รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565

หลักสูตรบัญชีบัณฑิต

วันที่ประเมิน: 3 กรกฏาคม 2566, 09:30น.

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

[ตัวบ่งชี้ 1.1] การบริหารการจัดการหลักสูตรตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร

เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
1. จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
มีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรครบ และเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
2. คุณสมบัติอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ทั้ง 5 คน มีคุณสมบัติและผลงานทางวิชาการเป็นไปตามเกณฑ์
 
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
[สำหรับประเภทวิชาชีพ/ปฏิบัติการ]
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 2 ใน 5 คน ต้องมีประสบการณ์ในด้านการปฏิบัติการ
ระบุข้อคิดเห็น
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
อาจารย์ประจำหลักสูตร มี 6 คน ซึ่งมีคุณสมบัติและผลงานวิชาการเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร 
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
4. คุณสมบัติอาจารย์ผู้สอน ที่เป็นอาจารย์ประจำ
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
อาจารย์ผู้สอนที่เป็นอาจารย์ประจำ มีคุณสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน ที่เป็นอาจารย์พิเศษ
ข้อคิดเห็น
อาจารย์พิเศษ มีคุณสมบัติและการให้รายละเอียดเกี่ยวกับวุฒิการศึกษา สถาบันและปีที่สำเร็จการศึกษา ครบถ้วน และถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ผลการประเมินจากผลการดำเนินงาน ตัวบ่งชี้ 1.1

องค์ประกอบที่ 2 การผลิตบัณฑิต

[ตัวบ่งชี้ 2.1] คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และ ด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ.2561

หมายเหตุ : *
(1) จำนวนบัณฑิตทั้งหมด หมายถึง ผู้รับปริญญา ในปีการศึกษา 2564 ประกอบด้วย บัณฑิตที่จบภาคการศึกษา 1/2564 , 2/2564 และ S/2565 [ปีต้องอัพเดตตามปีการศึกษาที่ประเมินย้อนหลัง 1 ปี]
(2) จำนวนบัณฑิตที่รับการประเมินจากผู้ใช้บัณฑิตต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาตาม (ข้อ1)

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
จำนวนบัณฑิตทั้งหมด 102 4.63
จำนวนบัณฑิตที่ได้รับการประเมินทั้งหมด 27
คะแนนเฉลี่ยรวมคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561 4.63
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
การประเมินคุณภาพบัณฑิตใช้ข้อมูลที่เป็นผลการสำรวจความพึงพอใจของนายจ้างของบัณฑิต สำเร็จการศึกษาในปี 2564 จำนวน 27 คนคิดเป็นร้อยละ 26.47 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ขั้นต่ำ โดยมีการจำแนกผลการประเมินความพึงพอใจตามหัวข้อทักษะผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ และมีการประเมินในส่วนของผลลัพธ์ผู้เรียน ผลการประเมินสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 2.2] ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี

หมายเหตุ : *
(1) จำนวนบัณฑิตทั้งหมด จะต้องตรงกับตาราง ตัวบ่งชี้ 2.1
(2) จำนวนบัณฑิตที่ตอบแบบสำรวจจะต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
จำนวนบัณฑิตทั้งหมด 102 5.00
จำนวนบัณฑิตที่ตอบแบบสำรวจ 88
จำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษา [มีงานทำในองค์กร] 62
จำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษา [ประกอบอาชีพอิสระ] 20
จำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษา [ประกอบกิจการส่วนตัว/ธุรกิจครอบครัว] 1
จำนวนบัณฑิตที่ไม่ได้งานทำ 0
จำนวนบัณฑิตที่ศึกษาต่อ 5
จำนวนบัณฑิตที่อุปสมบท 0
จำนวนบัณฑิตที่เกณฑ์ทหาร 0
จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาที่มีงานทำก่อนเข้าศึกษา 0
ร้อยละที่ได้ 100.00
ผลลัพธ์ที่ได้ 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษามีงานทำ 100% และต่อเนื่องมาจากปี 2564  ควรเพิ่มการติดตามบัณฑิตในประเด็นของตำแหน่งงาน ประเภทธุรกิจหรือหน่วยงานที่เข้าทำงาน เพื่อให้ทราบว่าบัณฑิตเข้าทำงานในองค์กรประเภทใด  และทำงานในตำแหน่งใด
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 2 (2 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 4.82 คะแนน

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

[ตัวบ่งชี้ 3.1] การรับนักศึกษา

คะแนนที่ได้ 4
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ระบบและกลไกการรับนักศึกษาสอดคล้องกับหลักสูตรกำหนด โดยเฉพาะการกำหนดคุณสมบัติและผลการเรียน  มีการปรับปรุงกระบวนการรับนักศึกษาโดยเน้นการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย การประชาสัมพันธ์หลักสูตรในหลากหลายรูปแบบ ที่มีการดำเนินการอย่างเห็นได้ชัดเจน มีการมอบหมายให้หัวหน้าหลักสูตรและอาจารย์ประจำบางท่านทำหน้าที่ตอบคำถามผ่าน Chat Box ที่ส่งผลต่อจำนวนรับนักศึกษาใหม่ เพิ่มขึ้นจากปี 2564 อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้การเตรียมความพร้อมก่อนเรียน จัดทำแผนปฏิบัติการมีโครงการและวัตถุประสงค์ชัดเจน  รวมทั้งการวัดและประเมินผลมีทั้งในส่วนของ Output และ Outcome เป็นการทำงานที่ระบบและกลไก  ส่งผลให้นักศึกษาใหม่สามารถพัฒนาตนเองให้พร้อมกับการเรียน มีทัศนคติต่อการเรียนในสาขาวิชาการบัญชีที่ดี รวมทั้งความพึงพอใจ และหลักสูตรมีระบบและกลไกในการรับนักศึกษาและการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา มีการพัฒนากระบวนการและปรับปรุงตามผลประเมินจนเห็นผล คือ มีจำนวนนักศึกษาใหม่ปีการศึกษา 2565 จำนวน 139 คน ซึ่งมากกว่าปีก่อนหน้าประมาณร้อยละ 83 และมีการปรับเตรียมความพร้อมก่อนเรียน ในหลากหลายวิชา ซึ่งช่วยให้นักศึกษาย้ายคณะเมื่อขึ้นปี 2 ลดลงและผลการเรียนวิชา ACC100 หลักการบัญชี ของนักศึกษาปี 1 ดีต่อเนื่องติดต่อกัน 3 ปี 
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การรับนักศึกษา:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1.มีระบบและกลไก โดยหัวหน้าหลักสูตรและอาจารย์ประจำมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงานในการปรับกระบวนการรับนักศึกษาได้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ภายใต้การแข่งขันสูง
2.มีผู้รับผิดชอบในการรับนักศึกษา ที่สามารถให้ข้อมูลและทำให้ผู้สนใจตัดสินใจสมัครและเรียน โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทำให้ผู้สนใจสมัครเรียนเข้าถึงข้อมูลได้ทุกเวลา
3.การปรับปรุงกระบวนการรับนักศึกษา โดยแบ่งหน้าที่ระหว่างหัวหน้าหลักสูตร และเลขานุการคณะกรรมการหลักสูตรในการตอบคำถามและส่งเรื่องต่อกันจนถึงการวางแผนการเรียนให้กับผู้สมัคร ก่อนถึงอาจารย์ที่ปรึกษา เป็นการดำเนินการรับนักศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้มีจำนวนนักศึกษาใหม่ในปีการศึกษา 2565 สูงกว่าปีที่ผ่านมาอย่างมีนัยสำคัญ   
แนวทางเสริม คือ ควรมีการ Servey เพื่อสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกเรียนที่คณะบัญชี มหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อใช้ในการปรับปรุงแผนการรับนักศึกษาในปีต่อๆ ไป
4.หลักสูตรมีการปรับกระบวนการในการรับนักศึกษา มีทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ ไม่ว่าจะร่วมเป็นแอดมินใน Facebook ของมหาวิทยาลัยเพื่อร่วมให้ข้อมูลได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว, การเพิ่มช่องทางประชาสัมพันธ์ในทุก platform ที่เข้าถึงนักเรียนได้ ทั้ง Tiktok , Instagram, Facebook , การจัดค่ายบัญชี , การจัด Live เป็นต้น ชึ่งส่งผลต่อ ยอดนักศึกษาใหม่ปี 2565 เพิ่มจากปีก่อนหน้าเป็นจำนวนมาก
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
การเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1. มีแผนโครงการเตรียมความพร้อมบรรจุลงเป็นแผนปฏิบัติการประจำปี  การวางแผนมีการกำหนดวัตถุประสงค์และแนวทางในการเตรียนพร้อมโดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน  สืบเนื่องจากการประชุมนักศึกษาใหม่  และมีการวัดผลลัพธ์เมื่อสิ้นสุดโครงการ และวัดผลที่เกิดขึ้นตามมาในการเรียนในรายวิชาหลักการบัญชีขั้นต้น รวมทั้งอัตราการเลื่อนชั้นปี2  ถือว่าเป็นระบบและกลไกที่มีประสิทธิภาพสูง
2. ผลการประเมินการเตรียมความพร้อมอยู่ในระดับสูง และผลที่เกิดขึ้นตามมาอยู่ในระดับน่าพอใจมาก  
3. หลักสูตรจัดกิจกรรมหลากหลายเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา ทั้งกิจกรรมที่เตรียมความพร้อมด้านการใช้ชีวิต ผ่านการปฐมนิเทศทั้งระดับมหาวิทยาลัย , คณะ และหลักสูตร การมีรุ่นพี่ อาจารย์ที่ปรึกษาดูแลใกล้ชิด เป็นต้น และกิจกรรมที่เตรียมความพร้อมด้านวิชาการอย่างโครงการเตรียมความพร้อมก่อนเรียนบัญชี ที่จัดต่อเนื่องมาหลายปี และมีการปรับรูปแบบตามผลประเมิน จนมีผลต่อการย้ายสาขาลดลงและผลการเรียนวิชา ACC100 ดีต่อเนื่อง 

แนวทางเสริม
ในปีการศึกษาต่อไป เมื่อสถานการณ์ปกติ ควรเพิ่มเวลาในการเตรียมความพร้อม รวมทั้งงบประมาณ

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 3.2] การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา

คะแนนที่ได้ 4
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
1. หลักสูตรมีระบบและกลไก โดยมีการวางแผนกิจกรรมโครงการที่ครอบคลุมการพัฒนานักศึกษาทั้งในด้านวิชาการ และทักษะทางวิชาชีพ การปลูกฝังความมีคุณธรรมจริยธรรม การมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือสังคม อนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมและการพัฒนานักศึกษามีเป้าหมายชัดเจนและมีการติดตามประเมินผลทั้งในระดับโครงการและแผนปฏิบัติการ มีผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นรางวัลความสำเร็จของนักศึกษา ผลการประเมินจากผู้ให้ฝึกงานทักษะด้านวิชาชีพของนักศึกษา และสร้างประสบการณ์ชีวิตที่ดีแก่นักศึกษา และเป็นการดำเนินการที่มีความต่อเนื่อง 
2. หลักสูตรมีกิจกรรมโครงการ และความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก ที่ช่วยส่งเสริมศักยภาพให้กับนักศึกษา จนมีนักศึกษาได้รับรางวัลจากการประกวดแข่งขันระดับชาติ หลายรายการ มีการประเมินโครงการ มีผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมคือ นักศึกษาระดับประเทศจากหลายสถาบัน 
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษาปริญญาตรี:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1. มีระบบอาจารย์ที่ปรึกษา และการกำกับติดตามการดำเนินการขของอาจารย์ที่ปรึกษาในการให้คำปรึกษาและแนะแนว ด้วยการทำ HomeRoom อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง  มีระบบการติดตามรายวิชาที่ได้ลงทะเบียนเพื่อป้องกันข้อผิดพลาดที่จะมีผลต่อการสำเร็จการศึกษา
2. ผลการประเมินอาจารย์ที่ปรึกษาอยู่ในระดับดีมาก
3. มีการจัดแผนการศึกษาให้นักศึกษาอย่างเหมาะสมซึ่งเกิดจากการให้การดูแลการให้คำปรึกษาที่ดี  ทำให้มีผู้สำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาในอัตราร้อยละที่สูงมาก และสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1. หลักสูตรมีแผนงานส่งเสริมพัฒนานักศึกษา ที่มุ่งเน้นทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อย่างชัดเจน  ในแต่ละโครงการและการบูรณาการกิจกรรมเข้าไปในการเรียนการสอนรายวิชา ทำให้นักศึกษามีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยี  การทำงานเป็นทีม  การวิจัยและนวัตกรรม
2. หลักสูตรมีความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรหลายแห่งและมีการดำเนินกิจกรรมร่วมกันต่อเนื่องที่ช่วยส่งเสริมศักยภาพให้กับนักศึกษา
3. การสนับสนุนให้นักศึกษาที่เรียน ACC499 ต้องลงทะเบียนเรียน ACC456 การค้นคว้าอิสระ ด้วย เป็นแนวทางที่ดีเพื่อให้นักศึกษาได้นำความรู้จากการร่วมฝึกสหกิจภายนอกมาต่อยอดเป็นการค้นคว้าอิสระ
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในการส่งเสริมให้เกิดการสร้างผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1. มีรายวิชาและการมอบหมายงานให้นักศึกษาทำวิจัยซึ่งเป็นประเด็นการศึกษาที่สอดคล้องกับศาสตร์สาขาวิชา ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าสู่เวที Startup Thailand League ซึ่งจัดโดยศูนย์บ่มเพาะธุรกิจและสตาร์ทอัพ มหาวิทยาลัยรังสิต 
2. นักศึกษามีการเรียนวิชา ACC456 การค้นคว้าอิสระ มีการผลิตผลงานวิจัย หลักสูตรฯ อาจจะสนับสนุนให้นักศึกษามีการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย (คณะบริหารธุรกิจมีการจัด Conference เพื่อให้นักศึกษามีโอกาสตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานปีละ 2 ครั้ง)
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หากสนับสนุนผลการจากค้นคว้าอิสระในรายวิชา ACC456 ในการนำเสนอผลงานทางวิชาการในเวทีต่างๆได้ จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อนักศึกษาและคณะมากขึ้น
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 3.3] ผลที่เกิดกับนักศึกษา

หลักสูตรเปิดปีการศึกษา 2530 เป็นหลักสูตร 4 ปี (สำเร็จการศึกษาปีแรก: 2533)
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การคงอยู่
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2563
ร้อยละ 91.40
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2564
ร้อยละ 92.40
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2565
ร้อยละ 94.40
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
อัตราการคงอยู่สูงมาก  เห็นได้ชัดเจนว่าเป็นผลจากการดำเนินงานตามระบบและกลไกการรับนักศึกษา การเตรียมความพร้อม การดูแลนักศึกษา การให้คำปรึกษา รวมทั้งกิจกรรมโครงการพัฒนานักศึกษา
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
การสำเร็จการศึกษา
ร้อยละอัตราสำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2563
ร้อยละ 85.30
ร้อยละอัตราสำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2564
ร้อยละ 86.30
ร้อยละอัตราสำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2565
ร้อยละ 93.10
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
อัตราการสำเร็จการศึกษาสูงมาก และดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง  เห็นได้ชัดเจนว่าเป็นผลจากการดำเนินงานตามระบบและกลไกการรับนักศึกษา การเตรียมความพร้อม การดูแลนักศึกษา การให้คำปรึกษา รวมทั้งกิจกรรมโครงการพัฒนานักศึกษา
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ความพึงพอใจและผลการจัดการข้อร้องเรียนของนักศึกษา
ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาเฉลี่ย ปีการศึกษา 2563 ร้อยละ 4.60
ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาเฉลี่ย ปีการศึกษา 2564 ร้อยละ 4.61
ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาเฉลี่ย ปีการศึกษา 2565 ร้อยละ 4.62
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
นักศึกษามีความพึงพอใจอย่างมากที่สุดต่อการรับนักศึกษา การเตรียมความพร้อมก่อนเรียน  การส่งเสริมพัฒนานักศึกษา  เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
คะแนนที่ได้ 4
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
แนวโน้มต่างๆ ได้แก่ อัตราการคงอยู่ อัตราการสำเร็จการศึกษา และความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีการรับนักศึกษา การส่งเสริมพัฒนา  อยู่ในระดับมากที่สุดและมีแนวโน้มดีมาโดยตลอด 3 ปี 
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 3 (3 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 4.00 คะแนน

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

[ตัวบ่งชี้ 4.1] การบริหารและพัฒนาอาจารย์

คะแนนที่ได้ 4
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
1. มีระบบและกลไกการบริหารและพัฒนาอาจารย์ โดยหัวหน้าหลักสูตรจะจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสุตรอย่างสมำ่เสมอ เพื่อวางแผนในการทำงานร่วมกัน  มีการแบ่งความรับผิดชอบการดำเนินงานหลักสูตร  
2. มีขั้นตอนการดำเนินงานที่ชัดเจนทั้งในด้านการรับอาจารย์ การเสนอชื่อแต่งตั้ง การพัฒนาส่งเสริมอาจารย์ 
3. มีแผนปฏิบัติการของหลักสูตรประจำปี โดยหัวหน้าหลักสูตรจะมอบหมายภาระงานต่างๆ  ให้กับผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตร ภายใต้ประกาศมหาวิทยาลัยเรื่องภาระงานของอาจารย์ประจำ
4. มีแผนพัฒนาบคุลากรเป้นรายบุคคล และการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานที่เป็นที่ยอมรับ
5. มีผลลัพธ์เชิงประจักษ์ในหลายด้านอันเป็นผลจากปรับปรุงการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เช่น การเพิ่มวุฒิการศึกษาในระดับปริญญาเอก การเพิ่มการดำรงตำแหน่งทางวิชาการ รวมทั้งความพึงพอใจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีต่อการบริหารและการพัฒนาส่งเสริมอาจารย์
6. หลักสูตรมีผลงานวิชาการตีพิมพ์เผยแพร่อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยในปีการศึกษา 2565 ผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้รับรางวัล Paper Award และได้รับรางวัลจากการส่งผลงาน KM ของมหาวิทยาลัย

 
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
ระบบการรับและแต่งตั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1. มีระบบและกลไกการรับและแต่งตั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่ชัดเจน  ทำให้การดำเนินงานในส่วนนี้ซึ่งขับเคลื่อนโดยหัวหน้าหลักสูตรและคณะกรรมการหลักสูตร เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร  และประกาศมหาวิทยาลัยรังสิตที่เกี่ยวข้อง
2. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาของหลักสูตร และมีความก้าวหน้าทางวิชาการเป็นลำดับจากปีการศึกษา 2564
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
เนื่องจากจำนวนนักศึกษาเพิ่มขึ้น หลักสูตรอาจจะวิเคราะห์อัตรากำลังอาจารย์ประจำหลักสูตร เพื่อใช้ในการวางแผนการขออนุมัติอัตรากำลัง
ระบบการบริหารอาจารย์:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1.การบริหารอาจารย์อยู่บนพื้นฐานของภาระกิจหลักของสถาบัน  ซึ่งเป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยรังสิตที่เกี่ยวข้อง  รวมทั้งนโยบายและแผนงานของคณะ
2. มีระบบและกลไกการมอบหมายงานให้กับอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสุตรและอาจารย์ประจำหลักสูตร ครอบคลุมทั้งด้านการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 
3. คณะกรรมการหลักสูตรมีการวางแผนดำเนินงานร่วมกัน โดยผ่านเวทีการประชุมคณะกรรมการหลักสูตร ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจวางแผน  การดำเนินงาน และการติดตามประเมินผลการปฎิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย  
4. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทำงานร่วมกันในการขับเคลื่อนระบบและกลไกให้สู่เป้าหมายแผนการพัฒนาบุคลากรเป็นรายบุคคล จึงมีผลลัพธ์เป็นรูปธรรมทั้งในรูปของการแสดงออกซึ่งความพึงพอใจของอาจารย์ประจำที่มีต่อการบริหารอาจารย์  ผลงานวิชาการ  การดำรงตำแหน่งทางวิชาการ และมีวุฒิปริญญาเอก  
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ให้มีคุณภาพทั้งด้านความรู้ ความสามารถในเนื้อหาวิชาที่รับผิดชอบ สามารถก้าวทันวิทยาการสมัยใหม่ มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ การวิจัย และการพัฒนาศาสตร์ในสาขาวิชาที่รับผิดชอบ:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1. มีระบบและกลไกการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ชัดเจน  โดยอาจารย์ทุกคนจะมีแผนพัฒนาตนเองเป็นรายบุคคล  ซึ่งกำหนดเป้าหมายตามKR ของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคณะ  มีมาตรการส่งเสริมให้อาจารย์พัฒนาตนเองให้บรรลุเป้าหมาย
2. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกคนได้เข้ารับการอบรม เข้าร่วมสัมมนาทางวิชาการและวิชาชีพ เทคนิคการสอนและการประเมินผู้เรียน  โดยมีผลงานเชิงประจักษ์ ได้แก่ นวัตกรรมการเรียนการสอนที่ปรากฏในหลายๆ วิชา   ผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา  ผลงานทางวิชาการที่ได้รับตีพิมพืเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง  ทุนวิจัย   
3. ผลลัพธ์ที่เป็นรุปธรรม คือ การเข้าสู่ตำแหน่งผู้ช่ว่ยศาสตราจารย์เพิ่มขึ้น  วุฒิปริญญาเอกที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อน  การเป็นที่ยอมรับจากองค์กรภายนอกโดยได้รับเชิญเป็นกรรมการองค์การระด้บชาติ การเป็นคณะกรรมการทางวิชาการให้กับองค์การภายนอก
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 4.2] คุณภาพอาจารย์

4.2.1 ร้อยละของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้งหมด 5 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 1
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 20.00
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 20 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรสามารถพัฒนาส่งเสริมอาจารย์ให้มีวุฒิปริญญาเอก
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
4.2.2 ร้อยละของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้งหมด 5 5.00
[2] ไม่มีตำแหน่งทางวิชาการ [อาจารย์] 2
[3] ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ 3
[4] ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ 0
[5] ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ 0
[6] ดำรงตำแหน่งทางวิชาการทั้งหมด [3] + [4] + [5] 3
[7] ร้อยละที่ได้ [6] X 100 / [1] 60.00
[8] ผลลัพธ์ที่ได้ [7] x 5 / 60 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
มีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรดำรงตำแหน่งทางวิชาการตามเกณฑ์
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ในปีการศึกษา 2566  หลักสูตรควรส่งเสริมสนับสนุนอาจารย์อีก 2 ท่านให้เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ
4.2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
หมายเหตุ เป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในรอบปีที่รับการประเมินเท่านั้น [ช่องไหนไม่มีผลงานให้ใส่ 0 ไม่ปล่อยว่าง]
จำนวนผลงานทางวิชาการตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 4 0 1 3 0
จำนวนผลงานสร้างสรรค์ตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 0 0 0
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] ผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ 3.80 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้งหมด 5
[3] ร้อยละที่ได้ [1] X 100 / [2] 76.00
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 20 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
มีผลงานทางวิชาการโดยเฉพาะผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง และมีผลงานวิจัย  1 ชิ้นได้รับรางวัลบทความวิจัยดีเด่น
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
รายการหลักฐาน ตัวบ่งชี้ 4.2 คุณภาพอาจารย์
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ตัวบ่งชี้ 4.2 คุณภาพอาจารย์ คะแนนที่ได้ 5.00 คะแนน

[ตัวบ่งชี้ 4.3] ผลที่เกิดกับอาจารย์

คะแนนที่ได้ 4
หมายเหตุ :
(1) ยกเว้นกรณี การเกษียณอายุงาน และการเสียชีวิต
(2) หากรายชื่อมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากปรับเข้าเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร พ.ศ. 2558 ให้ถือว่าอัตราการคงอยู่ครบในปีการศึกษาแรกที่ปรับเข้าเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร 2558
(3) หากรายชื่อที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบท่านใหม่ต้องมีประสบการณ์ร่วมบริหารหลักสูตรมาไม่น้อยกว่า 9 เดือน (มีหลักฐานรายงานการประชุมภาควิชาหรือการประชุมหลักสูตร)
(4) รายงานถึงสิ้นสุดปีการศึกษา 2565 และจะได้รับการประเมินแนวโน้มผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นต้องประเมิน จาก ≥ 3 ชุดข้อมูล
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
มีการรายงานอัตราการคงอยุ่ และความพึงพอใจ  อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3 ปี โดยมีแนวโน้มที่ดี
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การคงอยู่ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อยุู่ประจำหลักสูตรอย่างต่อเนื่องทั้ง 5 คน
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ความพึงพอใจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีต่อการบริหารหลักสูตร
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ความพึงพอใจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีต่อการบริหารหลักสูตร อยู่ในระดับมากที่สุดมาโดยตลอด3 ปี
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 4 (3 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 4.33 คะแนน

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

[ตัวบ่งชี้ 5.1] สาระของรายวิชาในหลักสูตร

27
27
100.00
คะแนนที่ได้ 4
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
1.มีระบบและกลไกในการพัฒนา ปรับปรุงหลักสูตร  ให้มีความทันต่อการสถานการณ์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความทันสมัยของเนื้อหาสาระรายวิชา การขับเคลื่อนระบบและกลไกสู่เป้าหมายความเป็นเลิศของหลักสูตร  ตามแผนยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาคณะบัญชี  ประสบความสำเร็จโดยสังเกตจากความสอดคล้องเชื่อมโยงของวัตถุประสงค์หลักสูตร ผลลัพธ์การเรียนรู้และโครงสร้างรายวิชาและเนื้อหาสาระรายวิชา
2. หลักสูตรได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยตามขั้นตอนในเวลาที่เหมาะสม  ได้รับการตอบรับทราบการอนุม้ติจากสป.อว. และการรับรองปริญญาตรีสาขาวิชาการบัญชีจากสภาวิชาชีพบัญชี
3. มีการปรับปรุงหลักสูตรตามระยะเวลากำหนด รวมทั้งการปรับปรุงเนื้อหาการสอนให้ทันต่อสถานการณ์
4. หลักสูตรมีจำนวนรายวิชาที่มีการเรียนการสอน 27 รายวิชา และทุกรายวิชามีการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งสูงกว่าค่าเป้าหมายที่มหาวิทยาลัยตั้งไว้คือร้อยละ 80 และรายละเอียดอื่น ๆ ตามที่หลักสูตรระบุไว้ 
5. ทางหลักสูตรมีการปรับปรุงหลักสูตรและสาระรายวิชาที่ทันสมัยตามความก้าวหน้าในศาสตร์ทางบัญชี เช่นการปรับเนื้อหารายวิชาให้ทันกับการเปลี่ยนมาตรฐานรายงานทางการเงินซึ่งเริ่มเปลี่ยนในปี 2565 และทางหลักสูตรสามารถปรับเนื้อหาสาระในหลายรายวิชาได้ทันที มีความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกที่ได้ดำเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาอย่างเแท้จริง
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การออกแบบหลักสูตร และสาระรายวิชาในหลักสูตรที่ปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน มีหลักสูตรหรือรายวิชาที่เป็นความร่วมมือกับสถานประกอบการ
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1. มีระบบและกลไกในการออกแบบหลักสูตร ที่ทำให้หลักสูตรที่ปรับปรุงปี 2563 มีอัตลักษณ์ชัดเจน และสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศ 
2. หลักคิดในการออกแบบหลักสูตร สะท้อนความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย โดยเฉพาะผู้ประกอบวิชาชีพซึ่งมีสภาวิชาชีพบัญชีเป็นผู้กำหนดความต้องการคุณลักษณะของบัณฑิต และมีมคอ. 1 ที่ใช้เป็นแนวทางในการกำหนดโครงสร้างหลักสูตร
3. หลักสูตรมีรายวิชาที่เป็นความร่วมมือกับสถานประกอบการที่มีการปฏิบัติงานจริงเชื่อมโยงกับหลากหลายรายวิชาได้เป็นอย่างดี
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
การปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าในศาสตร์สาขานั้นๆ และเชื่อมโยงกับการนำไปใช้ได้จริง
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1. จากรายงานผลการปรับปรุงรายวิชาที่เปิดสอนในปี 2565 กล่าวได้ว่าทุกรายวิชาที่เปิดสอนมีการปรับปรุงรายวิชา ส่วนใหญ่เน้นหัวข้อสอบที่ทันสม้ย และกลยุทธ์การสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีผลลัพธ์การเรียนรู้ให้ได้มากที่สุด
2. คณะกรรมการหลักสูตร มีระบบและกลไกในการติดตามการเปลี่ยนแปลงในศาสตร์สาขาและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง  และสามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ในปี 2565 มีการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานวิชาชีพทางบัญชี โดยมีการปรับปรุงมาตรฐานรายงานทางการเงิน (TFRS) ซึ่งมีผลตั้งแต่ 1 มกราคม 2565 และทางหลักสูตรสามารถปรับเนื้อหาในรายวิชาได้ทันสมัยตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากต่อนักศึกษา
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
มีการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิที่ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน (Learner Person, Innovative Co-Creator, Active Citizen) ตามวิสัยทัศน์และจุดเน้นของหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1. มีการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่เป็นมาตรฐานสอดคล้องกับมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการบัญชี  ครอบคลุมทั้ง 5 ด้าน และสามารถเชื่อมโยงกับผลลัพธ์ผู้เรียนอย่างเหมาะสม
2. วิสัยทัศน์และอัดลักษณ์ของหลักสูตร สะท้อนจากโครงสร้างของหลักสูตรได้อย่างชัดเจน
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)

[ตัวบ่งชี้ 5.2] การวางระบบผู้สอน และกระบวนการจัดการเรียนการสอน

คะแนนที่ได้ 5
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
1. มีระบบและกลไกการดำเนินงาน  และสามารถขับเคลื่อนสู่เป้าหมายคุณภาพการเรียนการสอนโดยคณะกรรมการหลักสูตร
2. คณะกรรมการหลักสูตรดำเนินการกำหนดรายวิชาที่จะเปิดสอน และอาจารย์ผู้สอนโดยคำนึงคุณสมบัติ ความสามารถและประสบการณ์การพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของอาจารย์แต่ละท่าน รวมทั้งความก้าวหน้าในการดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
3. มีความร่วมมือกันในการติดตามประเมินผล วางแผนการปรับปรุงการดำเนินการจัดการเรียนการสอน โดยมุ่งเน้นกลยุทธ์การสอนที่จะทำให้ผู้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ และปรับปรุงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2563
4. มีผลการดำเนินงานในเชิงกระบวน ที่มีคุณภาพระดับดีมาโดยตลอด โดยเฉพาะในปี 2565 มีผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมชัดเจน ได้แก่ 
4.1 มีนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน 4 รายวิชา ได้แก่ในรายวิชา ACC327 การบัญชีและภาษี อากรสำหรับธุรกิจ ACC331 การพัฒนาทักษะเทคนิควิชาชีพบัญชี ACC332 ผู้ประกอบการสำนักงานบัญชี ACC357 การอำนวยการทางการเงิน ทั้งหมด 4 วิชาที่ดำเนินการสอนแล้วในปี 2565 (รายงานไว้แล้วใน มคอ. 5) นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ายวิชา
4.2 หลักสูตรสามารถจัดรายวิชาให้ได้ตรงกับความต้องการของนักศึกษาและสอดคล้องกับ เป้าหมายในการพัฒนาบัณฑิตให้ตรงกับความต้องการปัจจุบัน คือสามารถเปิดสอนรายวิชาใหม่และทันสมัย คือรายวิชา ACC332 
ผู้ประกอบการสำนักงานบัญชี มีนักศึกษาลงทะเบียน 61 คน ACC419 การวางแผนภูาษีอากร มีนักศึกษาลงทะเบียน 15 คน และACC493 สัมมนาการตรวจสอบภายใน มีนักศึกษา ลงทะเบียน 50 คน
4.3 จำนวนนักศึกษาที่เลือกเรียนแผนที่มีสหกิจศึกษา มีจำนวนมากกว่าปีก่อน (จากร้อยละ 82.83 เป็นร้อยละ 92.19) โดยมีผลการประเมินจากสถานประกอบการได้รับคะแนน 80 ขึ้นไป มากกว่าปีที่ผ่านมา (จากร้อยละ 86.59 เป็นร้อยละ 91.53) และอัตราการได้งานทำมากกว่าปีที่ผ่านมา (จากร้อยละ 76.83 เป็น ร้อยละ 77.97) อันเป็นผลเนื่องจากการส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาเลือกสหกิจศึกษา
4.4 การประยุกต์ใช้ WIL ช่วยให้เกิดการบูรณาการสอนระหว่าง 2 วิชา คือ ACC456 การศึกษา ค้นคว้าอิสระ และ ACC499 การฝึกประสบการณ์ทางบัญชี ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้ตามผลการเรียนรู้ที่ คาดหวังโดยผ่านการทำงานเป็นทีมในงานที่ผู้สอนทั้งสองวิชาร่วมกันพัฒนาในลักษณะที่เป็น Project based ก่อให้เกิดการประหยัดทรัพยากรในการจัดทำรายงานทั้งทางเศรษฐกิจและเวลาที่ใช้ 
4.5 ผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษาของอาจารย์ประจำหลักสูตรมีค่าเฉลี่ยทั้งหลักสูตรระดับดี 
4.6 จากการปรับกลไกการกำหนดผู้สอนในปีการศึกษา 2565 ทำให้หลักสูตรสามารถปรับปรุงการสอนและพัฒนานักศึกษาในด้านภาษาอังกฤษควบคู่กันไป และอาจารย์ประจำหลักสูตรเองได้รับการ พัฒนาการสอนระหว่างการสอนทฤษฎีและการสอนภาคปฏิบัติที่จะต้องสอดประสานกันอย่างลงตัวในวิชา ACC110 ส่งผลต่อสัมฤทธิ์ผลการเรียนของนักศึกษา โดยในปีการศกึษา 2565 มีจำนวนนักศึกษาสอบไม่ ผ่าน (F) ลดลง (ปี 2565 F = 0.00% ปี 2564 F = 0.00 % ปี 2563 F = 0.00 % ปี 2562 F = 1.31% และปี 2561 F = 4.00%) และผลการประเมินการสอนของผู้สอนรายวิชา ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก (ACC110=4.43 4.50 4.60 และ 4.65 ตามลำดับ) 
4.7 การดำเนินงานเกี่ยวกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ความเป็นสากล โดยสามารถดำเนินการ จัดการสอนโดยใช้สื่อการสอนที่เป็นสื่อผสมเป็นภาษาอังกฤษ ใช้ Text Bookและกิจกรรมบูรณาการสอน English Accounting Day 
4.8 ผลการสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อนวัตกรรมการเรียนการสอน การบูรณาการการ 149 หลักสูตรบัญชีบัณฑิต สอน 2 รายวิชาโดยใช้โครงงานเป็นฐาน พบว่าอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด 
4.9 หลักสูตรได้รับรางวัลแนวปฏิบัติที่ดีรางวัลดีเด่นในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ประจำปีการศึกษา 2565 จากมหาวิทยาลัย
 
 
5. หลักสูตรมีนวัตกรรมการจัดการเรียนสอนใน 4 รายวิชา แบบ Active Learning จนประสบความสำเร็จและได้รับรางวัลดีเด่น แนวปฏิบัติที่ดี ภายใต้ชื่อ "การเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้วิชาชีพบัญชียุคดิจิทัลของนักศึกษาหลักสูตรบัญชีบัณฑิตด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning"
6. มีการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนรายวิชา ACC453 เข้ากับงานบริการวิชาการภายใต้หัวข้อ "การทำบัญชีครัวเรือนและการประยุกต์ธุรกิจครัวเรือน" ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี และบูรณาการการจัดการเรียนการสอนรายวิชา ACC456 กับ ACC499 กับการต่อยอดเป็นหัวข้อวิจัย และดำเนินการศึกษาจนสำเร็จพร้อมนำเสนอผลงานวิจัย
7. มีระบบและกลไกในการกำหนดผู้สอน และพัฒนาปรับปรุงกระบวนการกำหนดผู้สอน โดยให้ความสำคัญกับความรู้ความเชี่ยวชาญของผู้สอนที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อนักศึกษา และนำผลประเมินการสอนมาปรับผู้สอนอย่างจริงจัง

 
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดผู้สอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1. มีระบบและกลไกการกำหนดผุ้สอน ที่ทำให้ผู้สอนมีคุณสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร และช่วยส่งเสริมอาจารย์ให้เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ รวมทั้งการ  เตรียมพร้อมที่ขึ้นสอนในรายวิชาที่เปิดใหม่  
2. ภาระงานสอนของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และหัวหน้าหลักสํุตร เป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยรังสิตที่เกี่ยวข้อง
3. มีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมาร่วมสอนกับอาจารย์ประจำหลักสูตร ซึ่งกำกับดูแลในเรื่องของคุณสมบัติและประสบการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. หลักสูตรให้ความสำคัญกับการกำหนดผู้สอนโดยคำนึงถึงทั้งความรู้ ความเชี่ยวชาญของผู้สอนที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน และเอื้อต่อผู้สอนได้เตรียมสอนในรายวิชาที่จะนำไปพัฒนาเป็นผลงานในการขอตำแหน่งทางวิชาการ มีการเชิญอาจารย์พิเศษและกำหนดอาจารย์ประจำคอยดูแลดูแลอย่างใกล้ชิด และให้ความสำคัญกับการนำผลการประเมินการสอนมาเป็นส่วนหนึ่งในการวางตัวผู้สอนในครั้งต่อๆไป 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
การกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียนรู้ (มคอ.3 และ มคอ.4) และการจัดการเรียนการสอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
มีการดำเนินการอย่างละเอียดรอบคอบ เกี่ยวกับการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิในการวางแผนการสอน  ให้มีความสอดคล้องกับหลักสูตรและท้นสมัย
หัวหน้าหลักสูตรเป็นผู้รับผิดชอบในการกำกับติดตามการจัดทำมคอ. 3 และมคอ. 4 รวมทั้งการตรวจสอบการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนการสอน
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
การจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีที่มีการบูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1. มีการบูรณาการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมความเป็นไทย ได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งกระบวนการในการวัดและประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ได้จากกิจกรรมบูรณาการดังกล่าว และการประเมินผลที่คาดว่าจะเกิดกับผู้รับบริการ
2. หลักสูตรมีการบูรณาการสอนในรายวิชากับการบริการวิชาการและงานวิจัย ที่มีการดำเนินการอย่างจริงจัง มีการประเมินผลการดำเนินการ และมีผลการประเมินที่ดีมาก
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 5.3] การประเมินผู้เรียน

คะแนนที่ได้ 4
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
มีระบบและกลไกการประเมินผู้เรียนที่ดีมาก นอกจากระบบการวัดประเมินผลที่หลักสูตรสามารถกำกับดูแลให้มีการดำเนินการอย่างมีมาตรฐานด้วยการตรวจทานให้ความเห็นชอบทั้งข้อสอบและการตัดเกรด  ยังมีการทวนสอบในระดับรายวิชา 100% ซึ่งพบว่าอาจารย์ผู้สอน ได้ดำเนินการตามในการวัดและประเมินผู้เรียนตามเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิ  มีการกำกับติดตามอย่างเป็นระบบ  ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม ดังนี้
1. การประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในทุกวิชาเป็นไปตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตรงตาม ที่ ก าหนดไว้ใน มคอ. 2 และกลยุทธ์ในการประเมินผู้เรียนสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และลักษณะการเรียน การสอนในรายวิชานั้น ๆ
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผู้เรียน มีคุณภาพซึ่งผ่านการปรับปรุงแก้ไขจากค าแนะน า ของคณะกรรมการก ากับมาตรฐานวิชาการที่ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
3. การกระจายของคะแนนในรายวิชาต่างๆ ที่เปิดสอน ส่วนใหญ่มีการกระจายปกติ เนื่องจาก การใช้เกณฑ์การประเมินที่เป็นมาตรฐานประกอบกับการกระจายของคะแนน
4. หลักสูตรมีระบบและกลไกในการประเมินผู้เรียน มีเครื่องมือที่ผ่านการประเมินจากคณะกรรมการ และมีการทวนสอบผ่านโครงการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้รายชั้นปี ที่ได้มีการกำหนดผลการเรียนรู้ที่ควรวัดโดยเฉพาะสำหรับนักศึกษาในแต่ละชั้นปีไว้อย่างชัดเจน รวมทั้งมีผลการประเมินพร้อมข้อเสนอแนะที่หลักสูตรสามารถนำไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในปีต่อๆไปได้
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ที่ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน (Learner Person, Innovative Co-Creator, Active Citizen) ตามวิสัยทัศน์และจุดเน้นของหลักสูตร ตลอดจนมาตรฐานวิชาชีพ (ถ้ามี)
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1. การประเมินผู้เรียนโดยส่วนใหญ่ ที่ได้รายงานในมคอ. 5 จะเป็นการรายงานผลตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่หลักสูตรกำหนดในแต่ละรายวิชา  
2. หลักสูตรมีการประเมินการประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ที่ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน อย่างครบถ้วน ละเอียด และมีผลการประเมินพร้อมข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการนำไปพัฒนาการเรียนการสอนในครั้งต่อๆไปได้
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
การตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1. มีระบบและกลไกการตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้  โดยจัดให้มีการดำเนินการผ่านคณะกรรมการกำกับมาตรฐานซึ่งมีผู้ทรงคุณวุฒิ สาขาวิชาการจากสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงของประเทศเป็นกรรมการ  ทั้งในส่วนของข้อสอบและการตัดเกรด
2. หลักสูตรมีการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยกำหนดเป็นโครงการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้รายชั้นปี ที่ได้มีการกำหนดผลการเรียนรู้ที่ควรวัดโดยเฉพาะสำหรับนักศึกษาในแต่ละชั้นปีไว้อย่างชัดเจน รวมทั้งมีผลการประเมินพร้อมข้อเสนอแนะที่หลักสูตรสามารถนำไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในปีต่อๆไปได้
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
การกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอน และประเมินหลักสูตร (มคอ.5 มคอ.6 และ มคอ.7)
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หัวหน้าหลักสูตรเป็นผู้กำกับติดตามการประเมินการจัดการเรียนการสอนโดยจัดให้มีคณะกรรมการการทวนสอบดำเนินการทวนสอบการดำเนินการสอนและการประเมินผู้เรียนตามแผนการสอน   และผลสัมฤทธิ์มาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้   
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 5.4] ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

หมายเหตุ: KPI ให้สอดคล้องและเป็นไปตามที่ระบุใน มคอ.2
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
1. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรอย่างน้อยร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผน ติดตาม และทบทวนการดำเนินงานหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
มีการประชุมต่อเนื่องตลอดปีการศึกษา  ประเด็นการประชุมเป็นเรื่องการวางแผน  การมอบหมายความรับผิดชอบ และการติดตามผลการดำเนินงาน และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเข้าประชุมครบทุกครั้ง
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
2. มีรายละเอียดของหลักสูตรตามแบบ มคอ.2 ที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ หรือมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา [ถ้ามี]
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รายละเอียดหลักสูตร  มีความสอดคล้องกับมคอ. 1 ซึ่งได้มีกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
3. มีรายละเอียดของรายวิชา และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม [ถ้ามี] ตามแบบ มคอ.3 และ มคอ.4 อย่างน้อยก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาให้ครบทุกรายวิชา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
มีการจัดทำรายละเอียดการสอนครบทุกรายวิชา และดำเนินการประกาศนักศึกษาทราบทั่วกัน  และมีอยู่ในระบบTQF ของมหาวิทยาลัยครบทุกรายวิชา
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
4. จัดทำรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา และรายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม [ถ้ามี] ตามแบบ มคอ.5 และ มคอ.6 ภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่เปิดสอนให้ครบทุกรายวิชา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
สามารถดำเนินการกำกับติดตามให้มีการรายงานผลการดำเนินการสอน และมีข้อมูลป้อนกลับให้กับหลักสูตรที่จะนำไปใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอน
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
5. จัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตรตามแบบ มคอ.7 ภายใน 60 วัน หลังสิ้นสุดปีการศึกษา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นระบบ
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
6. มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ที่กำหนดใน มคอ.3 และ มคอ.4 [ถ้ามี] อย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
มีการทวนสอบครบ 100%  และรายงานผลการทวนสอบได้ชัดเจน เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของนักศึกษา
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
7. มีการพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน หรือการประเมินผลการเรียนรู้จากผลการประเมินการดำเนินงานที่รายงานใน มคอ.7 ปีที่แล้ว
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
การปรับปรุงการดำเนินงานเป็นไปตามคำแนะนำของคณะกรรมการประเมินเมื่อปีก่อน และมีผลการปรับปรุงที่น่าพอใจ
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
8. อาจารย์ใหม่ [ถ้ามี] ทุกคน ได้รับการปฐมนิเทศ หรือคำแนะนำด้านการจัดการเรียนการสอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
9. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกคนได้รับการพัฒนาทางวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
การพัฒนาอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เป็นไปตามแผนพัฒนาบุคลากรเป็นรายบุคคลและมีผลงานที่ดีขึ้น
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
10. จำนวนบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอน [ถ้ามี] ได้รับการพัฒนาวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ต่อปี
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
การพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนเป้นไปตามแผนพัฒนาบุคลากรเป้นรายบุคคล และมีผลงานเชิงประจักษ์ที่แสดงถึงการพัฒนางานที่ดีขึ้น
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
11. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้าย/บัณฑิตใหม่ที่มีต่อคุณภาพหลักสูตร เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.50 จากคะแนนเต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผลการสำรวจความพึงพอใจ ชัดเจน และตรงประเด็นกับความต้องการข้อมูลไปใช้ประโยชน์ของหลักสูตร
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
12. ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตใหม่ เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.50 จากคะแนนเต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
มีผลการประเมินในระดับมากที่สุด
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
13. ร้อยละ 80 ของรายวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอน สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนด
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
การจัดการเรียนการสอนเป็นตามแผนการเปิดที่เอื้อต่อการสำเร็จการศึกษา และการจัดการฝึกงาน  ซึ่งในภาคเรียนมีปรับรายวิชาให้สอดคล้องกับสถานการณ์
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
14. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อคุณภาพการสอน รวมทุกรายวิชา เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
อยู่ในระดับดีขึ้นไปจนถึงดีมาก
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
15. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อทรัพยากรสนับสนุนการเรียนการสอน เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.51 จากคะแนน เต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
อยุ่ในระดับดีมาก
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ผลการประเมินจากผลการดำเนินงาน ตัวบ่งชี้ 5.4
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] รวมจำนวนตัวบ่งชี้ในแต่ละปี 14 5
[2] จำนวนตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการผ่านเฉพาะตัวบ่งชี้ที่ 1-5 1-5
[3] ร้อยละของตัวบ่งชี้ที่ 1-5 ที่ผ่าน [ถ้าผ่านทั้ง 5 ข้อจะเป็นร้อยละ 100] 100
[4] จำนวนตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการผ่านรวม 14
[5] ร้อยละของตัวบ่งชี้ทั้งหมดที่ผ่าน 100.00
*หมายเหตุการกำหนดเงื่อนไขเกณฑ์การประเมิน
ถ้า [3] น้อยกว่าร้อยละ 100 ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 0.00
ถ้า [5] มีการดำเนินงานน้อยกว่า ร้อยละ 80 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 0.00
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 80 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 3.50
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 80.01 - 89.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 4.00
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 90.00 -94.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 4.50
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 95.00 -99.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 4.75
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 100 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 5.00
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 5 (4 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 4.50 คะแนน

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

[ตัวบ่งชี้ 6.1] สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

คะแนนที่ได้ 4
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
1. มีระบบและกลไกในการสำรวจ จัดหา ติดตามประเมินผลสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ซึ่งพบว่าในปี 2564 ต่อเนื่องมาถึงปี 65 ยังคงนำระบบการสอนแบบออนไลน์มาใช้ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่นักศึกษาที่มีปัญหาไม่สามารถมาเรียนในห้องเรียน และนักศึกษาสามารถติดตามบทเรียนได้ รวมทีั้งมีการนำระบบการจัดสอบออนไลน์มาใช้ในการจัดสอบเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการพิมพ์ข้อสอบ ได้อย่างเหมาะสม สิ่งสนับสนุุนที่จัดหาล้วนเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้และการทำผลงานวิชาการของอาจารย์ มีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานจากนักศึกษาและอาจารย์ ซึ่งทำให้นักศึกษาและอาจารย์มีความพึงพอใจในระดับมากมาโดยตลอดระยะ 3 ปีที่ผ่านมา การปรับปรุงกระบวนการจัดหา บริการสิ่งสนับสนุุนและสิ่งอำนวยความสะดวกเกิดผลอย่างเป้นรูปธรรม ได้แก่ ความพร้อมใช้ของสิ่งสนับสนุนและสิ่งอำนวยความสะดวก การบริการจัดการได้เหมาะสมกับสถานการณ์ทำให้ไม่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้รายวิชา  มีความทันสมัยในเคร่ื่องมือทางอีเล็กทรอนิกส์ในการเรียนการสอน
2. หลักสูตรมีระบบและกลไก และการดำเนินการในการจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิตอลที่ตรงกับความต้องการของนักศึกษา อาจารย์และเหมาะสมกับวิชาชีพบัญชี รวมทั้งมีการนำความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกที่สามารถสนับสนุนโปรแกรมการเรียนรู้ทางบัญชีมาให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติงานจริง 
3. หลักสูตรมีการนำ Application ใหม่ มีโปรแกรมสำเร็จรูปทางการเงิน และระบบ ERP มาใช้ประกอบการเรียนการสอน 
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
ระบบการดำเนินงานของภาควิชา/คณะ/สถาบัน โดยมีส่วนร่วมของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เพื่อให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1. หัวหน้าหลักสูตรและคณะกรรมการหลักสูตรมีความเอาใจใส่ต่อการบริหารจัดการสิ่งสนับสนุนและสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่นักศึกษา  โดยมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่มาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติในหลายๆ วิชา โดยบรรจุลงในแผนการสอนชัดเจน  
2. นำระบบการจัดสอบแบบออนไลน์มาใช้ในการจัดสอบ  ซึ่งส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดสอบของหลักสูตร
3. อาจารย์ผู้สอนมีความรับผิดชอบสูงในการอำนวยการสอนแก่นักศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์
4. มีการติดตามผล โดยการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้
5. หลักสูตรมีระบบและกลไก และการดำเนินการในการจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิตอลที่ตรงกับความต้องการของนักศึกษา อาจารย์และเหมาะสมกับวิชาชีพบัญชี รวมทั้งมีการนำความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกที่สามารถสนับสนุนโปรแกรมการเรียนรู้ทางบัญชีมาให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติงานจริง 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
จำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1. หลักสูตรสามารถจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ให้เพียงพอ และพร้อมใช้ให้โดยเฉพาะนักศึกษาทุกคนที่ลงทะเบียนเรียนจะได้มีอุปกรณ์ และซอฟท์แวร์ ซึ่งเป็น Version ใหม่ ใช้ในการฝึกทักษะเทคนิคทางวิชาชีพบัญชี บรรจุลงในรายวิชาต่าง ๆ อย่างเหมาะสม
2. ผลการประเมินความพึงพอใจ และความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอน ออกมาในระดับดีมาก
3. หลักสูตรมีจำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ยุคดิจิทัลที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน โดยมีทั้งส่วนที่ทางหลักสูตรดูแลโดยตรง กับส่วนที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก 

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
กระบวนการปรับปรุงตามผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1. หลักสูตร ได้มีการปรับปรุงการจัดหาสิ่งสนับสนุุนการเรียนรู้โดยเฉพาะ ซอฟท์แวร์ และแอพพลิเคชั่น ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้แก่นักศึกษา เป็นไปตามความต้องการและความจำเป็นในการเรียนรู้ของนักศึกษาและอาจารย์ ซึ่งได้มีผลการติดตามความต้องการและความพึงพอใจมาโดยตลอด และผลการสำรวจออกในระดับดีมากสอดคล้องกันทั้งความต้องการและความพึงพอใจ
2. หลักสูตรมีการประเมินผลความพึงพอใจทั้งของนักศึกษาและอาจารย์ที่มีต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ โดยมีผลประเมินความพึงพอใจในระดับมาก และมีกระบวนการปรับปรุงตามข้อเสนอเพื่อตอบสนองความต้องการของนักศึกษาและอาจารย์ได้อย่างครบถ้วน
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 6 (1 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 4.00 คะแนน

รายงานผลการวิเคราะห์จุดเด่น/จุดแข็ง แนวทางเสริม จุดที่ควรพัฒนา และแนวทางปรับปรุง

จุดเด่นและแนวทางเสริม

  1. หลักสูตรได้มีการพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการกับองค์การวิชาชีพบัญชี และได้นำมาใช้ประโยชน์ในการยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนทำให้ได้รับรางวัลแนวปฏิบัติที่ในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning
  2. หลักสูตรมีระบบและกลไกในการกำกับดูแลการดำเนินงานในองค์ประกอบคุณภาพการศึกษาทุกด้าน และมีการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามกระบวนการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง จนทำให้มีผลการดำเนินงานหลักสูตรสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนที่ผ่านมา 2 ปี ส่งผลให้เกิดแนวโน้มที่ดีในทุกตัวบ่งชี้เชิงปริมาณ
  3. มีแผนปฏิบัติงาน แผนพัฒนาผู้รับผิดชอบหลักสูตร และมีความร่วมมือในการทำงาน ทำให้มีผลงานเชิงประจักษ์ที่เป็นรูปธรรมในทุกด้าน
  4. หลักสูตรมีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ที่ดี ส่งผลให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีผลงานทางวิชาการเป็นจำนวนมาก และวิชาการตีพิมพ์อย่างต่อเนื่อง และมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ
  5. หลักสูตรมีความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกที่มีการดำเนินการร่วมกันในการจัดกิจกรรม โครงการต่างๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นการพัฒนาการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงให้กับนักศึกษาได้เป็นอย่างดี
  6. หลักสูตรมีการพัฒนานักศึกษาที่ดี ส่งผลให้นักศึกษาได้รับรางวัลระดับประเทศ

จุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง

  1. การเตรียมพร้อมสำหรับการปรับปรุงหลักสูตรในรอบต่อไป ด้วยหัวหน้าหลักสูตรจะจัดประชุมเพื่อทำความเข้าใจเกณฑ์มาตรฐาน 65 ที่จะมีผลต่อการปรับปรุงหลักคิดและกระบวนการในการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตร
  2. สนันสนุนให้นักศึกษามีการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการ เนื่องจากนักศึกษามีการเรียนรู้การทำวิจัย

สรุปผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลดำเนินการ
กรรมการ
1.1 การบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่กำหนดโดยสกอ. ผ่าน
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ.2561 4.63
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี 5.00
3.1 การรับนักศึกษา 4.00
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา 4.00
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา 4.00
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์ 4.00
4.2 คุณภาพอาจารย์ 5.00
4.3 ผลที่เกิดกับอาจารย์ 4.00
5.1 สาระของรายวิชาในหลักสูตร 4.00
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน 5.00
5.3 การประเมินผู้เรียน 4.00
5.4 ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 5.00
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 4.00
ผลการประเมินเฉลี่ยรวม [13 ตัวบ่งชี้] 4.36

การวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาภายใน ของคณะกรรมการประเมิน ฯ

องค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
1 ผ่านการประเมิน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 2 - - 4.82 4.82 ระดับคุณภาพดีมาก
3 3 4.00 - - 4.00 ระดับคุณภาพดี
4 3 4.33 - - 4.33 ระดับคุณภาพดีมาก
5 4 4.00 4.67 - 4.50 ระดับคุณภาพดีมาก
6 1 - 4.00 - 4.00 ระดับคุณภาพดี
ผลการประเมิน 4.14 4.50 4.82 4.36 ระดับคุณภาพดีมาก
ระดับคุณภาพ ระดับคุณภาพดีมาก ระดับคุณภาพดีมาก ระดับคุณภาพดีมาก