รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร

วันที่ประเมิน: 3 สิงหาคม 2566, 09:30น.

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

[ตัวบ่งชี้ 1.1] การบริหารการจัดการหลักสูตรตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร

เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
1. จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
มีรายชื่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบ 5 คน เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
2. คุณสมบัติอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
มีการให้รายละเอียดคุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรครบทั้ง 5 คน ตามเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ครบถ้วน
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
[สำหรับประเภทวิชาชีพ/ปฏิบัติการ]
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 2 ใน 5 คน ต้องมีประสบการณ์ในด้านการปฏิบัติการ
ระบุข้อคิดเห็น
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
มีการให้รายละเอียดคุณสมบัติของอาจารย์ประจำหลักสูตร ตามเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ครบถ้วน
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
4. คุณสมบัติอาจารย์ผู้สอน ที่เป็นอาจารย์ประจำ
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน ที่เป็นอาจารย์พิเศษ
ข้อคิดเห็น
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
มีการปรับปรุงหลักสูตรตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ผลการประเมินจากผลการดำเนินงาน ตัวบ่งชี้ 1.1

องค์ประกอบที่ 2 การผลิตบัณฑิต

[ตัวบ่งชี้ 2.1] คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และ ด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ.2561

หมายเหตุ : *
(1) จำนวนบัณฑิตทั้งหมด หมายถึง ผู้รับปริญญา ในปีการศึกษา 2564 ประกอบด้วย บัณฑิตที่จบภาคการศึกษา 1/2564 , 2/2564 และ S/2565 [ปีต้องอัพเดตตามปีการศึกษาที่ประเมินย้อนหลัง 1 ปี]
(2) จำนวนบัณฑิตที่รับการประเมินจากผู้ใช้บัณฑิตต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาตาม (ข้อ1)

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
จำนวนบัณฑิตทั้งหมด 13 4.51
จำนวนบัณฑิตที่ได้รับการประเมินทั้งหมด 5
คะแนนเฉลี่ยรวมคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561 4.51
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
การวิเคราะห์ความพึงพอใจต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ 5 ด้าน พบว่า มีความพึงพอใจในระดับดีมากทุกด้าน
ด้านความรู้และทักษะทางปัญญามีคะแนนต่ำกว่าด้านอื่น คะแนนด้านความรู้ในสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในอุตสาหกรรมอาหาร และ ความสามารถศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและเสนอแนวทางการแก้ไขได้อย่างสร้างสรรค์
ความพึงพอใจต่อ ผลลัพธ์ผู้เรียน 3 ด้านพบว่า ผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมากทุกด้าน
ด้านที่มีคะแนนน้อยกว่าด้านอื่นคือ ผู้ร่วมสร้างนวัตกรรม ซึ่งสอดคล้องกับผลประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ในด้านทักษะทางปัญญา 
แนวทางเสริม
1. การจัดให้มีเนื้อหาการวิเคราะห์-แก้ไขปัญหาการทำงานในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง
2. การเรียนแบบ problem-based หรือ project-based ร่วมกันในหลายรายวิชาที่เป็นวิชาชีพในแต่ละภาคการศึกษาในรูปแบบ module ตั้งแต่ชั้นปีที่ 2 เป็นต้นไป ร่วมกับการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษานอกชั้นเรียนเพื่อให้นักศึกษาได้มองเห็นความเชื่อมโยงของรายวิชาที่เกี่ยวเนื่องกันและการประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริง
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)

[ตัวบ่งชี้ 2.2] ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี

หมายเหตุ : *
(1) จำนวนบัณฑิตทั้งหมด จะต้องตรงกับตาราง ตัวบ่งชี้ 2.1
(2) จำนวนบัณฑิตที่ตอบแบบสำรวจจะต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
จำนวนบัณฑิตทั้งหมด 13 5.00
จำนวนบัณฑิตที่ตอบแบบสำรวจ 10
จำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษา [มีงานทำในองค์กร] 6
จำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษา [ประกอบอาชีพอิสระ] 3
จำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษา [ประกอบกิจการส่วนตัว/ธุรกิจครอบครัว] 0
จำนวนบัณฑิตที่ไม่ได้งานทำ 0
จำนวนบัณฑิตที่ศึกษาต่อ 1
จำนวนบัณฑิตที่อุปสมบท 0
จำนวนบัณฑิตที่เกณฑ์ทหาร 0
จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาที่มีงานทำก่อนเข้าศึกษา 0
ร้อยละที่ได้ 100.00
ผลลัพธ์ที่ได้ 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1. บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2564 จำนวน 13 คน มีบัณฑิตตอบแบบสำรวจ 10 คน (ร้อยละ 77) พบว่า ทุกคนได้งานทำ (รวมประกอบอาชีพ อิสระและประกอบกิจการส่วนตัว) หรือเรียนต่อ
2. ตลาดแรงงาน ยังคงรองรับบัณฑิตที่จบจากหลักสูตรได้หรือบัณฑิตที่จบมีคุณสมบัติตรงตามที่ตลาดแรงงานต้องการ
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 2 (2 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 4.76 คะแนน

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

[ตัวบ่งชี้ 3.1] การรับนักศึกษา

คะแนนที่ได้ 4
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
หลักสูตรมีกิจกรรมเตรียมความพร้อมที่ปรับปรุงจากปีที่ผ่านมาระหว่างชั้นปีที่ 1 กับชั้นปีที่ 2 เป็นกิจกรรมโรงงานอุตสาหกรรมอาหารจำลอง เพื่อเตรียมนักศึกาาในการเรียนในขั้นสูงต่อไป 
 
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การรับนักศึกษา:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรมีการดำเนินงานด้านการรับนักศึกษา มีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ของหลักสูตรผ่านช่องทางต่างๆ หลายช่องทาง นำเสนอจุดเด่นและจุดต่างของหลักสูตร ผลการรับนักศึกษามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ดังนี้
1. นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ได้จนสำเร็จ จนเข้าสู่ระบบการผลิตที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมอาหารจำลองได้เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปและจำหน่ายจนมีผลกำไรชัดเจน
2. นักศึกษามีทักษะปฏิบัติในการแปรรูปอาหาร มีทักษะการใช้เครื่องมือ มีความคุ้นเคยทำให้มีทักษะและมีความมั่นใจต่อการใช้สถานที่และอุปกรณ์ภายในโรงงานต้นแบบฯ
3. นักศึกษาเข้าใจลักษณะการทำงานของวิชาชีพตนเองในอนาคต ทำให้เห็นภาพรวมและเข้าใจความสำคัญของรายวิชาในหลักสูตรที่จะได้เรียนในชั้นปีที่สูงขึ้น และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับรุ่นพี่ชั้นปีที่ 2
แนวทางเสริม ควรเน้นเรื่อง อาหารอนาคต ซึ่งน่าจะดึงดูดความสนใจให้มีนักศึกษาแรกเข้าเพิ่มขึ้น
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ควรมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีจำนวนนักศึกษาเพิ่มมากขึ้น
การเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
มีกิจกกรรมเตรียมความพร้อมที่มีการปรับลักษณะกิจกรรมจากปีที่ผ่านมา มีการทำงานร่วมกันระหว่างชั้นปี 1 กับชั้นปีที่ 2 สามารถทำให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สร้างผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ได้จนสำเร็จซึ่งนับว่า รวดเร็วมาก
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
1.เน้นกิจกรรม Homeroom ที่สร้างผลลัพธ์ที่ดีต่อไป
2.สร้างสรรค์กิจกรรมใหม่ ๆ เพื่อสร้างความสนใจแก่นักเรียนให้เข้ามาศึกษาต่อเพิ่มมากขึ้้น
3.ลักษณะกิจกรรมเตรียมความพร้อมที่ทางหลักสูตรสร้างผลลัพธ์ผู้เรียนในด้าน Learner Person และ Innovative Co-Creator (หน้า24) ในปีต่อไปควรสร้างผลลัพธ์ด้าน Active Citizen ด้วย

 
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)

[ตัวบ่งชี้ 3.2] การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา

คะแนนที่ได้ 4
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
1. นักศึกษามีศักยภาพสามารถผลิตผลงานวิจัย นำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ร่วมกับสถานประกอบการชั้นนำ 7 โครงการ 7 หน่วยงาน
2. ผลงานนักศึกษาได้รับรางวัลจากการประกวดนวัตกรรมระดับชาติหลายรางวัล
3. นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ทุกคนได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ตอบโจทย์จริงของผู้ประกอบการ
4. นักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4 ร้อยละ 72.2 ผ่านเกณฑ์ B1 เป็นอย่างน้อยในการทดสอบ RSU2test ผลจากการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในการส่งเสริมให้เกิดการสร้างผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรม ทำให้นักศึกษาทุกคนยังมีผลงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ตั้งแต่ชั้นปีที่ 3 รวมทั้งนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่ไม่ได้เข้าโครงการสหกิจศึกษาทุกคน โดยมีนักศึกษา 1 กลุ่มที่ได้นำผลงานจากชั้นปีที่ 3 มาทำการวิจัยเชิงลึกต่อเนื่องในชั้นปีที่ 4 ได้สำเร็จ ทำให้ผลงานวิจัยที่ได้มีคุณภาพสูงขึ้น

 
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษาปริญญาตรี:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรมีระบบและกลไกในการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาปริญญาตรี และมีการปรับปรุงการดำเนินงานโดยกำหนดอาจารย์ที่ปรึกษาให้ตรงกับหลักสูตร และมีช่องทางการให้คำปรึกษาหลากหลาย รวมถึงการใช้สื่อโซเซียล
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หัวข้อนี้หากเขียนแยกเป็น 2 ประเด็นจะทำให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น คือ การควบคุมดูแลให้คำปรึกษาวิชาการ และแนะแนวการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย
การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรมีกิจกรรมที่หลากหลาย และแต่ละกิจกรรมมีการกำหนดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 แต่ละด้านไว้อย่างชัดเจน
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในการส่งเสริมให้เกิดการสร้างผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรควรบูรณาการกับรายวิชาด้านการวิจัย และผลักดันผลงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาของสถานประกอบการอย่างเป็นรูปธรรม
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)

[ตัวบ่งชี้ 3.3] ผลที่เกิดกับนักศึกษา

หลักสูตรเปิดปีการศึกษา 2548 เป็นหลักสูตร 4 ปี (สำเร็จการศึกษาปีแรก: 2551)
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การคงอยู่
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2563
ร้อยละ 80.65
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2564
ร้อยละ 75.00
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2565
ร้อยละ 92.31
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
มีข้อสังเกตว่า นักศึกษาที่เข้าปี 2562 และการคงอยู่ในปี 2565 คิดเป็นร้อยละ 92.31 ซึ่งถือว่า มีอัตราการคงอยู่สูง จึงน่าจะเป็นแนวทางที่จะนำไปบริหารหลักสูตรในปี 2566 ให้มีอัตราการคงอยู่สูงขึ้นเรื่อยๆ
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
การสำเร็จการศึกษา
ร้อยละอัตราสำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2563
ร้อยละ 77.42
ร้อยละอัตราสำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2564
ร้อยละ 75.00
ร้อยละอัตราสำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2565
ร้อยละ 84.61
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
มีข้อสังเกตว่า นักศึกษาที่เข้าปี 2562 และสำเร็จการศึกษาภายในปี 2565 คิดเป็นร้อยละ 84.61 ซึ่งถือว่า มีอัตราการสำเร็จสูง จึงน่าจะเป็นแนวทางที่จะนำไปบริหารหลักสูตรในปี 2566 ให้มีอัตราการสำเร็จสูงขึ้นเรื่อยๆ
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
1. ควรมีการประชาสัมพันธ์หลักสูตรให้เป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น เพื่อเพิ่มจำนวนนักศึกษา
2. แนะแนวการเรียนการสอนให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อให้เลือกเรียนเพิ่มมากขึ้น
3. ประสานงานกับสำนักรับนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิตเพื่อเพิ่มจำนวนนักศึกษา
ความพึงพอใจและผลการจัดการข้อร้องเรียนของนักศึกษา
ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาเฉลี่ย ปีการศึกษา 2563 ร้อยละ 4.35
ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาเฉลี่ย ปีการศึกษา 2564 ร้อยละ 4.37
ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาเฉลี่ย ปีการศึกษา 2565 ร้อยละ 4.58
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
มีการทำงานวิจัยเพิ่มมากขึ้น นักศึกษาเมื่อสำเร็จการศึกษามีงานทำทั้งองค์กรและอิสระได้ทั้งหมด
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรควรนำผลการประเมินที่ได้เฉลี่ยน้อยที่สุด คือ 4.35 ในด้านการพัฒนาศักยภาพและการสร้างเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มาร่วมกันหาแนวทางปรับปรุงกระบวนการในปีต่อไป ซึ่งอาจปรับโครงการ/กิจกรรม ที่นักศึกษายังไม่สามารถพัฒนาตนเองในด้านนั้นๆได้
 
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 3 (3 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 3.67 คะแนน

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

[ตัวบ่งชี้ 4.1] การบริหารและพัฒนาอาจารย์

คะแนนที่ได้ 4
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
1.หลักสูตรมีกระบวนการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพอาจารย์อย่างเป็นระบบ ทำให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีศักยภาพ สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารอนาคต ที่เป็นจุดเน้นของหลักสูตร ได้มากถึง 7 ชิ้น
2.ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวจากข้าวเสริมโปรตีนข้าวไรซ์ไลฟ์ของ ดร.พิชญา ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 2 กลุ่มผลิตภัณฑ์นวัตกรรมจากสินค้าเกษตร
3.อาจารย์สามารถใช้องค์ความรู้ที่มีจากการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คำปรึกษาและให้บริการกับผู้ประกอบการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารอนาคตได้มากถึง 20 ผลิตภัณฑ์และมี 1 ผลิตภัณฑ์ที่รับจ้างผลิตให้กับผู้ประกอบการโดยตรง
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
ระบบการรับและแต่งตั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรฯ มีการดำเนินการเพื่อให้มีความสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรและแผนงานด้านอัตรากำลัง
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ในปีการศึกษา 2565 อาจารย์สามารถพัฒนาองค์ความรู้ด้วยการมีผลงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารอนาคต 7 ชิ้น มี 1 ชิ้นที่ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 2 กลุ่มผลิตภัณฑ์นวัตกรรมจากสินค้าเกษตรประเภทอาหารที่มีต้นแบบ
ระบบการบริหารอาจารย์:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรได้มีการบริการภาระงานสอนของอาจารย์ให้มีภาระงานที่ใกล้เคียงกัน เพื่อไม่ให้เป็นภาระของอาจารย์ท่านใดท่านหนึ่ง มีการกำหนดผู้รับผิดชอบของโครงการกิจกรรมใว้ชัดเจน เป็นการบริหารอาจารย์ในหลักสูตร
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ให้มีคุณภาพทั้งด้านความรู้ ความสามารถในเนื้อหาวิชาที่รับผิดชอบ สามารถก้าวทันวิทยาการสมัยใหม่ มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ การวิจัย และการพัฒนาศาสตร์ในสาขาวิชาที่รับผิดชอบ:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
เมื่อมีระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ให้มีคุณภาพที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม ตลอดจนอาจารย์มีความเชี่ยวชาญด้านการวิจัย ส่งผลให้สร้างผลิตภัณฑ์ในเชิงนวัตกรรมที่ทันสมัยได้อย่างต่อเนื่อง
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)

[ตัวบ่งชี้ 4.2] คุณภาพอาจารย์

4.2.1 ร้อยละของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้งหมด 5 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 4
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 80.00
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 20 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
4.2.2 ร้อยละของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้งหมด 5 5.00
[2] ไม่มีตำแหน่งทางวิชาการ [อาจารย์] 2
[3] ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ 2
[4] ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ 1
[5] ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ 0
[6] ดำรงตำแหน่งทางวิชาการทั้งหมด [3] + [4] + [5] 3
[7] ร้อยละที่ได้ [6] X 100 / [1] 60.00
[8] ผลลัพธ์ที่ได้ [7] x 5 / 60 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ส่งเสริมให้อาจารย์ที่ยังไม่มีตำแหน่งวิชาการเข้าสู่การดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
4.2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
หมายเหตุ เป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในรอบปีที่รับการประเมินเท่านั้น [ช่องไหนไม่มีผลงานให้ใส่ 0 ไม่ปล่อยว่าง]
จำนวนผลงานทางวิชาการตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 1 0 0 1
จำนวนผลงานสร้างสรรค์ตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 0 0 0
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] ผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ 1.40 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้งหมด 5
[3] ร้อยละที่ได้ [1] X 100 / [2] 28.00
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 20 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
รายการหลักฐาน ตัวบ่งชี้ 4.2 คุณภาพอาจารย์
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ตัวบ่งชี้ 4.2 คุณภาพอาจารย์ คะแนนที่ได้ 5.00 คะแนน

[ตัวบ่งชี้ 4.3] ผลที่เกิดกับอาจารย์

คะแนนที่ได้ 4
หมายเหตุ :
(1) ยกเว้นกรณี การเกษียณอายุงาน และการเสียชีวิต
(2) หากรายชื่อมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากปรับเข้าเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร พ.ศ. 2558 ให้ถือว่าอัตราการคงอยู่ครบในปีการศึกษาแรกที่ปรับเข้าเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร 2558
(3) หากรายชื่อที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบท่านใหม่ต้องมีประสบการณ์ร่วมบริหารหลักสูตรมาไม่น้อยกว่า 9 เดือน (มีหลักฐานรายงานการประชุมภาควิชาหรือการประชุมหลักสูตร)
(4) รายงานถึงสิ้นสุดปีการศึกษา 2565 และจะได้รับการประเมินแนวโน้มผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นต้องประเมิน จาก ≥ 3 ชุดข้อมูล
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
แนวโน้มดีทั้ง 2 ด้าน
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การคงอยู่ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ความพึงพอใจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีต่อการบริหารหลักสูตร
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ควรนำผลการประเมินที่ได้เข้าที่ประชุมในปีต่อไป ร่วมกันวิเคราะห์ และหาทางปรับแก้ไขให้ดีขึ้น
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 4 (3 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 4.33 คะแนน

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

[ตัวบ่งชี้ 5.1] สาระของรายวิชาในหลักสูตร

39
32
82.05
คะแนนที่ได้ 4
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
1.หลักสูตรมีการปรับปรุงรายวิชาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมอาหารในอนาคต รวม 7 วิชา
2.การออกแบบหลักสูตรมีจุดเด่นในการจัดการเรียนการสอนเป็นแบบโมดูล เน้นผลลัพธ์ผู้เรียน 3 ด้าน ที่สอดคล้องผลลัพธ์การเรียนรู้ 5 ด้าน ทำให้นักศึกษาสามารถบูรณาการองค์ความรู้กับงานวิจัย นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือกับสถานประกอบการชั้นนำ เป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ปฏิบัติจริง และการเรียนแบบโมดูล ยังเป็นการเตรียมความพร้อมไปสู่การปรับปรุงหลักสูตรในรอบต่อไปที่จะมีการออกแบบหลักสูตรโดยคำนึงถึง YLO และ SLO
3.มีการพัฒนาปรับปรุงสาระรายวิชาในหลักสูตรให้มีความทันสมัยตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปในปีที่ผ่านมารองรับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมอาหารในอนาคตตามเป้าหมายของหลักสูตร โดยพัฒนาเนื้อหารายวิชาชีพบังคับ 5 วิชา ทุกวิชาที่ปรับปรุงมีผลการประเมินการสอนที่ดีได้คะแนนเฉลี่ยสูงถึง 4.83 และได้มีการเปิดการสอนรายวิชาที่เกี่ยวกับอาหารอนาคต 2 วิชา อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 มีเนื้อหาที่ทำให้ทันสมัยอยู่ตลอด โดยมีผลการประเมินการสอนอยู่ในระดับที่ดีสม่ำเสมอ
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การออกแบบหลักสูตร และสาระรายวิชาในหลักสูตรที่ปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน มีหลักสูตรหรือรายวิชาที่เป็นความร่วมมือกับสถานประกอบการ
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1.หลักสูตรมีระบบและกลไกในการออกแบบหลักสูตร โดยใช้ข้อมูลจากผู้มีส่วนได้เสียในการปรับปรุงรายวิชาต่างๆ ของหลักสูตร ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของนักศึกษา และสถานประกอบการ
2.หลักสูตรมีการประเมินและมีความทันสมัยสอดคล้องกับอุตสาหกรรมอาหารในปัจจุบันและในอนาคต
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
การปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าในศาสตร์สาขานั้นๆ และเชื่อมโยงกับการนำไปใช้ได้จริง
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1.หลักสูตรมีระบบและกลไกในการปรับปรุงให้มีความทันสมัยโดยมีการปรับอย่างเป็นรูปธรรมจำนวน 5 รายวิชา
2.มีการปรับหลักสูตรใช้ได้จริงในปัจจุบันและมีการพัฒนาหลักสูตรเพื่ออนาคต
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
มีการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิที่ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน (Learner Person, Innovative Co-Creator, Active Citizen) ตามวิสัยทัศน์และจุดเน้นของหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1. หลักสูตรได้นำผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน มาปรับใช้กับผลลัพธ์การเรียนรู้ 5 ด้านที่กำหนดเอาไว้แล้ว
2. มีความสามารถในการดำเนินการ mapping ความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์การเรียนรู้และผลลัพธ์ผู้เรียนได้ครบทุกประเด็น 
3. ในปีการศึกษา 2565 มีการปรับปรุงผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นสุดแต่ละภาคการศึกษาใหม่ ให้ตอบสนองต่อการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการในลักษณะ module ที่ได้ดำเนินการไปแล้ว เช่น ในภาคการศึกษาที่ 2 ชั้นปีที่ 3 ที่กำหนดเป็นโมดูลอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร จะเน้นผลลัพธ์ผู้เรียนใน ด้าน co-creator เป็นหลักร่วมกับด้าน learner person ทั้งนี้จะประเมินจากชิ้นงานที่นักศึกษาได้ทำส่งเมื่อสิ้นสุดแต่ละภาคการศึกษาที่มีการสอนในลักษณะ module
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)

[ตัวบ่งชี้ 5.2] การวางระบบผู้สอน และกระบวนการจัดการเรียนการสอน

คะแนนที่ได้ 4
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
หลักสูตรมีกระบวนการเรียนการสอนที่บูรณาการกับการบริการวิชาการระหว่างรายวิชา จำนวน 3 โมดูล โดยใช้องค์ความรู้ในการแปรรูปอาหาร ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้กับชุมชนที่มีอยู่เดิมผ่านโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น จนได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมถึงจัดให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตที่ชุมชนนำไปใช้ประโยชน์ด้วยตนเองได้จริง
 
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดผู้สอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรมีการกำนดผู้สอนตามความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และปรับให้ภาระงานของอาจารย์ใกล้เคียงกัน
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
การกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียนรู้ (มคอ.3 และ มคอ.4) และการจัดการเรียนการสอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1.หลักสูตรมีการติดตามการจัดทำแผนการเรียนรู้ มคอ. 3-4 และวิเคราะห์แผนการเรียนเพื่อแก้ปัญหานักศึกษาไม่สามารถบูรณาการความรู้ หลักสูตรจึงปรับการจัดการเรียนการสอนเป็นแบบโมดูล
2. อาจารย์ผู้สอนมีการหารือกันในกลุ่มวิชาทั้ง 6 กลุ่ม โดยมีหัวหน้าสาขาเข้าร่วมก่อนเปิดภาคการศึกษา เพื่อให้ มคอ.3 หรือ มคอ.4 มีความทันสมัยโดยเฉพาะด้านเนื้อหาที่มีการปรับเปลี่ยนไปในแต่ละปีการศึกษา นอกจากนี้ยังมีการปรับกลยุทธ์การสอน กิจกรรมในและนอกห้องเรียน และการประเมินผล โดยให้สอดคล้องกับแผนของหลักสูตรในภาพรวม
3. หัวหน้าสาขากำกับ ติดตามและตรวจสอบการจัดทำ มคอ.3 หรือ มคอ.4 โดยอาจารย์ผู้สอนจัดทำ มคอ. 3 มคอ.4 ให้เสร็จสิ้นก่อนเปิดภาคการศึกษา ส่งให้หัวหน้าสาขาเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง หัวหน้าสาขาส่งให้กับคณบดีเพื่อตรวจทานอีกครั้งก่อนเก็บรวบรวมไว้ที่คณะ เลขานุการคณะอัพโหลดเข้าสู่ระบบของสำนักงานมาตรฐานวิชาการก่อนเปิดภาคการศึกษา
4. หลักสูตรผลักดันให้ระบบการเรียนออนไลน์ เช่น Google Classroom เป็นเครื่องมือในการแจก มคอ.3 หรือ มคอ.4 เพื่อลดการใช้กระดาษ
5. หลักสูตรมีการประชุมในระหว่างภาคการศึกษาเพื่อกำกับติดตามให้อาจารย์ดำเนินการสอนตามแผนที่ ระบุไว้ใน มคอ.3 และ มคอ.4
6. การจัดการเรียนการสอน หลักสูตรมีการกำกับให้การจัดการเรียนการสอนเป็นมาตรฐานเดียวกันผ่านการประชุมเพื่อทำความเข้าใจก่อนเปิดภาคการศึกษา มีรูปแบบการสอนที่หลากหลาย ขึ้นกับสถานการณ์ที่เหมาะสม โดยสามารถสอนออนไลน์ได้ 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
การจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีที่มีการบูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1.หลักสูตรมีการบูรณาการการวิจัย และการบริการวิชาการ โดยผ่านรายวิชาของหลักสูตร 
2.ในปีการศึกษา 2565 หลักสูตรมีการบูรณาการการเรียนการสอนกับการวิจัย โดย อ.ดร.ณัฐ เทพหัตถี ในรายวิชา FTH 352 การประกันคุณภาพอาหาร ได้นำวิธีวัดคุณภาพทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว จากงานวิจัยมาใช้ในการสอนปฏิบัติการ และรายวิชา FTH 464 เทคโนโลยีเนื้อและสัตว์ปีก ได้นำเทคนิคการแปรรูปผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์จากงานวิจัยมาใช้ในการสอนปฏิบัติการเช่นกัน 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)

[ตัวบ่งชี้ 5.3] การประเมินผู้เรียน

คะแนนที่ได้ 4
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
หลักสูตรทำการประเมินผู้เรียนจากรายวิชาในรูปแบบการเรียนโมดูล 3 ในลักษณะของ term project ทำให้นักศึกษาสามารถสร้างผลงานผลิตภัณฑ์ต้นแบบชนิดใหม่ที่เป็นนวัตกรรมด้นบรรจุภัณฑ์ ฉลาก แผนการควบคุมคุณภาพ และแผนการจัดการความปลอดภัยเพื่อขอรับรองมาตรฐาน
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ที่ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน (Learner Person, Innovative Co-Creator, Active Citizen) ตามวิสัยทัศน์และจุดเน้นของหลักสูตร ตลอดจนมาตรฐานวิชาชีพ (ถ้ามี)
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรมีระบบและกลไกในการดำเนินงานทั้งในเรื่องกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน มีการประเมินและการปรับปรุง
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
การตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรมีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์จำนวน 10 รายวิชา มีระบบและกลไกการตรวจสอบการประเมินผลการเรียนของนักศึกษาดังต่อไปนี้
(1) คณะดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับมาตรฐานวิชาการ เพื่อพิจารณาข้อสอบปลายภาคและผลสอบในแต่ละรายวิชา โดยคณะกรรมการ 5 ท่าน ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก 3 ท่าน และภายใน 2 ท่าน ได้แก่ คณบดีและหัวหน้าสาขา
(2) ทุกภาคการศึกษาก่อนการจัดทำข้อสอบปลายภาค จะมีการประชุมคณะกรรมการกำกับมาตรฐานเพื่อพิจารณากลั่นกรองเนื้อหาของข้อสอบ อาจารย์ผู้สอนจะรับไปดำเนินการแก้ไข ปรับปรุงข้อสอบ ตามที่กรรมการมีข้อเสนอแนะ และหลังจากมีการสอบ อาจารย์ผู้สอนจะต้องส่งผลสอบเพื่อให้คณะกรรมการกำกับมาตรฐานพิจารณาผลสอบ
(3) อาจารย์ผู้สอนยังได้พิจารณาร่วมกัน ในกรณีที่นักศึกษาได้คะแนนผิดปกติ หรือ ไม่ผ่านใน บางรายวิชา ประเด็นการพิจารณาคือ รับฟังความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนในวิชานั้นๆ และร่วมกันหาแนว ทางแก้ไขสำหรับนักศึกษาเป็นรายบุคคล นอกจากนี้หลักสูตรได้มีกระบวนการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา โดยการทวนสอบ ขณะที่นักศึกษายังไม่สำเร็จการศึกษา มีทั้งระดับรายวิชาโดยการมีคณะกรรมการหรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก พิจารณาความเหมาะสมของข้อสอบและการให้คะแนนในการวัดผลการเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้ในรายละเอียดของรายวิชา และระดับหลักสูตร มีคณะกรรมการฯ พิจารณาผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานในภาพรวมเมื่อนักศึกษาเรียนครบตามหลักสูตร สำหรับการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้หลังจากนักศึกษาสำเร็จ การศึกษาแล้ว จะมีการสุ่มติดตามผลการเรียนรู้ของบัณฑิตของคณะผ่านกลไกของมหาวิทยาลัย
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
การกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอน และประเมินหลักสูตร (มคอ.5 มคอ.6 และ มคอ.7)
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรมีระบบและกลไกกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอนและประเมินหลักสูตร โดยกำหนดให้อาจารย์ผู้สอนจัดทำ มคอ.5 และ มคอ.6 ตามระยะเวลาที่กำหนดทุกรายวิชาให้กับหัวหน้าสาขาเพื่อ ตรวจสอบความถูกต้อง และให้เลขานุการคณะอัพโหลดขึ้นระบบของสำนักงานมาตรฐานวิชาการ หลักสูตรนำ มคอ.5 และ มคอ.6 มาจัดทำรายงานผลการดำเนินงานหลักสูตรตามแบบ มคอ.7 หลังสิ้นสุดปีการศึกษา
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)

[ตัวบ่งชี้ 5.4] ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

หมายเหตุ: KPI ให้สอดคล้องและเป็นไปตามที่ระบุใน มคอ.2
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
1. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรอย่างน้อยร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผน ติดตาม และทบทวนการดำเนินงานหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
2. มีรายละเอียดของหลักสูตรตามแบบ มคอ.2 ที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ หรือมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา [ถ้ามี]
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
3. มีรายละเอียดของรายวิชา และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม [ถ้ามี] ตามแบบ มคอ.3 และ มคอ.4 อย่างน้อยก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาให้ครบทุกรายวิชา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
4. จัดทำรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา และรายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม [ถ้ามี] ตามแบบ มคอ.5 และ มคอ.6 ภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่เปิดสอนให้ครบทุกรายวิชา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
5. จัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตรตามแบบ มคอ.7 ภายใน 60 วัน หลังสิ้นสุดปีการศึกษา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
6. มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ที่กำหนดใน มคอ.3 และ มคอ.4 [ถ้ามี] อย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
7. มีการพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน หรือการประเมินผลการเรียนรู้จากผลการประเมินการดำเนินงานที่รายงานใน มคอ.7 ปีที่แล้ว
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
8. อาจารย์ใหม่ [ถ้ามี] ทุกคน ได้รับการปฐมนิเทศ หรือคำแนะนำด้านการจัดการเรียนการสอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
9. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกคนได้รับการพัฒนาทางวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
10. จำนวนบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอน [ถ้ามี] ได้รับการพัฒนาวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ต่อปี
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
11. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้าย/บัณฑิตใหม่ที่มีต่อคุณภาพหลักสูตร เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.50 จากคะแนนเต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
12. ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตใหม่ เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.50 จากคะแนนเต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
13. ร้อยละ 80 ของรายวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอน สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนด
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
14. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อคุณภาพการสอน รวมทุกรายวิชา เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
15. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อทรัพยากรสนับสนุนการเรียนการสอน เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.51 จากคะแนน เต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ผลการประเมินจากผลการดำเนินงาน ตัวบ่งชี้ 5.4
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] รวมจำนวนตัวบ่งชี้ในแต่ละปี 15 5
[2] จำนวนตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการผ่านเฉพาะตัวบ่งชี้ที่ 1-5 1-5
[3] ร้อยละของตัวบ่งชี้ที่ 1-5 ที่ผ่าน [ถ้าผ่านทั้ง 5 ข้อจะเป็นร้อยละ 100] 100
[4] จำนวนตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการผ่านรวม 15
[5] ร้อยละของตัวบ่งชี้ทั้งหมดที่ผ่าน 100.00
*หมายเหตุการกำหนดเงื่อนไขเกณฑ์การประเมิน
ถ้า [3] น้อยกว่าร้อยละ 100 ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 0.00
ถ้า [5] มีการดำเนินงานน้อยกว่า ร้อยละ 80 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 0.00
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 80 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 3.50
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 80.01 - 89.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 4.00
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 90.00 -94.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 4.50
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 95.00 -99.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 4.75
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 100 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 5.00
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 5 (4 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 4.25 คะแนน

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

[ตัวบ่งชี้ 6.1] สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

คะแนนที่ได้ 4
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
1.หลักสูตรมีระบบและกลไกด้านสิ่งสนับสนุนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ สามารถขับเคลื่อนให้การเรียนการสอนเป็นไปด้วยความสะดวก เพียงพอกับการพัฒนานักศึกษาทุกชั้นปี ทั้งยังมีส่วนร่วมของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรช่วยกันผลักดันให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนในยุคดิจิทัลต่อไป
2.มีการขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และขอรับรองสถานที่ผลิตอาหาร ถือว่ามีความพร้อมที่จะรองรับการพัฒนาทางวิชาการได้เพิ่มขึ้น และห้องปฏิบัติการเคมียังรักษามาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย
3.หลักสูตรจัดสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ต่างๆ ทั้งการซ่อมแซม และการจัดหาเพิ่มเติม เพื่อรองรับการเรียนรู้และรองรับการการเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ 6 ชนิด
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
ระบบการดำเนินงานของภาควิชา/คณะ/สถาบัน โดยมีส่วนร่วมของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เพื่อให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีส่วนร่วมในการจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ โดยจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์หลายรายการ
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
จำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรได้มีการวิเคราะห์ปัญหาและมีการดำเนินงานปรับปรุงซ่อมแซมเครื่องมืออุปกรณ์ให้มีความพร้อมใช้ ทั้งห้องปฏิบัติการเคมี โรงงานต้นแบบฯ ห้อง co-working space
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
กระบวนการปรับปรุงตามผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1.หลักสูตรได้ดำเนินการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ เพื่อนำผลการประเมินใช้เป็นข้อมูลในการดำเนินการปรับปรุงแก้ไข
2.ผลการประเมินความพึงพอใจของปีการศึกษา 2565 เทียบกับปี 2564 พบว่า คะแนนสูงขึ้นในเกือบทุกด้าน มีการนำผลประเมินปีก่อนหน้าไปปรับปรุงทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี เช่น ด้านอุปกรณ์-เครื่องมือของโรงงานต้นแบบฯ ที่นักศึกษาเห็นว่ามีเพียงพอ พร้อมใช้ และทันสมัย จากการจัดหาเครื่องมือใหม่ๆ เพิ่มขึ้น และการดูแลให้อยู่ในสภาพที่ดีเสมอ
อย่างไรก็ดี ผลประเมินบางด้านมีคะแนนสูงขึ้น แต่ยังต่ำกว่าด้านอื่นอย่างมีนัยสำคัญ คือ
ด้านห้องพัก นักศึกษาและพื้นที่เรียนรู้ด้วยตัวเองนอกเวลาเรียน ที่คะแนนอยู่ในระดับพอใช้เท่านั้น เนื่องจากไม่เพียงพอและไม่พร้อมใช้ ซึ่งการปรับปรุงตามผลการประเมินตั้งแต่ปี 2564 ในประเด็นนี้ หลักสูตรได้ประสานโรงงาน ต้นแบบฯ ทำแผนขยายพื้นที่ เพื่อใช้เป็นห้องสำหรับใช้ในการทบทวนหรือทำงานกลุ่มย่อยนอกเวลาเรียน (coworking space) โดยในปี 2565 เมื่อวิทยาลัยฯ อนุมัติให้ดำเนินการ หลักสูตรฯ จึงร่วมมือกับโรงงานต้นแบบฯ จัดทำแผนรายละเอียดจนเสร็จสิ้น ส่งให้มหาวิทยาลัยอนุมัติงบประมาณดำเนินการได้เป็นผลสำเร็จ คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จให้นักศึกษาใช้งานได้จริงภายในปีการศึกษา 2566
ผลประเมินบางด้านมีคะแนนลดลงจากสาเหตุต่างกัน ได้แก่ ภาพรวมห้องปฏิบัติการเคมี จากเครื่องปรับอากาศมีปัญหาและการขาดสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น (เช่น ล็อกเกอร์) ภาพรวมห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา จากขนาดห้องที่ไม่เพียงพอ สิ่งสนับสนุนการเรียนยุคดิจิทัล จากระบบ WiFi ที่ช้า หลักสูตรจะต้อง นำไปหารือร่วมกับคณะและวิทยาลัยฯ เพื่อหาแนวทางการพัฒนาให้ดีขึ้น รวมทั้งการนำข้อคิดเห็นเพิ่มเติมของนักศึกษาไปปรับปรุงต่อไป
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 6 (1 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 4.00 คะแนน

รายงานผลการวิเคราะห์จุดเด่น/จุดแข็ง แนวทางเสริม จุดที่ควรพัฒนา และแนวทางปรับปรุง

จุดเด่นและแนวทางเสริม

  1. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีศักยภาพสูง ทั้งด้านคุณวุฒิปริญญาเอก และตำแหน่งทางวิชาการ และอาจารย์สามารถนำความรู้ต่าง ๆ มาให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติและสามารถนำไปประยุกต์ในการทำงานในอนาคตได้
  2. นักศึกษามีศักยภาพสามารถผลิตผลงานวิจัย นำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ร่วมกับสถานประกอบการชั้นนำ 7 โครงการ 7 หน่วยงาน และผลงานนักศึกษาได้รับรางวัลจากการประกวดนวัตกรรมระดับชาติหลายรางวัลด้วย
  3. คุณภาพหลักสูตรมีคุณภาพที่ดี สามารถสอนให้นักศึกษาเป็นที่ต้องการในตลาดอุตสาหกรรมอาหารในปัจจุบันและในอนาคต และหลักสูตรจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการ ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์คิดค้นต้นแบบนวัตกรรมผลิตภัณฑ์อาหารได้

จุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง

  1. ควรสนับสนุนผลงานนักศึกษาร่วมกับอาจารย์ให้ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารหรือการประชุมวิชาการ
  2. การดำเนินงานของหลักสูตรในด้านต่างๆ ค่อนข้างดี ควรต้องส่งต่อผลงานสู่ชุมชนให้มากขึ้น ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์หลักสูตรเพื่อดึงดูดผู้เรียนให้มากขึ้น
  3. ควรเพิ่มอัตราการคงอยู่ของนักศึกษาให้เพิ่มขึ้น

สรุปผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลดำเนินการ
กรรมการ
1.1 การบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่กำหนดโดยสกอ. ผ่าน
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ.2561 4.51
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี 5.00
3.1 การรับนักศึกษา 4.00
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา 4.00
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา 3.00
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์ 4.00
4.2 คุณภาพอาจารย์ 5.00
4.3 ผลที่เกิดกับอาจารย์ 4.00
5.1 สาระของรายวิชาในหลักสูตร 4.00
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน 4.00
5.3 การประเมินผู้เรียน 4.00
5.4 ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 5.00
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 4.00
ผลการประเมินเฉลี่ยรวม [13 ตัวบ่งชี้] 4.19

การวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาภายใน ของคณะกรรมการประเมิน ฯ

องค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
1 ผ่านการประเมิน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 2 - - 4.76 4.76 ระดับคุณภาพดีมาก
3 3 3.67 - - 3.67 ระดับคุณภาพดี
4 3 4.33 - - 4.33 ระดับคุณภาพดีมาก
5 4 4.00 4.33 - 4.25 ระดับคุณภาพดีมาก
6 1 - 4.00 - 4.00 ระดับคุณภาพดี
ผลการประเมิน 4.00 4.25 4.76 4.19 ระดับคุณภาพดีมาก
ระดับคุณภาพ ระดับคุณภาพดี ระดับคุณภาพดีมาก ระดับคุณภาพดีมาก