รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565

วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตร และเทคโนโลยีอาหาร

วันที่ประเมิน: 6 ตุลาคม 2566, 09:30น.

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

[ตัวบ่งชี้ 1.1] ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน คะแนน
[1] จำนวนหลักสูตรทั้งหมดที่คณะรับผิดชอบ
[ไม่รวมหลักสูตรที่ใช้ระบบประกันคุณภาพอื่นๆ ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2563 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2565)]
4 3.98
[2] ผลรวมของค่าคะแนนประเมินของทุกหลักสูตร 15.92
[3] ผลลัพธ์ที่ได้ [2] / [1] 3.98

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตรและเทคโนโลยีอาหาร มีผลการดำเนินงานของหลักสูตรค่อนข้างดีทุกหลักสูตร โดยเฉพาะหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร ที่มีผลประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาสูงถึง 4.19 เมื่อเทียบกับหลักสูตรอื่นๆ 

[ตัวบ่งชี้ 1.2] อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 40 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 22.00 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 9
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 40.91
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 40 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตรและเทคโนโลยีอาหาร มีสัดส่วนอาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกค่อนข้างสูง ซึ่งแสดงถึงศักยภาพของวิทยาลัยในการพัฒนางานวิชาการด้านต่างๆ

[ตัวบ่งชี้ 1.3] อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 60 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 22.00 3.41
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 9
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 40.91
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 60 3.41

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตรและเทคโนโลยีอาหาร ยังมีศักยภาพในการเพิ่มจำนวนผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ และถ้าคิดอาจารย์ที่มีคุณภาพตามแผนพัฒนามหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2565-2569 คิดเป็น 51.82% วิทยาลัยฯ บรรลุตามเป้าหมายของมหาวิทยาลัย

[ตัวบ่งชี้ 1.4] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] สามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า [ค่า FTES] รวมทุกหลักสูตร 205.89 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] 22.00
[3] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำที่เป็นจริง [1] / [2] 9.36
[4] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำแยกตามกลุ่มสาขาวิชา 20.00
[5] ร้อยละที่ได้ ([3] – [4] / [4]) X 100 -53.20
[6] ผลลัพธ์ที่ได้ 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตรและเทคโนโลยีอาหาร ยังมีศักยภาพในการเพิ่มจำนวนนักศึกษา

[ตัวบ่งชี้ 1.5] การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

1. มีการดำเนินการเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน มีการติดตามและรายงานผลต่อที่ประชุมกรรมการบริหารวิทยาลัยฯ มีผลประเมินความพึงพอใจเฉลี่ย 4.59
2. วิทยาลัยฯ มีการจัดกิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร 6 กิจกรรม คณะนวัตกรรมเกษตร 5 กิจกรรม คณะเทคโนโลยีอาหาร 8 กิจกรรม 
3. วิทยาลัยฯ จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงาน 3 กิจกรรม
4. กิจกรรมของวิทยาลัยฯ และของคณะ ทุกโครงการที่ได้ดำเนินการมีผลประเมินไม่ต่ำกว่า 3.51
5. การประเมินกิจกรรมต่างๆ มีข้อเสนอแนะในการปรับปรุงพัฒนา แต่อย่างไรก็ตามถ้าได้มีการปรับปรุงพัฒนาจากปีที่ผ่านมาอย่างไรด้วยจะมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
6. มีการดำเนิการที่เป่นประโยชน์ต่อศิษย์เก่า 2 กิจกรรม

[ตัวบ่งชี้ 1.6] กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00
19
18
94.74

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

1. คณะกรรมการสโมสรนักศึกษาฯ ชุดเก่าและชุดใหม่มีส่วนร่วมจัดทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา 
2. มีการกำหนดใว้อย่างชัดเจนว่าแต่ละโครงการส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ
3. มีกิจกรรมให้ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพแก่นักศึกษา แต่อย่างไรก็ตามนักศึกษาของวิทยาลัยฯ เข้าร่วมจำนวนเท่าใด
4. มีการประเมินในภาพรวมของกิจกรรม แต่ควรมีการนำเสนอข้อมูลด้วยว่าสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมอย่างไร
5. มีการดำเนินการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา 94.74%
6. มีการปรับปรุงแผนหรือปรับปรุงการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษา

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 1

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. อาจารย์มีคุณวุฒิ และประสบการณ์ที่หลาหลาย ซึ่งจะสนับสนุนการผลิตบัณฑิตของวิทยาลัยให้มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของสถานประกอบการ
  2. มีแผนการจัดโครงการ/กิจกรรมให้กับนักศึกษาที่ส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ นักศึกษาได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรมที่หลากหลาย เป็นการพัฒนานักศึกษานอกชั้นเรียนที่ดีมาก

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ทางวิทยาลัยควรหาแนวทางในการเพิ่มจำนวนนักศึกษาเพื่อเพิ่ม FTES ต่ออาจารย์

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

[ตัวบ่งชี้ 2.1] ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

 ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
 ข้อ 1 มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์5

ทางวิทยาลัยนวัตกรรมเกษตรและเทคโนโลยีอาหารมีการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัย ผ่านทางเว็บไซต์สถาบันวิจัยและเว็บไซต์ของหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรังสิต สามารถเพิ่มเติมระบบสารสนเทศในการบริหารงานวิจัยของวิทยาลัยได้เพื่อให้เห็นระบบของวิทยาลัยฯ (หลักฐานในการอ้างอิงเป็นระดับมหาวิทยาลัยทั้งหมด)

 ข้อ 2 สนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
วิทยาลัยฯมีการสนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัย โดยมีห้องปฏิบัติการเคมี  ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา ห้องปฏิบัติการด้าน DNA  โรงงานต้นแบบผลิตภัณฑ์อาหาร สถานีทดลองกัญชาทางการแพทย์   และ RSU Smart Farm  โรงเรือนปลูกพืชอัจฉริยะ (Smart green house) โรงเรือนปลูกกัญชาทางการแพทย์ และโรงเรือนปลูกพืช (Green house)  ซึ่งใช้เป็นแหล่งค้นคว้าและวิจัยของอาจารย์และนักศึกษา และการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้นวัตกรรมเกษตรทฤษฎีใหม่และเกษตรอินทรีย์ ณ โรงสีข้าวต้นแบบ นวัตกรรมข้าว ชาวนาอัจฉริยะ มหาวิทยาลัยรังสิต   ห้องสมุดหรือแหล่งค้นคว้าข้อมูล สิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัย เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการในระดับมหาวิทยาลัย และกิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยเป็นอย่างดี

 ข้อ 3 จัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
มหาวิทยาลัยรังสิต มีหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลจัดสรรทุนอุดหนุนงานวิจัย 

 ข้อ 4 จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ
วิทยาลัยฯ  ได้รับการสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการ หรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติจากสถาบันวิจัย ของมหาวิทยาลัยรังสิต สามารถเพิ่มเติมรายละเอียดผลงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนันการเผยแพร่ เพื่อให้เห็นผลเชิงประจักษ์ 

 ข้อ 5 มีการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์และนักวิจัยมีการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องอาจารย์ และนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ดีเด่น
วิทยาลัยฯมีการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์ในการเข้าร่วมการอบรม ประชุม สัมมนาด้านการวิจัยเป็นจำนวนมาก และสนับสนุนการสร้างชื่อเสียงจากผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ และรับรางวัลในระดับชาติ สามารถเพิ่มเติมวิธีการหรือกระบวนการการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องอาจารย์ และนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ดีเด่น

 ข้อ 6 มีระบบและกลไกเพื่อช่วยในการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์และดำเนินการตามระบบที่กำหนด
ทางวิทยาลัยนฯมีระบบและกลไกของมหาวิทยาลัยในการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ สามารถเพิ่มเติมผลงานของวิทยาลัยฯในปี 2565 ที่มีการคุ้มครองสิทธิ์
 

[ตัวบ่งชี้ 2.2] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายใน 1,244,618.00 5.00
[2] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายนอก 1,878,593.00
[3] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ทั้งภายในและภายนอก [1] + [2] 3,123,211.00
[4] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมอาจารย์ที่ลาศึกษาต่อ] 22.00
[5] จำนวนนักวิจัยประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมนักวิจัยที่ลาศึกษาต่อ] 0.00
[6] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบันต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัย [3] / ([4] +[5]) 141,964.14
[7] ผลลัพธ์ที่ได้ [6] X 5 / 60000 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = 60,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = 50,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = 25,000 บาทขึ้นไปต่อคน

[ตัวบ่งชี้ 2.3] ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย

หมายเหตุ เป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในรอบปีที่รับการประเมินเท่านั้น [ช่องไหนไม่มีผลงานให้ใส่ 0 ไม่ปล่อยว่าง]
จำนวนผลงานทางวิชาการตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 1 1 2 7
จำนวนผลงานสร้างสรรค์ตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 0 0 0
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] ผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ 9.60 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 22.00
[3] จำนวนนักวิจัยประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 0.00
[4] ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ [1] X 100 / [2] + [3] 43.64
[5] ผลลัพธ์ที่ได้ [4] X 5 / 30 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

วิทยาลัยมีอนุสิทธิบัตร จำนวน 1 ชิ้น และสิทธิบัตร จำนวน 1 ชิ้น 

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 20 ขึ้นไป

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 2

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. วิทยาลัยฯ มีการวางนโยบายด้านงานวิชาการและวิจัย มีระบบการส่งเสริมเพื่อพัฒนางานวิจัยตามความถนัดของอาจารย์ ทั้งด้านนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ เทคโนโลยีชีวภาพ และการแปรรูปรวมถึงการบริหารธุรกิจทางอาหาร สามารถผลิตผลงานที่จะเกิดประโยชน์กับสังคมและนำชื่อเสียงมาสู่มหาวิทยาลัยรังสิตได้อย่างต่อเนื่อง
  2. วิทยาลัยฯ มีระบบและกลไกในการสนับสนุนและส่งเสริมในการขอทุนสนับสนุนจากหน่วยงานภายใน และภายนอกสถาบัน ที่มีจำนวนที่มาก และมีหน่วยงานที่หลากหลายในการดำเนินงานวิจัยในระดับชาติ
  3. วิทยาลัยฯ มีการสนับสนุนุและส่งเสริมในการเผยแพร่ผลงานวิจัยจากการตีพิมพ์วารสารวารสารระดับนานาชาติเพิ่มขึ้น

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. สนับสนุนและส่งเสริมให้อาจารย์ยังไม่มีผลงานวิชาการได้ผลิตงานทางวิชาการ ซึ่งการมีนักวิจัยพี่เลี้ยงสามารถช่วยได้ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการสอนและการขอตำแหน่งทางวิชาการ
  2. จากผลงานวิจัยและการนำเสนอบทความระดับนานาชาติ ควรสนับสนุนเพื่อส่งต่อในการจดอนุสิทธิบัตรหรือสิทธิบัตรมากขึ้น
  3. พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยในระดับวิทยาลับฯ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวิจัยของบุคลากรในวิทยาลัย

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

[ตัวบ่งชี้ 3.1] การบริการวิชาการแก่สังคม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

1. วิทยาลัยฯ มีการจัดทำแผนบริการทางวิชาการจำนวนมากถึง 15 โครงการ และมีโครงการที่มีรายรับ 1 โครงการ
2. แต่ละโครงการมีการกำหนดประโยชน์ต่อทุกภาคส่วน 
3. มีโครงการให้เปล่าจำนวน 15 โครงการ
4. มีการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ แต่ยังไม่พบหลักฐานการนำเสนอผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการประจำวิทยาลัย
5. มีการนำเสนอการดำเนินการปรับปรุงจากปีที่ผ่านมา
6. มีการบริการวิชาการแก่สังคมในระดับสถาบันจำนวน 3 โครงการ

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 3

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. วิทยาลัยฯมีโครงการบริการวิชาการจำนวนมาก และเป็นโครงการที่มีประโยชน์ทั้งนักศึกษา อาจารย์ และสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและสังคม
  2. วิทยาลัยฯทำบริการทางวิชาการได้ในระดับดีมาก น่าจะนำผลงานไปทำเป็น KM เพื่อเป็นแนวทางในคณะอื่นๆ จนเกิดเป็นแนวปฏิบัติที่ดีต่อไป

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. -

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

[ตัวบ่งชี้ 4.1] ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 - 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

เสนอแนวทางการเขียนผลการดำเนินงาน ดังนี้
ข้อ 1. ผ่าน
ข้อ 2. ข้อนี้เขียนดีมาก มีการจัดทำแผนทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม กำหนดวัตถุประสงค์ของแผน และกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จไว้อย่างชัดเจน แต่ยังไม่มีการจัดทำแผนเป็นรูปเล่มฉบับสมบูรณ์ ดังนั้นจึงให้ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงในปีต่อไป การจัดทำแผนนี้ควรเริ่มจากการวิเคราะห์ SWOT ด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อให้ทราบถึงจุดแข็ง จุดอ่อน อุปสรรค และภาวะคุกคาม ซึ่งจะเป็นแนวทางในการบริหารจัดการด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ให้ตรงกับสภาพความเป็นจริง
ข้อ 3. ข้อนี้อธิบายได้ชัดเจนมาก
ข้อ 4. ผ่าน
ข้อ 5. ผ่าน
ข้อ 6. ผ่าน
ข้อ 7. -

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 4

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. ผู้บริหาร คณาจารย์และบุคลากรวิทยาลัยนวัตกรรมเกษตรและเทคโนโลยีอาหารร่วมกันสืบสานประเพณี/วัฒนธรรมให้แก่นักศึกษาในโครงการสานสัมพันธ์น้องพี่สืบสานประเพณีบายศรีสู่ขวัญ(ปลูกข้าว-เกี่ยวข้าว) และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย
  2. วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตรและเทคโนโลยีอาหารมีความมุ่งมั่นจัดกิจกรรมทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง และกิจกรรมทางวิชาการ การประกวดผลผลิตทางการเกษตร ตลอดจนการจัดตลาดผลิตผลการเกษตร ทุกกิจกรรมภายใต้โครงการงานวันเกษตร-อาหาร รังสิต ถือเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. วิทยาลัยมีการจัดทำแผนทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม กำหนดวัตถุประสงค์ของแผน และกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จไว้อย่างชัดเจน แต่ยังไม่มีการจัดทำแผนเป็นรูปเล่มฉบับสมบูรณ์ ดังนั้นจึงให้ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงในปีต่อไป การจัดทำแผนนี้ควรเริ่มจากการวิเคราะห์ SWOT ด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อให้ทราบถึงจุดแข็ง จุดอ่อน อุปสรรค และภาวะคุกคาม ซึ่งจะเป็นแนวทางในการบริหารจัดการด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ให้ตรงกับสภาพความเป็นจริง

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

[ตัวบ่งชี้ 5.1] การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00
การจัดการความรู้ในแต่ละด้าน จำนวน
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการผลิตบัณฑิต [ยุทธ์ ฯ 1] 1
เรื่อง
  • นวัตกรรมการเรียนเชิงสร้างประสลการณ์ บูรณาการสู่ผู้ประกอบการนวัตกรรมเกษตร
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการวิจัย [ยุทธ์ ฯ 2] 1
เรื่อง
  • นวัตกรรมวิจัยอาหารและเครื่องดื่มสุขภาพแพลนท์เบสจากของเหลือและผลพลอยได้การแปรรูปข้าว
การจัดการความรู้ ด้าน Smart Organization [ยุทธ์ ฯ 3] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Internationalization [ยุทธ์ ฯ 4] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Reputation [ยุทธ์ ฯ 5]
(รวมด้านบริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม)
0
การจัดการความรู้ ด้านอื่น ๆ 0

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ข้อ 1. ผ่าน
ข้อ 2. มีข้อสังเกต ตารางที่ 3 งบโครงการพัฒนาบุคลากร ใช้งบเพียงร้อยละ 30.03 ซึ่งไม่ถึงครึ่งของงบที่ได้รับอนุมัติ
ข้อ 3. ผ่าน
ข้อ 4. ผ่าน
ข้อ 5. การจัดการความรู้ทั้ง 2 เรื่อง ควรเขียนแบบสรุป สำหรับรายละเอียดมีในเอกสารอ้างอิงอยู่แล้ว
ข้อ 6. มีข้อสังเกต ไม่ได้บอกถึงแผนพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสายสนับสนุน
ข้อ 7 ผ่าน

[ตัวบ่งชี้ 5.2] ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ข้อ 1. ผ่าน
ข้อ 2. เสนอแนวทางการเขียนในปีต่อไป โดยเริ่มกำกับ ติดตามการดำเนินงานประกันคุณภาพหลักสูตร ในภาคการศึกษาที่ 1 และ 2 ติดตามผลการดำเนินงานหลักสูตรประเด็นใดบ้าง เช่น การรับนักศึกษา การเตรียมความพร้อม การพัฒนาศักยภาพนักศึกษา เป็นต้น โดยหัวหน้าหลักสูตรทำการรายงานต่อกรรมการประจำคณะ เพื่อร่วมกันหาแนวทางปรับปรุงให้ดีขึ้น
ข้อ 3. ผ่าน
ข้อ 4. ผ่าน
ข้อ 5. ผ่าน
ข้อ 6. ผ่าน

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 5

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ในการบริหารวิทยาลัย โดยคำนึงถึงประโยชน์ของวิทยาลัย และได้พัฒนาการศึกษาด้านการเกษตรในลักษณะบูรณาการ เชื่อมโยงองค์ความรู้ด้านการเกษตร ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ และด้านเทคโนโลยีอาหาร เข้าด้วยกัน เพื่อมุ่งเน้นการผลิต และพัฒนาบัณฑิตไปสู่การเป็นเกษตรกรอัจฉริยะ และนักเทคโนโลยีอัจฉริยะ ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมฐานรากของประเทศไทยที่เป็นสังคมเกษตรกรรมได้เป็นอย่างดี

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ในการกำกับ ติดตามการดำเนินงานประกันคุณภาพหลักสูตร ทางคณะควรร่วมกันหาแนวทางช่วยหลักสูตร ในประเด็นต่างๆ อาทิ การรับนักศึกษา การเตรียมความพร้อม การพัฒนาศักยภาพนักศึกษา เป็นต้น

สรุปผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลดำเนินการ
กรรมการ
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม 3.98
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 3.41
ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร 5.00
ผลการประเมินเฉลี่ยรวม [13 ตัวบ่งชี้] 4.80

ตารางผลการวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบคุณภาพ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
1 6 4.47 5.00 3.98 4.57 การดำเนินงานระดับดีมาก
2 3 5.00 5.00 5.00 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
3 1 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
4 1 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
5 2 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
ผลการประเมิน 4.60 5.00 4.49 4.80 การดำเนินงานระดับดีมาก
ระดับคุณภาพ การดำเนินงานระดับดีมาก การดำเนินงานระดับดีมาก การดำเนินงานระดับดี