รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ

วันที่ประเมิน: 19 กรกฏาคม 2567, 09:30น.

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

[ตัวบ่งชี้ 1.1] การบริหารการจัดการหลักสูตรตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร

เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
1. จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
- มีการระบุอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรครบทุกท่าน
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
2. คุณสมบัติอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม

ระบุชื่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่ผลงานวิชาการในรอบ 5 ปี หมดอายุในปีการศึกษาที่ตรวจ (ต้องเพิ่มผลงานชิ้นใหม่ในปีการศึกษาหน้า)

- ไม่มี
ข้อคิดเห็น
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกท่านมีผลงานทางวิชาการในรอบ 5 ปี และไม่มีท่านใดมีผลงานหมดอายุในปีการศึกษาที่ตรวจ
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
[สำหรับประเภทวิชาชีพ/ปฏิบัติการ]
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 2 ใน 5 คน ต้องมีประสบการณ์ในด้านการปฏิบัติการ
ระบุข้อคิดเห็น
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม

ระบุชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตรที่ผลงานวิชาการในรอบ 5 ปี หมดอายุในปีการศึกษาที่ตรวจ (ต้องเพิ่มผลงานชิ้นใหม่ในปีการศึกษาหน้า)

- ไม่มี
ข้อคิดเห็น
มีการระบุชื่ออาจารย์และรายละเอียดคุณสมบัติของอาจารย์ประจำหลักสูตร และผลงานทางวิชากรทุกท่าน
 
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
4. คุณสมบัติอาจารย์ผู้สอน ที่เป็นอาจารย์ประจำ
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
-ได้ระบุชื่ออาจารย์ผุ้สอนที่เป็นอาจารย์ประจำ และให้รายละเอียดคุณสมบัติของอาจารย์ผุ้สอนไว้ครบถ้วน

ข้อสังเกต อาจารย์ผูัรับผิดชอบหลักสูตรไม่ได้เป็นอาจารย์ผู้สอน
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน ที่เป็นอาจารย์พิเศษ
ข้อคิดเห็น
ได้ระบุชื่ออาจารย์ผู้สอนทีเ่ป็นอาจารย์พิเศษ และให้รายละเอียดคุณสมบัติของอาจารย์ผุ้สอนไว้ครบถ้วน
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
มีการปรัปบรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ผลการประเมินจากผลการดำเนินงาน ตัวบ่งชี้ 1.1

องค์ประกอบที่ 2 การผลิตบัณฑิต

[ตัวบ่งชี้ 2.1] คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และ ด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ.2561

หมายเหตุ : *
(1) จำนวนบัณฑิตทั้งหมด หมายถึง ผู้รับปริญญา ในปีการศึกษา 2565 ประกอบด้วย บัณฑิตที่จบภาคการศึกษา 1/2565 , 2/2565 และ S/2566 [ปีต้องอัพเดตตามปีการศึกษาที่ประเมินย้อนหลัง 1 ปี]
(2) จำนวนบัณฑิตที่รับการประเมินจากผู้ใช้บัณฑิตต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาตาม (ข้อ1)

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
จำนวนบัณฑิตทั้งหมด 82 4.39
จำนวนบัณฑิตที่ได้รับการประเมินทั้งหมด 20
คะแนนเฉลี่ยรวมคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561 4.39
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
มีการติดตามความคิดเห็นจากผู้ใช้บัณฑิต โดยในปีนี้มีผู้สำเร็จการศึกษา 82  คน ได้รับการประเมิน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 24.39 ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.39 จากคะแนนเต็ม 5 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)

[ตัวบ่งชี้ 2.2] ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี

หมายเหตุ : *
(1) จำนวนบัณฑิตทั้งหมด จะต้องตรงกับตาราง ตัวบ่งชี้ 2.1
(2) จำนวนบัณฑิตที่ตอบแบบสำรวจจะต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
จำนวนบัณฑิตทั้งหมด 82 4.17
จำนวนบัณฑิตที่ตอบแบบสำรวจ 71
จำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษา [มีงานทำในองค์กร] 20
จำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษา [ประกอบอาชีพอิสระ] 13
จำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษา [ประกอบกิจการส่วนตัว/ธุรกิจครอบครัว] 22
จำนวนบัณฑิตที่ไม่ได้งานทำ 11
จำนวนบัณฑิตที่ศึกษาต่อ 2
จำนวนบัณฑิตที่อุปสมบท 1
จำนวนบัณฑิตที่เกณฑ์ทหาร 1
จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาที่มีงานทำก่อนเข้าศึกษา 1
ร้อยละที่ได้ 83.33
ผลลัพธ์ที่ได้ 4.17
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผลการติดตามบัณฑิตอยุ่ในเกณฑ์โดยสำรวจในวันที่ 9 ธันวาคม 2566 ซึ่งผ่านมาหลายเดือนแล้ว ควรสำรวจและติดตามบัณฑิตที่ยังไม่ได้ทำ  ปัจจุบันบัณฑิตอาจจะได้งานกันแล้ว  เพราะจะทำให้ได้รับคะแนนเพิ่มขึ้น

ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 71 คน (ร้อยละ 86.59 ของบัณฑิตทั้งหมด)
พบว่า จำนวนผู้มีงานทำ ประกอบอาชีพอิสระ และประกอบอาชีพส่งนตัวภายใน 1 ปี มีจำนวน 55 คน (ร้อยละ 83.33) 
แปลงเป็นคะแนนจะได้เท่ากับ 4.17
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ควรมีการติดตามบัณฑิตที่ยังไม่ได้ทำงาน
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 2 (2 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 4.28 คะแนน

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

[ตัวบ่งชี้ 3.1] การรับนักศึกษา

คะแนนที่ได้ 4
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
1. หลักสูตรมีนักศึกษาแรกเข้าเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 4 ปี และทุกปีเกินกว่าเป้าหมายที่หลักสูตรกำหนดไว้ 
2. มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน ทำให้มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม  โดยในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรได้ให้อาจารย์ทุกท่านมีส่วนร่วมในการกระบวนการรับสมัครนักศึกษา มีการสร้าง Content สร้างกิจกรรม เพื่อเอาไปลงใน Page facebook, twitter, Instagram, TikTok ของหลักสูตร ส่งผลให้ปีการศึกษา 2566 ได้นักศึกษาจำนวน 230 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
3. มีระบบและกลไกสู่การปฏิบัติเป็นรูปธรรม มีการประเมินกระบวนการ โดยปี 2566 หลักสูตรได้ให้อาจารย์มีส่วนร่วมในกระบวนการรับสมัครนักศึกษา มีการสร้าง Content สร้างกิจกรรม นำไปประชาสัมพันธ์ในเพจ Facebook, Twitter, Instagram, TikTok ของหลักสูตร ส่งผลให้ปีการศึกษา 2566 มีจำนวนนักศึกษา 230 คน
4. ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรได้ดำเนินการตามระบบการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา คือจัดอาจารย์ประจำสาขาเข้าร่วมสอนรายวิชา RSU111 และจัดปฐมนิเทศให้กับนักศึกษาใหม่ โดยเชิญคณาจารย์ทุกท่านในสาขาเข้าร่วมชี้แจง แนะนำกับนักศึกษาใหม่ทุกคน และการเตรียมความพร้อมความรู้ในการทำโมเดลทางธุรกิจก่อนเข้าสู่รายวิชาหลักทางการบริหารธุรกิจในรายวิชา RSU111
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การรับนักศึกษา:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- ปีการศึกษา 2566 หลักสูตรได้ให้อาจารย์ทุกท่านมีส่วนร่วมในการกระบวนการรับสมัครนักศึกษา มีการสร้าง Content สร้างกิจกรรม เพื่อเอาไปลงใน Page facebook, twitter, Instagram, TikTok ของหลักสูตร ส่งผลให้ปีการศึกษา 2566 ได้นักศึกษาจำนวน 230 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
- มีระบบและกลไกสู่การปฏิบัติเป็นรูปธรรม  ปี 2565 และปี 2566 มีจำนวนนักศึกษาแรกเข้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 189 คน เพิ่มเป็น 230 คน (ซึ่งมากกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้จำนวน 150 คน

- มีการประเมินกระบวนการ โดยปี 2566 หลักสูตรได้ให้อาจารย์มีส่วนร่วมในกระบวนการรับสมัครนักศึกษา มีการสร้าง Content สร้างกิจกรรม นำไปประชาสัมพันธ์ในเพจ Facebook, Twitter, Instagram, TikTok ของหลักสูตร ส่งผลให้ปีการศึกษา 2566 มีจำนวนนักศึกษา 230 คน

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
การเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- สำหรับรายวิชา RSU111 สังคมธรรมาธิปไตย ที่จัดอาจารย์คณะบริหารธุรกิจเข้าสอนให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ได้พัฒนาโดยนำเรื่อง Business Model Canvas มาผนวกในการสอน ซึ่งถือเป็นการเตรียมความพร้อมความรู้ในการทำโมเดลทางธุรกิจก่อนเข้าสู่รายวิชาหลักทางการบริหารธุรกิจอีกด้วย  และการปฐมนิเทศ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่
- หลักสูตรได้เชิญเจ้าหน้าที่ห้องสมุด เพื่อมาให้ความรู้กับนักศึกษาในชั้นปีที่ 1 จำนวน 2 ชั่วโมง เกี่ยวกับการใช้ห้องสมุด การสืบค้นสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้ ความเข้าใจ ความพร้อมก่อนเข้าสู่ชั้นเรียน
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ควรมีการจัดโครงการหรือกิจการเพิ่มเติมในการเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่ เนื่องจากการรายงานนักศึกษาแรกเข้า ปีการศึกษา 2565 จำนวน 189 คน และปีการศึกษา 2566 จำนวน 230 คน แต่รายงานข้อมูลนักศึกษาในหน้าที่ 43  ปีการศึกษา 2565 จำนวน 159 คน และปีการศึกษา 2566 จำนวน 182 คน  เพื่อลดการตกออกของนักศึกษา
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 3.2] การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา

คะแนนที่ได้ 4
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
1. หลักสูตรมีการพัฒนานักศึกษา โดยมีโครงการที่เกียวข้องความเป็นนานาชาติจํานวน 4 โครงการ แต่มีการดําเนินการ 5 ครั้ง โดยมีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ 244 จากนักศึกษาสาขาการจัดการ รหัส 62-65 ทังหมดมีจํานวน 447 คนคิดเป็นร้อยละ 54.59 เป็นเทียบกับตัวชี้วัดความสําเร็จที่มหาวิทยาลัย กําหนดสําหรับปีการศึกษา คือ KR 4.1.1 ร้อยละของนักศึกษาเริ่มต้นสร้างแฟ้มสะสมผลงานระดับนานาชาติหรือเทียบเท่า เท่ากับ ร้อยละ 30 ของนักศึกษาทังหมด จะเห็นว่าสูงกว่าค่าเป้าหมายที่ มหาวิทยาลัยกําหนด
2. นักศึกษาของหลักสูตรมีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในงานประชุมวิชาการ จำนวน 6 บทความ

3. ปีการศึกษา 2566  จากกิจกรรม/โครงการทั้ง 5 โครงการ มีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 201 คน จากนักศึกษาสาขาการจัดการทั้งหมดมีจำนวน 483 คนคิดเป็นร้อยละ 41.61 รายละเอียดการเข้าร่วมกิจกรรมทั้ง 6 กิจกรรมของนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการได้ถูกบันทึกไว้ใน International E Portfolio ของนักศึกษา ซึ่งสามารถดูได้จาก RSU Connect ซึ่งเมื่อเทียบกับตัวชี้วัดความสำเร็จสำหรับปีการศึกษา 2566 ที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ร้อยละ 60 จึงถือว่าสูงกว่าค่าเป้าหมายที่มหาวิทยาลัยกำหนด 
4. หลักสูตรมีระบบการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในปีการศึกษา 2566 โดยนำนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับนักศึกษานานาชาติ
5. ปีการศึกษา 2566 รายวิชาต่าง ๆ ที่ส่งเสริมให้นักศึกษาสร้างผลงานต่าง ๆ ได้แก่ (1) วิชา MGT490 สัมมนาการจัดการ ส่งเสริมให้นักศึกษาสร้างผลงานวิชาการโดยการเขียนบทความวิชาการ นำเสนอผลงานในการประชุมผลงานการวิจัยและวิชาการระดับชาติ นวัตกรรมธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการครั้งที่ 11 ประจำปี 2566 จัดโดยคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต วันที่ 15 ธันวาคม 2566 โดยมีบทความเข้าร่วมนำเสนอจำนวน 6 บทความ (2) รายวิชาที่ให้ความสำคัญของนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้องค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้คือ วิชา MGT424 แผนธุรกิจ นักศึกษาต้องคิดค้นผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรม และเขียนแผนธุรกิจเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการนำนวัตกรรมที่คิดค้นได้มาทำเชิงพาณิชย์

 
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษาปริญญาตรี:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรฯ มีการดูแลนักศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ (1) นักศึกษาที่มีผลการเรียนปกติ เกรดเฉลี่ยเกิน 2.00 นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเกิน 15 หน่วยกิต อาจารย์ที่ปรึกษาจะพิจารณารายวิชาที่นักศึกษาต้องการลงทะเบียน มีการให้คำแนะนำ และดำเนินการปลดล๊อกลงทะเบียนและ (2) นักศึกษาที่มีสถานะ Probation คือนักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ยน้อยกว่า 2.00 นักศึกษาจะลงทะเบียนได้ไม่เกิน 15 หน่วยกิต อาจารย์ที่ปรึกษาจะดำเนินการพูดคุย อธิบาย พิจารณารายวิชาที่ลง และให้คำแนะนำอย่างละเอียดก่อนดำเนินการปลดล๊อคให้นักศึกษา ตัวอย่างการให้คำแนะนำ เช่น ให้นักศึกษาลงทะเบียนในวิชาที่นักศึกษาถนัด เพื่อดึงเกรดเฉลี่ยสะสมให้สูงขึ้น แล้วค่อยลงรายวิชาที่ยากกว่า หรือ การแนะนำให้นักศึกษาแก้รายวิชาที่ติด F เพื่อดึงเกรดเฉลี่ยสะสมให้สูงขึ้น เป็นต้น การให้คำแนะนำดังกล่าวจะทำให้นักศึกษามีการตกออกน้อยลง  ปีการศึกษา 2565 ต่อเนื่องปีการศึกษา 2566 การเรียนการสอนเป็นแบบ Onsite 100% นอกจากนักศึกษาสามารถติดต่อกับอาจารย์ที่ปรึกษาในรูปแบบ Online แล้ว นักศึกษาสามารถเข้ามาขอคำปรึกษากับอาจารย์แบบ Onsite อีกด้วย โดยอาจารย์ที่ปรึกษาแต่ละท่านจะติดชั่วโมง Office Hours จำนวน 15 ชั่วโมง ซึ่งเป็นชั่วโมงที่นักศึกษาสามารถมาขอรับคำปรึกษาได้ที่ Office ของอาจารย์
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- จากแผนยุทธศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยกำหนดขึ้น หลักสูตรได้มีโครงการในการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา และการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ โดยมีการกิจกรรมความเป็นนานาชาติ (International Activity) รวมกับวิทยาลัยนานาชาติ และมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 6 กิจกรรม  กิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ดังกล่าว มีความสัมพันธ์กับมาตรฐานผลการเรียนรู้

- หลักสูตรได้มีโครงการในการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา และการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21  ได้แก่ (1) กิจกรรมความเป็นนานาชาติ (International Activity) ภายใต้ชื่อโครงการ English Exchange: RSU Internationalized Academic Integration Activity EP II เป็นความร่วมมือกันระหว่างคณาจารย์จากวิทยาลัยนานาชาติ และ คณะบริหารธุรกิจ (2) กิจกรรมความเป็นนานาชาติ (International Activity) ชื่อกิจกรรม International Dining Etiquette (3) กิจกรรมความเป็นนานาชาติ (International Activity) ภายใต้ชื่อกิจกรรม  Academic Activity with Philippines Students (4) โครงการฝึกอบรมทางการจัดการ (The Building Game) เป็นโครงการในรูปของกิจกรรมนานาชาติ (International Activity) มีวิทยากรเป็นชาวต่างชาติมาดำเนินกิจกรรมให้ (5)โครงการความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต และ FPT University ประเทศเวียดนาม (6) กิจกรรมความเป็นนานาชาติ (International Activity) ภายใต้ชื่อกิจกรรม Paper Helicopter Project The Key of Optimization in New Product Development  โดย Professor Kent Solomonsson
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในการส่งเสริมให้เกิดการสร้างผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ปีการศึกษา 2566 รายวิชาต่าง ๆ ที่ส่งเสริมให้นักศึกษาสร้างผลงานต่าง ๆ ตามรายละเอียดต่อไปนี้
1. วิชา MGT490 สัมมนาการจัดการ ส่งเสริมให้นักศึกษาสร้างผลงานวิชาการโดยการเขียนบทความวิชาการ นำเสนอผลงานในการประชุมผลงานการวิจัยและวิชาการระดับชาติ นวัตกรรมธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการครั้งที่ 11 ประจำปี 2566 จัดโดยคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต วันที่ 15 ธันวาคม 2566 โดยมีบทความเข้าร่วมนำเสนอจำนวน 6 บทความ
2. รายวิชาที่ให้ความสำคัญของนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้องค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้คือ วิชา MGT424 แผนธุรกิจ นักศึกษาต้องคิดค้นผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรม และเขียนแผนธุรกิจเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการนำนวัตกรรมที่คิดค้นได้ มาทำเชิงพาณิชย์
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)

[ตัวบ่งชี้ 3.3] ผลที่เกิดกับนักศึกษา

หลักสูตรเปิดปีการศึกษา 2530 เป็นหลักสูตร 4 ปี (สำเร็จการศึกษาปีแรก: 2533)
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การคงอยู่
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2564
ร้อยละ 85.59
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2565
ร้อยละ 78.45
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2566
ร้อยละ 84.91
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรควรมีการเตรียมความพร้อมสำหรับนักศึกษาใหม่ การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตร การวางระบบการดูแลให้คำปรึกษาจากอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อรักษาอัตราคงอยู่ให้มีแนวโน้มที่ดีขึ้น
 
การสำเร็จการศึกษา
ร้อยละอัตราสำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2564
ร้อยละ 61.26
ร้อยละอัตราสำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2565
ร้อยละ 59.48
ร้อยละอัตราสำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2566
ร้อยละ 52.83
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- หลักสูตรจะมีส่งเสริม สนับสนุนให้นักศึกษาสำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนด  โดยการจัดทำแผนการลงเรียนถึงจำนวนหน่วยกิตและวิชาต่าง ๆ  เพื่อเป็นแนวทางในการลงทะเบียนในแต่ละภาคการศึกษา เพื่อให้สำเร็จการศึกษาตามเวลาที่กำหนดไว้ โดยความดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษาในการให้คำปรึกษาและปลดล้อคการลงทะเบียนในแต่ละภาคการศึกษาจากแบบตรวจสอบรายวิชา และใช้ในการให้คำปรึกษาการลงทะเบียนเรียน รวมถึงการวางแผนการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษา
- ปรับกระบวนการเพื่อให้นักศึกษาแต่ละรายมีความสำเร็จตามกำหนด
ความพึงพอใจและผลการจัดการข้อร้องเรียนของนักศึกษา
ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาเฉลี่ย ปีการศึกษา 2564 ร้อยละ 4.13
ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาเฉลี่ย ปีการศึกษา 2565 ร้อยละ 4.15
ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาเฉลี่ย ปีการศึกษา 2566 ร้อยละ 4.17
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการ มีคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยที่สูงขึ้น 3 ปีติดต่อกัน ดังนี้ 4.13, 4.15, 4.17 



 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 3 (3 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 3.67 คะแนน

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

[ตัวบ่งชี้ 4.1] การบริหารและพัฒนาอาจารย์

คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
ระบบการรับและแต่งตั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตร มีการปรับรายชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตร โดยเป็นการปรับเพื่อให้เหมาะสมกับการบริหารอาจารย์ของคณะบริหารธุรกิจ เนื่องจากปีการศึกษา 2567 หลักสูตรจะเปิดสาขาวิชาใหม่คือ สาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการ และในปีการศึกษา 2566 มีอาจารย์ประจำหลักสูตรได้ลาออกจากการเป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัย โดยเกณฑ์ที่หลักสูตรใช้ในการปรับรายชื่ออาจารย์ประกอบด้วย
1.    คุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร
2. มีผลงานทางวิชาการที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา และได้รับการเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในการพิจารณาแต่งตั้งให้บุคคลดำรงตำแหน่งทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการ ในรอบ 5 ปีย้อนหลัง
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ระบบการบริหารอาจารย์:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
         ในปีการศึกษา 2566 มหาวิทยาลัยได้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมามาใช้ในการบริหารอาจารย์ในระบบต่อไปนี้ HRonline.rsu.ac.th, Workload.rsu.ac.th. Acadamicwork.rsu.ac.th. Idp.rsu.ac.th และ asc.rsu.ac.th/servicedata ทำให้การบริหารงานง่าย สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
        จากผลการดำเนินงานข้างต้น ทำให้หลักสูตรมอบหมายภาระงานด้านการสอน การผลิตผลงานวิชาการ การประชาสัมพันธ์หลักสูตร การประกันคุณภาพการศึกษา และเรื่องอื่น ๆ  ได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ  ทำให้อาจารย์ทุกท่านมีภาระครบตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ให้มีคุณภาพทั้งด้านความรู้ ความสามารถในเนื้อหาวิชาที่รับผิดชอบ สามารถก้าวทันวิทยาการสมัยใหม่ มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ การวิจัย และการพัฒนาศาสตร์ในสาขาวิชาที่รับผิดชอบ:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- มีระบบและกลไกในการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ ส่งเสริมให้อาจารย์ทำผลงานวิชาการโดยให้เวลาแต่ละท่าน 1 วันต่อสัปดาห์
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ควรส่งเสริมให้อาจารย์ทำผลงานทางวิชาการเพื่อส่งบทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 2 หรือ 1 ให้มากขึ้น
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 4.2] คุณภาพอาจารย์

4.2.1 ร้อยละของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้งหมด 9 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 2
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 22.22
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 20 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
สาขาวิชาการจัดการ มีอาจารย์ประจำหลักสูตร จำนวน 9 คน เป็นอาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก จำนวน 2 คน คือ
1. ดร.สุขพงศ์  สุขพิพัฒน์
2. ดร.ปิยภรณ์  ชูชีพ
คิดเป็นร้อยละ 22.22 ซึ่งเทียบคะแนนได้ 5 คะแนน

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
4.2.2 ร้อยละของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้งหมด 9 0.00
[2] ไม่มีตำแหน่งทางวิชาการ [อาจารย์] 9
[3] ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ 0
[4] ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ 0
[5] ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ 0
[6] ดำรงตำแหน่งทางวิชาการทั้งหมด [3] + [4] + [5] 0
[7] ร้อยละที่ได้ [6] X 100 / [1] 0.00
[8] ผลลัพธ์ที่ได้ [7] x 5 / 60 0.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
สาขาวิชาการจัดการ มีอาจารย์ประจำหลักสูตร จำนวน 9 คน เป็นอาจารย์ที่ไม่มีตำแหน่งทางวิชาการทั้งหมด  คิดเป็นร้อยละ 0 ซึ่งเทียบคะแนนได้ 0 คะแนน
ควรมีการส่งเสริมให้อาจารย์ทุกคนทำแผนพัฒนาตนเองรายบุคคล และสะสมผลงานทางวิชาการเพื่อยื่นขอการดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
4.2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
หมายเหตุ เป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในรอบปีที่รับการประเมินเท่านั้น [ช่องไหนไม่มีผลงานให้ใส่ 0 ไม่ปล่อยว่าง]
จำนวนผลงานทางวิชาการตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 12 1 0 0 0
จำนวนผลงานสร้างสรรค์ตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 0 0 0
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] ผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ 2.80 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้งหมด 9
[3] ร้อยละที่ได้ [1] X 100 / [2] 31.11
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 20 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ควรส่งเสริมและผลักดันให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเผยแพร่ผลงานไปสู่บทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1 และ 2 
รายการหลักฐาน ตัวบ่งชี้ 4.2 คุณภาพอาจารย์
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ตัวบ่งชี้ 4.2 คุณภาพอาจารย์ คะแนนที่ได้ 3.33 คะแนน

[ตัวบ่งชี้ 4.3] ผลที่เกิดกับอาจารย์

หมายเหตุ :
(1) ยกเว้นกรณี การเกษียณอายุงาน และการเสียชีวิต
(2) หากรายชื่อมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากปรับเข้าเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร พ.ศ. 2558 ให้ถือว่าอัตราการคงอยู่ครบในปีการศึกษาแรกที่ปรับเข้าเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร 2558
(3) หากรายชื่อที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบท่านใหม่ต้องมีประสบการณ์ร่วมบริหารหลักสูตรมาไม่น้อยกว่า 9 เดือน (มีหลักฐานรายงานการประชุมภาควิชาหรือการประชุมหลักสูตร)
(4) รายงานถึงสิ้นสุดปีการศึกษา 2566 และจะได้รับการประเมินแนวโน้มผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นต้องประเมิน จาก ≥ 3 ชุดข้อมูล
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การคงอยู่ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2564
ร้อยละ 90.00
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2565
ร้อยละ 100.00
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2566
ร้อยละ 44.44
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
(อาจารย์วัฒนี)
ปีการศึกษา 2564 การคงอยู่คิดเป็นร้อยละ 90 (ลาออก 1 ท่าน)
ปีการศึกษา 2565 การคงอยู่คิดเป็นร้อยละ 100  
ปีการศึกษา 2566 การคงอยู่คิดเป็นร้อยละ 44.44 (ปรับปรุงรายชื่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร)

ทางหลักสูตรควรมีการบริหารจัดการเพื่อให้อัตราคงอยู่ที่ดี  แต่ไม่แน่ใจว่าในปี 2566 มีอาจารย์เกษียณหรือไม่ เพราะถ้ามี อัตราคงอยุู่น่าจะมากกว่า 44.44
ความพึงพอใจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีต่อการบริหารหลักสูตร
ความพึงพอใจ ในปีการศึกษา 2564 ร้อยละ 4.70
ความพึงพอใจ ในปีการศึกษา 2565 ร้อยละ 4.74
ความพึงพอใจ ในปีการศึกษา 2566 ร้อยละ 4.67
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
(อาจารย์วัฒนี) คณะและหลักสูตรฯ มีการประเมินความพึงพอใจของอาจารย์ประจำสาขา เพื่อนำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานของหลักสูตรต่อไป โดยผลการประเมินพบว่า อาจารย์ประจำสาขามีความพึงพอใจที่ระดับคะแนน  4.67 หมายถึงมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ซึ่งมีแนวโน้มที่ดีตลอด 3 ปี
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

[ตัวบ่งชี้ 5.1] สาระของรายวิชาในหลักสูตร

37
37
100.00
คะแนนที่ได้ 4
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
หลักสูตรฯ มีการเปิดการเรียนการสอนทั้งสิ้น 37 รายวิชา และที่หลักสูตรมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันฯ ทั้งสิ้น 37 รายวิชา ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งสูงกว่าค่าเป้าหมายคือร้อยละ 80 ซึ่งการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันฯ เป็นส่วนหนึ่งของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยรังสิต ปีการศึกษา 2566 – 2569
นอกจากนั้น การออกแบบหลักสูตรสำหรับปีการศึกษา 2664 - 2566 เป็นหลักสูตรที่มีความทันสมัย สามารถสำเร็จการศึกษาได้เร็วขึ้น และสามารถเรียนแล้วได้ 2 ปริญญา ตามรายละเอียดดังนี้
     1. หลักสูตรมีการปรับลดจำนวนหน่วยกิต จาก 132 หน่วยกิต เป็น 126 หน่วยกิต
     2. หลักสูตรมีการออกแบบรายวิชาในหมวดพื้นฐานวิชาชีพให้มีการเรียนร่วมกันกับทุกสาขาวิชาในคณะบริหารธุรกิจ
    3. หลักสูตรมีการออกแบบหลักสูตร เพื่อให้นักศึกษาเลือกเรียนปริญญาใบที่ 2 โดยเรียนเพิ่มอีก 9 หน่วยกิต กล่าวคือ นักศึกษาที่จะเลือกเรียนปริญญาใบที่ 2 นักศึกษาสามารถเรียนรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป และ และหมวดพื้นฐานวิชาชีพ ร่วมกัน 2 ปริญญา ส่วนรายวิชาในกลุ่มวิชาชีพบังคับ (30 หน่วยกิต) ของปริญญาใบที่ 2 ให้มาลงเป็นกลุ่มวิชาชีพเลือก 15 หน่วยกิต และกลุ่มวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต ของปริญญาใบแรก และลงทะเบียนเรียนรายวิชาเพิ่มอีกเพียง 9 หน่วยกิตก็จะได้ปริญญาใบที่ 2  
 
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การออกแบบหลักสูตร และสาระรายวิชาในหลักสูตรที่ปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน มีหลักสูตรหรือรายวิชาที่เป็นความร่วมมือกับสถานประกอบการ
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ทางหลักสูตรมีการปรับเปลี่ยน และออกแบบหลักสูตร และสาระรายวิชาให้มีความเหมาะสมกับความต้องการของตลอดอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะ
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
มีการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิที่ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน (Learner Person, Innovative Co-Creator, Active Citizen) ตามวิสัยทัศน์และจุดเน้นของหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
มีการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิที่ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียน ทั้ง 3 ด้าน 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
การปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าในศาสตร์สาขานั้นๆ และเชื่อมโยงกับการนำไปใช้ได้จริง
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรฯ มีการเปิดการเรียนการสอนทั้งสิ้น 37 รายวิชา และที่หลักสูตรมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันฯ ทั้งสิ้น 37 รายวิชา ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งสูงกว่าค่าเป้าหมายคือร้อยละ 80 ซึ่งการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันฯ เป็นส่วนหนึ่งของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยรังสิต ปีการศึกษา 2566 – 2569

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)

[ตัวบ่งชี้ 5.2] การวางระบบผู้สอน และกระบวนการจัดการเรียนการสอน

คะแนนที่ได้ 4
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
หลักสูตรมีการวางระบบผู้สอนในแต่ละรายวิชา และมีการปรับกระบวนการเรียนการสอนในวิชา MGT490 มีการบูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคม และการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม ในการจัดการเรียนการสอนมีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งผลให้นักศึกษาในวิชาดังกล่าว สามารถส่งผลงานตีพิมพ์เผยแพร่งานประชุมผลงานการวิจัยและวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 วันที่ 15 ธันวาคม 2566 จัดโดยคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต จำนวน 6 ชิ้น คิดเป็นผลรวมถ่วงน้ำหนักเท่ากับ 1.2
 
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดผู้สอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
คณะกรรมการบริหารหลักสูตรพิจารณาแผนการเรียน  พิจารณาผู้สอนให้เป็นไปตามคุณสมบัติอาจารย์ผู้สอน โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากวุฒิการศึกษา สาขาวิชาที่จบ ความสามารถพิเศษ ความเชี่ยวชาญ ผลการประเมินการสอนของอาจารย์ และผลงานวิจัยเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา  จากนั้นจะจัดตารางเรียนตารางสอน โดยกำหนดจำนวนกลุ่มที่เหมาะสมกับจำนวนนักศึกษา และจัดให้รายวิชาชีพเฉพาะของหลักสูตรมีเวลาเรียนที่ไม่ตรงกัน  ทุกสิ้นภาคการศึกษาจะนำผลการประเมินผู้สอนไปใช้พิจารณาการคัดเลือกผู้สอนในภาคการศึกษาถัดไป และปีการศึกษา 2566 หลักสูตรมีการปรับเปลี่ยน หรือเพิ่มอาจารย์ผู้สอนในรายวิชาตามความเหมาะสม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
การกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียนรู้ (มคอ.3 และ มคอ.4) และการจัดการเรียนการสอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรได้จัดมีการกำกับติดตาม การตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียนรู้ และการจัดการเรียนการสอนมีความเหมาะสมในการดำเนินงาน โดยอาจารย์ประจำหลักสูตรมีความเข้าใจในการจัดทำแผนการเรียนรู้ RQF.3 และ RQF.4 มากขึ้น โดยเฉพาะวิธีการสอนและวิธีการวัดผลประเมินตามคุณลักษณะบัณฑิต 5 ด้านตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติที่กำหนดไว้ใน RQF.2 รวมทั้งวิธีการรายงานผลการดำเนินงานของรายวิชา RQF.5 ที่สอดคล้องกับ RQF.3 และสามารถส่งได้ตามกำหนดเวลาที่ได้กำหนดไว้ครบทุกรายวิชา เมื่อพิจารณาวิธีการจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรม การมอบหมายงานให้กับนักศึกษาเพื่อนำมาใช้ในการทวนสอบ พบว่า มีความสอดคล้องกับวิธีการสอน
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
การจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีที่มีการบูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรมีการบูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคม และการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม ในการจัดการเรียนการสอน ดังนี้
  • วิชา MGT490 สัมมนาทางการจัดการ อาจารย์ผู้สอนได้ให้นักศึกษามีการทำกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย โดยร่วมกิจกรรมจิตอาสากับทางชุมชน ศาสนสถาน เช่น
    • Paper Ranger จิตอาสาสมุดเพื่อน้อง
    • โครงการบริจาคสิ่งของให้มูลนิธิบ้านสงเคราะห์สัตว์พิการสาขาบางเลน
    • อาสาสมัครร่วมแรง ปันสุข ณ มูลนิธิกระจกเงา
    • คืนทรายสวยให้น้ำใส ณ ชายหาดพัทยาเหนือ
    • บริจาคสิ่งของบ้านพักคนชรา ณ ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ จังหวัดปทุมธานี
    • บริจาคของเด็กกำพร้าสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนรังสิต
  • วิชา MGT490 สัมมนาทางการจัดการ อาจารย์ผู้สอนได้ให้นักศึกษาเขียนบทความวิชาการ นำเสนอผลงาน ในประชุมผลงานการวิจัยและวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 วันที่ 15 ธันวาคม 2566 จัดโดยคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งได้ผลงานรวมทั้งสิ้นจำนวน 6 ชิ้น คิดเป็นผลรวมถ่วงน้ำหนักเท่ากับ 1.2
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)

[ตัวบ่งชี้ 5.3] การประเมินผู้เรียน

คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ที่ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน (Learner Person, Innovative Co-Creator, Active Citizen) ตามวิสัยทัศน์และจุดเน้นของหลักสูตร ตลอดจนมาตรฐานวิชาชีพ (ถ้ามี)
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรได้ประชุมชี้แจงให้อาจารย์ประจำหลักสูตรทุกคนจัดทำแผนการเรียนรู้ RQF.3 และ RQF.4 ซึ่งต้องมีรายละเอียดของเกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่ชัดเจนตามกรอบมาตรฐาน 5 ด้าน และต้องแจ้งให้กับนักศึกษาทราบในสัปดาห์แรกของการเรียนการสอน พร้อมทั้งให้อาจารย์ผู้สอนทุกคนปฏิบัติตามแผนการเรียนรู้ที่ได้ระบุไว้ใน RQF.3 และ RQF.4 ตามมาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้ ทั้ง 3 ด้าน
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
การตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรมีการกำกับติดตามการประเมินรายวิชา โดยการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ใน RQF.3 โดยเลือกรายวิชาอย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา ซึ่งในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรมีการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์จำนวน 12 รายวิชา คิดเป็นร้อยละ 32.43 ของรายวิชาที่เปิดสอนทั้งหมด ปีการศึกษา 2566 เปิดสอน 37 รายวิชา
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
การกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอน และประเมินหลักสูตร (มคอ.5 มคอ.6 และ มคอ.7)
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
สำหรับปี 2566 หลักสูตรได้กำหนดให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาที่เปิดสอนได้มีการจัดทำ RQF.5 และ RQF.6 (สำหรับรายวิชาสหกิจศึกษา) ครบถ้วนทุกรายวิชา หลังจากนั้น หัวหน้าหลักสูตรจะได้มีการจัดทำ RQF.7 ต่อไป ภายใน 60 วันหลังจากวันสิ้นสุดปีการศึกษา
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)

[ตัวบ่งชี้ 5.4] ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

หมายเหตุ: KPI ให้สอดคล้องและเป็นไปตามที่ระบุใน มคอ.2
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
1. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรอย่างน้อยร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผน ติดตาม และทบทวนการดำเนินงานหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีส่วนร่วมในการประชุม จำนวน 2 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 100
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
กจบ.4.1.01 รายงานการประชุมอาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการ
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
2. มีรายละเอียดของหลักสูตรตามแบบ มคอ.2 ที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ หรือมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา [ถ้ามี]
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ เป็นหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564 โดยได้รับการรับทราบจาก สป.อว. เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2567
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
3. มีรายละเอียดของรายวิชา และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม [ถ้ามี] ตามแบบ มคอ.3 และ มคอ.4 อย่างน้อยก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาให้ครบทุกรายวิชา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรมีการดำเนินการรายวิชาและประสบการณ์ภาคสนาม ซึ่งมีรายละเอียดตามแบบ RQF.3 และ RQF.4 โดยมีรายวิชาฝึกประสบการณ์ภาคสนาม ดังนี้
1. MGT498/ HRM498/ BBA498
2. MGT492/HRM492/BBA492
ครบทุกรายวิชาร้อยละ 100
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
4. จัดทำรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา และรายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม [ถ้ามี] ตามแบบ มคอ.5 และ มคอ.6 ภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่เปิดสอนให้ครบทุกรายวิชา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรมีผลการดำเนินการรายวิชาและประสบการณ์ภาคสนาม ซึ่งมีรายละเอียดตามแบบ RQF.5 และ RQF.6 ภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่เปิดสอน ครบทุกรายวิชา โดยมีรายวิชาฝึกประสบการณ์ภาคสนาม ดังนี้
1. MGT498/ HRM498/ BBA498
2. MGT492/HRM492/BBA492
ครบทุกรายวิชาร้อยละ 100
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
5. จัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตรตามแบบ มคอ.7 ภายใน 60 วัน หลังสิ้นสุดปีการศึกษา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรได้จัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร ตามแบบ RQF.7 เป็นรายงานการประเมินตนเองภายใน 60 วัน หลังสิ้นสุดปีการศึกษา และรายงานต่อคณะ/ มหาวิทยาลัย เพื่อดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร วันที่ 10 มิถุนายน 2567 (ภายใน 60 วัน หลังสิ้นสุดปีการศึกษา 26 เมษายน 2567)
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
6. มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ที่กำหนดใน มคอ.3 และ มคอ.4 [ถ้ามี] อย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรเปิดทำการสอนจำนวน 37 รายวิชา มีผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ที่กำหนดใน RQF.3 และ RQF.4 (ถ้ามี) จำนวน 12 วิชา คิดเป็นร้อยละ 32.43
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
เอกสารอ้างอิงในการทำทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
7. มีการพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน หรือการประเมินผลการเรียนรู้จากผลการประเมินการดำเนินงานที่รายงานใน มคอ.7 ปีที่แล้ว
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรมีการพัฒนา ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน และการประเมินผลการเรียนรู้ ตามข้อเสนอแนะใน RQF.7 ของปีการศึกษา 2565 ซึ่งได้ดำเนินการเรียบร้อยเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2566
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
กจบ.4.1.01 รายงานการประชุมอาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการ
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
8. อาจารย์ใหม่ [ถ้ามี] ทุกคน ได้รับการปฐมนิเทศ หรือคำแนะนำด้านการจัดการเรียนการสอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มีการรับอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรใหม่ จำนวน 5 คน โดยได้รับการปฐมนิเทศและคำแนะนำด้านการจัดการเรียนการสอน ดังนี้
1. อ.สมญา แชมเบอร์ส
2. อ.รัชดา วิวัฒน์สกุลเจริญ
3. อ.สุภาลักษณ์ อดุลทิฐิพัชร
4. อ.อุไรวรรณ จุลพันธ์
5. อ.ประยูร นาคเกษม
ประเด็นที่แนะนำ
- การประชุมสาขาวิชา
- การให้คำปรึกษานักศึกษา
- การเข้ารับการฝึกอบรมและพัฒนาทางวิชาชีพ การวิจัย
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
กจบ.4.1.01 รายงานการประชุมอาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการ
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
9. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกคนได้รับการพัฒนาทางวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกคน ได้มีการพัฒนาคุณภาพอาจารย์ทางวิชาการ/ วิชาชีพ
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
10. จำนวนบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอน [ถ้ามี] ได้รับการพัฒนาวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ต่อปี
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
11. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้าย/บัณฑิตใหม่ที่มีต่อคุณภาพหลักสูตร เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.50 จากคะแนนเต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ จัดทำแบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย/ บัณฑิตใหม่ โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.17
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
12. ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตใหม่ เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.50 จากคะแนนเต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ จัดทำแบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตใหม่ โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.39
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
13. ร้อยละ 80 ของรายวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอน สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนด
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มีการจัดการเรียนการสอน จำนวน 37 รายวิชา โดยสามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนด คิดเป็นร้อยละ 100
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
14. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อคุณภาพการสอน รวมทุกรายวิชา เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มีการจัดการเรียนการสอน จำนวน 37 รายวิชา โดยมีการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อคุณภาพการสอน จำนวน 37 รายวิชา ซึ่งรวมทุกรายวิชามีคะแนนเฉลี่ย 4.66
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
15. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อทรัพยากรสนับสนุนการเรียนการสอน เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.51 จากคะแนน เต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ จัดทำแบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อทรัพยากรสนับสนุนการเรียนการสอน (ควรครอบคลุมนักศึกษาทุกชั้นปีการศึกษา) โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.20
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ผลการประเมินจากผลการดำเนินงาน ตัวบ่งชี้ 5.4
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] รวมจำนวนตัวบ่งชี้ในแต่ละปี 14 5.00
[2] จำนวนตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการผ่านเฉพาะตัวบ่งชี้ที่ 1-5 1-5
[3] ร้อยละของตัวบ่งชี้ที่ 1-5 ที่ผ่าน [ถ้าผ่านทั้ง 5 ข้อจะเป็นร้อยละ 100] 100
[4] จำนวนตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการผ่านรวม 14
[5] ร้อยละของตัวบ่งชี้ทั้งหมดที่ผ่าน 100.00
*หมายเหตุการกำหนดเงื่อนไขเกณฑ์การประเมิน
ถ้า [3] น้อยกว่าร้อยละ 100 ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 0.00
ถ้า [5] มีการดำเนินงานน้อยกว่า ร้อยละ 80 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 0.00
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 80 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 3.50
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 80.01 - 89.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 4.00
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 90.00 -94.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 4.50
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 95.00 -99.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 4.75
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 100 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 5.00
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 5 (4 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 4.00 คะแนน

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

[ตัวบ่งชี้ 6.1] สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

คะแนนที่ได้ 4
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
(ดร.ณกมล) หลักสูตรมีสิ่งสนับสนุนการเรียนรูัที่เพียงพอต่อการเรียนการสอน มีการซื้อ Licence เกี่ยวกับ Business Simulation ประกอบการเรียนการสอน 
(อาจารย์วัฒนี) ทางหลักสูตรมีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เพียงพอ มีการซื้อ Licence Business Simulation เพื่อประกอบการเรียนการสอน มีงบประมาณในการทำกิจกรรมที่เพียงพอ และ มีการสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ที่มีต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

(ดร.พัชร์หทัย)
1. มีระบบและกลไกนำไปสู่การปฏิบัติ โดยสำนักงานทะเบียนสร้างระบบการสื่อสารและติดต่อ การกรอกแบบฟอร์มต่าง ๆ ผ่าน Line และ Google Form  
2. มีการจัดการอบรมให้อาจารย์ได้เรียนรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่
3. หลักสูตรมีการซื้อ Licence Business Stimulation Game เพื่อประกอบการเรียนการสอน เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจธุรกิจจากสถานการจำลองผ่านเกม
    - ปี 2566 มีคะแนนความพึงพอใจของอาจารย์ เท่ากับ 4.27 (มีแนวโน้มดีขึนอย่างต่อเนื่อง 3 ปี)
    - ปี 2566 มีคะแนนความพึงพอใจของนักศึกษา เท่ากับ 4.20 (มีแนวโน้มดีขึนอย่างต่อเนื่อง 3 ปี)
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
ระบบการดำเนินงานของภาควิชา/คณะ/สถาบัน โดยมีส่วนร่วมของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เพื่อให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
(อาจารย์วัฒนี)
หลักสูตรได้รับการจัดสรรสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล จากมหาวิทยาลัยและคณะบริหารธุรกิจ ตามรายละเอียดต่อไปนี้
            1.สำนักงานทะเบียน มหาวิทยาลัยรังสิต สร้างระบบการสื่อสารและการติดต่อกับสำนักงานทะเบียน การกรอกแบบฟอร์มต่าง ๆ ผ่านระบบ Line และ Google Form เป็นต้น
       2. คณะบริหารธุรกิจมีการจัดอบรมให้อาจารย์ได้เรียนรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนออนไลน์ เช่น RSU-LMS, Google Meet, ZOOM, Socrative และ Webex
            3. คณะได้ทำการสำรวจความต้องการในการใช้สิ่งสนับสนุน ในการประชุมของคณะ เพื่อสอบถามถึงความต้องการเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
จำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
(อาจารย์วัฒนี)
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรมีจำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ซึ่งสามารถแบ่งเป็นด้าน ๆ ดังนี้
สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้จากส่วนกลาง
  • Application สำหรับการใช้ในการเรียนการสอน Online  หลักสูตรฯ ยังคงมีการใช้การเรียนการสอนผ่านระบบ Online  เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนการสอนแบบ Onsite โดยมหาวิทยาลัยมีระบบการจัดการเรียนการสอนผ่าน Online โดยโปรแกรม RSU-LMS สนับสนุนให้อาจารย์ใช้ Application Zoom หรือ Google Meet สำหรับการจัดการเรียนการสอน และยังสนับสนุนให้อาจารย์มีการใช้ Google Form เพื่อใช้ในการทำแบบฝึกหัด โดยมหาวิทยาลัยมีการจัดอบรมหรือจัดทำคลิปวิดีโอสำหรับการใช้ Application ทุก Application ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นระยะ ๆ และทางมหาวิทยาลัยยังมีการสำรวจความต้องการใช้งาน Google Meet เพื่อใช้สำหรับการบันทึกการเรียนการสอนได้ โดยมีพื้นที่จัดเก็บจากส่วนกลางให้บริการ
  • Application สำหรับการใช้สอบ Online  มหาวิทยาลัยยกเลิกการจัดสอบโดยส่วนกลาง โดยให้คณะหรืออาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาดำเนินการจัดสอบเอง ดังนั้น การจัดสอบในรายวิชาต่าง ๆ ต้องทำการสอบผ่านระบบ Online โดยมหาวิทยาลัยสนับสนุนให้อาจารย์จัดสอบผ่านระบบ Online โดยใช้ Application Socrative และ Google Form โดยมหาวิทยาลัยมีการจัดอบรมหรือจัดทำคลิปวิดีโอสำหรับการใช้ Application ทุก Application ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นระยะ ๆ
  • ห้องสมุด  สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต  จากสถานการณ์โควิดในยุคปัจจุบัน สำนักหอสมุดมีการปรับตัว โดยการให้นักศึกษาสามารถเข้าถึงข้อมูลของสำนักหอสมุดด้วยระบบ Online อีกด้วย
  • ระบบสำนักงานทะเบียน   ได้มีการปรับปรุงกระบวนการทำงานในรูปแบบใหม่ ซึ่งเป็นระบบที่ทำให้นักศึกษาไม่จำเป็นต้องมาดำเนินการด้วยตนเองที่มหาวิทยาลัย แต่สามารถกรอกข้อมูลและสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ของสำนักงานทะเบียน เช่น ระบบการแจ้งจบของนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย หรือ ระบบการเพิ่ม ถอนรายวิชา เป็นต้น นอกจากนั้น นักศึกษายังสามารถติดต่อสำนักงานทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ ในรูปแบบต่าง ๆ ได้อีกด้วย 
สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของหลักสูตร
  • ห้องเรียน  หลักสูตรได้รับการจัดสรรห้องเรียนตามรายละเอียดต่อไปนี้  ห้อง 2 – 108 เป็นห้องขนาด 120 ที่นั่ง  ห้อง 2 – 109 เป็นห้องขนาด 120 ที่นั่ง  ห้อง 3 – 312 เป็นห้องขนาด 60 ที่นั่ง
ปีการศึกษา 2566 หลักสูตรได้รับการจัดสรรหัองเรียนเพิ่มขึ้น คือห้อง 2 – 107 เป็นห้องขนาด 120 ที่นั่ง ทำให้หลักสูตรมีจำนวนห้องเรียนเพียงพอต่อความต้องการ

     การใช้ Line เป็นช่องทางการติดต่อสื่อสาร  หลักสูตร จะมีเป็น Line กลุ่ม สำหรับนักศึกษาแต่ละรหัส และหากนักศึกษาขึ้นปีการศึกษาที่ 2 ก็จะมี Line กลุ่มตามแขนงที่นักศึกษาเลือก ซึ่งมี 3 แขนง ประกอบด้วย แขนงวิชาการจัดการทั่วไป แขนงการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และแขนงการเป็นผู้ประกอบการ โดย Line กลุ่มต่าง ๆ มีไว้เพื่อชี้แจงรายละเอียดต่าง ๆ  เป็นช่องทางการสื่อสารระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา และเป็นช่องการการรับข้อร้องเรียนต่าง ๆ ของนักศึกษาอีกด้วย
  • การใช้ Facebook ช่องทางในการประชาสัมพันธ์  หลักสูตรใช้ Facebook  Instagram และ Twitter เพื่อเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์หลักสูตร แจ้งข่าวสารภายในหลักสูตรให้กับ นักศึกษา บุคคลภายนอกและศิษย์เก่าได้รับทราบ ประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ ของหลักสูตร อีกทั้งยังเป็นช่องทางให้บุคคลภายนอกได้สื่อสารกับหลักสูตรอีกด้วย
  • การใช้ Email  อาจารย์บางท่านในหลักสูตร ได้ใช้ Email ในการติดต่อสื่อสารกับนักศึกษา ใช้ในการตอบคำถาม ให้คำปรึกษา และตอบข้อร้องเรียนต่าง ๆ ให้กับนักศึกษา
  • การซื้อ License Business Simulation Game  หลักสูตรได้มีการจัดซื้อ License Business Simulation Game เพื่อใช้ในการเรียนการสอน วิชา ETP 405 การจำลองสถานการณ์ทางธุรกิจ ตลอดทั้งภาคการศึกษา ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยี และแอพพลิเคชั่นใหม่ ๆ ที่เข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
กระบวนการปรับปรุงตามผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
(อาจารย์วัฒนี) ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรได้ทำการสำรวจความพึงพอใจต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ โดยเก็บข้อมูลจากอาจารย์ประจำหลักสูตรและนักศึกษา เพื่อนำผลการประเมินที่ได้มาปรับปรุงกระบวนการในการจัดเตรียมสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ให้เพียงพอและทันสมัย ซึ่งเมื่อมีการเปรียบเทียบคะแนนความพึงพอใจของอาจารย์ที่มีต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน และคะแนนความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน  อาจารย์ เท่ากับ 4.27  นักศึกษา เท่ากับ 4.20
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 6 (1 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 4.00 คะแนน

รายงานผลการวิเคราะห์จุดเด่น/จุดแข็ง แนวทางเสริม จุดที่ควรพัฒนา และแนวทางปรับปรุง

จุดเด่นและแนวทางเสริม

  1. ปีการศึกษา 2566 หลักสูตรได้ให้อาจารย์ทุกท่านมีส่วนร่วมในการกระบวนการรับสมัครนักศึกษา มีการสร้าง Content สร้างกิจกรรม เพื่อเอาไปลงใน Page facebook, twitter, Instagram, TikTok ของหลักสูตร ส่งผลให้ปีการศึกษา 2566 ได้นักศึกษาจำนวน 230 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
  2. หลักสูตรมีการพัฒนานักศึกษา โดยมีโครงการที่เกี่ยวข้องความเป็นนานาชาติจำนวน 4 โครงการ แต่มีการดำเนินการทั้งสิ้น 5 ครั้ง โดยมีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 244 คน จากนักศึกษาสาขาการจัดการรหัส 62-65 ทั้งหมดมีจำนวน 447 คนคิดเป็นร้อยละ 54.59 เป็นเทียบกับตัวชี้วัดความสำเร็จที่มหาวิทยาลัยกำหนดคือ KR4.1.1 ร้อยละของนักศึกษาเริ่่มต้นสร้างแฟ้มสะสมผลงานระดับนานาชาติหรือเทียบเท่า เท่ากับ ร้อยละ 30 ของนักศึกษาทั้งหมด จะเห็นว่าสูงกว่าค่าเป้าหมายที่มหาวิทยาลัยกำหนด
  3. หลักสูตรมีการออกแบบหลักสูตร เพื่อให้นักศึกษาเลือกเรียนปริญญาใบที่ 2 โดยเรียนเพิ่มอีก 9 หน่วยกิต กล่าวคือ นักศึกษาที่จะเลือกเรียนปริญญาใบที่ 2 นักศึกษาสามารถเรียนรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป และ และหมวดพื้นฐานวิชาชีพ ร่วมกัน 2 ปริญญา ส่วนรายวิชาในกลุ่มวิชาชีพบังคับ (30 หน่วยกิต) ของปริญญาใบที่ 2 ให้มาลงเป็นกลุ่มวิชาชีพเลือก 15 หน่วยกิต และกลุ่มวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต ของปริญญาใบแรก และลงทะเบียนเรียนรายวิชาเพิ่มอีกเพียง 9 หน่วยกิตก็จะได้ปริญญาใบที่ 2
  4. นักศึกษาของหลักสูตรเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี แต่สามารถมีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในงานประชุมวิชาการระดับชาติได้ จำนวน 6 ชิ้น คิดเป็นผลรวมถ่วงน้ำหนักเท่ากับ 1.20 เนื่องจากการที่หลักสูตรมีการปรับกระบวนการเรียนการสอนในวิชา MGT490
  5. หลักสูตรมีการใช้ Business Simulation ประกอบการเรียนการสอน ทำให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้และนำประสบการณ์ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับการทำงานได้จริง

จุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง

  1. อัตราการสำเร็จการศึกษาตามเกณฑ์ของนักศึกษามีแนวโน้มลดลง ทางหลักสูตรควรหาแนวทางหรือมาตรการที่จะให้คำปรึกษาหรือดูแลนักศึกษาให้สำเร็จการศึกษาตามเกณฑ์ที่กำหนด
  2. ทางหลักสูตรควรส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสะสมผลงานทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง เพื่อยื่นขอดำรงตำแหน่งทางวิชาการให้เพิ่มจำนวนมากยิ่งขึ้น
  3. หลักสูตรควรตั้งเป้าหมายการคงอยู่ของอาจารย์ กำหนด ธำรงรักษาอาจารย์ให้อยู่กับหลักสูตร

สรุปผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลดำเนินการ
กรรมการ
1.1 การบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่กำหนดโดยสกอ. ผ่าน
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ.2561 4.39
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี 4.17
3.1 การรับนักศึกษา 4.00
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา 4.00
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา 3.00
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์ 3.00
4.2 คุณภาพอาจารย์ 3.33
4.3 ผลที่เกิดกับอาจารย์ 3.00
5.1 สาระของรายวิชาในหลักสูตร 4.00
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน 4.00
5.3 การประเมินผู้เรียน 3.00
5.4 ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 5.00
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 4.00
ผลการประเมินเฉลี่ยรวม [13 ตัวบ่งชี้] 3.76

การวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาภายใน ของคณะกรรมการประเมิน ฯ

องค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
1 ผ่านการประเมิน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 2 - - 4.28 4.28 ระดับคุณภาพดีมาก
3 3 3.67 - - 3.67 ระดับคุณภาพดี
4 3 3.11 - - 3.11 ระดับคุณภาพดี
5 4 4.00 4.00 - 4.00 ระดับคุณภาพดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ระดับคุณภาพดี
ผลการประเมิน 3.48 4.00 4.28 3.76 ระดับคุณภาพดี
ระดับคุณภาพ ระดับคุณภาพดี ระดับคุณภาพดี ระดับคุณภาพดีมาก