รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานักบินพาณิชย์

วันที่ประเมิน: 23 สิงหาคม 2567, 09:30น.

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

[ตัวบ่งชี้ 1.1] การบริหารการจัดการหลักสูตรตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร

เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
1. จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
(ดร.มัติกร) มีข้อสังเกตในส่วนวันที่อนุมัติการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร (ปี 2566) เลยจากช่วงเวลาที่ขอปรับปรุงมามาก (ปี 2563)
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
2. คุณสมบัติอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม

ระบุชื่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่ผลงานวิชาการในรอบ 5 ปี หมดอายุในปีการศึกษาที่ตรวจ (ต้องเพิ่มผลงานชิ้นใหม่ในปีการศึกษาหน้า)

- ไม่มี
ข้อคิดเห็น
(ผศ.ดร.เพียงจันทร์) ปรับปรุง ตัวเลข 1. ที่พิมพ์เกิน ในหน้า 11
(ดร.มัติกร) ข้อสังเกต> ผลงานของอาจารย์ 3 ท่าน เป็นผลงานเดียวกัน โดยการแสดงรายละเอียดของผลงานไม่ได้ระบุชื่อผู้เขียน ว่ามีใครบ้าง
- ขอให้เพิ่มเติมข้อความ ตามตัวอย่างใน Template RQF.7 เช่น 
1.พล.อ.ท.ดร.ศุภกฤต อริยะปรีชา

Rคุณวุฒิตรง      £คุณวุฒิสัมพันธ์
ศศ.ด. (ผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง) มหาวิทยาลัยรังสิต สำเร็จการศึกษา ปี 2559
เป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรจำนวน 1 หลักสูตร และเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนี้ 

มีผลงานย้อนหลังในรอบ 5 ปีการศึกษา จำนวน.......ชิ้น และมีผลงานปีล่าสุด คือ ปีการศึกษา ..........
(มีรายละเอียดชื่อผลงานตามแบบรับรองความถูกต้องของผลงานวิชาการย้อนหลังในรอบ
5 ปี
การศึกษา (ปีการศึกษา 2562 - 2566))

 
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
(ผศ.ดร.เพียงจันทร์) ไม่พบเอกสารบทความทางวิชาการของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่อ้างถึง
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
[สำหรับประเภทวิชาชีพ/ปฏิบัติการ]
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 2 ใน 5 คน ต้องมีประสบการณ์ในด้านการปฏิบัติการ
ระบุข้อคิดเห็น
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม

ระบุชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตรที่ผลงานวิชาการในรอบ 5 ปี หมดอายุในปีการศึกษาที่ตรวจ (ต้องเพิ่มผลงานชิ้นใหม่ในปีการศึกษาหน้า)

- ไม่มี
ข้อคิดเห็น
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
(ผศ.ดร.เพียงจันทร์) ไม่พบเอกสารบทความทางวิชาการของอาจารย์ที่อ้างถึง
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
4. คุณสมบัติอาจารย์ผู้สอน ที่เป็นอาจารย์ประจำ
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
(ผศ.ดร.เพียงจันทร์) เนื่องจากไม่มีอาจารย์พิเศษ - ขอให้ตัด "วท.ด.(ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำเร็จการศึกษา ปี 2555" ออก
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน ที่เป็นอาจารย์พิเศษ
ข้อคิดเห็น
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ผลการประเมินจากผลการดำเนินงาน ตัวบ่งชี้ 1.1

องค์ประกอบที่ 2 การผลิตบัณฑิต

[ตัวบ่งชี้ 2.1] คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และ ด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ.2561

หมายเหตุ : *
(1) จำนวนบัณฑิตทั้งหมด หมายถึง ผู้รับปริญญา ในปีการศึกษา 2565 ประกอบด้วย บัณฑิตที่จบภาคการศึกษา 1/2565 , 2/2565 และ S/2566 [ปีต้องอัพเดตตามปีการศึกษาที่ประเมินย้อนหลัง 1 ปี]
(2) จำนวนบัณฑิตที่รับการประเมินจากผู้ใช้บัณฑิตต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาตาม (ข้อ1)

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
จำนวนบัณฑิตทั้งหมด 6 4.84
จำนวนบัณฑิตที่ได้รับการประเมินทั้งหมด 5
คะแนนเฉลี่ยรวมคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561 4.84
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
(ผศ.ดร.เพียงจันทร์) ผลการประเมินคุณภาพบัณฑิตอยู่ในระดับดีมากในทุกด้าน 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
(ผศ.ดร.เพียงจันทร์) เพิ่มเติม ตัวเลขค่าร้อยละ (ที่พิมพ์ตก) ในหน้า 23
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-มีข้อสังเกตว่าหลักฐานเป็นคะแนนสรุปเหมือนใน RQF.7 ไม่ได้มีรายละเอียดการประเมินรายบุคคล

[ตัวบ่งชี้ 2.2] ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี

หมายเหตุ : *
(1) จำนวนบัณฑิตทั้งหมด จะต้องตรงกับตาราง ตัวบ่งชี้ 2.1
(2) จำนวนบัณฑิตที่ตอบแบบสำรวจจะต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
จำนวนบัณฑิตทั้งหมด 6 3.75
จำนวนบัณฑิตที่ตอบแบบสำรวจ 5
จำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษา [มีงานทำในองค์กร] 3
จำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษา [ประกอบอาชีพอิสระ] 0
จำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษา [ประกอบกิจการส่วนตัว/ธุรกิจครอบครัว] 0
จำนวนบัณฑิตที่ไม่ได้งานทำ 1
จำนวนบัณฑิตที่ศึกษาต่อ 1
จำนวนบัณฑิตที่อุปสมบท 0
จำนวนบัณฑิตที่เกณฑ์ทหาร 0
จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาที่มีงานทำก่อนเข้าศึกษา 0
ร้อยละที่ได้ 75.00
ผลลัพธ์ที่ได้ 3.75
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-มีข้อสงสัยไฟล์หลักฐาน นบ.บ. 2.2.02 ผลสำรวจการได้งานทำของบัณฑิตปี 66 รายชื่อบัณฑิตรุ่นที่ 12 > มี 21 คน >ทำงาน 18 คน นั้นนำมาสู่การวิเคราะห์ ตบช. 2.2 อย่างไร 
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 2 (2 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 4.30 คะแนน

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

[ตัวบ่งชี้ 3.1] การรับนักศึกษา

คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การรับนักศึกษา:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานักบินพาณิชย์ มีกระบวนการรับนักศึกษาใช้วิธีการเปิดรับนักศึกษาตามระบบของมหาวิทยาลัย โดยคณะกรรมการประจำสถาบันการบินร่วมกันกำหนดนโยบาย พิจารณาและทบทวนการรับนักศึกษาประจำปีการศึกษา 2566 พร้อมทั้งจัดตั้งคณะกรรมการรับนักศึกษาโดยเปรียบเทียบกับปีการศึกษา 2565 กำหนดการรับนักศึกษาจำนวน 30 คน ทั้งแบบรับตรงและ Admission การพิจารณาคัดเลือกด้วยการสอบสัมภาษณ์และการประชุมของคณะกรรมการให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด การดำเนินการรับนักศึกษาเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมของทุกปี เดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 5 ครั้ง จนถึงเดือนพฤษภาคม การคัดเลือกใช้วิธีการสอบสัมภาษณ์ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์นักศึกษาและการประชุมร่วมกันผลการรับนักศึกษาใหม่อยู่ที่ 18 คน
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- หลักสูตรควรปรับปรุงกระบวนการประชาสัมพันธ์ในการรับนักศึกษาใหม่ ประเมินความสำเร็จทั้งเชิงปริมาณ (ร้อยละตามเป้าหมายการรับนักศึกษาที่ระบุใน RQF2) และประเมินความสำเร็จเชิงคุณภาพ (ร้อยละตามเป้าหมายการรับนักศึกษาที่มีคุณสมบัติตามที่หลักสูตรกำหนด) เพื่อนำผลประเมินมาปรับปรุงกระบวนการ
- (ผศ.ดร.เพียงจันทร์) ควรปรับการเขียนรายงานให้เป็น PDCA
- (ดร.มัติกร) ควรมีการระบุ> ระบบกลไกการรับนักศึกษา การนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ และการทบทวนประเมินระบบกลไก ที่ชัดเจน ข้อสังเกต ข้อมูลรายละเอียดที่รายงานส่วนใหญ่เน้นด้านการพัฒนานักศึกษาให้ผ่านมาตรฐานการตรวจร่างกาย Medical Class มากกว่า ด้านการรับนักศึกษา 
การเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
สถาบันการบิน มีการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษาซึ่งมีระบบและกลไก ดังนี้
1. การปฐมนิเทศเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนเปิดภาคการศึกษา โดยคณะผู้บริหารและอาจารย์ใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง เพื่อชี้แจงในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ ข้อกำหนดในมาตรฐานของวิชาชีพ การปลูกฝัง Air mind และแนวทางในการปฏิบัติตนเพื่อให้สำเร็จการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล มีการให้ความรู้ต่อเนื่องเกี่ยวกับอาชีพนักบิน ตั้งแต่เริ่มเข้าศึกษาในชั่วโมง Home Room
2. การเตรียมความพร้อมนักศึกษามี 2 ระดับ เนื่องจากการทำหลักสูตรเป็นแบบ 2+2 คือ
- ระดับแรกเป็นการเตรียมความพร้อมในการเป็นนักศึกษาของการเรียนปริญญาตรี โดยสถาบันการบินจัดทำคู่มือนักศึกษาเพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้ เช่น สถาบันการบินโครงสร้างและบุคลากร การเข้า Home Room การเข้าร่วมกิจกรรม การแต่งกาย หลักสูตรการศึกษา ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร การศึกษาตามหลักสูตร รายวิชาและแผนการศึกษา จัดอาจารย์ที่ปรึกษาประจำชั้นปี การจัดให้นักศึกษาในทุกชั้นปีมีส่วนร่วมในการใช้ชีวิตและการเรียนในระดับมหาวิทยาลัย
- ระดับที่สองเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อเตรียมตัวเป็นนักบินฝึกหัด
3. สถาบันการบินได้ส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาก่อนเข้าศึกษา โดยได้จัดโครงการ และกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
- การปลูกฝังด้าน Air mind ตามโครงการเสริมสร้างความรู้ ประสบการณ์ และจิตสำนึกในการเป็นนักบิน (Air mind) ด้วยการให้นักศึกษา ชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2 มีตารางการเข้า Home Room สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง และการฝึกบินเครื่องฝึกบินจำลอง (Flight Simulator) โดยอาจารย์ที่เป็นครูการบิน หรือผู้มีประสบการณ์ด้านการบินจากสายการบิน มาให้ความรู้ ประสบการณ์ และจิตสำนึกในการเป็นนักบิน เป็นการเตรียมความพร้อม และความรักในอาชีพนักบินพาณิชย์ รวมถึงการพัฒนาด้านความถนัดของนักบิน (Psychomotor) จิตวิทยาด้านการบิน และบุคลิกภาพ ซึ่งโครงการนี้มีผลการประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 4.72 อยู่ระดับพึงพอใจมากที่สุด
- การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ตามโครงการเสริมสร้างจิตสำนึกในการทำนุบำรุงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งในโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อให้รุ่นพี่รุ่นน้องได้พบปะรู้จักกัน สร้างความสมัครสมานสามัคคีในหมู่คณะฯ และเพื่อให้นักศึกษาได้รับการฝึกความอดทน มีระเบียบวินัย มีบุคลิกภาพที่ดี มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ มีคุณธรรมและจริยธรรม ด้วยการจัดกิจกรรมต่างๆ อาทิ การจัดให้มีการปฐมนิเทศ การอบรมจากนักศึกษารุ่นพี่ การทำกิจกรรมที่เป็นหมู่คณะ โดยทำกิจกรรมที่มหาวิทยาลัย การออกไปที่แหล่งชุมชนเพื่อการปลูกป่าชายเลน การไปปฏิบัติธรรม ทำบุญ ใส่บาตร และบำเพ็ญประโยชน์เก็บขยะตามชายหาด ที่จังหวัดระยองพัฒนาศักยภาพ เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และการบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดี การมีวินัย ความซื่อสัตย์ และความสามัคคีในหมู่คณะ มีจิตสาธารณะ รู้จักการบำเพ็ญประโยชน์ และช่วยเหลือสังคม ด้วย ซึ่งโครงการนี้มีผลการประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 4.60 อยู่ระดับพึงพอใจมากที่สุด
- อัตราการคงอยู่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ขึ้นปีที่ 2 เริ่มดีขึ้น 
- (ดร.มัติกร) หลักสูตรมีระบบและกลไกรวมถึงการปฏิบัติงาน ในการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาของหลักสูตรที่ดีมาก ทั้งกับนักศึกษาใหม่ และนักศึกษาในชั้นปีการศึกษาอื่น ๆ ที่ครอบคลุมทุกชั้นปี
ข้อสังเกต: หลักสูตรควรแสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่ได้การดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม  
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-หลักสูตรควรปรับปรุงกระบวนการเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่ ประเมินความสำเร็จทั้งเชิงปริมาณ (ร้อยละนักศึกษาใหม่เข้าร่วมกิจกรรม ) และประเมินความสำเร็จเชิงคุณภาพ (ร้อยละนักศึกษาใหม่ที่มีความพร้อมในแต่ละด้านตามเป้าหมายรายด้านของกิจกรรมการเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่) เพื่อนำผลประเมินมาปรับปรุงกระบวนการเตรียมความพร้อม
(ผศ.ดร.เพียงจันทร์)
- ย่อหน้าแรก ตรวจสอบตัวเลข 2564 หรือ 2565
- ควรปรับการเขียนรายงานให้เป็น PDCA
- การอธิบายและหมายเหตุต่างๆ ที่มาจาก Template ที่ไม่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรฯ ควรพิจารณาตัดทิ้ง
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
(ผศ.ดร.เพียงจันทร์) รายการเอกสาร ไม่ตรงกับในระบบ ตัวอย่างเช่น ในเล่ม เป็น >
รายการเอกสารหลักฐาน
1. นบบ.3.1.01 คณะกรรมการสอบสัมภาษณ์
2. นบบ.3.1.02 การกำหนดการรับนักศึกษาทุกเดือนรวมถึง Admission
3. นบบ.3.1.03 จำนวนผู้สมัครสอบ และจำนวนการรับเข้าเป็นนักศึกษา
4. นบบ.3.1.04 การปฐมนิเทศ, การเข้า Home Room, การเรียนรายวิชาเครื่องฝึกบินจำลอง

แต่ในระบบ เป็น
นบบ.3.1.01 คณะกรรมการสอบสัมภาษณ์
เมื่อกดเข้าไป พบ
1 นบบ.3.1.01 คณะกรรมการสอบสัมภาษณ์
2 นบบ.3.1.02 การกำหนดการรับนักศึกษาทุกเดือนรวมถึง Admission 66
3 นบบ.3.1.03 จำนวนผู้สมัครสอบ และจำนวนการรับเข้าเป็นนักศึกษา 66

[ตัวบ่งชี้ 3.2] การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา

คะแนนที่ได้ 2
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษาปริญญาตรี:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- สถาบันการบินได้แต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 ให้รับผิดชอบนักศึกษาแต่ละชั้นปี ดังนี้
1. พล.อ.ท ดร.ชนนนาถ เทพลิบ      อาจารย์ที่ปรึกษาชั้นปีที่ 1
2. พล.อ.ท.ศ.พูนลาภ เอี่ยมเจริญ     อาจารย์ที่ปรึกษาชั้นปีที่ 2
3. ร.ท.ดร.ประพนธ์ จิตตะปุตตะ       อาจารย์ที่ปรึกษาชั้นปีที่ 3
4. พล.อ.ท.ดร.ศุภกฤต อริยะปรีชา   อาจารย์ที่ปรึกษาชั้นปีที่ 4
    มีการควบคุมดูแลนักศึกษาผ่านระบบอาจารย์ที่ปรึกษาตามความสำคัญของระดับชั้นปี คือ ระบบอาจารย์ที่ปรึกษาชั้นปีที่ 1 มีอาจารย์และนักบิน ชั้นปีที่ 2 เป็นอาจารย์ที่เป็นนักวิชาการ ชั้นปีที่ 3 เป็นนักบิน ชั้นปีที่ 4 เป็นอาจารย์แนะแนวเรื่องการสำเร็จการศึกษา ทั้งนี้จะมีการติดตามผลการดำเนินงาน ผลการประเมินเพื่อนำมาปรับปรุงกระบวนการ
- (ดร.มัติกร) มีระบบและกลไกการดูและให้คำปรึกษามีแนวปฏิบัติที่ดี ข้อสังเกต การนำเสนอข้อมูล> ควรมีการแสดงให้เห็นถึงการประเมินกระบวนการ และการปรับปรุงพัฒนากระบวนการที่ชัดเจน
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- หลักสูตรควรประเมินการทำหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษารายด้านเป็นรายบุคคลโดยนักศึกษา เพื่อนำผลประเมินมาร่วมพิจารณาปรับปรุงกระบวนการควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษา
(ผศ.ดร.เพียงจันทร์) ควรเขียนในรูปแบบ PDCA
การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- ในปีการศึกษา 2566 นักศึกษาแรกเข้ามีจำนวน 18 คน เหลือเป็นนักศึกษาในชั้นปีที่ 2 จำนวน 16 คน มีการดำเนินการดังนี้ > การประเมินสถานการณ์อาชีพนักบินพาณิชย์จะกลับคืนเข้าสู่ภาวะปกติเมื่อธุรกิจการบินกลับมาเปิดเส้นทางบินและมีการเดินทางมากขึ้น มีการจ้างงานในอาชีพนักบินพาณิชย์จนมีการขาดแคลนนักบินก็จะเกิดการเข้ามาเลือกเรียนในอาชีพนักบินพาณิชย์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งสถานการณ์ของการคืนสภาพจากการประเมินของสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA: The International Air Transport Association) ในปี พ.ศ. 2567
- (ผศ.ดร.เพียงจันทร์)  มีระบบและกลไกในการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เช่น การเรียนรู้ใน Home Room 
- (ดร.มัติกร) มีระบบและกลไกการดู และให้คำปรึกษา มีแนวปฏิบัติที่ดี ข้อสังเกต> 1) ในปีการศึกษา 2566 ยังไม่ได้แสดงให้เห็นแนวปฏิบัติที่ชัดเจน 2) การนำเสนอข้อมูลควรมีการแสดงให้เห็นถึงการประเมินกระบวนการ และการปรับปรุงพัฒนากระบวนการที่ชัดเจน
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- หลักสูตรควรระบุทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่ต้องการพัฒนาให้กับนักศึกษา แล้ว mapping กับกิจกรรม/โครงการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทำการประเมินความสำเร็จทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ คือ ร้อยละจำนวนนักศึกษากลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม และร้อยละนักศึกษาที่มีทักษะตามวัตถุประสงค์กิจกรรม เพื่อนำผลประเมินมาปรับปรุงกิจกรรม/โครงการ
(ผศ.ดร.เพียงจันทร์) การเขียน ไม่จำเป็นต้องอ้างตั้งแต่ปี 2562, 2563, 2564 ควรเขียนในรูปแบบ PDCA ที่เป็นผลการดำเนินงานปี 2565 การพัฒนาและดำเนินงานในปี 2566 และแนวทางในปี 2567
การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในการส่งเสริมให้เกิดการสร้างผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาสาขานักบินพาณิชย์ ไม่ได้มีการทำวิจัยแต่มีการทำโครงการแบบกลุ่ม โดยไม่มีหน่วยกิตในเรื่องของ Safety Project โดยเอากรณีของอากาศยานที่เกิดอุบัติเหตุและมีข้อมูลในการสอบสวนของคณะกรรมการความปลอดภัยทางคมนาคมแห่งชาติ ซึ่งนักศึกษาในกลุ่มจะนำข้อมูลมาร่วมกันวิเคราะห์แล้วสรุปผลตามปัจจัยแวดล้อมของแต่ละประเทศเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุในโอกาสหน้าอีก สำหรับการสร้างนวัตกรรมด้านเครื่องบินพัฒนาศักยภาพนักศึกษาด้วยการให้สร้างเครื่องร่อนเพื่อให้เรียนรู้รายวิชาในหลักสูตรได้แก่ วิศวกรรมการบินเบื้องต้น กลศาสตร์การบิน อากาศพลศาสตร์ และหลักการบิน ซึ่งจะทำให้นักศึกษามีความรู้และทักษะในการฝึกบินและการทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมเครื่องบินต่อไป นักบินพาณิชย์จึงเป็นบุคลากรกลุ่มหนึ่งที่ใช้การเรียนรู้ การฝึกปฏิบัติ ความถนัดและสภาพจิตที่เหมาะสมในการควบคุมเครื่องบินและความรับผิดชอบต่อชีวิตของผู้โดยสารและทรัพย์สินอันมีค่า
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- หลักสูตรควรระบุรายวิชาและวัตถุประสงค์รายวิชาที่ใช้ในการการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในการส่งเสริมให้เกิดการสร้างผลงานวิจัย แล้วรายงานร้อยละนักศึกษาที่มีผลลัพธ์การเรียนรู้ดังกล่าว และรายงานผลลัพธ์การสร้างผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ เช่น ผลลัพธ์จากโครงการแบบกลุ่ม โดยไม่มีหน่วยกิตในเรื่องของ Safety Project
- (ผศ.ดร.เพียงจันทร์) ควรเขียนในรูปแบบ PDCA
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
(ผศ.ดร.เพียงจันทร์) ปรับเอกสารให้สอดคล้อง และครบถ้วน ตามที่ระบุในเล่มรายงาน กับในระบบ

[ตัวบ่งชี้ 3.3] ผลที่เกิดกับนักศึกษา

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การคงอยู่
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2564
ร้อยละ 19.18
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2565
ร้อยละ 28.21
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2566
ร้อยละ 31.25
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
การสำเร็จการศึกษา
ร้อยละอัตราสำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2564
ร้อยละ 16.44
ร้อยละอัตราสำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2565
ร้อยละ 28.21
ร้อยละอัตราสำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2566
ร้อยละ 25.00
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
(ดร.มัติกร) ควรมีแนวทางในการส่งเสริมนักศึกษาให้สำเร็จการศึกษาตามเวลาที่กำหนด
ความพึงพอใจและผลการจัดการข้อร้องเรียนของนักศึกษา
ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาเฉลี่ย ปีการศึกษา 2564 ร้อยละ 4.75
ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาเฉลี่ย ปีการศึกษา 2565 ร้อยละ 4.70
ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาเฉลี่ย ปีการศึกษา 2566 ร้อยละ 4.77
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
(ผศ.ดร.เพียงจันทร์) ควรตัดข้อความที่เป็นหมายเหตุ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรฯ ออก
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ไม่พบไฟล์หลักฐาน นบบ.3.3.03 ความพึงพอใจของนักศึกษา ในระบบ DBS
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 3 (3 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 2.67 คะแนน

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

[ตัวบ่งชี้ 4.1] การบริหารและพัฒนาอาจารย์

คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
ระบบการรับและแต่งตั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- ในปีการศึกษา 2566 สถาบันการบินมีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรลาออก 1 คน จึงได้เสนอชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีอยู่คือ พล.อ.ท.ดร.ชนนนาถ เทพลิบ ซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อกำหนดของ สป.อว.ทดแทน โดยได้มีการดำเนินการตามสายงานและสภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2566
- การรับและแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานักบินพาณิชย์ มีวิธีการและกระบวนการคัดเลือกอาจารย์ประจำหลักสูตร โดยเริ่มจากการประชุมของสถาบันการบินร่วมกันพิจารณาคุณสมบัติและหน้าที่ของอาจารย์ประจำหลักสูตร เพื่อให้สอดคล้องกับการผลิตบัณฑิตให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
(ผศ.ดร.เพียงจันทร์) ควรเขียนในรูปแบบ PDCA
ระบบการบริหารอาจารย์:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
สถาบันการบินได้วางแผนอัตราบุคลากรของอาจารย์ประจำหลักสูตร โดยการขอต่ออายุการทำงานหรือประกาศรับทดแทน เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารอาจารย์ประจำหลักสูตร เมื่อสถาบันการบินได้วางแผนอัตราบุคลากรของหลักสูตรเรียบร้อยแล้ว มีการกำหนดหน้าที่โดยอาจารย์ประจำหลักสูตรมีหน้าที่ในการบริหารหลักสูตร ดังนี้
1. จัดให้มีการประชุมเดือนละ 1 ครั้ง
2. กำกับดูแลและตรวจสอบการจัดทำและส่ง RQF 3 ให้แล้วเสร็จก่อนเปิดภาคการศึกษา
3. กำกับดูแลและตรวจสอบการจัดทำและส่ง RQF 5 ให้แล้วเสร็จหลังจากสิ้นสุดภาคการศึกษา 30 วัน
4. ติดตามและจัดทำ RQF 7 ให้แล้วเสร็จหลังจากสิ้นสุดภาคการศึกษาที่ 2 ภายใน 60 วัน
5. ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของรายวิชาตาม RQF 3 หรือร้อยละ 25 ในแต่ละปีการศึกษา โดยคณะอาจารย์และครูการบินจากโรงเรียนการบินกรุงเทพของ BAC
6. ปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอนและประเมินผลการเรียนรู้ โดยรายงานใน RQF 7 ในปีที่ผ่านมา
7. จัดให้มีการบูรณาการภาระงานได้แก่ การวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และกิจกรรมพัฒนานักศึกษากับการเรียนการสอน
8. ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่คณบดีมอบหมาย
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรควรรายงานผลประเมินการบริหารหลักสูตรตามที่กำหนด 8 ข้อ เพื่อนำผลประเมินมาปรับปรุงกระบวนการการบริหารอาจารย์
ระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ให้มีคุณภาพทั้งด้านความรู้ ความสามารถในเนื้อหาวิชาที่รับผิดชอบ สามารถก้าวทันวิทยาการสมัยใหม่ มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ การวิจัย และการพัฒนาศาสตร์ในสาขาวิชาที่รับผิดชอบ:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1.ในปีการศึกษา 2566 อาจารย์ประจำของสถาบันการบิน มีการดำเนินการทำเอกสารวิจัยเพื่อเตรียมขอตำแหน่งทางวิชาการในปีต่อไป
2.หลักสูตรมีกระบวนการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์อยู่แล้ว เมื่อใช้กระบวนการนั้น ได้ผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรในการพัฒนางานด้านใดบ้าง และเมื่อมีการปรับปรุงกระบวนการ ทำให้คุณภาพดีขึ้นหรือไม่ เช่น มีผลงานวิจัย หรือเตรียมตัวเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ เป็นต้น
3.ในยุคการสอนออนไลน์ เมื่ออาจารย์แต่ละท่านมีทักษะการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ทางหลักสูตรสามารถสรุปเป็นข้อมูลการพัฒนาความรู้ ความสามารถในเนื้อหาวิชาของอาจารย์เป็นรายท่านได้ เพื่อตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในด้าน Excellent to Education
4.การสร้างบรรยากาศทางวิชาการระหว่างอาจารย์ในหลักสูตร ระหว่างหลักสูตร และจากภายนอก รวมทั้งการส่งเสริมการทำวิจัย ด้วยการประชุมหัวข้อการทำวิจัยและการทำผลงานประจำปี รวมถึงการทำผลงานเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ การทำงานโดยใช้ข้อมูลของโรงเรียนการบินต่างๆ ของกองเวชศาสตร์การบิน กองทัพอากาศ ซึ่งได้ดำเนินการใน 2 ปีที่ผ่านมาและได้ทำบทความวิจัยลงในวารสารของโรงเรียนนายเรืออากาศแล้ว จากนั้นจะดำเนินการขอตำแหน่งทางวิชาการต่อไป

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
1.หลักสูตรควรกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ ของการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ให้มีคุณภาพทั้งด้านความรู้ ความสามารถในเนื้อหาวิชาที่รับผิดชอบ สามารถก้าวทันวิทยาการสมัยใหม่ มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ การวิจัย และการพัฒนาศาสตร์ในสาขาวิชาที่รับผิดชอบ ตามที่ระบุ 4 ข้อ และ/หรือ ด้านอื่นๆ เพื่อนำมาใช้ประเมินความสำเร็จ
2.หลักสูตรควรประเมินความสำเร็จของการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ ให้มีคุณภาพทั้งด้านความรู้ ความสามารถในเนื้อหาวิชาที่รับผิดชอบ สามารถก้าวทันวิทยาการสมัยใหม่ มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ การวิจัย และการพัฒนาศาสตร์ในสาขาวิชาที่รับผิดชอบ ตามที่ระบุ 4 ข้อ และ/หรือ ด้านอื่นๆ เพื่อนำผลประเมินความสำเร็จมาปรับปรุงกระบวนการ
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
หลักสูตรควรเพิ่มเอกสารหลักฐานแผน IDP ตามรูปแบบที่ HRD กำหนด และนำมาเชื่อมโยงในการรายงานผลการพัฒนาอาจารย์รายบุคคล

[ตัวบ่งชี้ 4.2] คุณภาพอาจารย์

4.2.1 ร้อยละของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้งหมด 5 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 2
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 40.00
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 20 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หน้า 53 ให้แก้จากร้อยละ ป.เอก จาก 60 เป็นร้อยละ 40 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
4.2.2 ร้อยละของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้งหมด 5 5.00
[2] ไม่มีตำแหน่งทางวิชาการ [อาจารย์] 2
[3] ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ 0
[4] ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ 0
[5] ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ 3
[6] ดำรงตำแหน่งทางวิชาการทั้งหมด [3] + [4] + [5] 3
[7] ร้อยละที่ได้ [6] X 100 / [1] 60.00
[8] ผลลัพธ์ที่ได้ [7] x 5 / 60 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
4.2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
จำนวนผลงานทางวิชาการตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 0 0 0
จำนวนผลงานสร้างสรรค์ตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 0 0 0
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] ผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ 0.00 0.00
[2] จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้งหมด 5
[3] ร้อยละที่ได้ [1] X 100 / [2] 0.00
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 20 0.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ผลงานของอาจารย์>>พูนลาภ เอี่ยมเจริญ, จิรศักดิ์ พรหมประยูร, พิทักษ์ คูณขุนทด. เทคโนโลยีการบินสำหรับการฝึกนักบินพาณิชย์หรือนักบินรบ. RSU JET VOL 27, No. 1, JANUARY – JUNE 2024 เนื่องจากได้รับการตอบรับบทความเมื่อวันที่ 10 มิ.ย.67 ซึ่งคาดว่าได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในช่วงเดือน มิ.ย.67 ซึ่งไม่อยู่ในรอบปีการศึกษา 2566 (1 มิ.ย.66-31 พ.ค.67) แต่อยู่ในรอบปีการศึกษา 2567 ดังนั้นขอให้นำไปใช้รายงานในปีการศึกษา 2567 
รายการหลักฐาน ตัวบ่งชี้ 4.2 คุณภาพอาจารย์
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ตัวบ่งชี้ 4.2 คุณภาพอาจารย์ คะแนนที่ได้ 3.33 คะแนน

[ตัวบ่งชี้ 4.3] ผลที่เกิดกับอาจารย์

หมายเหตุ :
(1) ยกเว้นกรณี การเกษียณอายุงาน และการเสียชีวิต
(2) หากรายชื่อมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากปรับเข้าเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร พ.ศ. 2558 ให้ถือว่าอัตราการคงอยู่ครบในปีการศึกษาแรกที่ปรับเข้าเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร 2558
(3) หากรายชื่อที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบท่านใหม่ต้องมีประสบการณ์ร่วมบริหารหลักสูตรมาไม่น้อยกว่า 9 เดือน (มีหลักฐานรายงานการประชุมภาควิชาหรือการประชุมหลักสูตร)
(4) รายงานถึงสิ้นสุดปีการศึกษา 2566 และจะได้รับการประเมินแนวโน้มผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นต้องประเมิน จาก ≥ 3 ชุดข้อมูล
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การคงอยู่ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2564
ร้อยละ 100.00
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2565
ร้อยละ 80.00
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2566
ร้อยละ 100.00
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ความพึงพอใจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีต่อการบริหารหลักสูตร
ความพึงพอใจ ในปีการศึกษา 2564 ร้อยละ 4.72
ความพึงพอใจ ในปีการศึกษา 2565 ร้อยละ 4.73
ความพึงพอใจ ในปีการศึกษา 2566 ร้อยละ 0.00
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ไม่พบหลักฐานการประเมินความพึงพอใจปีการศึกษา 2566 และหลักสูตรก็ไม่ได้รายงานในหน้า 61
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ไม่พบการรายงานผลประเมินความพึงพอใจของอาจารย์
คะแนนที่ได้ 0
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

[ตัวบ่งชี้ 5.1] สาระของรายวิชาในหลักสูตร

36
2
5.56
คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การออกแบบหลักสูตร และสาระรายวิชาในหลักสูตรที่ปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน มีหลักสูตรหรือรายวิชาที่เป็นความร่วมมือกับสถานประกอบการ
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรดำเนินการตามกลไกการเปิดและการปรับปรุงหลักสูตรตาม พรบ. การศึกษาและข้อกำหนดของ สปอว. โดยหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานักบินพาณิชย์ ดำเนินการอยู่บนพื้นฐานของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิตาม RQF.2 ในการรับปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต และการสอบรับประกาศนียบัตรนักบินพาณิชย์จากหน่วยงานที่รับผิดชอบของรัฐ คือ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) เป็นผู้รับผิดชอบในข้อกำหนดของนักบินพาณิชย์ตามมาตรฐานของ ICAO (International Civil Aviation Organization), FAA (Federal Aviation Association) หรือ EASA (European Aviation Safety Association) ซึ่งบัณฑิตจะต้องมีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ เป็นหลักในชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2 เพื่อเป็นพื้นฐานในการไปเป็นนักบินฝึกหัดในชั้นปีที่ 3 และ ชั้นปีที่ 4 โดยเรียนวิชาทางด้านการบินและการฝึกบินที่โรงเรียนการบินตามคู่สัญญาทั้ง 4 แห่ง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เมื่อจบแล้วจะทำการสอบขอรับใบประกาศนียบัตรนักบินพาณิชย์เพื่อใช้สมัครเข้าทำงานกับสายการบิน
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรควรรายงานการปรับปรุงสาระรายวิชาในหลักสูตร ที่ปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน มีหลักสูตรหรือรายวิชาที่เป็นความร่วมมือกับสถานประกอบการที่เกิดขึ้นในปีการศึกษา 2566 ทำการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์รายวิชาในหลักสูตร ที่ปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน หรือรายวิชาที่เป็นความร่วมมือกับสถานประกอบการ เพื่อนำผลประเมินมาปรับปรุงกระบวนการ
มีการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิที่ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน (Learner Person, Innovative Co-Creator, Active Citizen) ตามวิสัยทัศน์และจุดเน้นของหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรมีการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิที่ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน (Learner Person, Innovative Co-Creator, Active Citizen) ตามวิสัยทัศน์และจุดเน้นของหลักสูตร ด้วยตาราง mapping
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรควรแสดงรายวิชาที่อยู่ในกลุ่ม TQF 5 และ DOE 3 ที่ได้ Mapping เอาไว้ นำผลประเมินจากผู้ใช้บัณฑิต และผลประเมิน Course Learning Outcome จาก RQF 5 มาประกอบการพิจารณาปรับปรุงการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิที่ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน (Learner Person, Innovative Co-Creator, Active Citizen) ตามวิสัยทัศน์และจุดเน้นของหลักสูตร
การปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าในศาสตร์สาขานั้นๆ และเชื่อมโยงกับการนำไปใช้ได้จริง
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 สถาบันการบินมีการปรับเนื้อหาสาระของรายวิชา และการออกข้อสอบให้เป็นไปตามแนวทางของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ซึ่งอ้างอิงตามองค์การความปลอดภัยด้านการบินแห่งสหภาพยุโรป (EASA) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานักบินพาณิชย์ มีระบบและกลไกในการปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าในศาสตร์ ดังนี้
1. ระบุให้มีการปรับปรุงหลักสูตรทุก 5 ปี ซึ่งได้ปรับปรุงหลักสูตรเพื่อใช้ในปีการศึกษา 2563 โดยมีการปรับปรุงด้วยการทำ SWOT analysis ปรับปรุงหลักสูตรเดิมจาก> เทคโนโลยีบัณฑิตให้เป็น> วิทยาศาสตรบัณฑิต เพื่อให้ความก้าวหน้าของวิชาชีพที่นักบินพาณิชย์ในประเทศไทย จะต้องจบปริญญาตรีและจะต้องมีความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ภาษาอังกฤษ เพื่อการใช้งาน และภาษาอังกฤษสำหรับนักบินพาณิชย์ที่ดี การเข้าเรียนหลักสูตรนักบินพาณิชย์ทั่วโลก ไม่ได้กำหนดสาขาวิชาของผู้เข้าสมัครเรียน ในประเทศไทยมหาวิทยาลัยที่เปิดหลักสูตรนักบินมีอยู่ 2 กลุ่มคือ ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์และปริญญาวิทยาศาสตร์ สถาบันการบินพิจารณาว่าหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิตมีความเหมาะสมกว่า เพราะการบินนั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ จึงต้องการความหลากหลายของบุคคลที่จะได้มีโอกาสเข้าฝึกบิน
2. สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ได้เปลี่ยนสาระการสอบเพื่อรับใบประกาศนียบัตรนักบินพาณิชย์ตามแบบของ EASA (European Aviation Safety Agency) ของสหภาพยุโรป จึงมีการปรับสาระในรายวิชาและการสอบเพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้และความเข้าใจเมื่อต้องไปสอบเพื่อรับใบประกาศนียบัตร ส่วนการปรับปรุงหลักสูตรสาขาวิชานักบินพาณิชย์จะมีการปรับปรุงในปีการศึกษา 2567 เพื่อใช้งานในปีการศึกษา 2568 ซึ่งหลักสูตรจะได้ดำเนินการกำหนดต่อไป

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
1.หลักสูตรมีการปรับปรุงเนื้อหารายวิชาให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าในศาสตร์สาขานั้นๆ และเชื่อมโยงกับการนำไปใช้ได้จริง จำนวน 2 รายวิชา จาก 36 รายวิชา ยังไม่บรรลุเป้าหมายร้อยละ 80 ตาม key result ของมหาวิทยาลัย
2.หลักสูตรควรประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาในรายวิชาที่มีการปรับเนื้อหาให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าในศาสตร์สาขานั้นๆ และเชื่อมโยงกับการนำไปใช้ได้จริงเพื่อนำผลประเมินมาปรับปรุงกระบวนการต่อไป
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 5.2] การวางระบบผู้สอน และกระบวนการจัดการเรียนการสอน

คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดผู้สอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 ซึ่งอยู่ในสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID 19 สถาบันการบินทำการสอนตามข้อกำหนดของหน่วยงานภาครัฐ และตามประกาศของมหาวิทยาลัยรังสิต โดยทำการสอนออนไลน์ทั้งที่ผ่าน Cyber U. ของมหาวิทยาลัย หรือสอนออนไลน์ของอาจารย์เอง การทำการสอบมีทั้ง Online และ Onsite เพราะมีจำนวนนักศึกษาไม่มาก สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดได้อย่างครบถ้วน การสอนในภาคปฏิบัติกับเครื่องฝึกจำลองการบินให้นักศึกษาเข้าฝึกทีละ 1 คน สำหรับการปฏิบัติที่โรงเรียนการบินทั้งในประเทศและต่างประเทศ ปฏิบัติตามข้อกำหนดของแต่ละประเทศ ซึ่งทำให้การฝึกบินล่าช้ากว่าที่กำหนด นักศึกษาต้องเลื่อนการจบการศึกษาออกไป รวมทั้งมีปัญหาปัจจัยแวดล้อมอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น การติด COVID 19 ของนักศึกษาบางคนทำให้การเรียนได้ไม่เต็มที่และไม่เป็นไปตามเวลาที่กำหนด 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- หลักสูตรควรรายงาน > การวางระบบผู้สอนตามความเชี่ยวชาญในทุกด้าน ทั้งประสบการณ์สอน การวิจัย บริการวิชาการ การพัฒนาความรู้ตามศาสตร์สาขา และตามศาสตร์การสอน ในทุกรายวิชา
- (ดร.มัติกร) ข้อมูลที่รายงานในตัวเล่ม ยังขาดความเป็นปัจจุบัน และยังขาดการแสดงรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับระบบและกลไกลที่ชัดเจน
การกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียนรู้ (มคอ.3 และ มคอ.4) และการจัดการเรียนการสอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ก่อนเปิดภาคเรียนในปีการศึกษา 2566 ของทุกภาคการศึกษาสถาบันการบินจะส่ง RQF 3 ทุกรายวิชาตามข้อกำหนดในการกำกับให้กับ สมว. ก่อนเปิดภาคการศึกษาครบถ้วนทุกรายวิชา การจัดทำ RQF 3 อาจารย์ผู้สอนได้นำเอาผลการประเมินใน RQF 5 ของรายวิชาในปีที่ผ่านมาพิจารณาในการจัดเรียนในปีการศึกษา 2565 โดยร่วมกันพิจารณาความสอดคล้องตรงตามคำอธิบายรายวิชาที่มีอยู่ใน RQF 2 รวมถึงการครอบคลุมของแผนที่ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิของ TQF และ DOE ตามรายวิชาในหลักสูตร เมื่อสอนจบภาคการศึกษาแล้วจะให้นักศึกษาประเมินการสอนของของอาจารย์ในแต่ละรายวิชาซึ่งสถาบันการบินจะเก็บรวบรวมทั้งของสถาบันการบินและโรงเรียนการบิน แต่ในการบริหารบุคลากรของโรงเรียนการบินทั้งในประเทศและต่างประเทศทางโรงเรียนการบินเป็นผู้ดำเนินการเอง
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- หลักสูตรควรรายงาน> ผลการตรวจสอบการพิจารณาความสอดคล้องตรงตามคำอธิบายรายวิชาที่มีอยู่ใน RQF.2 รวมถึงการครอบคลุมของแผนที่ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิของ TQF และ DOE ตามรายวิชาในหลักสูตร เมื่อสอนจบภาคการศึกษาแล้วจะให้นักศึกษาประเมินการสอนของของอาจารย์ ในแต่ละรายวิชา ซึ่งสถาบันการบินจะเก็บรวบรวมทั้งของสถาบันการบินและโรงเรียนการบิน แต่ในการบริหารบุคลากรของโรงเรียนการบินทั้งในประเทศและต่างประเทศทางโรงเรียนการบินเป็นผู้ดำเนินการเอง  เพื่อนำผลประเมินมาปรับปรุงการจัดทำแผนการเรียนรู้ (RQF.3 และ RQF.4) และการจัดการเรียนการสอน
- (ดร.มัติกร) ข้อมูลที่รายงานในตัวเล่ม ยังขาดความเป็นปัจจุบัน และยังขาดการแสดงรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับระบบและกลไกลที่ชัดเจน
การจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีที่มีการบูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
การจัดการเรียนการสอน ได้มีการบูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคม การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ได้แก่
- นักศึกษาสถาบันการบิน ชั้นปี 1 เรียนรายวิชา CPD 120 วิศวกรรมการบินเบื้องต้น สอนโดย ศ.พล.อ.ท.พูนลาภ เอี่ยมเจริญ ได้นำความรู้จากการเรียนในรายวิชา CPD 120 หัวข้อ เครื่องบินบินได้อย่างไร
- นักศึกษาสถาบันการบิน ชั้นปี 2 เรียนรายวิชา CPD 200 กลศาสตร์การบิน สอนโดย ศ.พล.อ.ท.พูนลาภ  เอี่ยมเจริญ ได้นำความรู้จากการเรียนในรายวิชา CPD 200 หัวข้อ การแผนแบบอากาศยานให้ตรงความต้องการ การเรียนรายวิชา CPD 240 อากาศพลศาสตร์ สอนโดย พล.อ.ท.ดร.ศุภกฤต  อริยะปรีชา ได้นำความรู้จากการเรียนในรายวิชา CPD 240 หัวข้อ คุณสมบัติทางอากาศพลศาสตร์กับการบิน และเรียนรายวิชาCPD 222 หลักการบิน สอนโดย พล.อ.ท.ดร.ศุภกฤต  อริยะปรีชา ได้นำความรู้จากการเรียนในรายวิชา CPD 222 หัวข้อ ขีดจำกัดต่างๆ ของอากาศยานแต่ละแบบของการบินในแต่ละท่าทาง รวมถึงปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการบิน

การทำวิจัย เรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่ออาการไม่พึงประสงค์ขณะทำการบินของนักศึกษาการบินในประเทศไทย ถึงแม้ว่าการบินตามหลักสูตรนักบินพาณิชย์จะมีท่าทางบินที่ไม่รุนแรงหรือการเปลี่ยนท่าทางบินมากนัก แต่นักศึกษาบางคนซึ่งอาจจะมีเป็นจำนวนน้อยอาจมีอาการเมาเครื่อง คลื่นไส้ หรือความเครียดได้ ซึ่งทางแพทย์เวชศาสตร์การบินอาจไม่สามารถตรวจได้ในความละเอียดอ่อนของอารมณ์  โดยกำหนดให้มีการบูรณาการกับรายวิชา CPD 161 เครื่องฝึกบินจำลอง ซึ่งมีทั้งภาคทฤษฎี และการสาธิตการปฏิบัติ จึงให้มีการเรียนรู้ทั้งจิตวิทยาการบิน การเรียนเกี่ยวกับเครื่องวัดประกอบการบิน การสาธิตการฝึกบิน เพื่อให้มีบุคลิกภาพของนักบินพาณิชย์ การคิด การกระทำ และการแสดงออก ซึ่งช่วยในการพัฒนานักศึกษา
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- หลักสูตรควรรายงาน> ร้อยละนักศึกษาที่มีผลลัพธ์การเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การบูรณาการรายวิชากับพันธกิจต่าง ๆ เพื่อนำผลประเมินมาปรับปรุงกระบวนการ
- (ดร.มัติกร) ข้อมูลที่รายงานในตัวเล่ม ยังขาดความเป็นปัจจุบัน และยังขาดการแสดงรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับระบบและกลไกลที่ชัดเจน
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 5.3] การประเมินผู้เรียน

คะแนนที่ได้ 2
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ที่ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน (Learner Person, Innovative Co-Creator, Active Citizen) ตามวิสัยทัศน์และจุดเน้นของหลักสูตร ตลอดจนมาตรฐานวิชาชีพ (ถ้ามี)
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ระบบและกลไกการประเมินผู้เรียน> ใช้วิธีการสอบ การประเมินผลลัพธ์> ใช้การตรวจสอบด้วยเครื่องฝึกบินจำลองทั้งในภาคทฤษฎีและการปฏิบัติ การทำเครื่องร่อนและการประเมินเครื่องร่อน การเรียนรู้ในช่วง COVID 19 ทั้งในปี 2565 และปี 2566 มีความคล้ายคลึงกันและให้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกัน หากหมด COVID 19 การศึกษาในอาชีพนักบินพาณิชย์การเรียนและการปฏิบัติ Onsite จะให้ผลดีมากกว่า ผลลัพธ์การเรียนรู้ 3 ด้าน ของสาขาวิชานักบินพาณิชย์ ประกอบด้วย ผู้เรียนรู้ ผู้ร่วมสร้างสรรค์ และพลเมืองที่เข็มแข็ง นักบินพาณิชย์จะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิตในวิชาชีพ มีการตรวจสอบและประเมินเป็นประจำทุกปี พร้อมเผชิญความเปลี่ยนแปลง และความเป็นผู้นำได้สร้างสัมมาอาชีพที่ดีต่อตนเอง ครอบครัวและสังคม
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรควรรายงาน> ผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชาที่ ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน (Learner Person, Innovative Co-Creator, Active Citizen) ตามวิสัยทัศน์และจุดเน้นของหลักสูตร เป็นไปตามแบบฟอร์ม RQF 5 ใหม่ ว่ามีร้อยละนักศึกษาที่มีสัมฤทธิผลการเรียนรู้รายวิชาทีดีขึ้นอย่างไรเทียบกับปีการศึกษาที่แล้ว
การตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรมีระบบและกลไก การตรวจสอบประเมินการจัดการเรียนการสอนและประเมินหลักสูตร ดังนี้
1. คณะกรรมการหลักสูตร จัดให้มีการประชุมพิจารณาผลการเรียนหลังจากสอบปลายภาคเสร็จ เพื่อพิจารณาผลการเรียนการสอนและการออกแบบหลักสูตร ซึ่งจะพิจารณาปรับปรุงในรายวิชาที่ผลการเรียนรู้ที่มีการเบี่ยงเบนผิดปกติ
2. กำหนดให้อาจารย์ผู้สอน ส่งผลการเรียนหลังจากกรรมการแก้ไขผลการเรียน เพื่อคณะกรรมการประจำหลักสูตรจะได้พิจารณาในรายวิชา หากต้องมีการปรับแก้ไข จะได้ดำเนินการแล้วอาจารย์ประจำรายวิชาจะได้ส่งผลการเรียนต่อไป
3. การเรียนและฝึกบินที่โรงเรียนการบิน จะมีสภาหรือคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาในเรื่องการปฏิบัติตน และความรับผิดชอบที่ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดได้ หรือไม่สามารถทำการบินได้ในแต่ละวัฏภาค (Phase) ตามเกณฑ์ที่กำหนดของโรงเรียนการบิน จะพิจารณาให้พ้นจากการเป็นนักศึกษา (นักบินฝึกหัด) ของโรงเรียนการบิน
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรควรรายงาน > ผลการตรวจสอบตามระบบกลไกการตรวจสอบประเมินการจัดการเรียนการสอน และประเมินหลักสูตร 3 ข้อ รวมทั้งผลการตรวจสอบจากกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ เชิงกระบวนการหลักสูตร ตามแบบฟอร์มของ สมว. เพื่อนำผลประเมินดังกล่าวมารายงานแนวทางการปรับปรุงเครื่องมือการตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
การกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอน และประเมินหลักสูตร (มคอ.5 มคอ.6 และ มคอ.7)
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 สถาบันการบินได้ดำเนินการกำกับระบบและกลไก การประเมินการจัดการเรียนการสอนและการประเมินหลักสูตร ซึ่งได้มีการปรับปรุงหลักสูตรและเริ่มใช้ในปีการศึกษา 2563
หลักสูตรมีการประเมินการจัดการเรียนการสอนและประเมินหลักสูตร ดังนี้

1. เพื่อปรับปรุงรายวิชา (Course Improvement) การพิจารณาอุปกรณ์การเรียนการสอนและวิธีการสอนที่ดี
2. เพื่อตัดสอนเกี่ยวกับตัวบุคคล (Decision about Individual) แยกแยะความต้องการของผู้เรียน เพื่อนำไปสู่การวางแผนของผู้สอน เพื่อตกลงใจเกี่ยวกับระเบียบการบริหาร (Administrative Regulation) การพิจารณาถึงระเบียบการบริหารของสถานศึกษา ประสิทธิภาพในการสอนของอาจารย์
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรควรรายงาน> สรุปการกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอนรายวิชา (RQF.5 RQF.6 ) ว่ามีผลลัพธ์การเรียนรู้เป็นอย่างไร มีสรุปข้อเสนอแนะของวิชาที่จะนำไปปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนอย่างไร และรายงานผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLO) เพื่อเป็นแนวทางการปรับปรุงกระบวนการต่อไป และเตรียมพร้อมรับ Post Audit ในอนาคต
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ไม่พบหลักฐานใน DBS 
- นบบ.5.2.02 การจัดทำ มคอ. 3 ทั้งในส่วนที่สถาบันการบินรับผิดชอบ และโรงเรียนการบินรับผิดชอบ 
- นบบ.5.3.03 การนำผล มคอ.5 และ มคอ.7 มาปรับปรุงเพื่อพัฒนาให้นักศึกษามีความพร้อม และประสบความสำเร็จ
- นบบ.5.4.03 การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา 

[ตัวบ่งชี้ 5.4] ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

หมายเหตุ: KPI ให้สอดคล้องและเป็นไปตามที่ระบุใน มคอ.2
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
1. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรอย่างน้อยร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผน ติดตาม และทบทวนการดำเนินงานหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ขอให้ระบุชื่อผู้เข้าร่วมประชุมในรายงานการประชุมทุกฉบับ
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
2. มีรายละเอียดของหลักสูตรตามแบบ มคอ.2 ที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ หรือมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา [ถ้ามี]
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
3. มีรายละเอียดของรายวิชา และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม [ถ้ามี] ตามแบบ มคอ.3 และ มคอ.4 อย่างน้อยก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาให้ครบทุกรายวิชา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ไม่พบไฟล์ นบบ.5.4.03  มคอ.3 และ มคอ.4 ใน DBS
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ไม่พบไฟล์ นบบ.5.4.03  มคอ.3 และ มคอ.4 ใน DBS
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
4. จัดทำรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา และรายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม [ถ้ามี] ตามแบบ มคอ.5 และ มคอ.6 ภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่เปิดสอนให้ครบทุกรายวิชา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ไม่พบไฟล์ นบบ.5.4.04 มคอ.5 และ มคอ.6 ใน DBS
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ไม่พบไฟล์ นบบ.5.4.04 มคอ.5 และ มคอ.6 ใน DBS
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
5. จัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตรตามแบบ มคอ.7 ภายใน 60 วัน หลังสิ้นสุดปีการศึกษา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
6. มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ที่กำหนดใน มคอ.3 และ มคอ.4 [ถ้ามี] อย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ไม่พบ นบบ.5.4.03  การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา ใน DBS
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ไม่พบ นบบ.5.4.03 การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา ใน DBS
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
7. มีการพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน หรือการประเมินผลการเรียนรู้จากผลการประเมินการดำเนินงานที่รายงานใน มคอ.7 ปีที่แล้ว
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
8. อาจารย์ใหม่ [ถ้ามี] ทุกคน ได้รับการปฐมนิเทศ หรือคำแนะนำด้านการจัดการเรียนการสอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
เปลี่ยนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 1 คน คือ พล.อ.ท.ดร.ชนนนาถ เทพลิบ
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
นบบ.5.4.01 การประชุมสถาบันการบิน
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
9. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกคนได้รับการพัฒนาทางวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกคน ได้มีการพัฒนาคุณภาพอาจารย์ทางวิชาการ/ วิชาชีพ ดังต่อไปนี้
1. พล.อ.ท. ดร.ศุภกฤต อริยะปรีชา> หัวข้อการพัฒนา> การพัฒนาปรับปรุงหลักสูตร> 9 มิถุนายน 2566
2. พล.อ.ท. ดร.ศุภกฤต อริยะปรีชา> หัวข้อการพัฒนา> Transformative Teaching Learning> 11 ตุลาคม 2566
3. พล.อ.ท. ดร.ศุภกฤต อริยะปรีชา> หัวข้อการพัฒนา> การเขียน Learning Outcome และการเขียนคำอธิบายรายวิชา> 20 ตุลาคม 2566
4. พล.อ.ท. ดร.ศุภกฤต อริยะปรีชา> หัวข้อการพัฒนา> ที่มาของการจัดการเรียนรู้ของหลักสูตร> 1 พฤษภาคม 2567
5. พล.อ.ท.ศ.พูนลาภ  เอี่ยมเจริญ> หัวข้อการพัฒนา> แนวปฏิบัติที่ดี Good Practice> 17 สิงหาคม 2566
6. พล.อ.ท.ศ.พูนลาภ  เอี่ยมเจริญ> หัวข้อการพัฒนา> Transformative Teaching Learning> 11 ตุลาคม 2566
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
10. จำนวนบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอน [ถ้ามี] ได้รับการพัฒนาวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ต่อปี
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานักบินพาณิชย์ มีบุคลากรสายสนับสนุนการเรียนการสอน จำนวน 4 คน โดยได้รับการพัฒนาทางวิชาการ/ วิชาชีพ จำนวน 6 ครั้งในปีการศึกษา 2566 คิดเป็นร้อยละ 50
โดยมีรายชื่อดังนี้
1) นางปราณี ศรีอิ่ม
2) พ.อ.อ. อำพน จันทพัฒน์
3) นายศุภชัย แพงพงษ์มา
4) นางสาวอุไรวรรณ แสงแก้ว
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ไม่พบหลักฐาน> นบบ.5.4.10 รายชื่อบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาวิชาการและ/หรือวิชาชีพ
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
11. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้าย/บัณฑิตใหม่ที่มีต่อคุณภาพหลักสูตร เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.50 จากคะแนนเต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานักบินพาณิชย์ จัดทำแบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย/ บัณฑิตใหม่ โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.07
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
นบบ.5.4.11 แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษา แต่ใน DBS เป็นประเมินการสอน
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
12. ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตใหม่ เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.50 จากคะแนนเต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานักบินพาณิชย์ จัดทำแบบสอบถาม เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตใหม่ โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.83
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
13. ร้อยละ 80 ของรายวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอน สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนด
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
14. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อคุณภาพการสอน รวมทุกรายวิชา เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานักบินพาณิชย์ มีการจัดการเรียนการสอน จำนวน 36 รายวิชา โดยมีการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อคุณภาพการสอน จำนวน 36 รายวิชา ซึ่งรวมทุกรายวิชามีคะแนนเฉลี่ย 4.86
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
โปรดตรวจสอบคะแนนเฉลี่ยในเอกสารไฟล์หลักฐานได้ 4.21
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
โปรดตรวจสอบคะแนนเฉลี่ย
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
15. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อทรัพยากรสนับสนุนการเรียนการสอน เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.51 จากคะแนน เต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานักบินพาณิชย์ จัดทำแบบสอบถาม เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักศึกษา ต่อทรัพยากรสนับสนุนการเรียนการสอน (ควรครอบคลุมนักศึกษาทุกชั้นปีการศึกษา) โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.75
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ไม่พบหลักฐาน
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
หลักฐาน> นบบ.5.4.15 ความพึงพอใจของนักศึกษา ทรัพยากรสนับสนุนการเรียนการ เป็นประเมินการสอน
ผลการประเมินจากผลการดำเนินงาน ตัวบ่งชี้ 5.4
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] รวมจำนวนตัวบ่งชี้ในแต่ละปี 15 0.00
[2] จำนวนตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการผ่านเฉพาะตัวบ่งชี้ที่ 1-5 ไม่ผ่าน
[3] ร้อยละของตัวบ่งชี้ที่ 1-5 ที่ผ่าน [ถ้าผ่านทั้ง 5 ข้อจะเป็นร้อยละ 100] 0
[4] จำนวนตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการผ่านรวม 10
[5] ร้อยละของตัวบ่งชี้ทั้งหมดที่ผ่าน 66.67
*หมายเหตุการกำหนดเงื่อนไขเกณฑ์การประเมิน
ถ้า [3] น้อยกว่าร้อยละ 100 ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 0.00
ถ้า [5] มีการดำเนินงานน้อยกว่า ร้อยละ 80 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 0.00
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 80 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 3.50
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 80.01 - 89.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 4.00
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 90.00 -94.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 4.50
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 95.00 -99.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 4.75
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 100 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 5.00
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 5 (4 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 2.00 คะแนน

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

[ตัวบ่งชี้ 6.1] สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

คะแนนที่ได้ 2
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
ระบบการดำเนินงานของภาควิชา/คณะ/สถาบัน โดยมีส่วนร่วมของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เพื่อให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- อุปกรณ์สนับสนุนการเรียนรู้ ดำเนินการตามผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษา และอาจารย์ผู้สอน นำมาพิจารณาในที่ประชุมสถาบันการบิน และดำเนินการจัดหาให้เพียงพอ โดยเฉพาะเครื่องฝึกบินจำลอง (Flight Simulator) ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยี ส่วนอุปกรณ์การเรียนการสอน ห้องสมุด หนังสือ ตำรา สิ่งพิมพ์ วารสาร ฐานข้อมูลเพื่อการสืบค้น แหล่งเรียนรู้ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ จะเป็นการดำเนินการของมหาวิทยาลัย โดยสำนักหอสมุดให้คณะมีส่วนร่วมในการเสนอความต้องการ
- ในปีการศึกษา 2566 สถาบันการบินมี Flight Simulator ครบ 9 เครื่อง มีการบำรุงรักษาและซ่อมแซมให้พร้อมใช้งานได้ทั้ง 9 เครื่อง เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งมีเพียงพอต่อการใช้งานของนักศึกษาสถาบันการบิน โดยใช้ในการเรียนประกอบในรายวิชา การเข้าฝึกปฏิบัติตามตารางที่ได้จองไว้ การใช้นอกตาราง ซึ่งสามารถตอบสนองต่อการเรียนและการฝึกสำหรับนักศึกษาได้ครบถ้วนทุกคน
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
(ดร.มัติกร) มีการดำเนินงานที่ให้อาจารย์และนักศึกษามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน> แต่หากทางหลักสูตรมีการนำเสนอรายละเอียดในส่วนของระบบการดำเนินงานเกี่ยวกับกระบวนการหรือวิธีการในด้านบริหารจัดการเรื่องสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ชัดเจนจะดีมากยิ่งขึ้น
จำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
จำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เพียงพอ และเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน นอกจากสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่ทางมหาวิทยาลัยดำเนินการให้กับนักศึกษาเป็นส่วนรวม อาทิ ห้องสมุด หนังสือ ตำรา ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ WIFI ฯลฯ สถาบันการบินยังได้จัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้เพิ่มเติม ในวิชาหลักด้านการบินทั้ง 6 วิชา เช่นกัน อาทิ
- เครื่องฝึกบินจำลอง จำนวน 9 เครื่อง ที่ใช้เสริมความรู้และความเข้าใจในวิชา CPD 120 วิศวกรรมการบินเบื้องต้น CPD 240 อากาศพลศาสตร์ CPD 200 กลศาสตร์การบิน CPD 222 หลักการบิน
- วิทยุสื่อสารที่ใช้กับ วิชา CPD 151 CPD 152 
- จัดทำห้อง STUDY ROOM สำหรับให้นักศึกษาฝึกฝนตนเอง
- จัดทำห้องพักผ่อน และห้องกิจกรรมของนักศึกษา มีการจัดหาตำราอ้างอิงเพิ่มเติมไว้ที่คณะที่เกี่ยวข้องทางด้านการบิน จำนวน 210 เล่ม
- จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ที่ห้อง STUDY ROOM จำนวน 10 เครื่อง สามารถเชื่อมต่อ INTERNET ความเร็วสูงได้

(ดร.มัติกร) มีจำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เพียงพอต่อความต้องการของผู้เรียน ข้อสังเกต: ควรมีการปรับรายละเอียดของข้อมูลที่นำเสนอให้มีความเป็นปัจจุบัน 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
กระบวนการปรับปรุงตามผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
กระบวนการปรับปรุง ตามผลการประเมินความพึงพอใจ ของนักศึกษาและอาจารย์ ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 
สถาบันการบินได้มีการปรับปรุงและพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกมาเป็นประจำ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2550 (เริ่มเปิดการศึกษาครั้งแรก ปี 2549) โดยจัดเป็นโครงการ อาทิเช่น
- ปี 2556 มีโครงการจัดทำ 5 ส. โครงการจัดทำห้องฝึกอบรมด้วยตนเอง โครงการจัดหาเครื่องบินเล็ก โครงการจัดหาวิทยุสื่อสาร โครงการจัดหาเครื่องฝึกบินจำลอง 
- ปี 2557 มีโครงการจัดหาเครื่องบินเล็ก และโครงการจัดหาเครื่องฝึกบินจำลอง
- ปี 2558 มีโครงการจัดทำ 5 ส. โครงการจัดทำจอฉายโปรเจคเตอร์ โครงการจัดซื้อเครื่อง Flight Simulator ทดแทน เป็นต้น
- ปี 2559 จัดหา Flight Simulator 2 เครื่อง และคอมพิวเตอร์ใหม่ 10 เครื่อง การดำเนินการดังกล่าว จะต้องผ่านการประเมิน และพิจารณาตกลงใจของคณะกรรมการสถาบันการบินเป็นไปตามระบบ PDCA ของมหาวิทยาลัย และจัดให้มีการประเมินผลการใช้สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ด้วย
โดยในปีการศึกษา 2564 ผลการประเมินจากนักศึกษา ได้คะแนน 4.50 อยู่ระดับพึงพอใจมากที่สุด และผลการประเมินจากอาจารย์ ได้คะแนน 4.71 อยู่ระดับพึงพอใจมากที่สุด และปีการศึกษา 2566 ผลการประเมินจากนักศึกษา ได้คะแนน 4.75 อยู่ระดับพึงพอใจมากที่สุด
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- หลักสูตรควรรายงานผลความพึงพอใจ แยกทั้งอาจารย์ และนักศึกษา และการนำผลประเมินความพึงพอใจต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้มาปรับปรุงสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล
- (ดร.มัติกร) ข้อสังเกต: การนำเสนอข้อมูลขาดความเป็นปัจจุบันที่สอดคล้องกับปีการประเมิน ซึ่งเป็นปีการศึกษา 2566
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ไม่พบหลักฐาน> นบบ.5.4.15 ความพึงพอใจของนักศึกษาทรัพยากรสนับสนุนการเรียนการสอน ในระบบ DBS เป็นการประเมินการเรียนการสอน
 
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 6 (1 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 2.00 คะแนน

รายงานผลการวิเคราะห์จุดเด่น/จุดแข็ง แนวทางเสริม จุดที่ควรพัฒนา และแนวทางปรับปรุง

จุดเด่นและแนวทางเสริม

  1. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานักบินพาณิชย์ เป็นหลักสูตรที่ออกแบบให้มีการเรียนที่มหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีความพร้อมตามมาตรฐานที่กำหนดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเป็นนักบินฝึกหัดที่โรงเรียนการบิน ตามคู่สัญญาทั้งในประเทศและต่างประเทศ เมื่อสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรในระยะเวลา 4 ปี โดยได้รับปริญญาตรีและสอบรับประกาศนียบัตรนักบินพาณิชย์ จากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย สำหรับผู้ไปเรียนและฝึกบินที่ต่างประเทศ ก็สามารถสอบรับประกาศนียบัตรนักบินพาณิชย์จากประเทศนั้นๆ หากต้องการมาทำงานการบินในประเทศไทยก็ต้องมาเปลี่ยนประกาศนียบัตร (Convert License) กับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
  2. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญสูง หลักสูตรหรือคณะวิชาควรส่งเสริมการทำวิจัย และการตีพิมพ์ผลงานวิชาการเพิ่มมากขึ้น

จุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง

  1. หลักสูตรมีการเรียนการสอนปีสามปีสี่ในต่างประเทศ จึงควรเพิ่มทักษะทางด้านภาษาต่างประเทศโดยเตรียมความพร้อมของนักศึกษาที่ต้องใช้ตำราและข้อสอบเป็นภาษาอังกฤษเมื่อศึกษาในชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4
  2. ทั้งกิจกรรมการเตรียมความพร้อมนักศึกษา และกิจกรรมพัฒนาศึกยภาพนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 ควร mapping กิจกรรมเทียบกับทักษะให้ชัดเจนแล้วประเมินร้อยละนักศึกษาที่ได้รับการพัฒนาให้เกิดทักษะนั้น ๆ เพื่อนำผลประเมินมาประกอบการพิจารณาปรับปรุงกระบวนการ
  3. อาจารย์ประจำหลักสูตรมีคุณวุฒิสูง ควรมีการพัฒนาผลงานวิชาการโดยสม่ำเสมอ และควรมีแผนในการเตรียมบุคลากรที่เชี่ยวชาญมาทดแทนอาจารย์ประจำหลักสูตรในอนาคต
  4. หลักสูตรควรตรวจสอบการรายงานผลการเรียนรู้ตาม Template RQF.5 ใหม่ที่เป็น Outcome base education ในการรายงานค่าร้อยละสัมฤทธิผลการเรียนรู้ของนักศึกษา เพื่อนำผลประเมินไปปรับปรุงแผนการจัดการเรียนการสอน RQF.3 และหลักสูตรควรรายงานการทวนสอบผลสัมฤทธิ์กระบวนการจัดการเรียนการสอนร้อยละ 25 ของรายวิชาตลอดปีการศึกษาตามแบบฟอร์มทวนสอบฯ ของสำนักงานมาตรฐานวิชาการเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาปรับปรุง
  5. (ผศ.ดร.เพียงจันทร์) ควรส่งเสริมและผลักดันให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่ยังไม่มีตำแหน่งทางวิชาการ เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ

สรุปผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลดำเนินการ
กรรมการ
1.1 การบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่กำหนดโดยสกอ. ผ่าน
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ.2561 4.84
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี 3.75
3.1 การรับนักศึกษา 3.00
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา 2.00
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา 3.00
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์ 3.00
4.2 คุณภาพอาจารย์ 3.33
4.3 ผลที่เกิดกับอาจารย์ 0.00
5.1 สาระของรายวิชาในหลักสูตร 3.00
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน 3.00
5.3 การประเมินผู้เรียน 2.00
5.4 ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 0.00
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 2.00
ผลการประเมินเฉลี่ยรวม [13 ตัวบ่งชี้] 2.53

การวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาภายใน ของคณะกรรมการประเมิน ฯ

องค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
1 ผ่านการประเมิน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 2 - - 4.30 4.30 ระดับคุณภาพดีมาก
3 3 2.67 - - 2.67 ระดับคุณภาพปานกลาง
4 3 2.11 - - 2.11 ระดับคุณภาพปานกลาง
5 4 3.00 1.67 - 2.00 ระดับคุณภาพน้อย
6 1 - 2.00 - 2.00 ระดับคุณภาพน้อย
ผลการประเมิน 2.89 1.75 4.30 2.53 ระดับคุณภาพปานกลาง
ระดับคุณภาพ ระดับคุณภาพปานกลาง ระดับคุณภาพน้อย ระดับคุณภาพดีมาก