รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

วันที่ประเมิน: 6 ตุลาคม 2566, 09:30น.

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

[ตัวบ่งชี้ 1.1] ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน คะแนน
[1] จำนวนหลักสูตรทั้งหมดที่คณะรับผิดชอบ
[ไม่รวมหลักสูตรที่ใช้ระบบประกันคุณภาพอื่นๆ ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2563 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2565)]
1 3.66
[2] ผลรวมของค่าคะแนนประเมินของทุกหลักสูตร 3.66
[3] ผลลัพธ์ที่ได้ [2] / [1] 3.66

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

          คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีหลักสูตรในปีการศึกษา 2565 เปิดสอนทั้งหมด จำนวน 1 หลักสูตร และได้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ทุกหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2563 [ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2565]
 

[ตัวบ่งชี้ 1.2] อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 40 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 37.00 3.38
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 10
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 27.03
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 40 3.38

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

          คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มี จำนวนอาจารย์ประจำทั้งหมด [นับรวมที่ลาศึกษาต่อ] จำนวน 37 คน มีอาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก จำนวน 10 คน เมื่อคำนวณตามสูตร พบว่าค่าร้อยละของอาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก เท่ากับร้อยละ 27.03 คะแนนที่ได้เท่ากับ 3.38 คะแนน
 

[ตัวบ่งชี้ 1.3] อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 60 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 37.00 2.70
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 12
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 32.43
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 60 2.70

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

          คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีจำนวนอาจารย์ประจำทั้งหมด [นับรวมที่ลาศึกษาต่อ] จำนวน 37 คน มีจำนวนอาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ จำนวน 12 คน เมื่อคำนวณตามสูตร พบว่า ค่าร้อยละของอาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ เท่ากับ ร้อยละ 32.43 คะแนนที่ได้ เท่ากับ 2.70 คะแนน
 

[ตัวบ่งชี้ 1.4] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] สามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า [ค่า FTES] รวมทุกหลักสูตร 419.83 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] 35.00
[3] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำที่เป็นจริง [1] / [2] 12.00
[4] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำแยกตามกลุ่มสาขาวิชา 15.00
[5] ร้อยละที่ได้ ([3] – [4] / [4]) X 100 -20.00
[6] ผลลัพธ์ที่ได้ 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 1.5] การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

          1. การให้คำปรึกษาสะท้อนออกมาในคะแนนประเมินอาจารย์ที่ปรึกษา ในปีการศึกษา 2565 มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 4.75 ผลการประเมินดีขึ้น จากการ มีระบบ One Stop Service และ Smart Team ที่สามารถลดปัญหา และดำเนินการประสานงาน กับอาจารย์ที่ปรึกษา
          2. มีการให้บริการข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์แก่นักศึกษา และกิจกรรมนอกหลักสูตร ผ่านช่องทางหลัก Online ที่ FaceBook  และในปี 2565 ทางคณะฯ ประเมินได้มีกิจกรรมสร้างความรู้ควบคู่กับการนำเสนอช่องทางแหล่งงานนอกเวลา 2 โครงการ และมีกลุ่มข่าวสารกิจกรรมนอกหลักสูตรที่มีอาจารย์ประจำและศิษย์เก่าของคณะฯ ร่วมก่อตั้งและดำเนินการ
          3. การเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงาน โดยนำข้อสอบปีที่ผ่านมาของการสอบขอรับใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพของสภาสถาปนิกให้นักศึกษาทดสอบเพื่อทราบระดับความรู้ความสามารถก่อนเลือกเข้ารับการอบรม และทดสอบอีกครั้งหลังผ่านการอบรมแล้วโดยการอบรมแบ่งเป็นหมวดความรู้ ทักษะ และเครื่องมือ เพื่อเพิ่มสมรรถนะในการฝึกงาน สหกิจศึกษาให้กับนักศึกษา โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญใน แต่ละด้านเป็นวิทยากรจากภายนอก รวมทั้งอาจารย์ภายในคณะมาเป็นผู้อบรม ทั้งนี้ยังเปิดโอกาสให้ บัณฑิตที่จบไปแล้ว และบุคคลภายนอกที่สนใจสามารถเข้าร่วมได้ด้วย
          4. การบริการนักศึกษาปีการศึกษา 2565 มีคะแนนประเมินในเชิงคุณภาพ ดังนี้ คะแนนประเมินอาจารย์ที่ปรึกษา 2565 = 4.75 คะแนนประเมินการให้บริการข้อมูลข่าวสาร 2565 = 4.46 คะแนนประเมินโครงการสหกิจศึกษา 2565 = 4.38 ค่าคะแนนเฉลี่ยทั้ง 3 โครงการดีกว่าปีก่อน ๆ 
          5. ในปีการศึกษา 2565 มีการพัฒนาการให้บริการโดยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ด้านอาคาร สถานที่ และการให้ข้อมูลและการสื่อสาร
          6. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีช่องทางติดต่อสื่อสารกับศิษย์เก่าของทางคณะผ่านทาง FaceBook ของชมรมศิษย์เก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่าง ๆ

 

[ตัวบ่งชี้ 1.6] กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00
3
3
100.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

          1. มีการจัดทำแผนจัดกิจกรรม โครงการเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่ และโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ออกแบบเชิงปฏิบัติการ (4+1)
          2. กิจกรรมส่งเสริมมาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิทั้ง 5 ด้าน
          3. มีการจัดกิจกรรมอบรมประกันคุณภาพ QA For Fun
          4. ทุกกิจกรรมมีการประเมินผลสำเร็จ 
          5. ประเมินผลสำเร็จ 100%
          6. นำผลการประเมินไปปรั้บปรุงการพัฒนาการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษา

 

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 1

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. ทางคณะมีความเข้มแข็งในการให้คำปรึกษาสะท้อนออกมาในคะแนนประเมินอาจารย์ที่ปรึกษา ในปีการศึกษา 2565 มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 4.75 จากการมีระบบอาจารย์ที่ปรึกษา ระบบอาจารย์หัวหน้าสตูดิโอ ช่วยวางแผนการเรียนการสอน และเสริมสร้างทักษะด้านต่างๆ ในการเรียนรู้ และใช้ชีวิตในสังคมให้นักศึกษา ระบบ One Stop Service กำกับดูแลแก้ไขปัญหาเร่งด่วนทุกเรื่องของนักศึกษาทุกชั้นปี โดยทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ หัวหน้าหลักสูตร อาจารย์ที่ปรึกษา รองคณบดีทั้ง 3 ฝ่าย และระบบ Smart Team ประกอบด้วยรองคณบดี 3 ฝ่าย หัวหน้าหลักสูตร และเจ้าหน้าที่จำนวน 3 ท่าน เพื่ออำนวยความสะดวก และให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาที่เข้าใหม่ในปีการศึกษา 2565
  2. มีการให้บริการข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์แก่นักศึกษา และกิจกรรมนอกหลักสูตร ผ่านช่องทางหลัก Online ที่ FaceBook และทางคณะฯ ได้มีกิจกรรมสร้างความรู้ควบคู่กับการนำเสนอช่องทางแหล่งงานนอกเวลา 2 โครงการ และมีกลุ่มข่าวสารกิจกรรมนอกหลักสูตรที่มีอาจารย์ประจำและศิษย์เก่าของคณะฯ ร่วมก่อตั้งและดำเนินการ
  3. การเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงาน โดยนำข้อสอบปีที่ผ่านมาของการสอบขอรับใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพของสภาสถาปนิกให้นักศึกษาทดสอบเพื่อทราบระดับความรู้ความสามารถก่อนเลือกเข้ารับการอบรม และทดสอบอีกครั้งหลังผ่านการอบรมแล้วโดยการอบรมแบ่งเป็นหมวดความรู้ ทักษะ และเครื่องมือ เพื่อเพิ่มสมรรถนะในการฝึกงาน สหกิจศึกษาให้กับนักศึกษา โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญใน แต่ละด้านเป็นวิทยากรจากภายนอก รวมทั้งอาจารย์ภายในคณะมาเป็นผู้อบรม ทั้งนี้ยังเปิดโอกาสให้ บัณฑิตที่จบไปแล้ว และบุคคลภายนอกที่สนใจสามารถเข้าร่วมได้ด้วย
  4. มีการจัดทำแผนจัดกิจกรรม โครงการเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่ และโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ออกแบบเชิงปฏิบัติการ (4+1) โดยในแผนการจัดกิจกรรมนักศึกษา ให้ดำเนินกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตตาม มาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ 5 ประการ ครบถ้วน

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ควรส่งเสริมสนับสนุนให้อาจารย์มีการทำผลงานวิชาการเพื่อก้าวเข้าสู่ขอตำแหน่งวิชาการให้มากขึ้น

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

[ตัวบ่งชี้ 2.1] ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

           ข้อ 3 สัญญาทุนวิจัยของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นโครงการของการเคหะแห่งชาติในปีงบประมาณ 2563 ถึง 2564 เป็นหลักเพียงสัญญาเดียว เพียงแต่ยังมีการเบิกจ่ายในปีการศึกษา 2565 ในส่วนที่เหลือจึงเห็นควรให้ส่งเสริมให้คณาจารย์เข้าถึงทุนวิจัยภายนอกเพิ่มมากขึ้น
 

[ตัวบ่งชี้ 2.2] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายใน 0.00 4.80
[2] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายนอก 840,000.00
[3] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ทั้งภายในและภายนอก [1] + [2] 840,000.00
[4] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมอาจารย์ที่ลาศึกษาต่อ] 35.00
[5] จำนวนนักวิจัยประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมนักวิจัยที่ลาศึกษาต่อ] 0.00
[6] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบันต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัย [3] / ([4] +[5]) 24,000.00
[7] ผลลัพธ์ที่ได้ [6] X 5 / 25000 4.80

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = 60,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = 50,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = 25,000 บาทขึ้นไปต่อคน

[ตัวบ่งชี้ 2.3] ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย

หมายเหตุ เป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในรอบปีที่รับการประเมินเท่านั้น [ช่องไหนไม่มีผลงานให้ใส่ 0 ไม่ปล่อยว่าง]
จำนวนผลงานทางวิชาการตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 4 0 1 0
จำนวนผลงานสร้างสรรค์ตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 6 0 13
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] ผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ 19.00 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 37.00
[3] จำนวนนักวิจัยประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 0.00
[4] ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ [1] X 100 / [2] + [3] 51.35
[5] ผลลัพธ์ที่ได้ [4] X 5 / 20 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 20 ขึ้นไป

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 2

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มีระบบสารสนเทศและกลไกในการวิจัยที่ง่ายต่อการเข้าถึงสำหรับคณาจารย์ และมีการจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมงานวิจัยในการทำหน้าที่ให้คำปรึกษาในการยื่นขอทุนวิจัยและการขอตำแหน่งทางวิชาการ
  2. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มีการจัดตั้งคณะกรรมการในการจัดประชุมวิชาการ ระดับนานาชาติ และดำเนินงานเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ระดับนานาชาติร่วมกับองค์กรภายนอก

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ควรส่งเสริมให้คณาจารย์เผยแพร่บทความทางวิชาการในวารสารในฐานข้อมูล TCI และ วารสารในฐานข้อมูลระดับนานาชาติ
  2. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ควรส่งเสริมให้คณาจารย์เข้าถึงทุนวิจัยภายนอกเพิ่มมากขึ้น

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

[ตัวบ่งชี้ 3.1] การบริการวิชาการแก่สังคม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

            ข้อที่ 1 ไม่พบแผนบริการวิชาการของคณะฯ [คณะฯ อ้างอิงแผนบริการวิชาการระดับสถาบัน] ทำให้ไม่สามารถประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนบริการวิชาการระดับคณะ ได้จริง
            ข้อที่ 2 พบการประเมินความสำเร็จของโครงการบริการวิชาการใน 5 โครงการ แต่เป็นการประเมินค่าความพึงพอใจเป็นหลัก ควรให้มีการประเมินถึงความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ตลอดจน Social Impact 

 

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 3

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีการบูรณาการระหว่างการบริการวิชาการกับการวิจัยที่ได้รับทุนจากหน่วยงานภายนอกและก่อให้เกิดรายได้
  2. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรภายนอก เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ เป็นโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้จากภายใน [Transformative Learning] ทำให้นักศึกษาเข้าใจตนเองและนำไปสู่การเป็น Change Agent

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ควรมีการจัดทำแผนการบริการวิชาการของคณะฯ ที่มีวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จระดับแผน คลอบคลุมทั้งการบริการวิชาการแบบให้เปล่าและการบริการวิชาการแบบเฉพาะ
  2. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ควรประเมินความสำเร็จตามวัตุประสงค์ของกิจกรรม/โครงการทางบริการทางวิชาการ นอกเหนือจากการประเมินความพึงพอใจ
  3. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สามารถส่งเสริมให้คณาจารย์นำผลงานการบริการวิชาการไปเผยแพร่ในรูปแบบของบทความวิชาการ หรือบทความวิจัย เพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านวิชาการ ตลอดจนการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้น

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

[ตัวบ่งชี้ 4.1] ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 - 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

          1. มีการกำหนดผู้รับผิดชอบ
          2. มีการจัดทำแผนด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม  3 โครงการ ได้แก่ 1. กิจกรรมพิธีไหว้ครู-ครอบครูช่าง 2. โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ออกแบบเชิงปฎิบัติการ (4+1) 3. โครงการส่งเสริมศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และสิ่งแวดล้อมแก่นักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | VERNADOC Talk: Then & Now @Baan Trok Tua Ngork ได้ดำเนินการร่วมกับ หน่วยงานภายนอกอีก 3 หน่วยงาน
          3. มีการกำกับติดตามและนำผลประเมินไปปรับปรุง 
          4. เผยแพร่กิจกรรมต่อสาธารณะชนผ่าน Facebook 
          5. ผลการดำเนินงานได้รับการยอมรับในระดับชาติ รวมถึงมีการดำเนินการร่วมกับหน่วยงานภายนอกอีก 3 หน่วยงานคือ 1) บ้านตรอกถั่วงอก 2) VERNADOC Thailand และ 3) โครงการจัดตั้งมูลนิธิอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรม

 

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 4

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. มีการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของคณะนั้น คือ มีโครงการที่ปฏิบัติต่อเนื่อง และยาวนานมาตั้งแต่ก่อตั้งคณะ จนกลายเป็นประเพณีที่สืบเนื่องมาจากสมัยโบราณ อย่างเช่น กิจกรรมครอบครูช่าง และเป็นกิจกรรมที่สร้างความร่วมแรงร่วมใจระหว่างคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณะศิลปะและ การออกแบบ เป็นวัฒนธรรมอันดี ให้นักศึกษาได้เรียนรู้การทากิจกรรมระหว่างคณะ สร้างปฏิสัมพันธ์ และ เครือข่ายนักศึกษา
  2. มีการบูรณาการการเรียนการสอนกับกิจกรรมด้านทานุบารุงศิลปะและวัฒนธรรมในรายวิชา ARC412 Architectural Conservation Studio ในหมวดวิชาชีพเลือกของคณะฯ สร้าง มาตรฐานด้านศิลปะและวัฒนธรรมซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ ผลการดาเนินงาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุดจิต เศวตจินดา ได้รับรางวัล CDAST Awards 2566 นักวิชาการและวิชาชีพระดับดีเด่น สาขา สถาปัตยกรรมในโครงการเชิดชูเกียรติบุคลากรสมาชิกสภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย ณ วันที่ 29 เมษายน 2566
  3. โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ออกแบบเชิงปฏิบัติการ (4+1) เป็นโครงการที่มีส่วนช่วย ให้นักศึกษาให้ความสนใจเกี่ยวกับรากฐานทางสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและภูมิปัญญาชาวบ้าน ซึ่งเป็นการปลูกฝังให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ในรากฐานศิลปะและสถาปัตยกรรมในอดีตที่ส่งผลต่อ คนในชุมชนและการพัฒนาในอนาคต และบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอน ในชั้นปีที่ 4 และชั้นปีที่ 1

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. -

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

[ตัวบ่งชี้ 5.1] การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00
การจัดการความรู้ในแต่ละด้าน จำนวน
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการผลิตบัณฑิต [ยุทธ์ ฯ 1] 1
เรื่อง
  • หลักสูตรการวางแผนพัฒนาที่อยู่อาศัย ชุมชนและเมือง ภายใต้โครงการส่งเสริมสมรรถนะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ของการเคหะแห่งชาติ
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการวิจัย [ยุทธ์ ฯ 2] 1
เรื่อง
  • การเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ นวัตกรรม ให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ
การจัดการความรู้ ด้าน Smart Organization [ยุทธ์ ฯ 3] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Internationalization [ยุทธ์ ฯ 4] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Reputation [ยุทธ์ ฯ 5]
(รวมด้านบริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม)
0
การจัดการความรู้ ด้านอื่น ๆ 0

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

          1. เพิ่มความครบถ้วนในการแสดงโครงการ/กิจกรรมทั้งในส่วนที่ของบประมาณและไม่ของบประมาณของแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา
          2. มีการรายงานได้ชัดเจนดีมากในกลยุทธ์การเงินและการวิเคราะห์ในประเด็นการใช้จ่ายเงิน
          3. มีการรายงานการประชุมของคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนดีมาก

 

[ตัวบ่งชี้ 5.2] ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 5

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. มีความครบถ้วนในการจัดทำแผนพัฒนาของคณะที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยรังสิตและเชื่อมโยงกับผลการวิเคราะห์จาก SWOT
  2. มีความครบถ้วนในการเชื่อมโยงจากแผนพัฒนาของคณะเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา และกลยุทธ์การเงินของคณะซึ่งได้รับการจัดทำเป็นรายละเอียดในรูปแบบที่ชัดเจนเจนและครบถ้วนตามกระบวนการ
  3. มีความครบถ้วนในการวิเคราะห์การใช้จ่ายเงินของคณะที่ชัดเจน
  4. คณะมีระบบ กลไก และการดำเนินงานที่ครบถ้วนของ PDCA ในการบริหารจัดการที่ครบถ้วนตามพันธกิจของคณะ และยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ที่ส่งผลให้คณะก้าวสู่ความสำเร็จในทุกพันธกิจของคณะ ได้แก่ การบริหารความเสี่ยงในทุกประเด็นที่มหาวิทยาลัยกำหนด การพัฒนาบุคลากรทั้งสายการสอนและสายสนับสนุน การบริการวิชาการ งานวิจัยของคณาจารย์ การประกันคุณภาพของหลักสูตร เป็นต้น

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ติดตามและผลักดันในการเพิ่มจำนวนอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งวิชาการ และอาจารย์ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก

สรุปผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลดำเนินการ
กรรมการ
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม 3.66
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 3.38
ตัวบ่งชี้ที่ 1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 2.70
ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 4.80
ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร 5.00
ผลการประเมินเฉลี่ยรวม [13 ตัวบ่งชี้] 4.58

ตารางผลการวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบคุณภาพ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
1 6 3.69 5.00 3.66 4.12 การดำเนินงานระดับดี
2 3 4.80 5.00 5.00 4.93 การดำเนินงานระดับดีมาก
3 1 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
4 1 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
5 2 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
ผลการประเมิน 3.97 5.00 4.33 4.58 การดำเนินงานระดับดีมาก
ระดับคุณภาพ การดำเนินงานระดับดี การดำเนินงานระดับดีมาก การดำเนินงานระดับดี