รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566

วิทยาลัยศิลปศาสตร์

วันที่ประเมิน: 18 ตุลาคม 2567, 09:30น.

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

[ตัวบ่งชี้ 1.1] ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน คะแนน
[1] จำนวนหลักสูตรทั้งหมดที่คณะรับผิดชอบ
[ไม่รวมหลักสูตรที่ใช้ระบบประกันคุณภาพอื่นๆ ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2563 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2565)]
7 3.65
[2] ผลรวมของค่าคะแนนประเมินของทุกหลักสูตร 25.52
[3] ผลลัพธ์ที่ได้ [2] / [1] 3.65

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 1.2] อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 40 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 58.00 4.96
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 23
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 39.66
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 40 4.96

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 1.3] อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 60 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 58.00 2.01
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 14
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 24.14
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 60 2.01

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 1.4] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] สามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า [ค่า FTES] รวมทุกหลักสูตร 1510.25 3.03
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] 56.00
[3] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำที่เป็นจริง [1] / [2] 26.97
[4] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำแยกตามกลุ่มสาขาวิชา 25.00
[5] ร้อยละที่ได้ ([3] – [4] / [4]) X 100 7.88
[6] ผลลัพธ์ที่ได้ 3.03

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 1.5] การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ข้อ 1 ผ่าน
ข้อ 2 ผ่าน
ข้อ 3 ผ่าน
ข้อ 4 ผ่าน
ข้อ 5 ผ่าน
ข้อ 6 ผ่าน

[ตัวบ่งชี้ 1.6] กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00
35
35
100.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ข้อ 1 ผ่าน
ข้อ 2 ผ่าน
ข้อ 3 ผ่าน
ข้อ 4 ผ่าน

ข้อ 5 ผ่าน มีข้อเสนอเป็นแนวทางในปีหน้าคือ จากแผนการพัฒนานักศึกษา (ดูจากเอกสารแนบใน DBS) พบว่า วัตถุประสงค์ของแผนบางข้อไม่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากิจกรรมนักศึกษา เมื่อต้องการประเมินความสำเร็จ จะทำให้ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาโดยแท้จริง
ข้อ 6 ผ่าน มีข้อเสนอเป็นแนวทางในปีหน้าคือ เมื่อประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนในข้อ 5 จะต้องนำไปหาแนวทางปรับปรุงในปีต่อไป

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 1

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. วิทยาลัยให้ความสำคัญในการพัฒนานักศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ 5 ประการ โดยเชื่อมโยงกับผลลัพธ์ผู้เรียน 3 ด้าน ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนานักศึกษาโดยใช้โครงการ/กิจกรรมเป็นฐานได้เป็นอย่างดี

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ควรหาแนวทางเพิ่อพัฒนามาตรการเพิ่มตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ ให้บรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ต่อไป
  2. ควรหาแนวทางพัฒนาโครงการ/กิจกรรมนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับให้เป็นงานวิจัยและพัฒนา
  3. ควรหาแนวทางถอดบทเรียนจากกิจกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพนักศึกษา เพื่อนำไปสู่การเป็นต้นแบบสำหรับดำเนินกิจกรรมนักศึกษา

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

[ตัวบ่งชี้ 2.1] ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

- หลักฐานที่ upload ไม่ตรงกับชื่อของหลักฐาน และหลักฐานที่ upload ไม่ครบตามที่ระบุในเล่มรายงาน
- ควรเพิ่มหลักฐานของสถาบันวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประกาศเกี่ยวกับเกณฑ์และเงื่อนไขของการขอรับทุนสนับสนุนการทำวิจัยและทุนสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัย

- คณะมีความครบถ้วนในกระบวนการบริหารงานวิจัยในรูปแบบของ PDCA รวมทั้งมีหลากหลายกิจกรรมและโครงการที่สนับสนุนการทำงานวิจัยของคณาจารย์ ซึ่งส่งผลให้เกิดผลงานวิจัยที่หลากหลาย คามวิสัยทัศน์และพันธกิจของวิทยาลัยศิลปศาสตร์

[ตัวบ่งชี้ 2.2] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายใน 369,933.20 1.35
[2] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายนอก 9,166.60
[3] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ทั้งภายในและภายนอก [1] + [2] 379,099.80
[4] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมอาจารย์ที่ลาศึกษาต่อ] 56.00
[5] จำนวนนักวิจัยประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมนักวิจัยที่ลาศึกษาต่อ] 0.00
[6] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบันต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัย [3] / ([4] +[5]) 6,769.64
[7] ผลลัพธ์ที่ได้ [6] X 5 / 25000 1.35

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = 60,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = 50,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = 25,000 บาทขึ้นไปต่อคน

[ตัวบ่งชี้ 2.3] ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย

หมายเหตุ เป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในรอบปีที่รับการประเมินเท่านั้น [ช่องไหนไม่มีผลงานให้ใส่ 0 ไม่ปล่อยว่าง]
จำนวนผลงานทางวิชาการตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 1 19 28 7 4
จำนวนผลงานสร้างสรรค์ตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 0 0 0
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] ผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ 34.20 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 58.00
[3] จำนวนนักวิจัยประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 0.00
[4] ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ [1] X 100 / [2] + [3] 58.97
[5] ผลลัพธ์ที่ได้ [4] X 5 / 20 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 20 ขึ้นไป

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 2

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. วิทยาลัยมีความครบถ้วนในกระบวนการบริหารงานวิจัยในรูปแบบของ PDCA รวมทั้งมีหลากหลายกิจกรรมและโครงการที่สนับสนุนการทำงานวิจัยของคณาจารย์ ซึ่งส่งผลให้เกิดผลงานวิจัยที่หลากหลาย คามวิสัยทัศน์และพันธกิจของวิทยาลัยศิลปศาสตร์

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. วิทยาลัยควรมีแผนงานที่ครอบคลุมให้อาจารย์ในวิทยาลัยมีการเผยแพร่งานวิจัยอย่างทัวถึงทุกคน ซึ่งจะส่งผลในการขอตำแหน่งวิชาการของอาจารย์ต่อไป
  2. วิทยาลัยควรมีการพัฒนาทีมวิจัยเพื่อสร้างความเข้มแข็งในการรับทุนวิจัย และการทำงานวิจัยของคณาจารย์

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

[ตัวบ่งชี้ 3.1] การบริการวิชาการแก่สังคม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

เกณฑ์ข้อ 1 วิทยาลัยฯ มีการจัดทำแผนบริการวิชาการแก่สังคมโดยคณะกรรมการบริหารและผู้แทนคณาจารย์เป็นผู้กำหนดนโยบายและมีการจัดทำระบบกลไกการดำเนินงาน มีการกำหนดแผนการดำเนินงานทุกระยะ 5 ปี รวมถึงมีการประเมินผลทุกโครงการและนำไปปรับปรุงเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ข้อสังเกต มีการระบุถึงแผนบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยว่ามีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 ของมหาวิทยาลัย หากมีการอธิบายเพิ่มเติมถึงความสอดคล้องดังกล่าวด้วยจะช่วยให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น

เกณฑ์ข้อ 2 วิทยาลัยฯ มีการจัดทำแผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัย และชุมชนกลุ่มเป้าหมายภายนอกอย่างเป็นรูปธรรมจาก2โครงการใหญ่ ซึ่งประกอบไปด้วย 7 โครงการย่อย
ข้อสังเกต หากมีการเพิ่มเติมแผนการใช้ประโยชน์ ให้เกิดการพัฒนาต่อวิทยาลัยศิลปศาสตร์ โดยการแยกข้อมูลออกจากระดับมหาวิทยาลัยด้วย จะช่วยทำให้เกิดความชัดเจน ครบถ้วนรอบด้าน

เกณฑ์ข้อ 3 วิทยาลัยมีโครงการบริการวิชาการเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะโครงการแบบให้เปล่า ทั้งระดับวิทยาลัยระดับภาควิชาและหน่วยงานในสังกัดให้กับกลุ่มเป้าหมายทั้งภายในและภายนอกอีกทั้งยังดำเนินโครงการที่อยู่นอกแผนแก่หน่วยงานภายนอกจำนวน 2 โครงการ ซึ่งเป็นแนวทางในการให้บริการวิชาการอย่างดียิ่ง เนื่องจากสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ประเด็นที่ 3 การบริหารจัดการสู่องค์กรอัจฉริยะ
ข้อสังเกตโครงการภูมิปัญญาท้องถิ่นบูรณาการ ถูกบรรจุไว้ทั้งในระดับวิทยาลัยและระดับภาควิชา ดังนั้นจึงควรกำหนดให้ชัดเจนว่าโครงการดังกล่าวควรบรรจุไว้ในโครงการระดับใดเพื่อลดความซ้ำซ้อน

เกณฑ์ข้อ 4 วิทยาลัย จัดทำการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการบริการวิชาการ โดยนำเสนอต่อคณะกรรมการประจำวิทยาลัย โดยในปีการศึกษา 2566 ทุกโครงการประสบความสำเร็จตามตัวบ่งชี้และเกิดประโยชน์ตามแผนการใช้ประโยชน์จากโครงการคิดเป็น 100% ซึ่งนับว่าประสบความสำเร็จในระดับสูงสุด

เกณฑ์ข้อ 5 วิทยาลัยมีการนำผลการประเมินตามข้อ 4 มาปรับปรุงพัฒนาการให้บริการวิชาการโดยในปีการศึกษา 2566 ได้พัฒนาโครงการ แบบมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 2 โครงการ ซึ่งเป็นโครงการบริการวิชาการที่มีความโดดเด่นในระดับประเทศ

เกณฑ์ข้อ 6 วิทยาลัยมีส่วนร่วมในการบริการวิชาการกับมหาวิทยาลัย โดยริเริ่มมาตั้งแต่ปี 2562 จนถึงปัจจุบันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีการศึกษา 2566 ดำเนินโครงการถึง 16 โครงการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจากปีการศึกษา 2565 ถึง 10 โครงการ

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 3

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. วิทยาลัย ฯ ให้ความสำคัญกับกระบวนการในการให้บริการวิชาการแก่สังคมเป็นอย่างยิ่ง โดยได้ศึกษาถึงความต้องการของกลุ่มเป้าหมายแล้วนำมากำหนดเป็นนโยบายจากนั้นนำมาจัดทำแผนบริการวิชาการทั้งแผนระยะ 5 ปี และแผนรายปีประกอบด้วยโครงการแบบให้เปล่าเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อนักศึกษา วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย และชุมชนหน่วยงานภายนอก รวมทั้งได้พัฒนาการดำเนินโครงการแบบมีรายได้ซึ่งเป็นการให้บริการวิชาการแก่องค์กรในระดับชาตินอกจากนี้ยังมีการประเมินผลความสำเร็จของทุกโครงการและนำมาจัดทำเป็นแผนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนแก่นักศึกษาจนเกิดผลลัพธ์ที่สร้างความพึงพอใจอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
  2. วิทยาลัยได้กำหนดการพัฒนาโครงการบริการวิชาการที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปีการศึกษาก่อนหน้าและต่อเนื่องจนกระทั่งถึงปีการศึกษา 2566 ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การบริหารจัดการสู่องค์กรอัจฉริยะ และสามารถดำเนินการบรรลุตามวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ถึง 3 ประการ ได้แก่ประการที่ 1 การสร้างภาคีความร่วมมือข้ามหน่วยงานประการที่ 2 การสร้างกลไกพัฒนาตนเองไปสู่ผลลัพธ์ และประการสุดท้ายบุคลากรทุกประเภทสามารถพัฒนาทักษะที่จำเป็นและเพิ่มขีดสมรรถนะในการทำงานซึ่งเป็นแนวทางการปฏิบัติที่ดีและสมควรยึดถือเป็นแนวทางการดำเนินงานด้านการให้บริการวิชาการแก่สังคมอย่างต่อเนื่องต่อไป

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ไม่มี

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

[ตัวบ่งชี้ 4.1] ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 - 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

เกณฑ์ข้อ 1 วิทยาลัยฯ มีการกำหนดผู้รับผิดชอบและภาระหน้าที่ในการบริหารจัดการด้านทำนบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ได้อย่างเป็นรูปธรรมประกอบด้วย คณะกรรมการระดับวิทยาลัยและระดับภาควิชา

เกณฑ์ข้อ 2 คณะกรรมการทั้งระดับวิทยาลัยและระดับภาควิชาร่วมกันกำหนดนโยบายและวางแผนการจัดกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2565-2569 อีกทั้งยังกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้อย่างชัดเจน

เกณฑ์ข้อ 3 คณะกรรมการด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมได้กำหนดแนวทางในการติดตามแผนการดำเนินงาน ในรูปแบบ pdca ทุกโครงการอย่างเป็นรูปธรรม

เกณฑ์ข้อ 4 คณะกรรมการด้านศิลปวัฒนธรรมได้ประเมินความสำเร็จของโครงการตามตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพทุกตัวบ่งชี้โดยเฉพาะตัวบ่งชี้ที่ 2.1 จำนวนโครงการที่ดำเนินการเพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วมและเกิดการตระหนักถึงคุณค่าของศิลปะวัฒนธรรม และตัวบ่งชี้ที่ 2.3 มีการบูรณาการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมในการเรียนการสอนทั้ง 2 ตัวบ่งชี้มีการบรรลุสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้

เกณฑ์ข้อ 5 คณะกรรมการด้านศิลปะวัฒนธรรมมีการนำผลการประเมินจากปีการศึกษาก่อนหน้ามาปรับปรุงในการจัดทำแผนปฏิบัติการได้อย่างเด่นชัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการส่งเสริมให้คณาจารย์ของวิทยาลัยผลิตและเผยแพร่ผลงานที่ก่อให้เกิดการอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมของไทยอย่างต่อเนื่อง

เกณฑ์ข้อ 6 วิทยาลัยได้มีการประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่กิจกรรมต่างๆสู่สาธารณะในทุกกลุ่มกิจกรรม โดยผ่านช่องทางการสื่อสารหลากหลายทางเว็บไซต์ของวิทยาลัยสื่อสังคมออนไลน์ของวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 4

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. วิทยาลัย ฯ สามารถบริหารจัดการระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมได้อย่างโดดเด่น ทั้งการกำหนดผู้รับผิดชอบ การจัดทำแผนและกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ การกำกับติดตามให้เกิดการดำเนินงานตามแผน การประเมิน ความสำเร็จตามตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์ รวมทั้งการนำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนโครงการ/กิจกรรมได้อย่างเป็นรูปธรรม ส่งผลให้ทุกโครงการกิจกรรม ประสบผลสำเร็จในระดับสูง
  2. ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้การดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของวิทยาลัย ฯ ประสบผลสำเร็จในระดับสูงคือการกำหนดผู้รับผิดชอบที่เป็นความร่วมมืออย่างเข้มแข็ง ทั้งในระดับวิทยาลัยและระดับภาควิชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารสูงสุดของวิทยาลัยและคณะที่ได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงการอุดมศึกษา ให้แปลหนังสือ "สุวรรณภูมิ แผ่นดินทอง" เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมไทยสู่สากล ซึ่งถือได้ว่าเป็นแบบอย่างที่ดียิ่งและเป็นแนวทางในการดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของวิทยาลัยได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน
  3. เกณฑ์ข้อ 7 (ต่อ) ให้บุคลากรในสังกัดได้สร้างสรรค์ผลงานเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมไทยทุกปีโดยเฉพาะในปีการศึกษา 2566 กระทรวงการอุดมศึกษา ฯ ได้คัดเลือกบุคลากรของวิทยาลัยถึง 3 ท่านให้เป็นคณะผู้แปลหนังสือ "สุวรรณภูมิ แผ่นดินทอง" เป็นฉบับภาษาฝรั่งเศส

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ไม่มี

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

[ตัวบ่งชี้ 5.1] การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00
การจัดการความรู้ในแต่ละด้าน จำนวน
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการผลิตบัณฑิต [ยุทธ์ ฯ 1] 1
เรื่อง
  • การฝึกงานสหกิจศึกษาจากความร่วมมือทางวิชาการกับสถานประกอบการ ณ ประเทศญี่ปุ่น
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการวิจัย [ยุทธ์ ฯ 2] 1
เรื่อง
  • เทคนิคการทำวิจัยและการผลิตผลงานวิชาการ
การจัดการความรู้ ด้าน Smart Organization [ยุทธ์ ฯ 3] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Internationalization [ยุทธ์ ฯ 4] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Reputation [ยุทธ์ ฯ 5]
(รวมด้านบริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม)
0
การจัดการความรู้ ด้านอื่น ๆ 0

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

1. วิทยาลัยควรเพิ่มผลสรุปจากแผนบริหารความเสี่ยงโดยย่อที่เน้นลำดับความสำคัญของการดำเนินงานบริหารความเสี่ยงเพื่อลดความเสี่ยงในปีการศึกษาถัดไป  ได้แก่ ทุนวิจัยจากภายนอก  การขอตำแหน่งวิชาการของอาจารย์ เป็นต้น
2. เพิ่มความชัดเจนในแผนพัฒนาบุคลากร ซึ่งประกอบด้วยสองส่วนคือส่วนของบุคลากรสายอาจารย์ และส่วนของบุคลากรสายสนับสนุน 
2.1 สำหรับบุคลากรสายอาจารย์ ควรมีความชัดเจนแยกเป็นการเข้าสู่การดำรงตำแหน่งวิชาการ การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพเพื่อการสอน การพัฒนาสมรรถนะการสอน เป็นต้น รวมถึงการกำหนดระยะเวลาของการบรรลุเป้าหมายและการติดตามความก้าวหน้า
2.2 สำหรับบุคลากรสายสนับสนุน ควรมีความชัดเจนในสมรรถนะที่ต้องการพัฒนา ได้แก่สมรรถนะด้านภาษา สมรรถนะด้านการใช้ IT เป็นต้น
ทั้งนี้ ควรพิจารณาการพัฒนาแผนอัตรากำลัง เพื่อรองรับความสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานในสัดส่วนของนักศึกษา และเพื่อรองรับการเกษียณอายุของบุคลากรที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

[ตัวบ่งชี้ 5.2] ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 5

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. วิทยาลัยมีความครบถ้วนในการจัดทำยุทธศาสตร์สำหรับแผนพัฒนาวิทยาลัยที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย รวมถึงความครบถ้วนในการพัฒนาแผนเพื่อการบริหารงาน ได้แก่แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา แผนบริหารความเสี่ยง แผนพัฒนาบุคลากร เป็นต้น
  2. วิทยาลัยให้ความสำคัญในการจัดทำระบบ กลไก และการดำเนินงาน ในการบริหารงานของวิทยาลัยให้เข้าสู่คุณภาพการศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษาและตัวบ่งชี้ของการประกันคุณภาพการศึกษา

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. วิทยาลัยควรเพิ่มผลสรุปจากแผนบริหารความเสี่ยงโดยย่อที่เน้นลำดับความสำคัญของการดำเนินงานบริหารความเสี่ยงเพื่อลดความเสี่ยงในปีการศึกษาถัดไป  ได้แก่ ทุนวิจัยจากภายนอก  การขอตำแหน่งวิชาการของอาจารย์ เป็นต้น
  2. วิทยาลัยควรเพิ่มความชัดเจนในแผนพัฒนาบุคลากร ซึ่งประกอบด้วยสองส่วนคือส่วนของบุคลากรสายอาจารย์ และส่วนของบุคลากรสายสนับสนุน  (1) สำหรับบุคลากรสายอาจารย์ ควรมีความชัดเจนแยกเป็นการเข้าสู่การดำรงตำแหน่งวิชาการ การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพเพื่อการสอน การพัฒนาสมรรถนะการสอน เป็นต้น รวมถึงการกำหนดระยะเวลาของการบรรลุเป้าหมายและการติดตามความก้าวหน้า (2) สำหรับบุคลากรสายสนับสนุน ควรมีความชัดเจนในสมรรถนะที่ต้องการพัฒนา ได้แก่สมรรถนะด้านภาษา สมรรถนะด้านการใช้ IT เป็นต้น ทั้งนี้ ควรพิจารณาการพัฒนาแผนอัตรากำลัง เพื่อรองรับความสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานในสัดส่วนของนักศึกษา และเพื่อรองรับการเกษียณอายุของบุคลากรที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

สรุปผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลดำเนินการ
กรรมการ
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม 3.65
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 4.96
ตัวบ่งชี้ที่ 1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 2.01
ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ 3.03
ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 1.35
ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร 5.00
ผลการประเมินเฉลี่ยรวม [13 ตัวบ่งชี้] 4.23

ตารางผลการวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566

องค์ประกอบคุณภาพ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
1 6 3.33 5.00 3.65 3.94 การดำเนินงานระดับดี
2 3 1.35 5.00 5.00 3.78 การดำเนินงานระดับดี
3 1 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
4 1 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
5 2 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
ผลการประเมิน 2.84 5.00 4.33 4.23 การดำเนินงานระดับดี
ระดับคุณภาพ การดำเนินงานระดับพอใช้ การดำเนินงานระดับดีมาก การดำเนินงานระดับดี