วันที่ประเมิน: 29 สิงหาคม 2567, 09:30น.
เกณฑ์การประเมิน | ผลการประเมิน |
---|---|
1. จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร |
|
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม | |
|
|
ข้อคิดเห็น
- |
|
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
|
เกณฑ์การประเมิน | ผลการประเมิน |
---|---|
2. คุณสมบัติอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร |
|
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม | |
|
|
ระบุชื่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่ผลงานวิชาการในรอบ 5 ปี หมดอายุในปีการศึกษาที่ตรวจ (ต้องเพิ่มผลงานชิ้นใหม่ในปีการศึกษาหน้า) - ไม่มี
|
|
ข้อคิดเห็น
- |
|
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
การอัพโหลดหลักฐานมีความเรียบร้อยดีมาก |
|
เกณฑ์การประเมิน | ผลการประเมิน |
[สำหรับประเภทวิชาชีพ/ปฏิบัติการ] อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 2 ใน 5 คน ต้องมีประสบการณ์ในด้านการปฏิบัติการ |
|
ระบุข้อคิดเห็น
1. นางสาวชาตยา ชนะชัย มีประสบการณ์ทางด้านวิชาชีพ ดังนี้(1) เป็น สมาชิกสมาคมกีฬากอล์ฟอาชีพสตรีตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2554 (2) เป็นโปรกอล์ฟ สอนกีฬากอล์ฟประจำสนามกอล์ฟต่าง ๆ เช่น สนามกอล์ฟ RSU Vista Golf มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566 (3) เป็นโปรสอนวิชากอล์ฟ โรงเรียนนานาชาติ DBS ตั้งแต่ปี 2565 2. ผศ. อดิศร คันธรส มีประสบการณ์ทางด้านกีฬากอล์ฟ โดย - เป็นประธานฝ่ายเทคกีฬากอล์ฟ กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 23 วันที่ 19-26 มกราคม 2539 โดยมีสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ เป็นเจ้าภาพ - เป็นประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬากอล์ฟ กีฬาบุคลากรทบวงมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 30 พ.ศ.2554 ระหว่างวันที่ 1-8 พฤษภาคม 2554 มหาวิทยาลัยแม่โจ้เชียงใหม่ - เป็นประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬากอล์ฟ 15th ASEAN University Games. Chinagmai, Thailand. ณ.สนามกอล์ฟแม่โจ้ ระหว่างวันที่ 15-23 ธันวาคม 2553. - เป็นอาจารย์สอนวิชา ศท111 พลานามัย 2 (กอล์ฟ) ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
|
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
|
เกณฑ์การประเมิน | ผลการประเมิน |
---|---|
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร |
|
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม | |
|
|
ระบุชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตรที่ผลงานวิชาการในรอบ 5 ปี หมดอายุในปีการศึกษาที่ตรวจ (ต้องเพิ่มผลงานชิ้นใหม่ในปีการศึกษาหน้า) - ไม่มี
|
|
ข้อคิดเห็น
- |
|
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
- |
เกณฑ์การประเมิน | ผลการประเมิน |
---|---|
4. คุณสมบัติอาจารย์ผู้สอน ที่เป็นอาจารย์ประจำ |
|
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม | |
|
|
ข้อคิดเห็น
- |
|
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
- |
|
คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน ที่เป็นอาจารย์พิเศษ |
|
ข้อคิดเห็น
- |
|
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
- |
เกณฑ์การประเมิน | ผลการประเมิน |
---|---|
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด |
|
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม | |
ข้อคิดเห็น
- |
|
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
- |
ผลการประเมินจากผลการดำเนินงาน ตัวบ่งชี้ 1.1 |
---|
|
หมายเหตุ : *
(1) จำนวนบัณฑิตทั้งหมด หมายถึง ผู้รับปริญญา ในปีการศึกษา 2565 ประกอบด้วย บัณฑิตที่จบภาคการศึกษา 1/2565 , 2/2565 และ S/2566 [ปีต้องอัพเดตตามปีการศึกษาที่ประเมินย้อนหลัง 1 ปี]
(2) จำนวนบัณฑิตที่รับการประเมินจากผู้ใช้บัณฑิตต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาตาม (ข้อ1)
หมายเหตุ : *
(1) จำนวนบัณฑิตทั้งหมด จะต้องตรงกับตาราง ตัวบ่งชี้ 2.1
(2) จำนวนบัณฑิตที่ตอบแบบสำรวจจะต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง |
---|
การรับนักศึกษา:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1.หลักสูตรรับนักศึกษาใหม่รหัส 2566 ได้ 2 คน จากเป้าหมาย 40 คน2.หลักสูตรได้นำผลการประเมินกระบวนการรับนักศึกษา เพิ่มจำนวนนักศึกษาในปีการศึกษาต่อๆ ไป ดังนี้ (1) การสร้างการรับรู้และความมีชื่อเสียง โดยส่งนักศึกษาเข้าร่วมการแข่งขันกอล์ฟรายการต่าง ๆ ดังนี้ (1.1) ส่งนักศึกษานักศึกษา สาขาวิชากีฬากอล์ฟ จำนวน 7 คน เข้าร่วมการแข่งขัน กีฬากอล์ฟในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย นนทรีเกมส์ ระหว่างวันที่ 30 มกราคม 2567- 1 กุมภาพันธ์ 2567 ในนามทีมมหาวิทยาลัยรังสิต ณ สนามกอล์ฟ ไดนาสตี้กอล์ฟ แอนด์คันทรี คลับ จังหวัดนครปฐม ผลการแข่งขัน ทีมหญิงอันดับที่ 3 (เหรียญทองแดง) (1.2) ส่งนักศึกษานักศึกษา สาขาวิชากีฬากอล์ฟ จำนวน 7 คน เป็นอาสาสมัครในการจัดการแข่งขันกอล์ฟ รายการ Honda LPGA Tour ระหว่างวันที่ 22-25 กุมภาพันธ์ 2567 ณ สนามกอล์ฟ สยามคันทรีคลับ โอลด์คอร์ส เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี (1.3) ส่งนักศึกษา สาขาวิชากีฬากอล์ฟ จำนวน 7 คน เข้าร่วมการแข่งขัน Chang Thailand Junior Golf Circuit 2023 ณ สนามกอล์ฟ Lake View Resort and Golf Club Hua Hin – Cha Am Thailand ระหว่างวันที่ 30-31 มีนาคม 2567 ผลการแข่งขัน ทีมอันดับที่ 7 (1.4) ส่งนักศึกษา สาขาวิชากีฬากอล์ฟ เข้าร่วมการแข่งขัน Chang Thailand Junior Golf Circuit 2023 ณ สนามกอล์ฟ Panorama Golf And Country Club Thailand ระหว่างวันที่ 11-12 พฤษภาคม 2566 ผลการแข่งขัน ทีมอันดับที่ 6 ผ่านเข้ารอบสุดท้าย แข่งขันวันที่ 14-15 กันยายน 2566 ณ สนามกอล์ฟ Lake View Resort and Golf Club Hua Hin – Cha Am Thailand (2) จัดทำหลักสูตรรายวิชาโท กีฬากอล์ฟสำหรับนักศึกษาต่างหลักสูตร/ต่างคณะ จำนวน 7รายวิชา ซึ่งจะเปิดรับผู้เรียนเข้าเรียนได้ในปีการศึกษา 2566 (3) ร่วมกิจกรรมกับสนามกอล์ฟ RSU Vista Golf Course เพื่อประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้หลักสูตร สาขาวิชากีฬากอล์ฟ กิจกรรมที่ดำเนินการแล้ว ได้แก่ การอบรมหลักสูตร Junior Golf Course โครงการสร้างโอกาสในการเข้าถึงการเรียนรู้ และการศึกษาเกี่ยวกับ “กีฬากอล์ฟ” (Access to Education) สำหรับทุกคน รุ่นที่ 1/2566 เมื่อวันเสาร์ ที่ 10 มิถุนายน 2566 (4) ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของหลักสูตรกอล์ฟผ่านสื่อออนไลน์ของวิทยาลัยการกีฬา และของสถาบันกีฬา ได้แก่ เว็บไซต์ของวิทยาลัย Facebook : RSU GOLF Academy, และ Facebook : สถาบันกีฬา เป็นต้น ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ควรมีการประชาสัมพันธ์สาขาให้โรงเรียนกีฬาที่มีอยู่หลายแห่งได้รู้จัก มีการแนะแนวการเรียนการสอนและส่งเสริมให้สามารถประกอบอาชีพได้ |
การเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
คณะกรรมการบริหารหลักสูตรมีมติให้เตรียมความพร้อมของนักศึกษา ในปีการศึกษา 2566 ดังนี้1.การเตรียมความพร้อมในการใช้ชีวิตนักศึกษา
เนื่องจากนักศึกษาบางคนมีปัญหาเรื่องพื้นฐานความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์จึงได้มอบหมายให้อาจารย์ผู้สอนรายวิชาในภาคเรียนที่ S/2566 และ 1/2566 ได้แก่ ผศ.ดร.อภิชาติ ไตรแสง และอาจารย์ชาตยา ชนะชัย ปรับพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ให้แก่นักศึกษา และให้ความสนใจดูแลเป็นพิเศษเพื่อให้สามารถเรียนรู้ได้ทันเพื่อนนักศึกษาคนอื่น ๆ 3.มอบหมายให้อาจารย์ชาตยา ชนะชัย อาจารย์ประจำหลักสูตรกอล์ฟเป็นที่ปรึกษานักศึกษาใหม่ ทำหน้าที่ดูแล ให้คำปรึกษา แนะนำ ช่วยเหลือนักศึกษาในการติดต่อประสานงานกับวิทยาลัย และมหาวิทยาลัย รวมทั้งการดูแล ให้คำปรึกษา แนะนำ ช่วยเหลือนักศึกษาในการเรียน และใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย โดยมีเลขานุการวิทยาลัยการกีฬา เป็นผู้ช่วย ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- หลักสูตรควรรายงานผลประเมินการเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่ถึงร้อยละนักศึกษาใหม่ที่มีความพร้อมในด้านต่าง ๆ เมื่อผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมเตรียมความพร้อมตามแผนในข้อย่อยต่าง ๆ เช่นร้อยละนักศึกษาใหม่ที่มีความพร้อมด้านการใช้ชีวิต และร้อยละนักศึกษาใหม่ที่มีความพร้อมด้านวิชาการ เพื่อนำผลมาปรับปรุงกิจกรรมเตรียมความพร้อมในรอบต่อไป- ถ้าปรับปรุงแผนการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมให้มีนักเรียนเข้าศึกษาให้ได้ตามจำนวนที่ระบุใน RQF 2 ก็ต้องเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่ให้ดี เพื่อให้นักศึกษาที่ตั้งใจศึกษามีผลการเรียนดีและมีแนวทางประกอบอาชีพได้ |
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
|
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง |
---|
การควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษาปริญญาตรี:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
การประเมินกระบวนการควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษาปริญญาตรี หลักสูตรได้ดำเนินการดังนี้(1) สิ้นปีการศึกษา 2566 หลักสูตรได้ประเมินกระบวนการควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษาปริญญาตรี โดยให้นักศึกษาประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานของอาจารย์ที่ปรึกษา ตามประเด็นคำถามที่วิทยาลัยกำหนด เป็นแบบสอบถามความพึงพอใจแบบมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) มี 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ (2) หลักสูตรจัดประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ครั้งที่ 1/2567 วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน 2567 เพื่อพิจารณาผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการดำเนินงานของอาจารย์ที่ปรึกษา และพิจารณากระบวนการควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและและแนะแนวแก่นักศึกษา ผลการพิจารณามีดังนี้ (2.1) ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการดำเนินงานของอาจารย์ที่ปรึกษา พบว่าในภาพรวมนักศึกษามีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.60 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อคำถามพบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด 7 ข้อคำถาม และมีความพึงพอใจในระดับมาก 3 ข้อคำถาม โดย ข้อคำถาม อาจารย์ปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เข้าพบเพื่อปรึกษาหารือในเรื่องต่าง ๆ ได้ตลอดเวลา มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ 4.83และ ข้อคำถาม อาจารย์มีความประพฤติเหมาะสมและเป็นแบบอย่างที่ดีต่อนักศึกษา และ อาจารย์ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับวิชาเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ 4.33 (2.2) ผลการพิจารณากระบวนการควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและและแนะแนวแก่นักศึกษา ที่ประชุมมีความคิดเห็นว่าเนื่องจากปีการศึกษา 2566 นักศึกษาทั้ง 2 ชั้นปีมีน้อย (7 คน) การดำเนินการควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและและแนะแนวแก่นักศึกษามีกิจกรรมหลากหลาย สามารถดูแลช่วยเหลือนักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีกิจกรรมที่ควรจะพัฒนานักศึกษาเพิ่มเติม คือ ความรับผิดชอบ และตรงต่อเวลา ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- หลักสูตรได้ประเมินกระบวนการ และมีแนวทางเพิ่มการดูแลช่วยเหลือนักศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ มีกิจกรรมที่ควรจะพัฒนานักศึกษาเพิ่มเติมในปีการศึกษา2567 คือ ความรับผิดชอบ และตรงต่อเวลา- ควรนำผลการประเมินมาใช้ในการพัฒนาหรือปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยเฉพาะจำนวนนักศึกษา |
การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
จากการประเมินผลการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา และการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เมื่อปีการศึกษา 2565 มีข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการฯ คือควรเพิ่มกิจกรรมเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่จำเป็นสำหรับปัจจุบัน เช่น ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี (Civic Literacy) และความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Literacy) เป็นต้น และได้มีข้อเสนอให้ส่งนักศึกษาเข้าร่วมแข่งขันกอล์ฟรายการต่าง ๆ ให้มากกว่านี้ โดยให้วิทยาลัย/มหาวิทยาลัยควรมีทุนสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมแข่งขันของนักศึกษาด้วย ปีการศึกษา 2566 หลักสูตรได้จัดประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตร เพื่อพิจารณาแนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับการดำเนินงานพัฒนาศักยภาพนักศึกษา และการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประจำปีการศึกษา 2566 ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้1.การส่งนักศึกษาเข้าร่วมการแข่งขันกอล์ฟรายการต่าง ๆ 2.การเสริมสร้างความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ด้านกีฬากอล์ฟ และพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 3. การศึกษาดูงานสนามกอล์ฟ การประเมินกระบวนการ 1. หลักสูตรได้ประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา และการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ปีการศึกษา 2566 โดยเก็บข้อมูลจากนักศึกษา ทั้ง 2 ชั้น ปี พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย 4.00 2. หลักสูตรจัดประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตรครั้งที่ 1/2567 วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน 2567 เพื่อพิจารณาผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการดำเนินงานพัฒนานักศึกษา ผลการพิจารณามีดังนี้ ที่ประชุมมีความคิดเห็นว่า หลักสูตรฯ ได้ดำเนินการครอบคลุมทุกด้าน เพื่อให้นักศึกษาพร้อมที่จะเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ไม่ว่าจะเป็นผู้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วางแผนความเป็นผู้นำ มีคุณธรรมจริยธรรม และทักษะการทำงานร่วมกัน เป็นต้น ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
นอกเหนือจากการประเมินค่าความพึงพอใจของนักศึกษาต่อกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา หลักสูตรควร mapping ชื่อทักษะต่าง ๆ ในศตวรรษที่ 21 ที่หลักสูตรต้องการพัฒนาให้เกิดขึ้นกับนักศึกษา เทียบกับ รายชื่อกิจกรรมการพัฒนาต่าง ๆ ระบุตัวชี้วัดและเป้าหมายเช่น ตัวชี้วัด ร้อยละนักศึกษาที่มีทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ เป้าหมายร้อยละ 90 แล้วนำผลประเมินมาพิจารณาปรับปรุงกระบวนการ/กิจกรรม ในรอบถัดไป |
การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในการส่งเสริมให้เกิดการสร้างผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 วิทยาลัยจัดให้นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ลงทะบียนเรียนรายวิชา GOF 311 วิธีวิทยาการวิจัย ( Research Methodology) เพื่อเรียนรู้กระบวนการวิจัย และแนวทางการทำวิจัยทางด้านกีฬากอล์ฟ และธุรกิจอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับกอล์ฟ ศึกษาตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมตัวในการทำงานวิจัย ส่วนในภาคเรียนที่ 2/2566 ก็จะสร้างโอกาสให้นักศึกษาได้ศึกษาเรียนรู้การทำวิจัยเพิ่มเติมโดยจัดให้ไปศึกษาดูงานสนามกอล์ฟต่าง ๆ ซึ่งในการไปศึกษาดูงานนี้วิทยาลัยได้ขอความร่วมมือจากสนามกอล์ฟให้วิทยากรบรรยายเกี่ยวกับแนวทางการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ หรือพัฒนาการดำเนินงานของสนามกอล์ฟให้แก่นักศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ทางด้านงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมทางด้านกีฬากอล์ฟที่สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติอีกกิจกรรมหนึ่งที่วิทยาลัยมีโครงการจะจัดในปีการศึกษา 2566 ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการสร้างงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมแก่นักศึกษา คือโครงการประชุมสัมมนาโต๊ะกลม เรื่อง “กีฬากอล์ฟกับเศรษฐกิจประเทศไทย” เพื่อระดมความคิดเห็นจากนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิจากทุกภาคส่วน เพื่อเสริมสร้างความรู้และประสบการณ์สำหรับการสร้างผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมในอนาคต เพื่อนำมาใช้ในการกำหนดหัวข้อวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาโท และปริญญาเอก และหัวข้อการทำโครงการวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ซึ่งริเริ่มจัดทำโครงการมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2565 และจะจัดต่อเนื่องไปทุกปีในเดือนพฤศจิกายน สำหรับในปีการศึกษา 2566 ตามกำหนดการเดิมจะจัดวันที่ 8-9 พฤษภาคม 2567 แต่จากการที่วิทยาลัยได้สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสนามกอล์ฟ และองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกีฬากอล์ฟ เช่น มูลนิธิกีฬากอล์ฟไทย สมาคมกีฬากอล์ฟอาชีพแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬากอล์ฟอาวุโส สมาคมสนามกอล์ฟไทย และสมาคมกีฬากอล์ฟสตรีฯ เป็นต้น เพื่อร่วมมือกันในการพัฒนาวงการกีฬากอล์ฟในประเทศไทย ซึ่งทางภาคีเครือข่ายความร่วมมือดังกล่าวได้ขอความร่วมมือให้วิทยาลัยเลื่อนการจัดสัมมนาโต๊ะกลมฯ ไปเป็นประมาณปลายปี 2567 ช่วงที่มีการจัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสที่ปี พ.ศ. 2567 เป็นปีที่ครบวาระ 100 ปี กีฬากอล์ฟในประเทศไทย วิทยาลัยการกีฬาจึงเลื่อนการจัดสัมมนาโต๊ะกลมฯ ไปจัดในเดือนธันวาคม 2567 ซึ่งการจัดสัมมนาโต๊ะกลมฯ ก็จะเป็นหนึ่งในกิจกรรมเฉลิมฉลองวาระดังกล่าวด้วย ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- หลักสูตรควรรายงานร้อยละนักศึกษาที่มี learning outcome เช่น ร้อยละนักศึกษาที่มีทักษะวิจัยตามกลุ่มรายวิชาที่บูรณาการกับการวิจัย และผลงานวิจัย (รอนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย) เพื่อนำผลประเมินมาประกอบการพิจารณาปรับปรุงการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในการส่งเสริมให้เกิดการสร้างผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ- ควรมีการส่งเสริมให้นักศึกษาได้ทำงานวิจัยเพื่อนำผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรคฺ์มาประยุกต์ใช้ |
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
- |
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง |
---|
ระบบการรับและแต่งตั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปลายปีการศึกษา 2565 อาจารย์ประจำหลักสูตรกีฬากอล์ฟ ได้ขอลาออก 1 คน คือ อาจารย์เชาวรัตน์ เขมรัตน์ และการลาออกมีผลตั้งแต่ปีการศึกษา 2566 เป็นต้นไป ทำให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเหลือ 4 คน จึงต้องดำเนินการสรรหาและบรรจุแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตรเพื่อทำหน้าที่เป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ให้มีจำนวน 5 คน ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558 ซึ่งในช่วงที่อาจารย์เชาวรัตน์ เขมรัตน์ ลาออกหลักสูตรกีฬากอล์ฟยังสังกัดวิทยาลัยการท่องเที่ยว การบริการ และกีฬา การดำเนินการรับและแต่งตั้งอาจารย์ใหม่จึงดำเนินการที่วิทยาลัยการท่องเที่ยวฯ โดยผู้อำนวยการหลักสูตรบันทึกถึงอธิการวิทยาลัยเพื่อขออนุญาตดำเนินการสรรหาและบรรจุแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตรดังกล่าวเนื่องจากหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากีฬากอล์ฟ เป็นหลักสูตรทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรจึงมี 2 กลุ่มหลัก ๆ คือ กลุ่มวิทยาศาสตร์การกีฬา กับกลุ่มกีฬากอล์ฟ ซึ่งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเดิมนั้น เป็นอาจารย์ทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา 3 คน เป็นอาจารย์ทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาแต่มีประสบการณ์ทางด้านกีฬากอล์ฟ 1 คน และอาจารย์ทางด้านกีฬากอล์ฟ 1 คน ซึ่งอาจารย์เชาวรัตน์ เขมรัตน์ที่ลาออกไปเป็นอาจารย์ทางด้านกีฬากอล์ฟ โดยอาจารย์ที่คงเหลืออยู่ 4 คน ไม่มีอาจารย์ทางด้านกีฬากอล์ฟโดยตรง ฉะนั้นอาจารย์ที่จะรับเข้ามาบรรจุใหม่ต้องเป็นอาจารย์ทางด้านกีฬากอล์ฟ ซึ่งก็เป็นข้อจำกัดที่สำคัญของหลักสูตรกีฬากอล์ฟ เพราะนักกอล์ฟอาชีพ หรือโปรกอล์ฟในประเทศไทยสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทมีน้อย หรือสำเร็จการศึกษาระดับปริญาตรี/ปริญญาโทสาขาวิชาอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์การกีฬา หรือกีฬากอล์ฟ เนื่องจากหลักสูตรระดับปริญญาตรี และปริญญาโท ทางด้านกีฬากอล์ฟยังไม่เคยเปิดสอนในสถาบันการศึกษาในประเทศไทย ที่เคยเปิดสอนมาแล้วก็มีเฉพาะสาขาวิชาทางด้านการจัดการ หรือบริหารธุรกิจ ซึ่งนักกอล์ฟอาชีพ หรือโปรกอล์ฟที่จบการศึกษาระดับปริญญาโทที่มีอยู่ส่วนใหญ่ก็เป็นโปรกอล์ฟหรือเป็นอาจารย์สอนกีฬากอล์ฟอยู่ตามสนามกอล์ฟต่าง ๆ ซึ่งเป็นรายได้ที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับการเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัย ซึ่งในช่วงที่พัฒนาหลักสูตรกีฬากอล์ฟเมื่อปีการศึกษา 2564-2565 ก็ได้ประกาศรับสมัครอาจารย์ทางด้านกีฬากอล์ฟที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท และมีผลงานวิจัยภายใน 5 ปี อย่างน้อย 1 เรื่อง แต่ไม่มีผู้มาสมัคร วิทยาลัยการท่องเที่ยวฯ จึงใช้วิธีการในการนี้อธิการวิทยาลัยการท่องเที่ยวฯ จึงได้ใช้วิธีการทาบทามโปรกอล์ฟที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด คืออาจารย์เชาวรัตน์ เขมรัตน์ และได้ขอลาออกดังกล่าวด้วยเหตุผลจะไปประกอบอาชีพส่วนตัว ฉะนั้นการรับสมัครอาจารย์ใหม่ทางด้านกีฬากอล์ฟ ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดจึงใช้วิธีการเดิมคือประกาศรับสมัคร ควบคู่กับการสรรหา ซึ่งมีผู้มาสมัคร 1 คน คือ นางสาวชาตยา ชนะชัย มีคุณสมบัติคือ เป็นนักกอล์ฟอาชีพ สำเร็จการศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาการจัดการทางการกีฬา และมีผลงานภายในเวลา 5 ปี จำนวน 1 ชิ้น หลักสูตรจึงได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่วิทยาลัยกำหนด โดยได้รับการบรรจุแต่งตั้งจากมหาวิทยาลัยรังสิตเป็นอาจารย์ประจำเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566 และได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยรังสิต ตามมติสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2566 ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ไม่มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เนื่องจากหลักสูตรได้นำผลการประเมินกระบวนการรับและแต่งตั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเสนอคณบดีวิทยาลัยเพื่อพิจารณาเห็นชอบ โดยได้รับการเห็นชอบในหลักการให้ดำเนินการ ซึ่งในปีการศึกษา 2567 หลักสูตรกอล์ฟได้ดำเนินการไปแล้วโดยได้ไปจัดประชุมร่วมกันกับสนามกอล์ฟ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกีฬากอล์ฟเพื่อร่วมเป็นเครือข่ายความร่วมมือตกลงร่วมผลิต ได้แก่ มูลนิธิกีฬากอล์ฟไทย สมาคมกีฬากอล์ฟอาชีพแห่งประเทศไทย ศูนย์พัฒนากีฬากองทัพบก และสนามกอล์ฟวินด์เซอร์ปาร์ค แอนด์ กอล์ฟคลับ ซึ่งวิทยาลัยการกีฬาได้ประชุมจัดทำร่าง MOU กับหน่วยงานดังกล่าวแล้ว และได้เสนอขอความเห็นชอบต่อนิติกรของมหาวิทยาลัยรังสิตเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนนัดหมายทำพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยรังสิตกับหน่วยงานดังกล่าวซึ่งจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในภาคเรียนที่ 1/2567 นี้แต่มีข้อสังเกตว่า ถ้าหลักสูตรอธิบายรายละเอียดของสัญญาความร่วมมือในข้อที่เป็นประโยชน์หรือเอื้อต่อการสรรหาอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ก็จะเป็นการรายงานที่มีความสมบูรณ์ชัดเจนมากยิ่งขึ้น รวมทั้งนำสำเนาเอกสารความร่วมมือดังกล่าวมาเป็นส่วนหนึ่งของเอกสารหลักฐาน - ส่งเสริมให้มีงานวิจัยทุก ๆ ปีต่อไปและมีการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการอาจารย์อีก 1 คน |
ระบบการบริหารอาจารย์:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรมีระบบการบริหารอาจารย์ ดังนี้1. วิทยาลัยร่วมกับหลักสูตรวางแผนระยะยาวด้านอัตรากำลังของอาจารย์ประจำหลักสูตรทุกหลักสูตร ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร โดยพิจารณาคุณวุฒิที่ตรงหรือสัมพันธ์ ของอาจารย์ในสาขา เพื่อแต่งตั้งเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตร และมีการส่งเสริมให้มีการพัฒนาผลงาน ตำแหน่งทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง 2. วิทยาลัยกำหนดบทบาทหน้าที่ ให้แก่อาจารย์ประจำ โดยแบ่งออกเป็นภาระงานรวม 8 ด้าน คือ 1) ภาระงานสอน 2) ภาระงานให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา 3) ภาระงานด้านการผลิตผลงานวิชาการ 4) ภาระงานด้านบริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม 5) ภาระงานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 6) ภาระงานพัฒนาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 7) ภาระงานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัย 3. ให้หลักสูตรจัดให้มีการปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่ และมอบหมายหน้าที่ตามที่วิทยาลัยกำหนด ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- หลักสูตรควรรายงานผลการประเมินระบบการบริหารอาจารย์ตามตัวชี้วัดที่กำหนดให้ครบถ้วนทุกข้อ เช่น ภาระงานด้านการผลิตผลงานวิชาการ มอบหมายให้อาจารย์ประจำหลักสูตรทุกคนผลิตผลงานวิชาการอย่างน้อย 1 ชิ้น แล้วนำผลประเมินมาประกอบการพิจารณาปรับปรุงระบบการบริหารอาจารย์- ส่งเสริมให้อาจารย์ทุกคนผลิตผลงานวิชาการทุก ๆ ปี |
ระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ให้มีคุณภาพทั้งด้านความรู้ ความสามารถในเนื้อหาวิชาที่รับผิดชอบ สามารถก้าวทันวิทยาการสมัยใหม่ มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ การวิจัย และการพัฒนาศาสตร์ในสาขาวิชาที่รับผิดชอบ:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ให้พัฒนาตนเองให้มีคุณภาพทั้งด้านความรู้ ความสามารถในเนื้อหาวิชาที่รับผิดชอบ สามารถก้าวทันวิทยาการสมัยใหม่ มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ การวิจัย และการพัฒนาศาสตร์ในสาขาวิชาที่รับผิดชอบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ดังนี้(1) จัดให้มีการปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่ เพื่อให้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายของมหาวิทยาลัยในด้านต่างๆ รวมถึงจรรยาบรรณของคณาจารย์ และการประกันคุณภาพการศึกษา (2) จัดให้มีอาจารย์ที่มีประสบการณ์เป็นอาจารย์พี่เลี้ยงอาจารย์ใหม่ โดยมีหน้าที่ให้คำแนะนำและการปรึกษาเพื่อเรียนรู้และปรับตัวเองเข้าสู่การเป็นอาจารย์ในหลักสูตร มีการนิเทศการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติที่ต้องสอน และมีการประเมินและติดตามความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานของอาจารย์ใหม่ (3) จัดทำแผนพัฒนาอาจารย์ของวิทยาลัย และแผนพัฒนาอาจารย์ของหลักสูตร เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาชีพ (4) จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนให้อาจารย์ประจำหลักสูตรได้พัฒนาตนเองทั้งด้านความรู้ ความ สามารถในเนื้อหาวิชาที่รับผิดชอบ สามารถก้าวทันวิทยาการสมัยใหม่ มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ การวิจัย และการพัฒนาศาสตร์ในสาขาวิชาที่รับผิดชอบ โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การฝึกอบรม การประชุมทางวิชาการ ทั้งในประเทศและ/หรือต่างประเทศ และการศึกษาดูงาน ฯลฯ ไว้อย่างเหมาะสมและเพียงพอ (5) จัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนสำหรับการวิจัย สนับสนุนการเผยแพร่ผลงานการวิจัยในการเข้าร่วมประชุมทางวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ การตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งการให้รางวัลแก่ผลงานวิจัยตามหลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด (6) จัดสรรงบประมาณเป็นทุนการศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณวุฒิของอาจารย์ (7) จัดประชุม/เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมให้อาจารย์ให้มีคุณภาพทั้งด้านความรู้ ความสามารถในเนื้อหาวิชาที่รับผิดชอบ สามารถก้าวทันวิทยาการสมัยใหม่ มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ การวิจัย และการพัฒนาศาสตร์ในสาขาวิชาที่รับผิดชอบ (8) ผู้อำนวยการหลักสูตรควบคุม กำกับ ส่งเสริมให้อาจารย์พัฒนาตนเอง และรายงานผลดำเนินงานตามแผนพัฒนาตนเองเสนอคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยทราบเป็นระยะ (9) ทบทวน/ประเมินผลการดำเนินงานบริหารอาจารย์ (10) วิเคราะห์ สรุปผลการดำเนินงานบริหารอาจารย์ และหาแนวทางปรับปรุงการดำเนินงานจากผลการประเมิน ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- หลักสูตรควรรายงานผลการประเมินระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ให้มีคุณภาพทั้งด้านความรู้ ความสามารถในเนื้อหาวิชาที่รับผิดชอบ สามารถก้าวทันวิทยาการสมัยใหม่ มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ การวิจัย และการพัฒนาศาสตร์ในสาขาวิชาที่รับผิดชอบ ว่ามีผลการพัฒนาเป็นไปตามตัวชี้วัดที่กำหนดหรือเป็นไปตามความก้าวหน้าของแผนการพัฒนาให้ครบถ้วนทุกข้อ แล้วนำผลประเมินมาประกอบการพิจารณาปรับปรุงระบบการพัฒนาอาจารย์- ส่งเสริมให้มีการทำงานวิจัยและส่งเสริมให้ผลิตงานวิจัยเพิ่มขึ้นและอาจให้นักศึกษาทำงานวิจัย โดยมีอาจารย์รับผิดชอบงานวิจัยของนักศึกษาเพื่อให้มีผลงานร่วมกัน |
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ในอนาคตควรเพิ่มแผน idp ตาม platform ของ HRD และนำ idp ดังกล่าวมาเชื่อมโยงการรายงานการพัฒนาอาจารย์รายบุคคล |
ข้อมูลพื้นฐาน | ผลการประเมิน | |
---|---|---|
จำนวนยืนยัน | กรรมการ | |
[1] จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้งหมด | 5 | 5.00 |
[2] จำนวนอาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก | 2 | |
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] | 40.00 | |
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 20 | 5.00 | |
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- |
ข้อมูลพื้นฐาน | ผลการประเมิน | |
---|---|---|
จำนวนยืนยัน | กรรมการ | |
[1] จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้งหมด | 5 | 5.00 |
[2] ไม่มีตำแหน่งทางวิชาการ [อาจารย์] | 1 | |
[3] ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ | 4 | |
[4] ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ | 0 | |
[5] ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ | 0 | |
[6] ดำรงตำแหน่งทางวิชาการทั้งหมด [3] + [4] + [5] | 4 | |
[7] ร้อยละที่ได้ [6] X 100 / [1] | 80.00 | |
[8] ผลลัพธ์ที่ได้ [7] x 5 / 60 | 5.00 | |
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- |
จำนวนผลงานทางวิชาการตามค่าถ่วงน้ำหนัก | |||||
---|---|---|---|---|---|
ค่าถ่วงน้ำหนัก | 0.20 | 0.40 | 0.60 | 0.80 | 1.00 |
จำนวนผลงาน (ชิ้น) | 0 | 0 | 1 | 1 | 0 |
จำนวนผลงานสร้างสรรค์ตามค่าถ่วงน้ำหนัก | |||||
---|---|---|---|---|---|
ค่าถ่วงน้ำหนัก | 0.20 | 0.40 | 0.60 | 0.80 | 1.00 |
จำนวนผลงาน (ชิ้น) | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 |
ข้อมูลพื้นฐาน | ผลการประเมิน | |
---|---|---|
จำนวนยืนยัน | กรรมการ | |
[1] ผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ | 1.40 | 5.00 |
[2] จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้งหมด | 5 | |
[3] ร้อยละที่ได้ [1] X 100 / [2] | 28.00 | |
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 20 | 5.00 | |
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรมีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในรอบปีการศึกษา 2566 จำนวน 2 ชิ้นณภัทร เครือทิวา, เจริญ เครือทิวา, รชาดา เครือทิวา, และชาตยา ชนะชัย. (2566). การพัฒนาโปรแกรมกิจกรรม ทางภายในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) เพื่อเสริมสร้าง สมรรถภาพทางกายสำหรับเด็กกำพร้าและยากจนในวัดเจ้าบุญเกิด จังหวัดอ่างทอง. วารสาร มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ. 15(2), 45-62. พิชชาวีร์ โอบอ้อม อภิชาติ ไตรแสง เสาวลักษณ์ ชายทวีป เมธี วงศ์วีระพันธุ์ และปิยะพันธุ์ นันตา. (2566). ภาวะ พฤฒพลังของผู้สูงอายุในเขตชุมชนเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ. 29(1). 92-103 ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- |
รายการหลักฐาน ตัวบ่งชี้ 4.2 คุณภาพอาจารย์ |
---|
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
- |
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง | |
---|---|
การคงอยู่ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร |
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2564
ร้อยละ
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2565
ร้อยละ
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2566
ร้อยละ |
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
|
|
ความพึงพอใจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีต่อการบริหารหลักสูตร |
ความพึงพอใจ ในปีการศึกษา 2564 ร้อยละ
ความพึงพอใจ ในปีการศึกษา 2565 ร้อยละ
ความพึงพอใจ ในปีการศึกษา 2566 ร้อยละ
|
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
|
|
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
|
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง |
---|
การออกแบบหลักสูตร และสาระรายวิชาในหลักสูตรที่ปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน มีหลักสูตรหรือรายวิชาที่เป็นความร่วมมือกับสถานประกอบการ |
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
วิทยาลัยการท่องเที่ยว การบริการ และกีฬา (เดิม) เล็งเห็นความสำคัญของกีฬากอล์ฟที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศ ทั้งการพัฒนาบุคลากรทางด้านกีฬากอล์ฟ และธุรกิจอุสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับกอล์ฟอีกมากมาย ซึ่งได้พัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชากีฬากอล์ฟขึ้น ในการออกแบบหลักสูตร และสาระรายวิชาในหลักสูตรได้ระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับกีฬากอล์ฟ ทั้งอาจารย์/นักวิชาการจากมหาวิทยาลัย ผู้ทรงคุณวุฒิจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย สมาคมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกอล์ฟ ผู้ทรงคุณวุฒิจากสนามกอล์ฟ รวมทั้งสถานประกอบการภาคธุรกิจอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับกอล์ฟ มาร่วมกันกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLO) ผลลัพธ์การเรียนรู้แต่ละชั้นปี (YLO) และผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชา (CLO) กำหนดเนื้อหาสาระรายวิชาในหลักสูตรให้บัณฑิตมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์เป็นไปตาม TQF และตรงตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- หลักสูตรควรให้มีการประเมิน stake holder ในทุกปีการศึกษา เพื่อนำผลประเมินความต้องการของผู้เรียน และสถานประกอบการ มาสู่การปรับเนื้อหาบางรายวิชาให้ตอบความต้องการของของผู้เรียน และมีรายวิชาที่เป็นความร่วมมือกับสถานประกอบการ ทำการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาตามวัตถุประสงค์ของรายวิชาดังกล่าว แล้วผลประเมินมาปรับปรุงการออกแบบสาระรายวิชาในปีการศึกษาต่อไป- ควรเพิ่มความร่วมมือกับผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมขึ้น |
มีการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิที่ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน (Learner Person, Innovative Co-Creator, Active Citizen) ตามวิสัยทัศน์และจุดเน้นของหลักสูตร |
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากีฬากอล์ฟ พ.ศ. 2565 ได้กำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ (TQF) 5 ด้าน ที่ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน (Learner Person, Innovative Co-Creator, Active Citizen) ตามวิสัยทัศน์และจุดเน้นของหลักสูตร โดยมีการแสดงตาราง mapping ระหว่าง tqf5 เทียบกับ doe3ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรควรรายงานว่ากลุ่มรายวิชาใดตอบผลลัพธ์ผู้เรียน doe3 ที่ mapping กับ tqf5 แล้วเชื่อมโยงกับรายงานผลลัพธ์การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจริงที่ได้รายงานไว้ใน rqf.5 และเชื่อมโยงผลประเมินบัณฑิตโดยผู้ใช้บัณฑิต เพื่อนำมาประเมินความเหมาะสมของการ mapping ดังกล่าว หรือ สาระในรายวิชาที่ถุก mapping และนำไปปรับปรุงการ mapping หรือ สาระรายวิชาต่อไป |
การปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าในศาสตร์สาขานั้นๆ และเชื่อมโยงกับการนำไปใช้ได้จริง |
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 ซึ่งเป็นปีที่ 2 ของการเปิดการเรียนการสอน จึงยังไม่มีการปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าในศาสตร์สาขาวิชากีฬากอล์ฟ และเชื่อมโยงกับการนำไปใช้ได้จริง ยังไม่มีผลการประเมินหลักสูตร/วิพากษ์/การสำรวจความต้องการของสถานประกอบหรือผู้ใช้บัณฑิต มีแต่ผลการประเมินจากอาจารย์ผู้สอนรายวิชาตาม RQF.5 และผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ฯ ซึ่งไม่มีข้อเสนอแนะให้ปรับหลักสูตร หรือเนื้อหาสาระรายวิชาระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
การปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าในศาสตร์สาขานั้นๆ และเชื่อมโยงกับการนำไปใช้ได้จริง สามารถดำเนินการปรับเล็กตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับ key result ของมหาวิทยาลัยได้ทุกปีการศึกษา หลักสูตรควรรายงานเชื่อมโยงกับ 4 รายวิชาที่มีการปรับเนื่อหา การจัดการเรียนการสอนให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าในศาสตร์สาขา และเชื่อมโยงกับการนำไปใช้ได้จริง ประเมินผลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาตามวัตถุประสงค์ความทันสมัยตามความก้าวหน้าในศาสตร์สาขานั้นๆ และเชื่อมโยงกับการนำไปใช้ได้จริง เพื่อนำผลประเมินไปประกอบการพิจารณาปรับปรุงสาระรายวิชาในรอบปีการศึกษาถัดไป- เพิ่มเติมการสร้างความร่วมมือกับผู้ประกอบการและพัฒนาหลักสูตรให้มีความทันสมัย น่าสนใจเพื่อดึงดูดให้มีเรียนเพิ่มมากขึ้น |
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
- |
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง | ||
---|---|---|
การกำหนดผู้สอน | ||
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
สิ้นปีการศึกษา 2566 หลักสูตรจัดประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเพื่อพิจารณาทบทวนการมอบหมายภาระหน้าที่การจัดวิชาสอนให้แก่อาจารย์ การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน ซึ่งในปีการศึกษา 2566 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีความเห็นว่าการมอบหมายภาระหน้าที่ของอาจารย์แต่ละคนที่ชัดเจน มอบหมายรายวิชาในจำนวนที่เหมาะสมในแต่ละภาคการศึกษา ทำให้อาจารย์สามารถมีเวลาในการเตรียมการสอน ปรับปรุงเนื้อหาและพัฒนาสื่อสารสอนให้ทันสมัย รวมไปถึงการพัฒนาจัดทำเอกสารประกอบการสอนระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรควรรายงานการวางระบบผู้สอนตามความเชี่ยวชาญเหมาะสมกับ clo ของแต่ละรายวิชา นอกเหนือจากการประเมินความเหมาะสมด้านภาระงานสอน เพื่อนำผลการพิจารณาในทุกด้านมากำหนดอาจารย์ผู้สอน |
||
การกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียนรู้ (มคอ.3 และ มคอ.4) และการจัดการเรียนการสอน | ||
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
การประเมินกระบวนการการกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียนรู้ (TQF.3 และ TQF.4) และการจัดการเรียน การสอนในปีการศึกษา 2565 พบว่าอาจารย์ประจำ และอาจารย์พิเศษที่เป็นโปรกอล์ฟ ยังทำ TQF.3 ไม่ค่อยเหมาะสม และส่ง TQF.3 ช้ากว่าเวลาที่หลักสูตรกำหนด และได้เสนอแนะให้ผู้อำนวยการหลักสูตรและอาจารย์ที่เป็นผู้สอนร่วมกับอาจารย์พิเศษ กำกับดูแล และช่วยเหลืออาจารย์ในการทำ TQF.3 อย่างใกล้ชิด ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรจึงได้กำกับดูแนะนำวิธีการเขียน TQF.3 โดยกำหนดให้ส่งล่วงหน้าเพื่อให้หลักสูตรได้ตรวจสอบแนะนำแก้ไข ทำให้อาจารย์พิเศษที่เป็นโปรกอล์ฟจัดทำ TQF.3 ได้เหมาะสม และส่ง TQF.3 ทันเวลาที่หลักสูตรกำหนด สิ้นปีการศึกษา 2566 หลักสูตรจัดประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเพื่อพิจารณาทบทวนการกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียนรู้ (TQF.3 และ TQF.4) และการจัดการเรียนการสอน ซึ่งในปีการศึกษา 2566 พบว่าอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีความรู้ความเข้าใจในการทำ TQF.3 จัดทำได้อย่างเหมาะสม และส่ง TQF.3 ภายในเวลาที่หลักสูตรกำหนด แต่เนื่องจากหลักสูตรเพิ่งเปิดการเรียนการสอนมา 2 ปี ฉะนั้นในแต่ละภาคการศึกษาอาจารย์ผู้สอนจะได้รับมอบหมายให้สอนวิชาใหม่ ๆ และมีอาจารย์พิเศษใหม่อยู่เสมอ จึงควรให้การดูแลช่วยเหลืออาจารย์ดังกล่าวเป็นการพิเศษระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
1. หลักสูตรไม่ได้แสดงไฟล์หลักฐาน rqf.3 ในระบบ dbs เพื่อผู้ประเมินได้ร่วมตรวจสอบ รวมทั้งเป็น one stop service ในอนาคตที่จะรองรับการตรวจ post audit2. หลักสูตรควรรายงานผลการตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียนรู้ (มคอ.3 และ มคอ.4) และการจัดการเรียนการสอน ทั้งเชิงปรมาณ และเชิงคุณภาพ เช่นร้อยละรายวิชาที่ดำเนินการจัดทำแผนการเรียนรู้ตามกำหนดเวลา และ ร้อยละรายวิชาที่ดำเนินการจัดทำแผนการเรียนรู้ได้ครอบคลุมความรับผิดชอบต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ tqf5 และรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ผู้เรียน doe3 และร้อยละรายวิชาที่มีการวางแผนกิจกรรมการเรียนการสอนได้เหมาะสมกับ clo เป็นต้น เพื่อนำผลการประเมินมาประกอบการพิจารณาการปรับปรุงการจัดทำแผนการเรียนในรอบปีการศึกษาถัดไป |
||
การจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีที่มีการบูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย | ||
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ปีการศึกษา 2566 ซึ่งเป็นปีที่ 2 ของการเปิดการเรียนการสอนหลักสูตรสาขาวิชากีฬากอล์ฟ มีบางรายวิชาที่เริ่มปูพื้นฐานเพื่อสร้างความเข้าใจสำหรับการเรียนเนื้อหาที่จะประยุกต์ใช้ความรู้ หรือบูรณาการความรู้กับกิจกรรม หรือภารกิจด้านอื่น ๆ มีการปูพื้นฐานทางด้านการวิจัย โดยการศึกษาดูงานการวิจัยที่เกี่ยวของกับกีฬากล์ฟ เพื่อบูรณาการการวิจัยกับการเรียนการสอนในรายวิชาต่าง ๆ เช่น GOF 215 นวัตกรรมและเทคโนโลยีกีฬากอล์ฟ ศึกษาดูงานการวิจัยเกี่ยวกับนวัตกรรมที่นำมาใช้ในสนามกอล์ฟ วิชา GOF 311 วิธีวิทยาการวิจัย ได้เรียนรู้การทำวิจัยพัฒนาวัสดุสำหรับใช้ในการทำถนนในสนากอล์ฟของวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ที่ทำการวิจัยโดยเอาขวดพลาสติกมาสังเคราะห์ใช้แทนยางมะตอยทำถนนในสนามกอล์ฟ RSU Vista Golf Course เป็นต้นส่วนการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการทางสังคม หลักสูตรจัดทำโครงการบริการสังคมโดยจัดกิจกรรมอบรมหลักสูตร Junior Golf Course โครงการสร้างโอกาสในการเข้าถึงการเรียนรู้ และการศึกษาเกี่ยวกับ “กีฬากอล์ฟ” (Access to Education) สำหรับทุกคน ให้แก่บุตรหลานของบุคลากรของมหาวิทยาลัย และชุมชนใกล้เคียงมหาวิทยาลัยมาฝึกเล่นกอล์ฟที่สนามกอล์ฟ RSU Vista Golf Course โดยมีนักศึกษาที่เรียน รายวิชา GOF 322 การฝึกทักษะกีฬากอล์ฟ มาเป็นวิทยากรร่วมกับอาจารย์ผู้สอน ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรควรรายงานผลการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาตามวัตถุประสงค์การ mapping รายวิชากับการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย เพื่อนำผลประเมินมาพิจารณาปรับปรุง mapping หรือ สาระ กิจกรรม ของรายวิชาบูรณาการดังกล่าว- ควรปรับปรุงให้มีการส่งเสริมการวิจัย การบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้ชัดเจนเป็นรูปธรรม |
||
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
|
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง | ||
---|---|---|
การประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ที่ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน (Learner Person, Innovative Co-Creator, Active Citizen) ตามวิสัยทัศน์และจุดเน้นของหลักสูตร ตลอดจนมาตรฐานวิชาชีพ (ถ้ามี) | ||
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
สิ้นปีการศึกษา 2566 หลักสูตรจัดประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 1/2567 วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน 2567 เพื่อพิจารณาทบทวนการประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ที่ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน (Learner Person, Innovative Co-Creator, Active Citizen) ตามวิสัยทัศน์และจุดเน้นของหลักสูตร ซึ่งในปีการศึกษา 2566 คณะกรรมการบริหารหลักสูตร มีความเห็นว่าการประเมินผู้เรียนเป็นการประเมินตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในหลักสูตร ทั้ง 5 ด้านตามความสำคัญที่แตกต่างกันไปในแต่ละรายวิชา ซึ่งผู้สอนจะต้องระบุให้ครบถ้วนไว้ใน TQF 3 และหากมีข้อสังเกตหรือข้อเสนอแนะที่ควรปรับปรุงก็จะระบุไว้ใน TQF.5 เพื่อนำไปปรับแก้ในภาคการศึกษาถัดไป ซึ่งอาจารย์ผู้สอนบางรายวิชายังประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 5 ด้านและผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ที่ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน ไม่เหมาะสม จึงควรกำกับดูแล และช่วยเหลืออาจารย์ในการประเมินผลมากกว่านี้ เพื่อให้ได้วิธีการประเมิน และเครื่องมือการประเมินระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
1. หลักสุตรควรนำเข้าไฟล์ rqf5 ทุกรายวิชา เข้าฐาน dbs เพื่อผู้ประเมินได้ร่วมตรวจสอบการายงานผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชาต่าง ๆ และ เป็น one stop service ที่จะรองรับการตรวจ post audit ในอนาคต2. หลักสูตรควรรายงานค่าร้อยละนักศึกษาที่มีสัมฤทธิผลการเรียนรู้ตาม tqf5 และ doe3 ที่รายวิชารับผิดชอบตามที่รายงานใน rqf5 เปรียบเทียบกับผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชาเดียวกันของรอบปีการศึกษาที่่านมา เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มว่าดีขึ้นอย่างไร นำผลประเมินดังกล่าวไปประกอบการพิจารณาปรับปรุงการการจัดการเรียนการสอนต่อไป - ควรมีการประเมินรายวิชาต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น และนำผลการประเมินมาปรับปรุงแต่ละรายวิชาให้มีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น |
||
การตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา | ||
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรมีการตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยมหาวิทยาลัยแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับมาตรฐานวิชาการ เพื่อทำการพิจารณาข้อสอบปลายภาค และผลสอบในแต่ละรายวิชา คณะกรรมการได้ทำการตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยเริ่มจากตรวจสอบวิธีการประเมินและวิธีการวัดผล กิจกรรมการเรียนการสอนที่กำหนดไว้ในแผนการสอนของทุกรายวิชาว่าสอดคล้องกับจุดเน้นของรายวิชาใน Curriculum Mapping ตาม มคอ.2 หรือไม่หลังจากการจัดสอบและประเมินคะแนนสอบในแต่ละรายวิชาแล้ว คณะกรรมการกำกับมาตรฐานวิชาการจะประชุมเพื่อพิจารณาผลการตัดเกรดให้พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง หลังสิ้นปีการศึกษา หลักสูตรจะมีการประชุมกำกับมาตรฐานวิชาการ เพื่อทวนสอบผลสัมฤทธิ์นักศึกษาในระดับรายวิชา เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของการให้คะแนนและวิธีการประเมินที่กำหนดในรายละเอียดวิชา สำหรับทวนสอบผลสัมฤทธิ์นักศึกษาระดับหลักสูตรจากการประเมินความสำเร็จของการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ โดยมีการประเมินจากแหล่งฝึกงาน ผู้ใช้บัณฑิต บัณฑิตใหม่ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าผู้สำเร็จการศึกษามีผลการเรียนรู้สอดคล้องกับจุดเน้นของรายวิชาใน Curriculum Mapping ตาม มคอ.2 ตามที่กำหนดไว้ในรายละเอียดหลักสูตรนั้น ในปีการศึกษา 2566 สาขาวิชากีฬากอล์ฟไม่ได้ดำเนินการ เนื่องจากยังไม่มีผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตร ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
นอกเหนือจากการนำมติที่ประชุมกรรมการกำกับมาตรฐานวิชาการมาใช้ประกอบการปรับปรุงเครื่องมือประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาแล้ว หลักสูตรควรรายงานการทวนสอบผลสัมฤทธิ์กระบวนการจัดการเรียนการสอนรายวิชาอย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาทั้งหมดที่มีการจัดการเรียนการสอน (ซึ่งในปีการศึกษา 2566 สาขาวิชากีฬากอล์ฟได้จัดการเรียนการสอน 21 รายวิชา และได้ดำเนินการทวนสอบทั้ง 7 รายวิชา คิดเป็นร้อยละ 33.33) เพื่อนำความเห็นของกรรมการทวนสอบที่มีต่อเครื่องมือต่างๆ ในการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชาที่ทวนสอบ ว่ามีความเหมาะสมหหรือยังควรต้องปรับปรุงเพิ่มเติมเครื่องมือฯ อื่นๆ เพื่อนำผลประเมินดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาปรับปรุงเครื่องมือการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาในรายวิชาที่ทวนสอบต่อไป- ควรอธิบายเพิ่มเติมถึงการนำการทวนสอบผลสัมฤทธิ์นักศึกษาไปสู่การปรับปรุงการเรียนการสอนในแต่ละรายวิชาให้เป็นรูปธรรม |
||
การกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอน และประเมินหลักสูตร (มคอ.5 มคอ.6 และ มคอ.7) | ||
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
สิ้นปีการศึกษา 2566 หลักสูตรจัดประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ในการประชุม ครั้งที่ 1/2567.วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน 2567 เพื่อพิจารณาทบทวนการการกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอน และประเมินหลักสูตร (TQF.5 TQF.6 และ TQF.7) โดยนำผลการพิจารณาของคณะกรรมการกำกับมาตรฐานวิชาการ และผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาฯ มาพิจารณาด้วย ซึ่งในปีการศึกษา 2566 คณะกรรมการบริหารหลักสูตร มีความเห็นว่า ตามที่หลักสูตรได้กำหนดให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาที่เปิดสอนได้มีการจัดทำ TQF.5 ครบถ้วนทุกรายวิชา หลังจากนั้น ผู้อำนวยการหลักสูตรจะได้มีการจัดทา TQF.7 ต่อไป ภายใน 60 วันหลังจากวันสิ้นสุดปีการศึกษา โดยหลักสูตรได้มีการประชุมวางแผนเกี่ยวกับการกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอนและประเมินหลักสูตร โดยมีมติให้อาจารย์ทุกรายวิชาเน้นย้ำให้นักศึกษาทำการประเมินผลการสอนของอาจารย์ผู้สอนผ่านระบบการประเมินการสอนออนไลน์ และให้ทุกรายวิชานำผลการดำเนินงานในรายวิชาจาก TQF.5 มาปรับปรุง TQF.3 ในภาคการศึกษาต่อไป และจากกระบวนการในการกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอนและประเมินหลักสูตรตามกระบวนการที่ตั้งไว้สำหรับผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาที่พบว่านักศึกษาบางส่วนไม่ค่อยมีระเบียบวินัย และไม่ตรงต่อเวลามอบหมายให้อาจารย์ที่ปรึกษา และอาจารย์ผู้สอนแต่ละวิชากำกับดูแลและใช้กระบวนการในการเรียนการสอนให้นักศึกษามีระเบียบวินัย และตรงต่อเวลาให้มากกว่านี้ ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ในอนาคตหลักสูตรควรรายงานสรุปถึงร้อยละนักศึกษาที่มีสัมฤทธิผลการเรียนรู้ clo , ylo และ plo ในทุกปีการศึกษา และแสดงค่าแนวโน้มผลลัพธ์การเรียนรุ้ดังกล่าวเพื่อใช้ทั้งประกอบการปรับปรุงการกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอน และประเมินหลักสูตร (มคอ.5 มคอ.6 และ มคอ.7) และรองรับการตรวจ post audit- ควรมีการอธิบายเพิ่มเติมให้ครบขั้นตอนการประเมินในแต่ละหัวข้อเพื่อให้มีการประเมินผลอย่างเป็นรูปธรรมและมีการนำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุง |
||
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
- |
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicators) |
ผลการประเมิน (ผ่า่น / ไม่ผ่าน) |
---|---|
1. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรอย่างน้อยร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผน ติดตาม และทบทวนการดำเนินงานหลักสูตร |
|
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม | |
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีส่วนร่วมในการประชุม จำนวน 2 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 100 ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- |
|
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
- |
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicators) |
ผลการประเมิน (ผ่า่น / ไม่ผ่าน) |
---|---|
2. มีรายละเอียดของหลักสูตรตามแบบ มคอ.2 ที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ หรือมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา [ถ้ามี] |
|
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม | |
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- |
|
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
- |
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicators) |
ผลการประเมิน (ผ่า่น / ไม่ผ่าน) |
---|---|
3. มีรายละเอียดของรายวิชา และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม [ถ้ามี] ตามแบบ มคอ.3 และ มคอ.4 อย่างน้อยก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาให้ครบทุกรายวิชา |
|
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม | |
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- |
|
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
|
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicators) |
ผลการประเมิน (ผ่า่น / ไม่ผ่าน) |
---|---|
4. จัดทำรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา และรายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม [ถ้ามี] ตามแบบ มคอ.5 และ มคอ.6 ภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่เปิดสอนให้ครบทุกรายวิชา |
|
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม | |
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- |
|
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
|
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicators) |
ผลการประเมิน (ผ่า่น / ไม่ผ่าน) |
---|---|
5. จัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตรตามแบบ มคอ.7 ภายใน 60 วัน หลังสิ้นสุดปีการศึกษา |
|
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม | |
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- |
|
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
- |
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicators) |
ผลการประเมิน (ผ่า่น / ไม่ผ่าน) |
---|---|
6. มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ที่กำหนดใน มคอ.3 และ มคอ.4 [ถ้ามี] อย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา |
|
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม | |
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรเปิดทำการสอนจำนวน 21รายวิชา มีผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ที่กำหนดใน RQF.3 และ RQF.4 (ถ้ามี) จำนวน 7 วิชา คิดเป็นร้อยละ 33.33โดยมีรายวิชาที่ทำการทวนสอบ ดังต่อไปนี้ 1. GOF 124 กฎ ข้อบังคับกีฬากอล์ฟ ภาค S/2566 2. GOF 221 การพัฒนาวงสวิงและวิธีการ เล่นกอล์ฟ ภาค S/2566 3. GOF 214 การเสริมสร้างสมรรถภาพ ทางกาย ภาค 1/2566 4. GOF 311 วิธีวิทยาการวิจัย ภาค 1/2566 5. GOF 322 การฝึกทักษะกีฬากอล์ฟ ภาค 1/2566 6. GOF 215 นวัตกรรมและเทคโนโลยี กีฬากอล์ฟ ภาค 2/2566 7. GOF 222 จิตวิทยาการกีฬาสำหรับ กอล์ฟ ภาค 2/2566 ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- |
|
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
- |
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicators) |
ผลการประเมิน (ผ่า่น / ไม่ผ่าน) |
---|---|
7. มีการพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน หรือการประเมินผลการเรียนรู้จากผลการประเมินการดำเนินงานที่รายงานใน มคอ.7 ปีที่แล้ว |
|
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม | |
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- |
|
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
|
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicators) |
ผลการประเมิน (ผ่า่น / ไม่ผ่าน) |
---|---|
8. อาจารย์ใหม่ [ถ้ามี] ทุกคน ได้รับการปฐมนิเทศ หรือคำแนะนำด้านการจัดการเรียนการสอน |
|
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม | |
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรมีการรับอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรใหม่ จำนวน 1 คน คือ อ.ชาตยา ชนะชัย โดยได้รับการปฐมนิเทศและคำแนะนำด้านการจัดการเรียนการสอน ดังนี้ การจัดทำ TQF 3 การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning วิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เป็นต้น ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- |
|
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
- |
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicators) |
ผลการประเมิน (ผ่า่น / ไม่ผ่าน) |
---|---|
9. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกคนได้รับการพัฒนาทางวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง |
|
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม | |
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกคนได้รับการพัฒนาทางวิชาการและ/หรือวิชาชีพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง1. อ.ชาตยา ชนะชัย 2 ครั้ง (1) ศึกษาดูงานการจัดการแข่งขันกอล์ฟอาชีพ ระดับนานาชาติ รายการ Honda LPGA Tour (2) ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับมูลนิธิกีฬากอล์ฟไทย 2. ผศ.ดร.อภิชาติ ไตรแสง 1 ครั้ง -ศึกษาดูงานสนามกอล์ฟ ณ จังหวัดเชียงใหม่ 3. ผศ.อดิศร คันธรส. 1 ครั้ง -ศึกษาดูงานสนามกอล์ฟ ณ จังหวัดเชียงใหม่ 4. ผศ.ดร.ชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์ 1 ครั้ง -ศึกษาดูงานการจัดการแข่งขันกอล์ฟอาชีพ ระดับนานาชาติ รายการ Honda LPGA Tour 5. ผศ.ประสิทธิ์ศิลป์ ชมสะห้าย 1 ครั้ง . -ศึกษาดูงานสนามกอล์ฟ ณ จังหวัดเชียงใหม่ ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- |
|
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
|
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicators) |
ผลการประเมิน (ผ่า่น / ไม่ผ่าน) |
---|---|
10. จำนวนบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอน [ถ้ามี] ได้รับการพัฒนาวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ต่อปี |
|
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม | |
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
บุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอน จำนวน 2 คน ได้รับการพัฒนาวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ ทั้ง 2 คน คิดเป็นร้อยละ 1001. นางสาวประภา ทันตศุภรักษ์ 1 ครั้ง 2. นางสาวพัณณ์พัสร์ สมัครรัฐกิจ 1 ครั้ง ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ส่งเสริมให้บุคลากรสายสนับสนุนได้รับการฝึกวิชาการหรือวิชาชีพในห้องเรียน เช่น การช่วยเตรียมการสอน เตรียมรายชื่อนักศึกษา วิชาชีพ เช่นการเตรียมอุปกรณ์ การติดตามการฝึกล่นกอล์ฟของนักศึกษา หรือการเข้ารับการอบรมวิชาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง |
|
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
|
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicators) |
ผลการประเมิน (ผ่า่น / ไม่ผ่าน) |
---|---|
11. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้าย/บัณฑิตใหม่ที่มีต่อคุณภาพหลักสูตร เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.50 จากคะแนนเต็ม 5.00 |
|
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม | |
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- |
|
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
- |
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicators) |
ผลการประเมิน (ผ่า่น / ไม่ผ่าน) |
---|---|
12. ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตใหม่ เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.50 จากคะแนนเต็ม 5.00 |
|
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม | |
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- |
|
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
- |
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicators) |
ผลการประเมิน (ผ่า่น / ไม่ผ่าน) |
---|---|
13. ร้อยละ 80 ของรายวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอน สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนด |
|
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม | |
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรมีการจัดการเรียนการสอน จำนวน 21 รายวิชา โดยสามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนด คิดเป็นร้อยละ 100ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- |
|
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
- |
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicators) |
ผลการประเมิน (ผ่า่น / ไม่ผ่าน) |
---|---|
14. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อคุณภาพการสอน รวมทุกรายวิชา เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5.00 |
|
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม | |
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรมีการจัดการเรียนการสอน จำนวน 21 รายวิชา โดยมีการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อคุณภาพการสอน จำนวน 9 รายวิชา ซึ่งรวมทุกรายวิชามีคะแนนเฉลี่ย 4.08ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- |
|
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
- |
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicators) |
ผลการประเมิน (ผ่า่น / ไม่ผ่าน) |
---|---|
15. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อทรัพยากรสนับสนุนการเรียนการสอน เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.51 จากคะแนน เต็ม 5.00 |
|
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม | |
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
4.08 ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- |
|
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
|
ผลการประเมินจากผลการดำเนินงาน ตัวบ่งชี้ 5.4 | ||
---|---|---|
ข้อมูลพื้นฐาน | ผลการประเมิน | |
จำนวนยืนยัน | กรรมการ | |
[1] รวมจำนวนตัวบ่งชี้ในแต่ละปี | 13 | 5.00 |
[2] จำนวนตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการผ่านเฉพาะตัวบ่งชี้ที่ 1-5 | 1-5 | |
[3] ร้อยละของตัวบ่งชี้ที่ 1-5 ที่ผ่าน [ถ้าผ่านทั้ง 5 ข้อจะเป็นร้อยละ 100] | 100 | |
[4] จำนวนตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการผ่านรวม | 13 | |
[5] ร้อยละของตัวบ่งชี้ทั้งหมดที่ผ่าน | 100.00 |
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง |
---|
ระบบการดำเนินงานของภาควิชา/คณะ/สถาบัน โดยมีส่วนร่วมของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เพื่อให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล |
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
การนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงานปีการศึกษา 2566 หลักสูตรได้จัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ดังนี้ 1. อาจารย์ ประจำหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน ได้มีการจัดหาเอกสาร หนังสือ ตำราทางวิชาการ อุปกรณ์การเรียนการสอน สื่อการสอน เครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยการนำเสนอคณะกรรมการบริหารหลักสูตร เพื่อทำการจัดหาและสนับสนุนเป็แหล่งเรียนรู้สำหรับนักศึกษา 2. วิทยาลัยได้รับความร่วมมือจากสนามกอล์ฟ RSU Vista Golf Course ในการเรียนการสอน ของสาขาวิชากีฬากอล์ฟ โดยให้ใช้สนามกอล์ฟ RSU Vista Golf Course เป็นห้องปฏิบัติการ และสถานที่ฝึกปฏิบัติ และนอกจากนี้มีห้อง Golf Simulator สำหรับฝึกซ้อมก่อนลงไปปฏิบัติในสนามจริง การประเมินกระบวนการ สิ้นปีการศึกษา 2566 หลักสูตรจัดประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตรครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน 2567 เพื่อพิจารณาทบทวนระบบการดำเนินงานของสาขาวิชา โดยมีส่วนร่วมของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เพื่อให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล พบว่าห้องเรียนและห้องปฏิบัติการที่ซึ่งใช้สถานที่สถาบันกีฬามีความพร้อม รวมที่การเรียนผ่านระบบออนไลน์ที่สถาบันการกีฬามีความพร้อม มีระบบสัญญาณ Wifi สำหรับการเรียนการสอน ส่วนการเรียนการสอนภาคปฏิบัติเสนอแนะให้รายวิชาต่าง ๆ นำนักศึกษาไปเรียนรู้ที่สนามกอล์ฟอื่นบ้างนอก เหนือจากสนามกอล์ฟ RSU Vista Golf Course เพื่อให้นักศึกษาได้มีประสบการการเล่นในสนามที่มีความแตกต่างกัน เพื่อเพิ่มทักษะในการเล่นและการแก้ปัญหาในการเล่นกีฬากอล์ฟในสถานที่และสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรควรประเมินระบบการดำเนินงานของภาควิชา/คณะ/สถาบัน โดยมีส่วนร่วมของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เพื่อให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล - ควรเพิ่มเติมสถานประกอบการให้เพิ่มมากขึ้น |
จำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน |
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
สนามกอล์ฟ RSU Vista Golf Course มีความพร้อมและสมบูรณ์สำหรับการฝึกทักษะกีฬากอล์ฟ และสถาบันกีฬาที่ใช้เป็นสถานที่เรียนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ มีระบบสัญญาณ Wifi สำหรับการเรียนการสอน มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล มีโสติทัศนูปกรณ์ที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน- หลักสูตรมีสิ่งสนับสนุนเพียงพอ ต่อมีจำนวนนักศึกษาที่มีในหลักสูตร แนวทางเสริม ควรวางแผนเพิ่มเติมเรื่องจำนวนสิ่งสนับสนุน เมื่อมีจำนวนนักศึกษาเพิ่มขึ้นในอนาคต ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรควรรายงานผลการประเมินจำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอนโดย mapping 21 รายวิชาที่จัดการเรียนการสอน ทั้งในเชิงความครอบคลุม เพียงพอ และทันสมัย ที่จะสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ และ clo รายวิชา |
กระบวนการปรับปรุงตามผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล |
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผลการประเมินความพึงพอใจของอาจารย์ที่มีต่อการเรียนการสอนภาคปฏิบัติในสนามกอล์ฟ และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้อื่น ๆ มีคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ย เท่ากับ 3.40 จากคะแนนเต็ม 5 ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ข้อสังเกต1.คะแนนประเมินความพึงพอใจของอาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ เฉลี่ย 3.40 ถือว่าไม่สูง ควรมีการรายงานความเห็นเพื่อการปรับปรุงความพึงพอใจในด้านต่าง ๆ 2.หลักสูตรควรรายงานผลการปรับปรุงตามผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลจากรอบปีการศึกษา 2565 มาสู่การปรับปรุงในรอบปีการศึกษา 2566 |
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
|
ตัวบ่งชี้คุณภาพ | ผลดำเนินการ |
---|---|
กรรมการ | |
1.1 การบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่กำหนดโดยสกอ. | ผ่าน |
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ.2561 | N/A |
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี | N/A |
3.1 การรับนักศึกษา | 3.00 |
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา | 3.00 |
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา | N/A |
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์ | 3.00 |
4.2 คุณภาพอาจารย์ | 5.00 |
4.3 ผลที่เกิดกับอาจารย์ | N/A |
5.1 สาระของรายวิชาในหลักสูตร | 3.00 |
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน | 3.00 |
5.3 การประเมินผู้เรียน | 3.00 |
5.4 ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ | 5.00 |
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ | 3.00 |
ผลการประเมินเฉลี่ยรวม [9 ตัวบ่งชี้] | 3.44 |
องค์ประกอบ | ตัวบ่งชี้ | I | P | O | คะแนนเฉลี่ย | ผลการประเมิน |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | ผ่านการประเมิน | หลักสูตรได้มาตรฐาน | ||||
2 | N/A | - | - | N/A | N/A | N/A |
3 | 2 | 3.00 | - | - | 3.00 | ระดับคุณภาพปานกลาง |
4 | 2 | 4.00 | - | - | 4.00 | ระดับคุณภาพดี |
5 | 4 | 3.00 | 3.67 | - | 3.50 | ระดับคุณภาพดี |
6 | 1 | - | 3.00 | - | 3.00 | ระดับคุณภาพปานกลาง |
ผลการประเมิน | 3.40 | 3.50 | N/A | 3.44 | ระดับคุณภาพดี | |
ระดับคุณภาพ | ระดับคุณภาพดี | ระดับคุณภาพดี | N/A |