รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ [นนช.]

วันที่ประเมิน: 21 กรกฏาคม 2566, 09:30น.

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

[ตัวบ่งชี้ 1.1] การบริหารการจัดการหลักสูตรตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร

เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
1. จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
-ระบุชื่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกท่านชัดเจน 
 
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
2. คุณสมบัติอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
มีการระบุชื่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และให้รายละเอียดคุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และผลงานทางวิชาการ ทั้ง 5 ท่าน ครบถ้วน
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
[สำหรับประเภทวิชาชีพ/ปฏิบัติการ]
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 2 ใน 5 คน ต้องมีประสบการณ์ในด้านการปฏิบัติการ
ระบุข้อคิดเห็น
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
ได้ระบุอาจารย์และรายละเอียดคุณสมบัติของอาจารย์ประจำหลักสูตรไว้ครบถ้วน
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
4. คุณสมบัติอาจารย์ผู้สอน ที่เป็นอาจารย์ประจำ
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
ได้ระบุชื่ออาจารย์ผู้สอนที่เป็นอาจารย์ประจำ และให้รายละเอียดคุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอนครบถ้วน
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน ที่เป็นอาจารย์พิเศษ
ข้อคิดเห็น
ได้ระบุชื่ออาจารย์ผู้สอนที่เป็นอาจารย์พิเศษ และให้รายละเอียดคุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอนและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับวิชาที่สอนครบถ้วน
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
หลักสูตรมีการปรับปรุงตามรอบระยะเวลาอย่างต่อเนื่อง
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ผลการประเมินจากผลการดำเนินงาน ตัวบ่งชี้ 1.1

องค์ประกอบที่ 2 การผลิตบัณฑิต

[ตัวบ่งชี้ 2.1] คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และ ด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ.2561

หมายเหตุ : *
(1) จำนวนบัณฑิตทั้งหมด หมายถึง ผู้รับปริญญา ในปีการศึกษา 2564 ประกอบด้วย บัณฑิตที่จบภาคการศึกษา 1/2564 , 2/2564 และ S/2565 [ปีต้องอัพเดตตามปีการศึกษาที่ประเมินย้อนหลัง 1 ปี]
(2) จำนวนบัณฑิตที่รับการประเมินจากผู้ใช้บัณฑิตต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาตาม (ข้อ1)

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
จำนวนบัณฑิตทั้งหมด 36 4.58
จำนวนบัณฑิตที่ได้รับการประเมินทั้งหมด 31
คะแนนเฉลี่ยรวมคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561 4.58
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-บัณฑิตได้รับการยอมรับจากผู้ใช้บัณฑิต โดยพบว่ามีระดับคะแนนสูงทุกด้าน โดยเฉพาะด้านทักษะทางปัญญา ซึ่งหลักสูตรควรนำมาถอดบทเรียน แล้วนำมาพัฒนาให้คะแนนส่วนอื่นให้มีคะแนนสูงขึ้น
-ประเมินกับผู้ใช้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2565 และมีงานทำ จำนวน 36 คน และได้ตอบกลับ 31 คน (คิดเป็นร้อยละ 86.11) มีค่าเฉลี่ยของคะแนนที่ได้จากการประเมินบัณฑิต เท่ากับ 4.58
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-หลักสูตรควรนำทักษะด้านที่มีคะแนนสูงๆ มาถอดบทเรียน แล้วนำมาพัฒนาให้คะแนนส่วนอื่นให้มีคะแนนสูงขึ้น
 
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 2.2] ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี

หมายเหตุ : *
(1) จำนวนบัณฑิตทั้งหมด จะต้องตรงกับตาราง ตัวบ่งชี้ 2.1
(2) จำนวนบัณฑิตที่ตอบแบบสำรวจจะต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
จำนวนบัณฑิตทั้งหมด 36 5.00
จำนวนบัณฑิตที่ตอบแบบสำรวจ 31
จำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษา [มีงานทำในองค์กร] 24
จำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษา [ประกอบอาชีพอิสระ] 3
จำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษา [ประกอบกิจการส่วนตัว/ธุรกิจครอบครัว] 2
จำนวนบัณฑิตที่ไม่ได้งานทำ 0
จำนวนบัณฑิตที่ศึกษาต่อ 2
จำนวนบัณฑิตที่อุปสมบท 0
จำนวนบัณฑิตที่เกณฑ์ทหาร 0
จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาที่มีงานทำก่อนเข้าศึกษา 0
ร้อยละที่ได้ 100.00
ผลลัพธ์ที่ได้ 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-บันฑิตมีงานทำเกือบทั้งหมด อาจนำมาใช้เป็นแนวทางประชาสัมพันธ์จุดเด่นของหลักสูตร
-จำนวนบัณฑิตที่จบการศึกษาจากหลักสูตรในปีการศึกษา 2564 มีจำนวนทั้งหมด 36 คน จำนวนบัณฑิตที่ตอบแบบสอบถามมีจำนวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 86.11 ของบัณฑิตทั้งหมด (เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดคือมีนักศึกษาตอบแบบสำรวจไม่น้อยกว่าร้อยละ 70) และเป็นบัณฑิตผู้มีงานทำประจำ 24 คนประกอบอาชีพอิสระ จำนวน 3 คน  ประกอบกิจการส่วนตัว/ธุรกิจครอบครัว 2 คน ค่าร้อยละของบัณฑิตที่ได้งานทำ 1 ปี คิดเป็นร้อยละ 100.00
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 2 (2 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 4.79 คะแนน

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

[ตัวบ่งชี้ 3.1] การรับนักศึกษา

คะแนนที่ได้ 4
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
หลักสูตรฯ มีจำนวนนักศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างมีนัยสำคัญ พร้อมกับมีการวางแผนดำเนินการจนถึงปรับปรุงผลการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการรับนักศึกษาได้เห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การรับนักศึกษา:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-หลักสูตรฯ มีจำนวนนักศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างมีนัยสำคัญ พร้อมกับมีการวางแผนดำเนินการจนถึงปรับปรุงผลการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการรับนักศึกษาได้เห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม
-มีระบบและกลไกการรับนักศึกษา มีการดำเนินงาน การประเมินกระบวนการและการปรับปรุงกระบวนการ ปีการศึกษา 2565 พบว่าปัญหาหลักที่ส่งผลต่อความสามารถด้านวิชาการของนักศึกษาคือ พื้นฐานภาษาอังกฤษของนักศึกษา พบว่านักศึกษาใหม่มีพื้นฐานภาษาอังกฤษต่างกัน เนื่องจากการรับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเป็นการสมัครเข้าโดยตรง และผ่านตัวแทน(Agent) โดยใช้วิธีสอบสัมภาษณ์ออนไลน์ และไม่มีการสอบ English Placement Test สำหรับนักศึกษาที่ไม่สามารถเข้ามาเรียนช่วงแรกในประเทศไทยได้ทำให้ผลการวัดระดับความรู้ทางภาษาอังกฤษของนักศึกษาแรกเข้าไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-วางแผนการรักษาอัตราคงอยู่ให้สอดคล้องกับจำนวนการรับและ อัตราการสำเร็จการศึกษา
 
การเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-หลักสูตรมีการเตรียมความพร้อมเฉพาะด้านที่สำคัญ โดยเฉพาะด้านการใช้ภาษา และการลดความเครียดในการเรียน เพิ่มความพึงพอใจในการศึกษา
-มีะรบบและกลไก มีการดำเนินงาน โดยมีการปฐมนิเทศ หลายระดับ และกิจกรรม Student Peer - mentors ที่เป็นพี่เลี้ยงช่วยแนะนำเรื่องการบ้าน งานกลุ่ม และแบบฝึกหัด  ลักษณะเฉพาะของนักศึกษาที่จะเข้าเรียนในหลักสูตรที่ไม่ได้เรียนในโรงเรียนนานาชาติมาก่อน ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทำให้ขาดทักษะทางด้านภาษาอังกฤษซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการเรียน ซึ่งพบแนวทางแก้ไขคือ ต้องมีการปรับทักษะทางด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยนักศึกษาจะต้องวัดระดับภาษาอังกฤษ (English Placement Test) จากนั้นนักศึกษาเรียนเสริมพื้นฐานภาษาอังกฤษตามลำดับคะแนนที่วัดได้ คือ Plan A (ปรับพื้นฐานระดับที่ 1) Plan B (ปรับพื้นฐานระดับที่ 2 ) or Plan C (เรียนหลักสูตรปกติ)
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-ควรสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างรุ่นพี่ รุ่นน้อง เครือข่ายต่างๆ เพื่อเสริมสร้างระบบการเตรียมความพร้อมให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
 
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 3.2] การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา

คะแนนที่ได้ 4
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
-มีการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาด้านการวิจัย ทำให้ได้ผลงานวิจัยที่ทำร่วมกันกับอาจารย์ผู้สอนและเผยแพร่ในระดับสากล
-นักศึกษานำประสบการณ์จากการร่วมกิจกรรมในสาขาวิชาที่มีการปรับปรุงขั้นตอนให้ได้มีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนต่างเชื้อชาติมากขึ้น ไปต่อยอดทำให้ได้รับงานจากหน่วยงานภายนอก ถือเป็นผลปรับปรุงจากการประเมินกระบวนการที่เป็นรูปธรรม และมีจำนวนนักศึกษาที่ผ่านโครงการมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจากปีที่ผ่านมา คือนักศึกษาสาขาธุรกิจระหว่างประเทศ สามารถเป็นตัวแทนและผ่านเข้ารอบคัดเลือกจำนวนทั้งสิ้น 8 คน จากการแข่งขัน SEASAC Competition ในเดือนพฤศจิกายน 2565
นักศึกษาสาขาธุรกิจระหว่างประเทศ จำนวน 4 คน ร่วมกับอาจารย์ศรีสองรัก พรหมวิทักษ์ สามารถร่วมกันทำงานวิจัย ซึ่งเป็นผลพวงจากการเรียนรู้รายวิชา IPO302 Research Methods เข้าร่วมงานวิจัยระดับนานาชาติ ASEAN International Sandbox Conference (AISC) 2023 ในหัวข้อ " Impacts of Music on the Academic Performance of College Students "

 
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษาปริญญาตรี:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- มีการจัดระบบการควบคุมดูแล และมีกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์เป็นเครือข่าย
- มีระบบกและกลไล การดำเนินงาน การประเมินกระบวนการ 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-สร้างเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นเครือข่ายให้คำปรึกษาแนะแนวนักศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวข้อง
 
การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-มีการส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมการแข่งขันทักษะต่างๆ เพิ่มมากขึ้น และ มีเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศมากขึ้น
-มีระบบและกลไกการดำเนินงาน การประเมินกระบวนการ และการปรับปรุงอย่างเป็นรูปธรรม ในปีการศึกษา 2565 มีจำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมการแข่งขันทักษะต่างๆ จำนวนมากกว่าปีการศึกษาที่ผ่านมา เนื่องจากมีการเข้าร่วมการแข่งขันระดับชาติและนานาชาติจำนวนเพิ่มมากขึ้น เช่น European Sales Competitions 2022 ประเทศ Netherlands, Southeast Asia Sale Skills Competition 2022 ประเทศ Indonesia, YASA (The Youth Across Southeast Asian Students) ประเทศ Indonesia โดยความร่วมมือระหว่าง 4 มหาวิทยาลัยจาก สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย และอินโดยนีเซีย
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
สร้างกิจกรรมที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากเครือข่ายความร่วมมือ ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนทักษะต่างๆ ระหว่างกันมากขึ้น
การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในการส่งเสริมให้เกิดการสร้างผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
มีระบบและกลไกการดำเนินงาน การประเมินกระบวนการ และการปรับปรุงอย่างเป็นรูปธรรม ผลคือในปีการศึกษา 2565 นักศึกษาสาขาธุรกิจระหว่างประเทศ จำนวน 4 คน ร่วมกับอาจารย์ศรีสองรัก พรหมวิทักษ์ สามารถร่วมกันทำงานวิจัย ซึ่งเป็นผลพวงจากการเรียนรู้รายวิชา IPO302 Research Methods เข้าร่วมงานวิจัยระดับนานาชาติ ASEAN International Sandbox Conference (AISC) 2023 ในหัวข้อ " Impacts of Music on the Academic Performance of College Students "
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ควรนำเสนอข้อมูลที่แสดงถึงแนวทางการนำองค์ความรู้ไปตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติเพิ่มเติม 
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 3.3] ผลที่เกิดกับนักศึกษา

หลักสูตรเปิดปีการศึกษา 2537 เป็นหลักสูตร 4 ปี (สำเร็จการศึกษาปีแรก: 2540)
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การคงอยู่
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2563
ร้อยละ 63.80
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2564
ร้อยละ 62.20
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2565
ร้อยละ 56.10
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
อัตราการคงอยู่ของนักศึกษา จากนักศึกษาที่รับเข้าในปีการศึกษา 2560, 2561 และปีการศึกษา 2562 เท่ากับ 63.8%, 62.2% และ 56.1%  ตามลำดับ
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
อัตราการคงอยู่ของนักศึกษา ปีการศึกษา 2560 - 2562  มีแนวโน้มลดลง ทางหลักสูตรควรหารือเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา
การสำเร็จการศึกษา
ร้อยละอัตราสำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2563
ร้อยละ 20.30
ร้อยละอัตราสำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2564
ร้อยละ 17.10
ร้อยละอัตราสำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2565
ร้อยละ 18.20
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ในปีการศึกษา 2565  คือ นักศึกษารหัส 62 (18.2%)
สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ในปีการศึกษา 2564  คือ นักศึกษารหัส 61 (17.1%)
สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ในปีการศึกษา 2563  คือ นักศึกษารหัส 60 (20.3%)

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-ควรนำผลวิเคราะห์อัตราการสำเร็จการศึกษา มาวางแผนและดำเนินการเพื่อให้มีแนวโน้มดีขึ้น
-อัตราการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษา ปีการศึกษา 2560 - 2562  มีแนวโน้มลดลง ทางหลักสูตรควรหารือเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา
ความพึงพอใจและผลการจัดการข้อร้องเรียนของนักศึกษา
ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาเฉลี่ย ปีการศึกษา 2563 ร้อยละ 4.68
ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาเฉลี่ย ปีการศึกษา 2564 ร้อยละ 4.70
ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาเฉลี่ย ปีการศึกษา 2565 ร้อยละ 4.72
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ความพึงพอใจของนักศึกษามีแนวโน้มสูงขึ้น ตลอด 3 ปีการศึกษา 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
นำผลคะแนนด้านที่มีระดับน้อยกว่าด้านอื่น มาวิเคราะห์เพื่อวางแผนดำเนินการให้มีระดับคะแนนสูงขึ้นต่อไป
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 3 (3 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 3.67 คะแนน

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

[ตัวบ่งชี้ 4.1] การบริหารและพัฒนาอาจารย์

คะแนนที่ได้ 4
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ทางหลักสูตรมีระบบการรับและแต่งตั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีการทบทวนและปรับปรุงกระบวนการอย่างเป็นรูปธรรม การบริหารอาจารย์มีการสร้างแรงจูงใจในการผลิตผลงานทางวิชาการ และระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ การปรับปรุงกระบวนการทำให้เกิดผลงานวิชาการอย่างเป็นรูปธรรม
 
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
ระบบการรับและแต่งตั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
มีระบบและกลไกการดำเนินงาน การประเมินกระบวนการ และปรับปรุง สาขาวิชาได้นำกระบวนการรับและแต่งตั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมาทบทวนร่วมกับหลักสูตรปริญญาโทด้านการธุรกิจดิจิทัลระหว่างประเทศ เนื่องจากสามารถวางแผนรายวิชาร่วมสอนและบริหารจำนวนวิชาสอนตามปริมาณงานสอนต่อปีได้อย่างเหมาะสม โดยในปีการศึกษา 2565 อาจารย์ที่รับเข้ามาใหม่ ยังคงเป็นอาจารย์ประจำร่วมสอนในสาขา มีการเพิ่มทักษะในการบริหารหลักสูตร โดยเฉพาะในการแก้ปัญหาบางประการที่เกี่ยวข้องกับการดูแลนักศึกษา และการจัดทำเอกสารต่างๆ โดยมีหลักเกณฑ์ว่าอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรต้องผ่านการเป็นอาจารย์ประจำร่วมสอนในสาขาก่อนอย่างน้อยหนึ่งปี หรือต้องมีส่วนร่วมในการเผยแพร่ผลงานวิจัยร่วมกับนักศึกษาหรืออาจารย์ในหลักสูตรอย่างน้อย 1 รายการ ทำให้อาจารย์ใหม่มีความพร้อมและพัฒนา เพื่อพร้อมที่จะเป็นอาจารย์รับผิดชอบหลักสูตรในปีต่อไป
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ระบบการบริหารอาจารย์:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
สาขาวิชาได้นำระบบและกลไกของการบริหารหลักสูตรมาทบทวนร่วมกันร่วมกันอีกครั้งใน เทอม 2/2565 พบว่าประเด็นเรื่องการให้แรงจูงใจในการผลิตผลงานทางวิชาการควรครอบคลุมถึงการให้โอกาสอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้ทำงานที่คั่งค้างให้เสร็จสิ้นโดยไม่มีการแทรกแซงของภาระงานสอนของหลักสูตร จึงขออนุญาตให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้หมุนเวียนกันใช้เวลาในการทำผลงานวิจัยที่แต่ละคนรับผิดชอบให้แล้วเสร็จ โดยไม่ต้องเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ใน 1 วันต่อสัปดาห์ โดยกำหนดให้อาจารย์เลือกวันที่จะทำงานวิจัยได้อาทิตย์ละ 1วัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเลือกวันศุกร์
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ควรกำหนดเป้าหมายการพัฒนาโดยระบุชัดเจนในด้านใดด้านหนึ่ง ที่หลักสูตรฯ ต้องการพัฒนาอาจารย์ แล้วใช้เป้าหมายนั้น มากำหนดแนวทางการดำเนินงานต่อไป
ระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ให้มีคุณภาพทั้งด้านความรู้ ความสามารถในเนื้อหาวิชาที่รับผิดชอบ สามารถก้าวทันวิทยาการสมัยใหม่ มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ การวิจัย และการพัฒนาศาสตร์ในสาขาวิชาที่รับผิดชอบ:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลังจากทบทวนปัญหาปีการศึกษา 2565 สาขาวิชาฯได้ดำเนินการดังนี้
1.จัดอบรมการทำงานงานวิจัย และเผยแพร่งานวิจัยในระบบ  
2. ใช้วิชา IPO302 Research Methods เป็นต้นทางในการให้อาจารย์ในสาขาได้ทำงานวิจัยโดยเป็น advisor งานวิจัยให้นักศึกษา ทั้งนี้มี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คณิตศร เทอดเผ่าพงศ์ ซึ่งเป็นอาจารย์ผู้มีประสบการณ์งานวิจัยและเป็นผู้สอนวิชานี้จะช่วยกำกับดูแล โดยทางสาขาส่งรายชื่ออาจารย์และ Topic ที่อาจารย์สามารทำงานวิจัยได้ ให้ มี ผศ.ดร.คณิตศร และ Dr. Anna Davtyan ไปแจ้งให้นักศึกษา เลือก Topic ที่จะทำงานวิจัยจากอาจารย์ในสาขา โดยกำหนดให้อาจารย์ 1 ท่านต้องทำวิจัยร่วมกับนักศึกษาอย่างน้อย 1 ชิ้น ซึ่งจะส่งผลในปีการศึกษา 2565   
นอกจากนี้ ในเรื่องแรงจูงใจของอาจารย์ผู้สอน ก็ได้สร้างแรงจูงใจด้านอื่นร่วมด้วยดังนี้  1.ให้แรงจูงใจอาจารย์ที่มีผลงานการเผยแพร่ได้มีโอกาสร่วมสอนในรายวิชาของหลักสูตรปริญญาโทดิจิทัลระหว่างประเทศ  2.ให้อาจารย์ในหลักสูตรที่มีความพร้อมได้มีโอกาสได้เป็นวิทยากรด้านการบริการวิชาการ โดยเฉพาะจากการร้องขอจากหน่วยงานภายนอกและโรงเรียนชุมชนรอบข้างมหาวิทยาลัยที่อยู่ในความร่วมมือ  
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ตั้งเป้าหมายวางแผนพัฒนาอาจารย์เป็นรายบุคคล แล้วนำเสนอแนวทางหรือผลการดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายนั้น
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)

[ตัวบ่งชี้ 4.2] คุณภาพอาจารย์

4.2.1 ร้อยละของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้งหมด 5 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 3
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 60.00
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 20 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร 5 คน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก จำนวน 3 คน คือ Dr. Bruce Weeks ดร.นวลอนงค์ พนธุ์มณี และ ดร. เจ จันทร์ศุภฤกษ์ คิดเป็นร้อยละ 60
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
4.2.2 ร้อยละของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้งหมด 5 0.00
[2] ไม่มีตำแหน่งทางวิชาการ [อาจารย์] 5
[3] ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ 0
[4] ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ 0
[5] ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ 0
[6] ดำรงตำแหน่งทางวิชาการทั้งหมด [3] + [4] + [5] 0
[7] ร้อยละที่ได้ [6] X 100 / [1] 0.00
[8] ผลลัพธ์ที่ได้ [7] x 5 / 60 0.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2565 สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ ไม่มีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ คิดเป็นร้อยละ 0
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ทางหลักสูตร ควรส่งเสริมให้อาจารย์ผลิตผลงานทางวิชาการและขอดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
4.2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
หมายเหตุ เป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในรอบปีที่รับการประเมินเท่านั้น [ช่องไหนไม่มีผลงานให้ใส่ 0 ไม่ปล่อยว่าง]
จำนวนผลงานทางวิชาการตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 1 2 2 0 0
จำนวนผลงานสร้างสรรค์ตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 0 0 0
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] ผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ 2.20 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้งหมด 5
[3] ร้อยละที่ได้ [1] X 100 / [2] 44.00
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 20 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีการผลิตผลงานทางวิชาการได้สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
รายการหลักฐาน ตัวบ่งชี้ 4.2 คุณภาพอาจารย์
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)

 
ตัวบ่งชี้ 4.2 คุณภาพอาจารย์ คะแนนที่ได้ 3.33 คะแนน

[ตัวบ่งชี้ 4.3] ผลที่เกิดกับอาจารย์

คะแนนที่ได้ 4
หมายเหตุ :
(1) ยกเว้นกรณี การเกษียณอายุงาน และการเสียชีวิต
(2) หากรายชื่อมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากปรับเข้าเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร พ.ศ. 2558 ให้ถือว่าอัตราการคงอยู่ครบในปีการศึกษาแรกที่ปรับเข้าเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร 2558
(3) หากรายชื่อที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบท่านใหม่ต้องมีประสบการณ์ร่วมบริหารหลักสูตรมาไม่น้อยกว่า 9 เดือน (มีหลักฐานรายงานการประชุมภาควิชาหรือการประชุมหลักสูตร)
(4) รายงานถึงสิ้นสุดปีการศึกษา 2565 และจะได้รับการประเมินแนวโน้มผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นต้องประเมิน จาก ≥ 3 ชุดข้อมูล
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
หลักสูตรมีแนวโน้มอัตราการคงอยู่ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ย้อนหลังในรอบ 3 ปี ดังนี้
1.ในปีการศึกษา 2563  มีอัตราคงอยู่ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร คิดเป็นร้อยละ 100
2.ในปีการศึกษา 2564  มีอัตราคงอยู่ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร คิดเป็นร้อยละ 100
3.ในปีการศึกษา 2565  มีอัตราคงอยู่ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร คิดเป็นร้อยละ 100
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การคงอยู่ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรมีแนวโน้มอัตราการคงอยู่ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ย้อนหลังในรอบ 3 ปี ดังนี้
1.ในปีการศึกษา 2563  มีอัตราคงอยู่ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร คิดเป็นร้อยละ 100
2.ในปีการศึกษา 2564  มีอัตราคงอยู่ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร คิดเป็นร้อยละ 100
3.ในปีการศึกษา 2565  มีอัตราคงอยู่ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร คิดเป็นร้อยละ 100
ความพึงพอใจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสุตร ปี 2563- 2565  ดังนี้  4.70  4.73 4.77  มีแนวโน้มดีขึ้นตลอด 3 ปี 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ความพึงพอใจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีต่อการบริหารหลักสูตร
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ความพึงพอใจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ปีการศึกษา 2563- 2565  ดังนี้ 4.70  4.73 4.77 มีแนวโน้มดีขึ้นตลอด 3 ปีการศึกษา 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 4 (3 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 3.78 คะแนน

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

[ตัวบ่งชี้ 5.1] สาระของรายวิชาในหลักสูตร

41
33
80.49
คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การออกแบบหลักสูตร และสาระรายวิชาในหลักสูตรที่ปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน มีหลักสูตรหรือรายวิชาที่เป็นความร่วมมือกับสถานประกอบการ
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-หลักสูตรมีการปรับกระบวนการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ จำนวนมาก ให้สอดคล้องกับจำนวนนักศึกษาและการเปลี่ยนแลงสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้เหมาะสม
-มีระบบและกลไกการดำเนินงาน ปรับปรุงกระบวนการ มีการออกแบบหลักสูตรและสาระรายวิชา
1.IBM335 เป็นลักษณะ Active Learning โดยเน้นการแข่งขันทักษะทางด้านการขาย B2B Sales Skill Competition โดยการแข่งขันจะใช้ case จากธุรกิจที่ประกอบการจริงทั้งด้านผู้ซื้อและผู้ขาย การฝึกฝนในห้องเรียนจะฝึกให้นักเรียนเป็นผู้ขาย และในการแข่งขันระดับรอบชิงชนะเลิศ จะเชิญบริษัทผู้ขายจริงมาเป็นกรรมการตัดสิน โดยผู้ชนะการแข่งขัน 4 อันดับแรกจะมีโอกาสไปแข่งขันในระดับระหว่างประเทศ และเข้าร่วมการแข่งขันออนไลน์การขายระดับ European Sales Competition ประเทศ Australia ถือเป็นการพัฒนานักศึกษาด้าน Career and Learning Skills และ Critical Thinking and Problem Solving
2.IFN432 เพื่อให้ความรู้นักศึกษาด้านการจัดการธุรกิจและการเงินและการบัญชี และเตรียมความพร้อมนักศึกษาเข้าสอบรับใบประกาศนียบัตรความเป็นมืออาชีพด้านการจัดการธุรกิจและการเงิน , CMA ทั้งนี้ บริษัท Becker จากสิงคโปร์ให้ทุนการศึกษานักศึกษาที่มีผลการเรียนวิชานี้ ในระดับดี จะได้รับสิทธิ ในการไปสอบ CMA  มีมูลค่าการสอบ 30,000 บาทต่อ 1 ผู้สอบ หากสอบผ่านจะได้ใบประกาศนียบัตรความเป็นมืออาชีพ CMA โดยบริษัท Becker ให้ 10 ทุน ถือเป็นการพัฒนานักศึกษาด้าน Critical Thinking and Problem Solving, Career and Learning Skills
3.IBM221 เปิดให้นักศึกษาไปต่างประเทศ ทั้งนี้ในปีการศึกษา 2565 ได้พานักศึกษาไปประเทศสิงคโปร์ และญี่ปุ่น ทำให้นักศึกษามีโอกาสได้เยี่ยมชมบริษัทที่ดำเนินการในต่างประเทศ และเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ทำให้นักศึกษามีวิสัยทัศน์กว้างไกล อีกทั้งยังได้มีโอกาสศึกษาวัฒนธรรมของนานาประเทศอีกด้วย
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-อาจสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิชาการในการออกแบบหลักสูตรหรือกิจกรรมการเรียนการสอนให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และรักษาความเข้มแข็งของเครือข่ายที่มีในปัจจุบันและในอนาคตอย่างยั่งยืน 
 
การปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าในศาสตร์สาขานั้นๆ และเชื่อมโยงกับการนำไปใช้ได้จริง
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-การดำเนินการที่เห็นชัดเจนในการปรับกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับศาสตร์และสามารถเกิดผลการยอมรับที่ดีในระดับสากล ดังปรากฎในการเผยแพร่และการได้รับรางวัล
1.รายวิชา IBM335 International Entrepreneurship ซึ่งใช้การสอนเป็นแบบ Active Learning โดยเน้นให้นักศึกษาฝึกทักษะการแข่งขันทางด้านการขาย B2B Sales Skill Competition นักศึกษาได้มีประสบการณ์การจากบริษัทที่มีอยู่จริง และผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ จะได้รับการเข้าทำงานในบริษัทนั้น
2.รายวิชา IBM498 Internship วิชาฝึกงาน ตลอดระยะเวลา 4 เดือน เป็นการให้นักศึกษาไปทำงานจริงที่บริษัท และบางบริษัทให้โอกาสนักศึกษาเข้าทำงานในบริษัทนั้นหลังจากจบการศึกษาแล้ว ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสที่ดีของนักศึกษา
3.วิชา IBM 445 Cross Cultural Management นักศึกษาร่วมแข่งขันกับ BINUS University
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
มีการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิที่ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน (Learner Person, Innovative Co-Creator, Active Citizen) ตามวิสัยทัศน์และจุดเน้นของหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-การกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน 
1. ด้าน Learner Persons หลักสูตรฯ ส่งเสริมสนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้น
2. ด้าน Co-Creator หลักสูตรฯ ปรับปรุงการเรียนการสอนในรายวิชา IBM335 International Entrepreneurship โดยเน้นให้นักศึกษาเป็นผู้มีทักษะทางด้านการขาย และสามารถบูรณาการศาสตร์ต่างๆ ในสายวิชาชีพด้านธุรกิจ สามารถสร้างโอกาสและเพิ่มมูลค่าให้กับตนเองได้
3. ด้าน Active Citizen หลักสูตรฯ ปรับปรุงการเรียนการสอนในรายวิชา IMB326 IMK445 เน้นการพัฒนาทักษะการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง มีความกล้าหาญทางจริยธรรม ยึดมั่นในความถูกต้อง รู้คุณค่าและทักษะความเป็นไทย เพื่อสร้างสรรค์การพัฒนาอย่างยั่งยืนของสังคม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-มีการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน แต่อย่างไรก็ตาม ควรระบุให้ชัดเจน เน้นไปในสิ่งที่ต้องการเน้นให้ผู้เรียนเป็นไปตามเป้าหมายของหลักสูตรให้มากขึ้น 
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)

[ตัวบ่งชี้ 5.2] การวางระบบผู้สอน และกระบวนการจัดการเรียนการสอน

คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดผู้สอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-มีการวางระบบผู้สอนได้สอดคล้องกับความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญ
-มีระบบและกลไก การดำเนินงาน การประเมิรกระบวนการ และปรับปรุงกระบวนการ โดยหลักสูตรประชุมอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรโดย พบว่า นักศึกษามีปัญหาในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่ได้รับเพื่อต่อยอดในการเรียน ดังนั้นที่ประชุมเสนอให้จัดผู้สอนในรูปแบบ Team Teaching ในรายวิชาศึกษาทั่วไป และเน้นการสอนในรูปแบบ Project Based Learning เพิ่มขึ้นในรายวิชาเอกบังคับและเอกเลือก อีกทั้งมีการเชิญวิทยากรพิเศษมาบรรยายในรายวิชาอื่นๆ อีกด้วย และทางสาขาฯได้นำผลการประเมินอาจารย์ผู้สอนในปีการศึกษา 2564 มาใช้ในการเลือกอาจารย์ผู้สอนด้วยกระบวนการรับรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในที่ประชุม และวางแผนวิชาที่จะสอนในปีการศึกษา 2565
      ทั้งนี้ ในปีการศึกษา 2565 เน้นการสอนในรูปแบบ Project Based Learning เพิ่มขึ้น และเน้นให้นักศึกษามีการเข้าร่วมการแข่งขันทางธุรกิจมากขึ้น โดยให้อาจารย์ในสาขาเป็นอาจารย์พี่เลี้ยงในการแข่งขันแต่ละชิ้นงาน
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
การกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียนรู้ (มคอ.3 และ มคอ.4) และการจัดการเรียนการสอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-จากหน้า 92 หลังจากเสร็จสิ้นการเรียนการสอนในแต่ละภาคการศึกษาทุกวิชาจะต้องมีการรายงานผลการเรียนรู้ใน มคอ.3 และ มคอ.4 พร้อมทั้งเสนอแนะเกี่ยวกับรายวิชา ปัญหาและอุปสรรคที่มี เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการพัฒนาปรับปรุงแก้ไขต่อไป
 
การจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีที่มีการบูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-มีการบูรณาการการวิจัยในการเรียนการสอน กระทั่งได้ผลงานวิจัยและมีการนำเสนอผลงานวิจัยในระดับสากลที่เห็นผลชัดเจน
-ในปีการศึกษา 2565 มีการนำพันธกิจทั้งสามด้าน ได้แก่ การบริการวิชาการ การวิจัย และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมมาบูรณาการกับรายวิชา ดังรายวิชาต่อไปนี้
IPO302      Research Methodology
IBM445     Cross Cultural Management
IBM460     Global Competitive Strategy
IBM335     International Entrepreneurship
IMG336     Leadership, Negotiation and Conflict Management
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ขยายจำนวนนักศึกษา หรือ กิจกรรมที่บูรณาการการวิจัยเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)

[ตัวบ่งชี้ 5.3] การประเมินผู้เรียน

คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ที่ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน (Learner Person, Innovative Co-Creator, Active Citizen) ตามวิสัยทัศน์และจุดเน้นของหลักสูตร ตลอดจนมาตรฐานวิชาชีพ (ถ้ามี)
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
การทวนสอบ สาขาฯใช้กระบวนการการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดในมาตรฐานคุณวุฒิ  ดังต่อไปนี้
1. จากการประเมินการเรียนการสอนของนักศึกษาผ่านระบบออนไลน์ของมหาวิทยาลัย
2. สาขาวิชากำหนดให้ผู้ประเมินข้อสอบพิจารณาตรวจแก้ข้อสอบทุกวิชาก่อนสอบกลางภาคและปลายภาคทุกภาคการศึกษา
3. คณะกรรมการของสาขาวิชาพิจารณาผลการสอบ (เกรด) ทุกวิชา ทุกภาคการศึกษา ก่อนส่งผลสอบให้สำนักทะเบียนฯ
4. คณะกรรมการกำกับมาตรฐานวิชาการของสาขาวิชาประชุมพิจารณาผลสอบ เพื่อให้ข้อ สังเกต และข้อเสนอแนะในการปรับปรุงหลักสูตร
    ในปีการศึกษา 2565 ยังมีข้อจำกัดในการปรับการเรียนการสอนเป็นแบบ online เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 เป็นบางรายวิชา ส่งผลให้รายวิชาส่วนใหญ่ในมหาวิทยาลัยต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการประเมินผล สาขาฯได้นำระบบ online software บางชนิดมาใช้เพื่อให้การดำเนินการสอบ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น Google Form, Microsoft Team, และ Web Ex.
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
วิเคราะห์ผลการดำเนินงานตามแผนที่วางไว้แล้วนำมาปรับให้สอคดล้องกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
การตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2565 สาขาฯ มีกระบวนการและเครื่องมือที่ใช้ในการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาจากการสอบกลางภาคและสอบปลายภาค เป็นเพิ่มการทดสอบย่อยเพิ่มขึ้น ทำให้นักศึกษาได้มีความผ่อนคลาย และสามารถทบทวนการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง รายวิชาที่ได้มีการทวนสอบ 2 รายวิชา คือ IFN201 (Business Finance) และ IEC212 (Principles of Macroecomonics) จากรายวิชาที่เปิดสอนทั้งหมด 41 รายวิชา คิดเป็นร้อยละ 4.88 ผลลัพธ์ที่ได้จากการทวนสอบที่ให้เพิ่มการสอบย่อยบ่อยครั้งขึ้น ทำให้ไม่มีนักศึกษาตกในวิชา IEC212 (Principles of Macroecomonics) และไม่มีนักศึกษาถอนรายวิชา IFN201 (Business Finance)
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
การกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอน และประเมินหลักสูตร (มคอ.5 มคอ.6 และ มคอ.7)
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในส่วนของการประเมินการเรียนรู้ด้วยการสอบนั้น ข้อสอบในทุกรายวิชาของหลักสูตรฯ จะผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกำกับมาตรฐานวิชาการ ซึ่งมีการจัดประชุมจำนวน 4 ครั้งต่อปีการศึกษา เพื่อรับรองว่าการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาในหลักสูตรฯ ได้มาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ นอกจากนี้ยังมีการประเมินการสอนของอาจารย์ผู้สอนผ่านระบบออนไลน์และรายงานผลกลับมายังอาจารย์ผู้สอนเพื่อปรับปรุงการสอนของตนเอง
         จากผลการดำเนินการของหลักสูตร ทำให้ผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ที่ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน (Learner Person, Innovative Co-Creator, Active Citizen) ตามวิสัยทัศน์และจุดเน้นของหลักสูตรที่มีคุณภาพมากขึ้น และสามารถบูรณาการความรู้และทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยปรากฎจากผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ.2561 ที่ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตอยู่ที่คะแนนเฉลี่ย 4.65

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ขยายการใช้ระบบเทคโนโลยี ซอฟท์แวร์ ในรายวิชาอื่นๆ เพิ่มเติม
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 5.4] ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

หมายเหตุ: KPI ให้สอดคล้องและเป็นไปตามที่ระบุใน มคอ.2
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
1. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรอย่างน้อยร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผน ติดตาม และทบทวนการดำเนินงานหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
2. มีรายละเอียดของหลักสูตรตามแบบ มคอ.2 ที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ หรือมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา [ถ้ามี]
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
3. มีรายละเอียดของรายวิชา และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม [ถ้ามี] ตามแบบ มคอ.3 และ มคอ.4 อย่างน้อยก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาให้ครบทุกรายวิชา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
*
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
4. จัดทำรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา และรายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม [ถ้ามี] ตามแบบ มคอ.5 และ มคอ.6 ภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่เปิดสอนให้ครบทุกรายวิชา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
5. จัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตรตามแบบ มคอ.7 ภายใน 60 วัน หลังสิ้นสุดปีการศึกษา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
6. มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ที่กำหนดใน มคอ.3 และ มคอ.4 [ถ้ามี] อย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
7. มีการพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน หรือการประเมินผลการเรียนรู้จากผลการประเมินการดำเนินงานที่รายงานใน มคอ.7 ปีที่แล้ว
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
8. อาจารย์ใหม่ [ถ้ามี] ทุกคน ได้รับการปฐมนิเทศ หรือคำแนะนำด้านการจัดการเรียนการสอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
9. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกคนได้รับการพัฒนาทางวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
10. จำนวนบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอน [ถ้ามี] ได้รับการพัฒนาวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ต่อปี
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
11. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้าย/บัณฑิตใหม่ที่มีต่อคุณภาพหลักสูตร เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.50 จากคะแนนเต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
12. ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตใหม่ เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.50 จากคะแนนเต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
13. ร้อยละ 80 ของรายวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอน สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนด
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
14. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อคุณภาพการสอน รวมทุกรายวิชา เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
15. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อทรัพยากรสนับสนุนการเรียนการสอน เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.51 จากคะแนน เต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ผลการประเมินจากผลการดำเนินงาน ตัวบ่งชี้ 5.4
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] รวมจำนวนตัวบ่งชี้ในแต่ละปี 13 5
[2] จำนวนตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการผ่านเฉพาะตัวบ่งชี้ที่ 1-5 1-5
[3] ร้อยละของตัวบ่งชี้ที่ 1-5 ที่ผ่าน [ถ้าผ่านทั้ง 5 ข้อจะเป็นร้อยละ 100] 100
[4] จำนวนตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการผ่านรวม 13
[5] ร้อยละของตัวบ่งชี้ทั้งหมดที่ผ่าน 100.00
*หมายเหตุการกำหนดเงื่อนไขเกณฑ์การประเมิน
ถ้า [3] น้อยกว่าร้อยละ 100 ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 0.00
ถ้า [5] มีการดำเนินงานน้อยกว่า ร้อยละ 80 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 0.00
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 80 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 3.50
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 80.01 - 89.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 4.00
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 90.00 -94.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 4.50
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 95.00 -99.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 4.75
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 100 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 5.00
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 5 (4 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 3.50 คะแนน

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

[ตัวบ่งชี้ 6.1] สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
ระบบการดำเนินงานของภาควิชา/คณะ/สถาบัน โดยมีส่วนร่วมของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เพื่อให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-มีการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วมเพื่อจัดหาสิ่งสนับสนุนให้นักศึกษาได้ตรงตามความต้องการ
-คณะกรรมการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้สำรวจและรายงานความต้องการสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน โดยตัวแทนจากสาขาฯ ได้ทำการสำรวจจากอาจารย์และนักศึกษาสาขาธุรกิจระหว่างประเทศ และนำผลสำรวจเข้าที่ประชุม เพื่อจัดสรรสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน โดยนำผลการประเมินสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนจากนักศึกษาและอาจารย์ ในปีการศึกษา 2564 มาใช้เป็นข้อมูลร่วมในการพิจารณาและเสนอไปยังคณะและมหาวิทยาลัยเพื่อรอการอนุมัติ ทำให้ในช่วงปีการศึกษา 2565 ซึ่งยังอยู่ในช่วงสถานการณ์ Covid19 สาขาได้ใช้ Microsoft Team ในการเรียนการสอน ทำให้มีความสะดวกและสามารถติดตามงานจากนักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องทุกปีการศึกษา
จำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
การนำผลประเมินความพึงพอใจของอาจารย์และนักศึกษาต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ในปีการศึกษา 2564 มาปรับปรุงการดำเนินงานในปีการศึกษา 2565 ส่งผลให้มีการซ่อมแซมคอมพิวเตอร์ที่ยังใช้งานได้ ในห้องคอมพิวเตอร์ของวิทยาลัยนานาชาติ และจัดเก็บคอมพิวเตอร์ที่ใช้การไม่ได้ ทำให้มีห้องคอมพิวเตอร์แลป เปลี่ยนเป็นห้องเรียนเพิ่มขึ้นอีก 1 ห้อง  รวมทั้งมีการไปใช้งานห้องคอมพิวเตอร์แลปที่ตึก19 ตึกสถาปัตย์ ทำให้นักศึกษาสามารถใช้เรียนวิชาภาคปฎิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทุกรายวิชา IB มีการกำหนดให้นักศึกษาส่งการบ้านใน Microsoft Team ทำให้ง่ายต่อการจัดการในการให้คะแนน และติดตามการส่งงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และอาจนำมาใช้เป็นจุดขายในการประชาสัมพันธ์หลักสูตรได้อีกด้วย
กระบวนการปรับปรุงตามผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลังจากได้ดำเนินการจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้แล้ว ในช่วงปลายเทอม 1 ของปีการศึกษา 2565 สาขาฯ ให้นักศึกษาและอาจารย์ทำการประเมินความพึงพอใจต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ โดยผลการประเมินของนักศึกษารวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก (4.75) นอกจากนี้ผลการประเมินสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนของอาจารย์โดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก (4.80) 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 6 (1 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 3.00 คะแนน

รายงานผลการวิเคราะห์จุดเด่น/จุดแข็ง แนวทางเสริม จุดที่ควรพัฒนา และแนวทางปรับปรุง

จุดเด่นและแนวทางเสริม

  1. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาเอกสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และมีคุณวุฒิในศาสตร์ที่หลากหลายแต่เป็นประโยชน์ต่อหลักสูตร
  2. หลักสูตรมีคณาจารย์ที่สร้างและเผยแพร่ผลงานวิชาการในค่าคะแนนที่สูง และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
  3. คะแนนเฉลี่ยรวมคุณภาพบัณพิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561 อยู่ในระดับดีมาก
  4. หลักสูตรส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาในกิจกรรมต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม เช่น การแข่งขัน Sale Competition เป็นต้น
  5. หลักสูตรมีจำนวนรับนักศึกษาที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และมีระดับคะแนนความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต และ ของนักศึกษาที่อยู่ในระดับสูงมาก ควรนำมาถอดบทเรียนเพื่อเป็นกรณีศึกษาให้กับหลักสูตรอื่นๆ เป็นกรณีศึกษาต่อไป
  6. หลักสูตรมีการจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เพียงพอและเหมาะสมในสถานการณ์ที่นักศึกษามีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น

จุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง

  1. อัตราการสำเร็จการศึกษา ปี 2563 - 2565 จำนวนน้อยลงและมีแนวโน้มลดลง ทางหลักสูตรควรหาแนวทางแก้ไขเพื่อให้นักศึกษามีอัตราการสำเร็จการศึกษามากขึ้น
  2. อัตราการคงอยู่ของนักศึกษา ปี 2563 - 2565 มีแนวโน้มลดลง ควรหาแนวทางแก้ไขเพื่อให้นักศึกษามีอัตราการสำเร็จการศึกษามากขึ้น
  3. ควรส่งเสริมให้อาจารย์สะสมผลงานทางวิชาการเพื่อขอดำรงตำแหน่งทางวิชาการ

สรุปผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลดำเนินการ
กรรมการ
1.1 การบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่กำหนดโดยสกอ. ผ่าน
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ.2561 4.58
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี 5.00
3.1 การรับนักศึกษา 4.00
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา 4.00
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา 3.00
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์ 4.00
4.2 คุณภาพอาจารย์ 3.33
4.3 ผลที่เกิดกับอาจารย์ 4.00
5.1 สาระของรายวิชาในหลักสูตร 3.00
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน 3.00
5.3 การประเมินผู้เรียน 3.00
5.4 ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 5.00
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 3.00
ผลการประเมินเฉลี่ยรวม [13 ตัวบ่งชี้] 3.76

การวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาภายใน ของคณะกรรมการประเมิน ฯ

องค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
1 ผ่านการประเมิน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 2 - - 4.79 4.79 ระดับคุณภาพดีมาก
3 3 3.67 - - 3.67 ระดับคุณภาพดี
4 3 3.78 - - 3.78 ระดับคุณภาพดี
5 4 3.00 3.67 - 3.50 ระดับคุณภาพดี
6 1 - 3.00 - 3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
ผลการประเมิน 3.62 3.50 4.79 3.76 ระดับคุณภาพดี
ระดับคุณภาพ ระดับคุณภาพดี ระดับคุณภาพดี ระดับคุณภาพดีมาก