รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566

หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์

วันที่ประเมิน: 1 สิงหาคม 2567, 09:30น.

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

[ตัวบ่งชี้ 1.1] การบริหารการจัดการหลักสูตรตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร

เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
1. จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
2. คุณสมบัติอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม

ระบุชื่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่ผลงานวิชาการในรอบ 5 ปี หมดอายุในปีการศึกษาที่ตรวจ (ต้องเพิ่มผลงานชิ้นใหม่ในปีการศึกษาหน้า)

- ไม่มี
ข้อคิดเห็น
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
[สำหรับประเภทวิชาชีพ/ปฏิบัติการ]
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 2 ใน 5 คน ต้องมีประสบการณ์ในด้านการปฏิบัติการ
ระบุข้อคิดเห็น
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม

ระบุชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตรที่ผลงานวิชาการในรอบ 5 ปี หมดอายุในปีการศึกษาที่ตรวจ (ต้องเพิ่มผลงานชิ้นใหม่ในปีการศึกษาหน้า)

- ไม่มี
ข้อคิดเห็น
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
4. คุณสมบัติอาจารย์ผู้สอน ที่เป็นอาจารย์ประจำ
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน ที่เป็นอาจารย์พิเศษ
ข้อคิดเห็น
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ผลการประเมินจากผลการดำเนินงาน ตัวบ่งชี้ 1.1

องค์ประกอบที่ 2 การผลิตบัณฑิต

[ตัวบ่งชี้ 2.1] คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และ ด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ.2561

หมายเหตุ : *
(1) จำนวนบัณฑิตทั้งหมด หมายถึง ผู้รับปริญญา ในปีการศึกษา 2565 ประกอบด้วย บัณฑิตที่จบภาคการศึกษา 1/2565 , 2/2565 และ S/2566 [ปีต้องอัพเดตตามปีการศึกษาที่ประเมินย้อนหลัง 1 ปี]
(2) จำนวนบัณฑิตที่รับการประเมินจากผู้ใช้บัณฑิตต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาตาม (ข้อ1)

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
จำนวนบัณฑิตทั้งหมด 92 4.50
จำนวนบัณฑิตที่ได้รับการประเมินทั้งหมด 21
คะแนนเฉลี่ยรวมคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561 4.50
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 2.2] ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี

หมายเหตุ : *
(1) จำนวนบัณฑิตทั้งหมด จะต้องตรงกับตาราง ตัวบ่งชี้ 2.1
(2) จำนวนบัณฑิตที่ตอบแบบสำรวจจะต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
จำนวนบัณฑิตทั้งหมด 92 4.37
จำนวนบัณฑิตที่ตอบแบบสำรวจ 69
จำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษา [มีงานทำในองค์กร] 28
จำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษา [ประกอบอาชีพอิสระ] 15
จำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษา [ประกอบกิจการส่วนตัว/ธุรกิจครอบครัว] 12
จำนวนบัณฑิตที่ไม่ได้งานทำ 8
จำนวนบัณฑิตที่ศึกษาต่อ 3
จำนวนบัณฑิตที่อุปสมบท 1
จำนวนบัณฑิตที่เกณฑ์ทหาร 0
จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาที่มีงานทำก่อนเข้าศึกษา 2
ร้อยละที่ได้ 87.30
ผลลัพธ์ที่ได้ 4.37
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 2 (2 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 4.44 คะแนน

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

[ตัวบ่งชี้ 3.1] การรับนักศึกษา

คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การรับนักศึกษา:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
        จำนวนนักศึกษาแรกเข้าเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้คือ 200 คน ซึ่งจำนวนนักศึกษาเข้าใหม่ในปีการศึกษา 2566 รวมทั้งสิ้น 224 คน และมีอัตราการคงอยู่ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ไปชั้นปีที่ 2 เท่ากับร้อยละ 78.17 โดยจากแบบคำร้อง มรส.19 พบว่า ปัจจัย/สาเหตุที่มีผลกระทบต่อการคงอยู่ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ได้แก่
        1. หลังจากเข้าเรียนไประยะหนึ่งนักศึกษาพบว่า ตนเองไม่มีความถนัดในเนื้อหาวิชา และความเครียดปรับตัวกับรูปแบบการเรียนระดับมหาวิทยาลัยไม่ได้
        2. นักศึกษาเข้าเรียนตามความต้องการของผู้ปกครองซึ่งไม่ตรงกับความสนใจของตนเอง
        3.นักศึกษาขาดแคลนทุนทรัพย์ผู้ปกครองไม่สามารถรองรับค่าครองชีพในการดำรงชีวิตระหว่างเรียนได้

 
           หลักสูตรได้วางแนวทางในการดูแลนักศึกษา โดยใช้ระบบอาจารย์ที่ปรึกษาประจำชั้นปีติดตามผลการเรียน ให้คำแนะนำเรื่องการขอทุนการศึกษา และกิจกรรมภายในคณะระหว่างเรียน โดยมีเงินงบประมาณสนับสนุนการทำงานระหว่างเรียนจากมหาวิทยาลัยเพื่อรักษาอัตราการคงอยู่

            นอกจากนั้นในกรณีเกิดความเครียดจากการปรับตัวกับรูปแบบการเรียนระดับมหาวิทยาลัยไม่ได้ ทีมอาจารย์ผู้สอนยังมีการปรับวิธีการเรียนการสอน เพื่อให้นักศึกษามีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนมากขึ้น รวมทั้งพูดคุยรายละเอียดพร้อมอธิบายขั้นตอนวิธีการเรียนการสอน รวมทั้งให้คำปรึกษากับนักศึกษา เมื่อนักศึกษามีความเข้าใจถึงแนวทางการเรียนการสอนและมั่นใจในการเรียนของตนเองมากยิ่งขึ้นแล้ว จึงตัดสินใจเรียนต่อไม่ย้ายออกตามความตั้งใจแรก

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
>>> แนวปฏิบัติ ผลิตสื่อนำเสนอหลักสูตรผ่านช่องทางออนไลน์ ลงพื้นที่แนะแนวการศึกษาในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย และจัดทีมรับสมัครนักศึกษาใหม่ร่วมกับสำนักงานแนะแนวและรับนักศึกษา

>>> กลไกการรับนักศึกษา
Man Power ทีมดำเนินโครงการแบ่งเป็น 4 ส่วนคือ
1.      ทีมผู้บริหารหลักสูตร วางแผนกลยุทธ์
2. อาจารย์ทุกท่านในคณะให้คำปรึกษาในมหาวิทยาลัย
3.      ทีม One Stop Service รับสมัคร ตอบคำถามอำนวยความสะดวกผ่านช่องทางออนไลน์และในมหาวิทยาลัย
4.      SMART TEAM จากเจ้าหน้าที่จำนวน 3 คน คอยตอบคำถามและอำนวยความสะดวกการติดต่อประสานงานระหว่างนักศึกษากับหน่วยงานและระหว่างหน่วยงานกับหน่วยงานทำให้การดำเนินการในด้านต่างๆ เพื่อให้บริการนักศึกษาทำได้เร็วขึ้นกว่าขั้นตอนปกติ

 - ชุดความรู้ 1. ความรู้เรื่องโครงสร้างหลักสูตร 2. ความรู้ด้านแนวทางปฏิบัติวิชาชีพ 3. ความรู้ด้านกระบวนการจัดเรียนการสอน 4. ความรู้ด้านการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย
ผลลัพธ์ ส่งผลทำให้มีจำนวนนักศึกษาใหม่ทั้งหมด 224 คน เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้จากจำนวน 200 คน
ข้อมูลป้อนกลับ จากการสรุปผลการดำเนินการในปีการศึกษา 2566 นักศึกษาที่เข้าเรียนส่วนใหญ่มีผลการเรียนผ่านเกณฑ์  2.00 มีส่วนน้อยที่ไม่ถึง 2.00

ผลจากการปรับปรุงกระบวนการส่งผลให้การรับสมัครนักศึกษาใหม่มีผลลัพธ์เชิงปริมาณเป็นไปตามเป้าหมาย ส่วนเชิงคุณภาพมีการรายงานไว้ในหัวข้อ ข้อมูลป้อนกลับ ว่ามีนักศึกษาใหม่บางส่วนมีผลการเรียนมัธยมไม่ถึงเกณฑ์ แต่ไม่ได้ระบุเป็นค่าร้อยละ เพื่อใช้ในการวัดผลการเตรียมความพร้อมต่อไป
การเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
>>> แนวปฏิบัติ การเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่ มีระบบจัดการความรู้ให้นักศึกษาใหม่ 3 ช่วงตลอดปีการศึกษา คือในเทอม S/66 ได้มีการจัดโครงการกิจกรรมพัฒนานักศึกษาเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ ได้แก่ โครงการ First Date และได้มีการจัดโครงการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ (รหัส 66) ซึ่งเป็นกิจกรรมวิชาการระหว่างรุ่นพี่กับนักศึกษาใหม่ ใช้วิธีปรับพื้นฐานแบบรวมคละกันทั้งหมด โดยใช้กระบวนการเรียนรู้เป็นกลุ่มและเดี่ยวสลับกันไป เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในภาพรวมก่อน ส่วนการปรับพื้นฐานเฉพาะทางจะเริ่มในเทอม 1/66 โดยเรียนวิชาพื้นฐานของหลักสูตร ในเทอม 2/66 นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จะเรียนตามโมดูลแยกเป็นบทเรียน ซึ่งจะเป็นการเติมพื้นฐานขั้นสุดท้ายก่อนส่งขึ้นชั้นปีถัดไป

>>> ชุดความรู้
1)      กระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ 
2)      การทำงานเป็นทีม
3)      ทักษะการสื่อสารแนวคิดเบื้องต้น
4)  หลักการมองภาพมิติสัมพันธ์

>>> ผลลัพธ์ ภาพรวมนักศึกษามีสมรรถนะที่ดีขึ้นตามเป้าหมายการเรียนรู้  วิเคราะห์จากผลการเรียน และจากการสังเกตของทีมอาจารย์ผู้รับผิดชอบเรื่องของทักษะความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับองค์ประกอบศิลป์ การมองภาพแบบมิติสัมพันธ์ และการออกแบบเบื้องต้น

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- หลักสูตรมีกระบวนการที่ตรงกับการปรับคุณสมบัติตามความรู้พื้นฐานของนักศึกษาใหม่ เพียงแต่การประเมินผลลัพธ์ร้อยละของนักศึกษาใหม่ยังไม่ชัดเจน อาจจะไม่สามารถนำผลประเมินไปปรับปรุงกิจกรรมเตรียมความพร้อมในรอบถัดไป ประกอบกับแนวโน้มอัตราการคงอยู่และแนวโน้มอัตราการสำเร็จการศึกษายังไม่ดี จึงยังเป็นโอกาสที่หลักสูตรจะประปรุงกิจกรรมการเตรียมความพร้อมโดยเฉพาะในส่วนการรายงานผลลัพธ์และการประเมินผลเพื่อนำไปปรับปรุงกิจกรรมรอบถัดไป

- นอกเหนือจากกิจกรรมเตรียมความพร้อมที่หลักสูตรได้รายงานมานั้น ในปีหน้าควรเพิ่มการเตรียมความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และภาษาอังกฤษไว้ด้วย เพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักศึกษาใหม่เห็นความจำเป็นที่ต้องมีทักษะทั้ง 2 ด้านนี้
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 3.2] การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา

คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษาปริญญาตรี:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรมีการควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษาปริญญาตรีที่หลากหลาย ทั้งระบบอาจารย์ที่ปรึกษา ระบบอาจารย์ที่ปรึกษาประจำชั้นปี ระบบ one stop service และ smart team และ ระบบอาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรมพัฒนานักศึกษา
- สรุปผลการดำเนินงานการควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษาปริญญาตรี สะท้อนออกมาในคะแนนประเมินอาจารย์ที่ปรึกษา ในปีการศึกษา 2566  มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 4.63 จากคะแนนการประเมินอาจารย์ทั้งหมด 32 ท่าน ช่องทางการสื่อสารมากที่สุดคือ face to face  ลองลงมาคือ แบบออนไลน์ และใช้ โทรศัพท์ เปรียบเทียบผลการประเมินย้อนหลังมีความพึงพอใจน้อยกว่า ปีการศึกษา 2565 ซึ่งมีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 4.75  วิเคราะห์ว่า น่าจะมาจากการยกเลิกระบบสตูดิโอ จึงไม่มีอาจารย์ที่ปรึกษาประจำสตูดิโอที่จะให้นักศึกษาได้ใกล้ชิดพูดคุยนอกเวลาเรียนในแนวทางที่สนใจร่วมกัน โดยจากผลการประเมินมีข้อเสนอแนะของนักศึกษา ที่นำมาเป็นข้อพิจารณาสำหรับการปรับปรุงในปีการศึกษาต่อไป ดังนี้
        1. 
อาจารย์ที่ปรึกษาไม่ได้สอนในรายวิชาที่นักศึกษาเรียน และเวลาที่อาจารย์สะดวกให้นักศึกษาเข้าพบตามที่ระบุในตารางสอน ไม่ตรงกับเวลาว่างจากตารางเรียนของนักศึกษา
        2. นักศึกษาต้องการตรวจแบบกับอาจารย์ที่ปรึกษาประจำตัว

>>> แนวทางการปรับปรุงระบบอาจารย์ที่ปรึกษาในปีการศึกษาต่อไป คือ จัดอาจารย์ที่ปรึกษาประจำตัวจากอาจารย์ผู้สอนในแต่ละชั้นปี เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสพบอาจารย์ที่ปรึกษาทุกครั้งที่มาเข้าเรียน ทั้งยังได้มีโอกาสเข้ารับการตรวจแบบจากอาจารย์ที่ปรึกษาด้วย ซึ่งจะช่วยให้การควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวการศึกษา มีประสิทธิภาพมากขึ้น
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรมีการควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษาปริญญาตรีที่หลากหลาย ทั้งระบบอาจารย์ที่ปรึกษา ระบบอาจารย์ที่ปรึกษาประจำชั้นปี ระบบ one stop service และ smart team และ ระบบอาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรมพัฒนานักศึกษา แต่มีรายงานผลประเมินเพียงระบบแรกระบบเดียว ควรให้มีการประเมินและรายงานผลการประเมินให้ครบทุกระบบ เพื่อนำผลประเมินไปรายงานแนวทางการปรับปรุงกระบวนการในรอบถัดไป
การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรมีเป้าหมายการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยมีตารางการ mapping กิจกรรมกับทักษะการพัฒนาโดยชัดเจน
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรมีเป้าหมายการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยมีตารางการ mapping กิจกรรมทั้ง 7 กับทักษะการพัฒนาทั้ง 5 โดยชัดเจน แต่ไม่การรายงานร้อยละสัมฤทธิผลของนักศึกษาที่มี learning outcome หรือ ทักษะที่เกิดขึ้น เพื่อนำผลการประเมินไปปรับปรุงกิจกรรมในรอบถัดไป
การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในการส่งเสริมให้เกิดการสร้างผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
          ในปีการศึกษา 2566  หลักสูตรฯ มีแนวทางการพัฒนาศักยภาพด้านงานวิจัยให้กับนักศึกษา เช่น การดำเนินการผ่านรายวิชาต่างๆ ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้ผ่านโครงการ 4+1 รายวิชา ARC201 การออกแบบสถาปัตยกรรม 2, ARC401 การออกแบบสถาปัตยกรรม 6, ARC402 การออกแบบสถาปัตยกรรม 7, ARC423 หัวข้อพิเศษเพื่อการออกแบบสถาปัตยกรรมม, ARC428 การออกแบบสถาปัตยกรรม 5  , ARC595 วิทยานิพนธ์ โดยผลงานวิจัยของนักศึกษาได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ร่วมกับอาจารย์ ในงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ Art & Design Symposium "WORK IN PROGRESS" 2024 : Architecture Session จำนวน 6 ผลงาน
         นอกจากนี้หลักสูตรได้กำหนดให้ รายวิชา ARC599 วิทยานิพนธ์  มีกระบวนการศึกษาเพื่อออกแบบงานสถาปัตยกรรมโดยใช้วิธีการดำเนินงานวิจัย มีผลงานทั้งหมด 83  โครงการ  นักศึกษาได้นำเสนอหัวข้อที่เป็นประโยชน์และตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ ร้อยละ 100 โดยมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน จำนวน 32 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 38.55 มากที่สุด รองลงมาคือ ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ จำนวน  22 โครงการ คิดเป็นร้อยละ  26.51 ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จำนวน  17 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 20.48 ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม จำนวน  10 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 12.05 ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง จำนวน  1 โครงการ คิดเป็นร้อยละ  1.20
          โครงการวิทยานิพนธ์ ทั้งหมด                   83       โครงการ  เท่ากับ  100 %
          โครงการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ   83       โครงการ  เท่ากับ  100 %

ทั้งนี้หลักสูตรฯ จะควบคุมอนุมัติหัวข้อโครงการวิทยานิพนธ์ของทุกปีการศึกษาให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ไม่ต่ำกว่า 95%  ของโครงการทั้งหมด


- หลักสูตรมีระบบส่งเสริมศักยภาพนักศึกษาให้เกิดผลงานวิจัย ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ร่วมกับอาจารย์ ในงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ จำนวน 6 เรื่อง ซึ่งเป็นการบูรณาการในรายวิชาต่างๆ

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 3.3] ผลที่เกิดกับนักศึกษา

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การคงอยู่
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2564
ร้อยละ 80.77
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2565
ร้อยละ 72.27
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2566
ร้อยละ 78.67
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
การสำเร็จการศึกษา
ร้อยละอัตราสำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2564
ร้อยละ 78.57
ร้อยละอัตราสำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2565
ร้อยละ 68.91
ร้อยละอัตราสำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2566
ร้อยละ 71.33
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ความพึงพอใจและผลการจัดการข้อร้องเรียนของนักศึกษา
ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาเฉลี่ย ปีการศึกษา 2564 ร้อยละ 4.31
ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาเฉลี่ย ปีการศึกษา 2565 ร้อยละ 4.44
ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาเฉลี่ย ปีการศึกษา 2566 ร้อยละ 4.37
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
คะแนนที่ได้ 2
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 3 (3 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 2.67 คะแนน

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

[ตัวบ่งชี้ 4.1] การบริหารและพัฒนาอาจารย์

คะแนนที่ได้ 4
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
หลักสูตรแสดงให้เห็นถึงหลักฐานของกระบวนการการบริหารและพัฒนาอาจารย์ ตามผังแสดงโครงสร้างการบริหารคณะฯ  รายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2566   โครงการประชุมบุคลากรคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2566  แผนพัฒนาบุคลากร และแผนอัตรากำลังบุคลากรคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ตลอดจนสรุปผลประเมินคุณภาพการสอนของอาจารย์ และทุกรายวิชา อันนำไปสู่คุณภาพอาจารย์ระดับสูงและแนวโน้มอัตราคงอยู่ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่ดี
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
ระบบการรับและแต่งตั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรมีระบบการรับและแต่งตั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่ชัดเจน
-หลักสูตรฯ ในปีการศึกษา 2566 มีผู้รับผิดชอบคงเดิม และมีอัตราคงอยู่ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ร้อยละ 100 
          การแต่งตั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ มีขั้นตอน ดังต่อไปนี้
          1) หลักสูตรฯ เสนอรายชื่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ มายังฝ่ายวิชาการคณะ หลักสูตรฯ จะต้องพิจารณาอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ จากคุณวุฒิ ตำแหน่งวิชาการ ผลงานทางวิชาการ ความเชี่ยวชาญ ทั้งนี้จะการดำเนินการเมื่อหลักสูตรฯ มีจำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ ต่ำกว่าเกณฑ์
           2) ฝ่ายวิชาการของคณะพิจารณาตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมของคุณวุฒิ ตำแหน่งวิชาการ ผลงานวิชาการ ความเชี่ยวชาญในหลักสูตรฯ หากพบความไม่ถูกต้องของคุณวุฒิ ตำแหน่งวิชาการ ผลงานทางวิชาการ ความเชี่ยวชาญในประเด็นใดประเด็นหนึ่งจะส่งกลับให้ทางหลักสูตรฯ พิจารณาใหม่  หากทุกประเด็นครบถ้วนฝ่ายวิชาการคณะจะดำเนินการเสนอรายชื่อให้ฝ่ายบริหารงานบุคคล มหาวิทยาลัยรังสิต  เพื่อนำเสนอมหาวิทยาลัยอนุมัติ
          หลักสูตรฯ กำหนดหน้าที่ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ ไว้ดังนี้
           1) จัดให้มีการประชุมหลักสูตรฯ ทุกภาคการศึกษาอย่างน้อยภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง (มหาวิทยาลัยรังสิต จะมีภาคการศึกษาปกติ 2 ภาค และภาคฤดูร้อน 1 ภาค) เพื่อให้สามารถดำเนินการวางแผน ติดตาม และตรวจสอบการดำเนินงานของหลักสูตรฯ ตลอดปีการศึกษา
           2) ติดตามและตรวจสอบการจัดทำและส่ง มคอ.3 และมคอ.4 ของอาจารย์ผู้สอนทุกคนให้แล้วเสร็จก่อนเปิดภาคเรียน โดยจัดทำ มคอ.5 และมคอ.6 ให้แล้วเสร็จหลังสิ้นสุดภาคการศึกษาภายใน 30 วัน
          3) จัดทำ มคอ.7 ให้แล้วเสร็จหลังสิ้นสุดปีการศึกษาภายใน 60 วัน
          4) ทวนสัมฤทธิ์ของรายวิชาตามที่กำหนดไว้ใน มคอ.3 หรืออย่างน้อยร้อยละ 25 ในแต่ละภาค
          5) ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนและประเมินผลโดยรายงานใน มคอ.7 ปีการศึกษาที่ผ่านมา
          6) มีการมอบหมายภาระหน้าที่อื่นๆ เช่น การกำหนดอาจารย์ที่ปรึกษาให้นักศึกษาในหลักสูตรฯ การจัดทำข้อสอบ การแก้ปัญหาของนักศึกษาในทุกมิติ งานอื่นๆ ตามความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญของอาจารย์ รวมไปถึงความสมัครใจในการทำงานอื่นโดยผ่านกระบวนการประชุมของฝ่ายวิชาการ
          7) กำหนดให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ ต้องเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนาทางวิชาการอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง โดยทางมหาวิทยาลัยออกค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียน ตามระเบียบมหาวิทยาลัย
          8) เก็บรวบรวมข้อมูลการได้งานทำของบัณฑิต และประเมินความพึงพอใจของบัณฑิต/นายจ้าง
          9) จัดการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการกับงานวิจัย การบริการทางสังคมและการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

          ทั้งนี้ ระบบการแต่งตั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ จะต้องมีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ อย่างน้อย 5 คน อยู่ร่วมบริหารหลักสูตรฯ ตลอดปีการศึกษาตามเกณฑ์ สกอ. เมื่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ มีจำนวน ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ สกอ. กำหนดเป็นระยะเวลาเกินกว่า 60 วันหลักสูตรฯ จะดำเนินกระบวนการแต่งตั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ เพิ่มเติมให้ครบจำนวน 5 คน ภายในระยะเวลา 90 วันตามที่เกณฑ์ที่ สกอ. กำหนด


 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ระบบการบริหารอาจารย์:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ปีการศึกษา 2566 หลักสูตรมีผลการดำเนินการบริหารอาจารย์ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร โดยการใช้โครงสร้างของคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์คณะฯ มีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ เข้าร่วมเพื่อนำเสนอปัญหา อุปสรรค เพื่อพิจารณา วิเคราะห์ หาแนวทางการแก้ไขร่วมกัน ทำให้เกิดมุมมองการจัดการในหลายมิติ ทั้งทางด้านการบริหาร ด้านวิชาการ ด้านกิจการนักศึกษา และรวมถึงด้านการสื่อสารองค์กรภายนอก โครงการตามแผนปฏิบัติการของคณะฯ จะเป็นการพิจารณาผ่านการประชุม ซึ่งทำให้โครงการที่จัดจะเกิดผลสัมฤทธิ์ในหลายๆ ด้าน เช่น โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ออกแบบเชิงปฏิบัติการ (4+1) ที่บูรณาการการเรียน งานวิจัย ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และพัฒนานักศึกษาเข้าด้วยกัน ซึ่งส่งผลให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีผลงานสร้างสรรค์จากโครงการ 4+1 และจากการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาออกแบบสถาปัตยกรรมได้รับการเผยแพร่ระดับนานาชาติ The 12th International Arts & Design Symposium 2024 ”Work in Progressจัดโดยสภาคณบดีศิลปะและการออกแบบแห่งประเทศไทย สมาคมสถาปนิกสยาม สมาคมช่างภาพแห่งประเทศไทย สมาคมนักออกแบบเรขศิลป์ไทย ร่วมกับวิทยาลัยการออกแบบ คณะดิจิทัลอาร์ต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต (ดูผลงานใน www.workinprogress-symposium.design)  จำนวน 3 ผลงาน และในสถาปัตย์นิทรรศน์ ครั้งที่ 7 นิทรรศการเผยแพร่ผลงานออกแบบและสร้างสรรค์ : 7TH ARCHITECTURE & DESIGN EXHIBITION 2023 อีก 1 ผลงาน

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
>>> มีข้อสังเกต ในส่วนความพึงพอใจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีต่อการบริหารหลักสูตรในปีการศึกษา2566 อยู่ที่ 4.20 ลดลงเมื่อเทียบกับปีการศึกษา 2565 ที่ 4.42
 
ระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ให้มีคุณภาพทั้งด้านความรู้ ความสามารถในเนื้อหาวิชาที่รับผิดชอบ สามารถก้าวทันวิทยาการสมัยใหม่ มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ การวิจัย และการพัฒนาศาสตร์ในสาขาวิชาที่รับผิดชอบ:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรฯ ได้ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ และอาจารย์ทุกคนควรต้องเข้าร่วมประชุม สัมมนา หรืออบรมความรู้เกี่ยวกับวิชาที่สอน หรือเกี่ยวข้องกับวิชาชีพ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาตนที่กำหนดโดยสภาวิชาชีพ โดยหลักสูตรฯ เปิดโอกาสให้อาจารย์ทุกคนได้พัฒนาตนเองให้มีคุณภาพมาตรฐานทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีขั้นตอน ดังต่อไปนี้
          1) คณะฯ จัดทำแบบฟอร์มสำรวจความต้องการพัฒนาศักยภาพอาจารย์
          2) สรุปผลการสำรวจความต้องการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ และร่วมกันจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรประจำปี โดยจัดประชุมเพื่อพิจารณา (ร่าง) แผนพัฒนาบุคลากรประจำปี และจัดทำเป็นแผนพัฒนาบุคลากรประจำปีต่อไป
จากการที่หลักสูตรฯ จัดทำแผนพัฒนาตนเองของอาจารย์ พบว่า อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ 5 ท่าน มีการวางแผนเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ/ตำแหน่งวิชาการที่สูงขึ้น รวมถึงมีบทความวิชาการ/งานวิจัย ดังต่อไปนี้
          อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ คนที่ 1 ผศ.ดร.นฤพนธ์ ไชยยศ มีการนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ระดับนานาชาติ  1 ผลงาน และแผนการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้นในปีการศึกษา 2567
         อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ คนที่ 2 ดร.ศศิกาญจน์ ศรีโสภณ  ยังไม่เคยมีตำแหน่งทางวิชาการ  มีผลงานสร้างสรรค์เผยแพร่ในระดับนานาชาติ 1 ผลงาน มีแผนการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้นในปีการศึกษา 2567 เนื่องจากต้องรวบรวมเอกสารใหม่ จากเกณฑ์ใหม่
         อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ คนที่ 3 ผศ.ดร.อวิรุทธ์ เจริญทรัพย์ ไม่มีบทความทางวิชาการ มีแผนการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ  ที่สูงขึ้นในปีการศึกษา 2567
         อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ คนที่ 4 ผศ.ดร.ไพกานท์ รักษาสุทธิพันธ์ มีการนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ระดับนานาชาติ  1 ผลงาน และแผนการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ  ที่สูงขึ้นในปีการศึกษา 2570
         และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ คนที่ 5 ผศ.กรพงศ์  กรรณสูต มีการนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ระดับชาติ  1 ผลงาน และแผนการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ  ที่สูงขึ้นในปีการศึกษา 2570



         หลักสูตรฯ ได้มีการจัดสรรงบประมาณโครงการประจำปี 2566 ในการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ ให้เป็นไปตามมาตรฐานและมีศักยภาพที่สูงขึ้นต่อการพัฒนาคุณภาพของบัณฑิต มีกลยุทธ์ในการสร้างจูงใจ และมีคณะกรรมการส่งเสริมสนับสนุน ให้อาจารย์พัฒนาตนเองในการสร้างผลงานทางวิชาการ ทำวิจัยและตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ประเมินการสอนของอาจารย์และนำผลมาใช้ในการส่งเสริมพัฒนาความสามารถด้านการสอนของอาจารย์ นอกจากนี้ มีอาจารย์ประจำหลักสูตร ที่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์และผลงานทางวิชาการในระดับนานาชาติ อีกจำนวน 8 ท่าน ได้แก่ ผศ.ดร.สุดจิต เศวตจินดา ผศ.สมสฤทธิ์ ตาณพันธุ์ ดร.สายใจ หล่อเพ็ญศรี อาจารย์มัลลิกา จงศิริ อาจารย์อามาล ภ.ฉิมวิไลทรัพย์ อาจารย์มนต์ชัย บุญยะวิภากุล และอาจารย์ธนัญชัย ลิมปาคม นอกจากนี้ยังมีอาจารย์ผู้สอนที่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์และผลงานทางวิชาการในระดับนานาชาติ อีกจำนวน 7 ท่าน ได้แก่ รศ.ทรงพล อัตถากร ผศ.ส่งศักดิ์ อ่อนสุวรรณ์ ผศ.อภิวัฑธน์ พัฒนศิริมงคล ผศ.กฤตพร ลาภพิมล ดร.ปวรพชร บุญเรืองขาว อาจารย์พิเชฐ วานิชเจริญธรรม และอาจารย์ปุณณรัตน์ จรุงคนธ์ โดยอาจารย์ทุกท่านของหลักสูตรฯ ได้เข้าร่วมอบรมพัฒนาตนเองอย่างน้อย 1 ครั้งตามแผน
ทั้งนี้ หลักสูตรฯ ได้มีการติดตามการพัฒนาตนเองของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร และอาจารย์ประจำผู้สอน โดยระบุและแสดงรายละเอียดในแผนพัฒนาบุคลากร เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการดำเนินการบริหารอาจารย์ในหลักสูตรต่อไป

การพัฒนาอาจารย์ในด้านการจัดการเรียนการสอน
             อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีภาระการสอนตามภาระงานที่มหาวิทยาลัยกำหนด คือ ผู้มีตำแหน่งบริหาร 18 หน่วยกิต  และ ตำแหน่งอาจารย์ประจำ 24 หน่วยกิต หลักสูตรได้มีการประเมินรายวิชาที่ผู้รับผิดชอบหลักสูตรร่วมสอน และรายวิชาทั้งหมดในหลักสูตรที่เปิดสอน มีผลการประเมินการสอนในรายวิชา 4.53 อยู่ในเกณฑ์ดี  และผลการประเมินคุณภาพการสอนโดยรวมได้ผลคะแนนเฉลี่ย ของทุกท่าน 4.47 อยู่ในเกณฑ์ดี


- อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีศักยภาพสูง มีผลงานระดับนานาชาติ จำนวน 3 เรื่อง และยังมีผลงานสร้างสรรค์อีก 1 เรื่อง
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 4.2] คุณภาพอาจารย์

4.2.1 ร้อยละของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้งหมด 5 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 4
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 80.00
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 20 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
4.2.2 ร้อยละของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้งหมด 5 5.00
[2] ไม่มีตำแหน่งทางวิชาการ [อาจารย์] 1
[3] ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ 4
[4] ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ 0
[5] ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ 0
[6] ดำรงตำแหน่งทางวิชาการทั้งหมด [3] + [4] + [5] 4
[7] ร้อยละที่ได้ [6] X 100 / [1] 80.00
[8] ผลลัพธ์ที่ได้ [7] x 5 / 60 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
4.2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
จำนวนผลงานทางวิชาการตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 0 0 0
จำนวนผลงานสร้างสรรค์ตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 1 0 3
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] ผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ 3.60 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้งหมด 5
[3] ร้อยละที่ได้ [1] X 100 / [2] 72.00
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 20 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
รายการหลักฐาน ตัวบ่งชี้ 4.2 คุณภาพอาจารย์
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ตัวบ่งชี้ 4.2 คุณภาพอาจารย์ คะแนนที่ได้ 5.00 คะแนน

[ตัวบ่งชี้ 4.3] ผลที่เกิดกับอาจารย์

หมายเหตุ :
(1) ยกเว้นกรณี การเกษียณอายุงาน และการเสียชีวิต
(2) หากรายชื่อมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากปรับเข้าเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร พ.ศ. 2558 ให้ถือว่าอัตราการคงอยู่ครบในปีการศึกษาแรกที่ปรับเข้าเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร 2558
(3) หากรายชื่อที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบท่านใหม่ต้องมีประสบการณ์ร่วมบริหารหลักสูตรมาไม่น้อยกว่า 9 เดือน (มีหลักฐานรายงานการประชุมภาควิชาหรือการประชุมหลักสูตร)
(4) รายงานถึงสิ้นสุดปีการศึกษา 2566 และจะได้รับการประเมินแนวโน้มผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นต้องประเมิน จาก ≥ 3 ชุดข้อมูล
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การคงอยู่ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2564
ร้อยละ 80.00
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2565
ร้อยละ 100.00
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2566
ร้อยละ 100.00
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ความพึงพอใจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีต่อการบริหารหลักสูตร
ความพึงพอใจ ในปีการศึกษา 2564 ร้อยละ 4.33
ความพึงพอใจ ในปีการศึกษา 2565 ร้อยละ 4.42
ความพึงพอใจ ในปีการศึกษา 2566 ร้อยละ 4.20
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

[ตัวบ่งชี้ 5.1] สาระของรายวิชาในหลักสูตร

38
26
68.42
คะแนนที่ได้ 4
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
หลักสูตร  วางแผนกลยุทธ์ และนโยบายการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร (PLOs)  โดยมีคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์คณะฯกำกับ ติดตามสาระการเรียนรู้และประเมินผลการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนร่วมกับอาจารย์ผู้รับผิดชอบวิชาและอาจารย์ผู้สอนในทุกชั้นปีให้เป็นไปตาม(CLOs) โดยมี Director แต่ละชั้นปี ควบคุมดูแลเป้าหมายการบูรณาการของกลุ่มวิชา ผ่านการบูรณาการรายวิชา(Sandbox Model)ในชั้นปี โดยกำหนดผลรับการเรียนรู้ร่วมกัน(YLOs) โดยมีคณะกรรมการกำกับมาตรฐานวิชาการ พิจารณาผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษา ร่วมถึงได้มีการปรับปรุงหลักสูตรให้มีความทันสมัยตามความก้าวหน้า เชื่อมโยงกับการนำไปใช้ได้จริง รวมทั้งมีการปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน และสอดคล้องกับความร่วมมือกับสถานประกอบการ
 
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การออกแบบหลักสูตร และสาระรายวิชาในหลักสูตรที่ปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน มีหลักสูตรหรือรายวิชาที่เป็นความร่วมมือกับสถานประกอบการ
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
          ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรฯ ดำเนินการจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการรายชั้นปี (Sandbox Model) ซึ่งเป็นการต่อยอดการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนด้วยการผนวกความหลากหลายของแนวทางการจัดการเรียนการสอนในปีที่ผ่านมา ซึ่งการจัดการเรียนการสอนนั้นให้ความสำคัญกับเนื้อหาของรายวิชา และผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน กำหนดให้มีรายวิชาที่เป็นความร่วมมือกับสถานประกอบการ หน่วยงานและองค์กรภายนอกในสาขาวิชาชีพทางสถาปัตยกรรมและสาขาวิชาชีพต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น ที่ปรึกษาโครงการ ผู้บริหารโครงการ รวมถึงผู้ประกอบการในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์  
          (1) แนวทางการบูรณาการระหว่างชั้นปี ได้ถูกนำมาใช้เป็นแนวคิดในการบูรณาการการศึกษาทั้งในเรื่องของสาระในแต่ละรายวิชาและการเรียนรู้ร่วมกันของนักศึกษาในลักษณะข้ามชั้นปี ช่วยกระตุ้นให้การเรียนรู้ร่วมกันของนักศึกษามีพัฒนาการที่ดีอย่างต่อเนื่องนอกจากความรู้พื้นฐานที่เป็นไปตามมาตรฐานในแต่ละชั้นปี ต่อยอดทั้งด้านองค์ความรู้เฉพาะทาง ด้านความร่วมมือ ด้านการทำงานเป็นทีม และการสรุปความรู้ของตนเองเพื่อไปถ่ายทอดความรู้ให้กับรุ่นน้องได้อย่างชัดเจนและแม่นยำ ในขณะที่รุ่นน้องก็กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นมากยิ่งขึ้น อาจารย์ผู้สอนจึงมีโอกาสเติมเต็มองค์ความรู้ให้กับนักศึกษาอย่างตรงประเด็น
          (2) แนวทางการบูรณาการรายวิชาร่วมกับหน่วยงานองค์กรภายนอก เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนจากประสบการณ์จริง (Authentic Learning) เป็นการเรียนรู้การออกแบบโครงการสถาปัตยกรรมร่วมกับสถานประกอบการ หน่วยงานและองค์กรภายนอก ซึ่งนักศึกษาจะได้มีประสบการณ์ทำงานบนเงื่อนไขที่หลากหลาย ภายใต้กรอบสาระรายวิชาแต่ละชั้นปีตามเป้าหมายของหลักสูตร โดยการทำความร่วมมือด้านวิชาการ (MOU) ร่วมกัน
สำหรับการจัดทำความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ในปีการศึกษา 2566 ระหว่าง หลักสูตรกับองค์กรภายนอก มีเนื้อหาการดำเนินการที่สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ของรายวิชาต่างๆ สรุปได้ดังนี้
        1. บริษัท  แอล ดับเบิลยู เอส วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด (LWS) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ส่งผู้เชี่ยวชาญของบริษัทมาฝึกอบรมให้ความรู้การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับการเขียนแบบสถาปัตยกรรม ในระบบ BIM ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน 
           2. บริษัท มิยะกะวะโคคิ จำกัด และบริษัท มิยะกะวะ ดาต้า ซัพพอร์ท เซ็นเตอร์ มาคัดเลือกรับนักศึกษาเข้าฝึกปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ณ ประเทศญี่ปุ่น
           3. 
บริษัท อีเอ็ม ดีไซน์ แอนด์ แมนเนจเมนท์ จำกัด และ บริษัท บลูปริ้น เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด  ได้มาให้ความรู้เกี่ยวกับแนวคิดการออกแบบที่พักอาศัยในโครงการของบริษัท ร่วมออกโจทย์ให้นักศึกษาฝึกออกแบบบนทำเลต่างๆ และ ร่วมตรวจคัดเลือกผลงานงาน ครั้งสุดท้าย เพื่อมอบรางวัลแก่นักศึกษา
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
มีการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิที่ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน (Learner Person, Innovative Co-Creator, Active Citizen) ตามวิสัยทัศน์และจุดเน้นของหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรมีระบบและกลไกการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิที่ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน (Learner Person, Innovative Co-Creator, Active Citizen) และมาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้ 5 ด้าน ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุงปี พ.ศ. 2561  ในการพัฒนาหลักสูตรฉบับปรับปรุง บนหลักคิดของ Outcomes Based Education ดังนั้นเป้าหมายการผลิตบัณฑิตทางด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ให้เป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม มีทักษะศตวรรษที่ 21 ยังต้องเป็นบัณฑิตที่เป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง เป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และความรอบรู้ด้านต่างๆ มีความกล้าหาญทางจริยธรรม ยึดมั่นในความถูกต้อง รู้คุณค่าและรักษ์ความเป็นไทย ร่วมมือรวมพลังเพื่อสร้างสรรค์การพัฒนา โดยนำสู่ที่การประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์คณะเพื่อนำมาบูรณาการกับการจัดการเรียนการสอน และกำหนดในมคอ.3ทุกรายวิชาที่เปิดสอนในหลักสูตร โดยมีเนื้อหารายละเอียดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้ 5 ด้านมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีที่ระบุในมคอ.2 และผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน (Learner Person, Innovative Co-Creator, Active Citizen)

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรอาจรายงานกลุ่มรายวิชาที่ mapping กับ doe3 แล้วนำผลประเมินผู้ใช้บัณฑิตมาประกอบการพิจารณา ปรับปรุง/ไม่ปรับปรุง รายวิชาที่ mapping ต่อไป
การปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าในศาสตร์สาขานั้นๆ และเชื่อมโยงกับการนำไปใช้ได้จริง
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
        1. ในปีการศึกษา 2566 มีปรับปรุงแผนการเรียนการสอนและโครงสร้างคะแนนที่ดี ปัญหาหลัก
ที่พบในรายวิชาน้อยลง แต่พบปัญหาในรายละเอียดและในเชิงแผนการเรียนการสอนภาพรวมมากกว่า ในปีการศึกษา 2566  จึงมีการเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนในภาคการศึกษาS/66 โดยมีการประชุมบุคลากรเพื่อกำหนดนโบบาย และยุทธศาสตร์การจัดการเรียนการสอน โดยมีเป้าหมายในแต่ละชั้นปีอย่างชัดเจน และมีการจัดประชุมกลุ่มย่อยแยกรายวิชาอย่างต่อเนื่องเพื่อกำหนดแผนการสอนของแต่ละ โดยการขับเคลื่อนผ่านคณะกรรมการที่ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบรายวิชาและหัวหน้าชั้นปี จึงสามารถกำหนดรายละเอียด เช่นโครงสร้างของแต่ละรายวิชาได้ชัดเจน รวมทั้งวิธีการและเกณฑ์การประเมินในแต่ละรายวิชา นอกจากนั้นยังมีนโยบาย การบูรณาการรายวิชา (Sandbox Model) ในชั้นปีโดยกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ร่วมกัน (YLOs)
        2. การประชุมสรุปความรู้และคะแนนในรายวิชา ในปีการศึกษา 2566 ได้ดำเนินการตามแผนงาน ได้ดี ซึ่งในปีการศึกษา2566 มีการกำหนดการประชุมติดตามผลการดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามที่กำหนด และมีการประชุมย่อยของแต่ละกลุ่มวิชาในแต่ละชั้นปีแบบไม่เป็นทางการตลอดเวลาเพื่อป้องกันปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นระหว่างภาคการศึกษา เช่น ในรายวิชาออกแบบที่มีกระบวนการเรียนล่าช้ากว่าเป้าหมายการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้  การปรับกิจกรรมการเรียนเพื่อป้องกันการตกออกของนักศึกษา  การเพิ่มกิจกรรมการเรียนในเนื้อหาที่ไม่เพียงพอของบางวิชา
       1. ส่งเสริมให้มีกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงในทุกรายวิชา ได้แก่การทัศนศึกษา การจัดเสวนาทางวิชาการ การเชิญวิทยากรจากภายนอกมาบรรยาย ตรวจงาน หรืออื่นๆ รวมถึงการบริหารจัดการงบประมาณโครงการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด(มีวิทยากรภายนอก 15ท่านทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ครอบคลุม 10 วิชาบรรยาย 13 วิชาปฏิบัติ)
         2. การวางแผนการจัดทำโครงการด้านวิชาการ และการจัดการเรียนการสอนในบางรายวิชาให้เกิดองค์ความรู้หรืองานสร้างสรรค์ที่สามารถบูรณาการกับการเผยแพร่ผลงานวิชาการ และสอดคล้องกับตัวบ่งชี้และเกณฑ์ของงานประกันคุณภาพ
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรควรจัดการความรู้และถอดความรู้แนวทางการออกแบบหลักสูตร และสาระรายวิชาในหลักสูตรที่ปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน มีหลักสูตรหรือรายวิชาที่เป็นความร่วมมือกับสถานประกอบการ เข้าสู่ระบบ RKMS เพื่อโอกาสความเป็น gooก practice ต่อไป
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 5.2] การวางระบบผู้สอน และกระบวนการจัดการเรียนการสอน

คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดผู้สอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ จัดให้มีการประชุมอาจารย์ผู้สอน เพื่อการวางแผนการจัดการเรียนการสอนทุกปีการศึกษา โดยอาจารย์ทุกท่านจะศึกษาเป้าหมายของผลลัพธ์การเรียนรู้ในแต่ละวิชาในมคอ. 2 เพื่อให้เข้าใจโครงสร้างและกลไกหลักสูตรฯ (PLOs) ร่วมกัน รวมทั้งทราบทิศทางและกลยุทธ์ในการจัดการเรียนการสอนตามเป้าหมายของแต่ละชั้นปี (YLOs) โดยหลักสูตรมีแนวทางการวางแผนการจัดอาจารย์ผู้สอน พิจารณาจากเกณฑ์คุณวุฒิการศึกษา ประสบการณ์สอน ประสบการณ์ทำงาน ผลงานทางวิชาการ และมีการกำหนดเกณฑ์การตั้งคณะกรรมการวิทยานิพนธ์ ตามหลักเกณฑ์การรับรองหลักสูตรของสภาสถาปนิก
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรควรแสดงความสอดคล้องของการการกำหนดผู้สอนผ่านตารางการ mapping คอลัมน์รายวิชากับคอลัมน์รายชื่ออาจารย์ผู้สอน และคอลัมน์คุณวุฒิ ประบการณ์ ความเชี่ยวชาญ ผลงานวิชาการ ผลงานวิชาชีพ 
การกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียนรู้ (มคอ.3 และ มคอ.4) และการจัดการเรียนการสอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรมีการกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียนรู้ (RQF.3 และ RQF.4) และการจัดการเรียนการสอน  ดังนี้

-คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ กำหนดนโยบาย เป้าหมายตามผลลัพธ์การเรียนรู้ของแต่ละชั้นปี
  • หัวหน้าชั้นปีประชุมร่วมกับอาจารย์ผู้รับผิดชอบวิชาทุกรายวิชาของแต่ละชั้นปีวางแผนการจัดทำRQF.3 และ RQF.4 โดยคำนึงถึงความทันสมัยของเนื้อหาวิชา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยนำข้อคิดเห็นจากผล RQF.5จากรายวิชาในปีการศึกษาที่ผ่านมานำมาปรับปรุงรูปแบบการสอนในปีการศึกษา 2566
  • การตรวจสอบการจัดทำ RQF.3 และ RQF.4 โดยหัวหน้าหลักสูตร และรองคณบดีฝ่ายวิชาการ
  • คณะกรรมการกำกับมาตรฐานวิชาการซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิมาร่วมให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนในรายวิชาต่าง ๆ รวมถึงเนื้อหาที่ระบุไว้ใน RQF.3 และ RQF.4 และผลการเรียนของนักศึกษาในปีการศึกษา 2566 และให้ข้อคิดเห็นแนวทางในการปรับปรุง ซึ่งหลักสูตรได้นำข้อคิดเห็นที่ได้ เพื่อการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เพื่อระดมความคิดสำหรับปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนในปีการศึกษาต่อไป

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรอาจรายงานรายวิชาที่มีการนำผลประเมินจาก RQF.5 มาใช้ในการปรับปรุง RQF.3
การจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีที่มีการบูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- มีการจัดการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม แต่ยังขาดการทบทวนกระบวนการ

- หลักสูตรมีการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการทั้งงานวิจัย บริการวิขาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มีการพัฒนาระบบ Sandbox Model เพื่อวางแผนการเรียน ทำให้เกิดการบูรณาการเนื้อหา และองค์ความรู้ที่นักศึกษาจะได้รับ
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
1.ควรมีการทบทวนกระบวนการ และกลไก
2.ควรแสดงชื่อรายวิชาที่มีการบูรณาการกับพันธกิจต่าง ๆ โดยระบุวัตถุประสงค์ของการบูรณาการในแต่ละรายวิชา เพื่อนำผลประเมินตามวัตถุประสงค์มาใช้ในการปรับปรุงการ Mapping รายวิชากับพันธกิจต่าง ๆ ตลอดจนการจัดการเรียนการสอนต่อไป
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 5.3] การประเมินผู้เรียน

คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ที่ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน (Learner Person, Innovative Co-Creator, Active Citizen) ตามวิสัยทัศน์และจุดเน้นของหลักสูตร ตลอดจนมาตรฐานวิชาชีพ (ถ้ามี)
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
การดำเนินงาน
หลักสูตรฯมีการวางแผนการดำเนินการแบบบูรณาการรายวิชาเป็นฐานสำหรับการเรียนการสอนชั้นปีที่ 1 และใช้การวางแผนการดำเนินการแบบพื้นที่นวัตกรรม (sandbox) เป็นฐานสำหรับการเรียนการสอนชั้นปีที่ 2 3 4 และ 5 โดยมีการเรียนการสอนและการประเมินแบ่งตามชุดการเรียนรู้ ได้แก่ Proposal unit, Transformation unit, Integratiob unit และ Communication unit ในทุกชั้นปีการศึกษา พร้อมทั้งกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ระหว่างกัน ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการการประเมินตนเองทั้ง 2 ภาคการศึกษา

ผลการดำเนินงาน
         ในปีการศึกษา2566  มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับมาตรฐานจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ทำให้มีการวิพากษ์เพื่อเสนอะแนะแนวทางการประเมินผลที่มีความเหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ซึ่งการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ จะมีมิติในการเชื่อมโยงความรู้และทักษะเข้าด้วยกัน ผลการทวนสอบทำให้ทราบถึง วิธีการ และเครื่องมือในการประเมินที่เหมาะสม เช่น การกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินการเรียนรู้ ร่วมกันในกลุ่มวิชารายชั้นปี  เพื่อการมอบหมายงานที่ไม่ซ้ำซ้อน และการทำความเข้าใจเรื่องเนื้อหารายวิชาที่ต้องสอดคล้องกับระยะเวลาที่ใช้ในการทำงานของนักศึกษา
          ซึ่งในปีการศึกษา 2566 มีผลลัพธ์การดำเนินการเป็นที่น่าพอใจ ตัวอย่างเช่น การดำเนินการบูรณาการการเรียนการสอนกับผู้ประกอบการภายนอกในชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2 โดยรายวิชา ARC101 ภาคการศึกษา 1/2566 บริษัท Nest Property จำกัด ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการให้โจทย์การออกแบบและร่วมประเมินผลงานของ น.ศ.ในรายวิชา พบว่าผู้ประกอบการมีความพึงพอใจในผลงานของน.ศ.ที่มีความเหมาะสมกับโจทย์งานที่ตั้งไว้ ส่งผลให้ ผู้ประกอบการมีความยินดีที่จะให้ น.ศ. ทั้งชั้นปี เข้าเยี่ยมชมโครงการจริงในภาคการศึกษา 2/2566 เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการประกอบวิชาชีพและองค์ความรู้เพิ่มเติมของน.ศ. และวิชา ARC201 การดำเนินการบูรณาการการเรียนการสอนกับผู้ประกอบการภายนอก บ.กาญวริน จำกัด โดยผู้ประกอบการสะท้อนให้เห็นว่าผลงานน.ศ.มีศักยภาพในการนำไปต่อยอดในธุรกิจวิชาชีพได้
          นอกเหนือจากการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนแล้ว การส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีโอกาศร่วมงานประกวดแบบของภาคส่วนต่างๆ มีช่วยช่วยให้น.ศ.มีความเข้าใจและพัฒนาตนเองได้ดี โดยในปีการศึกษา 2566 มี นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ส่งผลงานประกวดแบบของทางสมาคมสถาปนิกสยามในหัวข้อ”สัมผัส สถาปัตยกรรม และความรู้สึก” 2 ผลงาน ได้รับรางผลชมเชยระดับนักศึกษา 1 ผลงาน


- หลักสูตรมีการประเมินผู้เรียน และพิจารณาระดับความสำเร็จของผลงานนักศึกษา ทั้ง Formative Assessment และ Summative Assessment มีโครงสร้างการให้คะแนนที่ชัดเจน โดยใช้ Peer Review มาจากหลายภาคส่วน อาทิ ผู้ประกอบการ สถานประกอบการมืออาชีพ และองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ควรรายงานสัมฤทธิผลการเรียนรู้รายวิชา ตาม TQF5 และ DOE3 เพื่อใช้ในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนรายวิชาต่อไป
การตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรฯมีการตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาจากคณะกรรมการกำกับมาตรฐานวิชาการของหลักสูตร ได้แก่
        1) การกำกับให้มีการพัฒนาและตรวจสอบเครื่องมือประเมินนักศึกษาที่เหมาะสมกับรายวิชาและผลลัพธ์การเรียนรู้
        2) การวิเคราะห์ ปรับปรุงพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินคุณภาพของนักศึกษา เช่น
               2.1) การวิพากษ์ การปรับปรุงเกณฑ์และวิธีการประเมิน
               2.2) มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา เช่น การสอบทวนความรู้ , การประเมินผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักศึกษาโดยการให้นักศึกษาประเมินตนเอง เป็นต้น
คณะกรรมการกำกับมาตรฐานวิชาการร่วมพิจารณาผลงานและค่าคะแนนของนักศึกษา ในช่วงสิ้นสุดการศึกษาของภาคการศึกษา 1/2566 และ 2/2566   ซึ่งคะแนนของทุกรายวิชาที่รับรองจากคณะกรรมการกำกับมาตรฐานวิชาการ จะถูกรายงานไปยังระบบฐานข้อมูลของมหาวิทยาลัย จากการประชุมคณะกรรมการกำกับมาตรฐานวิชาการ พบว่าการเรียนการสอนแบบบูรณาการ (Sandbox Model) ทำให้ผลงานนักศึกษาในปีการศึกษานี้ ในรายวิชาการออกแบบที่มีการนำองค์ความรู้ของรายวิชาในกลุ่มวิชาในชั้นปีมาใช้ร่วมกันในการออกแบบได้ผลเป็นอย่างดี    

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- เพิ่มความชัดเจนในเรื่องการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา
การกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอน และประเมินหลักสูตร (มคอ.5 มคอ.6 และ มคอ.7)
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รองคณบดีฝ่ายวิชาการและหัวหน้าหลักสูตรมีการกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอนและประเมินหลักสูตรฯ ดังนี้
         1. ได้ติดตามให้มีการจัดทำ RQF.5 RQF.6 และ RQF.7 ให้เสร็จตามกำหนดเวลา
         2. กำกับให้ผู้เรียนประเมินผลการสอนของตนเองโดยให้ประเมินทางออนไลน์
         3. จัดทำ มคอ.7 วิเคราะห์ Learning Outcomes ของผู้เรียนเพื่อใช้ในการปรับปรุงรายวิชาหรือโครงการต่าง ๆ

ผลการดำเนินงานในการกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอน และการประเมินหลักสูตร
            การดำเนินงานกำกับการประเมินหลักสูตรโดยคณะกรรมการกำกับมาตรฐานวิชาการ และคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์คณะ ทำให้การติดตามการดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
            จากการนำเสนอผลงานระดับสตูดิโอในสิ้นปีการศึกษา พบว่าแต่ละสตูดิโอได้ปรับปรุงเนื้อหาของตนเองแนวทางการสอนแบบบูรณาการ (Sandbox Model) ทั้งเป้าหมายและวิธีการ ซึ่งส่งผลให้ผลลัพธ์การเรียนรู้ในภาพรวมของกลุ่มรายวิชาเป็นไปตามเป้าหมายของแต่ละชั้นปีการศึกษา (YLOs) เนื่องจากได้มีการประชุมติดตามผลการจัดการเรียนการสอนตลอดภาคการศึกษา เพื่อแก้ไขปัญหาที่พบระหว่างการดำเนินงาน  รวมทั้งประชุมสรุปแนวทางการปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนการสอนบูรณาการ (Sandbox Model) ในปีการศึกษาต่อไป

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
- ไม่พบการรายงานสัมฤทธิผลรายวิชา [CLO] ตามผลลัพธ์การเรียนรู้ และไม่พบการรายงานสัมฤทธิผล [YLO]
- มีหลักฐานรายงานการทวนสอบมาตรฐานการจัดการเรียนการสอน 10 รายวิชา ควรนำมารายงานสรุปถึงแนวทางการปรับปรุงกระบวนการ
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 5.4] ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

หมายเหตุ: KPI ให้สอดคล้องและเป็นไปตามที่ระบุใน มคอ.2
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
1. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรอย่างน้อยร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผน ติดตาม และทบทวนการดำเนินงานหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
2. มีรายละเอียดของหลักสูตรตามแบบ มคอ.2 ที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ หรือมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา [ถ้ามี]
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
3. มีรายละเอียดของรายวิชา และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม [ถ้ามี] ตามแบบ มคอ.3 และ มคอ.4 อย่างน้อยก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาให้ครบทุกรายวิชา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรได้จัดทำ RQF 3 และ RQF 4  ร้อยละ 100  ก่อนเปิดภาคการศึกษา
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
4. จัดทำรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา และรายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม [ถ้ามี] ตามแบบ มคอ.5 และ มคอ.6 ภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่เปิดสอนให้ครบทุกรายวิชา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรได้จัดทำ RQF 5 และ RQF 6  ร้อยละ 100  ก่อนเปิดภาคการศึกษา
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
5. จัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตรตามแบบ มคอ.7 ภายใน 60 วัน หลังสิ้นสุดปีการศึกษา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
6. มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ที่กำหนดใน มคอ.3 และ มคอ.4 [ถ้ามี] อย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรเปิดทำการสอนจำนวน 38 รายวิชา
มีผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ที่กำหนดใน RQF.3 และ RQF.4 (ถ้ามี) จำนวน 10 วิชา คิดเป็นร้อยละ 26.31

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
7. มีการพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน หรือการประเมินผลการเรียนรู้จากผลการประเมินการดำเนินงานที่รายงานใน มคอ.7 ปีที่แล้ว
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
8. อาจารย์ใหม่ [ถ้ามี] ทุกคน ได้รับการปฐมนิเทศ หรือคำแนะนำด้านการจัดการเรียนการสอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
9. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกคนได้รับการพัฒนาทางวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
10. จำนวนบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอน [ถ้ามี] ได้รับการพัฒนาวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ต่อปี
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
11. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้าย/บัณฑิตใหม่ที่มีต่อคุณภาพหลักสูตร เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.50 จากคะแนนเต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรสถาปัตยกรมมศาสตร์บัณฑิต จัดทำแบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย/ บัณฑิตใหม่ โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.22
(แต่ตรงรายการหลักฐานพิมพ์ปี 2565)
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
- ดูข้อคำถามความพึงพอใจให้ตรงตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติ
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
12. ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตใหม่ เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.50 จากคะแนนเต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรหลักสูตรสถาปัตยกรมมศาสตร์บัณฑิต จัดทำแบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตใหม่ โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.46 (หน้า 139) ซึ่งไม่ตรงกับ ตบช.2.1 ที่ได้ระบุไว้ 4.50 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
13. ร้อยละ 80 ของรายวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอน สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนด
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต มีการจัดการเรียนการสอน จำนวน 38
รายวิชา โดยสามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนด คิดเป็นร้อยละ 100
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
14. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อคุณภาพการสอน รวมทุกรายวิชา เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต
มีการจัดการเรียนการสอน จำนวน  38 รายวิชา โดยมีการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อคุณภาพการสอน จำนวน 38 รายวิชา ซึ่งรวมทุกรายวิชามีคะแนนเฉลี่ย 4.54
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
15. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อทรัพยากรสนับสนุนการเรียนการสอน เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.51 จากคะแนน เต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต จัดทำแบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อทรัพยากรสนับสนุนการเรียนการสอน (ควรครอบคลุมนักศึกษาทุกชั้นปีการศึกษา) โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.54
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ผลการประเมินจากผลการดำเนินงาน ตัวบ่งชี้ 5.4
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] รวมจำนวนตัวบ่งชี้ในแต่ละปี 13 5.00
[2] จำนวนตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการผ่านเฉพาะตัวบ่งชี้ที่ 1-5 1-5
[3] ร้อยละของตัวบ่งชี้ที่ 1-5 ที่ผ่าน [ถ้าผ่านทั้ง 5 ข้อจะเป็นร้อยละ 100] 100
[4] จำนวนตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการผ่านรวม 13
[5] ร้อยละของตัวบ่งชี้ทั้งหมดที่ผ่าน 100.00
*หมายเหตุการกำหนดเงื่อนไขเกณฑ์การประเมิน
ถ้า [3] น้อยกว่าร้อยละ 100 ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 0.00
ถ้า [5] มีการดำเนินงานน้อยกว่า ร้อยละ 80 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 0.00
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 80 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 3.50
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 80.01 - 89.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 4.00
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 90.00 -94.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 4.50
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 95.00 -99.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 4.75
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 100 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 5.00
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 5 (4 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 3.75 คะแนน

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

[ตัวบ่งชี้ 6.1] สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

คะแนนที่ได้ 4
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
หลักสูตรมีการนำผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตรไปปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้น โดยในปีการศึกษา 2565 ได้เพิ่มงบลงทุนเปลี่ยนคอมพิวเตอร์ใหม่จำนวน 170 เครื่อง และประสานขอความอนุเคราะห์ศูนย์คอมพิวเตอร์มาปรับปรุงแก้ไขสัญญาณอินเตอร์เน็ต ทำให้ค่าความพึงพอใจนักศึกษาดีขึ้น พอต่อเนื่องมาปีการศึกษา2566 หลักสูตรก็ได้นำข้อเสนอแนะของนักศึกษา นำมาปรับปรุงเรื่องการระบายอากาศบริเวณโถงภายในอาคารชั้น 3 ที่มีความร้อนอบอ้าว โดยติดตั้งพัดลมเพดาน 3 ชุด เสริมพัดลมตั้งพื้น 1 ชุดในช่วงการจัดนิทรรศการที่มีจำนวนนักศึกษามากให้มีการระบายอากาศที่ดีขึ้น ทำเรื่องไปยังตำรวจมหาวิทยาลัย และฝ่ายอาคารสถานที่ ขอเปิดใช้งานห้องเรียน 19-101 ซึ่งมีกล้องวงจรปิดภายในห้อง และอยู่ติดกับจุดตรวจประจำอาคารที่ตำรวจมหาวิทยาลัยสามารถเดินเข้าตรวจตราระงับเหตุได้โดยเร็วที่สุด ให้เป็น coworking space 24 ชั่วโมง หลังจากจากตารางเวลาเรียนปกติ นักศึกษาสามารถเข้าใช้งาน โดยไม่ต้องทำเรื่องขอใช้ ซึ่งต่อมาเมื่องานของนักศึกษาต่อเนื่องและเริ่มมีอุปกรณ์มากขึ้น จึงเป็นความไม่สะดวกในการขนย้ายอุปกรณ์ ภาคเรียนที่ 2 จึงเปลี่ยนเป็นโต๊ะเก้าอี้ workshop แทนเก้าอี้ lecture เพื่อนักศึกษาจะได้วาง  Notebook ทำงานได้สะดวก

- มีแนวโน้มความพึงพอใจทั้งกลุ่มอาจารย์และนักศึกษาต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ต่างๆ ที่ดี

 
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
ระบบการดำเนินงานของภาควิชา/คณะ/สถาบัน โดยมีส่วนร่วมของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เพื่อให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรฯ มีโครงสร้างการบริหารงานโดยมี อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ร่วมเป็นที่ปรึกษาและกรรมการ ทำให้มีส่วนร่วมในการพิจารณา เพื่อให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้พอเพียงต่อจำนวนนักศึกษา มีกลไกคณะกรรมการ  2 ชุด คือ
         1. คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ช่วยส่งเสริมการดำเนินงานของหลักสูตรฯ ทั้งในด้านบริหาร ด้านวิชาการ ด้านกิจการนักศึกษา และด้านการบริหารความเสี่ยง ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน เพื่อการผลิตบัณฑิตให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์
        2. คณะกรรมการอาคารสิ่งแวดล้อม และสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน มีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอนประจำหลักสูตร ร่วมเป็นที่ปรึกษาในคณะกรรมการ มีการประชุมภาคเรียนละ 1 ครั้งเพื่อทบทวน และแก้ปัญหา โดยใช้ช่องทางการสื่อสาร ผ่านแชทกลุ่มคณะกรรมการ ทำงานร่วมกับ one stop service ของคณะฯ ในการประสานงานกับสำนักงานอาคารและสิ่งแวดล้อม สำนักบริการสารสนเทศ

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
1.หลักสูตรมีแนวทางอย่างไร ในการให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีส่วนร่วมในการเสนอความต้องการในสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการจัดการเรียนรู้ มีเพียงพอ และเหมาะสม หรือยัง
2.หลักสูตรมีระบบการดำเนินงาน และการใช้งบดำเนินการ เพื่อจัดหาวัสดุการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ และการจัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือ ให้เพียงพอ และเหมาะสม
จำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ปีการศึกษา 2566 หลักสูตรฯ มีจำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอนให้กับอาจารย์และนักศึกษาได้อย่างเหมาะสม มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเรียนการสอนที่มีประจำอยู่ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของหลักสูตรฯ จำนวน 230 ชุด ในห้องปฏิบัติการทั้ง 2 ห้อง อีกทั้งยังมีการให้บริการด้านกายภาพที่เหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ ห้องบรรยาย ห้องตรวจงาน และห้องปฏิบัติงาน workshop ขนาดใหญ่ รวม  35 ห้อง และจุดเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตระบบไร้สายของมหาวิทยาลัย ซึ่งมีการให้บริการอย่างทั่วถึง
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
1. ควรมีระบบ Database ให้นักศึกษาเข้าถึงตัวอย่างปริญญานิพนธ์ของรุ่นพี่ หรือ E-book หรือสื่อการเรียนการสอนต่างๆ
2. หลักสูตรควรจัดสรรจำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ทั้งในเชิงปริมาณ คือมีจำนวนห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ หนังสือ ตำรา จำนวนเท่าไร เพียงพอ หรือไม่ และในเชิงคุณภาพ คือมีห้อง workshop ที่ได้มาตรฐานเป็นต้นแบบของการฝึกปฏิบัติหรือไม่
กระบวนการปรับปรุงตามผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผลการประเมินพบว่าความพึงพอใจต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ด้านสภาพแวดล้อมและห้องเรียน นักศึกษาและอาจารย์มีความพึงพอใจ ในระดับมาก/ดี อยู่ในระดับเดียวกับปีที่ผ่านมา ส่วนที่ค่าเฉลี่ยคะแนนที่ลดลงไม่มาก น่าจะมาจากความเป็นส่วนตัวของการใช้พื้นที่สตูดิโอกลุ่มส่วนตัวในแบบปีที่ผ่านมา เปลี่ยนการใช้งานเป็นเรียนรวมกลุ่มใหญ่ แต่ชดเชยด้วยการจัดสรรให้นักศึกษามีพื้นที่ทำงานร่วมกัน (co-working space) ระดับคะแนนจึงไม่ต่างจากเดิมมากนัก สำหรับในด้านการให้บริการอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และซอฟท์แวร์ 10 หัวข้อ นักศึกษามีความพึงพอใจในระดับมาก/ดี ในระดับเดียวกับปีที่ผ่านมา ส่วนค่าเฉลี่ยคะแนน ที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย น่าจะมาจาก 1) การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในงานออกแบบ ชื่อ Autodesk Forma วิเคราะห์ที่ตั้ง และสร้างภาพ 3 มิติ และใช้งาน on Clound ได้โดยสะดวก 2) การใช้โปรแกรม Miro เป็นพื้นที่จัดแสดงงาน on Clound ที่คอมพิวเตอร์ใหม่มีประสิทธิภาพรองรับการทำงานร่วมกันได้ดี อาจารย์มีความพึงพอใจในระดับที่สูงกว่าปีที่ผ่านมาคือระดับดีมากที่สุด/ดีมาก วิเคราะห์จากผลการประเมิน วิเคราะห์สาเหตุ น่าจะมาจาก
         1) มีการจัดอบรมการใช้โปรแกรม Forma และ Miro เพื่อเพิ่มทักษะและสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยีเพื่อใช้ในการเรียนการสอนของอาจารย์ดีขึ้น
         2) การจัดสอบแบบ online โดยการอำนวยความสะดวกและให้ความรู้ในการการจัดเตรียมข้อสอบจาก Cyber U และคณะฯได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปอบรมการจัดทำกข้อสอบด้วยโปรแกรมจัดสอบ สามารถใช้จัดสอบพร้อมกันจากชุดข้อสอบเดียวระบบปรับตัวเลือกเป็นหลายชุดข้อสอบที่ไม่เหมือนกัน อาจารย์ได้เห็นผลการใช้งานโปรแกรม ทำให้มีทัศนคติที่ดีต่อการใช้งาน

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 6 (1 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 4.00 คะแนน

รายงานผลการวิเคราะห์จุดเด่น/จุดแข็ง แนวทางเสริม จุดที่ควรพัฒนา และแนวทางปรับปรุง

จุดเด่นและแนวทางเสริม

  1. หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิตเน้นคุณภาพที่มีมาตรฐานและสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล มีความเป็นเลิศทางด้านการเรียนการสอนที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นผู้นำในสายอาชีพ ผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องและตรงกับความต้องการของตลาดวิชาชีพสถาปัตยกรรม โดยการกำหนดคุณลักษณะของบัณฑิตที่เป็นไปตาม กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education,TQF:HEd) และผลลัพธ์การศึกษาที่ต้องการ (Desired Outcomes of Education หรือ DOE) เพื่อใช้เป็นกรอบผลลัพธ์ที่เป็นคุณลักษณะทั้งในระหว่างที่กำลังศึกษาและหลังจากสำเร็จการศึกษา โดยมีการนำเข้าข้อมูลจากการสำรวจความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตมาเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดค่าเป้าหมาย กรอบกระบวนการ และกลไกการวัด ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLOs: Program Learning Outcomes) และเป้าหมายผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชา (CLOs: Course Learning Outcomes) ให้ครอบคลุมกับประเด็นต่างๆ
  2. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกท่านมีผลงานวิชาการในรอบ 5 ปี ครบถ้วน และมีจำนวนผลงานวิชาการต่อท่านในปริมาณค่อนข้างสูงและสม่ำเสมอ หลักสูตรมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์มีผลงานสร้างสรรที่ได้รับการเผยแพร่ที่มีคุณภาพสูง อาจพิจารณาเพิ่มเติมในส่วนของการตีพิมพ์ผลงานวิชาการ
  3. หลักสูตรมีแผนงานในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในการจัดการเรียนการสอน และการผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะตามความต้องการของหลายภาคส่วนได้แก่ สถานประกอบการ นักศึกษา เป็นต้น โดยหลักสูตรมีความร่วมมือทางวิชาการ MOU ร่วมกับองค์กรภายนอกในการกำหนดเนื้อหาของสาระการเรียนรู้ผ่านรายวิชาต่างๆ มีการเชิญวิทยากรจากภายนอกจำนวนมากมาร่วมสอนทั้งรายวิชาบรรยาย และปฏิบัติ
  4. หลักสูตรมีการนำผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้หลักสูตรไปปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้น และมีแนวโน้มความพึงพอใจทั้งกลุ่มอาจารย์และนักศึกษาต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ต่างๆ ที่ดี
  5. หลักสูตรมีการพัฒนากระบวนการรับนักศึกษามาอย่างต่อเนื่อง มีกลไกที่แข็งแรงคือ SMART TEAM และ One Stop Service ที่ช่วยอำนวยความสะดวก ลดขั้นตอน เพิ่มช่องทางการสื่อสารทาง Line Official จัดเวรแบ่งวันทำงานในการตอบคำถาม เพิ่มการรับรู้โดยการประชาสัมพันธ์ข้อมูลและผลงานคณะฯ ในสื่อ Social ต่างๆ และมีการเปิดคณะ “ Open House” ให้ นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย เข้ามาทำกิจกรรม workshop ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนานักศึกษาเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก เช่น โครงการ First Date มีการประเมินวัตถุประสงค์โครงการสอดคล้องกับความต้องการของผู้เข้าร่วม เฉลี่ยที่ 4.57 และประเมินโครงการในทุกๆด้าน เฉลียที่ 4.65 เป็นไปตาม KPI 1.1.4 และ KPI 1.2.4 จากการปรับปรุงส่งผลให้เห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม มีผลการดำเนินงานเชิงผลลัพธ์เป็นไปตามเป้าหมาย ทำให้สามารถรับนักศึกษาได้ 224 คน เกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 200 คน

จุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง

  1. กิจกรรมพัฒนานักศึกษา ตามทักษะในศตวรรตที่ 21 เมื่อทำการ Mapping กับกิจกรรมต่าง ๆ กับทักษะต่างๆ แล้ว ควรทำการประเมินร้อยละนักศึกษาที่ได้รับการพัฒนาให้เกิดทักษะนั้น ๆ แล้วนำผลประเมินไปใช้ในการปรับปรุงกระบวนการ หรือกิจกรรมต่อไป
  2. หลักสูตรควรมีแนวทางการส่งเสริมการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาตามระยะเวลาของหลักสูตร โดยเฉพาะการกำกับติดตามการจัดทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา และปรับปรุงกระบวนการเตรียมความพร้อมเพื่อเพิ่มอัตราการคงอยู่ของนักศึกษา
  3. หลักสูตรควรแสดงหลักฐานการรายงานสัมฤทธิผลรายวิชา [CLO] ตามผลลัพธ์การเรียนรู้ และการรายงานสัมฤทธิผล [YLO] และการรายงานการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้
  4. พัฒนาการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ ให้สูงขึ้นในระดับรองศาสตราจารย์
  5. พัฒนาอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ เผยแพร่ผลงานวิชาการ งานวิจัย / สร้างสรรค์ ในเวทีระดับนานาชาติ ภายนอกมหาวิทยาลัยฯ
  6. ควรเพิ่มการเตรียมความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และภาษาอังกฤษ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักศึกษาใหม่เห็นความจำเป็นที่ต้องมีทักษะทั้ง 2 ด้านนี้

สรุปผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลดำเนินการ
กรรมการ
1.1 การบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่กำหนดโดยสกอ. ผ่าน
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ.2561 4.50
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี 4.37
3.1 การรับนักศึกษา 3.00
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา 3.00
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา 2.00
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์ 4.00
4.2 คุณภาพอาจารย์ 5.00
4.3 ผลที่เกิดกับอาจารย์ 3.00
5.1 สาระของรายวิชาในหลักสูตร 4.00
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน 3.00
5.3 การประเมินผู้เรียน 3.00
5.4 ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 5.00
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 4.00
ผลการประเมินเฉลี่ยรวม [13 ตัวบ่งชี้] 3.68

การวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาภายใน ของคณะกรรมการประเมิน ฯ

องค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
1 ผ่านการประเมิน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 2 - - 4.44 4.44 ระดับคุณภาพดีมาก
3 3 2.67 - - 2.67 ระดับคุณภาพปานกลาง
4 3 4.00 - - 4.00 ระดับคุณภาพดี
5 4 4.00 3.67 - 3.75 ระดับคุณภาพดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ระดับคุณภาพดี
ผลการประเมิน 3.43 3.75 4.44 3.68 ระดับคุณภาพดี
ระดับคุณภาพ ระดับคุณภาพดี ระดับคุณภาพดี ระดับคุณภาพดีมาก