รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565

วิทยาลัยศิลปศาสตร์

วันที่ประเมิน: 16 ตุลาคม 2566, 09:30น.

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

[ตัวบ่งชี้ 1.1] ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน คะแนน
[1] จำนวนหลักสูตรทั้งหมดที่คณะรับผิดชอบ
[ไม่รวมหลักสูตรที่ใช้ระบบประกันคุณภาพอื่นๆ ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2563 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2565)]
7 3.68
[2] ผลรวมของค่าคะแนนประเมินของทุกหลักสูตร 25.74
[3] ผลลัพธ์ที่ได้ [2] / [1] 3.68

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-การบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวมบรรลุเป้าหมาย แต่ค่าคะแนนลดลงเล็กน้อยจากปีการศึกษา 2564
-สาขาภาษาฝรั่งเศสได้รับคะแนนประเมินสูงสุด และค่าคะแนนมิได้ลดลงจากปีการศึกษา 2564

[ตัวบ่งชี้ 1.2] อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 40 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 57.00 4.61
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 21
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 36.84
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 40 4.61

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-มีผลการดำเนินงานดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีการศึกษา 2564=4.45 ปีการศึกษา 2563=3.52
-ข้อเสนอแนะให้วิทยาลัยฯพิจารณาปรับค่าเป้าหมายเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 20 เป็นร้อยละ 40 ตามเกณฑ์ ในปีการศึกษาหน้า
 

[ตัวบ่งชี้ 1.3] อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 60 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 57.00 1.75
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 12
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 21.05
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 60 1.75

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-ผลการดำเนินงานบรรลุเป้าหมายแต่คะแนนลดลงจากปีการศึกษา 2564=1.84
-มีจำนวนอาจารย์ประจำวุฒิปริญญาเอกและยังไม่ได้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้น 8 คน จากปีการศึกษา 2564 และเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญที่่ควรพัฒนาให้เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้น

-เสนอปรับเป้าหมายเพิ่มขึ้นในปีการศึกษาถัดไป
 

[ตัวบ่งชี้ 1.4] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] สามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า [ค่า FTES] รวมทุกหลักสูตร 1368.99 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] 57.00
[3] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำที่เป็นจริง [1] / [2] 24.02
[4] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำแยกตามกลุ่มสาขาวิชา 25.00
[5] ร้อยละที่ได้ ([3] – [4] / [4]) X 100 -3.92
[6] ผลลัพธ์ที่ได้ 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่ากับจำนวนอาจารย์ประจำเป็นไปตามเกณฑ์

[ตัวบ่งชี้ 1.5] การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

เกณฑ์ข้อ 1 วิทยาลัยสามารถดำเนินงานให้คำปรึกษาได้อย่างดีเยี่ยม ทั้งจัดทำคู่มือให้กับอาจารย์ที่ปรึกษา คู่มือลงทะเบียนให้กับนักศึกษา และมีการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่ออาจารย์ที่ปรึกษา นอกจากนี้ยังจัดทำช่องทางการสื่อสารออนไลน์เพื่อให้ข้อมูลหลากหลายแพลตฟอร์ม
เกณฑ์ข้อ 2 มีการให้ข้อมูลของหน่วยงานให้บริการอย่างครบถ้วน ทั้งระดับวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย
เกณฑ์ข้อ 3 มีการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานครอบคลุมทั้งระดับวิทยาลัยและภาควิชา
เกณฑ์ข้อ 4 มีผลการประเมินคุณภาพของการจัดกิจกรรมข้อ 1-3 อยู่ในระดับสูง (4.58)
เกณฑ์ข้อ 5 1)มีการนำผลการประเมินจากข้อ 4 มาปรับปรุงการดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะจากนักศึกษาอย่างชัดเจนทั้งกิจกรรมในระดับวิทยาลัยและภาควิชา
                  2)ข้อเสนอแนะ หน้า 44 การสรุปประเด็นการนำผลการประเมินมาปรับปรุงการดำเนินงานในข้อ 1-3 ควรกำหนดประเด็นหัวข้อให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานข้อ 1-3
เกณฑ์ข้อ 6 1)มีผลการดำเนินงานครบถ้วนทั้งด้านการให้ข้อมูล และด้านการให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ในด้านการประกอบอาชีพแก่ศิษย์เก่า รวมทั้งแนวทางให้ศิษย์ปัจจุบันด้วย
                  2)ข้อเสนอแนะหน้า 45 ข้อ 2 โครงการครูภาษามาหาถึงห้องเรียน ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนมัธยม อาจนำไปรายงานในองค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

[ตัวบ่งชี้ 1.6] กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00
32
32
100.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

เกณฑ์ข้อ 1 (1)มีการดำเนินงานจัดทำแผนการจัดกิจกรรมทั้งในระดับวิทยาลัยและภาควิชาโดยนักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนดังกล่าวในทุกระดับอย่างชัดเจน
                  (2)ข้อเสนอแนะหน้า 47 จากด้านล่างของหน้า กระบวนการจัดทำแผน ควรสลับข้อ 2 กับข้อนี้ เพื่อให้เป็นไปตามลำดับก่อนหลังของการดำเนินงาน
เกณฑ์ข้อ 2 แผนการจัดกิจกรรมนักศึกษามีการดำเนินกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิครบถ้วนทั้ง 5 ประการและมีพัฒนาการที่โดดเด่น โดยดำเนินโครงการทั้งสิ้น 31 โครงการ เพิ่มสูงขึ้นจากปีการศึกษาก่อนหน้า คิดเป็นร้อยละ 10.71
เกณฑ์ข้อ 3 มีผลการดำเนินงานที่มุ่งให้เกิดความรู้ด้านประกันคุณภาพแก่นักศึกษาเป็นหลัก
เกณฑ์ข้อ 4 มีผลการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของทุกโครงการ/กิจกรรม อยู่ในระดับสูง
เกณฑ์ข้อ 5 มีการกำหนดเป้าหมายไว้ในแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาถึง 8 ประการ โดยมีผลการดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของแผนอย่างดีเยี่ยมทุกประการ
เกณฑ์ข้อ 6 มีการดำเนินงานทั้งในระดับวิทยาลัยและภาควิชา ทั้งฝ่ายบริหารกิจการนักศึกษา และคณะกรรมการนักศึกษาระดับวิทยาลัยและภาควิชา รวมทั้งนำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนการจัดกิจกรรมนักศึกษาอย่างรอบด้าน

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 1

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. วิทยาลัยสามารถสร้างระบบกลไก ในการให้บริการแก่นักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดบริการให้คำปรึกษาทางวิชาการและการใช้ชีวิตแก่นักศึกษา นอกเหนือจากการเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ยังเพิ่มช่องทางการติดต่อเพื่อขอคำปรึกษากับผู้บริหารวิทยาลัยได้โดยตรงผ่านช่องทางการสื่อสารออนไลน์หลากหลายแพลตฟอร์ม
  2. วิทยาลัยมีกระบวนการในการจัดทำแผนการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษาได้อย่างดีเยี่ยม โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมทุกขั้นตอน โดยแผนการจัดกิจกรรมมีการกำหนดเป้าหมายที่สอดคล้องกับการส่งเสริมการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และยังสอดคล้องกับมาตรฐานผลลัพธ์ผู้เรียนทุกด้าน อีกทั้งมีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรมดังกล่าวครบถ้วนทุกโครงการ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ถึงแม้ว่าผลการดำเนินงานการบริหารจัดการหลักสูตรในภาพรวมจะบรรลุเป้าหมาย แต่คะแนนลดลงจากปีการศึกษาก่อนหน้าเล็กน้อย ดังนั้นวิทยาลัยอาจจะดำเนินการติดตาม และกระตุ้นเตือนให้แต่ละหลักสูตรพัฒนาการดำเนินงานเพื่อให้ได้รับผลการประเมินเพิ่มสูงขึ้น
  2. วิทยาลัยควรส่งเสริมและสนับสนุนเพื่อพัฒนาอาจารย์ประจำในด้านการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีการศึกษา 2565 มีจำนวนอาจารย์ที่ได้รับวุฒิปริญญาเอกและยังมิได้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มสูงขึ้นกว่า 60% จากปีการศึกษาก่อนหน้า และควรเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญในการพัฒนาให้เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการในอนาคต

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

[ตัวบ่งชี้ 2.1] ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

คณะมีผลการดำเนินงาน แต่ขาดการประเมินผล PDCA นำผลประเมินจากปีที่แล้ว มาปรับปรุงแก้ไข และ ประเมินผลปีนี้ เพื่อปรับปรุงแก้ไขในปีต่อไป

[ตัวบ่งชี้ 2.2] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายใน 266,643.32 0.95
[2] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายนอก 5,000.00
[3] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ทั้งภายในและภายนอก [1] + [2] 271,643.32
[4] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมอาจารย์ที่ลาศึกษาต่อ] 57.00
[5] จำนวนนักวิจัยประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมนักวิจัยที่ลาศึกษาต่อ] 0.00
[6] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบันต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัย [3] / ([4] +[5]) 4,765.67
[7] ผลลัพธ์ที่ได้ [6] X 5 / 25000 0.95

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ส่ดส่วนต่ำ ควรเร่งให้สูงขึ้น , ขอทุนสนับสนุนจากภายนอกให้มากขึ้น และ กลุ่มอาจารย์ที่ขอทุนวิจัย เป็นกลุ่มเดิม ควรจะกระจายทั้งคณะ

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = 60,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = 50,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = 25,000 บาทขึ้นไปต่อคน

[ตัวบ่งชี้ 2.3] ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย

หมายเหตุ เป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในรอบปีที่รับการประเมินเท่านั้น [ช่องไหนไม่มีผลงานให้ใส่ 0 ไม่ปล่อยว่าง]
จำนวนผลงานทางวิชาการตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 3 7 23 4 0
จำนวนผลงานสร้างสรรค์ตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 0 0 0
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] ผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ 20.40 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 57.00
[3] จำนวนนักวิจัยประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 0.00
[4] ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ [1] X 100 / [2] + [3] 35.79
[5] ผลลัพธ์ที่ได้ [4] X 5 / 20 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

บางสาขาวิชา อาจจะต้องมีการกระตุ้น หรือ สนับสนุนให้อาจารย์เขียนบทความวิชาการ หรือ บทความวิจัยมากขึ้น

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 20 ขึ้นไป

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 2

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. มีอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถ และความชำนาญในวิชาชีพจำนวนมาก และ มีวารสารของคณะ เพื่อรองรับการเผยแพร่ผลงานวิชาการ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ควรมีการกระตุ้นให้แผนงานวิจัย บรรลุเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการสนับสนุนขอทุนวิจัยจากภายนอก
  2. ควรมีการดำเนินงาน PDCA โดยเฉพาะเรื่องการประเมินผลการดำเนินงานด้านงานวิจัย เพือนำมาสู่การปรับปรุงแผนงานในปีต่อๆ ไป

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

[ตัวบ่งชี้ 3.1] การบริการวิชาการแก่สังคม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

อยากให้ขยายความ เรื่อง การดำเนินงานตามแผนงานที่แตกต่างไปจากปีก่อน ๆ  และ มีการนำผลการประเมินของผู้เข้าอบรม ซึ่งถึงแม้ว่าจะให้คะแนน ดีมาก แต่ น่าจะมีข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์กับทางผู้จัด ในการนำมาปรับปรุงแก้ไขในปีต่อๆ ไป 

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 3

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. คณะศิลปศาตร์ มีความเข้มแข็งเรื่อง ภาษาต่าง ๆ และ ได้ใช้ความเข้มแข็งนี้มาบริการวิชาการ โดยตลอด ซึ่งเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับคณะแบบยั่งยืน

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ควรใช้ความเข้มแข็งจัดอบรมแบบเก็บเงิน หรือ ศูนย์กรแปล ฯลฯ เพื่อสร้างรายได้ให้กับคณะได้มากขึ่น

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

[ตัวบ่งชี้ 4.1] ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 - 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

เกณฑ์ข้อ 1 วิทยาลัยมีการกำหนดผู้รับผิดชอบและภาระหน้าที่ในการบริหารจัดการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมได้อย่างเป็นรูปธรรมทั้งในระดับวิทยาลัยและภาควิชา
เกณฑ์ข้อ 2 มีการดำเนินงานตามสาระสำคัญ 3 ประการตามที่กำหนดไว้ในเกณฑ์ข้อ 2 อย่างครบถ้วน แต่มีข้อเสนอแนะการจัดลำดับการนำเสนอผลการดำเนินงาน หน้า 108-110 ควรให้สอดคล้องกับเกณฑ์ข้อ 2 โดยเรียงลำดับ ดังนี้ (ก) การจัดทำแผน (ข) การกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ (ค) การจัดสรรงบประมาณ และหน้า 110 บรรทัดที่ 4 จากบน ปรับแก้จาก 5 โครงการ เป็น 5 ด้าน
เกณฑ์ข้อ 3 มีการกำหนดแนวทางการกำกับติดตามให้มีการดำเนินงานตามแผนอย่างครบถ้วน
เกณฑ์ข้อ 4 ข้อเสนอแนะ วิทยาลัยอาจรายงานข้อมูลผลการดำเนินงานเพิ่มเติมถึงความสำเร็จของตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน เช่น (1)ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วม (2) จำนวนผู้เข้าร่วมกลุ่มเป้าหมาย (3) การจัดกิจกรรมตามแผนบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ในระดับใด เป็นต้น
เกณฑ์ข้อ 5 ข้อเสนอแนะ วิทยาลัยอาจให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าได้นำผลการประเมินโครงการ/กิจกรรม ใดบ้างที่นำมาปรับปรุงแผนปฏิบัติการด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
เกณฑ์ข้อ 6 (1) ได้มีการเผยแพร่ภาพกิจกรรมผ่านสื่อออนไลน์ของวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย
                (2) ข้อเสนอแนะ วิทยาลัย อาจจัดทีมคณะกรรมการสำหรับการสร้างสรรค์คอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์โครงการ/กิจกรรม ผ่านสื่อดิจิทัลแพลตฟอร์ม เพื่อเผยแพร่สู่สาธารณะ รวมทั้งศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน และผู้ใช้บัณฑิตได้อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น
เกณฑ์ข้อ 7 มีผลการดำเนินงานโดดเด่นทั้งความร่วมมือกับสถาบันระดับชาติด้านการทำนุบำรุงและอนุรักษ์ภาษาและวัฒนธรรมไทย และด้านบุคลากรได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นจากกระทรวงวัฒนธรรม แต่เนื่องด้วยเกณฑ์การประเมินข้อนี้เป็นการพิจารณาเรื่องการกำหนดหรือสร้างมาตรฐานด้านศิลปะและวัฒนธรรมซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ จึงไม่สามารถประเมินว่ามีผลการดำเนินงานในข้อ 7 ได้

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 4

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. วิทยาลัยฯ สามารถบริหารจัดการระบบกลไกด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมได้อย่างเข้มแข็ง ทั้งการกำหนดผู้รับผิดชอบ การจัดทำแผน การกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการกำกับติดตามให้เกิดการดำเนินโครงการตามแผนอย่างเป็นรูปธรรม
  2. วิทยาลัยฯ มีความโดดเด่นในด้านบุคลากร ที่เป็นต้นแบบของการอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมไทย โดยได้รับการยกย่องจากกระทรวงวัฒนธรรมให้เป็นผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ประจำปี 2565

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. -

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

[ตัวบ่งชี้ 5.1] การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00
การจัดการความรู้ในแต่ละด้าน จำนวน
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการผลิตบัณฑิต [ยุทธ์ ฯ 1] 1
เรื่อง
  • การส่งเสริมให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและ วิพากษ์วิจารณ์ในรายวิชา วรรณคดีภาษาอังกฤษ เบื้องต้นผ่านแอปพลิเคชัน
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการวิจัย [ยุทธ์ ฯ 2] 1
เรื่อง
  • การพัฒนาศักยภาพ ด้านวิจัย
การจัดการความรู้ ด้าน Smart Organization [ยุทธ์ ฯ 3] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Internationalization [ยุทธ์ ฯ 4] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Reputation [ยุทธ์ ฯ 5]
(รวมด้านบริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม)
0
การจัดการความรู้ ด้านอื่น ๆ 0

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

1.มีระบบและกลไกในการดำเนินการที่ครบถ้วนตามกระบวนการในการจัดทำแผนพัฒนาวิทยาลัยศิลปศาสตร์ พ.ศ.2565-2569 ที่เริ่มจากการวิเคราะห์ SWOT และปัจจัยต่างๆโดยมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ 5 ด้านของมหาวิทยาลัย พ.ศ.2565-2569 รวมทั้งยังมีความต่อเนื่องในการจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนกลยุทธ์การเงิน (เพิ่มความชัดเจนในการผ่านการพิจารณาอนุมัติของคณะกรรมการบริหารของวิทยาลัยฯและให้กรอกข้อมูลให้ครบในรายงานการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายต่อห้ว(ศศ.อ.5.5.2.01)/เพิ่มความครบถ้วนของโครงการและกิจกรรมในแผนปฏิบัติการ เพื่อแสดงผลลัพธ์ตาม KR ที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ เช่น KR1.4.1) 
2.มีการจัดทำแผนพัฒนาตนเองในรูปแบบระยะยาว 5ปี และระสั้น 1ปี รวมทั้งมีการรายงานผลดำเนินงานทุก 3เดือน (ควรเพิ่มการประเมินผลการดำเนินงานและการปรับแก้ไขด้วย)
3.มีการบูรณาการที่ชัดเจนในการถอดบทเรียนจากแนวปฏิบัติที่ดีของการจัดการความรู้ 2 ด้านคือด้านวิจัยและด้านผลิตบัณฑิต เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

 

[ตัวบ่งชี้ 5.2] ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

วิทยาลัยฯดำเนินการครบถ้วนทุกขั้นตอนในการประกันคุณภาพการศึกษา รวมถึงการจัดทำสรุปผลการปรับปรุงการดำเนินงานของหลักสูตรตามผลการประเมินคุณภาพการศึกษา

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 5

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. มีระบบและกลไกในการดำเนินการที่ครบถ้วนตามกระบวนการในการจัดทำแผนพัฒนาวิทยาลัยศิลปศาสตร์ พ.ศ.2565-2569 ที่เริ่มจากการวิเคราะห์ SWOT และปัจจัยต่างๆโดยมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ 5 ด้านของมหาวิทยาลัย พ.ศ.2565-2569 รวมทั้งยังมีความต่อเนื่องในการจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนกลยุทธ์การเงิน (ควรเพิ่มความชัดเจนในการผ่านการพิจารณาอนุมัติของคณะกรรมการบริหารของวิทยาลัยฯและให้กรอกข้อมูลให้ครบในรายงานการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายต่อห้ว(ศศ.อ.5.5.1.2.01)/เพิ่มความครบถ้วนของโครงการและกิจกรรมในแผนปฏิบัติการ เพื่อแสดงผลลัพธ์ตาม KR ที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ เช่น KR1.4.1)
  2. มีการจัดทำแผนพัฒนาตนเองในรูปแบบระยะยาว 5ปี และระสั้น 1ปี รวมทั้งมีการรายงานผลดำเนินงานทุก 3เดือน (ควรเพิ่มการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนและการปรับแก้ไขด้วย)
  3. วิทยาลัยมีการบูรณาการที่ชัดเจนในการถอดบทเรียนจากแนวปฏิบัติที่ดีของการจัดการความรู้ 2 ด้านคือ ด้านวิจัยและด้านผลิตบัณฑิตไปใช้ให้เป็นประโยชน์
  4. วิทยาลัยฯดำเนินการครบถ้วนทุกขั้นตอนในการประกันคุณภาพการศึกษ รวมถึงการจัดทำสรุปผลการปรับปรุงการดำเนินงานของหลักสูตรตามผลการประเมินคุณภาพการศึกษา

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. เพิ่มการวิเคราะห์ประเด็นของการไม่บรรลุเป้าหมายเรื่องการดำรงตำแหน่งวิชาการของอาจารย์ และจำนวนเงินทุนวิจัยเมื่อเทียบเป็นสัดส่วนกับจำนวนอาจารย์ทั้งหมดของวิทยาลัย

สรุปผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลดำเนินการ
กรรมการ
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม 3.68
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 4.61
ตัวบ่งชี้ที่ 1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 1.75
ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 0.95
ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร 5.00
ผลการประเมินเฉลี่ยรวม [13 ตัวบ่งชี้] 4.31

ตารางผลการวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบคุณภาพ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
1 6 3.79 5.00 3.68 4.17 การดำเนินงานระดับดี
2 3 0.95 5.00 5.00 3.65 การดำเนินงานระดับดี
3 1 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
4 1 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
5 2 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
ผลการประเมิน 3.08 5.00 4.34 4.31 การดำเนินงานระดับดี
ระดับคุณภาพ การดำเนินงานระดับพอใช้ การดำเนินงานระดับดีมาก การดำเนินงานระดับดี