รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมดิจิทัล

วันที่ประเมิน: 18 กรกฏาคม 2566, 09:30น.

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

[ตัวบ่งชี้ 1.1] การบริหารการจัดการหลักสูตรตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร

เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
1. จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
ให้เพิ่มข้อความในผลการดำเนินงาน "หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมดิจิทัล (ฉบับปรับปรุง2564) มีการปรับรายชื่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร 5 ท่าน เป็นไปตามเกณ์มาตรฐานหลักสูตร โดยประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษา โดยมีรายชื่อดังนี้..."
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
2. คุณสมบัติอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
ในเอกสารหน้า 14-16 เอา XXX ที่อยู่หลังตัวเลขจำนวนผลงานวิชาการออก และจำนวนผลงานวิชาการของอาจารย์ที่ระบุไว้ในเอกสารหน้า 14-16, 17-19 ไม่ตรงกับเอกสารในหน้า 112-115
ดร.ภาคภูมิ มีจำนวนผลงานวิชาการในรอบ 5 ปี = 10
อาจารย์สงบ มีจำนวนผลงานวิชาการในรอบ 5 ปี = 2 
***ผลงานชิ้นที่ 2 Expire ไม่อยู่ในรอบ 5 ปี***
ดร.ธรรณพ มีจำนวนผลงานวิชาการในรอบ 5 ปี = 6
ผศ.วิไลลักษณ์ มีจำนวนผลงานวิชาการในรอบ 5 ปี = 3
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
[สำหรับประเภทวิชาชีพ/ปฏิบัติการ]
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 2 ใน 5 คน ต้องมีประสบการณ์ในด้านการปฏิบัติการ
ระบุข้อคิดเห็น
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
ในเอกสารหน้า 14-16 เอา XXX ที่อยู่หลังตัวเลขจำนวนผลงานวิชาการออก และจำนวนผลงานวิชาการของอาจารย์ที่ระบุไว้ในเอกสารหน้า 14-16, 17-19 ไม่ตรงกับเอกสารในหน้า 112-115
ดร.ภาคภูมิ มีจำนวนผลงานวิชาการในรอบ 5 ปี = 10
อาจารย์สงบ มีจำนวนผลงานวิชาการในรอบ 5 ปี = 2 ***ผลงานชิ้นที่ 2 Expire ไม่อยู่ในรอบ 5 ปี***
ดร.ธรรณพ มีจำนวนผลงานวิชาการในรอบ 5 ปี = 6
ผศ.วิไลลักษณ์ มีจำนวนผลงานวิชาการในรอบ 5 ปี = 3
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
 
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
4. คุณสมบัติอาจารย์ผู้สอน ที่เป็นอาจารย์ประจำ
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
-ขาดชื่อ ดร.กานต์ ในส่วนของข้อ 4 ซึ่งไม่ตรงกับเอกสารในหน้า 13
-เพิ่มข้อความ "อาจารย์ผู้สอนที่เป็นอาจารย์ประจำทั้ง 11 ท่าน มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอก 7 ท่าน ปริญญาโท 4 ท่าน และมีตำแหน่งวิชาการในระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ จำนวน 6 ท่าน ในสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันกับสาขาวิชาและรายวิชาที่สอน มีคุณสมบัติตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ดังนี้ ..."
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ให้เพิ่มตำแหน่งทางวิชาการ หน้าชื่ออาจารย์ผู้สอนทุกท่าน
คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน ที่เป็นอาจารย์พิเศษ
ข้อคิดเห็น
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ผลการประเมินจากผลการดำเนินงาน ตัวบ่งชี้ 1.1

องค์ประกอบที่ 2 การผลิตบัณฑิต

[ตัวบ่งชี้ 2.1] คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และ ด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ.2561

หมายเหตุ : *
(1) จำนวนบัณฑิตทั้งหมด หมายถึง ผู้รับปริญญา ในปีการศึกษา 2564 ประกอบด้วย บัณฑิตที่จบภาคการศึกษา 1/2564 , 2/2564 และ S/2565 [ปีต้องอัพเดตตามปีการศึกษาที่ประเมินย้อนหลัง 1 ปี]
(2) จำนวนบัณฑิตที่รับการประเมินจากผู้ใช้บัณฑิตต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาตาม (ข้อ1)

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
จำนวนบัณฑิตทั้งหมด 20 4.53
จำนวนบัณฑิตที่ได้รับการประเมินทั้งหมด 5
คะแนนเฉลี่ยรวมคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561 4.53
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
เพิ่มหลักฐาน
1. คะแนนประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต
2. รายชื่อบัณฑิตที่ได้รับการประเมินจากผู้ใช้บัณฑิต

[ตัวบ่งชี้ 2.2] ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี

หมายเหตุ : *
(1) จำนวนบัณฑิตทั้งหมด จะต้องตรงกับตาราง ตัวบ่งชี้ 2.1
(2) จำนวนบัณฑิตที่ตอบแบบสำรวจจะต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
จำนวนบัณฑิตทั้งหมด 20 5.00
จำนวนบัณฑิตที่ตอบแบบสำรวจ 14
จำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษา [มีงานทำในองค์กร] 8
จำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษา [ประกอบอาชีพอิสระ] 2
จำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษา [ประกอบกิจการส่วนตัว/ธุรกิจครอบครัว] 4
จำนวนบัณฑิตที่ไม่ได้งานทำ 0
จำนวนบัณฑิตที่ศึกษาต่อ 0
จำนวนบัณฑิตที่อุปสมบท 0
จำนวนบัณฑิตที่เกณฑ์ทหาร 0
จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาที่มีงานทำก่อนเข้าศึกษา 0
ร้อยละที่ได้ 100.00
ผลลัพธ์ที่ได้ 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 2 (2 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 4.77 คะแนน

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

[ตัวบ่งชี้ 3.1] การรับนักศึกษา

คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การรับนักศึกษา:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ไม่พบการปรับปรุงกระบวนการ เพื่อรับนักศึกษาในปีการศึกษา 2565 มีถึงแค่ปีการศึกษา 2564
การเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-ปรับแก้เอกสารหน้า 29 อัตราการเปลี่ยนแปลงจำนวนนักศึกษาในแต่ละปีการศึกษาที่เรียนต่อในแต่ละชั้นปีเฉลี่ย
        
นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่เรียนต่อชั้นปีที่ 2                 เฉลี่ย 93.07  แก้ไขเป็น 93.05
         นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่เรียนต่อชั้นปีที่ 3                 เฉลี่ย 83.90  แก้ไขเป็น 85.60
         นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่เรียนต่อชั้นปีที่ 4                 เฉลี่ย 37.97  แก้ไขเป็น 24.77

-หน้า 33 ทำให้ในปีการศึกษา 2565 อัตราคงอยู่ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่เรียนต่อชั้นปีที่ 2 เป็นร้อยละ 96.6 ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ดีขึ้น อีกทั้งยังมากกว่าในปี 2563 (ร้อยละ 94.6) อีกด้วย
ร้อยละไม่ตรง
-ปีการศึกษา 2565 มีการปรับปรุงกระบวนการเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่ โดยเพิ่มเติมเนื้อหาในการจัดอบรมเตรียมความพร้อมด้านการพัฒนาเว็บและฐานข้อมูล

-อธิบายเพิ่มเติมให้เห็นความสัมพันธ์การปรับปรุงกระบวนการเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่ โดยเพิ่มเติมเนื้อหาในการจัดอบรมเตรียมความพร้อมด้านการพัฒนาเว็บและฐานข้อมูล ทำให้ในปีการศึกษา 2565 อัตราคงอยู่ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่เรียนต่อชั้นปีที่ 2 นั้น มีแนวโน้มดีขึ้น ซึ่งเนื้อหาการอบรมด้านการพัฒนาเว็บและฐานข้อมูลมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาวิชาที่นักศึกษาเรียนในชั้นปีที่ 1 อย่างไร และเนื้อหาวิชาดังกล่าวในปีการศึกษาก่อนหน้า (2563-2564) มีผลต่อการตกออกของนักศึกษาอย่างไร จึงได้มีการปรับกระบวนการเตรียมความพร้อมดังกล่าว
จุดเด่น
มีการจัดอบรมเตรียมความพร้อม โดยการจัดอบรมรายวิชาพื้นฐานด้านภาษาอังกฤษ และการใช้โปรแกรมเบื้องต้น ในช่วงของการเรียนในเทอมการศึกษาภาคฤดูร้อน เนื่องจากนักศึกษามีพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกันหลายระดับ นักเรียนที่จบมัธยมศึกษาตอนปลายที่มาจากหลากหลายสายวิชา หรือนักเรียนที่จบมาจากสายอาชีวะศึกษานั้น มีความพร้อมที่แตกต่างกัน ทำให้มีการปรับปรุงกระบวนการเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่ โดยเพิ่มเติมเนื้อหาในการจัดอบรมเตรียมความพร้อมด้านการพัฒนาเว็บและฐานข้อมูล ทำให้ในปีการศึกษา 2565 อัตราคงอยู่ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่เรียนต่อชั้นปีที่ 2 เป็นร้อยละ 96.6 ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ดีขึ้น อีกทั้งยังมากกว่าในปี 2563 (ร้อยละ 94.6) อีกด้วย
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
เนื่องจากผลการปรับปรุงดีขึ้นในช่วงปี 2564 - 2565 จึงยังไม่ถือว่าเป็นรูปธรรม ควรมีผลการปรับปรุงที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง 3 ปี
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)

[ตัวบ่งชี้ 3.2] การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา

คะแนนที่ได้ 4
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ผลจากการปรับปรุงกระบวนการที่เป็นรูปธรรม ในส่วนของการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษา ซึ่งหลักสูตรได้ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมการแข่งขันและส่งผลงานเข้าสู่การประชุมวิชาการระดับชาติมากขึ้
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษาปริญญาตรี:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-มีการปรับปรุงกระบวนการให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหานักศึกษาที่ตกค้างได้ดีขึ้น
-มีการจัดโฮมรูมเทอมละอย่างน้อย 2 ครั้ง ทั้งโฮมรูมแบบออฟไลน์และ ออนไลน์ และให้คำปรึกษาด้านวิชาการอื่นๆ ทั้งนี้ นอกจากวันดังกล่าวนักศึกษาสามารถที่จะพบอาจารย์ที่ปรึกษาได้ตามปกติ ส่งผลให้ปัญหาในการลงทะเบียนลดน้อยลง
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
อาจเพิ่มเติมในเรื่องของการจัดทำแผนการเรียนสำหรับนักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ยไม่ดีและทำการวางแผนการเรียนให้กับนักศึกษา และสำรวจนักศึกษามีรายวิชาลงเรียนตกค้างซึ่งไม่เป็นไปตามเทอมการศึกษา
การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1.มีการส่งเสริมให้นักศึกษาส่งผลงานที่ทำในรายวิชาและปริญญานิพนธ์ สู่การเผยแพร่ในงานประชุมวิชาการระดับชาติ ส่งผลให้นักศึกษามีผลงานตีพิมพ์ และได้ทุนวิจัย
2. มีการพานักศึกษาเดินทางไปต่างประเทศเพื่อเรียนรู้การผสมผสานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน 
3. มีรายวิชาสัมมนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ITE467) เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกฝนทักษะการสื่อสารและการนำเสนอความรู้ที่มีทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ออกมาในรูปแบบการประชุมสัมมนา ในลักษณะที่เป็นกลุ่ม ก่อให้เกิดการเรียนรู้และฝึกฝนความเป็นผู้นำและเรียนรู้ลักษณะผู้ตามได้จากประสบการณ์จริง
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-หน้า 39 ปีการศึกษา 2565 แก้ไขชื่อนักศึกษา คือ
  • นางสาวณัฐน ผลชีวิน แก้ไขเป็น  นางสาว ณัฐมน ผลชีวิน รหัส 6508274
  • นางสาวจูเลีย ปินกิน   แก้ไขเป็น นางสาว จูเลีย ปิตุนกิน รหัส 6504542
  • นางสาวกัญญาพัชร ขาวลูกจันทร์  รหัส 6401083
- มีการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาเป็นอย่างดี แต่ควรขยายความให้สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะในศตววษที่ 21 เช่น
  • ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา (Critical Thinking/Problem – Solving)
  • ทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creativity)
  • ทักษะการสื่อสาร (Communication)
  • ทักษะการทำงานเป็นทีม (Collaboration)
การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในการส่งเสริมให้เกิดการสร้างผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1.มีการการส่งเสริมให้นักศึกษาส่งผลงานที่ทำในรายวิชาและปริญญานิพนธ์ สู่การเผยแพร่ในงานประชุมวิชาการระดับชาติ ส่งผลให้นักศึกษามีผลงานตีพิมพ์ และได้ทุนวิจัย
2.มีการวางแผนให้นักศึกษาพัฒนาผลงานสร้างสรรค์และนวัตกรรม โดยบูรณาการร่วมกับรายวิชา DIT491 ปริญญานิพนธ์ 1 และ DIT492 ปริญญานิพนธ์ 2 เพื่อเป็นการต่อยอดความคิดหรือไอเดียจากการเรียนในรายวิชาต่างๆ เป็นผลงานจริงเพื่อสำเร็จการศึกษา รวมทั้งวางแผนต่อยอดผลงานที่สร้างหรือพัฒนาขึ้นไปตีพิมพ์เผยแพร่ต่อไป ทั้งนี้เนื่องจากในปีการศึกษา 2563 เป็นการเริ่มต้นและการตีพิมพ์ผลงานจำเป็นต้องใช้เวลา จึงวางแผนต่อเนื่องให้ดำเนินการต่อในปีการศึกษา 2565 และมีผลงานตีพิมพ์ดังต่อไปนี้
-ธนนันต์ สุดปลิด และ ไววิทย์ จันทร์วิเมลือง. (March 9,2566). การทดสอบความสามารถในการใช้งานไอคอนบนแอพพลิเคชั่นส่งอาหารบนสมาร์ทโฟนสำหรับกลุ่มเจนเนอเรชั่นบีและเจนเนอเรชั่นวาย. The 9th National Conference on Technology and Innovation Management (NCTIM 2023), มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 561-568.
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)

[ตัวบ่งชี้ 3.3] ผลที่เกิดกับนักศึกษา

หลักสูตรเปิดปีการศึกษา 2542 เป็นหลักสูตร 4 ปี (สำเร็จการศึกษาปีแรก: 2545)
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การคงอยู่
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2563
ร้อยละ 90.20
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2564
ร้อยละ 91.20
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2565
ร้อยละ 94.60
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
จำนวนนักศึกษาคงอยู่และที่สำเร็จการศึกษาไม่ตรงกับในฐานข้อมูล Intranet แต่เมื่อคำนวณตัวเลขใหม่จากข้อมูลนักศึกษาใน Intranet มีอัตราการคงอยู่และการสำเร็จการศึกษาแนวโน้มดีขึ้น
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
เพิ่มการติดตามนักศึกษาในระหว่างเรียนชั้นปีที่ 1 เพื่อลดการตกออกก่อนขึ้นปี 2
การสำเร็จการศึกษา
ร้อยละอัตราสำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2563
ร้อยละ 48.80
ร้อยละอัตราสำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2564
ร้อยละ 76.50
ร้อยละอัตราสำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2565
ร้อยละ 78.40
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
จำนวนนักศึกษาคงอยู่และที่สำเร็จการศึกษาไม่ตรงกับในฐานข้อมูล Intranet เมื่อคำนวณตัวเลขใหม่จากข้อมูลนักศึกษาใน Intranet มีอัตราการคงอยู่และการสำเร็จการศึกษาแนวโน้มดีขึ้น
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ความพึงพอใจและผลการจัดการข้อร้องเรียนของนักศึกษา
ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาเฉลี่ย ปีการศึกษา 2563 ร้อยละ 3.85
ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาเฉลี่ย ปีการศึกษา 2564 ร้อยละ 4.44
ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาเฉลี่ย ปีการศึกษา 2565 ร้อยละ 4.48
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ทบทวนหรือจัดแผนการเพิ่มสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้เพื่อแก้ไขปัญหาตามที่นักศึกษาร้องเรียน
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
คะแนนที่ได้ 4
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
หลักสูตรมีจำนวนนักศึกษาสำเร็จการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เมื่อพิจารณาที่อัตราการสำเร็จการศึกษาตามเกณฑ์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งความพึงพอใจของนักศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี
 
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 3 (3 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 3.67 คะแนน

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

[ตัวบ่งชี้ 4.1] การบริหารและพัฒนาอาจารย์

คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
-
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
ระบบการรับและแต่งตั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
อาจเพิ่มประเด็นการตรวจสอบอายุของอาจารย์ที่ใกล้เกษียณอายุ หรือต้องการเกษียณอายุก่อนกำหนด 
ระบบการบริหารอาจารย์:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2565 ยังคงใช้ระบบกลไกเดิม แต่มีการปรับปรุงกระบวนการเพิ่มเติมในการเลือกแหล่งตีพิมพ์ผลงานที่มีค่าน้ำหนักมากขึ้น ซึ่งถือเป็นการพัฒนาศักยภาพของอาจารย์ รวมทั้งมีการทำงานวิจัยร่วมกันระหว่างอาจารย์ เพื่อเป็นการช่วยกันสร้างผลงานและลดภาระการทำงานวิจัยที่อาจต้องใช้เวลามากหากทำเพียงคนเดียว ซึ่งพบว่าในปีการศึกษา 2565 ผลงานการตีพิมพ์เพิ่มขึ้นจากเดิมรวม 6 เรื่อง โดย 6 เรื่องยังได้รับการตีพิมพ์ในฐานข้อมูล Scopus และ TCI กลุ่มที่ 2 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-หน้า 48 แก้ไขค่า xxx โดยโปรดระบุ จำนวนผลงานวิชาการที่เพิ่มขึ้นจำนวน xxx เรื่อง ได้รับการตีพิมพ์ในฐานข้อมูล Scopus จำนวน  xxx เรื่อง และ TCI กลุ่มที่ 2 จำนวน xxx เรื่อง
-อาจมีระบบอาจารย์พี่เลี้ยงนักวิจัย ช่วยอาจารย์ในการทำวิจัย
-ควรมีแนวทางในการจัดสรรรายวิชาตามความสามารถและความเชี่ยวชาญของอาจารรย์ การจัดแบ่งภาระงานสอนให้เหมาะสมตามภาระงานขั้นต่ำของมหาวิทยาลัย
ระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ให้มีคุณภาพทั้งด้านความรู้ ความสามารถในเนื้อหาวิชาที่รับผิดชอบ สามารถก้าวทันวิทยาการสมัยใหม่ มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ การวิจัย และการพัฒนาศาสตร์ในสาขาวิชาที่รับผิดชอบ:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1.มีอาจารย์ที่่มีความรู้ความสามารถ มีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ อย่างโดดเด่น (ผศ.ดร.ธรรณพ อารีพรรค) ที่สามารถถ่ายทอดความรู้ในด้านการพัฒนางานวิจัย 
2.ในปีการศึกษา 2565 ยังคงใช้ระบบกลไกเดิม โดยลดภาระงานอาจารย์ที่กำลังเรียนปริญญาเอก และวางแผนพัฒนานวัตกรรมจากการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน โดยมีการจัดโครงการพัฒนาบัณฑิตสู่ตลาดแรงงาน มาต่อยอดเป็นงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมให้เป็นที่ประจักษ์ และมีผลงานที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น รวมทั้งในปีการศึกษา 2565 ผศ.ภาคภูมิ ชัยศิริประเสริฐ ศึกษาจบระดับปริญญาเอก
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
เนื่องจากในปีการศึกษา 2564-2565 ยังไม่มีการอธิบายถึง ผลงานในเชิงประจักษ์ ดังนั้นจึงควรปรับปรุงกระบวนการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ ที่มีการนำเอาความรู้ ความสามารถในเนื้อหาวิชาที่รับผิดชอบ ที่สามารถก้าวทันวิทยาการสมัยใหม่ และความสามารถในการจัดการเรียนรู้ การวิจัย และการพัฒนาศาสตร์ในสาขาวิชาที่รับผิดชอบ สร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมให้เป็นที่ประจักษ์
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)

[ตัวบ่งชี้ 4.2] คุณภาพอาจารย์

4.2.1 ร้อยละของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้งหมด 5 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 2
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 40.00
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 20 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ควรมีแนวทางส่งเสริมการเพิ่มคุณวุฒิการศึกษาของอาจารย์ในหลักสูตร
4.2.2 ร้อยละของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้งหมด 5 5.00
[2] ไม่มีตำแหน่งทางวิชาการ [อาจารย์] 2
[3] ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ 3
[4] ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ 0
[5] ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ 0
[6] ดำรงตำแหน่งทางวิชาการทั้งหมด [3] + [4] + [5] 3
[7] ร้อยละที่ได้ [6] X 100 / [1] 60.00
[8] ผลลัพธ์ที่ได้ [7] x 5 / 60 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ควรมีแนวทางเพิ่มการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
4.2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
หมายเหตุ เป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในรอบปีที่รับการประเมินเท่านั้น [ช่องไหนไม่มีผลงานให้ใส่ 0 ไม่ปล่อยว่าง]
จำนวนผลงานทางวิชาการตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 1 1 0 1 0
จำนวนผลงานสร้างสรรค์ตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 0 0 0
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] ผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ 1.40 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้งหมด 5
[3] ร้อยละที่ได้ [1] X 100 / [2] 28.00
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 20 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ควรมีแนวทางการเพิ่มผลงานวิชาการของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
 
รายการหลักฐาน ตัวบ่งชี้ 4.2 คุณภาพอาจารย์
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ยังไม่มีเอกสารในระบบ DBS ในวันที่ประเมินเบื้องต้น
ตัวบ่งชี้ 4.2 คุณภาพอาจารย์ คะแนนที่ได้ 5.00 คะแนน

[ตัวบ่งชี้ 4.3] ผลที่เกิดกับอาจารย์

คะแนนที่ได้ 3
หมายเหตุ :
(1) ยกเว้นกรณี การเกษียณอายุงาน และการเสียชีวิต
(2) หากรายชื่อมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากปรับเข้าเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร พ.ศ. 2558 ให้ถือว่าอัตราการคงอยู่ครบในปีการศึกษาแรกที่ปรับเข้าเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร 2558
(3) หากรายชื่อที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบท่านใหม่ต้องมีประสบการณ์ร่วมบริหารหลักสูตรมาไม่น้อยกว่า 9 เดือน (มีหลักฐานรายงานการประชุมภาควิชาหรือการประชุมหลักสูตร)
(4) รายงานถึงสิ้นสุดปีการศึกษา 2565 และจะได้รับการประเมินแนวโน้มผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นต้องประเมิน จาก ≥ 3 ชุดข้อมูล
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การคงอยู่ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ต้องรอผลปีการศึกษา 2566 อีก 1 ปี
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ความพึงพอใจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีต่อการบริหารหลักสูตร
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หน้า 60 แก้ไขชื่อ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็น นวัตกรรมดิจิทัล
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 4 (3 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 3.67 คะแนน

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

[ตัวบ่งชี้ 5.1] สาระของรายวิชาในหลักสูตร

34
28
82.35
คะแนนที่ได้ 4
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
1.มีการปรับปรุงหลักสูตรและรายวิชาในหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง มีการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาผู้เรียน ส่งผลให้นักศึกษาสามารถสร้างผลงานนวัตกรรมและวิจัย นำเสนอผลงานวิชาการได้เพิ่มขึ้นในแต่ละปี
2.หลักสูตรมีระบบกลไกในการปรับปรุงหลักสูตรและรายวิชาในหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้นักศึกษาที่ได้เรียนในรายวิชาดังกล่าวสามารถสร้างผลงานนวัตกรรมและวิจัย สร้างชื่อเสียงให้กับทั้งตัวนักศึกษาเอง ทางหลักสูตร และทางมหาวิทยาลัย
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การออกแบบหลักสูตร และสาระรายวิชาในหลักสูตรที่ปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน มีหลักสูตรหรือรายวิชาที่เป็นความร่วมมือกับสถานประกอบการ
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
โดยในการออกแบบหลักสูตรที่ผ่านมาผู้รับผิดชอบหลักสูตรจะเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งเมื่อมีการใช้งานหลักสูตรมาจนถึงปัจจุบัน อาจารย์ในหลักสูตรได้ประชุมกันเพื่อประเมินแล้วพบว่าหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นยังไม่ได้รับความพึงพอใจจากอาจารย์ประจำหลักสูตร การปรับหลักสูตรครั้งต่อไป ซึ่งในภาคการศึกษาที่ผ่านมาได้เริ่มวางแผนดำเนินการแล้ว ได้ปรับปรุงแนวทางในการออกแบบหลักสูตรใหม่ โดยเชิญทั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอนมาประชุมกัน เพื่อช่วยกันพิจารณา ซึ่งเมื่อมีการประชุมเกี่ยวกับการปรับหลักสูตรและการออกแบบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง จึงได้ข้อสรุปในการออกแบบหลักสูตร ซึ่งอาจารย์ทุกท่าน ทั้งผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอนรู้สึกพึงพอใจกับแนวทางนี้ 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
1.หน้า 69 ด้านคุณภาพการสอน ควรระบุแผนการปรับปรุงในทุกรายวิชา 
2.ควรมีแนวทางการออกแบบหลักสูตร ด้วย CLO, YLO, PLO
3.ควรมีหลักสูตรหรือรายวิชาที่เป็นความร่วมมือกับสถานประกอบการ
การปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าในศาสตร์สาขานั้นๆ และเชื่อมโยงกับการนำไปใช้ได้จริง
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
จากการประเมินและปรับปรุงกลไกดังกล่าว ส่งผลให้ในปีการศึกษา 2565 นักศึกษาของสาขาวิชาฯ ได้ส่งผลงานนวัตกรรม ปั้มน้ำ Wewy ในโครงการ Smart Startup Company by GSB Startup  ได้รับอนุมัติทุนสนับสนุนจากธนาคารออมสิน จำนวนเงิน 200,000 บาท โดยมีรายชื่อดังต่อไปนี้
-    นางสาวณัฐน ผลชีวิน 
-    นางสาวจูเลีย ปินกิน 
-    นางสาวกัญญาพัชร ขาวลูกจันทร์

นักศึกษาที่ได้ส่งบทความวิจัยตีพิมพ์ในงานประชุมวิชาการ โดยมีรายชื่อของบทความดังต่อไปนี้
-    ธนนันต์ สุดปลิด และ ไววิทย์ จันทร์วิเมลือง. (March 9,2566). การทดสอบความสามารถในการใช้งานไอคอนบนแอพพลิเคชั่นส่งอาหารบนสมาร์ทโฟนสำหรับกลุ่มเจนเนอเรชั่นบีและเจนเนอเรชั่นวาย. The 9th National Conference on Technology and Innovation Management (NCTIM 2023), มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 561-568.
-    ธนวัฒน์ เฉลิมนนท์ และ ไววิทย์ จันทร์วิเมลือง. (March 9,2566). การทดสอบความสามารถในการใช้งานของหน้าจอล็อคแบบแพตเทิร์นบนสมาร์ทโฟนสำหรับกลุ่มเจเนเรชั่นบีและเจเนเรชั่นวาย. The 9th National Conference on Technology and Innovation Management (NCTIM 2023), มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 520-527.
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
จากการปรับปรุงในปีการศึกษา 2564 ที่กล่าวถึงการเชิญบุคลากรจากสถานประกอบการมาช่วยเสริมความรู้ให้แก่นักศึกษา ทำให้เกิดวิชาใหม่ต่างๆ ตัวอย่างเช่น ITE327 การอนุวัตและการจัดการระบบ DIT208 อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ITE470 วิทยาการข้อมูล (Data Science) ITE496 การรับรู้ของหุ่นยนต์ (Robot Perception)  และ ITE497 การเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning) ITE327 การอนุวัตและการจัดการระบบ DIT208 อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ITE470 วิทยาการข้อมูล (Data Science) ITE496 การรับรู้ของหุ่นยนต์ (Robot Perception) และ ITE497 การเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning) ไม่พบว่า นักศึกษาที่ได้รางวัลทุนวิจัยมีการเรียนในรายวิชาดังกล่าวข้างต้น การปรับปรุงในปี 2564 จึงไม่สัมพันธ์กับการได้รางวัลทุนวิจัยของนักศึกษา ซึ่งคาดว่าการได้รางวัลทุนวิจัยเกิดจากกระบวนการในการพัฒนานักศึกษา ตามตัวบ่งชี้ที่ 3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา จึงไม่สัมพันธ์กับตัวบ่งชี้ที่ 5.1 สาระของรายวิชาในหลักสูตร
-ควรมีการออกแบบหลักสูตรตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต
มีการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิที่ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน (Learner Person, Innovative Co-Creator, Active Citizen) ตามวิสัยทัศน์และจุดเน้นของหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
มีการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ แต่ยังไม่พบทั้งคำบรรยายในเอกสารและหลักฐานที่เป็นการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ทั้ง 3 ด้าน (Learner Person, Innovative Co-Creator, Active Citizen) ดังนั้น หลักสูตรควรกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ทั้ง 3 ด้าน (Learner Person, Innovative Co-Creator, Active Citizen) ตามวิสัยทัศน์และจุดเน้นของหลักสูตร และแนวทางการวัดผล
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)

[ตัวบ่งชี้ 5.2] การวางระบบผู้สอน และกระบวนการจัดการเรียนการสอน

คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดผู้สอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
1.ควรอธิบายเพิ่มเติมว่าอาจารย์ผู้สอนแต่ละท่านเชี่ยวชาญด้านใดและกำหนดวิชาใดให้สอน
2.มีการวางแผนการการจัดการสอนตลอดทั้งปีการศึกษาอย่างไร เพื่อให้อาจารย์ผู้สอนทุกท่านมีภาระงานสอนเหมาะสมต่อภาระงานขั้นต่ำตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
การกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียนรู้ (มคอ.3 และ มคอ.4) และการจัดการเรียนการสอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
1.ไม่ได้กล่าวถึงการดำเนินการในปีการศึกษา 2565
2.อาจเพิ่มเติมในประเด็นการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่นักศึกษามีผลการเรียนไม่ดีเพื่อลดการตกออกหรือย้ายสาขา
การจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีที่มีการบูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
จากการปรับปรุงในปีการศึกษา 2564 ที่กล่าวถึงการมุ่งเน้นการบูรณาการการสอนระหว่างรายวิชาที่สัมพันธ์กันมากขึ้น จึงมีข้อสรุปจากการประชุมกรรมการประจำสาขาวิชา กำหนดให้มีการสอนแบบเชื่อมโยงความรู้ระหว่างรายวิชา ITE327 การอนุวัตและการจัดการระบบ DIT208 อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ITE470 วิทยาการข้อมูล (Data Science) ITE496 การรับรู้ของหุ่นยนต์ (Robot Perception) และ ITE497 การเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning) ITE327 การอนุวัตและการจัดการระบบ DIT208 อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ITE470 วิทยาการข้อมูล (Data Science) ITE496 การรับรู้ของหุ่นยนต์ (Robot Perception)  และ ITE497 การเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning) ไม่พบว่า นักศึกษาที่ได้รางวัลทุนวิจัยมีการเรียนในรายวิชาดังกล่าวข้างต้น  ดังนั้นการปรับปรุงในปี 2564 จึงไม่สัมพันธ์กับการได้รางวัลทุนวิจัยของนักศึกษา ซึ่งคาดว่าการได้รางวัลทุนวิจัยเกิดจากกระบวนการในการพัฒนานักศึกษา ตามตัวบ่งชี้ที่ 3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา จึงไม่สัมพันธ์กับตัวบ่งชี้ที่ 5.2 การวางผู้สอนและการจัดกระบวนการเรียนการสอน
-ประเด็นที่มีนักศึกษาที่ได้ส่งบทความวิจัยตีพิมพ์ในงานประชุมวิชาการ ควรมีการอธิบายให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของระบบกลไล การปรับปรุง ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ทำให้นักศึกษาสามารถส่งผลงานไปตีพิมพ์ระดับชาติได้

-ควรเพิ่มแนวทางในการบริการวิชาการทางสังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
-เพิ่มเติมการรายงาน "ในปีการศึกษา 2564 ได้ดำเนินการตามระบบกลไกเดิม และปรับปรุงกระบวนการเพิ่มเติม โดย ...จากการประเมินและปรับปรุงกลไกดังกล่าว ส่งผลให้ในปีการศึกษา 2565 มีนักศึกษาของสาขาวิชาฯ ได้ส่งผลงานนวัตกรรม ...ไม่ได้บอกว่าปี 2565 ทำอะไร?
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)


 

[ตัวบ่งชี้ 5.3] การประเมินผู้เรียน

คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ที่ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน (Learner Person, Innovative Co-Creator, Active Citizen) ตามวิสัยทัศน์และจุดเน้นของหลักสูตร ตลอดจนมาตรฐานวิชาชีพ (ถ้ามี)
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
1.มีการประเมินผลการเรียนรู้ ในแต่ละรายวิชาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ซึ่งได้ระบุไว้ใน มคอ.2 โดยมีการประเมินผ่านการประชุมจากคณะกรรมการกำกับมาตรฐานวิชาการ ในทุกภาคการศึกษา ซึ่งในการประชุมจะมีการพิจารณา มคอ.2 ร่วมกับ มคอ.3 และ มคอ.5 ให้ดำเนินการเป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ
2.ในปีการศึกษา 2565 หลักสูตรได้เริ่มใช้หลักสูตรที่ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตร ในปี พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา โดยการปรับปรุงรายวิชาที่มีการประเมินผลไม่สอดคล้องกับกลไกการสอนสำหรับบางรายวิชา และการระบุการประเมินผลตามมาตรฐานผลการเรียนรู้แต่ละด้านที่มุ่งหวังให้มีความเหมาะสม โดยกำหนดให้ผู้เรียนต้องมีคุณธรรม จริยธรรม สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม มีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานของชีวิต เพื่อใช้ประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม มีทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และมีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
อาจเพิ่มวิสัยทัศน์ และจุดเน้นของหลักสูตรที่สอดคล้องกับการประเมิน
การตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ควรเพิ่มกระบวนการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา
การกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอน และประเมินหลักสูตร (มคอ.5 มคอ.6 และ มคอ.7)
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ในปีการศึกษา 2565 มีการปรับปรุงกระบวนการ โดยจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการกำกับมาตรฐานเพื่อทำการพิจารณาก่อนถึงกำหนดวันสิ้นสุดการอัพโหลด มคอ.ทุกประเภท 7 วันทำการ สาขาวิชาจำตรวจสอบและแจ้งอาจารย์ผู้สอนที่ยังไม่อัพโหลด มคอ. ผ่านทางเมลให้ดำเนินการอัพโหลด และก่อนถึงกำหนดวันสิ้นสุด 3 วันทำการ สาขาวิชาตรวจสอบและแจ้งอาจารย์ผู้สอนที่ยังไม่อัพโหลด มคอ. ผ่านทางไลน์กลุ่มของสาขาวิชา พบว่ามีอาจารย์อัพโหลด มคอ.เพิ่มมากขึ้นคิดเป็นร้อยละ 80 จากรายวิชาที่เปิดทั้งหมด และในภาคการศึกษาที่ 2 จึงปรับปรุงกระบวนการโดยนอกจากเข้าไปตรวจสอบก่อนถึง กำหนดวันสิ้นสุดอัพโหลด มคอ. ในช่วง 7 และ 3 วันสุดท้ายแล้ว ใน 3 วันสุดท้ายจะส่งข้อความเตือน ผ่านผ่านทางไลน์กลุ่มของสาขาวิชา และไลน์ส่วนตัว พบว่าผลลัพธ์ที่ได้จากการปรับปรุงกระบวนที่เป็นรูปธรรมการในปีการศึกษา 2564 พบว่า ทำให้อาจารย์อัพโหลด มคอ. ทุกประเภท ก่อนกำหนดระยะเวลาคิดเป็นร้อยละ 100 จากรายวิชาที่เปิดทั้งหมด
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ไม่ได้กล่าวถึงการดำเนินการในปีการศึกษา 2565 ขอให้รายงานเพิ่มเติม
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)

[ตัวบ่งชี้ 5.4] ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

หมายเหตุ: KPI ให้สอดคล้องและเป็นไปตามที่ระบุใน มคอ.2
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
1. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรอย่างน้อยร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผน ติดตาม และทบทวนการดำเนินงานหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ตรวจสอบรายงานการประชุม ครั้งที่ 4/2565
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
2. มีรายละเอียดของหลักสูตรตามแบบ มคอ.2 ที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ หรือมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา [ถ้ามี]
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
3. มีรายละเอียดของรายวิชา และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม [ถ้ามี] ตามแบบ มคอ.3 และ มคอ.4 อย่างน้อยก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาให้ครบทุกรายวิชา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
4. จัดทำรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา และรายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม [ถ้ามี] ตามแบบ มคอ.5 และ มคอ.6 ภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่เปิดสอนให้ครบทุกรายวิชา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
5. จัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตรตามแบบ มคอ.7 ภายใน 60 วัน หลังสิ้นสุดปีการศึกษา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
6. มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ที่กำหนดใน มคอ.3 และ มคอ.4 [ถ้ามี] อย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
เปิดสอน 34 วิชา ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ 9 วิชา คิดเป็นร้อยละ 26.5
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ตรวจสอบจำนวนรายวิชาที่ทำการทวนสอบผลสัมฤทธิ์
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ตรวจสอบรายการหลักฐาน นวบ.5.4.06 เนื่องจากพบจำนวน 8 วิชาที่ทำการทวนสอบ แต่ใน มคอ.7 รายงาน 9 วิชา
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
7. มีการพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน หรือการประเมินผลการเรียนรู้จากผลการประเมินการดำเนินงานที่รายงานใน มคอ.7 ปีที่แล้ว
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
8. อาจารย์ใหม่ [ถ้ามี] ทุกคน ได้รับการปฐมนิเทศ หรือคำแนะนำด้านการจัดการเรียนการสอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
9. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกคนได้รับการพัฒนาทางวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
10. จำนวนบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอน [ถ้ามี] ได้รับการพัฒนาวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ต่อปี
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
11. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้าย/บัณฑิตใหม่ที่มีต่อคุณภาพหลักสูตร เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.50 จากคะแนนเต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรได้ทำการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้ายที่มีต่อหลักสูตร พบว่าคะแนนความพึงพอใจในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
12. ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตใหม่ เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.50 จากคะแนนเต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ระดับความพึงพอใจ 4.53
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ยังไม่มีเอกสารในระบบ DBS ในวันตรวจประเมิน
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
13. ร้อยละ 80 ของรายวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอน สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนด
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
14. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อคุณภาพการสอน รวมทุกรายวิชา เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ความพึงพอใจต่อคุณภาพการสอน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
รายการหลักฐานซ้ำกัน และเป็นข้อมูลของการประเมินการเรียนการสอน
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
15. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อทรัพยากรสนับสนุนการเรียนการสอน เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.51 จากคะแนน เต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
คะแนนความพึงพอใจในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.35 จากระดับคะแนนเต็ม 5.00
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ผลการประเมินจากผลการดำเนินงาน ตัวบ่งชี้ 5.4
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] รวมจำนวนตัวบ่งชี้ในแต่ละปี 13 5
[2] จำนวนตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการผ่านเฉพาะตัวบ่งชี้ที่ 1-5 1-5
[3] ร้อยละของตัวบ่งชี้ที่ 1-5 ที่ผ่าน [ถ้าผ่านทั้ง 5 ข้อจะเป็นร้อยละ 100] 100
[4] จำนวนตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการผ่านรวม 13
[5] ร้อยละของตัวบ่งชี้ทั้งหมดที่ผ่าน 100.00
*หมายเหตุการกำหนดเงื่อนไขเกณฑ์การประเมิน
ถ้า [3] น้อยกว่าร้อยละ 100 ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 0.00
ถ้า [5] มีการดำเนินงานน้อยกว่า ร้อยละ 80 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 0.00
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 80 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 3.50
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 80.01 - 89.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 4.00
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 90.00 -94.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 4.50
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 95.00 -99.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 4.75
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 100 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 5.00
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 5 (4 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 3.75 คะแนน

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

[ตัวบ่งชี้ 6.1] สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
ระบบการดำเนินงานของภาควิชา/คณะ/สถาบัน โดยมีส่วนร่วมของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เพื่อให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
แนวทางการดำเนินการ "สรุปปัญหาต่างๆ แล้วดำเนินการชี้แจงต่อผู้บริหารวิทยาลัยฯ เพื่อปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อนำไปใช้วางแผนในการในการดำเนินการในปีต่อไปเพื่อให้เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน" ถ้าปีการศึกษาต่อไป เกิดผลจากการปรับปรุงในปีการศึกษา 2565 ก็สามารถเป็น 4.00 คะแนน ได้
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-จากที่กล่าวว่า คณะกรรมการมีการประชุมประเมินกลไกการให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล ที่ตอบโจทย์ต่อการพัฒนานวัตกรรมและวิจัย โดยให้ผนวกกับการเรียนรายวิชา ITE327 การอนุวัตและการจัดการระบบสารสนเทศ และ DIT208 อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ทางหลักสูตรจึงวางแผนโดยให้มีการจัดหาอุปกรณ์ที่ทันสมัยและหลากหลาย ไม่พบว่า นักศึกษาที่ได้รางวัลทุนวิจัยมีการเรียนในรายวิชาดังกล่าวข้างต้น การปรับปรุงจึงไม่สัมพันธ์กับการได้รางวัลทุนวิจัยของนักศึกษา ซึ่งคาดว่าการได้รางวัลทุนวิจัยเกิดจากกระบวนการในการพัฒนานักศึกษา ตามตัวบ่งชี้ที่ 3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา จึงไม่สัมพันธ์กับตัวบ่งชี้ที่ 6.1 ในการจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอนตามรายวิชา ITE327 การอนุวัตและการจัดการระบบสารสนเทศ และ DIT208 อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ตามที่ได้อ้างอิงถึง
-ควรมีการสำรวจสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่นักศึกษาและอาจารย์ต้องการในแต่ละปีการศึกษา และวางแผนเพื่อปรับปรุงสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ในปีการศึกษาถัดไป
จำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ควรมีการสำรวจสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่นักศึกษาและอาจารย์ต้องการ ในแต่ละปีการศึกษาและวางแผนเพื่อปรับปรุงสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
กระบวนการปรับปรุงตามผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตร มีการประเมินระดับความพึงพอใจของนักศึกษาทุกระดับต่อทรัพยากรสนับสนุนการเรียนการสอน ในทุกปีการศึกษา 2565 โดยผลการประเมินนักศึกษาทุกชั้นปี มีคะแนนเฉลี่ยที่ 4.35 นั้น มีประเด็นที่นักศึกษาได้พยายามสะท้อนความเห็น ทางหลักสูตรได้นำข้อเสนอแนะจากนักศึกษามาทบทวนและหาวิธีการแก้ไขเพื่อปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น
      ในส่วนของอาจารย์มีการเสนอความเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ โดยหลักสูตรได้มีการประชุมในกลุ่มคณาจารย์ของหลักสูตรและสอบถามถึงความพึงพอใจต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และปัญหาที่พบในการจัดการเรียนการสอน สุดท้ายหัวหน้าหลักสูตรได้ทำการสรุปปัญหาต่างๆ แล้วดำเนินการชี้แจงต่อผู้บริหารวิทยาลัยฯ เพื่อปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อนำไปใช้วางแผนในการในการดำเนินการในปีต่อไปเพื่อให้เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ควรแสดงแนวโน้มความพึงพอใจว่ามีแนวโน้มที่ดีขึ้นทุกปีการศึกษาอย่างไร
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 6 (1 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 3.00 คะแนน

รายงานผลการวิเคราะห์จุดเด่น/จุดแข็ง แนวทางเสริม จุดที่ควรพัฒนา และแนวทางปรับปรุง

จุดเด่นและแนวทางเสริม

  1. หลักสูตรมีอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถ ช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้นักศึกษาส่งผลงานวิชาการ ส่งผลงานเข้าประกวดในเวทีต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
  2. หลักสูตรมีกระบวนการพัฒนานักศึกษาในด้านนวัตกรรม และการวิจัย จนได้ทุนนวัตกรรม และมีผลงานตีพิมพ์ในระดับชาติ
  3. หลักสูตรมีอาจารย์ที่มีคุณวุฒิสูง มีผลงานวิชาการในระดับดี

จุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง

  1. ส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์มีผลงานวิชาการและเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ
  2. หลักสูตรควรปรับปรุงแผนในการรับนักศึกษา และประชาสัมพันธ์หลักสูตรเพื่อให้มียอดนักศึกษาใหม่มากขึ้น
  3. หลักสูตรควรมีการปรับปรุงแผนการลดการตกออกของนักศึกษาเพื่อเพิ่มอัตรการคงอยู่ให้มากขึ้น
  4. อาจารย์ประจำหลักสูตรควรตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ เพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

สรุปผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลดำเนินการ
กรรมการ
1.1 การบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่กำหนดโดยสกอ. ผ่าน
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ.2561 4.53
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี 5.00
3.1 การรับนักศึกษา 3.00
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา 4.00
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา 4.00
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์ 3.00
4.2 คุณภาพอาจารย์ 5.00
4.3 ผลที่เกิดกับอาจารย์ 3.00
5.1 สาระของรายวิชาในหลักสูตร 4.00
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน 3.00
5.3 การประเมินผู้เรียน 3.00
5.4 ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 5.00
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 3.00
ผลการประเมินเฉลี่ยรวม [13 ตัวบ่งชี้] 3.81

การวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาภายใน ของคณะกรรมการประเมิน ฯ

องค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
1 ผ่านการประเมิน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 2 - - 4.77 4.77 ระดับคุณภาพดีมาก
3 3 3.67 - - 3.67 ระดับคุณภาพดี
4 3 3.67 - - 3.67 ระดับคุณภาพดี
5 4 4.00 3.67 - 3.75 ระดับคุณภาพดี
6 1 - 3.00 - 3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
ผลการประเมิน 3.71 3.50 4.77 3.81 ระดับคุณภาพดี
ระดับคุณภาพ ระดับคุณภาพดี ระดับคุณภาพดี ระดับคุณภาพดีมาก