รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565

หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการโฆษณาและสื่อสร้างสรรค์

วันที่ประเมิน: 15 สิงหาคม 2566, 09:30น.

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

[ตัวบ่งชี้ 1.1] การบริหารการจัดการหลักสูตรตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร

เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
1. จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
ผศ.ดร.สำราญ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิไม่ตำกว่าในระดับปริญญาโท ปริญญาเอก และมีอาจารย์ดำรงตำแหน่งทางวิชาการในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
2. คุณสมบัติอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
ผศ.ดร.สำราญ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ระดับปริญญาตรี พ.ศ.2558
ขอให้ปรับแก้ไขจำนวนผลงานในรอบ 5 ปี ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ดังนี้
-อาจารย์วชิรวิชญ์ มีผลงานในรอบ 5 ปี จำนวน 2 เรื่อง
-อาจารย์พรหมพงษ์ มีผลงานในรอบ 5 ปี จำนวน 6 เรื่อง
-อาจารย์วีรวัฒน์ มีผลงานในรอบ 5 ปี จำนวน 4 เรื่อง


 
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ผลงานของอาจารย์ขอให้ Upload เป็น Link หรือไฟล์บทความ
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
[สำหรับประเภทวิชาชีพ/ปฏิบัติการ]
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 2 ใน 5 คน ต้องมีประสบการณ์ในด้านการปฏิบัติการ
ระบุข้อคิดเห็น
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
ผศ.ดร.สำราญ อาจารย์ประจำหลักสูตรมีคุณสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ระดับปริญญาตรี พ.ศ.2558
ขอให้ปรับแก้ไขจำนวนผลงานในรอบ 5 ปี ของอาจารย์ประจำหลักสูตร ดังนี้
-อาจารย์วชิรวิชญ์ มีผลงานในรอบ 5 ปี จำนวน 2 เรื่อง
-อาจารย์พรหมพงษ์ มีผลงานในรอบ 5 ปี จำนวน 6 เรื่อง
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ผลงานของอาจารย์ขอให้ Upload เป็น Link หรือไฟล์บทความ
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
4. คุณสมบัติอาจารย์ผู้สอน ที่เป็นอาจารย์ประจำ
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
ระบุข้อมูลและคุณสมบัติเฉพาะอาจารย์ผู้สอนที่เป็นอาจารย์ประจำ ขอให้ตัดข้อมูลของอาจารย์ผู้รับผิดชอบทั้ง 5 ท่านออก โดยระบุข้อมูลของอาจารย์ผู้สอนที่เป็นอาจารย์ประจำ ดังนี้
ระบุชื่ออาจารย์ผู้สอนที่เป็นอาจารย์ประจำ และให้รายละเอียดคุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอนตามตารางแนวนอน ที่ประกอบด้วย ชื่อย่อปริญญาที่จบวุฒิสูงสุด สาขาวิชา ชื่อสถาบัน และปีที่สำเร็จ  เช่น วทม. (วิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์) มหาวิทยาลัยรังสิต, 2553) ***และขอให้หลักสูตรปรับแก้ไขตารางแนวนอน "อาจารย์ผู้สอน (อาจารย์ประจำ)" ให้ถูกต้อง
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน ที่เป็นอาจารย์พิเศษ
ข้อคิดเห็น
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
ผศ.ดร.สำราญ การปรับปรุงหลักสูตรเป็นไปตามกรอบระยะเวลา และเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ระดับปริญญาตรี พ.ศ.2558 
หลักสูตรรายงาน "หลักสูตรได้เปิดดำเนินการเรียนการสอนในครั้งแรกตั้งแต่ภาคการศึกษา ที่ 1/2564" ขอให้ตรวจสอบปีการศึกษาที่เปิดดำเนินการเป็นปีแรก ปีการศึกษา 2558 หรือไม่
 
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ผลการประเมินจากผลการดำเนินงาน ตัวบ่งชี้ 1.1

องค์ประกอบที่ 2 การผลิตบัณฑิต

[ตัวบ่งชี้ 2.1] คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และ ด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ.2561

หมายเหตุ : *
(1) จำนวนบัณฑิตทั้งหมด หมายถึง ผู้รับปริญญา ในปีการศึกษา 2564 ประกอบด้วย บัณฑิตที่จบภาคการศึกษา 1/2564 , 2/2564 และ S/2565 [ปีต้องอัพเดตตามปีการศึกษาที่ประเมินย้อนหลัง 1 ปี]
(2) จำนวนบัณฑิตที่รับการประเมินจากผู้ใช้บัณฑิตต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาตาม (ข้อ1)

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
จำนวนบัณฑิตทั้งหมด 24 4.46
จำนวนบัณฑิตที่ได้รับการประเมินทั้งหมด 14
คะแนนเฉลี่ยรวมคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561 4.46
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผศ.ดร.สำราญ หลักสูตรมีการดำเนินการประเมินคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาต และด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ.2561
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ผศ.ดร.สำราญ ควรพัฒนาคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ด้านทักษะทางปัญญาให้มีผลสูงขึ้นในระดับดีมาก และผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561 ด้านบุคคลผู้เรียนรู้ให้มีผลสูงขึ้นในระดับดีมาก
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)

[ตัวบ่งชี้ 2.2] ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี

หมายเหตุ : *
(1) จำนวนบัณฑิตทั้งหมด จะต้องตรงกับตาราง ตัวบ่งชี้ 2.1
(2) จำนวนบัณฑิตที่ตอบแบบสำรวจจะต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
จำนวนบัณฑิตทั้งหมด 24 4.72
จำนวนบัณฑิตที่ตอบแบบสำรวจ 18
จำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษา [มีงานทำในองค์กร] 7
จำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษา [ประกอบอาชีพอิสระ] 2
จำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษา [ประกอบกิจการส่วนตัว/ธุรกิจครอบครัว] 8
จำนวนบัณฑิตที่ไม่ได้งานทำ 1
จำนวนบัณฑิตที่ศึกษาต่อ 0
จำนวนบัณฑิตที่อุปสมบท 0
จำนวนบัณฑิตที่เกณฑ์ทหาร 0
จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาที่มีงานทำก่อนเข้าศึกษา 0
ร้อยละที่ได้ 94.44
ผลลัพธ์ที่ได้ 4.72
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผศ.ดร.สำราญ บัณฑิตหลังจากสำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพได้สูงกว่าร้อยละ 70
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ผศ.ดร.สำราญ แนวทางเสริม ควรแนะนำบัณฑิตที่ยังไม่ได้งานทำให้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
ขอให้ปรับแก้ไขตัวเลขร้อยละที่ได้ จากร้อยละ 100 เป็น 94.44 และผลลัพธ์ที่ได้จาก 5.00 เป็น 4.72
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 2 (2 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 4.59 คะแนน

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

[ตัวบ่งชี้ 3.1] การรับนักศึกษา

คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การรับนักศึกษา:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผศ.ดร.สำราญ หลักสูตรมีระบบกลไกการรับสมัครนักศึกษา และมีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งการรับสมัครนักศึกษาใหม่มีผู้สมัครสนใจเข้าศึกษาเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ แต่หลักสูตรไม่มีการสรุปผลการดำเนินการในปีการศึกษา 2564 เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนา เพื่อการวางแผนดำเนินการแก้ไขปรับปรุงการดำเนินการ และขาดการอธิบายแผนการดำเนินงานในปีการศึกษา 2565 และไม่มีการสรุปผลการดำเนินการรับสมัครนักศึกษา ในปีการศึกษา 2565
อาจารย์รพีวรรณ มีนักศึกษาเข้าใหม่มากกว่าจำนวนที่ตั้งเป้าหมายไว้
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ผศ.ดร.สำราญ ควรมีการสรุปผลการดำเนินการรับสมัครนักศึกษา เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาปรับปรุง วางแผนการดำเนินการ
การเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผศ.ดร.สำราญ หลักสูตรมีระบบกลไกการเตรียมความพร้อมนักศึกษา และมีการนำระบบกลไกไปสู่การปฎิบัติ มีการวางแผนการพัฒนาปรับปรุง โดยนำผลการประเมินในปีการศึกษาที่ผ่านมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข มีการวางระบบอาจารย์ที่ปรึกษา แต่กระบวนการดำเนินงานยังขาดผลสรุปการดำเนินงานและผลลัพธ์ที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ผศ.ดร.สำราญ แนวทางเสริม ควรเสริมกิจกรรมการเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับทักษะการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยและพลวัตรของโลกวิชาชีพด้านการโฆษณาให้กับนักศึกษา
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)

[ตัวบ่งชี้ 3.2] การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา

คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ผศ.ดร.สำราญ หลักสูตรมีระบบกลไก การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา มีการส่งผลงานเข้าประกวดจนได้รับรางวัลเชิงประจักษ์
อาจารย์รพีวรรณ
 ผลงานของนักศึกษาสร้างชื่อเสียงให้กับวิทยาลัยนิเทศศาสตร์และมหาวิทยาลัยรังสิต เป็นที่ประจักษ์
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษาปริญญาตรี:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผศ.ดร.สำราญ หลักสูตรมีระบบกลไก มีการวางแผนดำเนินการและการดำเนินการ แต่ขาดการสรุปประเมินผลการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมเชิงประจักษ์ เพื่อนำผลไปพัฒนาปรับปรุงต่อไป
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ผศ.ดร.สำราญ ควรมีการประเมินสรุปผลการดำเนินการ เพื่อนำผลไปใช้ปรับปรุงในปีการศึกษาต่อไป
การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผศ.ดร.สำราญ มีระบบกลไก มีแผนการดำเนินการ มีกิจกรรมจำนวนมากในการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา และการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ผศ.ดร.สำราญ แต่ละกิจกรรมควรมีการประเมินผลการดำเนินการ เพื่อนำผลสรุปการดำเนินการไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงการดำเนินการในปีการศึกษาต่อไป
การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในการส่งเสริมให้เกิดการสร้างผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผศ.ดร.สำราญ มีระบกลไก มีแผนการดำเนินการ มีกิจกรรมจำนวนมากในการส่งเสริมการสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรม และมีผลงานที่เป็นรูปธรรมเชิงประจักษ์
เพื่อคะแนน 4.00 ขอให้เพิ่มเติมการรายงานการนำผลจากการทบทวนและปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานในการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา ทำให้นักศึกษาสามารถสร้างสรรค์ผลงานของตนเองจนได้รับรางวัลแล้วผลงานนั้นๆ สามารถนำไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมและตอบยุทธศาสตร์ชาติอย่างไร จำนวน/คุณภาพของผลงานดีขึ้นจากปีการศึกษาที่ผ่านมาอย่างเป็นรูปธรรมอย่างไร และขอให้รายงานสัมฤทธิผลร้อยละของนักศึกษาที่ได้รับการพัฒนาในศตวรรษที่ 21 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ผศ.ดร.สำราญ ควรมีการประเมินสรุปผลการดำเนินการ เพื่อนำผลไปใช้ในการปรับปรุงในปีการศึกษาต่อไป
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)

[ตัวบ่งชี้ 3.3] ผลที่เกิดกับนักศึกษา

หลักสูตรเปิดปีการศึกษา 2535 เป็นหลักสูตร 4 ปี (สำเร็จการศึกษาปีแรก: 2538)
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การคงอยู่
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2563
ร้อยละ 75.68
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2564
ร้อยละ 82.14
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2565
ร้อยละ 78.13
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ผศ.ดร.สำราญ ควรสร้างความเข้าใจกับนักศึกษาตั้งแต่เริ่มต้นของการสมัครเพื่อป็นข้อมูลการตัดสินใจเลือกเรียน 
การสำเร็จการศึกษา
ร้อยละอัตราสำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2563
ร้อยละ 56.80
ร้อยละอัตราสำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2564
ร้อยละ 64.30
ร้อยละอัตราสำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2565
ร้อยละ 68.80
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผศ.ดร.สำราญ อัตราแนวโน้นจำนวนนักศึกษาเพิ่มขึ้นทุกปีตั้งแต่ปีการศึกษา 2563-2565
ควรวางระบบกลไกและการดำเนินการ ที่ทำให้การสำเร็จการศึกษาเพิ่มขึ้น

-ขอให้ปรับแก้ไขตัวเลขร้อยละอัตราการสำเร็จการศึกษาตามเกณฑ์ ดังนี้
ปีการศึกษารับเข้า 2560 อัตราการสำเร็จตามเกณฑ์ฯ (ปีการศึกษา 2563) = 56.80
ปีการศึกษารับเข้า 2561 อัตราการสำเร็จตามเกณฑ์ฯ (ปีการศึกษา 2564) = 64.30
ปีการศึกษารับเข้า 2562 อัตราการสำเร็จตามเกณฑ์ฯ = 68.80 (ปีการศึกษา 2565) = 68.80
-ขอให้ปรับแก้ไขการรายงาน "ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการสำเร็จการศึกษา" ให้สอดคล้องกับตัวเลขในตาราง
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ผศ.ดร.สำราญ ควรพัฒนาระบบอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาปริญญานิพนธ์ให้มีการจัดทำแผนระยะการจบการศึกษาและแผนระยะเวลาในการดำเนินการทำปริญญานิพนธ์ เพื่อการกำกับติดตาม
ความพึงพอใจและผลการจัดการข้อร้องเรียนของนักศึกษา
ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาเฉลี่ย ปีการศึกษา 2563 ร้อยละ 4.75
ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาเฉลี่ย ปีการศึกษา 2564 ร้อยละ 4.79
ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาเฉลี่ย ปีการศึกษา 2565 ร้อยละ 4.81
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผศ.ดร.สำราญ ผลการดำเนินการมีแนวโน้มสูงตลอด 3 ปีการศึกษา
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ผศ.ดร.สำราญ ควรนำผลสรุปในการดำเนินงานของปีการศึกษา 2565 ไปใช้ในการวางแผนดำเนินงานในปีการศึกษาต่อไป
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 3 (3 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 3.00 คะแนน

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

[ตัวบ่งชี้ 4.1] การบริหารและพัฒนาอาจารย์

คะแนนที่ได้ 4
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ผศ.ดร.สำราญ หลักสูตรมีระบบกลไกการรับและแต่งตั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ระบบการบริหารอาจารย์ แนวทางการการดำเนินการอย่างเป็นระบบ มีการส่งเสริมพัฒนาอาจารย์ด้านวุฒิการศึกษา ผลงานทางวิชา และผลงานสร้างสรรค์ ที่เห็นเด่นชัดเป็นรูปธรรม
อาจารย์รพีวรรณ
 ผลงานของอาจารย์มีความหลากหลายและได้รับการเผยแพร่ในระดับนานาชาติ
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
ระบบการรับและแต่งตั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผศ.ดร.สำราญ หลักสูตรมีระบบกลไกการรับและแต่งตั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีการวางแผนและการดำเนินการรับสมัครอาจารย์ใหม่เพื่อทดแทนอาจารย์ที่ลาออก ที่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ผศ.ดร.สำราญ ควรมีการวางแผนระยาวในการรับสมัครอาจารย์ใหม่เพื่อทดแทนอาจารย์ที่เกษียณ
ระบบการบริหารอาจารย์:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผศ.ดร.สำราญ มีระบบกลไก การวางแผนการดำเนินการ การมอบหมายบทบาทแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ มีการส่งเสริมอาจารย์ในการศึกษาต่อระดับปริญญาเอก งานด้านวิชาการ งานสร้างสรรค์และการบริการวิชาการ
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ผศ.ดร.สำราญ ควรส่งเสริมอาจารย์ในการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ
ระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ให้มีคุณภาพทั้งด้านความรู้ ความสามารถในเนื้อหาวิชาที่รับผิดชอบ สามารถก้าวทันวิทยาการสมัยใหม่ มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ การวิจัย และการพัฒนาศาสตร์ในสาขาวิชาที่รับผิดชอบ:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผศ.ดร.สำราญ มีระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ ในการสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการจำนวนมากในเชิงประจักษ์
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรมีกระบวนการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ทั้งในด้านการบริการวิชาการและการผลิตผลงานวิชาการและผลงานสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพ ดังนั้นเพื่อให้สะท้อนผลลัพธ์การดำเนินงานที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม และสามารถประเมินเป็น 4.00 คะแนน ขอให้หลักสูตรเพิ่มเติมการรายงานการทบทวนและปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานจากปีการศึกษาที่ผ่านมา อันนำมาสู่กระบวนการดำเนินงานและผลลัพธ์ที่ได้ในด้านต่างๆ ที่มีคุณภาพดีขึ้นจากปีการศึกษาที่ผ่านมา เช่น ปีการศึกษาที่ผ่านมาการบริการวิชาการของอาจารย์ยังมีจำนวนน้อย แต่ในปีการศึกษา 2565 มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และผลงานวิชาการ ผลงานสร้างสรรค์ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรก็มีคุณภาพดีขึ้นจากปีการศึกษาที่ผ่านมา ขอให้ทำการเปรียบเทียบให้เห็นอย่างชัดเจน เพื่อผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
-แผนการบริหารและพัฒนาอาจารย์
-ผลงานของอาจารย์ขอให้ Upload เป็น Link หรือไฟล์บทความ 

[ตัวบ่งชี้ 4.2] คุณภาพอาจารย์

4.2.1 ร้อยละของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้งหมด 5 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 1
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 20.00
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 20 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผศ.ดร.สำราญ มีการส่งเสริมพัฒนาอาจารย์ในการศึกษาในระดับปริญญาเอก
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ผศ.ดร.สำราญ จำนวนอาจารย์คุณวุฒิระดับปริญญาเอกจำนวนน้อย
4.2.2 ร้อยละของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้งหมด 5 1.67
[2] ไม่มีตำแหน่งทางวิชาการ [อาจารย์] 4
[3] ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ 1
[4] ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ 0
[5] ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ 0
[6] ดำรงตำแหน่งทางวิชาการทั้งหมด [3] + [4] + [5] 1
[7] ร้อยละที่ได้ [6] X 100 / [1] 20.00
[8] ผลลัพธ์ที่ได้ [7] x 5 / 60 1.67
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผศ.ดร.สำราญ มีอาจารย์ดำเนินการจัดทำผลงานทางวิชาที่สามารถยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการได้จำนวนมาก
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ผศ.ดร.สำราญ ควรส่งเสริมให้อาจารย์ยื่นผลงานทางวิชาการเพื่อการยื่นขอเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ
4.2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
หมายเหตุ เป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในรอบปีที่รับการประเมินเท่านั้น [ช่องไหนไม่มีผลงานให้ใส่ 0 ไม่ปล่อยว่าง]
จำนวนผลงานทางวิชาการตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 1 1 0 0
จำนวนผลงานสร้างสรรค์ตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 0 4 0
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] ผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ 4.20 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้งหมด 5
[3] ร้อยละที่ได้ [1] X 100 / [2] 84.00
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 20 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผศ.ดร.สำราญ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีผลงานทางวิชาและงานสร้างสรรค์ทุกท่าน
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ผศ.ดร.สำราญ ควรส่งเสริมให้อาจารย์ทุกท่านมีผลงานงานวิชาการและผลงานสร้างสรรค์
รายการหลักฐาน ตัวบ่งชี้ 4.2 คุณภาพอาจารย์
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ตัวบ่งชี้ 4.2 คุณภาพอาจารย์ คะแนนที่ได้ 3.89 คะแนน

[ตัวบ่งชี้ 4.3] ผลที่เกิดกับอาจารย์

คะแนนที่ได้ 3
หมายเหตุ :
(1) ยกเว้นกรณี การเกษียณอายุงาน และการเสียชีวิต
(2) หากรายชื่อมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากปรับเข้าเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร พ.ศ. 2558 ให้ถือว่าอัตราการคงอยู่ครบในปีการศึกษาแรกที่ปรับเข้าเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร 2558
(3) หากรายชื่อที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบท่านใหม่ต้องมีประสบการณ์ร่วมบริหารหลักสูตรมาไม่น้อยกว่า 9 เดือน (มีหลักฐานรายงานการประชุมภาควิชาหรือการประชุมหลักสูตร)
(4) รายงานถึงสิ้นสุดปีการศึกษา 2565 และจะได้รับการประเมินแนวโน้มผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นต้องประเมิน จาก ≥ 3 ชุดข้อมูล
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การคงอยู่ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผศ.ดร.สำราญ หลักสูตรมีระบบกลไก และดำเนินการสรรหาอาจารย์ใหม่เข้ามาทดแทนในตำแหน่งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่ลาออก
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ผศ.ดร.สำราญ ควรมีการวางแผนระยะยาวเพื่อการรองรับอาจารย์ที่เกษียณ
ความพึงพอใจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีต่อการบริหารหลักสูตร
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผศ.ดร.สำราญ หลักสูตรมีระบบกลไก มีการดำเนินการที่ส่งผลการประเมินความพึงใจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีแนวโน้นที่ดีต่อเนื่องตลอด 3 ปีการศึกษา (2563-2565)
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ผศ.ดร.สำราญ ควรนำผลการประเมินไปพัฒนาปรับปรุงด้านการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ให้มีผลที่ดีขึ้น
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 4 (3 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 3.63 คะแนน

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

[ตัวบ่งชี้ 5.1] สาระของรายวิชาในหลักสูตร

38
32
84.21
คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การออกแบบหลักสูตร และสาระรายวิชาในหลักสูตรที่ปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน มีหลักสูตรหรือรายวิชาที่เป็นความร่วมมือกับสถานประกอบการ
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผศ.ดร.สำราญ ควรมีการสรุปผลการออกแบบหลักสูตรในแต่ละปีการศึกษา เพื่อนำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงหลักสูตรในรอบต่อไป
จุดเด่น มีระบบกลไก
อาจารย์รพีวรรณ
 หลักสูตรมีความมุ่งมั่นในการปรับสาระของรายวิชาถึงร้อยละ 80 จากจำนวนที่เปิดสอน 
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ผศ.ดร.สำราญ แนวทางเสริม ควรมีการทำแผนการอออกแบบหลักสูตร ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และกำหนดอัตลักษณ์ การกำหนด PLO และ CLO
การปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าในศาสตร์สาขานั้นๆ และเชื่อมโยงกับการนำไปใช้ได้จริง
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผศ.ดร.สำราญ หลักสูตรมีระบบกลไกการปรับปรุงหลักสูตร มีการปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันในรายวิชาของหลักสูตรมากกว่าร้อยละ 80
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ผศ.ดร.สำราญ ควรมีการเก็บรวบรวมผลการประเมินเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงหลักสูตรในรอบต่อไป
มีการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิที่ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน (Learner Person, Innovative Co-Creator, Active Citizen) ตามวิสัยทัศน์และจุดเน้นของหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผศ.ดร.สำราญ หลักสูตรมีการบูรณาการการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนาผู้เรียนตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ครอบคลุมผลลัพธ์ 3 ด้าน ที่เห็นเด่นชัดเป็นรูปธรรม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ผศ.ดร.สำราญ ควรมีการบูรณาการเพิ่มเติมในรายวิชาต่างๆ ให้มีจำนวนมากขึ้น
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)

[ตัวบ่งชี้ 5.2] การวางระบบผู้สอน และกระบวนการจัดการเรียนการสอน

คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ผศ.ดร.สำราญ หลักสูตรมีกระบวนการวางระบบอาจารย์ผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน และมีผลการดำเนินที่เป็นรูปธรรมเชิงประจักษ์ที่มีผลการประเมินในระดับดี
อาจารย์รพีวรรณ มีการบูรณาการรายวิชาต่างๆ กับกิจกรรมที่เด่นชัด
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดผู้สอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผศ.ดร.สำราญ หลักสูตรมีการกำหนดเกณฑ์อาจารย์ผู้สอน มีระบบในการประเมินผลความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับดี
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ผศ.ดร.สำราญ ควรนำผลการประเมินไปใช้ในการวางแผนดำเนินการพัฒนาปรังปรุงการดำเนินการในปีการศึกษาต่อไป
การกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียนรู้ (มคอ.3 และ มคอ.4) และการจัดการเรียนการสอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผศ.ดร.สำราญ มีระบบกลไกการกำกับ ติดตามการจัดแผนการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอน แต่ยังไม่มีการประเมินสรุปผลการดำเนินการ
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ผศ.ดร.สำราญ ควรมีการประเมินสรุปผลการดำเนินการ เพื่อนำผลไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงการดำเนินการในปีการศึกษาต่อไป
การจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีที่มีการบูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผศ.ดร.สำราญ หลักสูตรมีกระบวนการบูรณาการโครงการกับการวิจัย การบริการวิชาการ และการบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยทั้งองค์กรภายนอกและภายในจำนวนหลายโครงการ
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ผศ.ดร.สำราญ ควรมีการบูรณาการวิจัย การบริการวิชาการ และการบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยกับรายวิชาต่างๆ
-ขอให้เพิ่มเติมการรายงานผลลัพธ์ที่ได้จากการบูรณาการศาสตร์ในด้านต่างๆ เนื่องจากเป็นจุดเด่นที่หลักสูตรมีการบูรณาการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ ทำให้นักศึกษาผลิตผลงานนวัตกรรมสื่อดิจิทัลสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน และเผยแพร่ในระบบ Thai Mooc 
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)

[ตัวบ่งชี้ 5.3] การประเมินผู้เรียน

คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ผศ.ดร.สำราญ หลักสูตรมีการพัฒนากลไกการตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ มีการทวนสอบในรูปแบบของคณะกรรมการ มีการนำผลมาพัฒนาปรับปรุงการดำเนินการ
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ที่ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน (Learner Person, Innovative Co-Creator, Active Citizen) ตามวิสัยทัศน์และจุดเน้นของหลักสูตร ตลอดจนมาตรฐานวิชาชีพ (ถ้ามี)
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผศ.ดร.สำราญ หลักสูตรมีระบบกลไก มีการวางแผนการดำเนินการโดยนำผลสรุปจากปีการศึกษา 2564 มาวางแผนดำเนินการปรุงในปีการศึกษา 2565
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ผศ.ดร.สำราญ ควรเพิ่มการทวนสอบในรายวิชาให้มีจำนวนมากขึ้น และควรนำผลการทบทวนสอบไปวางแผนการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ
การตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผศ.ดร.สำราญ หลักสูตรมีคณะกรรมการตรวจสอบผลการเรียนรู้ แต่ไม่มีการสรุปผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษเพื่อเป็นข้อมูลในการนำไปดำเนินการพัฒนาปรับปรุงในปีการศึกษาต่อไป
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ผศ.ดร.สำราญ ควรมีการสรุปผลการดำเนินการตรวสอบการประเมินผลการเรียนรู้
อ.รพีวรรณ ขยายความการทวนสอบของหลักสูตรให้มีรายละเอียดที่ชัดเจน

-การรายงานการตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา หลักสูตรต้องแสดงให้เห็นถึงการนำผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในแต่ละรายวิชาที่มีความเชื่อมโยงกับ TQF ว่ามีแนวโน้มที่ดีขึ้นหรือไม่ อันเป็นผลมาจากการออกแบบหลักสูตรและสาระรายวิชาในหลักสูตร (ตัวบ่งชี้ 5.1) และเชื่อมโยงกับกระบวนการจัดการเรียนการสอน (ตัวบ่งชี้ที่ 5.2) เพราะมีเครื่องมือวัดคุณภาพที่ดี (ตัวบ่งชี้ 5.3) นั่นหมายถึงคะแนนระดับ 4.00 ขององค์ประกอบที่ 5 จะต้องมีความเชื่อมโยงกันของตัวบ่งชี้ที่ 5.1, 5.2 และ 5.3
-หลักสูตรเปิดการเรียนการสอน 38 รายวิชา ทวนสอบ 7 วิชา = ร้อยละ 18.42 *** ไม่ถึงร้อยละ 25 *** และหลักสูตรรายงานร้อยละ 20.54 
การกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอน และประเมินหลักสูตร (มคอ.5 มคอ.6 และ มคอ.7)
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผศ.ดร.สำราญ หลักสูตรมีระบกลไกในการกำกับ ติดตาม ประเมินการจัดการเรียนการสอนและประเมินหลักสูตรครบทุกรายวิชา
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ผศ.ดร.สำราญ ควรมีการสรุปผลการประเมิน เพื่อนำไปใช้พัฒนาปรับปรุงในปีการศึกษาต่อไป
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)

[ตัวบ่งชี้ 5.4] ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

หมายเหตุ: KPI ให้สอดคล้องและเป็นไปตามที่ระบุใน มคอ.2
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
1. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรอย่างน้อยร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผน ติดตาม และทบทวนการดำเนินงานหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผศ.ดร.สำราญ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกคนมีส่วนร่วมประชุมวางแผนการดำเนินการหลักสูตร ร้อยละ 80
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ไม่มี
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
2. มีรายละเอียดของหลักสูตรตามแบบ มคอ.2 ที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ หรือมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา [ถ้ามี]
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผศ.ดร.สำราญ หลักสูตรมีการจัดทำ มคอ. 2 สอดคล้องตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ไม่มี
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
3. มีรายละเอียดของรายวิชา และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม [ถ้ามี] ตามแบบ มคอ.3 และ มคอ.4 อย่างน้อยก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาให้ครบทุกรายวิชา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผศ.ดร.สำราญ หลักสูตรมีการจัดทำ มคอ.3 และมคอ.4 ครบทุกรายวิชาที่เปิดสอนภายในระยะเวลาที่กำหนด
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ไม่มี
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
4. จัดทำรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา และรายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม [ถ้ามี] ตามแบบ มคอ.5 และ มคอ.6 ภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่เปิดสอนให้ครบทุกรายวิชา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผศ.ดร.สำราญ หลักสูตรมีการจัดทำ มคอ.5 และมคอ.6 ครบทุกรายวิชาที่เปิดสอนภายในระยะเวลาที่กำหนด
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ไม่มี
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
5. จัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตรตามแบบ มคอ.7 ภายใน 60 วัน หลังสิ้นสุดปีการศึกษา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผศ.ดร.สำราญ หลักสูตรมีการจัดทำ มคอ.7 ภายในระยะเวลาที่กำหนด
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ไม่มี
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
6. มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ที่กำหนดใน มคอ.3 และ มคอ.4 [ถ้ามี] อย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ผศ.ดร.สำราญ ควรมีการทวนสอบในรายวิชาต่าง ๆ เพิ่ม ตามเกณฑ์อย่างน้อยร้อยละ 25
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
7. มีการพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน หรือการประเมินผลการเรียนรู้จากผลการประเมินการดำเนินงานที่รายงานใน มคอ.7 ปีที่แล้ว
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผศ.ดร.สำราญ หลักสูตรมีการพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน หรือการประเมินผลการเรียนรู้จากผลการประเมินในรายงาน มคอ.7 เมื่อปีที่แล้ว
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ไม่มี
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
8. อาจารย์ใหม่ [ถ้ามี] ทุกคน ได้รับการปฐมนิเทศ หรือคำแนะนำด้านการจัดการเรียนการสอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผศ.ดร.สำราญ หลักสูตรมีการโอนย้ายอาจารย์ใหม่จากหลักสูตรอื่น จำนวน 1คน
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ไม่มี
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ข้อมูล/รายงานการประชุมที่แสดงข้อมูลการปฐมนิเทศ หรือการให้คำแนะนำด้านการจัดการเรียนการสอนให้กับอาจารย์ใหม่
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
9. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกคนได้รับการพัฒนาทางวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผศ.ดร.สำราญ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกคนได้รับการพัฒนาทางวิชาการ วิชาชีพ อย่างน้อยกว่า 1 ครั้งต่อปี
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ไม่มี
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
10. จำนวนบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอน [ถ้ามี] ได้รับการพัฒนาวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ต่อปี
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผศ.ดร.สำราญ หลักสูตรมีจำนวนบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอน ได้รับการพัฒนาวิชาการ วิชาชีพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ไม่มี
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ข้อมูลแสดงกิจกรรม/โครงการ ที่ระบุหน่วยงานผู้จัด และวันที่เข้าร่วมอบรม 
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
11. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้าย/บัณฑิตใหม่ที่มีต่อคุณภาพหลักสูตร เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.50 จากคะแนนเต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักฐานในระบบ DBS ปรากฏผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 และบัณฑิตใหม่ที่มีต่อคุณภาพหลักสูตร = 4.53
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
12. ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตใหม่ เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.50 จากคะแนนเต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตใหม่ สอดคล้องกับตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ต้องมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.46 
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
13. ร้อยละ 80 ของรายวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอน สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนด
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผศ.ดร.สำราญ รายวิชาที่เปิดสอนในปีการศึกษา 2565 สามารถดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ คิดเป็นร้อนละ 100
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ไม่มี
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
14. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อคุณภาพการสอน รวมทุกรายวิชา เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
-
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
หลักสูตรรายงานผลการประเมินคุณภาพการสอนโดยรวม ที่มาจากระบบประเมินการสอนของอาจารย์โดยนักศึกษา มีค่าเฉลี่ยรวม 4.32
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ไม่พบหลักฐานในระบบ DBS ขอให้เพิ่มเติมหลักฐาน ฆสบ.5.4.14 สรุปผลการประเมินรายวิชา ปีการศึกษา 2565
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
15. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อทรัพยากรสนับสนุนการเรียนการสอน เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.51 จากคะแนน เต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรมีการประเมินระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อทรัพยากรสนับสนุนการเรียนการสอน ที่ค่าเฉลี่ย 4.03
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ขอให้ใช้ข้อมูลผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อทรัพยากรสนับสนุนการเรียนการสอนที่มาจากนักศึกษาของหลักสูตร 
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ข้อมูลสรุปผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อทรัพยากรสนับสนุนการเรียนการสอน ของนักศึกษาสาขาวิชาการโฆษณาและสื่อสร้างสรรค์ ที่ปรากฏในระบบ DBS จะเป็นผลการประเมินระดับวิทยาลัย
ผลการประเมินจากผลการดำเนินงาน ตัวบ่งชี้ 5.4
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] รวมจำนวนตัวบ่งชี้ในแต่ละปี 15 5
[2] จำนวนตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการผ่านเฉพาะตัวบ่งชี้ที่ 1-5 1-5
[3] ร้อยละของตัวบ่งชี้ที่ 1-5 ที่ผ่าน [ถ้าผ่านทั้ง 5 ข้อจะเป็นร้อยละ 100] 100
[4] จำนวนตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการผ่านรวม 15
[5] ร้อยละของตัวบ่งชี้ทั้งหมดที่ผ่าน 100.00
*หมายเหตุการกำหนดเงื่อนไขเกณฑ์การประเมิน
ถ้า [3] น้อยกว่าร้อยละ 100 ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 0.00
ถ้า [5] มีการดำเนินงานน้อยกว่า ร้อยละ 80 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 0.00
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 80 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 3.50
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 80.01 - 89.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 4.00
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 90.00 -94.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 4.50
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 95.00 -99.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 4.75
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 100 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 5.00
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 5 (4 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 3.50 คะแนน

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

[ตัวบ่งชี้ 6.1] สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

คะแนนที่ได้ 4
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ผศ.ดร.สำราญ หลักสูตรมีระบบกลไกการพัฒนาปรับปรุงสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ มีการดำเนินปรับปรุงในการสนับการเรียนการสอน ทำให้ผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อสิ่งสนับสนุนอยู่ในระดับดี
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
ระบบการดำเนินงานของภาควิชา/คณะ/สถาบัน โดยมีส่วนร่วมของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เพื่อให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผศ.ดร.สำราญ มีการพัฒนาปรับปรุงสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของนักศึกษาให้ทันสมัยสอดคล้องกับเครื่องมือที่องค์กรวิชาชีพใช้
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ผศ.ดร.สำราญ ควรมีการปรับปรุงสิ่งสนับการเรียนรู้ในด้านต่างๆ เพิ่มขึ้นในทุกปี โดยนำผลการประเมินของอาจารย์และนักศึกษามาทบทวนเพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงในปีการศึกษาต่อไป
จำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผศ.ดร.สำราญ หลักสูตรมีการบูรณาการสิ่งสนับสนุนและสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการเรียนรู้ร่วมกับสาขาวิชาต่างๆ ภายในวิทยาลัยได้อย่างเหมาะสม สามารถลดการร้องเรียนของนักศึกษาอย่างเห็นผลในเชิงประจักษ์
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ผศ.ดร.สำราญ ควรมีการจัดสรรงบประมาณและจัดซื้อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการเรียนรู้ให้มีปริมาณที่เหมาะสมกับจำนวนักศึกษา
กระบวนการปรับปรุงตามผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
หลักสูตรมีกระบวนการปรับปรุงโดยการนำผลการประเมินและข้อเรียกร้องของนักศึกษา มาเป็นข้อมูลในการพัฒนาปรับปรุงให้ทันสมัย
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ผศ.ดร.สำราญ ควรมีการจัดสรรงบประมาณและจัดซื้อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการเรียนรู้ให้มีปริมาณที่เหมาะสมกับจำนวนักศึกษา
-ขอให้ปรับการรายงานเพื่อแสดงถึงกระบวนการปรับปรุงสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ทำให้มีจำนวนเหมาะสมกับการใช้งาน และการสร้างสรรค์ผลงานของนักศึกษา ทำให้ผลงานของนักศึกษาได้รับรางวัลจากโครงการต่างๆ อันเนื่องมาจากการมีสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนที่ทันสมัย เหมาะสม และเพียงพอ 
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 6 (1 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 4.00 คะแนน

รายงานผลการวิเคราะห์จุดเด่น/จุดแข็ง แนวทางเสริม จุดที่ควรพัฒนา และแนวทางปรับปรุง

จุดเด่นและแนวทางเสริม

  1. อาจารย์มีผลงานทางวิชา และผลงานสร้างสรรค์จำนวนมาก ที่สามารถนำไปเป็นผลงานในการยื่นขอเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชา
  2. นักศึกษามีรางวัลจากการประกวดจากสถาบันภายนอกและสถาบันภายใน
  3. หลักสูตรมีการบูรณาการรายวิชาร่วมกับองค์กรภายนอก และผลงานนักศึกษายังสร้างชื่อเสียงให้กับวิทยาลัยนิเทศศาสตร์และมหาวิทยาลัยรังสิตอีกด้วย

จุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง

  1. ควรมีการส่งเสริมอาจารย์ในการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชา
  2. มีนักศึกษาจำนวนน้อยที่สำเร็จการศึกษาตามเกณฑ์ระยะเวลาของหลักสูตร
  3. หลักสูตรควรมีการวางแผนการส่งเสริมให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรผลิตผลงานวิชาการที่เป็นงานวิจัยให้มีจำนวนมากขึ้น

สรุปผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลดำเนินการ
กรรมการ
1.1 การบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่กำหนดโดยสกอ. ผ่าน
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ.2561 4.46
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี 4.72
3.1 การรับนักศึกษา 3.00
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา 3.00
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา 3.00
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์ 4.00
4.2 คุณภาพอาจารย์ 3.89
4.3 ผลที่เกิดกับอาจารย์ 3.00
5.1 สาระของรายวิชาในหลักสูตร 3.00
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน 3.00
5.3 การประเมินผู้เรียน 3.00
5.4 ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 5.00
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 4.00
ผลการประเมินเฉลี่ยรวม [13 ตัวบ่งชี้] 3.62

การวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาภายใน ของคณะกรรมการประเมิน ฯ

องค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
1 ผ่านการประเมิน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 2 - - 4.59 4.59 ระดับคุณภาพดีมาก
3 3 3.00 - - 3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
4 3 3.63 - - 3.63 ระดับคุณภาพดี
5 4 3.00 3.67 - 3.50 ระดับคุณภาพดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ระดับคุณภาพดี
ผลการประเมิน 3.27 3.75 4.59 3.62 ระดับคุณภาพดี
ระดับคุณภาพ ระดับคุณภาพดี ระดับคุณภาพดี ระดับคุณภาพดีมาก