รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565

วิทยาลัยครูสุริยเทพ

วันที่ประเมิน: 2 ตุลาคม 2566, 09:30น.

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

[ตัวบ่งชี้ 1.1] ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน คะแนน
[1] จำนวนหลักสูตรทั้งหมดที่คณะรับผิดชอบ
[ไม่รวมหลักสูตรที่ใช้ระบบประกันคุณภาพอื่นๆ ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2563 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2565)]
4 3.76
[2] ผลรวมของค่าคะแนนประเมินของทุกหลักสูตร 15.03
[3] ผลลัพธ์ที่ได้ [2] / [1] 3.76

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 1.2] อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 40 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 13.00 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 13
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 100.00
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 40 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 1.3] อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 60 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 13.00 4.49
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 7
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 53.85
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 60 4.49

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 1.4] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] สามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า [ค่า FTES] รวมทุกหลักสูตร 400.07 4.36
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] 13.00
[3] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำที่เป็นจริง [1] / [2] 30.77
[4] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำแยกตามกลุ่มสาขาวิชา 30.00
[5] ร้อยละที่ได้ ([3] – [4] / [4]) X 100 2.57
[6] ผลลัพธ์ที่ได้ 4.36

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 1.5] การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

[ตัวบ่งชี้ 1.6] กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 1

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. อาจารย์ประจำวิทยาลัยครูสุริยเทพทุกคนมีคุณวุฒิปริญญาเอก ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. กำหนดแผนรายบุคคลเพื่อให้อาจารย์มุ่งสู่ตำแหน่งวิชาการให้ครบทุกท่าน รวมถึงคณาจารย์ที่มีตำแหน่งวิชาการอยู่แล้วมุ่งพัฒนาไปสู่ตำแหน่งวิชาการที่สูงขึ้น

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

[ตัวบ่งชี้ 2.1] ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

วิทยาลัยครูสุริยเทพมีการดำเนินการครบทั้ง 6 ข้อ ดังนี้
1. วิทยาลัยครูสุริยเทพใช้ระบบสารสนเทศจากหน่วยงานกลางของมหาวิทยาลัย ได้แก่ ระบบสารสนเทศของสถาบันวิจัย คลังทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล มหาวิทยาลัยรังสิต และระบบสารสนเทศของบัณฑิตวิทยาลัย
2.วิทยาลัยครูสุริยเทพสนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์  โดยจัดให้มีห้องทำงานวิจัยสำหรับอาจารย์ คือ ห้อง 3-604, 3-605, 3-606 และ 3-607 
3. วิทยาลัยครูสุริยเทพสนับสนุนให้อาจารย์ขอทุนอุดหนุนการวิจัยทั้งจากหน่วยงานภายในและภายนอก ซึ่งได้รับทุนภายในจากสถาบันวิจัย งบประมาณ 292,400 บาท และ ทุนภายใน-ภายนอกร่วมกัน สสส. งบประมาณ 99,620 บาท (ทุนภายใน 24,905 และเป็นทุนภายนอก 74,715 บาท) รวมทั้งสิ้น 392,020  บาท
4. สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิตจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนทุนวิจัยให้แก่อาจารย์วิทยาลัยครูสุริยเทพซึ่งมีการเผยแพร่บทความวิจัยในการประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ ตลอดจนตีพิมพ์ในวารสารวิชาการต่างๆ รวมทั้งสิ้น 69 ชิ้นงาน 
5. วิทยาลัยครูสุริยเทพเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยกับหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ อบรมหลักจริยธรรมพื้นฐานการวิจัยในคน และเทคนิคการขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน จัดโดย สำนักงานจริยธรรมการวิจัย และเข้าร่วมการประชุมวิชาการ THE 8th RSU INTERNATIONAL RESEARCH CONFERENCE ON SOCIAL SCIENCES, HUMANITIES, EDUCATION, MANAGEMENT AND ARTS 2023
6. วิทยาลัยครูสุริยเทพใช้ระบบและกลไกการคุ้มครองสิทธิ์งานวิจัยของสถาบันวิจัย และใช้ระบบตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรมทางวิชาการบนเว็บไซต์ ได้แก่ โปรแกรม Turnitin หรือ อักขราวิสุทธิ์

[ตัวบ่งชี้ 2.2] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายใน 317,305.00 5.00
[2] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายนอก 74,715.00
[3] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ทั้งภายในและภายนอก [1] + [2] 392,020.00
[4] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมอาจารย์ที่ลาศึกษาต่อ] 13.00
[5] จำนวนนักวิจัยประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมนักวิจัยที่ลาศึกษาต่อ] 0.00
[6] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบันต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัย [3] / ([4] +[5]) 30,155.38
[7] ผลลัพธ์ที่ได้ [6] X 5 / 25000 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

1. ทุนในจากสถาบันวิจัย ชื่อโครงการการศึกษาความสามารถในการดำเนินงานตามแนวปฏิบัติโรงเรียนมาตรฐานสากล กรณี สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่สำนักงานการศึกษาระดับมัธยมศึกษา (สพม.) 3 – 10 ชื่อนักวิจัยหลัก ดร.อภิรมณ อุไรรัตน์ จำนวน 178,400  บาท
2. ทุนในจากสถาบันวิจัย ชื่อโครงการขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ชื่อนักวิจัยหลัก ดร.จุลดิศ คัญทัพ จำนวน 114,000   บาท
3. ทุนใน-ทุนนอก (ทุนร่วมม.รังสิต-สสส.) ชื่อโครงการโรงเรียนสุขภาวะ ตำบลหลักหก จังหวัดปทุมธานี ชื่อนักวิจัยหลัก ผศ.ดร.วัลลภา เฉลิมวงศาเวช และชื่อนักวิจัยร่วม 1. ผศ.ดร.พิมพ์อุไร ลิมปพัทธ์ 2. ดร.ชัชชญา พีระธรณิศร์  จำนวน 99,620 บาท 
(ทุนภายใน 24,905 และเป็นทุนภายนอก 74,715 บาท)

รวมทั้งสิ้น 392,020 บาท

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = 60,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = 50,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = 25,000 บาทขึ้นไปต่อคน

[ตัวบ่งชี้ 2.3] ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย

หมายเหตุ เป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในรอบปีที่รับการประเมินเท่านั้น [ช่องไหนไม่มีผลงานให้ใส่ 0 ไม่ปล่อยว่าง]
จำนวนผลงานทางวิชาการตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 3 49 12 5
จำนวนผลงานสร้างสรรค์ตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 0 0 0
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] ผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ 45.20 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 13.00
[3] จำนวนนักวิจัยประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 0.00
[4] ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ [1] X 100 / [2] + [3] 347.69
[5] ผลลัพธ์ที่ได้ [4] X 5 / 20 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำมีทั้งหมด 69 ชิ้น จำแนกเป็น
1. บทความวิจัยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ จำนวน 3 ชิ้น
2. บทความวิจัยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับชาติ (TCI2) จำนวน 49 ชิ้น
3. บทความวิจัยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับชาติ (TCI1) จำนวน 12 ชิ้น
4. บทความวิจัยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ จำนวน 5 ชิ้น

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 20 ขึ้นไป

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 2

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. -

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ควรส่งเสริมให้อาจารย์และนักศึกษาตีพิมพ์บทความวิจัยเผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติมากขึ้น
  2. ควรส่งเสริมให้อาจารย์ขอทุนสนับสนุนการวิจัยทั้งจากหน่วยงานภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัยรังสิตมากขึ้น

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

[ตัวบ่งชี้ 3.1] การบริการวิชาการแก่สังคม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ข้อสังเกตจากการศึกษารายงาน SAR
1. อาจมีการดำเนินงานในการสำรวจปัญหาและความต้องการของชุมชน เพื่อนำมาจัดทำแผนบริการวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน
2. สร้างเครือข่ายความร่วมมือที่มีศักยภาพและพร้อมสนับสนุนในการเปิดบริการวิชาการในรูปแบบที่หลากหลายทั้งในและต่างประเทศ

 

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 3

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. มีการดำเนินงานบริการวิชาการในพื้นที่เป้าหมายได้อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ควรสนับสนุนและสร้างโอกาสให้นักศึกษาในแต่ละหลักสูตรมีโอกาสได้ใช้ความรู้และงานวิจัยมาต่อยอดสู่การบริการวิชาการเพื่อช่วยเหลือสังคมอย่างเป็นรูปธรรม
  2. การประเมินผลการดำเนินงาน ควรประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนบริการวิชาการรวมทั้งนำเสนอผลลัพธ์ที่เกิดจากการบริการวิชาการให้ชัดเจน และควรมีการจัดทำแผนพัฒนาปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้เข้ารับบริการโครงการต่าง ๆ
  3. ควรขยายมิติของการบริการวิชาการในลักษณะต่าง ๆ อาทิ (1) การเลือกประเด็นบริการวิชาการใหม่ ๆ ที่สามารถดึงจุดแข็งที่มีเพื่อช่วยเหลือสังคมตามความถนัดของแต่ละหลักสูตร (2) การขยายกลุ่มเป้าหมาย (3) การเชื่อมโยงกับเครือข่ายองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน (4) การเปิดช่องทาง/วิธีการใหม่ ๆ
  4. เพิ่มการสำรวจปัญหาและความต้องการของชุมชน เพื่อนำมาจัดทำแผนบริการวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

[ตัวบ่งชี้ 4.1] ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 - 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ข้อสังเกตหลักจากการศึกษา SAR 
สนับสนุนให้กิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือในการพัฒนานักศึกษา/สนับสนุนภารกิจตามวิสัยทัศน์และภารกิจของวิทยาลัยครูให้เป็นรูปธรรม

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 4

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. เปิดโอกาสให้นักศึกษาชาวไทยและต่างชาติได้ทำกิจกรรมร่วมกันอย่างเต็มที่

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ควรวางแผนและจัดทำโครงการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมให้สามารถบูรณาการเข้ากับพันธกิจอื่น ๆ ของวิทยาลัย โดยเฉพาะด้านการผลิตบัณฑิตและการวิจัย
  2. พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมที่หลากหลายสอดคล้องกับความสนใจของคนรุ่นใหม่ ผสานกับศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
  3. เพิ่มการประเมินผลการดำเนินงานโครงการที่ท้าทายมากขึ้น โดยเน้นการประเมินความสำเร็จที่เป็นผลลัพธ์ที่เชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ คุณลักษณะบัณฑิตและภารกิจของวิทยาลัย

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

[ตัวบ่งชี้ 5.1] การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00
การจัดการความรู้ในแต่ละด้าน จำนวน
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการผลิตบัณฑิต [ยุทธ์ ฯ 1] 3
เรื่อง
  • อาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษา
  • การเป็นอาจารย์ผู้สอนทางการบริหารการศึกษา
  • สมรรถนะทางการสอน: จากมุมมองรายวิชา Teaching Practicum in Bilingual Schools
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการวิจัย [ยุทธ์ ฯ 2] 1
เรื่อง
  • การพัฒนาความร่วมมือด้านการวิจัยระดับนานาชาติอย่างมืออาชีพ”
การจัดการความรู้ ด้าน Smart Organization [ยุทธ์ ฯ 3] 1
เรื่อง
  • การบริหารจัดการโครงการบริการวิชาการแก่ครูในโรงเรียน
การจัดการความรู้ ด้าน Internationalization [ยุทธ์ ฯ 4] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Reputation [ยุทธ์ ฯ 5]
(รวมด้านบริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม)
0
การจัดการความรู้ ด้านอื่น ๆ 0

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

1. เกณฑ์ข้อ 1 มีหลักฐานครบถ้วน ทั้งการวิเคราะห์ SWOT แผนพัฒนาคณะตามยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ด้าน (ไม่พบแผนกลยุทธ์ทางการเงิน) มีการประชุมคณะเพื่อวิเคราะห์และจัดทำแผนพัฒนาคณะ 2 ครั้ง เพื่อนำเสนอนโยบายแผนงานและแผนกลยุทธ์ต่อคณาจารย์และบุคลากรภายในคณะ มีการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการครบถ้วน บรรลุ 26 OKR จาก 27 OKR คิดเป็นร้อยละ 96.43 (OKR ที่ยังไม่บรรลุ คือ OKR 1.1.2 มีหลักสูตรอบรมระยะสั้น หรือหลักสูตรที่เป็นความร่วมมือกับองค์กรภายนอกที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทักษะทางวิชาการ/วิชาชีพ ตอบสนองความต้องการของสังคม) ในส่วนของหลักฐาน สท.อ5.5.1.1.05 แผนปฏิบัติการประจำปี (Action Plan) วิทยาลัยครูสุริยเทพ ปีการศึกษา 2565 น้ั้นควรระบุหมายเลข OKR ให้ชัดเจน (ในแผนฯ ระบุแต่เพียงชื่อยุทธศาสตร์เท่านั้น)
2. เกณฑ์ข้อ 2 พบการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตรทั้ง 4 หลักสูตร มีความคุ้มค่า ในส่วนของการบริหารงบโครงการพัฒนานักศึกษาคณะสามารถดำเนินการตามกิจกรรม/โครงการได้ครบถ้วน บรรลุผล และเบิกจ่ายงบประมาณในส่วนดังกล่าว คิดเป็นร้อยละ 100 (ที่ใช้จริงเทียบกับที่ได้รับการอนุมัติ) จากการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 14 โครงการ พบว่า ด้วยงบประมาณที่ได้รับการอนุมัติจากมหาวิทยาลัย และกำลังทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ วิทยาลัยครูสุริยเทพสามารถดำเนินกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ได้สำเร็จบรรลุเป้าหมาย 13โครงการ คิดเป็นอัตราร้อยละ 92.86  คณะสามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ โดยผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้มหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ฯ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.72 หรือมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (ปีการศึกษา 2564 มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.93)  คณาจารย์และนักศึกษามีผลงานตีพิมพ์ในวารสารทั้งในฐานสากลและฐาน TCI  (ไม่นับบทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ)  รวม 69 ฉบับ โดยมีผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการ เท่ากับ 44.0  คิดเป็นร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการที่ร้อยละ 347.69  (ปีการศึกษา 2564 มี 35 ฉบับ ผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานวิชาการ เท่ากับ 22.6 คิดเป็นร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการที่ร้อยละ 173.85 )  นอกจากนี้ ปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยครูสุริยเทพมีทุนวิจัยภายในและภายนอกรวมกันต่ออาจารย์ประจำ 30,155.38 บาท (ปีการศึกษา 2564 มีทุนวิจัยภายในและภายนอกรวมกันต่ออาจารย์ประจำ 4,098.46 บาท) สรุปได้ว่าวิทยาลัยครูสุริยเทพสามารถบริหารหลักสูตรได้อย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และมีศักยภาพในการแข่งขัน
3. เกณฑ์ข้อ 3 มีการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยต่างๆ ส่งผลให้ลดระดับความเสี่ยงลงจากเดิม
4. เกณฑ์ข้อ 4 มีการรายงานการดำเนินการภายใต้หลักธรรมาธิบาลครบถ้วน มีการกำหนดความรับผิดชอบในการบริหารงานของคณบดี แต่ควรกำหนดภาระความรับผิดชอบของผู้บริหารวิทยาลัยในแต่ละตำแหน่งให้ครบถ้วน และควรมีการรายงานผลการประเมินผู้บริหารวิทยาลัยในตำแหน่งต่างๆ  ควรมีการแสดงหลักฐานรายงานการประชุมของกรรมการบริหารวิทยาลัยอย่างสม่ำเสมอ
5. เกณฑ์ข้อ 5 มีการจัดการความรู้จากแนวปฏบัติที่ประสบความสำเร็จ โดยวิทยาลัยได้ส่งโครงการ KM รวม 5 เรื่อง 
และได้รับรางวัลแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) จำนวน 3 ชิ้นงาน คือ
รางวัลดีเด่น
ผลงานเรื่อง “สมรรถนะทางการสอน: จากมุมมองรายวิชา Teaching Practicum in Bilingual Schools”ของ รองศาสตราจารย์ ดร.สุมาลี ชิโนกุล
รางวัลชมเชย
  1. ผลงานเรื่อง “อาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษา” ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลลภา เฉลิมวงศาเวช
  2. ผลงานเรื่อง “การเป็นอาจารย์ผู้สอนทางการบริหารการศึกษา”ของ ดร.ชัชชญา พีระธรณิศร์
6. เกณฑ์ข้อ 6 การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนในปีการศึกษา 2565 มีผลการพัฒนาบุคลากรสายพัฒนาและสายสนับสนุนเป็นไปตาม KR 3.4.1 ,KR 3.4.2 ,KR 3.4.3 คิดเป็นร้อยละความสำเร็จที่ร้อยละ 100 ในทุก KR และยังพบแผนพัฒนาผลงานทางวิชาการ เพื่อเข้าสู้ตำแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์เป็นรายบุคคลอย่างชัดเจน
7. เกณฑ์ข้อ 7 คณะได้ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของคณะที่ได้ปรับให้การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานคณะตามปกติที่ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ

[ตัวบ่งชี้ 5.2] ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ผลการดำเนินงานของวิทยาลัยฯ โดยภาพรวมมีระบบ กลไกการประกันคุณภาพ มีการประชุมในวาระที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพของวิทยาลัยฯ หรือหลักสูตร มีการรายงานความก้าวหน้าของการประกันคุณภาพในวาระการประชุมกรรมการบริหารของวิทยาลัยฯ มีการประเมินคุณภาพการศึกษาของทุกหลักสูตรตามกำหนดเวลา มีผลการประเมินฯในองค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐานหลักสูตรที่มีผลการประเมินฯ ผ่านตามเกณฑ์คุณภาพทุกหลักสูตร และมีผลการประเมินฯ ระดับหลักสูตรด้วยคะแนนคุณภาพเฉลี่ยในระดับดี ที่ 3.76 จาก 4  หลักสูตร และมีหลักฐานที่แสดงถึงการนำผลการประเมินไปปรับปรุงผลการดำเนินงาน (Improvement Plan) ของทั้งระดับหลักสูตรและระดับวิทยาลัย

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 5

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. วิทยาลัยครูสุริยเทพสามารถบริหารจัดการหลักสูตรได้เป็นอย่างดี มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล กล่าวคือ คณาจารย์และนักศึกษามีผลงานตีพิมพ์ในวารสารทั้งในฐานสากลและฐาน TCI รวม 69 ฉบับ (ปีการศึกษา 2564 มี 35 ฉบับ) มีผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการเท่ากับ 44.0 คิดเป็นร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการที่ร้อยละ 347.69 ความพึงพอใจของผู้ใช้มหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ฯ ในภาพรวมของวิทยาลัยครูสุริยเทพมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.72 หรือมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
  2. วิทยาลัยครูสุริยเทพมีทุนวิจัยภายในและภายนอกรวมกันต่ออาจารย์ประจำเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วเป็น 30,155.38 บาทต่อคนต่อปี (ปีการศึกษา 2564 อยู่ที่ 4,098.46 บาทต่อคนต่อปี) หากเป็นไปได้ควรถ่ายทอดแนวปฏิบัติในการเพิ่มทุนวิจัยภายในและภายนอกดังกล่าว
  3. วิทยาลัยครูสุริยเทพมีแผนพัฒนาผลงานวิชาการเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการเป็นรายบุคคลที่ชัดเจน ส่งผลให้ในปีการศึกษา 2565 มีอาจารย์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้น 1 คน คือ ผศ.ดร.นิภาพร สกุลวงศ์
  4. วิทยาลัยครูสุริยเทพ มีการจัดการความรู้จากแนวปฏบัติที่ประสบความสำเร็จ โดยวิทยาลัยได้ส่งโครงการ KM รวม 5 เรื่อง และได้รับรางวัลแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) จำนวน 3 เรื่อง คือ - รางวัลดีเด่น ผลงานเรื่อง “สมรรถนะทางการสอน: จากมุมมองรายวิชา Teaching Practicum in Bilingual Schools”ของ รองศาสตราจารย์ ดร.สุมาลี ชิโนกุล - รางวัลชมเชย ผลงานเรื่อง “อาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษา” ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลลภา เฉลิมวงศาเวช ผลงานเรื่อง “การเป็นอาจารย์ผู้สอนทางการบริหารการศึกษา”ของ ดร.ชัชชญา พีระธรณิศร์

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ในการรายงานผลการดำเนินงานตามหลักธรรมาธิบาล ควรกำหนดภาระความรับผิดชอบของผู้บริหารวิทยาลัยในแต่ละตำแหน่งให้ครบถ้วน และควรมีการรายงานผลการประเมินผู้บริหารวิทยาลัยในตำแหน่งต่างๆ  ควรมีการแสดงหลักฐานรายงานการประชุมของกรรมการบริหารวิทยาลัยอย่างสม่ำเสมอ
  2. แผนปฏิบัติการประจำปี (Action Plan) วิทยาลัยครูสุริยเทพ ปีการศึกษา 2565 น้ั้น ควรระบุหมายเลข OKR ของแต่ละกิจกรรม/โครงการให้ชัดเจน (ในแผนฯ ระบุแต่เพียงชื่อยุทธศาสตร์เท่านั้น)

สรุปผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลดำเนินการ
กรรมการ
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม 3.76
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 4.49
ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ 4.36
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร 5.00
ผลการประเมินเฉลี่ยรวม [11 ตัวบ่งชี้] 4.78

ตารางผลการวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบคุณภาพ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
1 4 4.62 N/A 3.76 4.40 การดำเนินงานระดับดี
2 3 5.00 5.00 5.00 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
3 1 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
4 1 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
5 2 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
ผลการประเมิน 4.71 5.00 4.38 4.78 การดำเนินงานระดับดีมาก
ระดับคุณภาพ การดำเนินงานระดับดีมาก การดำเนินงานระดับดีมาก การดำเนินงานระดับดี