รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565

คณะรังสีเทคนิค

วันที่ประเมิน: 17 ตุลาคม 2566, 13:30น.

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

[ตัวบ่งชี้ 1.1] ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน คะแนน
[1] จำนวนหลักสูตรทั้งหมดที่คณะรับผิดชอบ
[ไม่รวมหลักสูตรที่ใช้ระบบประกันคุณภาพอื่นๆ ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2563 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2565)]
1 3.74
[2] ผลรวมของค่าคะแนนประเมินของทุกหลักสูตร 3.74
[3] ผลลัพธ์ที่ได้ [2] / [1] 3.74

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ผ่าน

[ตัวบ่งชี้ 1.2] อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 40 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 9.00 1.39
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 1
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 11.11
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 40 1.39

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

กรรมการประจำคณะร่วมกันหาแนวทางเพิ่มจำนวนอาจารย์ในระดับปริญญาเอก

[ตัวบ่งชี้ 1.3] อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 60 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 9.00 1.85
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 2
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 22.22
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 60 1.85

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

กรรมการประจำคณะร่วมกันหาแนวทางส่งเสริมหรือกระตุ้นให้อาจารย์ผลิตผลงานวิชาการ เพื่อเพิ่มจำนวนอาจารย์ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ

[ตัวบ่งชี้ 1.4] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] สามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า [ค่า FTES] รวมทุกหลักสูตร 166.08 0.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] 9.00
[3] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำที่เป็นจริง [1] / [2] 18.45
[4] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำแยกตามกลุ่มสาขาวิชา 8.00
[5] ร้อยละที่ได้ ([3] – [4] / [4]) X 100 130.63
[6] ผลลัพธ์ที่ได้ 0.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

กรรมการประจำคณะร่วมกันหาแนวทางเพิ่มอัตรากำลังอาจารย์ เพื่อให้เป็นไปตามสัดส่วนกับจำนวนนักศึกษา

[ตัวบ่งชี้ 1.5] การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ข้อ 1 เสนอแนวทางการเขียนในปีต่อไป ทางคณะต้องเน้นการพัฒนานักศึกษาให้เกิดผลลัพธ์ผู้เรียน 3 ด้าน คือ บุคคลผู้เรียนรู้ (Learner Person) ผู้ร่วมสร้างนวัตกรรม (Innovative Co-Creator) และผู้มีความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง (Active Citizen) เช่น การจัดกลุ่มนักศึกษาเป็นแบบสายรหัส ถือเป็นการพัฒนานักศึกษาให้มีบทบาทหน้าที่ร่วมช่วยเหลือเป็นระบบรุ่นพี่และรุ่นน้อง เป็นต้น
ข้อ 2 ผ่าน
ข้อ 3 ผ่าน
ข้อ 4 มีข้อสังเกตว่า หน้า 29 ทางคณะมี 4 โครงการ ควรระบุว่าโครงการใดบ้างจัดอยู่ในการให้บริการที่ดำเนินการในข้อ 1 ถึง 3 คือ จัดบริการให้คำปรึกษา การให้ข้อมูล กิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร และการเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงาน แล้วแสดงผลการประเมินแต่ละประเด็นจะทำให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ข้อ 5 เมื่อมีผลประเมินจากข้อ 4 ซึ่งมี 3 ประเด็น คือ จัดบริการให้คำปรึกษา การให้ข้อมูล กิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร และการเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงาน ถ้าแยกเขียนการปรับปรุงแต่ละประเด็น น่าจะตรงกับความคาดหวังของนักศึกษาได้ตรงประเด็นมากขึ้น
ข้อ 6 ในปีต่อไปทางคณะสามารถเพิ่มช่องทางการเรียนรู้ออนไลน์ ให้ทั้งศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน อาจทำเป็น Course Online ในรูปแบบ RT MOOC เป็นต้น เพื่อเป็นการพัฒนาความรู้ทางวิชาชีพได้อีกช่องทางหนึ่ง

[ตัวบ่งชี้ 1.6] กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00
6
6
100.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ข้อ 1 มีการจัดทำแผนปฏิบัติงานด้านกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษาไว้อย่างละเอียดดีมาก หากจะให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นในปีต่อไป ควรเขียนรายละเอียดวัตถุประสงค์ของแผน (จากหลักฐาน รส.อ1.1.6.1.05 ) พร้อมทั้งกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์นั้น เพื่อจะได้เป็นแนวทางการประเมินแผนการจัดกิจกรรมว่าเป็นไปตามที่กำหนดไว้หรือไม่
ข้อ 2 ข้อนี้เขียนดีมาก หากจะให้ชัดเจนยิ่งขึ้นในปีต่อไป ควรแยกประเด็นการจัดกิจกรรมนักศึกษา ที่ส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ 5 ประการ ได้แก่ 1) คุณธรรม จริธรรม 2) ความรู้ 3) ทักษะทางปัญญา 4) ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5) ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ข้อ 3 ผ่าน
ข้อ 4 ผ่าน
ข้อ 5 ข้อนี้เป็นการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน นั่นคือ นอกจากประเมินความสำเร็จของแต่ละกิจกรรมในข้อ 4 ซึ่งข้อนี้เป็นการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนด้วย กล่าวคือ เมื่อมีแผน มีการกำหนดวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดความสำเร็จ ต่อจากนั้น ทำการประเมินความสำเร็จตัวชี้วัดตามวัตุประสงค์ของแผนที่ตั้งไว้
ข้อ 6 ผ่าน

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 1

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. ผู้บริหารและคณาจารย์มีวิสัยทัศน์ในการวางระบบการดูแลนักศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ สังเกตได้จากอัตราการคงอยู่ของนักศึกษามีแนวโน้มดีต่อเนื่อง 3 ปี และมีแนวโน้มอยู่ในช่วง 95 - 100 %

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ควรผลักดันให้คณาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ โดยใช้แผนพัฒนารายบุคคลเพื่อวางแผนนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง
  2. ควรหาแนวทางรวบรวมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ และให้ความรู้ทางด้านวิชาชีพ จัดทำเป็น Course Online ในรูปแบบ RT MOOC สำหรับศิษย์ปัจจุบัน ศิษย์เก่า หรือประชาชนทั่วไป สามารถเข้ามาเรียนรู้ได้

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

[ตัวบ่งชี้ 2.1] ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

1. website ของคณะที่รวบรวมงานวิจัยผลงานตีพิมพ์ และรางวัลที่อาจารย์ ได้รับจากงานวิจัย
2. research center เข้าไม่ได้

[ตัวบ่งชี้ 2.2] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายใน 487,680.00 5.00
[2] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายนอก 96,120.00
[3] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ทั้งภายในและภายนอก [1] + [2] 583,800.00
[4] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมอาจารย์ที่ลาศึกษาต่อ] 9.00
[5] จำนวนนักวิจัยประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมนักวิจัยที่ลาศึกษาต่อ] 0.00
[6] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบันต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัย [3] / ([4] +[5]) 64,866.67
[7] ผลลัพธ์ที่ได้ [6] X 5 / 50000 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ข้อมูลจากสถาบันวิจัยปรากฏทุนวิจัยภายใน = 509,864.50 บาท (นับรวมอัตราส่วนทุนร่วม ม.รังสิต และ สสส.) ทุนวิจัยภายนอก = 73,935.50 บาท รวม 583,800 บาท

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = 60,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = 50,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = 25,000 บาทขึ้นไปต่อคน

[ตัวบ่งชี้ 2.3] ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย

หมายเหตุ เป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในรอบปีที่รับการประเมินเท่านั้น [ช่องไหนไม่มีผลงานให้ใส่ 0 ไม่ปล่อยว่าง]
จำนวนผลงานทางวิชาการตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 0 0 6
จำนวนผลงานสร้างสรรค์ตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 0 0 0
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] ผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ 6.00 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 9.00
[3] จำนวนนักวิจัยประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 0.00
[4] ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ [1] X 100 / [2] + [3] 66.67
[5] ผลลัพธ์ที่ได้ [4] X 5 / 30 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ผลงานวิชาการ มาจากอาจารย์หลักสองท่าน

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 20 ขึ้นไป

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 2

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. คณะมีผลงานวิจัยที่มีคุณค่าสูงและปริมาณมากเมื่อเทียบกับจำนวนอาจารย์ แต่ผลงานจะเป็นของอาจารย์ 1- 2 ท่าน จึงควรสนับสนุนการทำวิจัยของอาจารย์ท่านอื่นเพื่อให้มีผลงานวิจัยเพิ่มมากขึ้น
  2. มีการจัดการประชุมระดับชาติและนานาชาติที่จะช่วยในการเผยแพร่ผลงานวิจัยของนักศึกษาและอาจารย์ได้เป็นอย่างดี

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. สนับสนุนการเป็นนักวิจัยพี่เลี้ยง ในการช่วยเหลืออาจารย์รุ่นใหม่ในการทำวิจัย และเพิ่มประสบการณ์ทำวิจัย การเขียนขอทุนวิจัย การเขียนบทความวิจัย

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

[ตัวบ่งชี้ 3.1] การบริการวิชาการแก่สังคม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ข้อ 4 รายงานการประชุมกรรมการคณะที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลสำเร็จของโครงการบริการวิชาการ

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 3

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. งานบริการวิชาการของคณะตรงตามแผนงานบริการวิชาการที่มุ่งเน้นบริการชุมชน
  2. งานบริการวิชาการของคณะสามารถนำไปใช้ในการขอทุนวิจัยของ สสส. ได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อคณะ มหาวิทยาลัย และชุมชน

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ประเมินผลการบริการวิชาการอย่างรอบด้านและใช้ในการปรับปรุงการบริการวิชาการในปีถัดไป

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

[ตัวบ่งชี้ 4.1] ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 - 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ข้อ 1 ผ่าน
ข้อ 2 ผ่าน
ข้อ 3 ข้อนี้ เมื่อจัดทำแผนทำนุบำรุงฯ แล้วทำการกำกับติดตาม เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งจากการเขียนผลการดำเนินงาน สามารถนำไปเขียนไว้ในแผนทำนุบำรุงฯ ได้เลย
ข้อ 4 แผนทำนุบำรุงฯ ถ้าใช้หลักฐานชิ้นเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องตั้งรหัสใหม่ก็ได้
ข้อ 5 ผ่าน
ข้อ 6 ผ่าน
ข้อ 7 ไม่มีการดำเนินงาน

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 4

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. -

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. มีผลการดำเนินงานในการจัดทำแผนทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม แต่ไม่พบหลักฐานอ้างอิง ดังนั้นขอเสนอแนวทางการจัดทำแผนให้สมบูรณ์ โดยเริ่มจากการวิเคราะห์ SWOT ด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม กำหนดวัตถุประสงค์ของแผน กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ หลังจากนั้น ทำการประเมินความสำเร็จตัวชี้วัดตามวัตุประสงค์ของแผนที่ตั้งไว้

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

[ตัวบ่งชี้ 5.1] การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
4.00
การจัดการความรู้ในแต่ละด้าน จำนวน
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการผลิตบัณฑิต [ยุทธ์ ฯ 1] 1
เรื่อง
  • การเตรียมความพร้อมบัณฑิตเพื่อเตรียมการสอบใบประกอบโรคศิลป์
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการวิจัย [ยุทธ์ ฯ 2] 1
เรื่อง
  • การสร้างนวัตกรรมงานวิจัย (Innovative Research and Development)
การจัดการความรู้ ด้าน Smart Organization [ยุทธ์ ฯ 3] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Internationalization [ยุทธ์ ฯ 4] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Reputation [ยุทธ์ ฯ 5]
(รวมด้านบริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม)
0
การจัดการความรู้ ด้านอื่น ๆ 0

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

เกณฑ์ข้อ 1
- ไม่พบระบบ/ กระบวนการ/ ขั้นตอน และ กลไก/ คณะกรรมการ/ ผู้รับผิดชอบ การจัดทำแผนกลยุทธ์ของคณะที่ชัดเจน
- ไม่พบเอกสารอ้างอิง 3 รายการ
   1) แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคณะรังสีเทคนิค พ.ศ.2564-2569 (ที่ upload ไว้ในรหัส รส.อ5.5.1.1.01 เป็นแผนพัฒนาด้านกำลังคนและปัจจัยเกื้อหนุน)
   2) แผนปฏิบัติงานประจำปีการศึกษา 2565 
   3) สรุปแผนปฏิบัติงานประจำปีการศึกษา
2565 
- ไม่พบกระบวนการวิเคราะห์ SWOT การกำหนดกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT การพัฒนาแผนกลยุทธ์ การกำหนดเป้าหมาย การกำหนด OKR/ KR  และการกำหนดโครงการ/ กิจกรรม เพื่อนำแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ 

- ไม่พบแผนกลยุทธ์ทางการเงิน
- รายงานการประชุมคณะกรรมการคณะครั้งที่ 3/ 2565 กล่าวถึงแผนปฏิบัติการประจำปี 2565 และครั้งที่ 4/2565 กล่าวถึงแผนยุทธศาสตร์ด้านการวิจัยของคณะอยู่บ้าง แต่ขาดรายละเอียดสำคัญ ๆ 

ข้อเสนอแนะ
- upload เอกสารให้ครบถ้วนและตรงตามหมายเลขเอกสาร
- ควรอธิบายให้เห็น
ระบบและกลไก การจัดทำแผนกลยุทธ์ของคณะ ตามวงจร PDCA ให้ครบถ้วนและชัดเจน
- ควรจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงินของคณะ

เกณฑ์ข้อ 2
- มี
การวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร และ จำนวนนักศึกษาเทียบเท่ากับจำนวนนักศึกษา ณ จุดคุ้มทุน ในมุมมองการบริหาร คณะรังสีเทคนิคสามารถบริหารหลักสูตรได้เกินจุดคุ้มทุน แต่หากมองในเชิงวิชาการจะพบว่า สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำที่เป็นจริงเท่ากับ 18.45 : 1 ซึ่งเกินเกณฑ์ที่กำหนดให้กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ เท่ากับ 8 : 1
- งบประมาณโครงการพัฒนาส่วนใหญ่ใช้ไปในการพัฒนานักศึกษา (ร้อยละ.71.43) ส่วนการพัฒนาการเรียนการสอน มีเพียงร้อยละ 6.9 
- ด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลการผลิตบัณฑิต
 คณะสามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ โดยอัตราการได้งานทำของบัณฑิตหลังสำเร็จการศึกษาภายใน 1 ปีอยู่ที่ร้อยละ100 ผลประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตอยู่ในระดับดีถึงดีมาก (แต่ไม่ได้ระบุคะแนนเฉลี่ยรวม)
ข้อเสนอแนะ
-
upload เอกสารอ้างอิงให้ครบถ้วน
ควรสรรหาอาจารย์เพิ่ม เพื่อให้ได้สัดส่วนกับจำนวนนักศึกษาที่มีอยู่ และสอดคล้องกับข้อกำหนดของคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค
- ควรเพิ่มโครงการพัฒนาการเรียนการสอนให้มากขึ้น 


เกณฑ์ข้อ 3
ไม่พบเอกสารหลักฐานอ้างอิง ที่แสดงให้เห็นว่ามีการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยต่างๆ 
ข้อเสนอแนะ
- upload เอกสารอ้างอิงให้ครบถ้วน

เกณฑ์ข้อ 4
- มีการรายงานการดำเนินการภายใต้หลักธรรมาธิบาลครบทั้ง 10 ข้อ 
- มีการกำหนดความรับผิดชอบของรองคณบดี
- อาจารย์มีโอกาสเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการคณะอย่างสม่ำเสมอทุกคน (ตามที่เขียนใน SAR) 
- ไม่พบตารางการกำกับดูแลการดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จ
- ไม่พบเอกสารหลักฐานอ้างอิง 

ข้อเสนอแนะ
- ควร upload เอกสารอ้างอิงที่สอดคล้องกับเกณฑ์ข้อ 4 จะช่วยให้เห็นการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลที่ชัดเจนขึ้น
ควรกำหนดภาระความรับผิดชอบของผู้บริหารคณะในแต่ละตำแหน่งให้ครบถ้วน
- ควรรายงานผลประเมินการปฏิบัติงานประจำปีของผู้บริหารคณะตำแหน่งต่างๆ 
- ควรบันทึกรายชื่ออาจารย์ที่เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการคณะในรายงานการประชุมด้วยทุกครั้ง
- ควรเพิ่มตารางการกำกับดูแลการดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จ

เกณฑ์ข้อ 5
มีการจัดการความรู้จากแนวปฏบัติที่ประสบความสำเร็จ โดยคณะได้ส่งโครงการการจัดการความรู้รวม 2 เรื่อง ได้รับรางวัลแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) รางวัลชมเชยทั้ง 2 เรื่อง 
เกณฑ์ข้อ 6
- ไม่พบระบบ กลไก นโยบาย และ แผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคลทั้งสายผู้บริหาร สายสอน และสายสนับสนุน ที่ชัดเจน 
- ไม่พบเอกสารการเข้าร่วมอบรม/ สัมมนาของบุคลากรทุกสายงาน ปีการศึกษา 2565 
- มีการกำหนด Managerial competency สำหรับอาจารย์ที่มีตำแหน่งบริหาร และ Functional competency  สำหรับอาจารย์ประจำคณะ นอกเหนือไปจากสมรรถนะที่มหาวิทยาลัยกำหนด
 ข้อเสนอแนะ
- ควรจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคลทั้งสายผู้บริหาร สายสอน และสายสนับสนุน ให้ชัดเจน 

เกณฑ์ข้อ 7
- ผ่านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร

- ไม่พบเอกสารหลักฐานอ้างอิง
ข้อเสนอแนะ
ควรให้รายละเอียดการ
ปรับให้การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานคณะตามปกติ ทั้งการควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ

[ตัวบ่งชี้ 5.2] ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
4.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

- ไม่พบเอกสารหลักฐานอ้างอิง
- จากรายงานการประชุมคณะกรรมการคณะ ครั้งที่ 3/2565 มีการรายงานผลการประกันคุณภาพการศึกษาหลักสูตรต่อที่ประชุมคณะกรรมการคณะ แต่ไม่พบข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการคณะเพื่อการปรับปรุงหลักสูตร (ตามเกณฑ์ข้อ 5)

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 5

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. คณะรังสีเทคนิคสามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ โดยอัตราการได้งานทำของบัณฑิตหลังสำเร็จการศึกษาภายใน 1 ปีอยู่ที่ร้อยละ 100
  2. มีการจัดการความรู้จากแนวปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จ โดยโครงการจัดการความรู้ของคณะได้รับรางวัลแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) รางวัลชมเชย 2 เรื่อง แนวทางเสริมจุดแข็ง คณะควรจัดกิจกรรม PLC เพื่อให้อาจารย์ในคณะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำแนวทางปฏิบัติที่ดีที่ได้รับรางวัลดังกล่าวไปปฏิบัติและต่อยอดต่อไป
  3. มีการกำหนด Managerial competency สำหรับอาจารย์ที่มีตำแหน่งบริหาร และ Functional competency สำหรับอาจารย์ประจำคณะ นอกเหนือไปจากสมรรถนะที่มหาวิทยาลัยกำหนด แนวทางเสริมจุดแข็ง คณะควรใช้ประโยชน์จากการกำหนด Competency อย่างจริงจัง โดยประเมินสมรรถนะอาจารย์ เพื่อหา Gap competency และนำไปใช้เป็นแนวทางพัฒนาอาจารย์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ควรใช้แนวทางดังกล่าวนี้กับบุคลากรสายสนับสนุนด้วยเช่นกัน

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ควรสรรหาอาจารย์เพิ่ม เพื่อให้ได้สัดส่วนกับจำนวนนักศึกษาที่มีอยู่ และสอดคล้องกับข้อกำหนดของคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค
  2. ควรเพิ่มโครงการพัฒนาการเรียนการสอนให้มากขึ้น
  3. ควรจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคลทั้งสายผู้บริหาร สายสอน และสายสนับสนุน ให้ชัดเจน

สรุปผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลดำเนินการ
กรรมการ
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม 3.74
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 1.39
ตัวบ่งชี้ที่ 1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 1.85
ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ 0.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ 4.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร 4.00
ผลการประเมินเฉลี่ยรวม [13 ตัวบ่งชี้] 3.84

ตารางผลการวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบคุณภาพ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
1 6 1.08 5.00 3.74 2.83 การดำเนินงานระดับพอใช้
2 3 5.00 5.00 5.00 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
3 1 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
4 1 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
5 2 - 4.00 - 4.00 การดำเนินงานระดับดี
ผลการประเมิน 2.06 4.71 4.37 3.84 การดำเนินงานระดับดี
ระดับคุณภาพ การดำเนินงานต้องปรับปรุง การดำเนินงานระดับดีมาก การดำเนินงานระดับดี