วมดําเนินการโครงการสนับสนุนกิจกรรมทางวิชาการให้กับสังคมกับทางแผนงานของมหาวิทยาลัยรังสิต ในโครงการ Open House และกิจกรรมรังสิตวิชาการ มีนักเรียน ม.6และ ปวส. รวมถึง ครูอาชีวะศึกษาที่ สนใจมาเข้าร่วมโครงการ เรียนรู้ผ่านการทํากิจกรรม Workshop เกี่ยวกับ งานวิจัยพื้นฐานของ 56 หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ห้องปฏิบัติการวิจัยด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ ทั้งหมด 7 ห้อง เป็นผลให้มีจํานวนนักศึกษารับเข้าเพิ่มมา ขึ้นจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ จํานวนนักศึกษาส่วนหนึ่งมาจากการทํา MOU กับหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน และการร่วมทํากิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับครูอาชีวะศึกษา ที่วิทยาลัยดําเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นประจํา ทุกปี ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรฯ รับนักศึกษาตาม MOU จากสถาบันอาชีวภาคใต้ 3 จํานวน 6 คน วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ จํานวน 3 คน วิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราชจํานวน 2 คน ในปีการศึกษา 2567 รับนักศึกษาจากวิทยาลัยเทคนิค ระดับ ปวส. ระบบเทียบโอนหน่วยกิต รวมทั้งหมดจํานวน 15 คน
- ควรมีการการถ่ายทอดแนวปฏฺิบัติที่ดี ที่เน้นเฉพาะถึงกระบวนการรับนักศึกษา หรือการเตรียมความพร้อมนักศึกษาเพื่อความชัดเจน และการนำไปใช้เป็นต้นแบบในประเด็นดังกล่าว 

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
การเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- ใช้รายวิชา BME101 เป็นช่องทางเพิ่มเติมในการเตรียมความพร้อมนักศึกษาแรกเข้า สามารถสร้างความเข้าใจต่อหลักสูตร และปรับทัศนคตินักศึกษาแรกเข้าได้
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- การปฐมนิเทศ คณบดีและอาจารย์ ของวิทยาลัยจะให้ข้อมูลพื้นฐานในด้านต่างๆ เกี่ยวกับอาจารย์ประจําห้องวิจัย แนะนํารายละเอียดของ หลักสูตร รายวิชา อาคารสถานที่ แนวทางการทํางานและศึกษาต่อในอนาคต และอาจารย์ที่ปรึกษา เป็น ต้น ผลการประเมินตัวชี้วัดเชิงปริมาณ จํานวนนักศึกษาใหม่เข้าร่วมโครงการทุกคนคิดเป็น 100% และการ จัดกิจกรรมมีผลความพึงพอใจจากผู้เข้าร่วมโครงการเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 จากคะแนนเต็ม 5.00 การจัด กิจกรรมดังกล่าวบรรลุผลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ
      หลักสูตรควรรายงานค่าร้อยละนักศึกษาใหม่ที่มีความพร้อมจากการเข้าร่วมกิจกรรมการเตรียมความพร้อมต่างๆ เพื่อให้การปรับปรุงกิจกรรมสอดคล้องกับผลการประเมิน

 
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 3.2] การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา

คะแนนที่ได้ 4
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
          หลักสูตรมีระบบ มีกลไก มีการนําระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดําเนินงาน มีการประเมิน กระบวนการ มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็น รูปธรรม มีผลการดําเนินงานเชิงผลลัพธ์เป็นไปตามเป้าหมายเทียบกับ KPI (OKRs) ปีการศึกษา 2566 KR1.2.4 กิจกรรม/โครงการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตพึงประสงค์บรรลุผลตามตัวชี้วัดความสําเร็จ และวัตถุประสงค์ทุกข้อ ค่าเป้าหมาย ร้อยละ >=60 ผลการดําเนินงาน ร้อยละ 100 KR1.3.4 ระดับสมรรถนะภาษาอังกฤษของนักศึกษาในแต่ละระดับปริญญาเป็นไปตามเกณฑ์ที่ สถาบันกําหนด ค่าเป้าหมาย ร้อยละ >=55 ผลการดําเนินงาน ร้อยละ 96.97 KR1.3.5 ระดับความสามารถด้าน Digital Literacy ของนักศึกษาในแต่ละระดับปริญญาเป็นไป ตามเกณฑ์ที่สถาบันกําหนด ค่าเป้าหมายร้อยละ >=55 ผลการดําเนินงาน ร้อยละ 100
 
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษาปริญญาตรี:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรได้ประเมินความความพึงพอใจต่ออาจารย์ที่ปรึกษา มีผลการ ประเมินดังนี้ (1) อาจารย์ที่ปรึกษามีความยินดีให้คําปรึกษา รับฟังความคิดเห็น ระดับความพึงพอใจโดย เฉลี่ย 4.80 (2) มีความสุภาพในการสื่อสาร ระดับความพึงพอใจโดยเฉลี่ย 4.80 (3)ให้ความรู้เกี่ยวกับ แผนการเรียน การลงทะเบียน อธิบายกฎระเบียบ ให้คําแนะนําระดับความพึงพอใจโดยเฉลี่ย 4.75 (4) ให้ คําแนะนํา พิจารณาเอกสาร /คําร้อง ต่างๆ หรือช่วยแก้ปัญหาให้ดําเนินการให้ถูกต้อง 4.75 (5) มีเวลาและ เปิดโอกาส สามารถติดต่อ/เข้าพบ ได้สะดวก ระดับความพึงพอใจโดยเฉลี่ย 4.66
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- หลักสูตร เริ่มปลูกฝังแนวทางให้ตั้งแต่เป็นนักศึกษาปี 1 โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนการสอน Project Based Learning ทำให้นักศึกษามีพื้นฐานที่ดี สามารถที่จะไปต่อยอดในชั้นปีที่สูงขึ้น
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรต้องการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ดังนี้
          1. ทักษะทางด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรมประกอบด้วย 75 หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ 1.1 ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills) คิดสร้างสรรค์ ใส่ ใจนวัตกรรม มีวิจารณญาณ แก้ปัญหาเป็น สื่อสารดี เต็มใจร่วมมือ 1.2 ทักษะสารสนเทศ สื่อ เทคโนโลยี(Information Media and Technology Skills) อัพเดตทุกข้อมูลข่าวสาร รู้เท่าทันสื่อ รอบรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ ฉลาดสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ 1.3 ทักษะชีวิตและอาชีพ (Life and Carrer skills) มีความยืดหยุ่น รู้จักปรับตัว ริเริ่มสิ่ง ใหม่ ใส่ใจดูแลตัวเอง รู้จักเข้าสังคมการวิจัยและพัฒนา
          2. ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาที่ประกอบด้วย 2.1 การให้เหตุผลอย่างมีประสิทธิผล 2.2 การใช้การคิดอย่างเป็นระบบ 2.3 การพิจารณาและการตัดสินใจ
​​​​​​​          3. ทักษะการสื่อสารและการร่วมมือที่ประกอบด้วย 3.1 สื่อสารอย่างชัดเจน 3.2 การร่วมมือกับผู้อื่น
         หลักสูตรควรแสดงให้เห็นการ mapping กิจกรรมการพัฒนาจากหน้า 82-83 กับทักษะต่าง ๆ เป็นรายข้อย่อย กำหนดตัวชี้วัด และรายงานร้อยละสัมฤทธิผลของนักศึกษาที่มีทักษะตามข้อย่อย เพื่อนำผลมาปรับปรุงกิจกรรมรายข้อย่อย ซึ่งถ้ามีร้อยละ learning outcome รายทักษะที่ดี ก็สามารถนำกระบวนการกลุ่มกิจกรรมรายทักษะไปจัดการความรู้เพื่อเป็น good practice เนื่องจากเวลาที่หลักสูตรอื่นจะค้นหาตัวอย่างแนวปฏิบัติที่ดี ก็จะค้นหาว่ามีแนวปฏิบัติอะไรทำให้เกิดร้อยละสัมฤทธิผลการพัฒนาทักษะอะไรในศตวรรษที่ 21

 
การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในการส่งเสริมให้เกิดการสร้างผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- ในปีการศึกษา 2566 การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในการส่งเสริมให้เกิดการสร้างผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่สามารถนําองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ หลักสูตรได้กําหนดให้อาจารย์ที่ปรึกษากําหนดหัวข้อโครงงานวิจัยของนักศึกษาโดยให้สอดคล้องกัยยุทธศาสตร์การ พัฒนาระดับชาติ และยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย และจากกําหนดนี้ หลักสูตรได้คัดเลือกผลงาน ของนักศึกษาที่ได้สร้างสรรค์และพัฒนามาเป็นงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรม ที่สามารถนําองค์ ความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการช่วยเหลือสังคม ชุมชน นอกจากนี้หลักสูตรได้วางแผนการพัฒนาศักยภาพ นักศึกษาด้านงานวิจัย ผ่านการทําโครงงานปริญญานิพนธ์ โดยตั้งเป้าหมายกําหนดหัวข้องานวิจัยให้ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การวิจัยของมหาวิทยาลัย ที่มุ่งเป้าการพัฒนานวัตกรรมในเชิงพาณิชย์ อีกทั้งได้ นําผลงานของนักศึกษามาจัดแสดง ณ ศูนย์ BME Technology Transformation Center นักศึกษามีโอกาส ได้ฝึกภาคปฏิบัติด้านการเป็นผู้ประกอบการ เน้นการพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะและทัศนคติทางด้านการเป็น ผู้ประกอบการให้กับนักศึกษา ครอบคลุมการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาครบทั้ง 4 ด้าน
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 3.3] ผลที่เกิดกับนักศึกษา

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การคงอยู่
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2564
ร้อยละ 100.00
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2565
ร้อยละ 100.00
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2566
ร้อยละ 100.00
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
การสำเร็จการศึกษา
ร้อยละอัตราสำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2564
ร้อยละ 92.86
ร้อยละอัตราสำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2565
ร้อยละ 90.63
ร้อยละอัตราสำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2566
ร้อยละ 100.00
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ความพึงพอใจและผลการจัดการข้อร้องเรียนของนักศึกษา
ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาเฉลี่ย ปีการศึกษา 2564 ร้อยละ 4.81
ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาเฉลี่ย ปีการศึกษา 2565 ร้อยละ 4.83
ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาเฉลี่ย ปีการศึกษา 2566 ร้อยละ 4.76
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
คะแนนที่ได้ 4
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
          แนวโน้มดีทุกเรื่อง
 
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 3 (3 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 4.00 คะแนน

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

[ตัวบ่งชี้ 4.1] การบริหารและพัฒนาอาจารย์

คะแนนที่ได้ 5
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
          ผลลัพธ์การดําเนินงานในด้านการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ของหลักสูตรฯและวิทยาลัยฯที่เห็น เป็นรูปธรรมได้ชัดเจนได้แก่ อัตราส่วนของอาจารย์ระดับปริญญาเอกต่ออาจารย์ประจําเท่ากับ 53 เปอร์เซ็นต์ อัตราส่วนของอาจารย์ที่ดํารงตําแหน่งทางวิชาการต่ออาจารย์ประจําเกินกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ซึ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับจํานวนอาจารย์ที่ดํารงตําแหน่งทางวิชาการในสาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ของประเทศ ไทยถือว่าอาจารย์ของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์มหาวิทยาลัยรังสิตดํารงตําแหน่งทางวิชาการ ทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์สูงที่สุดในประเทศไทย ผลการประเมินคุณภาพการสอนของอาจารย์เกิน 4.00 ทุกคน มีอาจารย์ที่ได้รับรางวัลอาจารย์ผู้สอนดีเด่นในระดับมหาวิทยาลัย อาจารย์รับรางวัลอาจารย์ที่ ปรึกษาชมรมดีเด่นระดับมหาวิทยาลัย อาจารย์ได้รับรางวัลวิจัยดีเด่นระดับประเทศ สร้างชื่อเสียงให้กับ หลักสูตรฯวิทยาลัยฯและมหาวิทยาลัยรังสิตอยู่อย่างสมํ่าเสมอๆ ทั้งนี้เกิดจากการที่ทางหลักสูตรฯและ วิทยาลัยฯได้มีระบบ กลไกแผนการดําเนินงานและการดําเนินการในด้านการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ของหลักสูตรและวิทยาลัย
          ชื่อแนวปฏิบัติทีประสบความสําเร็จ ที่สอดคล้องกับตัวบ่งชี้ที่ 4.1 คือ การสร้างความเป็นเลิศด้านการพัฒนางานวิจัยของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ถ่ายทอดผ่านทาง (Link URL ระบบ RKMS). https://rkms.rsu.ac.th/good-practice-66/

 
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
ระบบการรับและแต่งตั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- มีระบบการรับและแต่งตั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ระบบการบริหารอาจารย์:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- หลักสูตรวางระบบการบริหารอาจารย์ด้วยการกําหนดความรับผิดชอบหลัก(Key Responsibilities)หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก(Key Activities)ผลที่คาดหวัง(Expected Result)ให้เป็นแนว ทางการปฏิบัติงานกับบุคลากรทุกตําแหน่งของวิทยาลัยฯระบุไว้ในแผนพัฒนาวิทยาลัยวิศวกรรมชีว การแพทย์ ประจําปีการศึกษา 2566
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- หลักสูตรอาจรายรายงานผลการดำเนินงานตามผลที่คาดหวัง(Expected Result)ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตรเพื่อใช้ประกอบการปรับปรุงระบบการบริหารอาจารย์
 
ระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ให้มีคุณภาพทั้งด้านความรู้ ความสามารถในเนื้อหาวิชาที่รับผิดชอบ สามารถก้าวทันวิทยาการสมัยใหม่ มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ การวิจัย และการพัฒนาศาสตร์ในสาขาวิชาที่รับผิดชอบ:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- หลักสูตรมีแผนการพัฒนาอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและแผนการพัฒนาอาจารย์ประจําหลักสูตรในระยะ5 ปี (2565-2569) ตั้งอยู่บนฐานของจํานวนนักศึกษาไม่เกิน 400 คน ทั้งนี้ได้ คํานึงถึงความเป็นไปได้และความเสี่ยงในการรองรับการเกษียนอายุของบุคลากรและด้านอื่นๆ ไว้เรียบร้อย แล้ว โดยรายละเอียดของแผนการมีรายละเอียดโดยสรุปดังตารางหน้า 120 
     หลักสูตรควรรายงานผลดำเนินการเปรียบเทียบกับตัวเลขคาดการณ์ของปีการศึกษา 2565-2566 เพื่อใช้ประกอบการปรับปรุงกระบวนการพัฒนาอาจารย์ตามแผนระยะ 5 ปี
      ระบบและผลการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ให้มีคุณภาพประกอบด้วย
      1.ระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ในด้านการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น อาจารย์ประจําหลักสูตร อาจารย์อนุชิต นิรภัย กําลังศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก หลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหิดล
      2. ระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ในด้านภาระหน้าทีในการพัฒนาคุณวุฒิและตําแหน่งทางวิชาการ
            อาจารย์ประจําหลักสูตร รศ.ดร.สื่อจิตต์ เพ็ชร์ประสาน ได้รับโปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็น ศาสตราจารย์
            ว่าที่ร้อยตรี ผศ.ดร.พิชิตพล โชติกุลนันทน์ยื่นเรื่องดําเนินการกับมหาวิทยาลัยเพื่อขอ ตําแหน่งทางวิชาการระดับ รองศาสตราจารย์อยู่ระหว่างกระบวนการมหาวิทยาลัย ดําเนินการ
            อาจารย์รวิพล โชติกุลนันทน์ ยื่นเรื่องดําเนินการกับมหาวิทยาลัยเพื่อขอตําแหน่งทาง วิชาการระดับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อยู่ระหว่างกระบวนการมหาวิทยาลัยดําเนินการ
      3. ระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ในด้านการทําวิจัยและพัฒนานวัตกรรม 3.1 ส่งเสริมและสนับสนุนการได้มาซึ่งโจทย์การวิจัยโดยการจัดโครงการ/กิจกรรมต่างๆทางด้าน การบริการทางวิชาการให้กับสังคมที่เน้นลงไปดําเนินการกับแหล่งปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียน การสอน ในปีการศึกษา 2566อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจําหลักสูตรทําหน้าที่อาจารย์ที่ ปรึกษาโครงงานให้กับนักศึกษา และผลักดันให้เกิดเป็นนวัตกรรม สามารถส่งเข้าร่วมประกวดหลายผลงาน

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 4.2] คุณภาพอาจารย์

4.2.1 ร้อยละของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้งหมด 5 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 3
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 60.00
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 20 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
4.2.2 ร้อยละของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้งหมด 5 5.00
[2] ไม่มีตำแหน่งทางวิชาการ [อาจารย์] 1
[3] ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ 2
[4] ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ 2
[5] ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ 0
[6] ดำรงตำแหน่งทางวิชาการทั้งหมด [3] + [4] + [5] 4
[7] ร้อยละที่ได้ [6] X 100 / [1] 80.00
[8] ผลลัพธ์ที่ได้ [7] x 5 / 60 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
4.2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
จำนวนผลงานทางวิชาการตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 1 0 0 6
จำนวนผลงานสร้างสรรค์ตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 0 0 0
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] ผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ 6.40 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้งหมด 5
[3] ร้อยละที่ได้ [1] X 100 / [2] 128.00
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 20 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
รายการหลักฐาน ตัวบ่งชี้ 4.2 คุณภาพอาจารย์
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ตัวบ่งชี้ 4.2 คุณภาพอาจารย์ คะแนนที่ได้ 5.00 คะแนน

[ตัวบ่งชี้ 4.3] ผลที่เกิดกับอาจารย์

หมายเหตุ :
(1) ยกเว้นกรณี การเกษียณอายุงาน และการเสียชีวิต
(2) หากรายชื่อมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากปรับเข้าเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร พ.ศ. 2558 ให้ถือว่าอัตราการคงอยู่ครบในปีการศึกษาแรกที่ปรับเข้าเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร 2558
(3) หากรายชื่อที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบท่านใหม่ต้องมีประสบการณ์ร่วมบริหารหลักสูตรมาไม่น้อยกว่า 9 เดือน (มีหลักฐานรายงานการประชุมภาควิชาหรือการประชุมหลักสูตร)
(4) รายงานถึงสิ้นสุดปีการศึกษา 2566 และจะได้รับการประเมินแนวโน้มผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นต้องประเมิน จาก ≥ 3 ชุดข้อมูล
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การคงอยู่ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2564
ร้อยละ 100.00
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2565
ร้อยละ 100.00
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2566
ร้อยละ 100.00
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ความพึงพอใจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีต่อการบริหารหลักสูตร
ความพึงพอใจ ในปีการศึกษา 2564 ร้อยละ 4.77
ความพึงพอใจ ในปีการศึกษา 2565 ร้อยละ 4.80
ความพึงพอใจ ในปีการศึกษา 2566 ร้อยละ 4.77
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
คะแนนที่ได้ 4
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
          รายงานครบและแนวโน้มดีทุกเรื่อง
 

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

[ตัวบ่งชี้ 5.1] สาระของรายวิชาในหลักสูตร

36
30
83.33
คะแนนที่ได้ 5
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
       1. การที่ได้รับการยกระดับจากหลักสูตรหรือสาขาวิชาเป็นคณะและวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ใน ปัจจุบันซึ่งถือว่าเป็นแห่งเดียวในประเทสไทยที่หลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทยฺช์ได้ยกระดับเป็น วิทยาลัยซึ่งจะส่งผลดีต่อความน่าเชื่อถือ ความเชื่อมั่นของนักเรียนและผู้ปกครองรวมทั้งแหล่งวิชาชีพ ที่เห็นว่ามหาวิทยาลัยรังสิตให้ความสําคัญกับวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์จนส่งผลให้วิทยาลัย วิศวกรรมชีวการแพทย์เป็นหนึ่งในผู้นําทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ในหลายมิติในปัจจุบัน
       2. หลักสูตรฯ ได้รับการคัดเลือกจากเข้าร่วมโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ต่อเนื่องอีก หัวข้อการอบรม หลักสูตรดิจิทัลทรานสฟอร์เมชั่นทางด้านเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพ รุ่นที่ 2 และยังได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการในปีงบประมาณ 2566 หัวข้อการอบรม การประเมินผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อมในวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์แบบครบวงจรเพื่อเศรษฐกิจบีซีจี จํานวน 2 รุ่น ซึ่ง รุ่นที่ 1 ได้จัดการอบรมเสร็จสิ้นไปด้วยความเรียบร้อย บรรลุวัตถุประสงค์ และได้รับ อนุมัติให้จัดรุ่นที่ 2 ซึ่งอยู่ในระหว่างการดําเนินการ
       3. การได้รับการรับรองจากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพที่เป็นองค์การมหาชนสังกัดสํานักนายกรัฐมนตรีใน เรื่องผลลัพธ์การเรียนรู้จนทําให้ได้รับการรับรองมาตรฐานให้กับบัณฑิตของหลักสูตรโดยอัตโนมัติ สําหรับมาตรฐานสมรรถนะสาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์อาชีพวิศวกรชีวการแพทย์ระดับ 4 โดย ไม่ต้องไปขอสอบรับรองมาตรฐานอีกต่อไปและเป็นหลักสูตรเดียวของประเทศไทยที่ได้รับการรับรอง มาตรฐานดังกล่าว
       4. เป็นหลักสูตรที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน การดําเนินการทั้งหมดประสบความสําเร็จอย่างดียิ่ง ในทุกมิติของการจัดการศึกษาทั้งในด้านเนื้อหาสาระในหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการและการทํานุบํารุงศิลปะวัฒนธรรมตลอดจนการพัฒนาผู้เรียนส่งผลให้เกิดผล ลัพธ์จากกระบวนการเรียนรู้ที่โดดเด่น นักศึกษามีจํานวนเกินเป้าหมายและมากขึ้นทุกปี บัณฑิตมี งานทําในระยะเวลาอันรวดเร็วครบ 100 สามารถบูรณาการความรู้สาระรายวิชาเข้าด้วยกัน โดย ผลงานจากการเรียนรู้ในรายวิชาของนักศึกษาสามารถนําไปใช้งานได้จริง นักศึกษาที่มีผลงานที่โดด เด่น หน่วยงานและผู้ประกอบการรับเข้าทํางานทันทีด้วยอัตราเงินเดือนที่สูง
       5. รศ.นันทชัย ทองแป้น ได้รับรางวัลดีเด่น แนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง การเรียนการสอนและการผลิตบัณฑิตที่ เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความสามารถในการเรียนการสอน ยุทธศาสตร์ที่ 1: KR1.1.1 KR1.2.1 KR1.2.2 KR1.2.3 KR1.3.1 KR1.3.3

ชื่อแนวปฏิบัติทีประสบความสําเร็จ สอดคล้องกับตัวบ่งชี้ที่ 5.1 คือ การเรียนการสอนและการผลิตบัณฑิตที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความสามารถในการเรียนการสอน ถ่ายทอดผ่านทาง (Link URL ระบบ RKMS) . https://rkms.rsu.ac.th/good-practice-66/

      
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การออกแบบหลักสูตร และสาระรายวิชาในหลักสูตรที่ปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน มีหลักสูตรหรือรายวิชาที่เป็นความร่วมมือกับสถานประกอบการ
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- จากปีการศึกษา 2563 ที่มีการปรับปรุงหลักสูตรเป็นบัณฑิตพันธ์ใหม่ หลักสูตรได้ขยายความ ร่วมมือกับสถานประกอบการเพิ่มขึ้นอีกเป็นลําดับ การเรียนสอนในรายวิชาของหลักสูตรได้รับความร่วมมือ กับสถานประกอบการณ์ในหลายมิติ ในการเสริมสร้างความรู้ ทักษะ จากประสบการจริงและโอกาสในการ ได้งานของบัณฑิต เช่น การส่งนักศึกษาเข้าศึกษาดูงาน การเข้าฝึกงาน ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ แลกเปลี่ยน เชิงวิชาการและงานวิจัย การเข้าบริการวิชาการ การรับโจทย์ปัญหาจากสถานการณ์จริงเพื่อทําการ วิเคราะห์วิจัยสร้างนวัตกรรม การพัฒนานวัตกรรมต่อยอดในเชิงพาณิชย์ โดยในปีการศึกษา 2566 มี รายวิชาที่เป็นความร่วมมือกับสถานประกอบการ
       1. รายวิชา BME268 ประสบการณ์วิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์ 1 นํานักศึกษาเข้าศึกษาดูงาน
                บริษัทไตรวิวัฒน์ อินเตอร์เทรด จํากัด บางไผ่ อําเภอเมือง นนทบุรี
                บริษัท นําวิวัฒน์ การช่าง อ.พระสมุทรเจดีย์ สมุทรปราการ
       2. BME 368 ประสบการณ์วิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์ 2 นํานักศึกษาออกหน่วยบริการ วิชาการ บํารุงรักษาเครื่องมือแพทย์เพื่อฝึกประสบการณ์ ณ รพ.สต.วัดประยูร
        3. รายวิชา BME307 เครื่องมือแพทย์พื้นฐาน BME 358 เครื่องมือแพทย์ชั้นสูง BME374 วิศวกรรมการบํารุงรักษาและการจัดการเครื่องมือแพทย์นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ออกบริการวิชาการบํารุงรักษาและสอบเทียบเครื่องมือแพทย์
          โรงพยาบาลนนทเวช  โรงพยาบาลมิชชั่น กรุงเทพ และโรงพยาบาลมิชชั่นภูเก็ต  มูลนิธิไตเทียม วัดสุททาราม  สํานักราชวัง กองแพทย์หลวง พระบรม มหาราชวัง  ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 ซอยรังสิตนครนายก 10 ต.ประชาธิปัตย์ ธัญบุรี ปทุมธาน  ศูนย์บริการสาธารณสุข4 ซอยรังสิตนครนายก 13 ต.ประชาธิปัตย์ ธัญบุรี ปทุมธานี  ศูนย์บริการสาธารณสุข 2 ซอยรังสิตนครนายก 10/10 ต.ประชาธิปัตย์ ธัญบุรี ปทุมธานี  ศูนย์บริการสาธารณสุข 1 ชุมชนสินสมุทร รร.สายปัญญา
         4. รายวิชา BME307 BME358 BME366 BME373 BME338 BME339 BME361 BME374 BME493ร่วมจัดโครงการค่ายอุปกรณ์การแพทย์สัญจร นํานักศึกษาบริการวิชาการที่ รพ.สต. ปราณบุรี และ รพ.สต.ปากนํ้าปราณ
         5. BME 490 ฝึกงานวิศวกรรมชีวการแพทย์สถานประกอบการที่มีความร่วมมือขอรับนักศึกษา เข้าฝึกประสบการณ์ และบางแห่งรับนักศึกษาเข้าทํางานทัน

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
มีการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิที่ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน (Learner Person, Innovative Co-Creator, Active Citizen) ตามวิสัยทัศน์และจุดเน้นของหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- ในปีการศึกษา 2566 วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้ดําเนินการจัดทํา กิจกรรม/โครงการ ตาม แผนงานที่ได้วางไว้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทั้ง 5 ด้าน จํานวน 22 กิจกรรม/โครงการ ตามที่ปรากฏใน Action Plan ปีการศึกษา 2566
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
การปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าในศาสตร์สาขานั้นๆ และเชื่อมโยงกับการนำไปใช้ได้จริง
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- ปีการศึกษา 2566 เริ่มกระบวนการเรียนการสอนในกลุ่ม Smart Healthcare Technology เต็ม รูปแบบ นําเทคโนโลยีสมัยใหม่ IOT และ AI มาพัฒนาต่อยอด Application โครงงานรายวิชา ใช้การ วิเคราะห์จากโจทย์ปัญหาที่เกิดในสถานการณ์จริง โดยได้เชิญอาจารย์จากคณะพยาบาลซึ่งเป็ น ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์โดยตรงในปัญหาของระบบงานนั้นๆ เป็นผู้สังเกตการณ์ ให้ความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เน้นการสอนเนื้อหาที่สอดคล้องกับการนําไปใช้งานจริงๆ และบูรณาการร่วมกับ กลุ่มโมดูลเครื่องมือแพทย์ และกลุ่มรายวิชาโครงงาน ทักษะ ความรู้ ประสบการณ์ในรายวิชาไปพัฒนาต่อ ยอดกับการทําโครงงานปริญญานิพนธ์ได้ที่สามารถนําไปใช้งานจริงได้และส่งผลให้นักศึกษาที่เป็นเจ้าของ ผลงานปริญญานิพนธ์ ได้งานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและใช้งาน Application ดังกล่าว สําหรับปีการศึกษา 2566 หลักสูตรวางแผนการปรับปรุงหลักสูตรและสาระรายวิชาโดยใช้ข้อมูล จาก (1) ผลประเมินการเรียนการสอนรายวิชาจากนักศึกษาและอาจารย์ผู้สอนรายวิชา (2) ผลประเมิน นักศึกษาที่ไปฝึกงานกับสถานประกอบการ (3) แบบสอบถามผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อนําข้อมูลที่ได้มาใช้ใน การพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรและสาระรายวิชาในการปรับปรุงหลักสูตรในรอบถัดไป

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 5.2] การวางระบบผู้สอน และกระบวนการจัดการเรียนการสอน

คะแนนที่ได้ 4
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
           - หลักสูตรได้มีการบูรณาการเรียนการสอนกับพันธกิจต่างๆ ที่มุ่งเน้นให้นักศึกษามีผลลัพธ์การ เรียนรู้ตามที่หลักสูตรกําหนด โดยทั้งหมดได้มีการวางแผน มีการดําเนินงาน มีการติดตาม และประเมิน ผลลัพธ์ของการดําเนินการ ในรูปของการจัดการเรียนการสอนเป็นระบบ Module โดยประเมินผลลัพธ์การ เรียนรู้ประจําภาคการศึกษาและประจําปีมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ในแง่ ของสมรรถนะที่ได้รับการรับรองจากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ
           - มีการกำหนดผู้สอนในรายวิชา ที่ตรงกับความเชี่ยวชาญ และ การจัดกระบวนการเรียนการสอนที่บูรณาการระหว่างการปฏิบัติจริงในสถานประกอบการและการเรียนในห้องเรียน

 
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดผู้สอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- ในส่วนของวิชาชีพนั้นจะจัดอาจารย์ผู้สอนตามกลุ่มความเชี่ยวชาญหรือ กลุ่มวิจัยที่มีจํานวน 7 กลุ่มวิจัยหรือ7 กลุ่มวิชา โดยมีหัวหน้ารายวิชาเป็นผู้รับผิดชอบในด้านกลยุทธ์การ สอน การพัฒนาผู้เรียน การวัดและการประเมินผลให้สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ (PLO/CLO) ซึ่งจะ ทํางานและประสานงานร่วมกับกับอาจารย์ผู้สอนที่ รับผิดชอบในเรื่องของ(Topic Learning Outcome:TLO) ในกรณีรับอาจารย์ใหม่เข้ามาคุณสมบัติที่สําคัญก็คือจะต้องมีความเชี่ยวชาญในสาขา หรือกลุ่มวิจัยที่ทางวิทยาลัยหรือหลักสูตรต้องการจากนั้นอาจารย์ใหม่ต้องเข้าไปสังกัดในกลุ่มวิจัยตาม ความถนัดของตนเองและเรียนรู้จนสามารถสามารถการจัดการเรียนการสอนเป็นไปในทิศทางที่ต้องการ
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
การกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียนรู้ (มคอ.3 และ มคอ.4) และการจัดการเรียนการสอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- มีระบบ การกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียนรู้ (RQF.3 และ RQF.4) และการจัดการเรียนการสอน
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- ควรรายงานร้อยละรายวิชาที่มีการตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียนรู้ (RQF.3 และ RQF.4) และการจัดการเรียนการสอน
 
การจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีที่มีการบูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- หลักสูตรไม่ได้รายงานรายวิชาที่มีการบูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย อันเป็นผลมาจาการประเมิน
 
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 5.3] การประเมินผู้เรียน

คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
-
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ที่ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน (Learner Person, Innovative Co-Creator, Active Citizen) ตามวิสัยทัศน์และจุดเน้นของหลักสูตร ตลอดจนมาตรฐานวิชาชีพ (ถ้ามี)
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- หลักสูตรมีการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ตาม tqf5 และ doe3 ได้ครบถ้วนถูกต้องตามแบบฟอร์มใหม่ RQF5 แต่หลักสูตรไม่ได้สรุปค่าร้อยละการเรียนรู้ และคะแนนเต็ม 5 ตามจุดดำที่เป็นไปตาม curriculumn ทำให้มองไม่เห็นการรายงานผลเชิงวิเคราะห์ plo และ เชิงเปรียบว่ามีสัมฤทธิผลการเรียนรู้ที่ดีขึ้นกว่าปีการศึกษาที่แล้วอย่างไร รวมทั้งไม่สามารถรายงานสัมฤทธิผลการเรียนรู้ในเชิงแนวโน้ม ซึ่งจะทำให้เห็นการปรับปรุงกระบวนการได้ชัดเจน
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- ควรปรับปรุงการรายงานสรุปสัมฤทธิผลการเรียนรู้ CLO YLO (ในอนาคต) และ PLO
- ยังไม่พบรายงานการดำเนินการปีก่อนหน้า การประเมิน เพื่อการปรับปรุงในปี 2566 

 
การตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- มีระบบและกลไก และการดำเนินการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และสอดคล้องกับ YLO, PLO
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- ถ้าหากหลักสูตรรายงานสรุปผลวิเคราะห์ clo และรายงานการปรับปรุงเครื่องมือที่จะใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ได้ดีขึ้นของรายวิชาต่าง ๆ ก็จะมีความชัดเจนของการตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษามากขึ้น
-  ยังไม่พบรายงานการดำเนินการปีก่อนหน้า การประเมิน เพื่อการปรับปรุงในปี 2566 
- หลักสูตรมีหลักฐานการทวนสอบสัมฤทธิผลรายวิชาครบถ้วน (แต่ยังเป็นการรายงานในลักษณะผ่านหรือไม่ผ่าน)

 
การกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอน และประเมินหลักสูตร (มคอ.5 มคอ.6 และ มคอ.7)
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- หลักสูตรกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอน และประเมินหลักสูตร (RQF.5  และ RQF.7)ได้ครบถ้วน ถ้ามีการสรุปผลการวิเคราะห์ clo และ plo ตลอดจนการสรุปผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของรายวิชาและหลักสูตร เพื่อใช้ประกอบการวางแผนจัดทำ RQF.3 รอบถัดไป ตลอดจนรองรับการตรวจ post audit ในอนาคต
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 5.4] ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

หมายเหตุ: KPI ให้สอดคล้องและเป็นไปตามที่ระบุใน มคอ.2
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
1. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรอย่างน้อยร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผน ติดตาม และทบทวนการดำเนินงานหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- ในปีการศึกษา 2566 อาจารย์ผู้รับผิดชอบ หลักสูตรมีส่วนร่วมในการประชุม จํานวน 9 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 100 ทางหลักสูตรได้จัดการประชุมอาจารย์ ประจําหลักสูตร เพื่อวางแผน ติดตาม และ ทบทวนการดําเนินงานของหลักสูตร โดย อาจารย์ประจําหลักสูตร 5 คน เข้าร่วม ประชุมครบทุกคน คิดเป็น 100 %
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
2. มีรายละเอียดของหลักสูตรตามแบบ มคอ.2 ที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ หรือมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา [ถ้ามี]
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- หลักสูตร วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขา วิศวกรรมชีวการแพทย์เป็นหลักสูตร ปรับปรุง พ.ศ. 2563 โดยได้รับการ รับทราบจาก สป.อว. เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2563 หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต(มคอ.2) ฉบับปรับปรุง 2563
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
3. มีรายละเอียดของรายวิชา และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม [ถ้ามี] ตามแบบ มคอ.3 และ มคอ.4 อย่างน้อยก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาให้ครบทุกรายวิชา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- อาจารย์ผู้สอนทุกรายวิชาจัดทํา มคอ.3 ตามแบบฟอร์ม ให้แล้วเสร็จทุกรายวิชา ก่อนเปิดภาคการศึกษา คิดเป็น 100%
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
4. จัดทำรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา และรายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม [ถ้ามี] ตามแบบ มคอ.5 และ มคอ.6 ภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่เปิดสอนให้ครบทุกรายวิชา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- อาจารย์ผู้สอนทุกรายวิชาจัดทํา รายงานผลการดําเนินงานของรายวิชา ตามแบบ มคอ.5และ มคอ.6 แล้วเสร็จ ภายใน 30วันหลังสิ้นสุดแต่ละภาคการศึกษา
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
5. จัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตรตามแบบ มคอ.7 ภายใน 60 วัน หลังสิ้นสุดปีการศึกษา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
6. มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ที่กำหนดใน มคอ.3 และ มคอ.4 [ถ้ามี] อย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- ปีการศึกษา 2566 หลักสูตรเปิดทําการ สอนจํานวน 36รายวิชา มีผลการทวน สอบผลสัมฤทธิ์ ของนักศึกษาตาม มาตรฐานผลการเรียนรู้ ที่กําหนดใน RQF.3 จํานวน.10 วิชา คิดเป็นร้อยละ 27.77
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
7. มีการพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน หรือการประเมินผลการเรียนรู้จากผลการประเมินการดำเนินงานที่รายงานใน มคอ.7 ปีที่แล้ว
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรมีการพัฒนา ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์ การสอน และการประเมินผลการเรียนรู้ ตามข้อเสนอแนะใน RQF.7 ของปีการศึกษา 2565 ซึ่งได้ดําเนินการเรียบร้อย เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2566 คณะกรรมการบริหารหลักสูตรจัดการ ประชุมเพื่อนําผลการประเมินจาก มคอ.7 มาปรับปรุงการเรียนการสอนในปี การศึกษา 2566
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
8. อาจารย์ใหม่ [ถ้ามี] ทุกคน ได้รับการปฐมนิเทศ หรือคำแนะนำด้านการจัดการเรียนการสอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
9. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกคนได้รับการพัฒนาทางวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- ในปีการศึกษา 2566อาจารย์ผู้รับผิดชอบ หลักสูตรทุกคน ได้มีการพัฒนาคุณภาพ อาจารย์ทางวิชาการ/ วิชาชีพ ดังต่อไปนี้ 1. รศ.ปรียา อนุพงษ์องอาจ การขอ จริยธรรมในมนุษย์ หลักสูตร จริยธรรมการวิจัยในคนสําหรับการ วิจัยในคนสําหรับการวิจัยด้านชีว การแพทย์9 กรกฎาคม 2566 2. รศ.ปรียา อนุพงษ์องอาจเปลี่ยน ข้อมูลให้เป็นภาพ สร้าง Dashboard ด้วย Power BI 22 กันยายน 2566 3. รศ.ปรียา อนุพงษ์องอาจ Business Model Canvas, Design Thinking 13 กรกฏาคม 2566 4. ผศ.ดร.ทัศวรรณ พุทธสกุล การใช้ ระบบฐานข้อมูลผลงานวิชาการและ ภาระงานสอน 22 เมษายน 2567 5. ผศ.ดร.จรูญรัตน์ ปริญญาคุปต์ ดร. ธเนศ อังศุวัฒนากุลประชุมวิชาการ อุปกรณ์การแพทย์ เรื่อง โรงพยาบาล อัจฉริยะและจักรวาลนฤมิตทาง การแพทย์3 สิงหาคม 2566 6. รศ.นันทชัย ทองแป้น รศ.ปรียา อนุ พงษ์องอาจ โครงการพัฒนาบุคลากร ด้านงานวิจัยและนวัตกรรมที่ DTGO Campus1 ธันวาคม 2566 7. รศ.นันทชัย ทองแป้น รศ.ปรียา อนุ พงษ์องอาจ ผศ.ดร.ทัศวรรณ พุทธ สกุล ผศ.ดร.จรูญรัตน์ ปริญญาคุปต์ ดร.ธเนศ อังศุวัฒนากุล ประชุม วิชาการเทคโนโลยีสุขภาพแห่ง ประเทศไทย ครั้งที่ 3 (The 3rd Conference on Health Technology of Thailand : HTCON2023) 24 มิถุนายน 2566 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้ง 5 คน ได้รับการพัฒนาทางวิชาการ และ/หรือ วิชาชีพ จํานวนมากกว่า 1 ครั้งต่อปีทุกคน สามารถนํามาประยุกต์ใช้ในด้านวิชาการ และวิชาชีพ
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
10. จำนวนบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอน [ถ้ามี] ได้รับการพัฒนาวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ต่อปี
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- หลักสูตร วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขา วิศวกรรมชีวการแพทย์มีบุคลากรสาย สนับสนุนการเรียนการสอน จํานวน 6 คน โดยได้รับการพัฒนาทางวิชาการ/ วิชาชีพ จํานวน 7 ครั้งในปีการศึกษา 2566 คิดเป็น ร้อยละ 100 1. นางสาวรัชนี เสาร์สุวรรณ์โครงการ พัฒนาศักยภาพด้านการให้คําปรึกษา แก่อาจารย์ที่ปรึกษา รุ่นที่ 2 15 กันยายน 2565 2. ดร.ณัฐกานต์ เกาศล หลักสูตร อบรม ออนไลน์ มหากาพย์ อังกฤษ อัพเกรด: ศัพท์ทะลุ อ่านทะลวงอบรมสิ้นสุดวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 3. ดร.ณัฐกานต์ เกาศล อบรมออนไลน์ หลักสูตร มหากาพย์ อังกฤษ อัพเกรด: ไวยากรณ์ พร้อมรบ อบรมสิ้นสุดวันที่ 21 กันยายน 2566 4. นายปกิต พงษ์ธร นายไชยเมธ เฉยทุม นางสาวปทิตตา เพลินจิตร นายมนตรี ตะบะขจร ระบบจองห้องประชุมทํา เองได้ด้วย Google Calendar วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 5. นางสาวปทิตตา เพลินจิตร เทคนิคการ สื่อสารและการประสานงานที่มี ประสิทธิภาพ 1 กันยายน 2566 6. นายมนตรี ตะบะขจรอบรมโครงการ เเลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้าน การสื่อสารเพื่อสร้างสรรค์1 กันยายน 2566 7. นายปกิต พงษ์ธร นายไชยเมธ เฉยทุม นางสาวปทิตตา เพลินจิตร นายมนตรี ตะบะขจร โครงการอบรมเชิง
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
11. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้าย/บัณฑิตใหม่ที่มีต่อคุณภาพหลักสูตร เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.50 จากคะแนนเต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- ปีการศึกษา 2566 หลักสูตร วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ จัดทําแบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย/ บัณฑิตใหม่ โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.76
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
12. ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตใหม่ เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.50 จากคะแนนเต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตร วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์จัดทําแบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตใหม่ โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.84
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
13. ร้อยละ 80 ของรายวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอน สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนด
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- ดําเนินการได้ตามแผนที่กําหนด คิดเป็น ร้อยละ 100 ทั้ง 36 รายวิชาในหลักสูตรมีการจัดการเรียน การสอนเป็นไปตามแผนที่กําหนดไว้ทุกรายวิชา
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
14. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อคุณภาพการสอน รวมทุกรายวิชา เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- ปีการศึกษา 2566 หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ มีการจัดการเรียนการสอน จํานวน 36 รายวิชา ซึ่งรวมทุกรายวิชามี คะแนนเฉลี่ย ไม่น้อยกว่า 4.00
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
15. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อทรัพยากรสนับสนุนการเรียนการสอน เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.51 จากคะแนน เต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาทุกชั้นปี ต่อทรัพยากรสนับสนุนการเรียนการสอน เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.51 ตามตัวบ่งชี้ที่ 6.1 โดยมีระดับความพึงพอใจมีคะแนนเฉลี่ย 4.74
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ผลการประเมินจากผลการดำเนินงาน ตัวบ่งชี้ 5.4
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] รวมจำนวนตัวบ่งชี้ในแต่ละปี 14 5.00
[2] จำนวนตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการผ่านเฉพาะตัวบ่งชี้ที่ 1-5 1-5
[3] ร้อยละของตัวบ่งชี้ที่ 1-5 ที่ผ่าน [ถ้าผ่านทั้ง 5 ข้อจะเป็นร้อยละ 100] 100
[4] จำนวนตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการผ่านรวม 14
[5] ร้อยละของตัวบ่งชี้ทั้งหมดที่ผ่าน 100.00
*หมายเหตุการกำหนดเงื่อนไขเกณฑ์การประเมิน
ถ้า [3] น้อยกว่าร้อยละ 100 ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 0.00
ถ้า [5] มีการดำเนินงานน้อยกว่า ร้อยละ 80 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 0.00
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 80 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 3.50
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 80.01 - 89.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 4.00
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 90.00 -94.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 4.50
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 95.00 -99.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 4.75
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 100 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 5.00
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 5 (4 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 4.25 คะแนน

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

[ตัวบ่งชี้ 6.1] สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

คะแนนที่ได้ 4
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
          - หลักสูตรมีระบบ มีกลไก มีการนําระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดําเนินงาน มีการประเมิน กระบวนการ มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็น รูปธรรม มีผลการดําเนินงานเชิงผลลัพธ์เป็นไปตามเป้าหมายเทียบกับ KPI (OKRs) KR1.2.2 หลักสูตรเปิดดําเนินการสอนมีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่ทันสมัย พร้อมใช้ และจํานวนที่ เพียงพอ สอดคล้องกับเป้าหมายผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (ระบบนิเวศทางการเรียนรู้ที่ทันสมัย พร้อมใช้ และจํานวนที่เพียงพอสอดคล้องและทันสมัยต่อโลกแห่งปัจจุบันและโลกแห่งอนาคต สอดคล้องกับ เป้าหมายผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง) ค่าเป้าหมาย ร้อยละ 60 ผลการดําเนินงาน ร้อยละ 100
 
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
ระบบการดำเนินงานของภาควิชา/คณะ/สถาบัน โดยมีส่วนร่วมของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เพื่อให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- การดําเนินการเพื่อให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เพียงพอและเหมาะสม ต่อการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งกระบวนการปรับปรุงตามผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษา และอาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ทางสาขาวิชาได้ดําเนินการใน 3แนวทางด้วยกันคือ 1. มาจากงานวิชาการ ได้แก่รายวิชาที่จัดกระบวนการเรียนการสอน 2. มาจากงานบริการวิชาการ ได้แก่ศูนย์(บริการวิชาการทั้งสองศูนย์ ) 3. มาจากงานทางด้านการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาผ่านกิจกรรมเสริมหลักสูตร โดยงานทั้งสามลักษณะจะมีกระบวนการปฏิบัติในลักษณะบูรณาการและดําเนินการแบบองค์รวม โดยกระบวนการในทางปฏิบัติของการดําเนินงานใน 3 ด้านดังกล่าวสามารถสรุปได้ดังรูปในแต่ละ ปีการศึกษาคณะกรรมการบริหารหลักสูตรจะนํามีการประชุมย่อยในทุกสัปดาห์เพื่อทําการรวบรวมปัญหา อุปสรรคต่างๆที่เกิดขึ้นจากการที่ได้รับทราบจากนักศึกษาและอาจารย์ รวมทั้งติดตามผลของการ ดําเนินการตามกลยุทธ์ของหลกสูตร/วิทยาลัย เพื่อทําการวิเคราะห์ประเมินผล และแก้ปัญหาทั้งในระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- หลักสูตรควรนำ work flow และกระบวนการตามระบบการดำเนินงานของภาควิชา/คณะ/สถาบัน โดยมีส่วนร่วมของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เพื่อให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล ถ่ายทอดสู่การจัดการความรู้ผ่านระบบ RKMS เพื่อการเข้าถึงรางวัล good practice สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
 
จำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
          1. ที่ผ่านมาห้องวิจัยทุกห้องมีผลงานวิจัยและนวัตกรรมเกิดขึ้นหลายโครงการรวมทั้งได้รับรางวัล ชนะเลิศระดับประเทศและนานาชาติ 214 หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์
          2. จากการที่ได้เห็นความพร้อมในด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เหมาะสมดีเยี่ยม สถาบันคุณวุฒิ วิชาชีพสาขาวิชาชีพวิศวกรชีวการแพทย์ได้ให้การรับรองเป็นที่สอบรับรองมาตรฐานวิชาชีพวิศวกรชีว การแพทย์ในระดับ 4 – ระดับ 6
          3. ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ส.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และมศว. รวมทั้งวิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ ปัตตานี และสกลนครรวมทั้งนครศรีธรรมราช ได้ส่งนักศึกษามาดูงานและ มาฝึกงานกับทางวิทยาลัยวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ม.รังสิตในทุกปีการศึกษา


 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
กระบวนการปรับปรุงตามผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
      จากผลการประเมินความพึงพอใจในปีการศึกษา 2565 หลักสูตรได้นํามาทําการปรับปรุงสถานที่ และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาของวิทยาลัยตามข้อเสนอแนะของนักศึกษา ในปี 2566 นี้ ทาง วิทยาลัยได้ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการเรียนการสอน ดังนี้ 1. ห้องประชุมเล็กชั้น 2 2. ห้องวิจัย 8 ห้อง ซึ่งสามารถรองรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4 ที่อยู่ประจําห้องวิจัย 3. ห้อง 4-109 สามารถใช้ทํางานคอมพิวเตอร์หลังเลิกเรียน 4. บริเวณหน้าห้อง 4-301 5. บริเวณหน้าห้อง 4-618
      ในปีการศึกษา 2566 ผลการประเมินความพึงพอใจนักศึกษาต่อสิ่งสนับสนุน เป็นดังนี้ (1)อาคาร เรียน ห้องเรียน/ห้องปฏิบัติการ มีความพร้อมต่อการจัดการศึกษา ระดับความพึงพอใจเฉลี่ย 4.63 (2) 2. ทรัพยากรเอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น อุปกรณ์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ห้องสมุด ตํารา/หนังสือ แหล่งเรียนรู้ ฐานข้อมูล มีความเหมาะสมต่อการจัดการศึกษา ระดับความพึงพอใจเฉลี่ย 4.83 (3) 3.มีการดูแล รักษา สภาพแวดล้อม และทรัพยากรที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ระดับความพึงพอใจเฉลี่ย 4.80 (4) 4.เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนมีความเหมาะสมกับยุคสมัย ความพึงพอใจเฉลี่ย (4.72) (5) 5. มีบริการคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ความพึงพอใจเฉลี่ย 4.75 (6) 6. มีการจัดสรรงบประมาณให้ นักศึกษาเพื่อทําวิจัย ความพึงพอใจเฉลี่ย 4.71 (7) มีห้องทํางานวิจัย(ซึ่งไม่ใช่ห้องเรียน) เพื่อให้นักศึกษา เข้าใช้ได้สะดวกในการทําวิจัย ความพึงพอใจเฉลี่ย 4.73 (8) มีอุปกรณ์และเครื่องมือพื้นฐานที่จําเป็นและ เหมาะสมในการจัดการเรียนการสอน และการทําวิจัย ความพึงพอใจเฉลี่ย 4.72 ความพึงพอใจนักศึกษา ต่อสิ่งสนับสนุน เฉลี่ยทั้งหมด 4.74 โดยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้  อยากให้มีห้องที่นักศึกษาสามารถมาใช้ได้ตลอดเวลา คล้ายๆco-working space 217 หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์  เครื่องมือแพทย์ที่นํามาประกอบการสอนมีมากกว่านี้  เสนอในเรื่องของเครื่องมือให้เพียงพอต่อการใช่งานรายวิชาของนักศึกษามากยิ่งขึ้น
        ความพึงพอใจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ เป็นดังนี้ (1) อาคาร เรียน ห้องเรียน/ห้องปฏิบัติการ มีความพร้อมต่อการจัดการศึกษา ความพึงพอใจเฉลี่ย 4.40 (2) . ทรัพยากร เอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น อุปกรณ์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ห้องสมุด ตํารา/หนังสือ แหล่งเรียนรู้ ฐานข้อมูล มี ความเหมาะสมต่อการจัดการศึกษา ความพึงพอใจเฉลี่ย 4.60 (3) มีการดูแล รักษาสภาพแวดล้อม และ ทรัพยากรที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ความพึงพอใจเฉลี่ย 4.80 (4) เทคโนโลยีที่ใช้ในการ จัดการเรียนการสอนมีความเหมาะสมกับยุคสมัย ความพึงพอใจเฉลี่ย 4.60 (5) มีบริการคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ความพึงพอใจเฉลี่ย 4.40 (6) มีการจัดสรรงบประมาณให้นักศึกษาเพื่อทําวิจัย ความพึงพอใจเฉลี่ย 4.40 (7) มีห้องทํางานวิจัย(ซึ่งไม่ใช่ห้องเรียน) เพื่อให้นักศึกษาเข้าใช้ได้สะดวกในการ ทําวิจัย ความพึงพอใจเฉลี่ย 5.00 (8) มีอุปกรณ์และเครื่องมือพื้นฐานที่จําเป็นและเหมาะสมในการจัดการ เรียนการสอน และการทําวิจัย มีอุปกรณ์และเครื่องมือพื้นฐานที่จําเป็นและเหมาะสมในการจัดการเรียน การสอน และการทําวิจัย ความพึงพอใจเฉลี่ย 4.60 (9) เครื่องมือ อุปกรณ์ในแต่ละห้องวิจัยมีความพร้อม ใช้และเพียงพอต่อการเรียน ความพึงพอใจเฉลี่ย 4.40 ความพึงพอใจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรต่อ สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้เฉลี่ยทั้งหมด 4.58 โดยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้  ปัญหาเรื่องห้องและอุปกรณ์การเรียน สามารถแก้ไขได้เบื้องต้นโดยการจัดการจํานวน นักศึกษาต่อกลุ่มให้มีความใกล้เคียงกัน โดยอยู่ที่ 50 คนต่อกลุ่มเรียน สําหรับห้องแลป อิเล็กทรอนิกส์ 30 คนสําหรับห้องคอมพิวเตอร์ชั้น 6 และ 45 คนสําหรับห้องคอมพิวเตอร์ชั้น 1  นักศึกษามีจํานวนเพิ่มมากขึ้น และมีวิชาที่ใช้โครงงานเป็นหลักทุกชั้นปี ซึ่งอยู่ช่วงเวลา เดียวกัน ทําให้นักศึกษาต้องหาพื้นที่นั่งทําโครงงาน  สัดส่วนของนักศึกษาแต่ละเซค ควรทีความใกล้เคียงกันเพื่อให้ง่ายต่อการจัดสรรทรัพยากร ที่มีอยู่  มีการปรับปรุงห้องเรียน ห้องวิจัยให้ทันสมัยเสมอในงบประมาณที่จํากัดมากกก  อยู่ระหว่างปรับปรุงให้มีความพร้อมมากที่สุด

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 6 (1 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 4.00 คะแนน

รายงานผลการวิเคราะห์จุดเด่น/จุดแข็ง แนวทางเสริม จุดที่ควรพัฒนา และแนวทางปรับปรุง

จุดเด่นและแนวทางเสริม

  1. หลักสูตรปรับปรุงพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนการสอนในรายวิชาชีพเป็นแบบกลุ่มวิชาในลักษณะ Modular Based ให้มีประสิทธิผล มากขึ้นรวมทั้งการปรับกระบวนการวัดและประเมินผลที่เน้น Outcome Based Asssment มากขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน
  2. หลักสูตรได้รับการยอมรับให้เป็นที่สอบวัดระดับมาตรฐานของวิชาชีพวิศวกร ชีวการแพทย์จากสถาบัณคุณวุฒิวิชาชีพ ผู้บริหารและคณาจารย์ของหลักสูตรได้รับเชิญให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในระดับประเทศในหลายๆ มิติ ที่สําคัญที่สุดคือ หลักสูตรได้รับการรับรองจากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพในเรื่องผลลัพธ์การเรียนรู้ โดยที่บัณฑิตของหลักสูตรจะได้ใบรับรองมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์ อาชีพวิศวกรชีวการแพทย์ ระดับ 4 โดยอัตโนมัติซึ่งเป็ นสถาบันการศึกษาทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ที่เดียวในประเทศไทย
  3. หลักสูตร มีการผลิตบัณฑิตที่ได้มาตรฐานได้รับการยอมรับจากผู้ประกอบการในระดับสูง มีผลประเมินจากผู้ใช้บัณฑิตด้วยคะแนนประเมินระดับดีมาก และมีแนวโน้มดี ตลอดจนบัณฑิตมีงานทำร้อยละ 100
  4. หลักสูตรมีแผนการดําเนินงาน มีการดําเนินงานตามแผน มีการประเมินผลการดําเนินงานและมีการนําเอาผลการประเมินในทุกมิติ มาปรับปรุงทั้งในแง่คุณภาพและปริมาณอีกทั้งมีการประเมินแผนการดําเนินงานในทุกปีการศึกษา เพื่อทําการปรับปรุงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกในทุกมิติ ทําให้บุคลากรทั้งสายอาจารย์และสายสนับสนุนการสอน มีความพร้อมทั้งทางด้านคุณวุฒิและตําแหน่งทางวิชาการ มีความเชี่ยวชาญทั้งในด้านการสอนวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งบุคลากรสายสนับสนุนการสอนก็มีความพร้อมด้านการให้บริการและอํานวยความสะดวกต่อการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนานักศึกษาในทุกมิติ นำมาซึ่งรางวัล good practice ผ่านระบบ RKMS ดีเด่น 2 รางวัล ในปีการศึกษา 2566
  5. หลักสูตรมีการพัฒนาระบบสนับสนุนการเรียนรู้ ที่ประสบความสําเร็จ โดยที่วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์เป็นเป้าหมายแรกๆ ของบุคคลจากภายนอกที่ต้องการมาเยี่ยมชมดูงานที่มหาวิทยาลัยรังสิตเพราะปัจจัยที่สําคัญคือต้องการมาเยี่ยมชมระบบสนับสนับสนุนการเรียนรู้ของวิทยาลัยฯ ที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานภายนอก เช่น สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ สังกัดสํานักนายกรัฐมนตรี รวมทั้งสมาคมวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย ให้เป็นองค์กรที่ทําหน้าที่สอบรับรองมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์จํานวนอย่างน้อย 3 มาตรฐานวิชาชีพคือวิชาชีพวิศวกรชีวการแพทย์ในโรงพยาบาล วิชาชีพการสอบเทียบเครื่องมือแพทย์ และวิชาชีพการผลิตเครื่องมือแพทย์เนื่องมาจากปัจจัยสําคัญที่สุดในการได้รับการรับรองคือความพร้อมของระบบสนับสนุนการเรียนรู้เช่นอาคารสถานที่และอุปกรณ์เครื่องมือเป็นต้น หลักสูตรจึงควรถ่ายทอดแนวปฏิบัติที่ดีดังกล่าวผ่านระบบ RKMS ต่อไป

จุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง

  1. ในอนาคตหลักสูตรอาจเพิ่มกิจกรรมพัฒนานักศึกษาทางทักษะดิจิตอล และทักษะ AI
  2. การพัฒนาผลงานวิจัยของคณาจารย์และ/หรือโครงงานของนักศึกษา ต้องเน้นการพัฒนาหลายๆครั้งจนกระทั่งมีความพร้อมที่จะสามารถนําไปใช้งานได้จริงและ/หรือสามารถดําเนินการในเชิงพาณิชย์ได้โดยในการจัดทําโครงงานในระยะเริ่มต้นครั้งที่ 1 ต้องให้มีระดับความพร้อมทางด้านเทคโนโลยี(Technology Readiness Levels: TRLs) อย่างน้อยเกินระดับ 4 (Prototype Development)และต้อง พัฒนาอย่างต่อเนื่อง จากนักศึกษาในแต่ละรุ่นภายใต้การกํากับของอาจารย์ที่ปรึกษาและ/หรืออาจารย์ที่ปรึกษาสามารถนําไปต่อยอดขอทุนวิจัยจากภายในหรือภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อให้มีความพร้อมที่จะนําไปดําเนินการในระดับ 9 คือเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้งานหรือสามารถดําเนินการในเชิงพาณิชย์ได้
  3. การพัฒนาบัณฑิตให้เป็นผู้ประกอบการ ในเรื่องนี้ถือว่าเป็นแผนงานในระยะสั้นถึงปานกลางที่ถือว่าเป็นความท้าทายของหลักสูตร เนื่องจากโลกในอนาคตหลังวิกฤตโควิด-19 นั้นการเป็นผู้ประกอบการโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีทางด้านการดูแลรักษาสุขภาพเพื่อการพึ่งพาตนเองของประเทศนั้น ถือว่ามีความมั่นคงเป็นอย่างสูงทั้งส่วนบุคคลและอนาคตของประเทศไทย
  4. เนื่องจากระบบโครงสร้างพื้นฐานในทุกมิติในระยะที่ผ่านมา สามารถรองรับการการจัดการศึกษาสําหรับนักศึกษาได้สูงสุดไม่เกิน 350 คนแต่ในระยะต่อไป (2565-2569) น่าจะมีนีกศึกษาเพิ่มมากขึ้นหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ เป็น 400-450 คน ดังนั้นทางมหาวิทยาลัยต้องสนับสนุนในเรื่องของระบบโครงสร้างพื้นฐานในทุกมิติเพื่อให้ทางหลักสูตร/วิทยาลัยใช้ในการจัดการศึกษาต่อไป

สรุปผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลดำเนินการ
กรรมการ
1.1 การบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่กำหนดโดยสกอ. ผ่าน
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ.2561 4.84
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี 5.00
3.1 การรับนักศึกษา 4.00
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา 4.00
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา 4.00
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์ 5.00
4.2 คุณภาพอาจารย์ 5.00
4.3 ผลที่เกิดกับอาจารย์ 4.00
5.1 สาระของรายวิชาในหลักสูตร 5.00
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน 4.00
5.3 การประเมินผู้เรียน 3.00
5.4 ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 5.00
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 4.00
ผลการประเมินเฉลี่ยรวม [13 ตัวบ่งชี้] 4.37

การวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาภายใน ของคณะกรรมการประเมิน ฯ

องค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
1 ผ่านการประเมิน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 2 - - 4.92 4.92 ระดับคุณภาพดีมาก
3 3 4.00 - - 4.00 ระดับคุณภาพดี
4 3 4.67 - - 4.67 ระดับคุณภาพดีมาก
5 4 5.00 4.00 - 4.25 ระดับคุณภาพดีมาก
6 1 - 4.00 - 4.00 ระดับคุณภาพดี
ผลการประเมิน 4.43 4.00 4.92 4.37 ระดับคุณภาพดีมาก
ระดับคุณภาพ ระดับคุณภาพดีมาก ระดับคุณภาพดี ระดับคุณภาพดีมาก