รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565

คณะกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์การกีฬา

วันที่ประเมิน: 9 ตุลาคม 2566, 09:30น.

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

[ตัวบ่งชี้ 1.1] ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน คะแนน
[1] จำนวนหลักสูตรทั้งหมดที่คณะรับผิดชอบ
[ไม่รวมหลักสูตรที่ใช้ระบบประกันคุณภาพอื่นๆ ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2563 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2565)]
2 2.60
[2] ผลรวมของค่าคะแนนประเมินของทุกหลักสูตร 5.20
[3] ผลลัพธ์ที่ได้ [2] / [1] 2.60

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 1.2] อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 40 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 30.00 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 12
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 40.00
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 40 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา คณะฯ มีการวางแผนการพัฒนาบุคลากร ซึ่งในแผนมีการกำหนดการศึกษาต่อของอาจารย์ที่มีวุฒิปริญญาโท ในแต่ละปีการศึกษามีจำนวนกี่คน ระบุไว้ว่าเป็นท่านใดบ้าง อาจจะระบุไว้เป็นแนวทางว่าศึกษาในเวลาราชการ หรือ นอกเวลาราชการ เพื่อเป็นการจัดอัตรากำลังในการสอน และนำ KPI มาเป็นหลักฐานในตัวบ่งชี้นี้

[ตัวบ่งชี้ 1.3] อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 60 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 30.00 0.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 0
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 0.00
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 60 0.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา คณะฯ ควรมีการวางแผนการพัฒนาบุคลากร ซึ่งในแผนมีการกำหนดว่า ในแต่ละปีการศึกษามีอาจารย์ท่านใดบ้างที่จะขอตำแหน่งวิชาการ ซึ่งอาจทำเป็นตารางเพื่อความชัดเจน เช่น มีคอลัมน์ชื่ออาจารย์ คอลัมน์ปีการศึกษาที่เผยแพร่งานวิจัย คอลัมน์ปีการศึกษาที่จะส่งขอตำแหน่งวิชาการ ฯลฯ และนำ KPI มาเป็นหลักฐานในตัวบ่งชี้นี้

[ตัวบ่งชี้ 1.4] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] สามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า [ค่า FTES] รวมทุกหลักสูตร 237.72 4.38
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] 29.00
[3] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำที่เป็นจริง [1] / [2] 8.20
[4] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำแยกตามกลุ่มสาขาวิชา 8.00
[5] ร้อยละที่ได้ ([3] – [4] / [4]) X 100 2.50
[6] ผลลัพธ์ที่ได้ 4.38

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 1.5] การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ข้อ 1 จัดบริการให้คำปรึกษาทางวิชาการฯ (ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาในปีการศึกษาหน้า)
-มีอาจารย์ที่ปรึกษา จำนวน 15 ท่าน สามารถเพิ่มจำนวนอาจารย์ที่ปรึกษาได้หรือไม่ เนื่องจากมีอาจารย์ถึง 29 ท่าน (ไม่นับศึกษาต่อ)
-ควรมีสมุดประจำตัวนักศึกษา ที่มีรายละเอียดด้านการลงทะเบียน ด้านการร่วมกิจกรรมต่างๆ ใช้เป็นเอกสารหลักฐาน
-ควรมีโครงการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาทางด้านวิชาการ เช่น มีการสำรวจนักศึกษาที่เข้าใหม่ในปีการศึกษานั้น ความรู้ภาษาอังกฤษ ความรู้วิทยาศาสตร์ (เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์) เบื้องต้น ทุกคน แล้วจัดกลุ่มนักศึกษาตามคะแนนความรู้ที่ได้ แล้วจัดโครงการในลักษณะที่ทบทวน (ติว) ความรู้ให้กับนักศึกษาก่อนเปิดเรียน โดยใช้เวลาทบทวน (ติว) 3 - 5 วัน
-ควรมีหลักฐานการแจ้งข่าวสารข้อมูล เช่น website ของคณะฯ โดยทำหัวข้อใน website ให้สอดคล้องกับการประกันคุณภาพอีกหลายหัวข้อ

ข้อ 2 มีการให้ข้อมูลของหน่วยงานฯ
-เขียนแยกเป็นหัวข้อย่อย เช่น 
2.1 ข้อมูลหน่วยงานที่ให้บริการ  ได้แก่
-ด้านวิชาการ เช่น สำนักทะเบียน  สำนักหอสมุด ....
-ด้านสุขภาพ เช่น สำนักบริการสุขภาพ....
-ด้านอื่นๆ เช่น หน่วยรักษาความปลอดภัย (ตำรวจมหาวิทยาลัย) สำนักงานหอพัก.....
2.2 กิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร
-จัดโดยคณะฯ เช่น โครงการ.....
-จัดโดยมหาวิทยาลัย เช่น โครงการ....
-จัดโดยหน่วยงานภายนอก เช่น โครงการ....
2.3 แหล่งความรู้ และแหล่งฝึกงานในชั้นปีที่ 4 เช่น..................
เพิ่มหลักฐานอ้างอิงตามรายละเอียดที่เพิ่มเติม เช่น website หน่วยงานต่างๆ
ข้อ 3 จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงาน
-มีทั้งหมด 6 โครงการ แต่โครงการที่ชัดเจน คือ โครงการที่ 5 คือ กิจกรรมปัจฉิมนิเทศ กับโครงการที่ 6 โครงการติวสอบใบประกอบฯ ส่วนโครงการอื่นๆ มีการนำไปใช้ในหลายหัวข้อทั้งการผลิตบัณฑิต การพัฒนาบัณฑิต ได้

-ขอให้เพิ่มเติมหลักฐานกิจกรรมปัจฉิมนิเทศ
ข้อ 4 ประเมินคุณภาพการจัดกิจกรรมฯ
-ขอให้เพิ่มเติมหลักฐาน PDCA ของแต่ละโครงการ ที่แนบมาเป็นการสรุปทุกโครงการ (อ1.1.5.4.02 PDCA โครงการพัฒนานักศึกษาสู่การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงด้านใน ปีการศึกษา 2565)
ข้อ 6 ให้ข้อมูลและความรู้ฯ (ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาในปีการศึกษาหน้า)
-ในหน้า website คณะฯ ควรมีหัวข้อ ข้อมูลและความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพ อาจจะใส่ข้อมูลความรู้ hot issue ในขณะนั้น หรือ หัวข้อการอบรมของ มรส. หรือ หน่วยงานราชการ เอกชน ภายนอก

[ตัวบ่งชี้ 1.6] กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00
10
10
100.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ข้อ 1 จัดทำแผนการจัดกิจกรรมนักศึกษาฯ
-ขอให้เพิ่มหลักฐานรายงานการประชุมร่วมระหว่างอาจารย์ผู้รับผิดชอบกิจกรรมกับนักศึกษาสโมสร ในการจัดกิจกรรมต่างๆ นอกเหนือจาก อ1.1.6.1.02 แผนการดำเนินกิจกรรมฝ่ายกิจการนักศึกษาปีการศึกษา 2565และ อ1.1.6.1.03 แผนการกิจกรรมสโมสรนักศึกษาปีการศึกษา 2565
ข้อ 2 ในแผนการจัดกิจกรรมนักศึกษาฯ (ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาในปีการศึกษาหน้า)
-การสรุปต่อท้ายรายงานในหัวข้อนี้ ควรเพิ่มตารางที่แสดงชัดเจน เช่น คอลัมน์ที่ 1  มาตรฐานผลการเรียนรู้ (Domains of Learning) ที่มี 5 ด้าน สร้างแถว 5 แถว o ด้านคุณธรรม จริยธรรม (Ethics and Morals) o ด้านความรู้ (Knowledge) o ด้านทักษะทางปัญญา (Cognitive Skills) o ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (InterpersonalSkills and Responsibility) o ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Numerical Communication and Information Technology Skills) คอลัมน์ที่ 2 กิจกรรม/โครงการที่สอดคล้องกับมาตรฐานแต่ละแถว
ข้อ 3 จัดกิจกรรมให้ความรู้และทักษะประกันคุณภาพฯ (ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาในปีการศึกษาหน้า)
-หลักฐาน อ1.1.6.3.01 โครงการอบรมให้ความรู้แก่นักศึกษาด้านการประกันคุณภาพ ประจำปีการศึกษา 2565 แสดงแต่ผลการประเมิน ไม่ใช่รูปแบบการเขียนโครงการและสรุปโครงการ
ข้อ 4 ทุกกิจกรรมที่ดำเนินการที่มีการประเมินผลสำเร็จตาามวัตถุประสงค์ฯ (ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาในปีการศึกษาหน้า)
-เพิ่มตาราง คอลัมน์ที่ 1 ชื่อกิจกรรม คอลัมน์ที่ 2 ผลการประเมินผล (เชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ) คอลัมน์ที่ 3 ผลการประเมินที่ควรนำไปปรับปรุงในครั้งต่อไป
ข้อ 5 ประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ฯ (ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาในปีการศึกษาหน้า)
-ควรเพิ่มหรือ แทรก คอลัมน์ ที่ 2 วัตถุประสงค์ (เชิงปริมาณ,เชิงคุณภาพ) เพื่อให้เห็นชัดว่า ผลความสำเร็จของโครงการตรงกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ข้อ 6 นำผลการประเมินไปปรับปรุงฯ (ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาในปีการศึกษาหน้า)
-เพิ่มตาราง คอลัมน์ที่ 1 ชื่อกิจกรรม คอลัมน์ที่ 2 ผลการประเมินที่ควรนำไปปรับปรุงในครั้งต่อไป คอลัมน์ที่ 3 แนวทางปรับปรุงในการจัดโครง/กิจกรรมครั้งต่อไป

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 1

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. คณะฯ มีการจัดโครงการ/กิจกรรม การพัฒนานักศึกษา ทางด้านคุณธรรม จริยธรรม (Ethics and Morals) ด้านทักษะทางปัญญา (Cognitive Skills) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (Interpersonal Skills and Responsibility) เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นจุดแข็งของบุคลากรในคณะที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการจัดโครงการประเภทนี้

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. คณะฯ ควรเพิ่มการจัดโครงการ/กิจกรรม ที่จะพัฒนานักศึกษาด้านความรู้ (Knowledge) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Numerical Communication and Information Technology Skills)
  2. คณะฯ ควรมีกำหนด KPI (Key Performance Indicators) หรือ ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ ที่ชัดเจน จัดทำเป็นรูปเล่มของคณะ ในด้านการพัฒนาอาจารย์ ระบุให้ชัดเจน เรื่องการวางแผนระยะเวลาให้บุคลากรศึกษาต่อ การขอตำแหน่งวิชาการ และมีคณะกรรมการของคณะที่จะช่วยสนับสนุนให้บุคลากรคนนั้นๆ สามารถทำตาม KPI ในระยะเวลาที่กำหนดได้
  3. ควรพิจารณาเรื่องระบบอาจารย์ที่ปรึกษาเกี่ยวกับการกำหนดจำนวนนักศึกษาต่ออาจารย์ หรือ การเพิ่มจำนวนอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อช่วยให้อาจารย์ที่ปรึกษาไม่ให้ภาระงานที่หนักเกินไป สามารถให้คำปรึกษาและดูแลนักศึกษาได้ทั่วถึง

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

[ตัวบ่งชี้ 2.1] ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 2.2] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายใน 477,355.00 5.00
[2] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายนอก 3,258,250.00
[3] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ทั้งภายในและภายนอก [1] + [2] 3,735,605.00
[4] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมอาจารย์ที่ลาศึกษาต่อ] 29.00
[5] จำนวนนักวิจัยประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมนักวิจัยที่ลาศึกษาต่อ] 0.00
[6] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบันต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัย [3] / ([4] +[5]) 128,813.97
[7] ผลลัพธ์ที่ได้ [6] X 5 / 50000 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = 60,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = 50,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = 25,000 บาทขึ้นไปต่อคน

[ตัวบ่งชี้ 2.3] ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย

หมายเหตุ เป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในรอบปีที่รับการประเมินเท่านั้น [ช่องไหนไม่มีผลงานให้ใส่ 0 ไม่ปล่อยว่าง]
จำนวนผลงานทางวิชาการตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 0 1 0
จำนวนผลงานสร้างสรรค์ตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 2 0 0 0 0
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] ผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ 1.20 0.67
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 30.00
[3] จำนวนนักวิจัยประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 0.00
[4] ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ [1] X 100 / [2] + [3] 4.00
[5] ผลลัพธ์ที่ได้ [4] X 5 / 30 0.67

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 20 ขึ้นไป

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 2

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์จากภายนอกมีจำนวนสูง

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัยยังมีจำนวนน้อย

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

[ตัวบ่งชี้ 3.1] การบริการวิชาการแก่สังคม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 3

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. มีโครงการบริการวิชาการทั้งแบบมีรายได้และแบบให้เปล่าหลายโครงการ ซึ่งสร้างผลกระทบในเชิงบวกให้กับนักศึกษา อาจารย์ คณะ และมหาวิทยาลัย

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. หากสามารถบูรณาการงานบริการวิชาการกับการจัดการเรียนหรือการวิจัยได้มากขึ้น จะช่วยให้เกิดประโยชน์ในมุมอื่นๆ เพิ่มเติมได้

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

[ตัวบ่งชี้ 4.1] ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 - 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ข้อ  1 กำหนดผู้รับผิดชอบในการทำนุบำรุงฯ (ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาในปีการศึกษาหน้า)
-ควรระบุให้ชัดเจน มีจำนวนกี่โครงการ  โครงการหรือกิจกรรมอะไรบ้าง ใครรับผิดชอบ อาจจะเพิ่มเป็นตารางชื่อโครงการในข้อ 1 ไม่ตรงกับในข้อ เช่น โครงการครูไร้เสียง
ข้อ 2 จัดทำแผนด้านทำนุบำรุงฯ (ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาในปีการศึกษาหน้า)
- ควรจัดทำ แผนปฏิบัติการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ประจำปีการศึกษา 2565 เป็นเล่มที่สมบูรณ์ อาจจะประกอบด้วย ส่วนที่ 1 บทนำ (เช่น หลักการและเหตุผล โครงสร้างคณะ  โครงสร้างการบริหารจัดการ ผลการดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ประจำปีการศึกษา 2565 ข้อมูลพื้นฐานคณะ เป็นต้น) ส่วนที่ 2 แผนปฏิบัติการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม (เช่น นโยบายด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม วัตถุประสงค์ของแผนปฏิบัติการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดความสำเร็จและค่าเป้าหมายของคณะ ยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์  ตัวชี้วัดความสำเร็จและค่าเป้าหมาย ขั้นตอนการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม แผนปฏิบัติการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม แผนปฏิบัติการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ระยะ 5 ปี แผนปฏิบัติการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ประจำปีการศึกษา 2565 เป็นต้น) ส่วนที่ 3 แนวทางการนำแผนสู่การปฏิบัติและการติดตามประเมินผล (เช่น แนวทางการนำแผนปฏิบัติการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมไปสู่การปฏิบัติ การติดตามและประเมินผลแผนปฏิบัติการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม แนวทางการดำเนินงาน เป็นต้น) 

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 4

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. คณะฯ มีบุคลากรที่มีศักยภาพในการจัดการอบรมเพื่อพัฒนานักศึกษาในด้านคุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานผลการเรียนรู้

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. คณะฯ ควรเพิ่มกิจกรรมในด้านการส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม อาจจะเป็นกิจกรรมของคณะฯ ที่จัดขึ้น หรือใช้การร่วมกับกิจกรรมของมหาวิทยาลัย เช่น กิจกรรมประเพณีวันลอยกระทง กิจกรรมสืบสานประเพณีสงกรานต์ กิจกรรมทำบุญถวายเทียนพรรษา เป็นต้น
  2. คณะฯ ควรส่งเสริมให้จัดกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ที่บูรณาการกับการเรียนการสอน และควรพัฒนาฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสืบสานภูมิปัญญาและบริการสังคม เช่น โครงการที่ส่งเสริมให้บุคลากรและนักศึกษาสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของไทย โครงการปลูกจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมและปลูกจิตสาธารณะในการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม เป็นต้น

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

[ตัวบ่งชี้ 5.1] การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00
การจัดการความรู้ในแต่ละด้าน จำนวน
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการผลิตบัณฑิต [ยุทธ์ ฯ 1] 1
เรื่อง
  • รูปแบบการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning)
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการวิจัย [ยุทธ์ ฯ 2] 1
เรื่อง
  • โครงการพัฒนาเครื่องฝึกยืนสำหรับผู้ป่วยเด็กที่มีความผิดปกติด้านการเคลื่อนไหว
การจัดการความรู้ ด้าน Smart Organization [ยุทธ์ ฯ 3] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Internationalization [ยุทธ์ ฯ 4] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Reputation [ยุทธ์ ฯ 5]
(รวมด้านบริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม)
0
การจัดการความรู้ ด้านอื่น ๆ 0

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 5.2] ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 5

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. มีการกำหนด Working Group เพื่อรับผิดชอบในการดำเนินการด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. กำหนดแนวทางหรือแผนในการดำเนินการเพื่อให้หลักสูตรที่เปิดใหม่มีความคุ้มทุนภายใต้ระยะเวลาที่เหมาะสม

สรุปผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลดำเนินการ
กรรมการ
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม 2.60
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 0.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ 4.38
ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย 0.67
ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร 5.00
ผลการประเมินเฉลี่ยรวม [13 ตัวบ่งชี้] 4.05

ตารางผลการวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบคุณภาพ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
1 6 3.13 5.00 2.60 3.66 การดำเนินงานระดับดี
2 3 5.00 5.00 0.67 3.56 การดำเนินงานระดับดี
3 1 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
4 1 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
5 2 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
ผลการประเมิน 3.60 5.00 1.64 4.05 การดำเนินงานระดับดี
ระดับคุณภาพ การดำเนินงานระดับดี การดำเนินงานระดับดีมาก การดำเนินงานต้องปรับปรุง