รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565

คณะวิทยาศาสตร์

วันที่ประเมิน: 6 ตุลาคม 2566, 09:30น.

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

[ตัวบ่งชี้ 1.1] ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน คะแนน
[1] จำนวนหลักสูตรทั้งหมดที่คณะรับผิดชอบ
[ไม่รวมหลักสูตรที่ใช้ระบบประกันคุณภาพอื่นๆ ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2563 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2565)]
3 3.94
[2] ผลรวมของค่าคะแนนประเมินของทุกหลักสูตร 11.82
[3] ผลลัพธ์ที่ได้ [2] / [1] 3.94

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

หลักสูตรมีคุณภาพดี อาจารย์มีคุณภาพสูง ควรมีกระบวนการติดตาม ควบคุม ดำเนินการให้ นศ.สำเร็จการศึกษาตามเวลาของหลักสูตร (4 ปี)

[ตัวบ่งชี้ 1.2] อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 40 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 78.50 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 58
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 73.89
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 40 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

อาจารย์มีคุณวุฒิปริญญาเอก ในสัดส่วนที่สูง ดีมาก

[ตัวบ่งชี้ 1.3] อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 60 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 78.50 4.88
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 46
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 58.60
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 60 4.88

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 1.4] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] สามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า [ค่า FTES] รวมทุกหลักสูตร 198.62 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] 78.50
[3] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำที่เป็นจริง [1] / [2] 2.53
[4] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำแยกตามกลุ่มสาขาวิชา 20.00
[5] ร้อยละที่ได้ ([3] – [4] / [4]) X 100 -87.35
[6] ผลลัพธ์ที่ได้ 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

สัดส่วน จำนวน นศ.ต่ออาจารย์ประจำ ดีมากๆ

[ตัวบ่งชี้ 1.5] การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 1.6] กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00
14
14
100.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 1

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. การบริหารจัดการหลักสูตรมีคุณภาพดี
  2. อาจารย์มีคุณวุฒิ มีความเชี่ยวชาญ และมีศักยภาพสูง
  3. มีความร่วมมือภายในองค์กร ระหว่างอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาดี ทำให้การพัฒนางาน การจัดกิจกรรมต่างๆ ประสบผลสำเร็จ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ส่งเสริมความก้าวหน้า ด้านการดำรงตำแหน่งทางวิชาการให้มากขึ้น และสูงขึ้น อย่างต่อเนื่อง
  2. ส่งเสริมความสามารถในด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรมชีวการแพทย์ ให้แก่นักศึกษา เพื่อให้บัณฑิตมีเอกลักษณ์ตามเป้าหมายของมหาวิทยาลัย

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

[ตัวบ่งชี้ 2.1] ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

เกณฑ์ข้อที่ 1 คณะมีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างชัดเจน ประกอบไปด้วย (1) ระบบสารสนเทศที่คณะดำเนินการเอง ได้แก่ เว็บไซต์ของคณะ, email, ข่าวสารรายวันของคณะ และเว็บไซต์ของภาควิชา (2) ระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัย ได้แก่ เว็บไซต์สถาบันวิจัย แต่ขอให้เพิ่มเติม ฐานข้อมูลการวิจัยของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต 
เกณฑ์ข้อที่ 2 หัวข้อ 2.4 ขอให้เพิ่มเติม การให้คำอธิบายข้อมูลเกี่ยวกับโครงการความร่วมมือของคณะฯ กับสถาบันวิจัยในการจัดประชุม RSUSCI 2023 และความร่วมมือกับ 11 หน่วยงานในการจัดประชุม ASTC 2023 ดังต่อไปนี้ (1)ลักษณะของความร่วมมือกับทั้ง 2 โครงการ คณะฯ มีส่วนร่วมในด้านใด (2)ผลการดำเนินงานเป็นเช่นไร และเป็นการสนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยของนักศึกษา อาจารย์และนักวิจัยของคณะอย่างไร
เกณฑ์ข้อที่ 3 ขอให้อัพเดทข้อมูล การให้ทุนวิจัยของศูนย์พัฒนาการเรียนการสอน เนื่องจากในปีการศึกษา 2565 ได้ถูกยุบรวมสำนักงานให้อยู่ในความรับผิดชอบของสถาบันวิจัย 
เกณฑ์ข้อที่ 3 และ เกณฑ์ข้อที่ 4 ขอให้เพิ่มเติมระบบกลไกการสนับสนุนทุนวิจัยของคณะเป็นอย่างไร 
เกณฑ์ข้อที่ 5 ขอให้จัดลำดับการนำเสนอข้อมูลผลการดำเนินงาน โดยการนำเสนอเรียงตามลำดับประเด็นตามเกณฑ์ข้อที่ 5 คือการนำเสนอข้อมูลกระบวนการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์ขึ้นก่อน จากนั้นจึงนำเสนอข้อมูลการสร้างขวัญและกำลังใจ รวมทั้งการยกย่องอาจารย์เป็นลำดับถัดมา
***ในภาพรวมเกณฑ์ข้อที่ 3- เกณฑ์ข้อที่ 6 ขอให้คณะรายงานเพิ่มเติมถึงระบบกลไกการส่งเสริมของคณะในด้านการพัฒนางานวิจัย

[ตัวบ่งชี้ 2.2] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายใน 1,750,364.00 2.25
[2] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายนอก 373,420.00
[3] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ทั้งภายในและภายนอก [1] + [2] 2,123,784.00
[4] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมอาจารย์ที่ลาศึกษาต่อ] 78.50
[5] จำนวนนักวิจัยประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมนักวิจัยที่ลาศึกษาต่อ] 0.00
[6] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบันต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัย [3] / ([4] +[5]) 27,054.57
[7] ผลลัพธ์ที่ได้ [6] X 5 / 60000 2.25

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

1) คณะได้เงินสนับสนุนงานวิจัยจากสถาบันวิจัย ม.รังสิต รวม 8 โครงการ
2) คณะได้เงินสนับสนุนงานวิจัยจาก วช. และ สสส. รวม 2 โครงการ

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = 60,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = 50,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = 25,000 บาทขึ้นไปต่อคน

[ตัวบ่งชี้ 2.3] ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย

หมายเหตุ เป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในรอบปีที่รับการประเมินเท่านั้น [ช่องไหนไม่มีผลงานให้ใส่ 0 ไม่ปล่อยว่าง]
จำนวนผลงานทางวิชาการตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 4 4 3 1 16
จำนวนผลงานสร้างสรรค์ตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 0 0 0
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] ผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ 21.00 4.46
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 78.50
[3] จำนวนนักวิจัยประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 0.00
[4] ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ [1] X 100 / [2] + [3] 26.75
[5] ผลลัพธ์ที่ได้ [4] X 5 / 30 4.46

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 20 ขึ้นไป

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 2

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. คณะฯ สามารถสร้างระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาสมรรถนะของอาจารย์ด้านงานวิจัยและวิชาการ ส่งผลให้มีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ และการประชุมวิชาการทั้งในระดับชาติและนานาชาติเป็นจำนวนมาก
  2. คณะฯ สนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยอย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะความร่วมมือกับหน่วยงานภายใน ได้แก่ สถาบันวิจัย และหน่วยงานภายนอกอีก 11 สถาบัน จัดประชุมวิชาการทั้งระดับชาติและนานาชาติ เป็นช่องทางการเผยแพร่ผลงานวิจัยและเป็นการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัย อันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่นักศึกษาและอาจารย์ของคณะฯ ในอนาคต

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ถึงแม้ว่าในปีการศึกษา 2565 คณะฯ ได้พยายามปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงาน เพื่อให้อาจารย์และนักวิจัยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีการศึกษาก่อนหน้าแล้วก็ตาม แต่ก็ยังคงไม่บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ดังนั้น คณะฯ ควรมีแนวทางส่งเสริม สนับสนุน และกระตุ้นเตือนให้อาจารย์และนักวิจัยขอรับทุนสนับสนุนทั้งจากแหล่งทุนภายในและภายนอกอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

[ตัวบ่งชี้ 3.1] การบริการวิชาการแก่สังคม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-คณะได้ทุ่มเทการดำเนินการกิจกรรมด้านบริการวิชาการ มากถึง 13 โครงการ (มากจริงๆ) ขอชมเชยในความพยายามทำงานของอาจารย์และบุคลากร
-เขียนรายงานในองค์ประกอบที่ 3 ได้ละเอียดดีมาก ตัวอย่างเช่น การปรับปรุงแผนงานหรือปรับปรุงกิจกรรม โดยอ้างถึง ผลการดำเนินงานของปีการศึกษา 2563 จนมาถึง 2565 และ สิ่งที่จะทำในปีการศึกษา 2566

ขอให้ปรับแก้ไข
-รายการเอกสารอ้างอิง วท.อ.3.3.1.1.01 ระบบกลไก และแผนการดำเนินงานบริการวิชาการ และเอกสาร วท.อ3.3.1.1.20 แผนการดำเนินงานบริการวิชาการ มีส่วนเหมือนกัน ให้ใช้เอกสารอ้างอิง  วท.อ.3.3.1.1.01 ฉบับเดียว เพียงพอแล้ว
-ข้อ 4 ประเมินความสำเร็จและนำเสนอกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา ให้ เพิ่มประโยคหรือแก้ไข ประโยคในรายงานหน้า 90 ท้ายย่อหน้าแรก "ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมาย" เปลี่ยนเป็น "กรรมการประจำคณะ"
-รายการเอกสารอ้างอิง ข้อ 6 ให้เพิ่ม รายการ "แผนบริการวิชาการระดับมหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2565" download จากศูนย์บริการทางวิชาการได้เลย

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 3

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. จำนวนอาจารย์และบุคลากร มีมากเพียงพอ และมีศักยภาพดำเนินการกิจกรรมด้านบริการด้านวิชาการ
  2. มีเครือข่ายร่วมดำเนินการที่เข้มแข็ง ทั้งภายในมหาวิทยาลัยรังสิต และต่างสถาบัน
  3. สามารถสร้างเครือข่าย กับเป้าหมายผู้รับบริการได้อย่างประสบผลสำเร็จ จนเกิดกิจกรรมที่ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. เพิ่มกิจกรรมหรือโครงการบริการวิชาการแบบมีรายได้ ให้มากขึ้น

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

[ตัวบ่งชี้ 4.1] ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 - 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

เกณฑ์ข้อ 1  คณะฯ มีการกำหนดผู้รับผิดชอบและภาระหน้าที่ในการบริหารจัดการงานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมได้อย่างเป็นรูปธรรม ประกอบไปด้วยรองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา, คณะกรรมการฝ่ายกิจการนักศึกษา และ คณะกรรมการบริหารสโมสรบุคลากรและคณะกรรมการนักศึกษา 
เกณฑ์ข้อ 2 คณะกรรมการทั้ง 3 ชุด ได้ร่วมกันกำหนดนโยบายแล้วจัดทำแผนปฏิบัติการของโครงการ/กิจกรรม ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยและกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้อย่างชัดเจน
เกณฑ์ข้อ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ/กิจกรรม ทั้ง 9 โครงการ/กิจกรรม มีการกำกับดูแล ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของแผน ด้วยระบบการพัฒนาคุณภาพ PDCA ได้อย่างครบถ้วน
เกณฑ์ข้อ 4 คณะฯ ได้ประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบไปด้วย (1) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ มีค่าเฉลี่ย 4.64 และจำนวนผู้เข้าร่วมทุกโครงการมากกว่า 80% ของกลุ่มเป้าหมาย (2)การจัดโครงการ/กิจกรรม ตามแผนฯ บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ถึง 100% (3)นักศึกษามีส่วนร่วมทุกโครงการ/กิจกรรม ที่คณะจัดขึ้น (4)มีการจัดโครงการ/กิจกรรม ที่บูรณาการด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอนถึง 4 รายวิชา 
เกณฑ์ข้อ 5 คณะฯ มีการนำผลการประเมินจากปีการศึกษาก่อนหน้ามาปรับปรุงในการจัดทำแผนปฏิบัติการได้อย่างครบถ้วน ตามข้อเสนอแนะจากผลการประเมินถึง 6 โครงการ/กิจกรรม
เกณฑ์ข้อ 6 คณะฯ ได้มีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่กิจกรรมสู่สาธารณะในเว็บไซต์และ Facebook คณะ รวมทั้งฝ่ายสื่อสารองค์กรของมหาวิทยาลัย ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา คือ คณะฯ ควรจัดทีมหรือคณะกรรมการสำหรับการสร้างสรรค์คอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์โครงการ/กิจกรรม ผ่านสื่อดิจิทัลในรูปแบบวล็อก (Vlog) เป็นต้น เพื่อเผยแพร่กิจกรรมได้อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น
เกณฑ์ข้อ 7 ยังมิได้ดำเนินการ

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 4

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. คณะฯ สามารถบริหารจัดการระบบกลไกการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมได้อย่างโดดเด่น ทั้งการกำหนดผู้รับผิดชอบการจัดทำแผนและกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ การกำกับติดตามให้เกิดการดำเนินงานตามแผน การประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ที่วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ รวมทั้งการนำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนโครงการ/กิจกรรมได้อย่างเป็นรูปธรรม ส่งผลให้ทุกโครงการ/กิจกรรม ประสบผลสำเร็จในระดับสูง
  2. ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้การดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรรมของคณะฯ ประสบความสำเร็จในระดับสูง คือ การกำหนดผู้รับผิดชอบที่เป็นความร่วมมืออย่างเข้มแข็งระหว่างฝ่ายบริหารกิจการนักศึกษา บุคลากร และนักศึกษา ผ่านรูปแบบคณะกรรมการทั้ง 3 ชุด ประกอบด้วย คณะกรรมการกิจการนักศึกษา คณะกรรมการบริหารสโมสรบุคลากร และคณะกรรมการนักศึกษา ซึ่งเป็นแนวทางการปฏิบัติที่ดีและควรเป็นแนวทางการดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่องต่อไป

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. คณะฯ ควรริเริ่มการดำเนินงานเพื่อกำหนดหรือสร้างมาตรฐานด้านศิลปะและวัฒนธรรมให้เป็นแบบอย่าง และแสดงถึงเอกลักษณ์ของคณะวิทยาศาสตร์ให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ ในอนาคต
  2. คณะฯ ควรกำหนดวัตถุประสงค์ของแผนกิจกรรม/โครงการในด้านนี้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมที่กำหนดโดยสถาบันส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาสังคม ของมหาวิทยาลัยรังสิต

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

[ตัวบ่งชี้ 5.1] การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00
การจัดการความรู้ในแต่ละด้าน จำนวน
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการผลิตบัณฑิต [ยุทธ์ ฯ 1] 2
เรื่อง
  • Formative Premium
  • การประยุกต์ Power Automate ในการส่งข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อรองรับการบังคับใช้ PDPA
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการวิจัย [ยุทธ์ ฯ 2] 1
เรื่อง
  • การเขียนขอทุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอกสถาบัน
การจัดการความรู้ ด้าน Smart Organization [ยุทธ์ ฯ 3] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Internationalization [ยุทธ์ ฯ 4] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Reputation [ยุทธ์ ฯ 5]
(รวมด้านบริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม)
1
เรื่อง
  • สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน
การจัดการความรู้ ด้านอื่น ๆ 0

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

1. มีระบบและกลไกคณะในการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคณะ  นำสู่การปฏิบัติได้อย่างทั่วถึงจากการที่ภาควิชาหรือสาขาวิชาได้เข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนปฏิบัติการประจำปี  มีแผนการเงินและงบประมาณ ที่สะท้อนถึงแหล่งเงินทุนดำเนินงาน  พบว่ามีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี  แต่ยังไม่พบสรุปผลการดำเนินงานตามแผนยุทธ์ศาสตร์ฯ  ควรทบทวนความเชื่อมโยงระหว่างเป้าประสงค์กับวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ในประเด็นยุทธศาสตร์แต่ด้าน  เพื่อให้การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนามีความสมบูรณ์ครบถ้วนในทุกประเด็นยุทธศาสตร์
2. ควรรายงานให้ชัดเจนเกี่ยวกับการปิดหลักสูตรวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเคมีประยุกต์  ว่าทางคณะมีแผนหรือขั้นตอนการดำเนินงานอย่างไร ตามที่รายงานไว้ในข้อ 2  การสรุปว่าคณะสามารถบริหารหลักสูตรที่เปิดดำเนินการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และมีศักยภาพแข่งขัน  จะเป็นถูกตรงกับข้อเท็จจริงทั้งหมดหรือไม่ ขอให้พิจารณา
3. การบริหารความเสี่ยง เป็นไปตามแนวทางของมหาวิทยาลัย โดยมีการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยง และความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ซึ่งจากการบริหารความเสี่ยงของคณะ สามารถทำให้ระดับความเสี่ยงในหลายด้านๆ อยู่ในระดับยอมรับได้  ยกเว้น ในการบรรลุเป้าหมายเรื่องทุนวิจัยต่ออาจารย์ ซึ่งทางคณะยังไม่สามารถลดผลกระทบปัจจัยเสี่ยงตามเหตุผลที่รายงานให้ทราบ อย่างไรก็ตามยังมีความเสี่ยงด้านยุทธศาสตร์ ประเด็นยุทธ์ฯ ที่ 4  ที่พบว่าทางคณะไม่ได้นำเป็นประเด็นการบริหารความเสี่ยง แต่ในแผนปฏิบัติการประจำปี ที่แสดงกิจกรรมโครงการพัฒนาภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษา ค่อนข้างชัดเจน  จึงขอให้ทางคณะนำกลยุทธ์ที่ใช้ในการกำหนดรายวิชาที่สอนใช้ข้อสอบเป็นภาษาอังกฤษ รวมทั้งการสนับสนุนนักศึกษาได้เข้าร่วมกิจกรรมกับสถาบันภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัย กำหนดเป็นมาตรการในการบริหารความเสี่ยงในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 
4. การใช้หลักธรรมภิบาลในการบริหาร เสนอให้เพิ่มเติมหลักฐานเกี่ยวกับการสำรวจความคิดเห็น ความพึงพอใจ ของบุคลากรในคณะที่มีต่อการบริหารคณะของคณบดี ผู้บริหารคณะ ผู้บริหารหลักสูตร  เพื่อเป็นข้อมูลป้อนกลับให้กับผู้บริหารทุกระดับ ซึ่งจะทำให้เกิดความโปร่งใส การมีส่วนร่วมในการพัฒนาคณะทุกมิติ  
5. การค้นหาแนวปฏิบัติที่ดี สะท้อนให้เห็นถึงการเป็นสถาบันการศึกษาที่มุ่งพัฒนาสร้างความรู้จากประสบการณ์ และการทำงานตรง ในด้านการพัฒนาผู้เรียนทั้งในระบบและชุมชน เป็นแหล่งความรู้ที่เป็นที่ยอมรับและเผยแพร่สู่ประชาคมการศึกษาได้  
6. การพัฒนาบุคลากร ยังไม่ชัดเจนว่าได้มีการนำสู่การปฏิบัติโดยแท้จริงหรือไม่ และได้ผลอย่างไร ขอหลักฐานเพิ่มเติมหากมีการติดตามผลการพัฒนาตนเองเป็นรายบุคคล การบรรลุเป้าหมายของแผนพัฒนาบุคลากร และการบรรลุเป้าหมาย KR ของประเด็นยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
7. ระบบและกลไกการประก้นคุณภาพ มีความสอดคล้องกับพันธกิจสถาบัน 4 ด้าน แต่ในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคณะ ไม่ได้ระบุพันธกิจด้านบริหารจัดการที่เชื่อมโยงได้ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 ดังนั้น การปรับการดำเนินการด้านการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการคณะ จึงทำให้การรายงานผลการดำเนินงานข้อ 7 ในส่วนของการควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ ไม่สะท้อนได้อย่างชัดเจนถึงการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย พ.ศ 2563 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2565

[ตัวบ่งชี้ 5.2] ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

1. ระบบและกลไกการกำกับการดำเนินงานการประกันคุณภาพ  ที่รายงานผลการดำเนินงานไม่ตรงประเด็นขอให้ศึกษา ในคู่มือมาตรฐานคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต ฉบับปัจจุบัน
2. ในการแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา ควรกำหนดบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบให้ชัดเจน เพื่อให้การกำกับติดตามผลการดำเนินงานของหลักสูตรได้มีกำหนดเวลาที่เหมาะสม และสามารถรายงานให้กับกรรมการประจำคณะได้ทันเวลา
3. ควรอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการพิจารณาการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของหลักสูตร ให้สามารถตอบสนองเป้าหมายคุณภาพการศึกษา
4. ไม่มีข้อคิดเห็น
5. ควรรายงานเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพิจารณาให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการดำเนินงานเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพต่อเนื่อง จากคณะกรรมการคณะ และขอให้เพิ่มหลักฐานแผนการปรับปรุงการดำเนินงานปี 2565 
6. ไม่มีข้อคิดเห็น

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 5

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. คณะวิทยาศาสตร์ มีโครงสร้างการบริหารคณะและกำหนดบทบาทหน้าที่ ชัดเจนและเป็นลายลักษณ์อักษร มีระบบและกลไกในการบริหาร ที่เข้มแข็ง ทำให้การดำเนินงานในรอบปีการศึกษา 2565 มีผลการดำเนินงานบรรลุเป้าหมายแผนปฏิบัติการประจำปี และควบคุมการใช้จ่ายให้อยู่ในงบประมาณที่จำกัด กล่าวได้ว่าดำเเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล แนวทางเสริมจุดแข็ง การนำผลการประเมินการดำเนินงานในอดีต มาใช้ในการปรับปรุงการดำเนินงาน ที่ยังมีผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามเป้าหมายท้้งในด้านการประก้นคุณภาพ และด้านการดำเนินงานตามแผน
  2. ด้วยจำนวนและศักยภาพทางวิชาการ ของบุคลากรของคณะ ประกอบกับการบริหารจัดการที่เป็นระบบและใช้กระบวนการคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อาจารย์ประจำมีผลงานเชิงประจักษ์ ที่ได้รับรางวัลในระดับสากล และระดับประเทศ รวมทั้งรางวัลที่ได้รับจากมหาวิทยาลัย แนวทางเสริมจุดแข็งในด้านนี้ คือ การสร้างทีมนักวิจัย และนวัตกรรม ที่ประกอบด้วยคณาจารย์ที่มีวุฒิปริญญาเอก และมีประสบการณ์การวิจัยและนวัตกรรมเป็นผู้นำทีม ร่วมกับผู้ที่มีประสบการณ์น้อย ในการสร้างใหม่หรือต่อยอดขยายผลการวิจัยที่มีอยู่เดิม แบบมุ่งเป้าการนำไปใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม หรือชุมชน
  3. คณบดี และผู้บริหาร ใช้หลักธรรมภิบาล ในการบริหารและพัฒนาบุคลากรของคณะซึ่งมีเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ได้รับความร่วมมือในการทำงาน การมีส่วนร่วมในการวางแผน การดำเนินงานตามแผน การติดตามประเมินผล ทำให้การขับเคลื่อนเป้าหมายโครงการหรือกิจกรรมพัฒนา ประสบความสำเร็จ แนวทางเสริมจุดแข็ง ในการติดตามประเมินผลการดำเนินงานในทุกภาคส่วน ควรเพิ่มการวิเคราะห์ปัจจัยอุปสรรค ปัจจัยสนับสนุน ความสำเร็จที่เกิดขึ้น และนำมาใช้ในการปรับปรุงการเนินงาน ผู้บริหารควรเปิดโอกาสให้บุคลากรได้แสดงความคิดเห็น เพื่อสะท้อนประสิทธิภาพการบริหารจัดการของผู้บริหารทุกระดับ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. คณะควรมีแผนปรับปรุงการดำเนินงานหลักสูตร ที่ยังมีผลการดำเนินงานทางการเงินไม่เป็นไปตามเป้าหมายด้านคุณภาพ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และประสิทธิผลในการดำเนินงานของหลักสูตรในทุกมิติ
  2. การทำให้การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการคณะมีความชัดเจนมากขึ้น โดยการสร้างความยอมรับ และความเชื่อมั่นในระบบการประกันคุณภาพให้กับบุคลากรคณะทั่วทุกภาคส่วนเป็นเรื่องสำคัญ ขอเสนอแนะให้มีการประชุมหรือสัมมนาวิชาการ ในหัวข้อการบริหารอย่างมีคุณภาพทั้งในระดับหลักสูตรและระดับคณะ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างความเข้าใจและการยอมรับในการขับเคลื่อนเป้าหมายคุณภาพในทุกองค์ประกอบ การค้นหาแนวปฏิบัติที่ดี ที่จะทำให้การดำเนินงานในทุกมิติประสบความสำเร็จบรรลุเป้าหมาย
  3. ด้วยความสามารถของคณบดีและผู้บริหารคณะ เสนอให้พิจารณาความเป็นไปได้และความพร้อมที่ก้าวไปสู่ระบบการประกันคุณภาพสากลทั้งในระดับหลักสูตร และระดับคณะ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาที่สามารถเปรียบเทียบได้อย่างชัดเจน

สรุปผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลดำเนินการ
กรรมการ
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม 3.94
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 4.88
ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 2.25
ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย 4.46
ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร 5.00
ผลการประเมินเฉลี่ยรวม [13 ตัวบ่งชี้] 4.66

ตารางผลการวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบคุณภาพ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
1 6 4.96 5.00 3.94 4.80 การดำเนินงานระดับดีมาก
2 3 2.25 5.00 4.46 3.90 การดำเนินงานระดับดี
3 1 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
4 1 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
5 2 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
ผลการประเมิน 4.28 5.00 4.20 4.66 การดำเนินงานระดับดีมาก
ระดับคุณภาพ การดำเนินงานระดับดี การดำเนินงานระดับดีมาก การดำเนินงานระดับดี