รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565

วิทยาลัยดนตรี

วันที่ประเมิน: 12 ตุลาคม 2566, 09:30น.

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

[ตัวบ่งชี้ 1.1] ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน คะแนน
[1] จำนวนหลักสูตรทั้งหมดที่คณะรับผิดชอบ
[ไม่รวมหลักสูตรที่ใช้ระบบประกันคุณภาพอื่นๆ ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2563 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2565)]
3 3.67
[2] ผลรวมของค่าคะแนนประเมินของทุกหลักสูตร 11.02
[3] ผลลัพธ์ที่ได้ [2] / [1] 3.67

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

มีการวางแผนในการบริหารหลักสูตรได้ดีมากและครอบคลุมทุกด้าน

[ตัวบ่งชี้ 1.2] อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 40 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 24.00 4.17
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 8
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 33.33
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 40 4.17

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

มีแนวโน้มที่ดี

[ตัวบ่งชี้ 1.3] อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 60 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 24.00 3.47
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 10
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 41.67
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 60 3.47

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

มีการวางแผนที่ดี

[ตัวบ่งชี้ 1.4] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] สามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า [ค่า FTES] รวมทุกหลักสูตร 241.43 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] 23.00
[3] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำที่เป็นจริง [1] / [2] 10.50
[4] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำแยกตามกลุ่มสาขาวิชา 12.00
[5] ร้อยละที่ได้ ([3] – [4] / [4]) X 100 -12.50
[6] ผลลัพธ์ที่ได้ 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ถูกต้องตามเกณฑ์

[ตัวบ่งชี้ 1.5] การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ดีเยี่ยม

[ตัวบ่งชี้ 1.6] กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00
6
5
83.33

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ดีเยี่ยม ครบถ้วน

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 1

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. คณาจารย์มีผลงานวิจัยและงานแสดงในระดับนานาชาติ เป็นจำนวนมาก เป็นที่ยอมรับในแวดวงวิชาการด้านดนตรี เป็นที่ยอมรับโดยโดดเด่น
  2. คณาจารย์ได้รับตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้น จากการวางแผนพัฒนาคณาจารย์และดำเนินการตามแผนได้ดี
  3. มีโครงการส่งเสริมการเรียนการสอนที่เป็นประโยชน์แก่นักศึกษาเป็นจำนวนมาก

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาที่ควรผลักดันให้มากขึ้น โดยการติดตามและให้คำแนะนำที่ใกล้ชิด

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

[ตัวบ่งชี้ 2.1] ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-วิทยาลัยดนตรี มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัย ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์อย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะวารสารดนตรีรังสิตที่อยู่ในฐาน TCI1
-วิทยาลัยฯ สนับสนุนตามพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ โดยมีคณะกรรมการสนับสนุนและส่งเสริมการสร้างผลงานวิชาการ และกองบรรณาธิการวารสารดนตรีรังสิต ทำให้มีผลงานสร้างสรรค์ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
-วิทยาลัยฯ มีการส่งเสริมและสนับสนุนในการจัดสรรงบประมาณทุนสำหรับงานสร้างสรรค์ในหน่วยงานภายนอก
-วิทยาลัยฯ มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ในการประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติผ่านการขับเคลื่อนของมหาวิทยาลัย
 -วิทยาลัยฯ มีการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์และนักวิจัย มีการสร้างขวัญและกำลังใจ ตลอดจนยกย่องอาจารย์ และนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ดีเด่น
-วิทยาลัยฯ มีระบบและกลไกเพื่อช่วยในงานสร้างสรรค์ด้านดนตรี ตามหลักกฎหมายลิขสิทธิ์ที่นำไปใช้ประโยชน์และดำเนินการตามระบบที่กำหนด


ตรวจสอบเอกสาร วดต.อ2.2.1.3.01  เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ วิทยาลัยดนตรี 2565 ในเอกสารอ้างอิงพบ 5 ทุน ในการายงานและการสรุป 6 ทุน 

[ตัวบ่งชี้ 2.2] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายใน 0.00 5.00
[2] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายนอก 1,495,580.00
[3] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ทั้งภายในและภายนอก [1] + [2] 1,495,580.00
[4] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมอาจารย์ที่ลาศึกษาต่อ] 23.00
[5] จำนวนนักวิจัยประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมนักวิจัยที่ลาศึกษาต่อ] 0.00
[6] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบันต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัย [3] / ([4] +[5]) 65,025.22
[7] ผลลัพธ์ที่ได้ [6] X 5 / 25000 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ตรวจสอบเอกสารการอ้างอิง สัญญาทุน บุญรัตน์ ศิริรัตนพันธ์ การสร้างสรรค์บทประพันธ์เพลงและการแสดงศิลปะร่วมสมัย ชุดตำนานดินแดนเชียงราย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย จำนวนเงิน 170,580.- บาท (1 ต.ค.2565 – 30 ก.ย. 2566) ยอดไม่ตรงในสัญญา อาจารย์เป็นผู้ร่วมวิจัยในโครงการซึ่งไม่ใช่ยอดเต็ม? เรื่องการแบ่งสัดส่วนมาประเมินในรอบปีการศึกษา
 

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = 60,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = 50,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = 25,000 บาทขึ้นไปต่อคน

[ตัวบ่งชี้ 2.3] ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย

หมายเหตุ เป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในรอบปีที่รับการประเมินเท่านั้น [ช่องไหนไม่มีผลงานให้ใส่ 0 ไม่ปล่อยว่าง]
จำนวนผลงานทางวิชาการตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 3 7 0
จำนวนผลงานสร้างสรรค์ตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 6 16 35 0 5
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] ผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ 41.00 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 24.00
[3] จำนวนนักวิจัยประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 0.00
[4] ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ [1] X 100 / [2] + [3] 170.83
[5] ผลลัพธ์ที่ได้ [4] X 5 / 20 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

วิทยาลัยดนตรี มีการสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการทั้งงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ ทั้งในระดับชาติและในระดับนานาชาติ จำนวนมาก ซึ่งเป็นแบบอย่างในการดำเนินงานทางด้านงานวิจัยและงานสร้างสรรค์เป็นอย่างดี
ตรวจสอบเอกสารอ้างอิง พบเอกสาร วดต.อ2.2.3.01 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์วิทยาลัยดนตรี 2565 เป็นการสรุปผลงานในประเภทต่างๆ แต่ไม่พบบทความ สูจิบัตร ลิ้งก์เอกสารเพื่ออ้างอิงผลงาน

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 20 ขึ้นไป

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 2

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. วิทยาลัยฯ มีแผนด้านงานวิชาการและวิจัย มีระบบการส่งเสริมเพื่อพัฒนางานวิจัยและงานสร้างสรรค์ตามความถนัดของอาจารย์ สามารถสร้างสรรค์ผลงานที่สร้างชื่อเสียงมาสู่มหาวิทยาลัยรังสิตได้อย่างต่อเนื่อง
  2. วิทยาลัยฯ มีระบบและกลไกในการสนับสนุนและส่งเสริมในการขอทุนสนับสนุนจากภายนอกสถาบัน ที่มีจำนวนมาก และมีหน่วยงานที่หลากหลายในการดำเนินงานวิจัยในระดับชาติ
  3. วิทยาลัยฯ มีการสนับสนุนและส่งเสริมในการเผยแพร่ผลงานวิจัยจากการตีพิมพ์วารสารระดับชาติ และงานสร้างสรรค์ในระดับนานาชาติ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. สนับสนุนและส่งเสริมให้อาจารย์ยังไม่มีผลงานวิชาการได้ผลิตงานทางวิชาการ ซึ่งการมีนักวิจัยพี่เลี้ยงสามารถช่วยได้ รวมถึงการเขียนบทความวิชาการ / วิจัย รวมถึงการเขียนและพัฒนาเอกสารประกอบการสอน เอกสารคำสอน จนกระทั่งเป็นหนังสือหรือตำรา ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการสอนและการขอตำแหน่งทางวิชาการในอนาคต
  2. สนับสนุนและส่งเสริมให้คณาจารย์ที่ไม่ได้เคยขอทุนสนับสนุนการวิจัยและงานสร้างสรรค์ ได้ยื่นขอทุนทั้งในระดับภายในและภายนอกสถาบัน

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

[ตัวบ่งชี้ 3.1] การบริการวิชาการแก่สังคม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

- เอกสารอ้างอิงในส่วนของแผนบริการวิชาการ ควรอ้างอิงแผนบริการวิชาการประจำปี
- เอกสารอ้างอิงในส่วนของแผนการใช้ประโยชน์ ควรอ้างอิงแผนการใช้ประโยชน์ 
- โครงการที่อ้างอิงในข้อ 6 ไม่ตรงตามแผนบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 3

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. -

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. -

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

[ตัวบ่งชี้ 4.1] ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 - 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

วิทยาลัยดนตรี มีการกำหนดผู้รับผิดชอบในการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมร่วมกับมหาวิทยาลัย มีการจัดทำแผนปฏิบัติการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปีการศึกษา 2565 ซึ่งทำให้หลักฐานการอ้างอิงจึงพบแค่ แผนปฏิบัติการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปีการศึกษา 2565
ทางวิทยาลัยฯ ควรจัดทำแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมให้ชัดเจน เนื่องจากต้องทำกิจกรรมร่วมกับสถาบันส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมเป็นส่วนใหญ่ โดยแบ่งเป็น กิจกรรมที่วิทยาลัยดนตรีร่วมงานกับสถาบันส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และ กิจกรรมที่วิทยาลัยดนตรีจัดโครงการของวิทยาลัยเพื่อนำไปสู่การกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ การประเมินผล และการนำผลการประเมินไปปรับปรุงแผน
ไม่พบหลักฐานการเผยแพร่กิจกรรมหรือการบริการด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมต่อสาธารณชน

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 4

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. วิทยาลัยดนตรี มีคณาจารย์ที่เข้าใจและเห็นคุณค่าความสำคัญของศิลปวัฒนธรรม และให้ความร่วมมือในการส่งเสริมกิจกรรมโครงการต่างๆ ให้สอดคล้องกับนโยบายของวิทยาลัย และมหาวิทยาลัย โดยการจัดดำเนินงาน หรือให้ร่วมมือในการทำงานโครงการต่างๆ เป็นอย่างดี
  2. วิทยาลัยดนตรี เล็งเห็นถึงความสำคัญในการช่วยส่งเสริมกิจกรรมด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม จึงมีโอกาสได้ดำเนินกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานด้านศิลปวัฒนธรรมทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย อาทิ ศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม เป็นต้น
  3. วิทยาลัยดนตรี มีกิจกรรมที่ส่งเสริมด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่เป็นที่ยอมรับของสังคม ประเทศและนานาชาติ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ควรจัดทำแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมให้ชัดเจน เนื่องจากทางวิทยาลัยดนตรีเป็นคณะหลักในการขับเคลื่อนงานและสนับสนุนร่วมกับสถาบันส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมด้วยกิจกรรมจำนวนมาก และกิจกรรมที่วิทยาลัยดนตรีรับผิดชอบโดยตรงผ่านงบประมาณระดับวิทยาลัย เพื่อนำไปสู่การประเมินผลให้ตรงตามตัวชี้วัดที่แท้จริงได้และสามารถนำไปพัฒนาแผนในปีถัดไป

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

[ตัวบ่งชี้ 5.1] การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00
การจัดการความรู้ในแต่ละด้าน จำนวน
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการผลิตบัณฑิต [ยุทธ์ ฯ 1] 1
เรื่อง
  • เทคนิคการสอนวิชา Theory and Improvisation
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการวิจัย [ยุทธ์ ฯ 2] 1
เรื่อง
  • แนวทางการประพันธ์เพลงสำหรับวงแจ๊สออร์เคสตราเพื่อสร้างสรรค์ผลงานด้านดนตรี
การจัดการความรู้ ด้าน Smart Organization [ยุทธ์ ฯ 3] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Internationalization [ยุทธ์ ฯ 4] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Reputation [ยุทธ์ ฯ 5]
(รวมด้านบริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม)
0
การจัดการความรู้ ด้านอื่น ๆ 0

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

- ตารางที่ 3 อัตราร้อยละของรายจ่ายการพัฒนานักศึกษา อาจารย์ [รวมบุคลากร] และการจัดการเรียนการสอน ตรวจสอบข้อมูลในส่วนของ คอลัมน์สุดท้ายที่เป็นค่าร้อยละ

[ตัวบ่งชี้ 5.2] ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 5

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. หลักสูตรที่ดำเนินการในปีการศึกษา 2565 อยู่ในจุดคุ้มทุน โดยมีรายได้สูงกว่ารายจ่ายในอัตราที่สูง

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. -

สรุปผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลดำเนินการ
กรรมการ
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม 3.67
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 4.17
ตัวบ่งชี้ที่ 1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 3.47
ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร 5.00
ผลการประเมินเฉลี่ยรวม [13 ตัวบ่งชี้] 4.72

ตารางผลการวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบคุณภาพ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
1 6 4.21 5.00 3.67 4.39 การดำเนินงานระดับดี
2 3 5.00 5.00 5.00 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
3 1 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
4 1 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
5 2 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
ผลการประเมิน 4.41 5.00 4.34 4.72 การดำเนินงานระดับดีมาก
ระดับคุณภาพ การดำเนินงานระดับดี การดำเนินงานระดับดีมาก การดำเนินงานระดับดี