รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566

วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์

วันที่ประเมิน: 18 ตุลาคม 2567, 09:30น.

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

[ตัวบ่งชี้ 1.1] ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน คะแนน
[1] จำนวนหลักสูตรทั้งหมดที่คณะรับผิดชอบ
[ไม่รวมหลักสูตรที่ใช้ระบบประกันคุณภาพอื่นๆ ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2563 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2565)]
2 3.68
[2] ผลรวมของค่าคะแนนประเมินของทุกหลักสูตร 7.36
[3] ผลลัพธ์ที่ได้ [2] / [1] 3.68

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ เปิดสอน 3 หลักสูตร ได้แก่
1. หลักสูตรทันตแพทย์ศาสตรบัณฑิตได้รับความเห็นชอบและได้รับการรับรองสถาบันจากทันตแพทยสภาเป็นเวลา 7 ปี 
2. หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์
3. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์
โดยมีผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับดีทั้ง 2 หลักสูตร (มีคะแนนเฉลี่ย 3.80 และ 3.56 ตามลำดับ) แสดงถึงการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวมอยู่ในระดับดี

[ตัวบ่งชี้ 1.2] อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 40 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 70.00 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 46
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 65.71
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 40 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

จำนวนอาจารย์ในคณะที่มีคุณวุฒิทางการศึกษาปริญญาเอกสูงกว่าเกณฑ์เป้าหมายมาก ส่งผลให้การจัดการศึกษามีคุณภาพและมีศักยภาพในการพัฒนาองค์ความรู้ทั้งการวิจัยและการสร้างนวัตกรรมในสาขาวิชา ตามพันธกิจของวิทยาลัย

[ตัวบ่งชี้ 1.3] อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 60 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 70.00 2.74
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 23
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 32.86
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 60 2.74

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

จำนวนอาจารย์ที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการยังต่ำกว่าเกณฑ์เป้าหมาย (ร้อยละ 60) การพัฒนาอาจารย์ให้ก้าวเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการมากขึ้นมีความเป็นไปได้สูง ด้วยคุณวุฒิของอาจารย์ที่ค่อนข้างสูงและมีจำนวนอาจารย์เพียงพอ ควรมีแผนการพัฒนาทั้งในระดับบุคคลและระดับคณะในเรื่องนี้ โดยมีการติดตามกำกับ ส่งเสริมและสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง 

[ตัวบ่งชี้ 1.4] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] สามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า [ค่า FTES] รวมทุกหลักสูตร 420.16 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] 69.00
[3] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำที่เป็นจริง [1] / [2] 6.09
[4] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำแยกตามกลุ่มสาขาวิชา 8.00
[5] ร้อยละที่ได้ ([3] – [4] / [4]) X 100 -23.88
[6] ผลลัพธ์ที่ได้ 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

- คณะมีจำนวนอาจารย์มากเพียงพอในการจัดการเรียนการสอน การดูแลนักศึกษา และการดำเนินการตามพันธกิจด้านต่าง ๆ อย่างมีคุณภาพได้
- การคำนวณสัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำคลาดเคลื่อนเล็กน้อย

[ตัวบ่งชี้ 1.5] การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

- มีการดำเนินการครบทุกประการ 
- มีระบบและกลไกการดูแลนักศึกษา โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาทั้งระดับพรีคลินิกและระดับคลินิก ซึ่งนักศึกษามีความพึงพอใจสูงมาก
- มีกิจกรรมพัฒนานักศึกษาครอบคลุมทุกด้าน และมีคะแนนการประเมินการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับดีถึงดีมาก  

[ตัวบ่งชี้ 1.6] กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00
9
9
100.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

- มีการดำเนินงานครบทุกประการ มีกิจกรรมพัฒนานักศึกษาและส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ครบถ้วนและหลากหลาย
- จำนวนและรายการกิจกรรมนักศึกษาที่เสนอในการดำเนินการข้อ 2, 4, 5 ควรสอดคล้องกัน
- ควรรายงานการประเมินผลความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ตลอดจนการนำผลการประเมินมาปรับปรุงการดำเนินงานครั้งต่อไป (ข้อเสนอแนะในการดำเนินการครั้งต่อไป) ให้ชัดเจนขึ้น และผลการประเมินมีข้อเสนอแนะการปรับปรุงแผนอย่างไร

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 1

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. วิทยาลัยฯ มีการดำเนินการหลักสูตรทันตแพทยศาสตร์ที่มีคุณภาพ ได้รับการรับรองจากสภาวิชาชีพเป็นเวลา 7 ปี
  2. วิทยาลัยฯ มีอาจารย์ประจำ และอาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกจำนวนมาก มีศักยภาพสูงในการดำเนินการบริหารหลักสูตรและการดำเนินการตามพันธกิจของวิทยาลัยฯ ให้เป็นไปตามเกณฑ์ของตัวบ่งชี้คุณภาพ
  3. มีระบบและกลไกการดูแลนักศึกษาและมีกิจกรรมการพัฒนา/ส่งเสริมนักศึกษาที่หลากหลายและครอบคลุมทุกด้าน

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. จำนวนอาจารย์ที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการมีจำนวนน้อย ควรมีการวางแผนการพัฒนาอาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ ทั้งระดับบุคคลและระดับคณะที่ชัดเจน โดยมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน และมีการกำกับติดตามการดำเนินการตามแผนเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

[ตัวบ่งชี้ 2.1] ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ข้อ 1 วิทยาลัยมีระบบข้อมูลเพื่อการบริหารงานวิจัยทั้งในส่วนของวิทยาลัย และของมหาวิทยาลัย

ข้อ 2 วิทยาลัยมีการดำเนินการครอบคลุมดังนี้
        2.1 วิทยาลัยมีห้องปฏิบัติงานวิจัย และยังมีความร่วมมือกับเครือข่ายทั้งภายในมหาวิทยาลัย และภายนอกมหาวิทยาลัย
        2.2 วิทยาลัยใช้แหล่งค้นคว้าจากสำนักหอสมุดของมหาวิทยาลัย และเครือข่ายห้องสมุด
        2.3 วิทยาลัยมีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัย และระบบรักษาความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการวิจัย
        2.4 วิทยาลัยมีการจัดกิจกรรมโครงการ Research Day การจัดประชุมวิชาการในงานประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ได้มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญเพื่อบรรยายให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 5-6 

ข้อ 3 วิทยาลัยได้รับการจัดสรรงบประมาณจากสถาบันวิจัย จำนวน 1,155,602 บาท และได้รับทุนภายนอก 606,000 บาท

ข้อ 4 วิทยาลัยใช้ระบบและกลไกการสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัย

ข้อ 5 มีผลงานวิจัยของคณาจารย์ได้รับรางวัล แต่อย่างไรก็ตามวิทยาลัย ควรอ้างอิงการให้รางวัลยกย่องทั้งของของมหาวิทยาลัยด้วย

ข้อ 6 วิทยาลัยมีระบบและกลไกในการคุ้มครองสิทธิ์ในงานวิจัย

[ตัวบ่งชี้ 2.2] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายใน 1,155,602.00 2.55
[2] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายนอก 606,000.00
[3] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ทั้งภายในและภายนอก [1] + [2] 1,761,602.00
[4] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมอาจารย์ที่ลาศึกษาต่อ] 69.00
[5] จำนวนนักวิจัยประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมนักวิจัยที่ลาศึกษาต่อ] 0.00
[6] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบันต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัย [3] / ([4] +[5]) 25,530.46
[7] ผลลัพธ์ที่ได้ [6] X 5 / 50000 2.55

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = 60,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = 50,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = 25,000 บาทขึ้นไปต่อคน

[ตัวบ่งชี้ 2.3] ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย

หมายเหตุ เป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในรอบปีที่รับการประเมินเท่านั้น [ช่องไหนไม่มีผลงานให้ใส่ 0 ไม่ปล่อยว่าง]
จำนวนผลงานทางวิชาการตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 4 1 1 13
จำนวนผลงานสร้างสรรค์ตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 0 0 0
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] ผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ 16.00 3.81
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 70.00
[3] จำนวนนักวิจัยประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 0.00
[4] ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ [1] X 100 / [2] + [3] 22.86
[5] ผลลัพธ์ที่ได้ [4] X 5 / 30 3.81

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ผลงานสร้างสรรค์ที่วิทยาลัยเสนอมา เป็น Youtube 3 เรื่อง และนำเสนอเป็น KM 1 เรื่อง ไม่เป็นงานสร้างสรรค์ตามนิยามของคู่มือมาตรฐานการศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2563 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2565) หากเป็นงานสร้างสรรค์จะต้องเผยแพร่ในลักษณะของ Symposium หรือที่มีสูจิบัตรรับรอง แต่ที่ทางวิทยาลัยเสนอมาเป็นลักษณะของงานประชาสัมพันธ์งานวิจัย หรือผลของงานวิจัยที่ผ่านช่องทาง Youtube ของสถาบันวิจัย ใช้สำหรับการประเมินฯ KR2.5.2 จำนวนผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์ และ/หรือนวัตกรรมที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ แต่ไม่สามารถนำมานับคะแนน QA ได้
 

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 20 ขึ้นไป

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 2

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. วิทยาลัยมีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในฐานข้อมูล Scopus จำนวนมาก เมื่อเทียบการการเผยแพร่ในวารสารฐาน TCI แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากจำนวนอาจารย์ประจำค่อนข้างมีจำนวนมาก อาจจะต้องสนับสนุนการผลิตผลงานวิจัยให้มีจำนวนมากยิ่งขึ้น

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ในการขอทุนวิจัยอาจจะรวมกลุ่มในการขอทุน หรือสร้างเครือข่ายเพื่อหาแนวทางในการขอทุนวิจัยที่เป็นโครงการใหญ่ ซึ่งจำนวนเงินทุนวิจัยจะสูงขึ้น

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

[ตัวบ่งชี้ 3.1] การบริการวิชาการแก่สังคม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ข้อ 1 ในแผนยุทธศาสตร์การบริการวิชาการ วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2565-2569 ระบุไว้ 4 โครงการ แต่ในปี 2566 ดำเนินการ 3 โครงการ โดยไม่พบโครงการ Malpractice Insurance อยากให้อธิบายเหตุผลเพิ่มเติมในรายงาน

ข้อ 2 เนื่องจากทางวิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ ใช้ข้อมูลแผนการใช้ประโยชน์จากฝ่ายวิชาการของมหาวิทยาลัย ข้อมูลจึงไม่มีความจำเพาะและสอดคล้องกับโครงการที่ลงมือปฏิบัติจริงตามปี อยากให้วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ ระบุความชัดเจนของแผนการนำไปใช้ที่สอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริงตามแผนรายปีปัจจุบัน

ข้อ 3 ผ่าน

ข้อ 4 ผ่าน

ข้อ 5 เนื้อหาการรายงานไม่ตรงกับการประเมินในข้อ 4 

ข้อ 6 ผ่าน

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 3

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ สนับสนุนและสร้างโอกาสให้นักศึกษามีโอกาสได้ใช้ความรู้และอาจารย์ได้ใช้งานวิจัยมาต่อยอดสู่การบริการวิชาการเพื่อช่วยเหลือสังคมอย่างเป็นรูปธรรม
  2. สามารถจัดบริการวิชาการมีความหลากหลายและตรงตามความต้องการของผู้รับบริการและสังคมโดยรวม

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. สนับสนุนให้มีการประเมินแผนงานบริการวิชาการและผลการดำเนินงานที่เป็นการประเมินเชิงผลลัพธ์จากการบริการวิชาการให้ชัดเจน และสนับสนุนให้มีการจัดทำแผนพัฒนาปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้เข้ารับบริการโครงการต่าง ๆ ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
  2. สนับสนุนให้มีการถอดบทเรียนเชิงผลลัพธ์และเชิงกระบวนการ เพื่อนำบทเรียนที่ได้มาพัฒนาต่อยอดเป็น “ต้นแบบ” การบริการวิชาการสู่ชุมชนแบบบูรณาการข้ามศาสตร์ (ในอนาคต) และขยายผลไปในพื้นที่ข้างเคียงหรือพื้นที่อื่น ๆ ในอนาคต

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

[ตัวบ่งชี้ 4.1] ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 - 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ข้อ 1 วิทยาลัยมีการกำหนดผู้รับผิดชอบการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมในรูปของคณะกรรมการ

ข้อ 2 วิทยาลัยมีการจัดทำแผนด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมปี 2565-2569 และแผนกิจกรรมด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมปี 2566
ข้อสังเกต แผนการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม แผนงานที่ 1 และแผนงานที่ 2 จะไม่ครอบคลุมแผนงานที่ได้ดำเนิงาน และไม่ครอบคลุมแผนงานประจำปี

ข้อ 3 วิทยาลัยมีการประชุมวางแผนก่อนการจัดกิจกรรม และหลังการจัดกิจกรรม โดยพบว่ามีการดำเนินงาน 1 กิจกรรม (ทพ.อ.1.1.6.1.04) ตามรายงานการประชุมเป็นโครงการปัจฉิมนิเทศ 

ข้อ 4 วิทยาลัยได้ประเมินผลสำเร็จจำนวน 3 โครงการ และมีอีก 2 กิจกรรมได้แก่ กิจกรรมรดน้ำขอพรวันสงกรานต์ และกิจกรรมรณรงค์การมีบุคลิกภาพ ซึ่งจำนวนโครงการไม่ตรงกับข้อ 3

ข้อ 5 วิทยาลัยอาจจะสรุปในเล่ม SAR ไว้ด้วยที่พบปัญหาและจะนำไปปรับปรุง ตามเอกสารหลักฐานก็ไม่ได้ชี้ให้เห็นในเรื่องของการปรับปรุง

ข้อ 6 ผ่าน

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 4

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. วิทยาลัยมีการจัดโครงการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมที่หลากหลาย โดยเฉพาะการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมเพื่อประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. วิทยาลัยควรประแผนทำนุบำรุงสิลปะและวัฒนาธรรม เพื่อให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการ และการดำเนินงานทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของวิทยาลัย
  2. วิทยาลัยมีกิจกรรมดีๆทุกเรื่อง ถ้าจะมีการวัดหรือประเมินผลที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นก็จะทำให้สะท้อนความเป็นตัวตนของวิทยาลัยมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกิจกรรมรณรงค์การมีบุคลิกภาพและมารยาทที่พึงประสงค์ของนักศึกษาทันตแพทย์ หากสามารถแสดงผลประเมินที่เป็นรูปธรรมของการดำเนินกิจกรรมว่าดีขึ้นอย่างไรก็จะดีมาก

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

[ตัวบ่งชี้ 5.1] การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00
การจัดการความรู้ในแต่ละด้าน จำนวน
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการผลิตบัณฑิต [ยุทธ์ ฯ 1] 1
เรื่อง
  • การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศพัฒนาการวัดและประเมินผลนักศึกษาทันตแพทย์ระดับชั้นคลินิก
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการวิจัย [ยุทธ์ ฯ 2] 1
เรื่อง
  • การสร้างนวัตกรรมเครื่องมือวางโดยการวัดผลในผู้ใช้จริงองศาการถ่ายภาพรังสีเพื่อการรักษารากฟันหลายคลองรากไปสู่การทำวิจัยเพื่อปรับปรุงคุณภาพเครื่องมือ
การจัดการความรู้ ด้าน Smart Organization [ยุทธ์ ฯ 3] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Internationalization [ยุทธ์ ฯ 4] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Reputation [ยุทธ์ ฯ 5]
(รวมด้านบริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม)
0
การจัดการความรู้ ด้านอื่น ๆ 0

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ข้อ 1 รูปแบบการวิเคาะห์สถานการณ์เพื่อการปรับแผนยุทธศาสตร์และแผนดำเนินการของคณะอาจจะไม่ได้ใช้รูปแบบ SWOT ตามทฤษฎี แต่ยังคงมีการวิเคราะห์สถานการณ์ในรูปแบบที่เหมาะสมกับการดำเนินของวิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์

ข้อ 2 ผ่าน

ข้อ 3 ผ่าน

ข้อ 4 อยากให้รายงานรูปธรรมที่สามารถปรากฎการณ์มากกว่าการรายงานแบบกว้างๆ 

ข้อ 5 ผ่าน

ข้อ 6 ผ่าน 

ข้อ 7 ผ่าน 

 

[ตัวบ่งชี้ 5.2] ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ไม่มี

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 5

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ มีการออกแบบการบริหารจัดการออกเป็น working group ในหลาย ๆ ส่วนตามยุทธศาสตร์การบริหารจัดการและตามประเด็นในการขับเคลื่อนงานของวิทยาลัยฯ
  2. วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ มีการออกแบบการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เป็นรูปธรรมชัดเจน ทันสมัยและมีการซักซ้อมเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับบุคลากรและนักศึกษาเป็นประจำทุกปี

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. อยากให้ปรับรูปแบบการเขียนผลการดำเนินงานให้เป็นรูปธรรมจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น
  2. อยากท้าทายให้วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ถอดบทเรียนและพัฒนาเป็นแนวปฏิบัติที่ดีในเรื่องของ Internationalization เนื่องจากเป็นอาจารย์ในวิทยาลัยมีศักยภาพในการทำงานร่วมกับเครือข่ายต่างประเทศจำนวนมาก

สรุปผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลดำเนินการ
กรรมการ
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม 3.68
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 2.74
ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 2.55
ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย 3.81
ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร 5.00
ผลการประเมินเฉลี่ยรวม [13 ตัวบ่งชี้] 4.44

ตารางผลการวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566

องค์ประกอบคุณภาพ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
1 6 4.25 5.00 3.68 4.40 การดำเนินงานระดับดี
2 3 2.55 5.00 3.81 3.79 การดำเนินงานระดับดี
3 1 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
4 1 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
5 2 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
ผลการประเมิน 3.82 5.00 3.75 4.44 การดำเนินงานระดับดี
ระดับคุณภาพ การดำเนินงานระดับดี การดำเนินงานระดับดีมาก การดำเนินงานระดับดี