รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565

วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก

วันที่ประเมิน: 12 ตุลาคม 2566, 09:30น.

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

[ตัวบ่งชี้ 1.1] ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน คะแนน
[1] จำนวนหลักสูตรทั้งหมดที่คณะรับผิดชอบ
[ไม่รวมหลักสูตรที่ใช้ระบบประกันคุณภาพอื่นๆ ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2563 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2565)]
4 3.56
[2] ผลรวมของค่าคะแนนประเมินของทุกหลักสูตร 14.24
[3] ผลลัพธ์ที่ได้ [2] / [1] 3.56

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

          ข้อสังเกต หลักสูตร วท.ม. มีผลประเมินค่อนข้างต่ำกว่าหลักสูตรอื่นของวิทยาลัย
 

[ตัวบ่งชี้ 1.2] อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 40 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 36.00 4.17
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 12
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 33.33
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 40 4.17

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

          มีอาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอกเพิ่ม 1 ท่าน ในปีนี้ และอยู่ระหว่างลาศึกษาต่อระดับปริญญาเอกอีก 1 ท่าน ซึ่งจะช่วยเพิ่มจำนวนได้ในอนาคต ดังนั้นหากวิทยาลัยผลักดันอาจารย์ที่มีคุณวุฒิระดับปริญญาโทอีก 2 ท่าน ให้ศึกษาต่อระดับปริญญาเอกได้ จะทำให้มีจำนวนครบตามเกณฑ์ที่กำหนด ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนอาจารย์ประจำทั้งหมดของวิทยาลัย 
 

[ตัวบ่งชี้ 1.3] อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 60 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 36.00 1.62
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 7
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 19.44
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 60 1.62

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

          วิทยาลัยยังคงมีความจำเป็นในการผลักดันให้อาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการโดยเฉพาะในระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์เนื่องจากยังมีอาจารย์ที่ไม่มีตำแหน่งทางวิชาการในสัดส่วนที่สูง
 

[ตัวบ่งชี้ 1.4] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] สามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า [ค่า FTES] รวมทุกหลักสูตร 154.64 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] 35.00
[3] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำที่เป็นจริง [1] / [2] 4.42
[4] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำแยกตามกลุ่มสาขาวิชา 8.00
[5] ร้อยละที่ได้ ([3] – [4] / [4]) X 100 -44.75
[6] ผลลัพธ์ที่ได้ 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

          วิทยาลัยยังสามารถรับนักศึกษาเข้าเรียนในหลักสูตรต่างๆ เพิ่มได้อีก โดยยังมีสัดส่วนนักศึกษาเต็มเวลาต่ออาจารย์ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ 8.00 อยู่สูงถึงร้อยละ 44.75 
 

[ตัวบ่งชี้ 1.5] การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 1.6] กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00
8
8
100.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

          ข้อสังเกต ในข้อ 2 - 6 โครงการที่ระบุในผลการดำเนินงานจะแตกต่างจากที่ระบุไว้ในแผนในข้อ 1

 

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 1

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. จำนวนอาจารย์ที่มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกสูงขึ้นใกล้เคียงกับเกณฑ์ที่กำหนด และยังมีอาจารย์ที่ลาศึกษาต่ออยู่ วิทยาลัยยังสามารถผลักดันให้อาจารย์ที่มีคุณวุฒิระดับปริญญาโทได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกเพิ่มเติมได้อีก
  2. วิทยาลัยมีการดำเนินการจัดกิจกรรมนักศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิทุกด้านได้อย่างเป็นระบบครบถ้วน และกิจกรรมมีความหลากหลายครอบคลุมเกี่ยวข้องกับวิชาชีพของนักศึกษาเป็นอย่างดี

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. อาจารย์ที่ยังไม่มีตำแหน่งทางวิชาการยังคงมีสัดส่วนที่สูง วิทยาลัยสามารถมุ่งเน้นผลักดันให้อาจารย์ที่ยังไม่มีตำแหน่งทางวิชาการได้เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการในระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ได้ โดยเฉพาะการมีหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษาจะช่วยให้อาจารย์สามารถสร้างผลงานทางวิชาการได้เพิ่มขึ้น

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

[ตัวบ่งชี้ 2.1] ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

          - มีการสนับสนุนและพัฒนาพัฒนางานวิจัยและสร้างสรรค์จนได้รับอนุสิทธิบัตร 
 

[ตัวบ่งชี้ 2.2] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายใน 418,677.00 2.05
[2] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายนอก 300,000.00
[3] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ทั้งภายในและภายนอก [1] + [2] 718,677.00
[4] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมอาจารย์ที่ลาศึกษาต่อ] 35.00
[5] จำนวนนักวิจัยประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมนักวิจัยที่ลาศึกษาต่อ] 0.00
[6] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบันต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัย [3] / ([4] +[5]) 20,533.63
[7] ผลลัพธ์ที่ได้ [6] X 5 / 50000 2.05

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

          - ควรส่งเสริมให้คณาจารย์ขอทุนวิจัยทั้งจากภายในและภายนอกสถาบันให้มากขึ้น
 

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = 60,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = 50,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = 25,000 บาทขึ้นไปต่อคน

[ตัวบ่งชี้ 2.3] ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย

หมายเหตุ เป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในรอบปีที่รับการประเมินเท่านั้น [ช่องไหนไม่มีผลงานให้ใส่ 0 ไม่ปล่อยว่าง]
จำนวนผลงานทางวิชาการตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 8 2 0 1 9
จำนวนผลงานสร้างสรรค์ตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 0 0 0
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] ผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ 12.20 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 36.00
[3] จำนวนนักวิจัยประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 0.00
[4] ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ [1] X 100 / [2] + [3] 33.89
[5] ผลลัพธ์ที่ได้ [4] X 5 / 30 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

           - มีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่เป็นจำนวนมาก
 

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 20 ขึ้นไป

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 2

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. ทางวิทยาลัยมีคลินิกให้บริการ และมีห้องปฎิบัติการที่มีคุณภาพ ทำให้มีความพร้อม สามารถรองรับการทำการวิจัยได้เป็นอย่างดี
  2. วิทยาลัยมีความร่วมมือกับนักวิจัยทั้งภายในและนอกวิทยาลัยทำให้มีผลงานวิจัยได้รับการตีพิมพ์เป็นจำนวนมาก

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ควรส่งเสริมให้คณาจารย์ขอทุนวิจัยทั้งจากภายในและภายนอกสถาบันให้มากขึ้น

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

[ตัวบ่งชี้ 3.1] การบริการวิชาการแก่สังคม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

           - มีกิจกรรมบริการวิชาการที่หลากหลาย
           - มีการจัดกิจกรรมบริการวิชาการที่ตอบสนองความต้องการของสังคม และชุมชน และกิจกรรมบริการวิชาการที่บูรณาการกับการเรียนการสอนและการวิจัยเป็นจำนวนมาก

 

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 3

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. มีการจัดกิจกรรมบริการวิชาการที่หลากหลาย ทั้งกิจกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการของสังคมและกิจกรรมที่บูรณาการกับการเรียนการสอนและการวิจัย
  2. กิจกรรมบริการวิชาการที่จัดทำขึ้นเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนานักศึกษา และสังคม
  3. มีการจัดทำโครงการอบรมในหัวข้อที่น่าสนใจและสร้างรายรับให้กับมหาวิทยาลัย

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. -

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

[ตัวบ่งชี้ 4.1] ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 - 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 4

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. วิทยาลัยฯ ได้มีการจัดกิจกรรมสร้างสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาจีนจากวิทยาลัยนานาชาติจีนเป็นการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือการส่งสริมด้านศิลปวัฒนธรรมใน “ โครงการพัฒนาและเสริมสร้างอัตลักษณ์ทางการแพทย์แผนตะวันออก” เพื่อให้นักศึกษาทั้ง 2 วิทยาลัยมีการพัฒนาฝึกทักษะและแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมทางด้านภาษาจีน-ไทย

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. -

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

[ตัวบ่งชี้ 5.1] การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
4.00
การจัดการความรู้ในแต่ละด้าน จำนวน
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการผลิตบัณฑิต [ยุทธ์ ฯ 1] 2
เรื่อง
  • การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “หลักสูตรผู้ดำเนินการสปาเพื่อสุขภาพ 100 ชั่วโมง
  • การพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน โดยใช้เกมโมบายแอปพลิเคชัน
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการวิจัย [ยุทธ์ ฯ 2] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Smart Organization [ยุทธ์ ฯ 3] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Internationalization [ยุทธ์ ฯ 4] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Reputation [ยุทธ์ ฯ 5]
(รวมด้านบริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม)
0
การจัดการความรู้ ด้านอื่น ๆ 0

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

           ข้อที่ 5 ผลงานการจัดการความรู้ ที่เว็บไซต์ HRD [https://hrd.rsu.ac.th/km65-all/] พบว่ามีเพียง 2 เรื่อง ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ 1 คือ  ** ยังขาด KM ของยุทธศาสตร์ที่ 2 
 

[ตัวบ่งชี้ 5.2] ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

          - เล่ม SAR ยังพบการพิมพ์ที่ไม่ถูกต้องพอสมควร เช่น หน้า 11 หัวข้อ 1.5 ""ในปี การศึกษา 2565คณะ……4………… มีจำนวนหลักสูตรที่เปิดสอน ท้งัสิ้น ......4..... หลักสูตร / การแรเงาสีเหลืองในหน้า 13 
          - บางหน้าไม่มีข้อมูล (ฟอร์ม) ควรเอาออก
          - คำอธิบาย (จาก Template) ที่เป็นตัวอักษรสีแดง ควรเอาออกหรือไม่
          - เอกสารอ้างอิงบางรายการ แรเงาสีเหลือง และพบว่าไม่มีใน DBS เช่น กพอ.อ1.1.5.1.10 การอบรมเตรียมความพร้อมอาจารย์ที่ปรึกษา (หน้า 33)

 

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 5

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. -

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. วิทยาลัยฯ ต้องเพิ่มการจัดการความรู้ในยุทธศาสตร์ที่ 2 [และยุทธฯ อื่นๆ ถ้ามี] โดยเสนอผ่าน HRD ของมหาวิทยาลัยรังสิต

สรุปผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลดำเนินการ
กรรมการ
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม 3.56
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 4.17
ตัวบ่งชี้ที่ 1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 1.62
ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 2.05
ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ 4.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร 5.00
ผลการประเมินเฉลี่ยรวม [13 ตัวบ่งชี้] 4.26

ตารางผลการวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบคุณภาพ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
1 6 3.60 5.00 3.56 4.06 การดำเนินงานระดับดี
2 3 2.05 5.00 5.00 4.02 การดำเนินงานระดับดี
3 1 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
4 1 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
5 2 - 4.50 - 4.50 การดำเนินงานระดับดี
ผลการประเมิน 3.21 4.86 4.28 4.26 การดำเนินงานระดับดี
ระดับคุณภาพ การดำเนินงานระดับพอใช้ การดำเนินงานระดับดีมาก การดำเนินงานระดับดี