รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565

หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเขียนบทและการกำกับภาพยนตร์และโทรทัศน์

วันที่ประเมิน: 29 สิงหาคม 2566, 09:30น.

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

[ตัวบ่งชี้ 1.1] การบริหารการจัดการหลักสูตรตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร

เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
1. จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 3 คน และเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้ และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรครบถ้วน เป็นไปตามเกณฑ์
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งศาสตราจารย์ขึ้นไป และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเป็นไปตามเกณฑ์
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
3. คุณสมบัติของอาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไป และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
คุณสมบัติของอาจารย์ประจำหลักสูตรเป็นไปตามเกณฑ์
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
4. คุณสมบัติอาจารย์ผู้สอน ที่เป็นอาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน หรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอน และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็น
คุณสมบัติอาจารย์ผู้สอนที่เป็นอาจารย์ประจำเป็นไปตามเกณฑ์
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน ที่เป็นอาจารย์พิเศษ (ถ้ามี) คุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่าหรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่ามีประสบการณ์ทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาที่สอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง ทั้งนี้ มีชั่วโมงสอนไม่เกินร้อยละ 50 ของรายวิชา โดยมีอาจารย์ประจำเป็นผู้รับผิดชอบรายวิชานั้น
ข้อคิดเห็น
คุณสมบัติอาจารย์ผู้สอนที่เป็นอาจารย์พิเศษเป็นไปตามเกณฑ์ 
ขอให้ระบุจำนวนผลงานวิชาการในรอบ 5 ปี ย้อนหลังของอาจารย์พิเศษ
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ไฟล์ผลงานวิชาการในรอบ 5 ปีของอาจารย์พิเศษ
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
5.คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ
  1. เป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และ
  2. มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระเป็นไปตามเกณฑ์
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
6.คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม (ถ้ามี)

อาจารย์ประจำต้องมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย หรือ

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่าและมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติ ซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระไม่น้อยกว่า 10 เรื่อง หากไม่มีคุณวุฒิหรือประสบการณ์ตามที่กำหนดจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงเป็นที่ยอมรับซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ โดยผ่านการเห็นชอบของสภาสถาบันและแจ้ง กกอ. ทราบ

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
7.คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์
อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย อาจารย์ประจำหลักสูตร และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกไม่น้อยกว่า 3 คน ประธานผู้สอบวิทยานิพนธ์ต้องไม่เป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก หรือที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม
อาจารย์ประจำหลักสูตร ต้องมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย หรือ
ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า และมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติ ซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระไม่น้อยกว่า 10 เรื่อง หากไม่มีคุณวุฒิหรือประสบการณ์ตามที่กำหนดจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูง เป็นที่ยอมรับ ซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ โดยผ่านความเห็นชอบของสภาสถาบันและแจ้ง กกอ. ทราบ
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์เป็นไปตามเกณฑ์
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
8. การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา
แผน ก1 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ.
แผน ก2 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. หรือ นำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการ (proceedings)
แผน ข รายงานการค้นคว้าหรือส่วนหนึ่งของการค้นคว้าอิสระต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาเป็นไปตามเกณฑ์
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
9. ภาระงานอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา
วิทยานิพนธ์ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1คน ต่อ นักศึกษา 5 คน
การค้นคว้าอิสระ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คน ต่อ นักศึกษา 15 คน หากอาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอกและมีตำแหน่งทางวิชาการหรือปริญญาโทและตำแหน่งทางวิชาการระดับรองศาสตราจารย์ขึ้นไป 1 คน ต่อนักศึกษา 10 คน
หากเป็นที่ปรึกษาทั้ง 2 ประเภท ให้เทียบสัดส่วนนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ 1 คนเทียบเท่ากับ นักศึกษาที่ค้นคว้าอิสระ 3 คน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
รศ.ดร.ลักษณา ไม่ปรากฏภาระงานอาจารย์ ขอให้ปรับการรายงาน ดังนี้
1.ผศ.ดร.ฉลองรัฐ เฌอมาลย์ชลมารค เป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ จำนวน 8 คน
รายชื่อนักศึกษา คนที่ 1...............................
ระบุหัวข้อวิทยานิพนธ์ .................................
รายชื่อนักศึกษา คนที่ 2...............................
ระบุหัวข้อวิทยานิพนธ์ .................................
.
.
.
รายชื่อนักศึกษา คนที่ 8...............................
ระบุหัวข้อวิทยานิพนธ์ .................................

​​​​​​​
​​​​​​​

 
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
เพิ่มเติมรายการหลักฐานตัวบ่งชี้ 1.1 ข้อ 9 ในระบบ DBS เช่น คำสั่งแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ เป็นต้น
เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น
ปรับปรุงหลักสูตรตามกรอบเวลาที่กำหนด
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ผลการประเมินจากผลการดำเนินงาน ตัวบ่งชี้ 1.1

องค์ประกอบที่ 2 การผลิตบัณฑิต

[ตัวบ่งชี้ 2.1] คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และ ด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ.2561

หมายเหตุ : *
(1) จำนวนบัณฑิตทั้งหมด หมายถึง ผู้รับปริญญา ในปีการศึกษา 2564 ประกอบด้วย บัณฑิตที่จบภาคการศึกษา 1/2564 , 2/2564 และ S/2565 [ปีต้องอัพเดตตามปีการศึกษาที่ประเมินย้อนหลัง 1 ปี]
(2) จำนวนบัณฑิตที่รับการประเมินจากผู้ใช้บัณฑิตต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาตาม (ข้อ1)
(3) ในกรณีหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาให้ยึดข้อมูลตามบัณฑิตวิทยาลัย

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาทั้งหมด 1 4.68
จำนวนบัณฑิตที่ได้รับการประเมินทั้งหมด 1
คะแนนเฉลี่ยรวมคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561 4.68
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
จุดเด่น คือ ผลการประเมินมหาบัณฑิตอยู่ในระดับดีมาก
ขอให้หลักสูตรใช้ข้อมูลผลการประเมินจากบัณฑิตวิทยาลัย โดยมีคะแนนผลการประเมินคุณภาพบัณฑิตอยู่ที่ 4.68
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
รศ.ดร.ลักษณา ในรอบปีการประเมินพบว่ามีจำนวนนักศึกษาที่จบเพียง 1 คน หลักสูตรควรหาแนวทางทำให้บัณฑิตจบได้มากขึ้นในปีการศึกษาต่อไป
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)

[ตัวบ่งชี้ 2.2] ผลงานของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่

หมายเหตุ : *
(1) การนับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานนักศึกษา และผู้สำเร็จการศึกษา นับ ณ วันที่ได้รับการตีพิมพ์ผลงานในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติ มิได้นับจากวันที่ได้รับการตอบรับ (Accepted) และ
(2) ผลงานของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาให้นับผลงานทุกชิ้นที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในปีการศึกษาที่ประเมิน (ปีการศึกษา 2565 จะประกอบด้วย จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาในภาค S/2565, 1/2565 และ 2/2565)
(3) ในกรณีที่ไม่มีผู้สำเร็จการศึกษาไม่พิจารณาตัวบ่งชี้นี้ (ให้ระบุ N/A)
(4) ช่องไหนไม่มีผลงานให้ใส่ 0 ไม่ปล่อยว่าง

ระบุจำนวนผลงานทางวิชาการตามค่าถ่วงน้ำหนัก (ชิ้น)
0.10 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
0 0 0 3 0 0
ระบุจำนวนผลงานสร้างสรรค์ตามค่าถ่วงน้ำหนัก (ชิ้น)
0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
0 0 0 0 0
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] ผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ 1.80 5.00
[2] จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท 1
[3] ร้อยละที่ได้ [1] X 100 / [2] 180.00
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 40 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา จุดเด่น มีการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานนักศึกษาร่วมกับอาจารย์จำนวน 3 ชิ้นงาน เมื่อเทียบกับจำนวนนักศึกษาที่จบได้ค่าผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ ในปีการศึกษา 2565 มีผู้สำเร็จการศึกษา 1 คน จาก แผน ก (วิทยานิพนธ์) 1 คน และมีผลงานตีพิมพ์ของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษา  จำนวน 3 ชิ้นงานที่ตีพิมพ์เผยแพร่แล้วในปีการศึกษา 2565 ประกอบด้วย 
1. ปณตคุณ กิรณะวัฒน์ และ ฉลองรัฐ  เฌอมาลย์ชลมารค. (2566)  การสะท้อนสังคมในซีรีส์ Black Mirror และงานสร้างสรรค์บทภาพยนตร์ เรื่อง “The Writer”  นิเทศศาสตรปริทัศน์.ปีที่ 27 ฉบับที่ 1 (มกราคม - เมษายน 2566), หน้า153-164       
2. วัชรีพร เทียนเงิน และ อานิก ทวิชาชาติ. (2565) “การวิเคราะห์ภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์ที่สะท้อนภาพสังคม. นิเทศศาสตรปริทัศน์.  ปีที่ 26ฉบับที่ 3 (กันยายน - ธันวาคม 2565) หน้า 141-148
3. ชญาน์นันท์ วงศ์ศรีแก้วและอานิก ทวิชาชาติ(2565) “บทบาทของตัวละครที่มีรูปร่างอ้วนจากสื่อละครโทรทัศน์ไทย” นิเทศศาสตรปริทัศน์.  ปีที่ 26ฉบับที่ 3 (กันยายน - ธันวาคม 2565) หน้า 160-167
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ไม่มี
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 2 (2 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 4.84 คะแนน

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

[ตัวบ่งชี้ 3.1] การรับนักศึกษา

คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
รศ.ดร.ลักษณา มีกระบวนการที่ทำให้การรับนักศึกษาสะดวกขึ้น และมีความยืดหยุ่น ทำให้จำนวนนักศึกษาแรกเข้า ในรอบปีที่ผ่านมาสูงขึ้น และอัตราคงอยู่ในแต่ละปียังคงที่
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ หลักสูตรมีการเปิดรับนักศึกษาต่างชาติ ทำให้มีจำนวนนักศึกษาเพิ่มขึ้นเด่นชัด โดยปีการศึกษา 2565 มีนักศึกษาหลักสูตรภาษาอังกฤษ 20 คน นักศึกษาหลักสูตรภาษาไทยจำนวน 5 คน
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การรับนักศึกษา:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา มีการจัดกระบวนการเสริมหลายประการในการรับนักศึกษาที่ไทยและต่างชาติ
ผศ.ดร.ดวงทิพย์
 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงระบบการบริหารหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้หลักสูตรมีคุณภาพและตอบสนองความต้องการของนักศึกษาและสังคมได้อย่างเหมาะสม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
รศ.ดร.ลักษณา มีข้อสังเกตถึงจำนวนนักศึกษาไทยลดลง ขณะที่นักศึกษาต่างชาติเพิ่มขึ้น ควรหาเหตุผลเพื่อเป็นแนวทางปรับปรุงต่อไป
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา ควรให้โอกาสอาจารย์ได้รับการอบรมและพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องกับการบริหารหลักสูตร เพื่อเสริมสร้างความรู้และความเชี่ยวชาญ

มีการรายงานระบบกลไก การนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติในปีการศึกษา 2565 แต่ไม่พบการประเมินกระบวนการบวน การปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน เพื่อแสดงถึงผลลัพธ์ที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม
***ขอให้ปรับแก้ไขตัวเลขในตารางข้อมูลนักศึกษา เลขาฯ นำส่งไฟล์คำนวณให้หลักสูตรหลังตรวจประเมิน***
-ขอให้เพิ่มเติมการรายงานกระบวนการรับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติมีกระบวนการรับสมัครที่แตกต่างกันอย่างไร 
การเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา พบว่ามีหลายกลวิธีในการเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่ที่เกิดจากการประเมินในปีที่ผ่านมา
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ หลักสูตรมีกลไกการจัดปฐมนิเทศที่ครอบคลุมทั้งระบบการเรียนการสอน แผนการศึกษา กฎระเบียบ และสิ่งอำนวยความสะดวก ซึ่งช่วยให้นักศึกษามีความเข้าใจและมั่นใจก่อนเข้าเรียน
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
รศ.ดร.ลักษณา ควรมีการประเมินว่ากลวิธีใดที่ทำให้ประสบความสำเร็จในการรับสมัครและเพิ่มอัตราการเติบโตในการรับสมัคร
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา ควรตรวจสอบและปรับปรุงโครงสร้างและเนื้อหาของกิจกรรมปฐมนิเทศ เพื่อให้เข้ากับสภาวะและความต้องการของนักศึกษาในยุคปัจจุบัน
-มีการรายงานระบบกลไก การนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติในปีการศึกษา 2565 แต่ไม่พบการประเมินกระบวนการบวน การปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน เพื่อแสดงถึงผลลัพธ์ที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม
-หลักสูตรมีกระบวนการเตรียมความพร้อมให้กับนักษาที่ไม่มีพื้นฐานในศาสตร์ของสาขาอย่างไร หรือมีการเตรียมความพร้อมด้านภาษาอังกฤษอย่างไร
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)

[ตัวบ่งชี้ 3.2] การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา

คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การควบคุมดูแลการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์แก่บัณฑิตศึกษา:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา หลักสูตรมีหลายช่องทางในการติดตามดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิด และให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่องส่งผลต่ออัตราการคงอยู่อย่างชัดเจน
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ หลักสูตรได้จัดระบบอาจารย์ที่ปรึกษา โดยมีคณาจารย์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา และแต่งตั้งคณะกรรมการดูแล ซึ่งมีการกำหนดตารางเวลาให้คำปรึกษาอย่างเพียงพอต่อการให้คำปรึกษา และสามารถติดตามผลและนัดหมายผ่านสื่อต่างๆ เช่น Line, WeChat, และ Facebook หรือทางโทรศัพท์
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
รศ.ดร.ลักษณา เสริมกระบวนการและบุคคลในการสร้างระบบการดูแลติดตามนักศึกษา เพื่อทำปริญญานิพนธ์ให้แล้วเสร็จตามขั้นตอนของหลักสูตร เพื่อจบตามเวลาหรือเร็วขึ้นกว่ากำหนด
การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา โครงการด้านนวัตกรรมการถ่ายทำภาพยนตร์เป็นจุดเด่นของหลักสูตรที่ทำอย่างต่อเนื่องและสร้างความพึงพอใจกับนักศึกษาได้ดี
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ มีการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักวิชาการและนักวิชาชีพ และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ทั้งนี้ช่วยพัฒนาทักษะการเรียนรู้และการสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพสูงขึ้นในด้านการถ่ายทำภาพยนตร์

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ สามารถพัฒนาแนวทางการสอนที่เน้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในกระบวนการเรียนรู้ เช่น การใช้แอปพลิเคชันหรือแพลตฟอร์มการเรียนออนไลน์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสอนและการเรียนรู้
การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในการส่งเสริมให้เกิดการสร้างผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา มีโครงการที่ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาศักยภาพคนด้านงานศิลปสร้างสรรค์ และด้านจริยธรรมที่เป็นจุดเด่น 
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ หลักสูตรนี้เน้นการพัฒนาบัณฑิตให้เป็นนักคิด นักค้นคว้า และนักวิจัย ที่สามารถสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีคุณค่าและสามารถนำไปประโยชน์ให้กับชาติได้
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
รศ.ดร.ลักษณา สามารถสอดแทรกแนวทางการพัฒนาชาติในประเด็นอื่น เช่น ความมั่นคง คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมในการผลิตการวิจัยและสร้างสรรค์ระดับบัณฑิตศึกษาได้
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ ควรเพิ่มโอกาสให้นักศึกษามีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมและโครงการที่ส่งเสริมการสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรม เช่น การจัดงานเสวนาหรือเวิร์คชอปที่เกี่ยวข้องกับนิเทศศาสตร์และการสร้างสรรค์
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)

[ตัวบ่งชี้ 3.3] ผลที่เกิดกับนักศึกษา

หลักสูตรเปิดปีการศึกษา 2559 เป็นหลักสูตร 2 ปี (สำเร็จการศึกษาปีแรก: 2560)
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การคงอยู่
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2563
ร้อยละ 84.60
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2564
ร้อยละ 100.00
ร้อยละอัตราคงอยู่ ในปีการศึกษา 2565
ร้อยละ 100.00
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา แม้ว่าจะเผชิญกับสภาวะปัจจ้ยที่ควบคุมไม่ได้ในสถานการณ์โควิด และสภาวะเศรษฐกิจ แต่ก็ยังมีอัตราคงอยู่ในระดับที่สูง
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
รศ.ดร.ลักษณา ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา ขณะที่สถานการณ์โควิดเริ่มคลี่คลาย หลักสูตรควรเสริมกลไกเพื่อเร่งให้นักศึกษาสำเร็จการศึกษาเร็วขึ้นกว่าที่ผ่านมา
การสำเร็จการศึกษา
ร้อยละอัตราสำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2563
ร้อยละ 0.00
ร้อยละอัตราสำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2564
ร้อยละ 0.00
ร้อยละอัตราสำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2565
ร้อยละ 0.00
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา อัตราการสำเร็จยังน้อยเมื่อเทียบกับอัตราคงอยู่ที่สูง หลักสูตรควรเสริมกระบวนการติดตามการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา ที่คงค้างให้สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษาต่อไป
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
รศ.ดร.ลักษณา แม้อัตราการคงอยู่จะดี แต่หลักสูตรควรปรับปรุงกระบวนการติดตาม และสอบวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาให้จบตามกำหนดเวลา
ความพึงพอใจและผลการจัดการข้อร้องเรียนของนักศึกษา
ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาเฉลี่ย ปีการศึกษา 2563 ร้อยละ 4.50
ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาเฉลี่ย ปีการศึกษา 2564 ร้อยละ 4.70
ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาเฉลี่ย ปีการศึกษา 2565 ร้อยละ 4.72
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา ผลการประเมินยังอยู่ในระดับสูงมากและมีแนวโน้มที่ดี
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
รศ.ดร.ลักษณา แนวโน้มที่ดีแสดงว่าหลักสูตรได้มีกระบวนการที่สร้างความพึงพอใจได้ดีอยู่แล้ว ควรรักษามาตรฐานการจัดการข้อร้องเรียนของนักศึกษา ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นนี้ต่อไป
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 3 (3 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 3.00 คะแนน

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

[ตัวบ่งชี้ 4.1] การบริหารและพัฒนาอาจารย์

คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
ระบบการรับและแต่งตั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา ยังเป็นระบบการรับและแต่งตั้งอาจารย์แบบเดิมที่ดีอยู่แล้ว
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ (ระบุคะแนน 4.00) ในปีการศึกษา 2565 หลักสูตรได้มีการบริหารจัดการเนื้อหาการเรียนการสอนที่ดี และมีคุณภาพจากการพัฒนาวิชาชีพของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่เป็นที่เชื่อถือ และเชี่ยวชาญในสาขาวิชา ทำให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่เข้มข้นและอัพเดทกับวิทยาการสมัยใหม่
-ระบบการบริหารจัดการหลักสูตร ให้ความสำคัญกับการกำหนดและการบริหารเนื้อหาการเรียนการสอนในลักษณะที่มีความเหมาะสมและมีคุณภาพ เพื่อให้การเรียนรู้ของนักศึกษามีประสิทธิผลสูงสุด ทั้งนี้ ยังมีระบบการรับและแต่งตั้งอาจารย์รวมถึงการพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรสนับสนุน เพื่อเพิ่มศักยภาพและความเชี่ยวชาญ เช่น การเข้าร่วมอบรม การพัฒนาทักษะการสอน และการสนับสนุนงานวิจัย เป็นต้น
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
รศ.ดร.ลักษณา หลักสูตรควรพิจารณารับอาจารย์ในหลักสูตรเพิ่ม เพื่อสอดคล้องกับจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ ควรส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานวิจัย และผลงานสร้างสรรค์ของคณาจารย์ให้มีความหลากหลายและคุณภาพสูง เพื่อเพิ่มการเผยแพร่และบริการวิชาการ และ ควรพิจารณาการปรับปรุงกระบวนการการประเมินผลงานอาจารย์ให้เป็นระบบ เพื่อพิ่มความชัดเจนและเชื่อถือได้ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการสอนและการวิจัย
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ระบบการบริหารอาจารย์:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา มีการบริหารอาจารย์ที่เอื้อให้สร้างผลงานวิชาการด้านต่างๆทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยต่อเนื่อง
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ หลักสูตรมีระบบบริหารอาจารย์ร่วมกับแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการ ทำให้อาจารย์สามารถวางแผนพัฒนาความรู้และความเชี่ยวชาญตนเองได้อย่างเหมาะสม โดยการให้แรงจูงใจในการเข้าร่วมการอบรม สัมมนา และกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งสร้างพื้นฐานให้กับการพัฒนาทักษะและความรู้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีระบบสนับสนุนทุนวิจัยที่ช่วยกระตุ้นให้อาจารย์ทำงานวิจัยและสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีผลงานที่มีคุณภาพและสามารถนำไปสู่การเผยแพร่และนำไปใช้ในชุมชนวิชาการและสังคมได้
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
รศ.ดร.ลักษณา ควรส่งเสริมให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การให้คำปรึกษาในการทำวิทยานิพนธ์หรือโครงงานให้สำเร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ 
ควรส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างอาจารย์ในหลักสูตรและนักศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารและบันเทิง ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาความรู้และการสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการ
ระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ให้มีคุณภาพทั้งด้านความรู้ ความสามารถในเนื้อหาวิชาที่รับผิดชอบ สามารถก้าวทันวิทยาการสมัยใหม่ มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ การวิจัย และการพัฒนาศาสตร์ในสาขาวิชาที่รับผิดชอบ:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา ด้วยกระบวนการของหลักสูตรได้ให้อิสระและส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพอาจารย์ในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวางเป็นอย่างดียิ่ง
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ หลักสูตรมีระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ให้มีคุณภาพ โดยมุ่งเน้นในการพัฒนาความรู้และความเชี่ยวชาญในเนื้อหาวิชาที่รับผิดชอบ ทำให้อาจารย์สามารถให้ความรู้และแนวคิดที่อัพเดท และเน้นความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในวิทยาการสมัยใหม่ และมีระบบส่งเสริมให้อาจารย์พัฒนาทักษะในการจัดการเรียนรู้ การวิจัย และการพัฒนาศาสตร์ในสาขาวิชาที่รับผิดชอบ นำมาสู่การสร้างความเชี่ยวชาญและผลงานที่มีคุณภาพในด้านที่เกี่ยวข้อง
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
รศ.ดร.ลักษณา หลักสูตรได้มีระบบส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ให้มีคุณภาพด้านต่างๆดีอยู่แล้ว
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ เพื่อให้การพัฒนาความรู้และความสามารถเป็นไปอย่างต่อเนื่อง หลักสูตรควรเพิ่มความถี่ในการอบรม การเข้าร่วมประชุมวิชาการ และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่ออัพเดทข้อมูลและแนวคิดใหม่ และอาจจะสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ โดยการใช้เทคนิคการสอนที่นวัตกรรมและเน้นการเรียนรู้ตามความต้องการของนักศึกษา
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)

[ตัวบ่งชี้ 4.2] คุณภาพอาจารย์

4.2.1 ร้อยละของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้งหมด 3 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 3
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 100.00
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 60 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณสมบัติการศึกษาตามเกณฑ์
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ไม่มี
4.2.2 ร้อยละของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้งหมด 3 5.00
[2] ไม่มีตำแหน่งทางวิชาการ [อาจารย์] 0
[3] ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ 3
[4] ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ 0
[5] ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ 0
[6] ดำรงตำแหน่งทางวิชาการทั้งหมด [3] + [4] + [5] 3
[7] ร้อยละที่ได้ [6] X 100 / [1] 100.00
[8] ผลลัพธ์ที่ได้ [7] x 5 / 80 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกท่านดำรงตำแหน่งวิชาการ
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
รศ.ดร.ลักษณา สามารถพัฒนาตำแหน่งทางวิชาการในระดับที่สูงขึ้นต่อไป
4.2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
หมายเหตุ เป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในรอบปีที่รับการประเมินเท่านั้น [ช่องไหนไม่มีผลงานให้ใส่ 0 ไม่ปล่อยว่าง]
จำนวนผลงานทางวิชาการตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 4 0 0
จำนวนผลงานสร้างสรรค์ตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 0 0 3
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] ผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ 5.40 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้งหมด 3
[3] ร้อยละที่ได้ [1] X 100 / [2] 180.00
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 40 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีผลงานวิขาการและผลงานสร้างสรรค์เป็นที่ประจักษ์ในทุกปีต่อเนื่อง
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ขอให้ปรับแก้ไขผลงานลำดับที่ 5-7 เป็นค่าน้ำหนัก 1.00 (งานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่ในระดับภูมิภาคอาเซียน/นานาชาติ) เนื่องจากเป็นนิทรรศการภาพถ่ายนานาชาติ 
รายการหลักฐาน ตัวบ่งชี้ 4.2 คุณภาพอาจารย์
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ตัวบ่งชี้ 4.2 คุณภาพอาจารย์ คะแนนที่ได้ 5.00 คะแนน

[ตัวบ่งชี้ 4.3] ผลที่เกิดกับอาจารย์

คะแนนที่ได้ 4
หมายเหตุ :
(1) ยกเว้นกรณี การเกษียณอายุงาน และการเสียชีวิต
(2) หากรายชื่อมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากปรับเข้าเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร พ.ศ. 2558 ให้ถือว่าอัตราการคงอยู่ครบในปีการศึกษาแรกที่ปรับเข้าเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร 2558
(3) หากรายชื่อที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบท่านใหม่ต้องมีประสบการณ์ร่วมบริหารหลักสูตรมาไม่น้อยกว่า 9 เดือน (มีหลักฐานรายงานการประชุมภาควิชาหรือการประชุมหลักสูตร)
(4) รายงานถึงสิ้นสุดปีการศึกษา 2565 และจะได้รับการประเมินแนวโน้มผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นต้องประเมิน จาก ≥ 3 ชุดข้อมูล
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
มีแนวโน้มอัตราการคงอยู่ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และมีคะแนนประเมินความพึงพอใจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีต่อการบริหารหลักสูตร ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
 
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การคงอยู่ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ ในปีการศึกษา 2563 พบว่า มีความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการหลักสูตร อยู่ที่คะแนนเฉลี่ย 4.86 คะแนน จะเห็นได้ว่าหลักสูตรฯ มีแนวโน้มความพึงพอใจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีต่อการบริหารหลักสูตรเพิ่มขึ้น
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
-
ความพึงพอใจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีต่อการบริหารหลักสูตร
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา จากการสร้างผลงานวิชาการด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง และการร่วมกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพทางวิชาการ แสดงถึงความพึงพอใจต่อการบริหารหลักสูตร 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ไม่มี
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 4 (3 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 4.00 คะแนน

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

[ตัวบ่งชี้ 5.1] สาระของรายวิชาในหลักสูตร

11
0
0.00
คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
หลักสูตรได้เปิดรับนศ.ต่างชาติและสอนเป็นภาษาอังกฤษ แม้นจะเป็นการเรียนรายวิชาเดิมที่เป็นภาษาไทย แต่ได้สอนเนื้อหาในรายวิชาเดิมให้สอดคล้องกับการเรียนของนศ.ต่างชาติด้วย
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การออกแบบหลักสูตร และสาระรายวิชาในหลักสูตรที่ปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน มีหลักสูตรหรือรายวิชาที่เป็นความร่วมมือกับสถานประกอบการ
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา หลักสูตรมีโครงการศึกษาเรียนรู้งานด้านนวัตกรรมการถ่ายทำภาพยนตร์เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ มีการออกแบบหลักสูตรและสาระรายวิชา ที่เน้นการปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน เป็นจุดเด่นที่สำคัญ เนื่องจากนักศึกษามีความหลากหลายในการเรียนรู้และความสนใจ การปรับสาระการเรียนรู้ให้เกิดความเข้าใจและนำไปสู่การประยุกต์ใช้ในการทำงานจริงเป็นสิ่งที่สำคัญ

 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ ควรนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการออกแบบหลักสูตรและสาระรายวิชามาใช้ ซึ่งเป็นแนวทางที่สำคัญ เนื่องจากสาขาวิชาและอุตสาหกรรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างรวดเร็ว ดังนั้น การรับมือกับเทคโนโลยีและแนวคิดใหม่ๆ จะเป็นปัจจัยที่ช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมต่อการทำงานจริ
การปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าในศาสตร์สาขานั้นๆ และเชื่อมโยงกับการนำไปใช้ได้จริง
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา ยังไม่ปรากฏการปรับปรุงหลักสูตรในรอบปีการศึกษานี้
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ การที่หลักสูตรได้ทำการปรับปรุงเนื้อหาตามความก้าวหน้าในศาสตร์สาขานั้นๆ เป็นจุดเด่นที่สำคัญ เนื่องจากนักศึกษาจะได้รับความรู้และทักษะที่เป็นไปตามสมรรถนะของอุตสาหกรรมในปัจจุบัน ทั้งยังมีการเชื่อมโยงหลักสูตรกับการนำไปใช้ในสถานการณ์จริง ซึ่งเป็นคำตอบต่อความต้องการของตลาดแรงงาน การเน้นให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ความรู้และทักษะในการทำงานจริงมีความสำคัญในการพัฒนานักเรียนให้เป็นบุคคลที่มีคุณค่าในตลาดงาน
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
รศ.ดร.ลักษณา ควรเสริมสร้างการเรียนรู้ที่ทันสมัยสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและสังคม
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ ควรมีการรวบรวมความรู้และประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมนั้นๆ เพื่อนำมาเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร ซึ่งจะเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างการเรียนรู้และการทำงานจริง
มีการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิที่ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน (Learner Person, Innovative Co-Creator, Active Citizen) ตามวิสัยทัศน์และจุดเน้นของหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา ผลการดำเนินงานยังไม่ปรากฏชัดเจนในประเด็นนี้
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ หลักสูตรได้กำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ให้ครอบคลุมด้านผู้เรียนทั้ง 3 ด้านตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ คือ "Learner Person" (บุคคลผู้เรียนรู้), "Innovative Co-Creator" (ผู้ร่วมสร้างนวัตกรรม), และ "Active Citizen" (ความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง) และหลักสูตรยังได้มีการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับในแต่ละด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยของผลการประเมินของบัณฑิตใหม่ เพื่อวัดความสำเร็จในการบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ ควรมีการเพิ่มความชัดเจนและเน้นในการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ในแต่ละด้าน เพื่อให้เป็นแนวทางที่ชัดเจนแก่บุคคลผู้เรียน และช่วยให้ผู้สอนสามารถวางแผนการสอนในทิศทางที่ถูกต้อง
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)

[ตัวบ่งชี้ 5.2] การวางระบบผู้สอน และกระบวนการจัดการเรียนการสอน

คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดผู้สอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา ผู้สอนมีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในการสอน ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ และได้รับการประเมินจากผู้เรียนในระดับดีขึ้นไปในทุกวิชา
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ อาจารย์ผู้สอนมีวุฒิการศึกษาในระดับปริญญาโทและเอกที่เชื่อมโยงกับหลักสูตร ซึ่งจะช่วยให้สามารถมองเห็นและเข้าใจความต้องการของหลักสูตรได้เป็นอย่างดี เพื่อนำความรู้ไปสู่กระบวนการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
รศ.ดร.ลักษณา ควรเสริมผู้สอนที่มีประสบการณ์วิชาชีพในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับหลักสูตร
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ หลักสูตรควรเน้นให้นักศึกษาได้เรียนจากผู้สอนที่มีความชำนาญหลากหลาย เพื่อให้นักศึกษาได้สัมผัสมุมมองและความคิดที่หลากหลาย ทั้งนี้เพื่อสร้างโอกาสให้นักศึกษาได้รับการพัฒนาความรู้และมุมมองที่หลากหลาย
การกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียนรู้ (มคอ.3 และ มคอ.4)
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา หลักสูตรมีระบบและกลไกในการติดตาม ตรวจสอบตามแผนการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่องในทุกภาคการศึกษา
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ หลักสูตรมีการนำแผนการเรียนรู้ที่ถูกกำหนดไว้ในโครงสร้างหลักสูตรมาเป็นแนวทางในการสอน นักศึกษาจะได้รับประสบการณ์การเรียนที่มีการจัดเรียงเนื้อหาและกิจกรรมให้สอดคล้องกับเป้าหมายการเรียนรู้
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ ควรมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการติดตามและตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียนรู้ ซึ่งอาจจะเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารและแพลตฟอร์มออนไลน์ช่วยในการเก็บข้อมูลและการติดตามความคืบหน้าของนักศึกษา
การพิจารณาอนุมัติหัวข้อวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา หลักสูตรดำเนินการตามขั้นตอนมาตรฐานในการอนุมัติหัวข้อวิทยานิพนธ์และค้นคว้าอิสระของนักศึกษารายบุคคล รวมถึงรายชื่อคณะกรรมการสอบที่ตรงตามมาตรฐานหลักสูตร
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ หลักสูตรมีการแนะนำให้นักศึกษาเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในรายวิชาการวิจัยหรือวิชาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสให้นักศึกษาได้ศึกษาเรื่องที่สนใจและสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์กับอาจารย์และเพื่อนร่วมหลักสูตร และในปีการศึกษา 2565 หลักสูตรฯ ได้สร้างแนวทางที่ชัดเจนในการพิจารณาและควบคุมคุณภาพของการทำวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระให้เข้ากับความก้าวหน้าของวงการ และตอบสนองความต้องการในวงการภาพยนตร์และซีรีส์อย่างมีประสิทธิภาพ
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
รศ.ดร.ลักษณา ควรพิจารณาเสริมรายชื่อคณะกรรมการสอบหัวข้อวิทยานิพนธ์และค้นคว้าอิสระให้มากขึ้น เพื่อรองรับกับจำนวนนักศึกษาทั้งไทยและต่างชาติ
การควบคุมหัวข้อวิทยานิพนธ์ และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษาให้สอดคล้องกับสาขาวิชาและความหน้าของศาสตร์
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา หลักสูตรมีอาจารย์ประจำสาขาที่มีความสามารถในศาสตร์นี้ และสามารถให้คำแนะนำได้ดีจากประสบการณ์นับจากก่อตั้งหลักสูตร
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ หลักสูตรได้กำหนดให้กรรมการสอบวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระประกอบด้วยอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ประจำหลักสูตร และผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ซึ่งช่วยให้มีการพิจารณาและควบคุมคุณภาพผลงานวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระจากหลากหลายมุมมองและความเชี่ยวชาญ
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
รศ.ดร.ลักษณา ควรเสริมเพิ่มเติมอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หรือค้นคว้าอิสระให้นักศึกษาเพื่อรองรับจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มขึ้นทั้งไทยและต่างชาติ
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ หลักสูตรควรกำหนดให้หัวข้อวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระสอดคล้องกับปรัชญาและวิสัยทัศน์ของหลักสูตร และสอดคล้องกับความต้องการของสังคมและวงการนิเทศศาสตร์
การแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญสอดคล้องหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา หลักสูตรมีระบบและกลไกตามมาตรฐานวิชาการในการคัดเลือกและแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งพิจารณาจากหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่สัมพันธ์กับความเชี่ยวชาญของอาจารย์แต่ละท่าน
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ หลักสูตรได้กำหนดคุณสมบัติเบื้องต้นของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการศึกษาค้นคว้าอิสระ ให้เป็นที่สอดคล้องกับความเชี่ยวชาญทางวิชาการ ซึ่งจะส่งเสริมให้นักศึกษาได้รับคำปรึกษาและแนวทางที่มีคุณภาพ
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
รศ.ดร.ลักษณา พบว่าหลักสูตรยังมีผู้เชี่ยวชาญหรือนักวิชาการในศาสตร์นี้อยู่จำกัด จึงควรขยายเครือข่ายนักวิชาการให้กว้างขวางขึ้น
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ หลักสูตรควรกำหนดข้อกำหนดในการควบคุมจำนวนนักศึกษาที่ได้รับคำปรึกษาจากอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการศึกษาค้นคว้าอิสระ เพื่อให้การแนะนำมีคุณภาพและเข้ากับความต้องการของนักศึกษา
การช่วยเหลือ กำกับ ติดตามในการทำวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ และการตีพิมพ์ผลงานในระดับบัณฑิตศึกษา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา หลักสูตรมีกลไกและขั้นตอนในการกำกับดูแลผ่านอาจารย์ที่ปรึกษา และเลขานุการหลักสูตรที่สนับสนุนในทุกกระบวนการตามแนวทางบัณฑิตวิทยาลัย
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ หลักสูตรได้สร้างระบบการติดตามความก้าวหน้าในการทำวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระของนักศึกษา ทำให้นักศึกษาสามารถสังเกตและควบคุมการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
รศ.ดร.ลักษณา ควรเพิ่มจำนวนบุคลากรสนับสนุนเพื่อให้กระบวนการในแต่ละขั้นตอนลุล่วงตามกำหนดเวลา
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ หลักสูตรควรสนับสนุนและส่งเสริมให้นักศึกษามีการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการที่มีคุณภาพ และได้รับรองจากสถาบันวิชาการ
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)

[ตัวบ่งชี้ 5.3] การประเมินผู้เรียน

คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ที่ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน (Learner Person, Innovative Co-Creator, Active Citizen) ตามวิสัยทัศน์และจุดเน้นของหลักสูตร ตลอดจนมาตรฐานวิชาชีพ (ถ้ามี)
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา มีแนวทางการประเมินและแสดงผลตามมาตรฐานหลักสูตร
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ หลักสูตรให้ความสำคัญกับการกำหนดระเบียบวินัยและเน้นให้นักศึกษามีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ทั้งยังมีวิธีการสอนหลายรูปแบบ เน้นหลักการ แนวคิด ทฤษฎี และการประยุกต์ความรู้ในสภาพแวดล้อมจริง
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ อาจจะมีการใช้กลยุทธ์การสอนที่ให้นักศึกษาเป็นศูนย์กลาง และพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง
การตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา พบการประเมินผลการเรียนรู้ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ หลักสูตรมีการระบุตัวชี้วัดที่ชัดเจนในแต่ละด้านของการประเมินผลการเรียนรู้ ทำให้นักศึกษาและอาจารย์เข้าใจสิ่งที่ควรจะได้รับและส่งมอบในแต่ละรายวิชา
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ ควรให้นักศึกษาเข้าใจถึงความสำคัญของการวางแผนการเรียนรู้และการจัดการเวลา เพื่อให้สอดคล้องกับการทำงานและการศึกษา
การกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอน และประเมินหลักสูตร (มคอ.5 มคอ.6 และ มคอ.7)
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา มีการจัดทำการประเมินการเรียนการสอนหลักสูตรตาม มคอ.ที่กำหนด
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ หลักสูตรมีการจัดทำและประเมินแบบ มคอ.5 มคอ.6 และ มคอ.7 ในระยะเวลาที่สั้นและเหมาะสมช่วยให้หลักสูตรสามารถทราบข้อบกพร่องและปรับปรุงการเรียนการสอนและหลักสูตรได้อย่างทันท่วงที
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ ควรมีการใช้ผลการประเมินจากแบบ มคอ.5 มคอ.6 และ มคอ.7 เพื่อปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนและหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
การประเมินวิทยานิพนธ์ และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา มีกลไกและกระบวนการตามมาตรฐานวิชาการหลักสูตร ในการประเมินผลสอบวิทยานิพนธ์และค้นคว้าอิสระ
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ หลักสูตรมีคณะกรรมการประเมินวิทยานิพนธ์และการศึกษาค้นคว้าอิสระที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์มาตรฐานและเป็นคณะกรรมการชุดเดียวกับที่เสนอขอแต่งตั้งเป็นการสร้างความมั่นใจในกระบวนการประเมินคุณภาพ
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ ควรส่งเสริมให้นักศึกษานำผลงานวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพสูง ไปเผยแพร่ในรูปแบบของวารสารที่ยอมรับและเป็นที่ประเมินในสาขาวิชา
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)

[ตัวบ่งชี้ 5.4] ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

หมายเหตุ: KPI ให้สอดคล้องและเป็นไปตามที่ระบุใน มคอ.2
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
1. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรอย่างน้อยร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผน ติดตาม และทบทวนการดำเนินงานหลักสูตร
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา พบระบบและกลไกที่ชัดเจนร่วมกันของหัวหน้าหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอนในการประชุม และติดตามการดำเนินงานของหลักสูตร
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกท่าน มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผน ติดตาม และทบทวนการดำเนินงานหลักสูตร โดยในปีการศึกษา 2565 หลักสูตรมีการประชุม 4 ครั้ง โดยอาจารย์ทุกท่านเข้าร่วมประชุมร้อยละ 100
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ไม่มี
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
2. มีรายละเอียดของหลักสูตรตามแบบ มคอ.2 ที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ หรือมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา [ถ้ามี]
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา ได้มาตรฐานคุณวุฒิหลักสูตร
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ หลักสูตรมีการจัดทำ มคอ.2 โดยผ่านการพิจารณาอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ไม่มี
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
3. มีรายละเอียดของรายวิชา และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม [ถ้ามี] ตามแบบ มคอ.3 และ มคอ.4 อย่างน้อยก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาให้ครบทุกรายวิชา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา มีรายละเอียดวิชาในแต่ละภาคการศึกษาครบ
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ ในแต่ละภาคการศึกษา จะมีการจัดทำแบบ มคอ.3 ของทุกรายวิชา และเผยแพร่ในระบบฐานข้อมูลของมหาวิทยาลัย ก่อนเปิดการเรียนการสอนไม่เกิน 2 สัปดาห์
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ไม่มี
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
4. จัดทำรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา และรายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม [ถ้ามี] ตามแบบ มคอ.5 และ มคอ.6 ภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่เปิดสอนให้ครบทุกรายวิชา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา ทำรายงานครบถ้วนในเวลา
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ ในแต่ละภาคการศึกษา จะมีการจัดทำแบบ มคอ.5 ของทุกรายวิชา ภายใน 2 สัปดาห์ หลังเสร็จสิ้นการเรียนการสอน
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ไม่มี
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
5. จัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตรตามแบบ มคอ.7 ภายใน 60 วัน หลังสิ้นสุดปีการศึกษา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา มีการจัดทำทุกปีการศึกษา
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ หลักสูตรดำเนินการจัดทำแบบ มคอ.7 ก่อน 60 วันหลังสิ้นสุดปีการศึกษา
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ไม่มี
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
6. มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ที่กำหนดใน มคอ.3 และ มคอ.4 [ถ้ามี] อย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา หลักสูตรมีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ที่กำหนดในแบบ มคอ.3 ครบทุกรายวิชา
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ หลักสูตรมีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ที่กำหนดในแบบ มคอ.3 ครบทุกรายวิชา ที่เปิดสอนในปีการศึกษา 2565 โดยดำเนินการดังนี้
1.
ให้นักศึกษาประเมินผลการเรียนการสอนในระดับรายวิชา ทุกภาคการศึกษา
2.อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ประชุมเพื่อทวนสอบผลการเรียนรู้ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกทำการประชุมเพื่อตรวจสอบและประเมินความเหมาะสมของข้อสอบ วิธีการวัดประเมินผลตามที่กำหนดในแบบ มคอ.3 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ขอให้ปรับการรายงาน หลักสูตรเปิดการเรียนการสอนจำนวน....... วิชา ทำการทวนสอบผลสัมฤทธิ์จำนวน........วิชา คิดเป็นร้อยละ......
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
แบบสรุปผลการทวนสอบของแต่ละรายวิชา
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
7. มีการพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน หรือการประเมินผลการเรียนรู้จากผลการประเมินการดำเนินงานที่รายงานใน มคอ.7 ปีที่แล้ว
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ หลักสูตรมีการมีการพัฒนา ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน หรือการประเมินผลการเรียนรู้ จากผลการประเมินการดำเนินงานที่รายงานใน มคอ.7 ปีที่แล้ว โดยการเพิ่มเนื้อหาด้านคุณธรรม จริยธรรม ในรายวิชาต่างๆ
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ไม่มี
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
8. อาจารย์ใหม่ [ถ้ามี] ทุกคน ได้รับการปฐมนิเทศ หรือคำแนะนำด้านการจัดการเรียนการสอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
ไม่มี
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ไม่มี
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
9. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกคนได้รับการพัฒนาทางวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา อาจารย์ผู้สอนได้พัฒนาวิชาการและวิชาชีพมากกว่าปีละหนึ่งครั้ง ตามหลักฐาน
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ ในปีการศึกษา 2565 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกคนได้รับ การพัฒนาทางวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ ปีละ 3 ครั้ง
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ไม่มี
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
10. จำนวนบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอน [ถ้ามี] ได้รับการพัฒนาวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ต่อปี
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา + ผศ.ดร.ดวงทิพย์ บุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอน ได้รับการพัฒนาวิชาการ และ/หรือวิชาชีพสม่ำเสมอ มากกว่าร้อยละ 50 ต่อปี
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ไม่มี
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
11. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้าย/บัณฑิตใหม่ที่มีต่อคุณภาพหลักสูตร เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.50 จากคะแนนเต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา+ผศ.ดร.ดวงทิพย์ ระดับความพึงพอใจที่มีต่อคุณภาพหลักสูตร เฉลี่ย 4.20 อยู่ในระดับมาก
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ไม่มี
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
12. ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตใหม่ เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.50 จากคะแนนเต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา+ผศ.ดร.ดวงทิพย์ การสำรวจระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตใหม่ ระดับมากที่สุด
 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ขอให้ปรับแก้ไขค่าเฉลี่ย เป็น 4.68
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
13. ร้อยละ 80 ของรายวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอน สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนด
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา+ผศ.ดร.ดวงทิพย์ ร้อยละ 100 ของรายวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอนสามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนด
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ไม่มี
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
14. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อคุณภาพการสอน รวมทุกรายวิชา เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา+ผศ.ดร.ดวงทิพย์ นักศึกษาพึงพอใจประสิทธิภาพการสอนในระดับมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ย 4.75
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ในตารางคุณภาพของการสอน หน้า 53 ขอให้สรุปคะแนนเฉลี่ยรวมผลการประเมินคุณภาพการสอนที่ด้านท้ายตาราง
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
(Key Performance Indicators)
ผลการประเมิน
(ผ่า่น / ไม่ผ่าน)
15. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อทรัพยากรสนับสนุนการเรียนการสอน เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.51 จากคะแนน เต็ม 5.00
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น/ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา+ผศ.ดร.ดวงทิพย์ ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน โดยผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ที่ค่าเฉลี่ย 4.16 
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ไม่มี
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ผลการประเมินจากผลการดำเนินงาน ตัวบ่งชี้ 5.4
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] รวมจำนวนตัวบ่งชี้ในแต่ละปี 14 5
[2] จำนวนตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการผ่านเฉพาะตัวบ่งชี้ที่ 1-5 1-5
[3] ร้อยละของตัวบ่งชี้ที่ 1-5 ที่ผ่าน [ถ้าผ่านทั้ง 5 ข้อจะเป็นร้อยละ 100] 100
[4] จำนวนตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการผ่านรวม 14
[5] ร้อยละของตัวบ่งชี้ทั้งหมดที่ผ่าน 100.00
*หมายเหตุการกำหนดเงื่อนไขเกณฑ์การประเมิน
ถ้า [3] น้อยกว่าร้อยละ 100 ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 0.00
ถ้า [5] มีการดำเนินงานน้อยกว่า ร้อยละ 80 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 0.00
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ80 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 3.50
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ 80.01 - 89.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 4.00
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ90.00 -94.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 4.50
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ95.00 -99.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 4.75
ถ้า [5] มีการดำเนินงานร้อยละ100 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีมีค่าคะแนนเท่ากับ 5.00
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 5 (4 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 3.50 คะแนน

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

[ตัวบ่งชี้ 6.1] สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

คะแนนที่ได้ 3
ระบุเหตุผลที่ได้ 4 หรือ 5 คะแนน:
รศ.ดร.ลักษณา หลักสูตรได้รับการสนับสนุนการเรียนรู้และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัย ทั้งจากคณะและมหาวิทยาลัยครบครัน ทำให้มีประสบการณ์ทั้งทฤษฏีและปฏิบัติ สอดคล้องกับหลักการและแนวทางการเรียนรู้ของหลักสูตรนี้อย่างชัดเจน จึงส่งผลให้มีนักศึกษาเข้าเรียนหลักสูตรนี้อย่างต่อเนื่องเพิ่มขึ้นทั้งชาวไทย และต่างชาติ 
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
ระบบการดำเนินงานของภาควิชา/คณะ/สถาบัน โดยมีส่วนร่วมของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เพื่อให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา มีรายวิชาที่หลักสูตรดำเนินงานร่วมกับคณะ เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงและใช้สิ่งอำนวยความสะดวกในยุคดิจิทัล
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ หลักสูตรเน้นการให้บริการที่ครอบคลุมและครบถ้วน โดยให้นักศึกษาและบุคลากรสามารถเข้าถึงทรัพยากรการเรียนรู้ และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่ต้องการได้อย่างไม่มีข้อจำกัด นักศึกษาทุกคนสามารถเข้าถึงอุปกรณ์การเรียนการสอนที่ต้องการได้ทั้งหมดนี้ จึงเป็นจุดเด่นที่เน้นให้เกิดการเรียนรู้ที่เป็นไปตามความต้องการและความสะดวกของผู้เรียน
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ ควรสำรวจความต้องการเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งสนับสนุนใหม่ๆ เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาต่อยอด และการรับฟังความต้องการและแนวคิดใหม่ๆ จะเป็นจุดเด่นที่ช่วยให้ระบบมีความทันสมัยและตอบสนองความต้องการของผู้เรียน
จำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา หลักสูตรมีกิจกรรมและรายวิชาเสริม และรายวิชาหลักที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้จากการใช้อุปกรณ์และสิ่งสนับสนุนการเรียนเชิงปฏิบัติ
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ หลักสูตรมีระบบการเรียนการสอน มีจำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เพียงพอ และเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน ห้องเรียนและห้องปฏิบัติการได้รับการตกแต่งและจัดเตรียมเครื่องมือการเรียนการสอนที่เพียบพร้อม เช่น อุปกรณ์การนำเสนอ อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงและนำไปใช้ในกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างสะดวกและเต็มที่
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ ควรตรวจสอบห้องฉายภาพยนตร์ให้มีมีมาตรฐาน ห้องสตูดิโอสำหรับถ่ายทำและผลิตผลงาน ห้องบันทึกเสียงที่มีคุณภาพ และห้องตัดต่อ เพื่อทำให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ทักษะในการสร้างผลงานอย่างมีคุณภาพ
กระบวนการปรับปรุงตามผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล
ข้อคิดเห็นเบื้องต้น / ขอข้อมูลเพิ่มเติม:
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดเด่นและแนวทางเสริม
รศ.ดร.ลักษณา ผลประเมินพบว่านักศึกษามีความพึงพอใจในประเด็นนี้อยู่ระดับดีถึงดีมาก
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ มีการประชุมหลักสูตรฯ เพื่อพิจารณาผลการประเมินความพึงพอใจ ที่เป็นขั้นตอนซึ่งมีความสำคัญในการปรับปรุง โดยการนำผลการประเมินเข้ามาพิจารณา จะช่วยตรวจสอบข้อบกพร่องและหาแนวทางในการปรับปรุงให้ตอบสนองความต้องการของนักศึกษาและอาจารย์
ระบุข้อคิดเห็นที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง
ผศ.ดร.ดวงทิพย์ ควรมีการปรับปรุงติดตามผลการประเมินอย่างต่อเนื่อง จะช่วยเพิ่มความพึงพอใจและความเข้าใจในกระบวนการการเรียนรู้ โดยอาจจะส่งผลทำให้นักศึกษาและอาจารย์รู้สึกมั่นใจและเต็มเวลาในการเรียนและการสอนในยุคดิจิทัล
ให้เพิ่มเติมรายการหลักฐานดังนี้ (ถ้ามี)
ผลการประเมิน เฉลี่ยองค์ประกอบที่ 6 (1 ตัวบ่งชี้) คะแนนที่ได้ 3.00 คะแนน

รายงานผลการวิเคราะห์จุดเด่น/จุดแข็ง แนวทางเสริม จุดที่ควรพัฒนา และแนวทางปรับปรุง

จุดเด่นและแนวทางเสริม

  1. หลักสูตรมีความโดดเด่น เนื่องจากเป็นการเรียนรู้กึ่งปฏิบัติการ ระดับมหาบัณฑิต ในวิชาชีพเฉพาะด้านที่ยังไม่ปรากฏว่ามีการเรียนการสอนลักษณะเดียวกันนี้ในมหาวิทยาลัยอื่น จึงส่งผลให้มีนักศึกษาทั้งชาวไทยและต่างชาติ สมัครมาเรียนเป็นจำนวนมาก และพัฒนามาเป็นหลักสูตร 2 ภาษา คือ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
  2. บุคลากร ผู้บริหาร คณาจารย์ผู้สอน และอาจารย์พิเศษด้านนิเทศศาสตร์และการสื่อสารมวลชน มีคุณสมบัติทั้งวิชาการและวิชาชีพที่เหมาะสม สอดคล้องกับการออกแบบหลักสูตรด้านกำกับและเขียนบท อีกทั้ง วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ยังมีเครื่องมือ อุปกรณ์ ห้องเรียน และสถานที่ ที่ทันสมัย ครบครัน ทำให้ผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษา ได้รับความรู้ทั้งด้านทฤษฏี และปฏิบัติ เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในวิชาการและวิชาชีพ ในเวลาเดียวกัน

จุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง

  1. ควรเพิ่มคณาจารย์ผู้สอน ด้านวิชาชีพและการปฏิบัติการ ไปพร้อมกับพัฒนาอาจารย์สู่ตำแหน่งวิชาการ เพื่อสามารถเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา และอาจารย์ผู้สอนได้ เพื่อสอดคล้องกับจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มมากขึ้น
  2. สร้างความร่วมมือกับหน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมและวิชาชีพนี้ เพื่อขยายเครือข่ายการศึกษาให้เข้มแข็ง และเกิดงานวิจัยที่ก่อประโยชน์ต่อสังคมและอุตสาหกรรมนี้ในวงกว้าง สร้างชื่อเสียงให้หลักสูตรต่อไป

สรุปผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลดำเนินการ
กรรมการ
1.1 การบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่กำหนดโดยสกอ. ผ่าน
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ.2561 4.68
2.2 (ปริญญาโท) ผลงานของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทที่ได้รับการตีพิมพ์และหรือเผยแพร่ 5.00
3.1 การรับนักศึกษา 3.00
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา 3.00
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา 3.00
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์ 3.00
4.2 คุณภาพอาจารย์ 5.00
4.3 ผลที่เกิดกับอาจารย์ 4.00
5.1 สาระของรายวิชาในหลักสูตร 3.00
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน 3.00
5.3 การประเมินผู้เรียน 3.00
5.4 ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 5.00
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 3.00
ผลการประเมินเฉลี่ยรวม [13 ตัวบ่งชี้] 3.67

การวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาภายใน ของคณะกรรมการประเมิน ฯ

องค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
1 ผ่านการประเมิน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 2 - - 4.84 4.84 ระดับคุณภาพดีมาก
3 3 3.00 - - 3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
4 3 4.00 - - 4.00 ระดับคุณภาพดี
5 4 3.00 3.67 - 3.50 ระดับคุณภาพดี
6 1 - 3.00 - 3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
ผลการประเมิน 3.43 3.50 4.84 3.67 ระดับคุณภาพดี
ระดับคุณภาพ ระดับคุณภาพดี ระดับคุณภาพดี ระดับคุณภาพดีมาก