รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566

หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบภายใน

วันที่ประเมิน: 7 สิงหาคม 2567, 09:30น.

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

[ตัวบ่งชี้ 1.1] การบริหารการจัดการหลักสูตรตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร

เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
1. จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
2. คุณสมบัติอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม

ระบุชื่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่ผลงานวิชาการในรอบ 5 ปี หมดอายุในปีการศึกษาที่ตรวจ (ต้องเพิ่มผลงานชิ้นใหม่ในปีการศึกษาหน้า)

- ไม่มี
ข้อคิดเห็น
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
[สำหรับประเภทวิชาชีพ/ปฏิบัติการ]
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 2 ใน 5 คน ต้องมีประสบการณ์ในด้านการปฏิบัติการ
ระบุข้อคิดเห็น
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม

ระบุชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตรที่ผลงานวิชาการในรอบ 5 ปี หมดอายุในปีการศึกษาที่ตรวจ (ต้องเพิ่มผลงานชิ้นใหม่ในปีการศึกษาหน้า)

- ไม่มี
ข้อคิดเห็น
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
4. คุณสมบัติอาจารย์ผู้สอน ที่เป็นอาจารย์ประจำ
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน ที่เป็นอาจารย์พิเศษ
ข้อคิดเห็น
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ผลการประเมินจากผลการดำเนินงาน ตัวบ่งชี้ 1.1

องค์ประกอบที่ 2 การผลิตบัณฑิต

[ตัวบ่งชี้ 2.1] คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และ ด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ.2561

หมายเหตุ : *
(1) จำนวนบัณฑิตทั้งหมด หมายถึง ผู้รับปริญญา ในปีการศึกษา 2565 ประกอบด้วย บัณฑิตที่จบภาคการศึกษา 1/2565 , 2/2565 และ S/2566 [ปีต้องอัพเดตตามปีการศึกษาที่ประเมินย้อนหลัง 1 ปี]
(2) จำนวนบัณฑิตที่รับการประเมินจากผู้ใช้บัณฑิตต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาตาม (ข้อ1)

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
จำนวนบัณฑิตทั้งหมด 27 4.61
จำนวนบัณฑิตที่ได้รับการประเมินทั้งหมด 17
คะแนนเฉลี่ยรวมคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561 4.61
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 2.2] ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี

หมายเหตุ : *
(1) จำนวนบัณฑิตทั้งหมด จะต้องตรงกับตาราง ตัวบ่งชี้ 2.1
(2) จำนวนบัณฑิตที่ตอบแบบสำรวจจะต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
จำนวนบัณฑิตทั้งหมด 27 4.52
จำนวนบัณฑิตที่ตอบแบบสำรวจ 24
จำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษา [มีงานทำในองค์กร] 6
จำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษา [ประกอบอาชีพอิสระ] 7
จำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษา [ประกอบกิจการส่วนตัว/ธุรกิจครอบครัว] 6
จำนวนบัณฑิตที่ไม่ได้งานทำ 2
จำนวนบัณฑิตที่ศึกษาต่อ 3
จำนวนบัณฑิตที่อุปสมบท 0
จำนวนบัณฑิตที่เกณฑ์ทหาร 0
จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาที่มีงานทำก่อนเข้าศึกษา 0
ร้อยละที่ได้ 90.48
ผลลัพธ์ที่ได้ 4.52
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 2 (2 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 4.57 คะแนน

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

[ตัวบ่งชี้ 3.1] การรับนักศึกษา

คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การรับนักศึกษา:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบภายใน มีเป้าหมายการรับนักศึกษาจำนวน 60 คน (แผนการรับของหลักสูตร) ซึ่งในปีการศึกษา2566 มีนักศึกษาเข้ารับการศึกษาในหลักสูตรจำนวนทั้งสิ้น 77 คนแบ่งเป็นนักศึกษาไทยจำนวน 52 คน และนักศึกษานานาชาติจำนวน 25 คน เกินเป้าหมายที่ทางหลักสูตรตั้งไว้
-หลักสูตรออกแบบภายในได้จัด โครงการประชาสัมพันธ์และแนะแนวทางการเรียนสาขาวิชาออกแบบภายในกับบุคคลภายนอก"  ทดลองเรียน ในวันที่ 27-28 มีนาคม 2567 โดยโครงการนี้เป็นโครงการที่ปรับแนวทางจากโครงการ SoReal Workshop ในปีก่อนๆ


 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ควรให้การดูแลนักศึกษาที่เข้ามาอย่างใกล้ชิดเพื่อรักษาจำนวนของนักศึกษาที่จบการศึกษาให้เท่ากับจำนวนแรกรับ
การเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม

 1. โครงการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาใหม่ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษาโดยการสอนพื้นฐานการวาดรูป และ พื้นฐานการออกแบบให้นักศึกษาสามารถปรับตัวได้เร็วขึ้นในการเรียนวิชาพื้นฐานของวิทยาลัย และวิชาออกแบบภายในของหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพ
การผลประเมินความพึงพอใจจากการเข้าร่วมของนักศึกษาโครงการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาใหม่  ปีการศึกษา 2565 คิดเป็น 4.40 คะแนน ในระดับคะแนนเต็ม 5
     คะแนนเฉลี่ยของผลการเรียนนักศึกษาในวิชาการเขียนแบบภายในในเทอม1 ใช้เป็นเป็นผลชี้วัดการดำเนินการเตรียมความพร้อมในการเรียนมีดังนี้
ปีการศึกษา 2565 คะแนนเฉลี่ยของนักศึกษาในวิชา COD 101 = 3.38
ปีการศึกษา 2566 คะแนนเฉลี่ยของนักศึกษาในวิชา COD 101 = 3.46

2. โครงการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ในระดับวิทยาลัย และระดับหลักสูตรฯ เพื่อให้นักศึกษารับโอวาทจากคณบดีวิทยาลัยการออกแบบ แนะนำ ผู้บริหารของวิทยาลัย ในงานนี้ได้เชิญศิษย์เก่าที่ประสบผลสำเร็จในวิชาชีพมารับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นพร้อมทั้งมีการเสวนาในการสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักศึกษาใหม่ และเพื่อให้นักศึกษาได้รู้จักอาจารย์ทุกท่านในสาขาออกแบบภายในโดยเฉพาะ อาจารย์ที่ปรึกษาและรุ่นพี่ในสาขา ออกแบบภายในเพื่อแนะนำเนื้อหาโครงสร้างหลักสูตร การเทียบโอนรายวิชา การลงทะเบียน ห้องเรียน กฎระเบียบต่างๆในชั้นเรียน เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าการศึกษา
การประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการปฐมนิเทศนักศึกษาคิดเป็น 4.15 คะแนน ในระดับคะแนนเต็ม 5
3. โครงการพิธีไหว้ครู ครอบครูช่าง เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้กับนักศึกษาใหม่ โดยการเคารพต่อครูอาจารย์ ปลูกฝังความรักความสามัคคีในหมู่คณะ อีกทั้งเป็นการปลูกจิตสำนึกในการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม ประเพณีที่สืบทอดกันมา
            การประเมินความพึงพอใจจากการเข้าร่วมโครงการพิธีไหว้ครูครอบครูช่างของนักศึกษาคิดเป็น 4.40  คะแนน ในระดับคะแนนเต็ม 5

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
1.หลักสูตรควรประเมินผลลัพธ์ของกิจกรรมการเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่นอกเหนือจากค่าความพึงพอใจในทุกกิจกรรมโครงการ ในลักษณะ outcome trend และ impact 
2.หลักสูตรมีค่าอัตราการคงอยู่ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่เรียนต่อชั้นปีที่ 2   เฉลี่ย 76.09% สมารถนำมาวิเคราะห์เชื่อมโยงกับการปรับปรุงกระบวนการเตรียมความพร้อมเพื่อเพิ่มอัตราการคงอยู่ดังกล่าว

3.ควรสร้างกลไกให้นักศึกษาเพิ่มคะแนนความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเตรียมความพร้อม และควรสอบถามผู้เข้าเรียนให้เกิดข้อมูลที่ทันสมัยในทุกปีการศึกษา

 
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 3.2] การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา

คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษาปริญญาตรี:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-ปีการศึกษา 2566 หลักสูตรฯได้มีการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่ออาจารย์ที่ปรึกษาปีการศึกษา 2566 ค่าคะแนนประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่ออาจารย์ที่ปรึกษามีค่าระดับ เท่ากับ 4.06 จากคะแนนเต็ม 5
     หลักสูตรมีการปรับปรุงเพิ่มระบบต่างๆ คือ            
- เพิ่มระบบการวางแผนการลงทะเบียนรายวิชาในภาคการศึกษา โดยนักศึกษาต้องทำการยื่นมรส.36 เพื่อเป็นการปลดล็อกการลงทะเบียนกับอาจารย์ที่ปรึกษาโดยอาจารย์ที่ปรึกษาจะเป็นผู้ชี้แนะให้คำปรึกษา ก่อนวางแผนลงทะเบียนในภาคการศึกษาต่อไป
- เพิ่มระบบการเฝ้าระวังโดยอาจารย์ที่ปรึกษา ในกรณีนักศึกษาบางรายที่มีผลการเรียนพึงเฝ้าระวังในเกณฑ์ผลการเรียนเฉลี่ยต่ำกว่า 2.00 เพื่อลดปัญหาการตกออกระหว่างที่ศึกษาอยู่
- อาจารย์ที่ปรึกษาจะเป็นผู้ชี้แนะให้คำปรึกษาก่อนการลงทะเบียน แก่นักศึกษาทุกๆคน โดยสามารถปรึกษาปัญหาต่างๆ ในกรณีเร่งด่วนผ่านช่องทางออนไลน์ Line group หรือนัดแนะวันเวลา เพื่อที่จะเข้ามาปรึกษาปัญหาได้

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
1.จากเอกสารหลักฐาน อภบ.3.2.02 ผลสรุปแบบประเมินอาจารย์ที่ปรึกษา 2566 ไม่พบรายละเอียดหัวข้อย่อยในการประเมินอาจารย์ที่ปรึกษา ทำให้มองไม่เห็นจุดแข็งจุดอ่อนในรายละเอียดการควบคุมดูแล ให้คำปรึกษาต่าง ๆ เพื่อนำผลประเมินมาปรับปรุงระบบอาจารย์ที่ปรึกษา
2.พัฒนาช่องทางการให้คำปรึกษาเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับวิถีของนักศึกษาในยุคดิจิทัล เพิ่มช่องทางให้หลากหลาย

 
การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-หลักสูตรมีโครงการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ด้านต่างๆ ที่หลากหลาย โดยใช้รายวิชาเป็นตัวกำหนดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างนักศึกษาให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างชัดเจน 
-หลักสูตรมีผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อ การพัฒนาศักยภาพนักศึกษา และการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เฉลี่ยที่ 4.42 (ตารางหน้า 50)

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
1.หลักสูตรควรประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้รายทักษะ ในลักษณะ ร้อยละ skill learning outcome , trend และ impact เพื่อนำผลประเมินมาปรับปรุงกระบวนการ mapping รายวิชา กิจกรรมต่าง ๆ 
2.ศึกษาและเพิ่มรายวิชาที่สามารถให้ทักษะการเรียนรู้ฯ ให้เพิ่มมากขึ้นหรือจัดกิจกรรมนอกหลักสูตรควบคู่รายวิชา

 
การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในการส่งเสริมให้เกิดการสร้างผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
- หลักสูตรฯ ได้ปรับเกณฑ์ใหม่ในเรื่อง การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในการส่งเสริมให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์นวัตกรรมที่สามารถนําองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ ผ่านงานวิจัยสร้างสรรค์ของนักศึกษาซึ่งเป็นงานศิลปนิพนธ์
- สรุปจํานวนผลงานวิจัยสร้างสรรค์ในวิชาศิลปนิพนธ์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในปีการศึกษา 2566 ที่สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติทั้งหมด 27 หัวข้อ
- หัวข้อที่สอดคล้องยุทธศาสตร์ชาติ 17 หัวข้อ คิดเป็น 62.96 %
- หัวข้อที่ไม่สอดคล้อง 10 โครงการ คิดเป็น 37.04 %
- ผลประเมินความพึงพอใจด้านการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในการส่งเสริมให้เกิดการ สร้างผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ มีคะแนนเท่ากับ 4.27

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
1.นอกจากการประเมินความพึงพอใจ หลักสูตรควรประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ในการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาด้านทักษะวิจัย ในลักษณะ ร้อยละ skill learning outcome เพื่อนำผลประเมินมาปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง
2.อย่างไรก็ตามยังพบว่ามีผลงานการศึกษาที่ไม่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ถึง 10เรื่อง ควรมีการวางแผนและกลไกให้งานของนักศึกษาสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ

 
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 3.3] ผลที่เกิดกับนักศึกษา

หลักสูตรเปิดปีการศึกษา 2530 เป็นหลักสูตร 4 ปี (สำเร็จการศึกษาปีแรก: 2533)
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การคงอยู่
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2564
ร้อยละ 59.38
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2565
ร้อยละ 56.14
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2566
ร้อยละ 68.42
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
การสำเร็จการศึกษา
ร้อยละอัตราสำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2564
ร้อยละ 57.81
ร้อยละอัตราสำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2565
ร้อยละ 47.37
ร้อยละอัตราสำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2566
ร้อยละ 36.84
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ความพึงพอใจและผลการจัดการข้อร้องเรียนของนักศึกษา
ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาเฉลี่ย ปีการศึกษา 2564 ร้อยละ 4.62
ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาเฉลี่ย ปีการศึกษา 2565 ร้อยละ 4.30
ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาเฉลี่ย ปีการศึกษา 2566 ร้อยละ 4.28
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
คะแนนที่ได้ 2
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 3 (3 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 2.67 คะแนน

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

[ตัวบ่งชี้ 4.1] การบริหารและพัฒนาอาจารย์

คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
ระบบการรับและแต่งตั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรได้ประเมินกระบวนการการรับ และแต่งตั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร โดยมีความเห็นว่า ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรฯ มีกระบวนการที่มีลำดับขั้นตอนเหมาะสมในระดับหนึ่ง โดยมีอาจารย์ที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการในระดับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์จำนวน 1 ท่าน แต่หลักสูตรฯยังขาดยังขาดอาจารย์ที่มีวุฒิในระดับปริญญาเอก และอาจารย์ที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการในระดับ รองศาสตราจารย์ ดังนั้นในปีการศึกษา 2567 จึงจำเป็นต้องสนับสนุนให้อาจารย์ประจำหลักสูตรอีก 4 ท่านยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการเพื่อพัฒนาอาจารย์ประจำหลักสูตรให้ได้เกณฑ์ที่ต้องการ อีกทั้งสนับสนุนให้อาจารย์ประจำหลักสูตรศึกษาต่อระดับปริญญาเอก เพื่อพัฒนาอาจารย์ประจำหลักสูตรให้ได้เกณฑ์ที่ต้องการเพิ่มขึ้น
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
อาจารย์ควรได้รับการพัฒนาให้มีผลงานทางวิชาการภายนอกเพิ่มเติมและควรมีระบบกลไกลสนับสนุนและส่งเสริมให้ทำตำแหน่งทางวิชาการให้ทันตามเวลาที่กำหนด
ระบบการบริหารอาจารย์:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-หลักสูตรกำหนดภาระหน้าที่อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรต่อการบริหารหลักสูตรไว้อย่างชัดเจน
-ค่าประเมินความพึงพอใจของอาจารย์ในหลักสูตรต่อการบริหารจัดการหลักสูตรที่เพิ่มขึ้นในปีการศึกษา 2566 จาก 4.08 เป็น 4.27

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรจัดการประชุมการบริหารหลักสูตรต่อ ภาระงานสอน, ภาระช่วยบริหาร, ระเบียบวินัยและการปฏิบัติงาน การตรวจศิลปนิพนธ์, แจ้งเพื่อทราบจากที่ประชุมคณะฯ, กิจกรรม และการพัฒนานักศึกษา, งบประมาณและโครงการต่างๆ, ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์, การประเมินการปฏิบัติงาน, อาจารย์ที่ปรึกษา, งานวิเทศสัมพันธ์, การประชาสัมพันธ์หลักสูตร, งานบริการวิชาการภายในและภายนอกสถาบัน, การประสานงานวิทยากรและอาจารย์พิเศษ, การตรวจกำกับมาตรฐานวิชาการ, งานประกันคุณภาพฯ, การจัดการความรู้ (KM), การบริหารความเสี่ยง, การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการและการศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก, การฝึกงานวิชาชีพ และงานสหกิจของนักศึกษา, งานผลักดันนักศึกษาเข้าร่วมโครงการประกวดผลงานออกแบบต่าง ๆ
          ถ้าหลักสูตรมีสรุปผลการบริหารหลักสูตรต่อกิจกรรมดังกล่าว และประเมินผลลัพธ์การบริหาร ในทุกกิจกรรมดังกล่าวก็จะมีความชัดเจนมากขึ้นในการนำผลประเมินไปปรับปรุงกระบวนการรายกิจกรรม


- ควรส่งเสริมและเตรียมการให้อาจารย์ทุกคนมีส่วนร่วมในการบริหารงานในระดับที่สูงขึ้น
 
ระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ให้มีคุณภาพทั้งด้านความรู้ ความสามารถในเนื้อหาวิชาที่รับผิดชอบ สามารถก้าวทันวิทยาการสมัยใหม่ มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ การวิจัย และการพัฒนาศาสตร์ในสาขาวิชาที่รับผิดชอบ:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรมีระบบส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ใน 4 ด้านดังนี้
1.ส่งเสริมให้อาจารย์ในหลักสูตรพัฒนาการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เช่นมีการอบรมการใช้ภาษาอังกฤษสำหรับการเรียนการสอน การเข้าร่วมสัมมนาทางวิชาการที่จัดขึ้นของวิทยาลัยและของมหาวิทยาลัย รวมถึงจัดอบรมการใช้เทคโนโลยี AI เพื่อนำมาพัฒนาการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 
2.ส่งเสริมการทำตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งประกอบไปด้วยการทำวิจัย การเขียนตำรา เอกสารคำสอน เอกสารประกอบการสอน งานออกแบบผลงานสร้างสรรค์เพื่อจัดแสดงในงานวิชาการระดับนานาชาติ และการเขียนบทความทางวิชาการหรืองานวิจัยต่างๆ โดยคณาจารย์ในสาขาร่วมกันวางแผนงาน และแบ่งเบาภาระงานเพื่อให้อาจารย์สามารถทำตำแหน่งทางวิชาการได้เป็นไปตามเป้าหมาย
3.ส่งเสริมให้อาจารย์ในหลักสูตรมีส่วนร่วมกับการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม และนำองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาปรับใช้กับรายวิชาที่เปิดสอนในหลักสูตร
4.ส่งเสริมให้อาจารย์ในหลักสูตรศึกษาต่อในระดับปริญาเอก
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
1.หลักสูตรยังต้องรอผลสำเร็จที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมในการพัฒนาอาจารย์ใน 4 ด้านดังแสดงในตารางหน้า 70 ซึ่งผลลัพธ์จะเกิดในปีอนาคต หรือบางส่วนอยู่ระหว่างการดำเนินการ และมีความสำเร็จบางส่วน
2.ควรสร้างแรงจูงใจและกลไกเพื่อให้อาจารย์ผู้สอนบรรลุตำแหน่งทางวิชาการให้ครบทุกคนภายในระยะเวลา
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 4.2] คุณภาพอาจารย์

4.2.1 ร้อยละของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้งหมด 5 0.00
[2] จำนวนอาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 0
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 0.00
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 20 0.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ควรสนับสนุนและพัฒนาอาจารย์ให้ศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก
4.2.2 ร้อยละของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้งหมด 5 1.67
[2] ไม่มีตำแหน่งทางวิชาการ [อาจารย์] 4
[3] ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ 1
[4] ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ 0
[5] ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ 0
[6] ดำรงตำแหน่งทางวิชาการทั้งหมด [3] + [4] + [5] 1
[7] ร้อยละที่ได้ [6] X 100 / [1] 20.00
[8] ผลลัพธ์ที่ได้ [7] x 5 / 60 1.67
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่สามารถช่วยเป็นพี่เลี้ยงให้ผู้ที่ยังไม่ได้ขอกำหนดตำแหน่ง
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
วางแนวทางการช่วยเหลือและสนับสนุนการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ โดยใช้กลไกพี่เลี้ยงเพื่อช่วยผู้ที่ต้องการกำหนดตำแหน่ง
4.2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
หมายเหตุ เป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในรอบปีที่รับการประเมินเท่านั้น [ช่องไหนไม่มีผลงานให้ใส่ 0 ไม่ปล่อยว่าง]
จำนวนผลงานทางวิชาการตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 0 0 0
จำนวนผลงานสร้างสรรค์ตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 0 0 2
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] ผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ 2.00 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้งหมด 5
[3] ร้อยละที่ได้ [1] X 100 / [2] 40.00
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 20 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
เพิ่มจำนวนผลงานวิชาการให้มากขึ้น ด้วยการสนับสนุนการทำวิจัยเพื่อให้เกิดเป็นบทความวิจัยและวิชาการ
รายการหลักฐาน ตัวบ่งชี้ 4.2 คุณภาพอาจารย์
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ตัวบ่งชี้ 4.2 คุณภาพอาจารย์ คะแนนที่ได้ 2.22 คะแนน

[ตัวบ่งชี้ 4.3] ผลที่เกิดกับอาจารย์

หมายเหตุ :
(1) ยกเว้นกรณี การเกษียณอายุงาน และการเสียชีวิต
(2) หากรายชื่อมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากปรับเข้าเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร พ.ศ. 2558 ให้ถือว่าอัตราการคงอยู่ครบในปีการศึกษาแรกที่ปรับเข้าเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร 2558
(3) หากรายชื่อที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบท่านใหม่ต้องมีประสบการณ์ร่วมบริหารหลักสูตรมาไม่น้อยกว่า 9 เดือน (มีหลักฐานรายงานการประชุมภาควิชาหรือการประชุมหลักสูตร)
(4) รายงานถึงสิ้นสุดปีการศึกษา 2566 และจะได้รับการประเมินแนวโน้มผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นต้องประเมิน จาก ≥ 3 ชุดข้อมูล
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การคงอยู่ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2564
ร้อยละ 100.00
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2565
ร้อยละ 100.00
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2566
ร้อยละ 100.00
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
มีอัตราการคงอยู่ ร้อยละ 100 เต็ม ไม่มีการลาออกด้วยเรื่องของระบบการบริหารงาน
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
มีกลไกเสริมแรงให้การทำงาน สร้างกำลังใจ และระบบการให้รางวัลเพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจที่มีผลต่อการคงอยู่ของผู้ปฏิบัติงาน
ความพึงพอใจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีต่อการบริหารหลักสูตร
ความพึงพอใจ ในปีการศึกษา 2564 ร้อยละ 3.87
ความพึงพอใจ ในปีการศึกษา 2565 ร้อยละ 4.08
ความพึงพอใจ ในปีการศึกษา 2566 ร้อยละ 4.27
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
มีระดับความพึงพอใจแนวโน้มที่สูงขึ้น
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
เพิ่มการพัฒนาระบบการทำงานเพื่อให้ได้ระดับคะแนนความพึงพอใจที่มากขึ้น
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
คะแนนที่ได้ 4
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
แนวโน้มดีทั้ง 2 ด้าน
 

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

[ตัวบ่งชี้ 5.1] สาระของรายวิชาในหลักสูตร

27
25
92.59
คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การออกแบบหลักสูตร และสาระรายวิชาในหลักสูตรที่ปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน มีหลักสูตรหรือรายวิชาที่เป็นความร่วมมือกับสถานประกอบการ
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรได้กำหนดรายวิชาที่มีโอกาสในการเข้าร่วมโครงการความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาด้านวิชาการ ความร่วมมือกับสถานประกอบการ การร่วมโครงการประกวดต่างๆ และโครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาชุมชนไว้ชัดเจนโดยในปีการศึกษา 2566 มีการวางรายวิชาที่ให้เข้าร่วมโครงการความร่วมมือดังนี้
โครงการ/กิจกรรม/ความร่วมมือรายวิชาที่เข้าร่วมสถาบัน/สถานประกอบการ/ ชุมชน
โครงการเยี่ยมชมสถานประกอบการ นิทรรศการหรือฟังบรรยาย 
INT342 วัสดุตกแต่งในงานออกแบบภายในTAK group
COD104 ภาษาอังกฤษเพื่อการออกแบบTCDC/ CEA
COD110 แบรนด์และการเล่าเรื่องTCDC/ CEA
COD107 การประกอบธุรกิจออกแบบAmazon Concept Store
INT343 เทคโนโลยีงานไฟฟ้างานระบบ และมาตรฐานความปลอดภัยภายในอาคารLamptitude
INT384 สิ่งทอเพื่อการออกแบบภายในVichitr Fabric
โครงการประกวดร่วมมือกับสถานประกอบการ 
COD107 การประกอบธุรกิจออกแบบAmazon Concept Store
INT384 สิ่งทอเพื่อการออกแบบภายในVichitr Fabric
INT423 การออกแบบภายในเชิงบูรณาการTCDC/ CEA
COD105 การวิจัยและกระบวนการคิดเชิงออกแบบTCDC/ CEA
INT496 ศิลปนิพนธ์สมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย
โครงการออกแบบเพื่อพัฒนาชุมชน
COD104 ภาษาอังกฤษเพื่อการออกแบบ
COD110 แบรนด์และการเล่าเรื่องมหาวิทยาลัยรังสิต
INT496 ศิลปนิพนธ์Chiba University
(International workshop)

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-หลักสูตรควรรายงานผลลัพธ์รายวิชาที่เป็นความร่วมมือกับสถานประกอบการ ว่ามีผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์อย่างไร เพื่อนำผลประเมินมาปรับปรุงกระบวนการ
-หลักสูตรควรรายงานผลวิเคราะห์ stake holder need รายปีโดยเฉพาะความต้องการของผู้เรียน และอื่น ๆ เพื่อนำผลประเมินมาปรับเนื้อหารายวิชาที่ปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน


 
มีการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิที่ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน (Learner Person, Innovative Co-Creator, Active Citizen) ตามวิสัยทัศน์และจุดเน้นของหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรมีการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิที่ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน (Learner Person, Innovative Co-Creator, Active Citizen) ตามวิสัยทัศน์และจุดเน้นของหลักสูตรผ่านการ mapping รายวิชากับ tqf5 และ doe3

แนวทางเสริม หลักสูตรควรแสดงการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ลงไปใน มคอ 3 ให้ชัดเจน
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรอาจนำผลประเมินผู้ใช้บัณฑิตในส่วน tqf5 และ doe3 ทั้งคะแนนประเมิน และความเห็นต่าง ๆ มาร่วมพิจารณาปรับกระบวนการ mapping รายวิชา กับ tqf5 และ doe3
 
การปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าในศาสตร์สาขานั้นๆ และเชื่อมโยงกับการนำไปใช้ได้จริง
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
แนวทางเสริม ควรเน้นการประยุกต์ใช้ความรู้ และออกแบบหลักสูตรให้เท่าทันความต้องการของสังคมที่มีความหลากหลาย
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรมีการรายงานถึงจำนวนวิชาที่มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันฯ 25 วิชาที่เป็นของปีการศึกษา 2566 ควรสรุปในส่วนรายวิชาจาก 25 วิชาปรับเปลี่ยน ที่เป็นการปรับปรุงให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าในศาสตร์สาขานั้นๆ และเชื่อมโยงกับการนำไปใช้ได้จริง แล้วการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ เพื่อนำผลประเมินมาปรับปรุงกระบวนการในรอบถัดไป
 
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 5.2] การวางระบบผู้สอน และกระบวนการจัดการเรียนการสอน

คะแนนที่ได้ 4
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
หลักสูตรมีการประเมินกระบวนการ ผ่านกรรมการหลักสูตรและกรรมการกำกับมาตรฐานวิชาการ  จากการทบทวนกระบวนการในปีการศึกษา 2565 นำมาปรับปรุงและพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมในปีการศึกษา 2566 เช่น หลักสูตรได้ปรับปรุงให้มีการทำความร่วมมือกับสถาบัน หน่วยงาน และสถานประกอบการ เพิ่มมากขึ้นในหลายรายวิชาและเป็นโครงการที่เห็นผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรม

 
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดผู้สอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรมีระบบกลไกทบทวนการเรียนการสอนและการดำเนินงานของหลักสูตร ตามแผนการเรียนในหลักสูตร (RQF.2) และทบทวนการจัดทำแผนการเรียนรู้ของปีการศึกษาก่อนหน้านี้ คือปีการศึกษา 2565 (RQF.3 RQF.5 และ RQF.7) ก่อนเปิดภาคการศึกษาในปี 2566 ครบทุกรายวิชา เพื่อกำหนดผู้สอนที่มีความรู้ความสามารถให้เหมาะสมและสามารถกำกับติดตามตรวจสอบได้ การกำหนดผู้สอน กำหนดจากความรู้ความสามารถโดยภาพรวมและความสามารถเฉพาะส่วนบุคคลของผู้สอน
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ในการการกำหนดผู้สอนที่เป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรตามตาราง mapping รายวิชา กับรายชื่ออาจารย์ผู้สอน ควรเพิ่มผลการพิจารณาความเหมาะสมอีกหนึ่งคอลัมน์เพื่อแสดง ประสบการณ์การสอน การทำงานในสายอาชีพ และความเชี่ยวชาญ (คล้ายตาราง อ.พิเศษ) เชื่อมโยงกับแนวทางการจัดอาจารย์ผู้สอน 8 ข้อ หน้า 136
การกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียนรู้ (มคอ.3 และ มคอ.4) และการจัดการเรียนการสอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรได้มีการประชุมพิจารณา เพื่อกำกับ ติดตาม และตรวจสอบ จากการจัดการเรียนการสอน ของปีการศึกษาเดิม 2565 ในช่วงปลายภาคการศึกษา โดยรวบรวมข้อควรปรับปรุงจาก RQF.5 และ RQF. 6 ข้อคิดเห็นจากอาจารย์ผู้สอน และการประเมินของนักศึกษา เพื่อนำมาใช้ในการทบทวนและวางแผนสำหรับการจัดการเรียนการสอนมาปรับใช้ในปีการศึกษาใหม่ 2566
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ควรมีการปรับปรุงมคอ 3 ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของความต้องการของตลาด และสามารถให้ความรู้กับผู้เรียนไ้ด้เป็นปัจจุบัน
การจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีที่มีการบูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรมีการจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีที่มีการบูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ผ่านการ mapping กับรายวิชาต่างๆ มีวัตถุประสงค์การบูรณาการเป็นของแต่ละรายวิชาโดยชัดเจน
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ควรประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาตามวัตถุประสงค์ของการบูรณาการรายวิชากับพันะกิจต่างๆ เพื่อนำผลประเมินมาปรับปรุงกระบวนการต่อไป
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 5.3] การประเมินผู้เรียน

คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ที่ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน (Learner Person, Innovative Co-Creator, Active Citizen) ตามวิสัยทัศน์และจุดเน้นของหลักสูตร ตลอดจนมาตรฐานวิชาชีพ (ถ้ามี)
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1.หลักสูตรได้วางระบบและกลไกในการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาผู้เรียนทั้งในระดับรายวิชาและระดับหลักสูตร ซึ่งใช้เป็นมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติทั้ง 3 ด้าน และมาตรฐานวิชาชีพ
2.การประเมินเป็นไปตามกรอบวัตถุประสงค์ของรายวิชา และครอบคลุมองค์ความรู้ด้านวิชาชีพ หลักสูตรยังสนับสนุนให้อาจารย์ผู้สอนแต่ละรายวิชาแสดงผลการประเมินให้แก่นักศึกษาในการให้คะแนนโครงงานในด้านต่างๆให้ละเอียด เพื่อนักศึกษาเองสามารถนำข้อมูลนี้ไปประเมินและพัฒนาการเรียนของตนเองได้ต่อไป

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรไม่ได้ใช้แบบฟอร์ม rqf.5 ใหม่ แต่ใช้ มคอ.5 เก่า จึงไม่เห็นการรายงานร้อยละสัมฤทธิผลการเรียนรู้รายวิชาตาม tqf.5 หรือ doe3 แต่หลักสูตรมารายงานภาพรวม สัมฤทธิผลการเรียนรู้ของหลักสูตรแยกตาม tqf.5 ใน rqf.7 จึงมองไม่เห็นการเชื่อมโยงค่าร้อยละสัมฤทธิผลที่เฉลี่ยมาจริงจาก rqf.5

1. ทบทวนแผนที่ใช้ในการพัฒนานักศึกษากลุ่มที่มีผลการเรียนอ่อน ซึ่งควรมีมาตรการและแผนรวมอยู่ใน RQF.3 ของแต่ละรายวิชาด้วย เช่นกำหนดโครงงานและการประเมินผล ให้ครอบคลุมนักศึกษากลุ่มนี้ด้วย
2. ปรับปรุงการประเมินผล โดยนำผลทวนสอบเพิ่มเติมมาจากการสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาและอาจารย์ อาจมาจากการสัมภาษณ์พูดคุย หรือแบบสำรวจจัดทำโดยรายวิชาเอง
3. ทบทวน กำหนดการนำเสนอแผน และมีการประเมินผลการเรียนการสอนเพิ่มเติมของแต่ละรายวิชา ในกรณีที่ต้องมีการสอนแบบออนไลน์ การใช้เทคโนโลยี และนำไปสู่การพัฒนาบรรยากาศของชั้นเรียน หรือประโยชน์ในการเผยแพร่ผลงานนักศึกษาและองค์กรต่อไป

 
การตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ปีการศึกษา 2566 ที่ผ่านมานี้ หลักสูตรได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยประเมินผลการเรียนรู้ทั้ง 6 ด้านตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ใน 11 รายวิชา จาก 27 รายวิชาที่เปิดสอนในปีการศึกษา 2566 ซึ่งคิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 40.74 ของรายวิชาทั้งหมด
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรรายงาน
1. ทบทวนแผนที่ใช้ในการพัฒนานักศึกษากลุ่มที่มีผลการเรียนอ่อน ซึ่งควรมีมาตรการและแผนรวมอยู่ใน RQF.3 ของแต่ละรายวิชาด้วย เช่น กำหนดโครงงานและการประเมินผล ให้ครอบคลุมนักศึกษากลุ่มนี้ด้วย
2. ปรับปรุงการประเมินผล โดยนำผลทวนสอบเพิ่มเติมมาจากการสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาและอาจารย์ อาจมาจากการสัมภาษณ์พูดคุย หรือแบบสำรวจจัดทำโดยรายวิชาเอง
3. ทบทวน กำหนดการนำเสนอแผน และมีการประเมินผลการเรียนการสอนเพิ่มเติมของแต่ละรายวิชา ในกรณีที่ต้องมีการสอนแบบออนไลน์ การใช้เทคโนโลยี และนำไปสู่การพัฒนาบรรยากาศของชั้นเรียน หรือประโยชน์ในการเผยแพร่ผลงานนักศึกษาและองค์กรต่อไป
การกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอน และประเมินหลักสูตร (มคอ.5 มคอ.6 และ มคอ.7)
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรมีการกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอน และประเมินหลักสูตร (มคอ.5 มคอ.6 และ มคอ.7)แยกตามกลุ่มหมวดวิชาเช่นหมวดวิชาพื้นฐาน หมวดวิชาออกแบบ ฯ โดยชัดเจน  มีผลการประเมินให้ ผ่าน ทุกวิชา รวมทั้งภาพรวมของการดำเนินงานในหลักสูตร โดยมีความคิดเห็นเพื่อการนำไปปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2567
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรควรกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอน และประเมินหลักสูตร (มคอ.5 มคอ.6 และ มคอ.7) ตาม template rqf.5 ใหม่ โดยรายงานผลลัพธ์การเรียนรู้โดยละเอียดถึงร้อยละสัมฤทธิผลการเรียนรู้รายวิชา (template เดิมรายงาน ผ่าน/ไม่ผ่าน)

ในปีการศึกษาถัดไป หลักสูตรควรนำส่งรายงาน RQF.7 และ Upload รายการหลักฐาน ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในแนวปฏิบัติสำหรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2566
 
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-

[ตัวบ่งชี้ 5.4] ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

หมายเหตุ: KPI ให้สอดคล้องและเป็นไปตามที่ระบุใน มคอ.2
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
1. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรอย่างน้อยร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผน ติดตาม และทบทวนการดำเนินงานหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
2. มีรายละเอียดของหลักสูตรตามแบบ มคอ.2 ที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ หรือมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา [ถ้ามี]
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
3. มีรายละเอียดของรายวิชา และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม [ถ้ามี] ตามแบบ มคอ.3 และ มคอ.4 อย่างน้อยก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาให้ครบทุกรายวิชา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
4. จัดทำรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา และรายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม [ถ้ามี] ตามแบบ มคอ.5 และ มคอ.6 ภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่เปิดสอนให้ครบทุกรายวิชา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
5. จัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตรตามแบบ มคอ.7 ภายใน 60 วัน หลังสิ้นสุดปีการศึกษา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ในปีการศึกษาถัดไป หลักสูตรควรนำส่งรายงาน RQF.7 และ Upload รายการหลักฐาน ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในแนวปฏิบัติสำหรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2566
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
6. มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ที่กำหนดใน มคอ.3 และ มคอ.4 [ถ้ามี] อย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรมีผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ที่กำหนดใน RQF.3 และ RQF.4 จำนวน 11 รายวิชา จาก 27 รายวิชาจากหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2563 ซึ่งคิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 40.74 ของรายวิชา
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
7. มีการพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน หรือการประเมินผลการเรียนรู้จากผลการประเมินการดำเนินงานที่รายงานใน มคอ.7 ปีที่แล้ว
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
8. อาจารย์ใหม่ [ถ้ามี] ทุกคน ได้รับการปฐมนิเทศ หรือคำแนะนำด้านการจัดการเรียนการสอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
9. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกคนได้รับการพัฒนาทางวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกคน ได้มีการพัฒนาคุณภาพอาจารย์ทางวิชาการ/วิชาชีพ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ดังต่อไปนี้
1. อาจารย์ วริศว์ สินสืบผล
- ผลงานสร้างสรรค์ Baan Tum.Ma.Da: a Specific Ordinary House. The 12th Rangsit University International Design Symposium 2024 “Work in Progress 12: The Devil Is in the Details” ในวันที่ 25 เมษายน 2567.
- การเข้าฟังบรรยายพิเศษ BOYY : Conversation with FOS ในวันที่ 24 มีนาคม 2567
2. ผศ.ไพลิน โภคทวี
- ผลงานสร้างสรรค์ Auspicious Color for Well-Working Space. The 12th Rangsit University International Design Symposium 2024 “Work in Progress 12: The Devil Is in the Details“ ในวันที่ 25 เมษายน 2567
- บรรยายพิเศษ ในโครงการ กิจกรรมบรรยายให้ความรู้ภายใต้หัวข้อ“ECOSCAPE สร้างสรรค์พื้นที่ Community Space เพื่อคนและโลกที่ดีกว่า” และการนำเสนอโครงการประกวดแบบโดยบริษัท Vichitr (VC Fabric) ในวันที่ 5 กันยายน 2566
3. อาจารย์ถวัลย์ วงษ์สวรรค์
- สัมมนา ASA SEMINAR SERIES จัดโดย สมาคมสถาปนิกสยามฯ  ในวันที่ 4 พฤษภาคม 2567
4. อาจารย์ณัฐพงศ์ ศรีปุงวิวัฒน์
- กิจกรรม SoReal Workshop จัดร่วมกับโรงเรียนพระหฤทัยนนทบุรี ในวันที่ 27-28 มีนาคม 2567
5. อาจารย์ กาลัญญู สิปิยารักษ์
- สัมมนา Act Forum’ 23 “การเปลี่ยนแปลงเมืองด้วยนวัตกรรม” ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2566

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
10. จำนวนบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอน [ถ้ามี] ได้รับการพัฒนาวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ต่อปี
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
11. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้าย/บัณฑิตใหม่ที่มีต่อคุณภาพหลักสูตร เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.50 จากคะแนนเต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรสาขาออกแบบภายใน จัดทำแบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้าย/บัณฑิตใหม่ที่มีต่อคุณภาพหลักสูตร โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 จากคะแนนเต็ม 5.00
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
12. ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตใหม่ เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.50 จากคะแนนเต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรสาขาออกแบบภายใน จัดทำแบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตใหม่ โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.61 จากคะแนนเต็ม 5.00
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
13. ร้อยละ 80 ของรายวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอน สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนด
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรสาขาออกแบบภายในมีการจัดการเรียนการสอน 27 รายวิชาจากหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2563 โดยสามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนด คิดเป็นร้อยละ 100
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
14. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อคุณภาพการสอน รวมทุกรายวิชา เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรสาขาออกแบบภายใน มีการจัดการเรียนการสอน 27 รายวิชาจากหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2563 โดยมีการประเมินระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อคุณภาพการสอนรวมทุกรายวิชา เฉลี่ยเท่ากับ 4.57 จากคะแนนเต็ม 5.00
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
15. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อทรัพยากรสนับสนุนการเรียนการสอน เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.51 จากคะแนน เต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรสาขาออกแบบภายใน จัดทำแบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อทรัพยากรสนับสนุนการเรียนการสอน เท่ากับ 3.54 จากคะแนนเต็ม 5.00
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ผลการประเมินจากผลการดำเนินงาน ตัวบ่งชี้ 5.4
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] รวมจำนวนตัวบ่งชี้ในแต่ละปี 13 5.00
[2] จำนวนตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการผ่านเฉพาะตัวบ่งชี้ที่ 1-5 1-5
[3] ร้อยละของตัวบ่งชี้ที่ 1-5 ที่ผ่าน [ถ้าผ่านทั้ง 5 ข้อจะเป็นร้อยละ 100] 100
[4] จำนวนตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการผ่านรวม 13
[5] ร้อยละของตัวบ่งชี้ทั้งหมดที่ผ่าน 100.00
*หมายเหตุการกำหนดเงื่อนไขเกณฑ์การประเมิน
ถ้า [3] น้อยกว่าร้อยละ 100 ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 0.00
ถ้า [5] มีการดำเนินงานน้อยกว่า ร้อยละ 80 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 0.00
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 80 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 3.50
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 80.01 - 89.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 4.00
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 90.00 -94.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 4.50
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 95.00 -99.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 4.75
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 100 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 5.00
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 5 (4 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 3.75 คะแนน

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

[ตัวบ่งชี้ 6.1] สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
ระบบการดำเนินงานของภาควิชา/คณะ/สถาบัน โดยมีส่วนร่วมของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เพื่อให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรได้พัฒนาระบบการปรับปรุงสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้แบบต่อเนื่อง โดยเริ่มจากการวิเคราะห์ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด รวมถึงการประเมินสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาที่สอดคล้องกับบริบทและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป โดยในปีการศึกษาล่าสุด ได้มีการแยกเพิ่มประเภทของสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ในด้านเทคโนโลยีและดิจิทัลมากขึ้น
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
จำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรได้ทำการวิเคราะห์และวางแผนปรับปรุงสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ โดยแบ่งเป็นด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านกายภาพ นักศึกษาในรายวิชา INT342 วัสดุในการตกแต่งภายใน เข้าร่วมกิจกรรมการปรับปรุงห้องวัสดุ ซึ่งประกอบด้วยการวิเคราะห์และคัดเลือกวัสดุที่เหมาะสม  และ หลักสูตรได้ดำเนินการปรับปรุงการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการเขียนแบบ หลังจากที่การใช้งานห้องปฏิบัติการดังกล่าวลดลงในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักศึกษาต่างชาติในรายวิชา INT115 การเขียนแบบวิชาชีพ ได้แสดงความสนใจและต้องการใช้พื้นที่นี้ในการทำงานกลุ่มและสร้างสรรค์ผลงาน
2. ด้านกิจกรรม ความร่วมมือระหว่างสถาบันและองค์กร และด้านภาษาและความเป็นสากล เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักศึกษา
ในปีที่ผ่านมา ทางหลักสูตรมีการวางแผน สร้างความร่วมมือกับสถาบัน และองค์กรภายนอก เพื่อเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการเรียนรู้ที่มากกว่าในห้องเรียนให้กับนักศึกษา หลักสูตรได้ร่วมมือกับส่วนงานสถาปัตยกรรมคาเฟ่ อเมซอน บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) จัดโครงการประกวดแบบเพื่อให้นักศึกษาในรายวิชา COD107 การจัดการธุรกิจการออกแบบ ได้รับโจทย์การออกแบบจริงจากโครงการของบริษัทฯ ซึ่งเป็นโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้กระบวนการทำงานร่วมกับลูกค้าจริง
3. ทางด้านเทคโนโลยี และดิจิตัล
ในส่วนของทางด้านเทคโนโลยีและดิจิตัลนั้นทางหลักสูตร ได้มีการจัดเตรียมและพัฒนาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ในกลุ่มนี้อย่างต่อเนี่อง ดังนี้
3.1 หลักสูตรได้ใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ เช่น LINE, Facebook, Instagram และ WeChat เพื่ออำนวยความสะดวกในการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร และเผยแพร่สื่อการเรียนการสอนแก่กลุ่มนักศึกษา ทั้งนี้ เพื่อสร้างความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของนักศึกษา
3.2 หลักสูตรได้นำระบบคลาวด์มาใช้ในการจัดเก็บและส่งมอบงานของนักศึกษา โดยได้จัดสรรพื้นที่เก็บข้อมูลส่วนตัวให้แก่นักศึกษาแต่ละคนบนระบบคลาวด์ของสาขาวิชาการออกแบบภายใน การเปลี่ยนแปลงนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการทำงานในรูปแบบดิจิทัล และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน
3.3 การจัดเตรียมระบบคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ที่ทันสมัย เพื่อรองรับการเรียนรู้และการทำงานของนักศึกษาในยุคดิจิทัล และตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
1.หลักสูตรอาจวิเคราะห์ จำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอนแยกตามรายวิชากลุ่มพื้นฐาน และกลุ่มวิชาออกแบบ เพื่อประเมินความเพียงพอ ทันสมัย และตอบโจทย์ผลลัพธ์การเรียนรู้
2.ควรต้องได้รับการสนับสนุนเพิ่มโดยเฉพาะด้านนวัตกรรมการออกแบบ

 
กระบวนการปรับปรุงตามผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
กระบวนการปรับปรุงตามผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้นั้น หากพิจารณาจากแบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาในปีนี้ คะแนนเฉลี่ยรวมจะเห็นได้ว่าอยู่ที่ 3.54 เมื่อเทียบกับปีการศึกษา 2565 ที่คะแนน 4.22 ซึ่งโดยตัวเลขแล้วจะเห็นว่าลดลงอย่างมีนัยยะ ซึ่งเมื่อทางหลักสูตรทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบในรายละเอียดของแบบประเมินตามข้างต้น จะเห็นได้ว่า ในส่วนที่มีประเด็นหลักๆที่มีการดึงคะแนนความพึงพอใจของนักศึกษาลงในปีนี้นั้น อยู่ในเรื่องของสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ทางกายภาพเป็นหลัก เช่น ในส่วนของวัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์การศึกษาที่ได้คะแนนเฉลี่ยเพียง 3 คะแนนจาก 5 เป็นต้น และอีกส่วนหนึ่งจะเป็นการจัดเตรียมสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้จากส่วนกลาง เช่น การบริการในส่วนห้องสมุด หรือ การเข้าถึง internet และการเชื่อมต่อทางด้านดิจิตัลต่างๆ ซึ่งในส่วนนี้เป็นปัจจัยที่อาจจะนอกเหนือการควบคุม แต่ทั้งนี้แล้ว ผลสำรวจนี้ก็ทำให้เห็นทิศทางที่ทางหลักสูตรต้องระดมความคิด พิจารณาหาวิธีที่พัฒนาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้เพื่อทดแทน หรือแก้ปัญหาดังกล่าวในมุมอื่นๆเพื่อตอบสนองกับผลประเมินที่เกิดขึ้น
 
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 6 (1 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 3.00 คะแนน

รายงานผลการวิเคราะห์จุดเด่น/จุดแข็ง แนวทางเสริม จุดที่ควรพัฒนา และแนวทางปรับปรุง

จุดเด่นและแนวทางเสริม

  1. หลักสูตรมีคะแนนเฉลี่ยรวมคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561 ที่อยู่ในระดับดีมาก และมีค่าร้อยละอัตราการมีงานทำของบัณฑิตอยู่ในระดับดีมาก
  2. หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบภายใน มีเป้าหมายการรับนักศึกษาจำนวน 60 คน (แผนการรับของหลักสูตร) ซึ่งในปีการศึกษา2566 มีนักศึกษาเข้ารับการศึกษาในหลักสูตรจำนวนทั้งสิ้น 77 คนแบ่งเป็นนักศึกษาไทยจำนวน 52 คน และนักศึกษานานาชาติจำนวน 25 คน เกินเป้าหมายที่ทางหลักสูตรตั้งไว้ ทั้งนี้หลักสูตรออกแบบภายในได้จัด โครงการประชาสัมพันธ์และแนะแนวทางการเรียนสาขาวิชาออกแบบภายในกับบุคคลภายนอก (ทดลองเรียน ในวันที่ 27-28 มีนาคม 2567) โดยโครงการนี้เป็นโครงการที่ปรับแนวทางจากโครงการ SoReal Workshop ในปีก่อนๆ
  3. หลักสูตรมีโครงการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ด้านต่างๆ ที่หลากหลาย โดยใช้รายวิชาเป็นตัวกำหนดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างนักศึกษาให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างชัดเจน มีผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อ การพัฒนาศักยภาพนักศึกษา และการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับดีมาก เฉลี่ยที่ 4.42 หลักสูตรควรประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้รายทักษะ ในลักษณะ ร้อยละ skill learning outcome , trend และ impact เพื่อนำผลประเมินมาปรับปรุงกระบวนการ mapping และเนื้อหา ของรายวิชา หรือ ของกิจกรรมพัฒนาต่าง ๆ  เทียบกับทักษะต่างๆ
  4. อาจารย์ประจำหลักสูตรเป็นผู้มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญในด้านองค์ความรู้ทางวิชาการเฉพาะสาขาออกแบบภายในและมีผลงานในระดับนานาชาติ ควรสนับสนุนส่งเสริมการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ
  5. หลักสูตรมีรายวิชาที่เป็นความร่วมมือกับสถานประกอบการอันหลากหลาย ควรรายงานผลลัพธ์รายวิชาที่เป็นความร่วมมือกับสถานประกอบการต่างๆ ว่ามีผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์อย่างไร เพื่อนำผลประเมินมาปรับปรุงกระบวนการ รวมทั้งหลักสูตรควรรายงานผลวิเคราะห์ stake holder need รายปีโดยเฉพาะความต้องการของผู้เรียน และอื่น ๆ เพื่อนำผลประเมินมาปรับเนื้อหารายวิชาที่ปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน

จุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง

  1. หลักสูตรควรประเมินผลลัพธ์ของกิจกรรมการเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่นอกเหนือจากค่าความพึงพอใจในทุกกิจกรรมโครงการ ในลักษณะ outcome trend และ impact  ทั้งนี้หลักสูตรมีค่าอัตราการคงอยู่ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่เรียนต่อชั้นปีที่ 2   เฉลี่ย 76.09% สามารถนำมาวิเคราะห์เชื่อมโยงกับการปรับปรุงกระบวนการเตรียมความพร้อมเพื่อเพิ่มอัตราการคงอยู่ดังกล่าว
  2. จากเอกสารหลักฐาน อภบ.3.2.02 ผลสรุปแบบประเมินอาจารย์ที่ปรึกษา 2566 ไม่พบรายละเอียดหัวข้อย่อยในการประเมินอาจารย์ที่ปรึกษา ทำให้มองไม่เห็นจุดแข็งจุดอ่อนในรายละเอียดการควบคุมดูแล ให้คำปรึกษาต่าง ๆ เพื่อนำผลประเมินมาปรับปรุงระบบอาจารย์ที่ปรึกษา
  3. หลักสูตรไม่ได้ใช้แบบฟอร์ม rqf.5 ใหม่ แต่ใช้ มคอ.5 เก่า จึงไม่เห็นการรายงานร้อยละสัมฤทธิผลการเรียนรู้รายวิชาตาม tqf.5 หรือ doe3 แต่หลักสูตรมารายงานภาพรวม สัมฤทธิผลการเรียนรู้ของหลักสูตรแยกตาม tqf.5 ใน rqf.7 จึงมองไม่เห็นการเชื่อมโยงค่าร้อยละสัมฤทธิผลที่เฉลี่ยมาจริงจาก rqf.5
  4. หลักสูตรอาจวิเคราะห์ จำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอนแยกตามรายวิชากลุ่มพื้นฐาน และกลุ่มวิชาออกแบบ เพื่อประเมินความเพียงพอ ทันสมัย และตอบโจทย์ผลลัพธ์การเรียนรู้
  5. คณาจารย์ของหลักสูตรยังขาดคุณวุฒิปริญญาเอก และตำแหน่งทางวิชาการ แม้ว่าทางหลักสูตรได้จัดทำแผนการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์แต่ละท่าน ดังนั้น หลักสูตรต้องกำกับ ติดตามให้เป็นไปตามแผนที่ตั้งไว้ เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร คณาจารย์ควรพัฒนางานและได้รับการส่งเสริมด้านงานวิจัย เพื่อสามารถสร้างสรรค์งานวิชาการไปสู่ แนวทางการปรับปรุง (1) กำหนดรายชื่อของผู้ที่ใกล้ครบรอบยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการเพื่อผลิตและส่งผลงานสร้างสรรค์เข้าจัดแสดงเพื่อนำมาต่อยอดการส่งขอตำแหน่งทางวิชาการ (2) ดำเนินจัดคลินิกอบรมการเขียนบทความประกอบชิ้นงานสร้างสรรค์สำหรับอาจารย์ผู้ส่งผลงานสร้างสรรค์ เพื่อใช้ในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ
  6. นักศึกษามีการทำโครงงาน สร้างผลงานที่หลากหลาย จึงควรผลักดันให้ผลงานเหล่านั้นได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับทั้งระดับชาติและนานาชาติ แนวทางการปรับปรุง โครงการของนักศึกษา ควรมีการวางแผนให้ตรงกับความต้องการและยุทธศาสตร์ชาติ นอกจากนี้นักศึกษามีการทำโครงงาน สร้างผลงานที่หลากหลาย จึงควรผลักดันให้ผลงานเหล่านั้นได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับทั้งระดับชาติและนานาชาติ ควบคู่กับคณาจารย์
  7. การประชาสัมพันธ์หลักสูตรอาจมีความหลากหลายช่องทางให้มากขึ้น เพื่อสื่อสารถึงกลุ่มนักเรียนที่สนใจ จนสามารถเพิ่มยอดนักศึกษาใหม่ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหลักสูตร แนวทางการปรับปรุง (1) จัด workshop ร่วมกับโรงเรียนมัธยมที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเป็นเป็นการบริการวิชาการ และ เป็นการประชาสัมพันธ์หลักสูตรไปในเวลาเดียวกัน (2) เพิ่มช่องทาง social network และ channel ต่างๆ และแต่งตั้งผู้ดูแลเพื่อคอยปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยอยู่ตลอด (3) เพิ่มช่องทางการทำความร่วมมือกับรร.ในต่างประเทศ
  8. ด้านความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต แนวทางการปรับปรุง ควรมีการสร้างกลไกให้เกิดเครือช่าย นักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่า ตลอดจนเครือข่ายผู้จ้างงานและผู้ใช้บัณฑิต

สรุปผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลดำเนินการ
กรรมการ
1.1 การบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่กำหนดโดยสกอ. ผ่าน
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ.2561 4.61
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี 4.52
3.1 การรับนักศึกษา 3.00
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา 3.00
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา 2.00
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์ 3.00
4.2 คุณภาพอาจารย์ 2.22
4.3 ผลที่เกิดกับอาจารย์ 4.00
5.1 สาระของรายวิชาในหลักสูตร 3.00
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน 4.00
5.3 การประเมินผู้เรียน 3.00
5.4 ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 5.00
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 3.00
ผลการประเมินเฉลี่ยรวม [13 ตัวบ่งชี้] 3.41

การวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาภายใน ของคณะกรรมการประเมิน ฯ

องค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
1 ผ่านการประเมิน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 2 - - 4.57 4.57 ระดับคุณภาพดีมาก
3 3 2.67 - - 2.67 ระดับคุณภาพปานกลาง
4 3 3.07 - - 3.07 ระดับคุณภาพดี
5 4 3.00 4.00 - 3.75 ระดับคุณภาพดี
6 1 - 3.00 - 3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
ผลการประเมิน 2.89 3.75 4.57 3.41 ระดับคุณภาพดี
ระดับคุณภาพ ระดับคุณภาพปานกลาง ระดับคุณภาพดี ระดับคุณภาพดีมาก