รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ [นนช.]

วันที่ประเมิน: 14 สิงหาคม 2567, 09:30น.

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

[ตัวบ่งชี้ 1.1] การบริหารการจัดการหลักสูตรตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร

เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
1. จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
2. คุณสมบัติอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม

ระบุชื่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่ผลงานวิชาการในรอบ 5 ปี หมดอายุในปีการศึกษาที่ตรวจ (ต้องเพิ่มผลงานชิ้นใหม่ในปีการศึกษาหน้า)

  1. ดร. นวลอนงค์ พันธ์มณี 
ข้อคิดเห็น
- ชื่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร คนที่ 4 ดร. นวลอนงค์ พันธ์มณี มีผลงานทางวิชาการ ในรอบ 5 ปีการศึกษาย้อนหลังตามแบบรับรองหน้า24 จำนวน 1 ชิ้น April 2019(ปีการศึกษาแต่รายงานในหน้า14 ว่าปี 2566 อาจารย์ต้องเพิ่มผลงานชิ้นใหม่ให้ทันปีการศึกษา 2567


 
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
[สำหรับประเภทวิชาชีพ/ปฏิบัติการ]
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 2 ใน 5 คน ต้องมีประสบการณ์ในด้านการปฏิบัติการ
ระบุข้อคิดเห็น
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม

ระบุชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตรที่ผลงานวิชาการในรอบ 5 ปี หมดอายุในปีการศึกษาที่ตรวจ (ต้องเพิ่มผลงานชิ้นใหม่ในปีการศึกษาหน้า)

  1. ดร. นวลอนงค์ พันธ์มณี
ข้อคิดเห็น
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
4. คุณสมบัติอาจารย์ผู้สอน ที่เป็นอาจารย์ประจำ
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน ที่เป็นอาจารย์พิเศษ
ข้อคิดเห็น
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ผลการประเมินจากผลการดำเนินงาน ตัวบ่งชี้ 1.1

องค์ประกอบที่ 2 การผลิตบัณฑิต

[ตัวบ่งชี้ 2.1] คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และ ด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ.2561

หมายเหตุ : *
(1) จำนวนบัณฑิตทั้งหมด หมายถึง ผู้รับปริญญา ในปีการศึกษา 2565 ประกอบด้วย บัณฑิตที่จบภาคการศึกษา 1/2565 , 2/2565 และ S/2566 [ปีต้องอัพเดตตามปีการศึกษาที่ประเมินย้อนหลัง 1 ปี]
(2) จำนวนบัณฑิตที่รับการประเมินจากผู้ใช้บัณฑิตต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาตาม (ข้อ1)

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
จำนวนบัณฑิตทั้งหมด 29 4.68
จำนวนบัณฑิตที่ได้รับการประเมินทั้งหมด 24
คะแนนเฉลี่ยรวมคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561 4.68
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
มีระดับคะแนนอยู่ในระดับดีมาก โดยเฉพาะด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขฯ 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 2.2] ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี

หมายเหตุ : *
(1) จำนวนบัณฑิตทั้งหมด จะต้องตรงกับตาราง ตัวบ่งชี้ 2.1
(2) จำนวนบัณฑิตที่ตอบแบบสำรวจจะต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
จำนวนบัณฑิตทั้งหมด 29 5.00
จำนวนบัณฑิตที่ตอบแบบสำรวจ 24
จำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษา [มีงานทำในองค์กร] 20
จำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษา [ประกอบอาชีพอิสระ] 2
จำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษา [ประกอบกิจการส่วนตัว/ธุรกิจครอบครัว] 2
จำนวนบัณฑิตที่ไม่ได้งานทำ 0
จำนวนบัณฑิตที่ศึกษาต่อ 0
จำนวนบัณฑิตที่อุปสมบท 0
จำนวนบัณฑิตที่เกณฑ์ทหาร 0
จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาที่มีงานทำก่อนเข้าศึกษา 0
ร้อยละที่ได้ 100.00
ผลลัพธ์ที่ได้ 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-บัณฑิตมีงานทำได้เต็มจำนวน 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 2 (2 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 4.84 คะแนน

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

[ตัวบ่งชี้ 3.1] การรับนักศึกษา

คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การรับนักศึกษา:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรฯได้ประมาณการไว้ว่าในปีการศึกษา 2566 จะมีจำนวนนักศึกษาเข้าศึกษาใหม่ประมาณ 70 คน อย่างไรก็ตาม หลักสูตรใช้เอกสารอ้างอิงข้อมูลจำนวนนักศึกษาที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2566รายวิชาที่สาขาเปิดสอน ค่าสอน FTES ของสำนักงานงบประมาณ มหาวิทยาลัยรังสิต ทั้งนี้นักศึกษาที่ขึ้นทะเบียนการศึกษาจริงทั้ง 3 ภาคการศึกษา ในปีการศึกษา 2566 มี จำนวนรวมทั้งสิ้น 147 คน โดยแบ่งออกเป็น 3 ภาคการศึกษาดังนี้
            S/66 จำนวน 62 คน
            1/66 จำนวน 43 คน
            2/66 จำนวน 42 คน




 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- หลักสูตรควรแสดงจำนวนนักศึกษารายชั้นปีรวมทั้งนักศึกษาใหม่ตามนิยามประกันคุณภาพคือ จำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียน ณ วันสิ้นสุดการลงทะเบียนภาคการศึกษาที่ 2 ไม่ใช่จำนวน FTES 3 ภาคการศึกษารวมกัน แล้วทำการประเมินกระวนการผ่านผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทั้งเชิงปริมาณ(จำนวนนักศึกษาใหม่รับเข้าตามเป้า RQF2 หรือไม่) และเชิงคุณภาพคือ ร้อยละนักศึกษาใหม่ที่มีคุณสมบัติตามที่หลักสูตรกำหนด ( คุณสมบัติขั้นพื้นฐานในการรับสมัคร คือมีคุณสมบัติทั่วไปและคุณวุฒิทางการศึกษาครบถ้วนตรงตามที่หลักสูตรกำหนด และมีผลการทดสอบมาตรฐานทางภาษาอังกฤษได้แก่ TOEFL (Standard score 500, IBT 61 หรือ CBT 173) หรือ IELTS (Standard score 5.5)
 
การเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาใหม่ประกอบไปด้วยการปฐมนิเทศ แบ่งออกเป็น 3 รอบได้แก่
            - การปฐมนิเทศของทางมหาวิทยาลัย
            - การปฐมนิเทศระดับวิทยาลัย
            - การปฐมนิเทศระดับสาขาวิชา
            - การปฐมนิเทศระดับ Foundation

          สำหรับนักศึกษาสาขาธุรกิจระหว่างประเทศที่เข้าเรียนในช่วงเทอม Summer และภาคการศึกษาที่ 1 และ 2 ทางสาขาวิชาฯได้จัดปฐมนิเทศโดยกำหนดการปฐมนิเทศคือวันศุกร์ ก่อนเปิดภาคเรียน

          การเตรียมความพร้อมด้านทักษะภาษาอังกฤษ: ในปีการศึกษา 2566 พบว่าโครงการ  “International Language Center” ที่มีลักษะการให้ความรู้ คำปรึกษาเกี่ยวกับภาษาอังกฤษ หลังจากดำเนินโครงการไปได้ระยะหนึ่ง ผลปรากฏว่าเสียงตอบรับจากนักศึกษาชั้นปี 1 ดีเกินความคาดหมายในเรื่องของประโยชน์ ความรู้ที่ได้จากรุ่นพี่ เมื่อพิจารณาจากผลประเมินความพึงพอใจเรื่องการให้บริการ (ด้านเตรียมความพร้อมของนักศึกษาแรกเข้า ซึ่งเป็นแบบสอบถามเดียวกับที่ใช้สำรวจความเห็นของนักศึกษารหัส 66 ในปีที่ผ่านมา) พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับนักศึกษาในปี 2565
         หลังจากนักศึกษาแรกเข้ามีการประเมิน Pre test ในปีการศึกษา 2566 และจำแนกนักศึกษาเข้าเรียน Plan A (ปรับพื้นฐานระดับที่ 1) Plan B (ปรับพื้นฐานระดับที่ 2 ) or Plan C (เรียนหลักสูตรปกติ) นั้น  นักศึกษาได้เข้าร่วมโครงการ “International Language Center” เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2565 ผลการทดสอบ English Language Proficiency ของ B2 หรือสูงกว่า คิดเป็น 80.7%



 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรควรระบุปัญหาความพร้อม และ mapping กิจกรรมการเตรียมความพร้อม ทำการประเมินผลในทุกด้าน เช่น ค่าร้อยละจำนวนนักศึกษาใหม่ที่มีความพร้อมด้านที่ 1 ,2 และ 3 เป็นต้น
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 3.2] การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา

คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษาปริญญาตรี:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
สาขาวิชาฯ ได้จัดให้อาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอนร่วมชาวไทยทุกคนต้องดูแลให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาต่อเนื่องไปจนจบหลักสูตร  โดยมีหน้าที่ดังนี้
            1. ดูแลเอาใจใส่นักศึกษาด้านวิชาการและเรื่องส่วนตัว   หากนักศึกษามีปัญหาจะมีการติดต่อผู้ปกครอง เพื่อรับทราบปัญหา
            2. ให้เวลาแก่นักศึกษาเพื่อปรึกษาในเรื่องต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ คือมีเวลาให้นักศึกษาพบได้ (office hours) สัปดาห์ละ 6 ชั่วโมงรวมทั้งเพิ่มช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษา โดย ผ่านสื่อ Social Media ได้สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
            3. จัดทำข้อมูลประวัตินักศึกษาให้ทันสมัยตลอดเวลา
            4. ช่วยเหลือนักศึกษาให้สามารถวางแผนการเรียนได้เหมาะสมไม่เกิดปัญหา ในการลงทะเบียนและปัญหาการเรียนที่เกิดจากการไม่รู้ข้อมูลของนักศึกษา


 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
1.หลักสูตรรายงานผลการดำเนินงานเป็นของปีการศึกษา 2565 (หน้า 38)
2.หลักสูตรไม่ได้รายงานผลการประเมินความพึงพอใจและความเห็นของนักศึกษาต่อการทำหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาหรือระบบควบคุมดูแลอื่นๆ  เพื่อนำผลจากการประเมินดังกล่าวมาปรับปรุงการควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษาปริญญาตรี


- ผลการดำเนินงานที่มีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนจำนวน 5 คนนั้น  ไม่พบอยู่ในระบบและกลไก หรือ เป้าหมายที่ได้กำหนดเป็นประเด็นสำคัญทำให้เกิดผลการดำเนินงานดังกล่าว
- การกำหนดระบบและกลไกในการให้คำปรึกษา อาจมีการกำหนดเป้าหมาย เป็นทิศทางดำเนินงาน เพิ่มเติมจากแนวปฏิบัติที่ได้กำหนดไว้แล้วนั้น


 
การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรกำหนดทักษะในการพัฒนานักศึกษาคือ

            1. ความสามารถด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษ: จัดให้มีโครงการเตรียมความพร้อมด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษก่อนเข้าเรียนวิชาเฉพาะในหลักสูตร (Foundation English) จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาภาษาอังกฤษ ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลางในการสอนตามหลักสูตร
            2. ความสามารถสืบค้น เลือกใช้ วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลจากฐานข้อมูล ความรู้ต่าง ๆ ในระบบสารสนเทศ: กำหนดให้มีการศึกษาค้นคว้า ทำรายงานโดยค้นคว้าจากฐานข้อมูลทางวิชาการ กำหนดให้นักศึกษาใช้บริการห้องปฏิบัติการทางภาษาเพื่อการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
            3. ความสามารถด้านภาวะการเป็นผู้นำความรับผิดชอบตลอดจนมีวินัยในตนเอง: กำหนดให้มีรายวิชาซึ่งนักศึกษาต้องทำงานเป็นกลุ่ม และมีการกำหนดหัวหน้ากลุ่มในการทำรายงาน ตลอดจนกำหนดให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการนำเสนอรายงาน เพื่อเป็นการฝึกฝนให้นักศึกษาได้สร้างภาวะผู้นำและการเป็นสมาชิกกลุ่มที่ดี กำหนดกฎเกณฑ์เพื่อสร้างวินัยในตนเอง เช่น การเข้าเรียนตรงเวลา การเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
            4. ความมีคุณธรรม จริยธรรม ถ่อมตนและทำหน้าที่เป็นพลเมืองดี: กำหนดให้ส่งเสริมและสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมระหว่างการเรียนการสอนในแต่ละรายวิชา รวมถึงจัดกิจกรรมปัจฉิมนิเทศ


กิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
            1. Hands-on experience 2023 from IT&CMA event by Singaporean partner. งานนี้จัดขึ้นที่เซ็นทรัลเวิลด์ในกรุงเทพฯ โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะที่จำเป็นในการทำงานเป็นทีม ความเป็นผู้นำและผู้ตาม การสื่อสาร การตัดสินใจ และการแก้ปัญหา
            2. RSU Speech Contest 2024: Let’s go green for our future.
            3. Hack The Zodiac 2024 Hackathon! การใช้ AI อย่างสร้างสรรค์เพื่อความยั่งยืนทำให้คุณแตกต่างอย่างแท้จริง
            4. The seminar on "Your Future Now!" centers on AI integration in businesses using Chat-GPT.
            5. Startup class had the privilege of hosting Mr. Michael Yang, CEO of Kindness.

กิจกรรมที่ร่วมกับนักศึกษานอกคณะ ทั้ง Thai and Non-Thai  “ Academic integration”
            1. The Building Game  22 April 2024 English integration กิจกรรมเกมก่อสร้างนำความสนุกสนานและความท้าทายมาสู่นักเรียน และยังเป็นตัวเลือกที่ยอดเยี่ยมสำหรับการสร้างมิตรภาพระหว่างนักเรียนต่างชาติและชาวไทย  ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้วัฒนธรรมของแต่ละประเทศ
            2. BA211/IMK433/IBM275 Thai-Inter Workshop Day เปิดโอกาสให้นักศึกษาทั้งชาวไทยและต่างชาติได้เรียนรู้แนวคิดและเครื่องมือทางธุรกิจในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย แลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่า ส่งเสริมการทำงานร่วมกันและการเรียนรู้ที่สำคัญเพื่อการพัฒนาในอนาคตทั้งในกลุ่มนักศึกษาและอุตสาหกรรมธุรกิจ
            3. สร้างสรรค์วัฒนธรรมแบบไทยนานาชาติ ผ่านการร่วมมือในกิจกรรมเลโก้ นศ.ไทย-ต่างชาติ ร่วมมือกันทักษะการจัดการข้ามวัฒนธรรมผ่านกิจกรรมเลโก้  
ที่คณะบริหารธุรกิจ นักเรียนทั้งชาวไทยและต่างชาติกำลังฝึกฝนทักษะการจัดการข้ามวัฒนธรรมผ่านกิจกรรมเลโก้ ด้วยการถอดรหัสคำสั่งในภาษาต่างๆ และนับชิ้นส่วนเลโก้ พัฒนาการทำงานเป็นทีม การสื่อสาร และการรับรู้ทางวัฒนธรรม แบบฝึกหัดภาคปฏิบัติเหล่านี้เป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับความสำเร็จในภูมิทัศน์ทางธุรกิจที่หลากหลายในปัจจุบัน
            4. การแลกเปลี่ยนภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชาวไทยและชาวต่างชาติ วิชา IBM445 Cross Cultural Management เพื่อยกระดับทักษะการสื่อสาร ส่งเสริมความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรม
            5. Explore the Food Workshops  On Dec 5th นักเรียนจาก IB จำนวน 15 คน ได้มีโอกาสเข้าร่วมและสำรวจเวิร์คช็อปอาหารที่จัดโดยโครงการนวัตกรรมการเกษตรและชีววิทยา   ในกิจกรรมนี้ นักเรียนได้รับประสบการณ์อันหลากหลายจากนวัตกรรมทางเทคโนโลยีด้านอาหาร มอบโอกาสที่ดีในการเรียนรู้ทักษะการทำอาหาร และสำรวจวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรและชีววิทยา
            6.The English Exchange activity for Thai and Non Thai students. วิทยาลัยนานาชาติ  เทคนิคการแพทย์ บริหารธุรกิจ

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรควรทำ mapping ระหว่างทักษะต่าง ๆ กับกิจกรรมต่าง ๆ ให้ชัดเจน(อาจจะ map กับ ylo ด้วย) กำหนดตัวชี้วัดสัมฤทธิผลการพัฒนาทักษะ เช่นค่าร้อยละนักศึกษาที่มีทักษะตามวัตถุประสงค์รายกิจกรรม เพื่อนำผลประเมินไปปรับปรุงกระบวนการ
 
การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในการส่งเสริมให้เกิดการสร้างผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1.สาขากำหนดรายวิชา IPO302 Research Methods จำนวน 3 หน่วยกิต ไว้ในหลักสูตร เพื่อเป็นวิชาที่ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ในการทำงานวิจัย
2.จากปีการศึกษา 2566 พบว่านักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการทำวิจัยผ่านวิชา IPO302 Research Methods ซึ่งมุ่งฝึกผู้เรียน และสามารถกำหนดรวมทั้งสร้างหัวข้อวิจัยที่เหมาะสม ในการออกแบบงานวิจัย การวิจัยขั้นปฐมภูมิและทุติยภูมิ วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ การนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การใช้วรรณกรรมที่มีอยู่ การคิดและเขียนเชิงวิพากษ์ ที่จะส่งผลต่อหัวข้อที่นักศึกษาสนใจสำหรับอนาคตได้อีกด้วย เพราะนักศึกษาสามารถบูรณาการรายวิชา Research Methods ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งนักศึกษาก็ได้ดำเนินงานวิจัยโดยเป็นไปตามหัวข้อที่ตนเองสนใจ โดยนักศึกษามีโอกาสเข้าร่วมงานวิจัยระดับนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ทุกปี ส่งผลให้อาจารย์และนักศึกษามีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติยิ่งขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ




 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรควรรายงาน
1.ร้อยละนักศึกษาที่มีทักษะการวิจัย
2.ร้อยละผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมของนักศึกษาที่สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ
แล้วประเมินผลเทียบกับเป้าหมาย และนำผลประเมินไปปรับปรุงกระบวนการ


และขอให้เพิ่มเติมข้อมูลจากการปรับปรุงกระบวนการฯ ในหน้า 45 ิที่แสดงถึงนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อฝึกฝนทักษะ ความเชี่ยวชาญ การแสดงออก ทัง้ 4 รายงาน (เพิ่มข้อมูล วันที่ เดือน พ.ศ.ที่จัดกิจกรรม และ อาจเพิ่มเป้าหมาย ระบบ กลไก หรือ การวางแผน  การสนับสนุนส่งเสริมเพื่อให้นักศึกษาได้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว และทำให้ได้รางวัลกลับมา


 
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 3.3] ผลที่เกิดกับนักศึกษา

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การคงอยู่
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2564
ร้อยละ 63.41
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2565
ร้อยละ 60.61
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2566
ร้อยละ 65.67
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
การสำเร็จการศึกษา
ร้อยละอัตราสำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2564
ร้อยละ 10.98
ร้อยละอัตราสำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2565
ร้อยละ 18.18
ร้อยละอัตราสำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2566
ร้อยละ 7.46
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรควรกำหนดมาตรการเพิ่มอัตราการสำเร็จการศึกษา หรือการบริหารความเสี่ยงในการมีอัตราการสำเร็จการศึกษาสูงขึ้น
ความพึงพอใจและผลการจัดการข้อร้องเรียนของนักศึกษา
ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาเฉลี่ย ปีการศึกษา 2564 ร้อยละ 4.70
ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาเฉลี่ย ปีการศึกษา 2565 ร้อยละ 4.72
ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาเฉลี่ย ปีการศึกษา 2566 ร้อยละ 4.74
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 3 (3 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 3.00 คะแนน

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

[ตัวบ่งชี้ 4.1] การบริหารและพัฒนาอาจารย์

คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
ระบบการรับและแต่งตั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
สาขาวิชาได้นำกระบวนการการรับและแต่งตั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมาทบทวนร่วมกับหลักสูตรปริญญาโทด้านการธุรกิจดิจิทัลระหว่างประเทศ เนื่องจากสามารถวางแผนรายวิชาร่วมสอนและบริหารจำนวนวิชาสอนตามปริมาณงานสอนต่อปีได้อย่างเหมาะสม โดยในปีการศึกษา 2566  ไม่ได้รับอาจารย์ใหม่ แต่ได้พิจารณาอาจารย์พิเศษที่มีความสามารถในวิชาอื่นๆมาสอน เช่น ผศ.ดร.ยศ อมรกิจวิกัย จากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ.ดร.พรลภัส สุวรรณรัตน์ และดร.อลิสา โซนี่ จากคณะบริหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นต้น
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ระบบการบริหารอาจารย์:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
สาขาธุรกิจระหว่างประเทศนำระบบและกลไกของการบริหารหลักสูตรของวิทยาลัยนานาชาติมาใช้ในการบริหารอาจารย์ โดยมีรายละเอียดดังนี้
            1. วิเคราะห์อัตรากำลังของอาจารย์ในสาขาและสถานการณ์การคงอยู่ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกี่ยวกับการสร้างแรงจูงใจ และการจัดสรรงบประมาณในการบริหารอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

            2. จัดทำแผนการบริหารอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรโดย
                        2.1 ควบคุมดูแลให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้ปฏิบัติหน้าที่ในการบริหารและพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน ตั้งแต่การวางแผน การควบคุมคุณภาพ การติดตามประเมินผลและการพัฒนาหลักสูตร ตามที่กำหนดไว้ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร พ.ศ. 2558
                        2.2 การกำหนดวาระการทำงานของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ให้มีวาระ 5 ปี เมื่อครบวาระต้องได้รับการอนุมัติให้ต่ออายุได้โดยคณบดีและคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยนานาชาติ
                        2.3 การวางแผนทดแทนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ในกรณีที่เกษียณอายุราชการ
ลาศึกษาต่อ  หรือลาออก
                        2.4 มีการสร้างแรงจูงใจ เช่น การให้เวลาและงบประมาณในการทำผลงานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและสาขาที่เชี่ยวชาญ การสนับสนุนการศึกษาดูงาน

            3. ดำเนินการรักษาอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรตามแผนบริหารความเสี่ยง
สาขาวิชาได้นำระบบและกลไกของการบริหารหลักสูตรมาทบทวนร่วมกันร่วมกันอีกครั้งใน เทอม 2/2566 พบว่าประเด็นเรื่องการให้แรงจูงใจในการผลิตผลงานทางวิชาการควรครอบคลุมถึงการให้โอกาสอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้ทำงานที่คั่งค้างให้เสร็จสิ้นโดยไม่มีการแทรกแซงของภาระงานสอนของหลักสูตร จึงขออนุญาตให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้หมุนเวียนกันใช้เวลาในการทำผลงานวิจัยที่แต่ละคนรับผิดชอบให้แล้วเสร็จ โดยไม่ต้องเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ใน 1 วันต่อสัปดาห์ โดยกำหนดให้อาจารย์เลือกวันที่จะทำงานวิจัยได้อาทิตย์ละ 1วัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเลือกวันศุกร์


 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- หลักสูตรควรรายงานผลตามแผนอัตรากำลังถึงการวิเคราะห์อัตรากำลังของอาจารย์ในสาขาและสถานการณ์การคงอยู่ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และไม่พบหลักฐานแผนอัตรากำลังในระบบ dbs
- การวางแผนการพัฒนาอาจารย์เป็นรายบุคคล โดยเฉพาะการนำผลการประเมินที่พบว่า อาจารย์บางท่านยังขาดความรู้ความเข้าใจในองค์ความรู้ในบางเรื่อง และขาดทักษะในการเขียนบทความ ซึ่งควรใช้ข้อมูลนี้เป็นแนวทางการวางแผนการบริหารอาจารย์ให้มีความรู้ ความสามารถในองค์ความรู้นั้น เพิ่มเติม
ระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ให้มีคุณภาพทั้งด้านความรู้ ความสามารถในเนื้อหาวิชาที่รับผิดชอบ สามารถก้าวทันวิทยาการสมัยใหม่ มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ การวิจัย และการพัฒนาศาสตร์ในสาขาวิชาที่รับผิดชอบ:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
สาขาวิชาฯ ได้นำระบบและกลไกของการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมาทบทวนร่วมกันอีกครั้ง พบว่าประเด็นสำคัญเรื่องหนึ่งที่อาจารย์ส่วนใหญ่ไม่สามารถทำให้ลุล่วงได้ตามแผนพัฒนารายบุคคล คือเรื่องการขอตำแหน่งวิชาการ ซึ่งหนึ่งในข้อกำหนดตามเกณฑ์คือการเผยแพร่ผลงานวิชาการที่มีคุณภาพ เมื่อพิจารณาแล้วพบว่ามีสองสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอุปสรรคในการดำเนินการคือ
            1. อาจารย์บางท่านยังขาดความรู้ความเข้าใจในองค์ความรู้ในบางเรื่อง
            2. อาจารย์ขาดทักษะในการเขียนบทความ โดยเฉพาะบทความวิจัยในหัวข้อและมิติที่ไม่คุ้นเคย

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
1.หลักสูตรควรจัดทำแผนการพัฒนาอาจารย์เป็นรายบุคคลให้ครอบคลุมทั้งด้านความรู้ ความสามารถในเนื้อหาวิชาที่รับผิดชอบ สามารถก้าวทันวิทยาการสมัยใหม่ มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ การวิจัย และการพัฒนาศาสตร์ในสาขาวิชาที่รับผิดชอบ  และเนื้อหาของแผนพัฒนาอาจารย์เป็นรายบุคคล (IDP) ในระบบ DBS ไม่ได้แสดงกิจกรรมการพัฒนาของแต่ละบุคคล ตามรูปแบบแผน IDP ของระบบ HRD แต่เป็นกำหนดการประชุมและกำหนดการกำกับติดตามการทำ IDP
2.หลักสูตรควรมีแผนในการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

 
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
หลักฐาน ธปบ.4.1.02 แผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล วิทยาลัยนานาชาติ ปีการศึกษา 2566 ไม่ชัดเจนตามแผน IDP ของ HRD
 

[ตัวบ่งชี้ 4.2] คุณภาพอาจารย์

4.2.1 ร้อยละของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้งหมด 5 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 3
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 60.00
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 20 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
4.2.2 ร้อยละของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้งหมด 5 0.00
[2] ไม่มีตำแหน่งทางวิชาการ [อาจารย์] 5
[3] ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ 0
[4] ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ 0
[5] ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ 0
[6] ดำรงตำแหน่งทางวิชาการทั้งหมด [3] + [4] + [5] 0
[7] ร้อยละที่ได้ [6] X 100 / [1] 0.00
[8] ผลลัพธ์ที่ได้ [7] x 5 / 60 0.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- วางแผนการเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ
4.2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
จำนวนผลงานทางวิชาการตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 6 0 0 0
จำนวนผลงานสร้างสรรค์ตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 0 0 0
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] ผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ 2.40 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้งหมด 5
[3] ร้อยละที่ได้ [1] X 100 / [2] 48.00
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 20 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- สนับสนุนให้ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ ทุกท่าน ได้สร้างผลงานวิชาการอย่างต่อเนื่อง  , เผยแพร่ในฐานข้อมูลที่สูงขึ้น
รายการหลักฐาน ตัวบ่งชี้ 4.2 คุณภาพอาจารย์
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ตัวบ่งชี้ 4.2 คุณภาพอาจารย์ คะแนนที่ได้ 3.33 คะแนน

[ตัวบ่งชี้ 4.3] ผลที่เกิดกับอาจารย์

หมายเหตุ :
(1) ยกเว้นกรณี การเกษียณอายุงาน และการเสียชีวิต
(2) หากรายชื่อมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากปรับเข้าเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร พ.ศ. 2558 ให้ถือว่าอัตราการคงอยู่ครบในปีการศึกษาแรกที่ปรับเข้าเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร 2558
(3) หากรายชื่อที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบท่านใหม่ต้องมีประสบการณ์ร่วมบริหารหลักสูตรมาไม่น้อยกว่า 9 เดือน (มีหลักฐานรายงานการประชุมภาควิชาหรือการประชุมหลักสูตร)
(4) รายงานถึงสิ้นสุดปีการศึกษา 2566 และจะได้รับการประเมินแนวโน้มผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นต้องประเมิน จาก ≥ 3 ชุดข้อมูล
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การคงอยู่ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2564
ร้อยละ 100.00
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2565
ร้อยละ 100.00
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2566
ร้อยละ 100.00
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ความพึงพอใจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีต่อการบริหารหลักสูตร
ความพึงพอใจ ในปีการศึกษา 2564 ร้อยละ 4.73
ความพึงพอใจ ในปีการศึกษา 2565 ร้อยละ 4.77
ความพึงพอใจ ในปีการศึกษา 2566 ร้อยละ 4.77
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
มีข้อสังเกตุว่าผลประเมินรายข้อย่อยมีค่าคะแนนเท่ากันหมดในทุกข้อทั้งปี 2565 และ 2566
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
คะแนนที่ได้ 4
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
มีการรายงานครบทุกเรื่องและมีแนวโน้มดีทุกเรื่อง 

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

[ตัวบ่งชี้ 5.1] สาระของรายวิชาในหลักสูตร

41
36
87.80
คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การออกแบบหลักสูตร และสาระรายวิชาในหลักสูตรที่ปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน มีหลักสูตรหรือรายวิชาที่เป็นความร่วมมือกับสถานประกอบการ
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
            1. รายวิชา IBM335 International Entrepreneurship เป็นลักษณะ Active Learning โดยเน้นการแข่งขันทักษะทางด้านการขาย B2B Sales Skill Competition โดยการแข่งขันจะใช้ case จากธุรกิจที่ประกอบการจริงทั้งด้านผู้ซื้อและผู้ขาย การฝึกฝนในห้องเรียนจะฝึกให้นักเรียนเป็นผู้ขาย และในการแข่งขันระดับรอบชิงชนะเลิศ จะเชิญบริษัทผู้ขายจริงมาเป็นกรรมการตัดสิน โดยผู้ชนะการแข่งขัน 4 อันดับแรกจะมีโอกาสไปแข่งขันในระดับระหว่างประเทศ (SEASAC Sales Competition, Indonesia Online) และเข้าร่วมการแข่งขันออนไลน์การขายระดับ National TNSC2023 ถือเป็นการพัฒนานักศึกษาด้าน Career and Learning Skills และ Critical Thinking and Problem Solving
            2. รายวิชา IFN431 International Financial Markets and Institutions นำผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์จากสถาบันการเงินและการตลาด การเงิน มาให้ความรู้นักศึกษาได้แก่ MSIG, SE, PwC  และยังนำนักศึกษาไปเยี่ยมชมกระทรวงพาณิชย์ เพื่อให้มีวิสัยัทศน์ในการใช้ประโยชน์จากองค์กรของรัฐบาล
            3.  รายวิชา IBM492 Current Issues in International Business สอนให้นักศึกษาเข้าสู่การแข่งขัน Business Pitching


 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรควรรายงานผลการออกแบบหลักสูตร และสาระรายวิชาในหลักสูตรที่ปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน มีหลักสูตรหรือรายวิชาที่เป็นความร่วมมือกับสถานประกอบการ ประเมินผลความสำเร็จตามวัตถุประสงค์รายวิชาที่มีการปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน มีหลักสูตรหรือรายวิชาที่เป็นความร่วมมือกับสถานประกอบการ
มีการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิที่ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน (Learner Person, Innovative Co-Creator, Active Citizen) ตามวิสัยทัศน์และจุดเน้นของหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2565 หลักสูตรจัดประชุมผู้รับผิดชอบหลักสูตรเพื่อวางแผนในการดำเนินการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิที่ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน (Learner Person, Co-creator, Active Citizen) ตามวิสัยทัศน์และจุดเน้นของหลักสูตรฯ ในที่ประชุมมีข้อเสนอให้ดำเนินการ ดังนี้
            1. ด้าน Learner Persons หลักสูตรฯ ส่งเสริมสนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้น
            2. ด้าน Co-Creator หลักสูตรฯ ปรับปรุงการเรียนการสอนในรายวิชา IBM335 International Entrepreneurship โดยเน้นให้นักศึกษาเป็นผู้มีทักษะทางด้านการขาย และสามารถบูรณาการศาสตร์ต่างๆ ในสายวิชาชีพด้านธุรกิจ สามารถสร้างโอกาสและเพิ่มมูลค่าให้กับตนเองได้
            3. ด้าน Active Citizen หลักสูตรฯ ปรับปรุงการเรียนการสอนในรายวิชา IMB326 IMK445 เน้นการพัฒนาทักษะการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง มีความกล้าหาญทางจริยธรรม ยึดมั่นในความถูกต้อง รู้คุณค่าและทักษะความเป็นไทย เพื่อสร้างสรรค์การพัฒนาอย่างยั่งยืนของสังคม


 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรควรายงานผลการปรับปรุงกระบวนการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิที่ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน (Learner Person, Innovative Co-Creator, Active Citizen) ตามวิสัยทัศน์และจุดเน้นของหลักสูตรที่เกิดขึ้นในปีการศึกษา 2566 
การปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าในศาสตร์สาขานั้นๆ และเชื่อมโยงกับการนำไปใช้ได้จริง
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1. รายวิชา IBM335 International Entrepreneurship ซึ่งใช้การสอนเป็นแบบ Active Learning โดยเน้นให้นักศึกษาฝึกทักษะการแข่งขันทางด้านการขาย B2B Sales Skill Competition นักศึกษาได้มีประสบการณ์การจากบริษัทที่มีอยู่จริง และผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ จะได้รับการเข้าทำงานในบริษัทนั้น
2. รายวิชา IBM498 Internship วิชาฝึกงาน ตลอดระยะเวลา 4 เดือน เป็นการให้นักศึกษาไปทำงานจริงที่บริษัท และบางบริษัทให้โอกาสนักศึกษาเข้าทำงานในบริษัทนั้นหลังจากจบการศึกษาแล้ว ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสที่ดีของนักศึกษา
3. วิชา IBM445 Cross Cultural Management นักศึกษาร่วมแข่งขันกับ Binus University
4. วิชา IBM492 Current Issues in International Business ให้มีการแข่งขัน Business Pitching
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรควรรายงานผลการดำเนินงานเชื่อมโยงกับวิชาที่มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันฯ (36 วิชา) ว่ามีรายวิชาใดที่ให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าในศาสตร์สาขานั้นๆ และเชื่อมโยงกับการนำไปใช้ได้จริง แล้วประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์รายวิชา
 
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 5.2] การวางระบบผู้สอน และกระบวนการจัดการเรียนการสอน

คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดผู้สอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ทางสาขาได้นำผลการประเมินอาจารย์ผู้สอนในปี 2565 มาใช้ในการการเลือกอาจารย์ผู้สอนด้วยกระบวนการรับรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในที่ประชุม และวางแผนวิชาที่จะสอนในปี 2566 ทั้งนี้ ในปี 2566 เน้นการสอนในรูปแบบ Project Based Learning เพิ่มขึ้น และ เน้นให้นักศึกษามีการเข้าร่วมการแข่งขันทางธุรกิจมากขึ้น โดยให้อาจารย์ในสาขาเป็นอาจารย์พี่เลี้ยงในการแข่งขันแต่ละชิ้น
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรควรรายงานผลการกำหนดผู้สอนตามความเชี่ยวชาญ คุณวุฒิ ประสบการณ์การสอน วิจัย บริการวิชาการ
การกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียนรู้ (มคอ.3 และ มคอ.4) และการจัดการเรียนการสอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
การศึกษา 2566 หลักสูตรได้มีการจัดประชุมการจัดการเรียนการสอนก่อนเปิดภาคเรียนแรกในเรื่องการกำหนดอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรให้เหมาะสมกับรายวิชา โดยเป็นการวางแผนกำหนดผู้สอนในระยะยาวครบทั้ง 3 ภาคการศึกษา เพื่อให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาได้มีเวลาในการเตรียมความพร้อมในการสอนได้อย่างเต็มที่ รวมทั้งในเรื่องการจัดสรรปริมาณการสอนให้เหมาะสมกับจำนวนอาจารย์ในหลักสูตร ทั้งนี้ได้กำหนดให้อาจารย์ที่รับผิดชอบการสอนในทุกรายวิชาต้องจัดทำแผนการเรียนการสอนประกอบในรายวิชานั้น (Course Syllabus) ตรงตามรายละเอียดใน มคอ.3 เพื่อแจกจ่ายแก่นักศึกษาภายในคาบเรียนแรกของภาคการศึกษา ซึ่งแผนการเรียนการสอนต้องผ่านการตรวจสอบเนื้อหาโดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบในทุกภาคการศึกษาที่มีการสอน เพื่อให้แผนนั้นยังคงความทันสมัยและสอดคล้องกับวิวัฒนาการด้านการประกอบวิชาชีพในแต่ละสาขาวิชา
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-หลักสูตรอาจรายงานผลตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียนรู้ (RQF.3 และ RQF.4) และการจัดการเรียนการสอน โดยกรรมการหลักสูตร
การจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีที่มีการบูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปี 2566 มีการนำพันธกิจทั้งสามด้าน ได้แก่ การบริการวิชาการ การวิจัยและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมมาบูรณาการกับรายวิชาดังรายวิชาต่อไปนี้
IPO302     Research Methodology
IBM445    Cross Cultural Management
IBM460     Global Competitive Strategy
IBM335     International Entrepreneurship
IMG336    Leadership, Negotiation and Conflict Management

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรควรรายงานผลการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์รายวิชาที่มีการบูรณาการการกับการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย เพื่อนำผลประเมินมาปรับปรุงกระบวนการ
 
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 5.3] การประเมินผู้เรียน

คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ที่ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน (Learner Person, Innovative Co-Creator, Active Citizen) ตามวิสัยทัศน์และจุดเน้นของหลักสูตร ตลอดจนมาตรฐานวิชาชีพ (ถ้ามี)
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรฯ มีการประเมินผลการรเรียนรู้ของนักศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2561 ที่ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน (Learner Person, Innovative Co-Creator, Active Citizen) ตามวิสัยทัศน์และจุดเน้นของหลักสูตร โดยจัดประชุมอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เพื่อสะท้อนปัญหาที่พบในปีการศึกษา 2562 มาปรับปรุงการดำเนินงาน พบว่าการประเมินผลการเรียนรู้ในรายวิชายังมีการดำเนินการที่ยังไม่มีประสิทธิภาพมากนัก ทำให้ส่งผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน (Learner Person, Innovative Co-Creator, Active Citizen) เพราะนักศึกษาบางคนไม่ทราบจุดแข็งและจุดอ่อนของตนเอง ทำให้ไม่สามารถพัฒนาความรู้และทักษะของตนเองให้ตรงกับสิ่งที่ตนสนใจ
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรควรรายงานสัมฤทธิผลการเรียนรู้รายวิชา เช่น ร้อยละนักศึกษาที่มี TQF.5และ DOE3 ตามที่วิชารับผิดชอบตาม curriculumn mapping 
การตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ปี 2566  สาขาฯมีกระบวนการและเครื่องมือที่ใช้ในการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาจาก สอบกลางภาค และสอบปลายภาค เป็น ให้เพิ่มการทดสอบย่อยเพิ่มขึ้น ทำให้นักศึกษาได้มีความผ่อนคลาย และสามารถทบทวนการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง  รายวิชาที่ได้มีการทวนสอบ 2 รายวิชา คือ IFN201 (Business Finance) และ IEC212 (Principles of Macroecomonics) จากรายวิชาที่เปิดสอนทั้งหมด 41 รายวิชา คิดเป็นร้อยละ 4.48  ผลลัพธ์ที่ได้จากการทวนสอบที่ให้เพิ่มการสอบย่อยบ่อยครั้งขึ้น ทำให้ ไม่มีนักศึกษาตกในวิชา IEC212 (Principles of Macroecomonics) และไม่มีนักศึกษาถอนรายวิชา IFN201 (Business Finance)
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-ข้อสังเกต จำนวนรายวิชาทวนสอบไม่ถึงร้อยละ 25
การกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอน และประเมินหลักสูตร (มคอ.5 มคอ.6 และ มคอ.7)
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในการกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอน  และประเมินหลักสูตร  (RQF.5  RQF.6  และ RQF.7) สาขาวิชามีการกำกับประเมินการจัดการเรียนการสอนและประเมินหลักสูตรดังนี้
           1. ได้ติดตามให้มีการจัดทำ RQF.5  RQF.6  และ RQF.7  ให้เสร็จตามกำหนดเวลา
           2. กำกับให้ผู้เรียนประเมินผลการสอนของตนเองโดยให้ประเมินทางออนไลน์
          
           การปรับปรุงที่เป็นรูปธรรมในรายวิชา IPO302 Research Methods

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-หลักสูตรควรอัพหลักฐาน RQF.5 บนระบบ DBS
-หลักสูตรควรรายงานสัมฤทธิผลการเรียนรู้รายวิชา และ สัมฤทธิผลการเรียนรู้หลักสูตร เพื่อประเมินผลการจัดการเรียนการสอน และประเมินหลักสูตร 
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)

[ตัวบ่งชี้ 5.4] ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

หมายเหตุ: KPI ให้สอดคล้องและเป็นไปตามที่ระบุใน มคอ.2
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
1. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรอย่างน้อยร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผน ติดตาม และทบทวนการดำเนินงานหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
2. มีรายละเอียดของหลักสูตรตามแบบ มคอ.2 ที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ หรือมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา [ถ้ามี]
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
3. มีรายละเอียดของรายวิชา และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม [ถ้ามี] ตามแบบ มคอ.3 และ มคอ.4 อย่างน้อยก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาให้ครบทุกรายวิชา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
4. จัดทำรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา และรายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม [ถ้ามี] ตามแบบ มคอ.5 และ มคอ.6 ภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่เปิดสอนให้ครบทุกรายวิชา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
5. จัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตรตามแบบ มคอ.7 ภายใน 60 วัน หลังสิ้นสุดปีการศึกษา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
6. มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ที่กำหนดใน มคอ.3 และ มคอ.4 [ถ้ามี] อย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรเปิดทำการสอนจำนวน 41 รายวิชา มีผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ที่กำหนดใน RQF.3 และ RQF.4 (ถ้ามี) จำนวน 2 วิชา คิดเป็นร้อยละ 4.48  โดยมีรายวิชาที่ทำการทวนสอบ ดังต่อไปนี้
1. IFN201 Business Finance
2. IEC212 Principles of Macroeconomics
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
7. มีการพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน หรือการประเมินผลการเรียนรู้จากผลการประเมินการดำเนินงานที่รายงานใน มคอ.7 ปีที่แล้ว
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
8. อาจารย์ใหม่ [ถ้ามี] ทุกคน ได้รับการปฐมนิเทศ หรือคำแนะนำด้านการจัดการเรียนการสอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
9. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกคนได้รับการพัฒนาทางวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
10. จำนวนบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอน [ถ้ามี] ได้รับการพัฒนาวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ต่อปี
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
11. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้าย/บัณฑิตใหม่ที่มีต่อคุณภาพหลักสูตร เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.50 จากคะแนนเต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ ได้จัดทำแบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย/ บัณฑิตใหม่ โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.74
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
12. ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตใหม่ เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.50 จากคะแนนเต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ จัดทำแบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตใหม่ โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.65
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
13. ร้อยละ 80 ของรายวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอน สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนด
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ  มีการจัดการเรียนการสอน จำนวน 41 รายวิชา โดยสามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนด คิดเป็นร้อยละ 100
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
14. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อคุณภาพการสอน รวมทุกรายวิชา เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ  มีการจัดการเรียนการสอน จำนวน 41 รายวิชา โดยมีการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อคุณภาพการสอน จำนวน 41 รายวิชา ซึ่งรวมทุกรายวิชามีคะแนนได้ผลสรุปดังนี้ 
ภาคเรียนที่ S/66 ได้คะแนนเฉลี่ย 4.52
ภาคเรียนที่ 1/66 ได้คะแนนเฉลี่ย 4.46 
ภาคเรียนที่ 2/66  ได้คะแนนเฉลี่ย 4.44 เฉลี่ย 4.48
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
15. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อทรัพยากรสนับสนุนการเรียนการสอน เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.51 จากคะแนน เต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ จัดทำแบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อทรัพยากรสนับสนุนการเรียนการสอน (ควรครอบคลุมนักศึกษาทุกชั้นปีการศึกษา) โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.81
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ผลการประเมินจากผลการดำเนินงาน ตัวบ่งชี้ 5.4
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] รวมจำนวนตัวบ่งชี้ในแต่ละปี 13 4.50
[2] จำนวนตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการผ่านเฉพาะตัวบ่งชี้ที่ 1-5 1-5
[3] ร้อยละของตัวบ่งชี้ที่ 1-5 ที่ผ่าน [ถ้าผ่านทั้ง 5 ข้อจะเป็นร้อยละ 100] 100
[4] จำนวนตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการผ่านรวม 12
[5] ร้อยละของตัวบ่งชี้ทั้งหมดที่ผ่าน 92.31
*หมายเหตุการกำหนดเงื่อนไขเกณฑ์การประเมิน
ถ้า [3] น้อยกว่าร้อยละ 100 ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 0.00
ถ้า [5] มีการดำเนินงานน้อยกว่า ร้อยละ 80 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 0.00
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 80 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 3.50
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 80.01 - 89.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 4.00
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 90.00 -94.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 4.50
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 95.00 -99.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 4.75
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 100 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 5.00
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 5 (4 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 3.38 คะแนน

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

[ตัวบ่งชี้ 6.1] สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

คะแนนที่ได้ 4
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
สาขาวิชามีการประเมินกระบวนการดำเนินงานด้านการจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้  และนำผลการประเมินความพึงพอใจมาวิเคราะห์หาแนวทางปรับปรุงและพัฒนาจนเห็นเป็นรูปธรรมทั้งในด้านสถานที่ ได้มีการจัดพื้นที่ส่วนกลางเพื่อให้นักศีกษาได้ทำกิจกรรมกลุ่ม และพบปะพูดคุยระหว่างเวลาเรียนเพิ่มเติมในบริเวณลานหน้าวิทยาลัยนานาชาติ ชั้น 2 และชั้น 5 ตึก 11 และมีการนำเทคโนโลยีและระบบสาระสนเทศมาใช้ในการสร้างแบบฝึกและแบบทดสอบ Online และมีการใช้ Microsoft Team ในรายวิชาต่างๆ
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
ระบบการดำเนินงานของภาควิชา/คณะ/สถาบัน โดยมีส่วนร่วมของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เพื่อให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
คณะกรรมการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้สำรวจและรายงานความต้องการสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน โดยตัวแทนจากสาขาวิชาภาษาธุรกิจระหว่างประเทศได้ทำการสำรวจจากอาจารย์ของสาขาธุรกิจ ระหว่างประเทศและนักศึกษาสาขาธุรกิจระหว่างประเทศ และนำผลสำรวจเข้าที่ประชุม เพื่อจัดสรรสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน โดยนำผลการประเมินสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนจากนักศึกษาและอาจารย์ ในปีการศึกษา 2565 มาใช้เป็นข้อมูลร่วมในการพิจารณาและเสนอไปยังคณะและมหาวิทยาลัยเพื่อรอการอนุมัติ ทำให้ในช่วงปีการศึกษา 2566 มีการปรับปรุงห้องเรียนอีก 3 ห้อง คือ 11-504 11-505 เป็นห้องคอมพิวเตอร์แลปและห้อง 11-506 เป็นห้องสโลป รองรับนักศึกษาได้ 120 คน เพื่อใช้ในการเรียนการสอน ทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
จำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
การนำผลประเมินความพึงพอใจของอาจารย์และนักศึกษาต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ในปีการศึกษา 2565 มาปรับปรุงการดำเนินงานในปีการศึกษา 2566 พัฒนาพื้นที่ชั้น 5 เป็นห้องแลปคอมพิวเตอร์ 2 ห้อง 11-504 11-505 และห้องเรียนเพิ่มขึ้นอีก 1 ห้อง  รวมทั้งมีการไปใช้งานห้องคอมพิวเตอร์แลปที่ตึก19 ตึกสถาปัตย์ ทำให้นักศึกษาสามารถใช้เรียนวิชาภาคปฎิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทุกรายวิชา IB มีการกำหนดให้นักศึกษาส่งการบ้านในMicrosoft Team ทำให้ง่ายต่อการจัดการในการให้คะแนน และติดตามงานส่ง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
กระบวนการปรับปรุงตามผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ปีการศึกษา 2566 สาขาวิชาให้นักศึกษาและอาจารย์ทำการประเมินความพึงพอใจต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ โดยผลการประเมินของนักศึกษารวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก (4.81) โดยแยกตามประเด็นดังนี้
            - ด้านกายภาพ อยู่ในระดับดีมาก (4.79)
            - ด้านสิ่งสนับสนุนทางการศึกษา อยู่ในระดับดีมาก (4.82)
            - ด้านระบบสารสนเทศ อยู่ในระดับดีมาก (4.82)
            นอกจากนี้ผลการประเมินสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนของอาจารย์โดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก  (4.80) โดยแยกตามประเด็นดังนี้
            - ด้านกายภาพ อยู่ในระดับดีมาก (4.95)
            - ด้านสิ่งสนับสนุนทางการศึกษา อยู่ในระดับดีมาก (4.93)
            - ด้านระบบสารสนเทศ อยู่ในระดับดีมาก (4.91)

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 6 (1 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 4.00 คะแนน

รายงานผลการวิเคราะห์จุดเด่น/จุดแข็ง แนวทางเสริม จุดที่ควรพัฒนา และแนวทางปรับปรุง

จุดเด่นและแนวทางเสริม

  1. หลักสูตรธุรกิจระหว่างประเทศอยู่ในความต้องการของตลาดที่ทันยุคทันสมัย สอดคล้องกับการพัฒนาและการบริหารงานระหว่างประเทศ โดยเน้นด้านการตลาดดิจิทัล อีกทั้งเป็นหลักสูตรนานาชาติ ที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร น่าจะเป็นที่ต้องการของภาคธุรกิจได้เป็นอย่างดี
  2. หลักสูตรมีผลประเมินคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และ ด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ.2561 อยู่ในระดับดีมาก และมีค่าอัตราการมีงานทำของบัณฑิตร้อยละ 100
  3. หลักสูตรสามารถรับนักศึกษาใหม่ได้จำนวนมากเป็นไปตามเป้าหมาย แต่หลักสูตรควรแสดงจำนวนนักศึกษารายชั้นปีรวมทั้งนักศึกษาใหม่ตามนิยามประกันคุณภาพคือ จำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียน ณ วันสิ้นสุดการลงทะเบียนภาคการศึกษาที่ 2 ไม่ใช่จำนวน FTES 3 ภาคการศึกษารวมกัน แล้วทำการประเมินกระบวนการผ่านผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทั้งเชิงปริมาณ(จำนวนนักศึกษาใหม่รับเข้าตามเป้า RQF2 หรือไม่) และเชิงคุณภาพคือ ร้อยละนักศึกษาใหม่ที่มีคุณสมบัติตามที่หลักสูตรกำหนด ( คุณสมบัติขั้นพื้นฐานในการรับสมัคร คือมีคุณสมบัติทั่วไปและคุณวุฒิทางการศึกษาครบถ้วนตรงตามที่หลักสูตรกำหนด และมีผลการทดสอบมาตรฐานทางภาษาอังกฤษได้แก่ TOEFL (Standard score 500, IBT 61 หรือ CBT 173) หรือ IELTS (Standard score 5.5)

จุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง

  1. หลักสูตรควรระบุปัญหาความพร้อมของนักศึกษาใหม่ และ mapping กับกิจกรรมการเตรียมความพร้อมต่าง ๆ ทำการประเมินผลในทุกด้าน เช่น ค่าร้อยละจำนวนนักศึกษาใหม่ที่มีความพร้อมด้านที่ 1 ,2 และ 3 เป็นต้น
  2. หลักสูตรควรรายงานผลการประเมินความพึงพอใจและความเห็นของนักศึกษาต่อการทำหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาหรือระบบควบคุมดูแลอื่นๆ  เพื่อนำผลจากการประเมินดังกล่าวมาปรับปรุงการควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษาปริญญาตรี
  3. หลักสูตรควรทำ mapping ระหว่างทักษะต่าง ๆ กับกิจกรรมพัฒนาทักษะต่าง ๆ ตามศตวรรษที่ 21 ให้ชัดเจน(อาจจะ map กับ ylo ด้วย) กำหนดตัวชี้วัดสัมฤทธิผลการพัฒนาทักษะ เช่นค่าร้อยละนักศึกษาที่มีทักษะตามวัตถุประสงค์รายกิจกรรม เพื่อนำผลประเมินไปปรับปรุงกระบวนการ
  4. หลักสูตรควรแสดงแผนพัฒนาอาจารย์เป็นรายบุคคล ตามแบบแผน IDP ของ HRD รวมทั้งแสดงแผนการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ทำการประเมินความสำเร็จตามแผนดังกล่าว
  5. หลักสูตรควรรายงานสัมฤทธิผลการเรียนรู้รายวิชา และ สัมฤทธิผลการเรียนรู้หลักสูตร เพื่อประเมินผลการจัดการเรียนการสอน และประเมินหลักสูตร  และเตรียมความพร้อมรับการ post audit หลักสูตร
  6. การเผยแพร่ผลงานของอาจารย์ผู้รับผิดชอบ ควรดำเนินการอยา่งต่อเนื่อง และควรวางแผนเผยแพร่ทุกท่าน อย่างน้อยเป็น การประชุมวิชาการ
  7. การพัฒนาตนเอง ในการเข้าร่วมกิจกรรมอบรมสัมมนา ในหัวข้อที่ผลการประเมินพบว่า ยังขาดองค์ความรู้ในด้านนั้น ๆ

สรุปผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลดำเนินการ
กรรมการ
1.1 การบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่กำหนดโดยสกอ. ผ่าน
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ.2561 4.68
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี 5.00
3.1 การรับนักศึกษา 3.00
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา 3.00
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา 3.00
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์ 3.00
4.2 คุณภาพอาจารย์ 3.33
4.3 ผลที่เกิดกับอาจารย์ 4.00
5.1 สาระของรายวิชาในหลักสูตร 3.00
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน 3.00
5.3 การประเมินผู้เรียน 3.00
5.4 ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 4.50
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 4.00
ผลการประเมินเฉลี่ยรวม [13 ตัวบ่งชี้] 3.58

การวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาภายใน ของคณะกรรมการประเมิน ฯ

องค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
1 ผ่านการประเมิน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 2 - - 4.84 4.84 ระดับคุณภาพดีมาก
3 3 3.00 - - 3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
4 3 3.44 - - 3.44 ระดับคุณภาพดี
5 4 3.00 3.50 - 3.38 ระดับคุณภาพดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ระดับคุณภาพดี
ผลการประเมิน 3.19 3.63 4.84 3.58 ระดับคุณภาพดี
ระดับคุณภาพ ระดับคุณภาพดี ระดับคุณภาพดี ระดับคุณภาพดีมาก