รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566

วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตร และเทคโนโลยีอาหาร

วันที่ประเมิน: 11 ตุลาคม 2567, 09:30น.

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

[ตัวบ่งชี้ 1.1] ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน คะแนน
[1] จำนวนหลักสูตรทั้งหมดที่คณะรับผิดชอบ
[ไม่รวมหลักสูตรที่ใช้ระบบประกันคุณภาพอื่นๆ ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2563 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2565)]
4 3.95
[2] ผลรวมของค่าคะแนนประเมินของทุกหลักสูตร 15.80
[3] ผลลัพธ์ที่ได้ [2] / [1] 3.95

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

        จากทั้งหมด 4 หลักสูตรได้ผลการบริหารโดยรวมเป็นไปตามผลที่วิทยาลัยประเมินมาคือ 3.95 คะแนน
 

[ตัวบ่งชี้ 1.2] อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 40 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 20.00 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 8
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 40.00
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 40 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

        จำนวนอาจารย์วุฒิปริญญาเอก 8 คน  จาก 20 คน  ผลจากการคำนวณเป็นไปตามที่วิทยาลัยประเมินมาคือ 5 คะแนน
 

[ตัวบ่งชี้ 1.3] อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 60 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 20.00 4.17
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 10
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 50.00
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 60 4.17

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

        ผู้มีตำแหน่งทางวิชาการ 10 คน  คำนวณตามสูตรร้อยละ 60  จะได้ค่าคะแนน 4.17  
 

[ตัวบ่งชี้ 1.4] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] สามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า [ค่า FTES] รวมทุกหลักสูตร 384.19 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] 20.00
[3] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำที่เป็นจริง [1] / [2] 19.21
[4] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำแยกตามกลุ่มสาขาวิชา 20.00
[5] ร้อยละที่ได้ ([3] – [4] / [4]) X 100 -3.95
[6] ผลลัพธ์ที่ได้ 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

       ดูจากหลักฐานอ้างอิงค่า FTES  และการคำนวณตามเกณฑ์จะได้ค่าคะแนนเท่ากับ 5 คะแนนตามที่ประเมินมา
 

[ตัวบ่งชี้ 1.5] การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ข้อ 1      - หลักสูตรมีระบบการให้คำปรึกษาและจัดอาจารย์ที่ปรึกษาให้แก่นักศึกษาทุกคน  แต่หลักฐานอ้างอิงของคณะเทคโนโลยีอาหารยังขาดรายชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาของสาขาเทคโนโลยีอาหาร  และทั้ง 2 สาขาวิชาควรมีรายชื่อนักศึกษาที่รับผิดชอบด้วย  
ข้อ 2      - วิทยาลัยมีการจัดกิจกรรมพิเศษให้แก่นักศึกษารวม 13 โครงการ 
ข้อ 3      - มีการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมเมื่อสำเร็จการศึกษา  แต่บางกิจกรรมไม่มีการประเมินเป็น PDCA
ข้อ 4      - มีการแสดงผลประเมินคุณภาพของแต่ละโครงการหรือกิจกรรมให้เห็นชัดเจน
ข้อ 5      - มีการเสนอวิธีปรับปรุงเพื่อพัฒนา  
ข้อ 6      - มีการดำเนินการดังที่เสนอมา

 

[ตัวบ่งชี้ 1.6] กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00
19
19
100.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ข้อ 1      - มีการจัดทำแผนโดยนักศึกษามีส่วนร่วม
ข้อ 2      - กิจกรรมที่จัดมีการส่งเสริมการเรียนรู้ครบ 5 ประการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ
ข้อ 3      - มีการดำเนินการโดยใช้คลิป VDO  ให้นักศึกษาฟังทางช่อง YouTube

ข้อ 4      - มีการประเมินผลตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรม
ข้อ 5      - ได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของแผน
ข้อ 6      - ได้นำผลการประเมินมาวางแผนเพื่อใช้ในปีการศึกษา 2567

 

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 1

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. มีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายมุ่งเน้นการส่งเสริมนักศึกษาให้ได้เรียนรู้ทฤษฎีและการปฏิบัติจริงทั้งในและนอกห้องเรียน

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. บางโครงการที่ดำเนินการยังไม่เน้นการมีส่วนร่วมของนักศึกษา
  2. ควรมีการประเมินความสำเร็จของทุกโครงการที่ดำเนินการ
  3. ควรใส่หลักฐานอ้างอิงให้ครบในรายการทุกข้อทุกเรื่อง รวมถึงใน DBS ด้วย

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

[ตัวบ่งชี้ 2.1] ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ข้อ 1 วิทยาลัยมีฐานข้อมูลงานวิจัยในการติดตามหรือบริหารงานวิจัย
ข้อ 2 (1) วิทยาลัยมีห้องปฏิบัติการ ห้องปฏิบัติการเฉพาะทาง โรงเรือน และห้องปลูกพืชสมันใหม่ ซึ่งรองรับการทำงานวิจัยของทั้งอาจารย์และนักศึกษา  
        (2) วิทยาลัยใช้สำนักหอสมุดเป็นแหล่งค้นคว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัย โดยทางวิทยาลัยจะแจ้งความประสงค์ต่อสำนักหอสมุดในการจัดหาทรัพยากรที่ต้องการ
        (3) วิทยาลัยโดยสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดอำนวยความสะดวกในเรื่องโปรแกรมและซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์เพื่องงานวิจัย รวมถึงมีระบบรักษาความปลอดภัย และมีประกาศข้อกำหนดด้านการรักษาความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการไว้ด้วย
        (4) วิทยาลัยมีการจัดประชุมวิชาการร่วมกับสถาบันในต่างประเทศ และมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญมาบรรยายพิเศษ
ข้อ 3 วิทยาลัยอิงระบบทุนของมหาวิทยาลัย โดยมีอาจารย์ของวิทยาลัยได้รับสนับสนุนทุนวิจัยทั้งภายในและภายนอก
ข้อ 4 มีระบบและกลไกในการสนับสนุนเงินการเผยแพร่ผลงานวิจัย
ข้อ 5 วิทยาลัยมีการดำเนินการส่งอาจารย์เพื่อพัฒนางานวิจัย ควรเพิ่มเติมระบบการให้รางวัลเพื่อยกย่องอาจารย์ที่มีผลงานดีเด่นด้วย
ข้อ 6 มีระบบและกลไกในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา

[ตัวบ่งชี้ 2.2] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายใน 863,415.33 5.00
[2] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายนอก 968,708.00
[3] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ทั้งภายในและภายนอก [1] + [2] 1,832,123.33
[4] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมอาจารย์ที่ลาศึกษาต่อ] 20.00
[5] จำนวนนักวิจัยประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมนักวิจัยที่ลาศึกษาต่อ] 0.00
[6] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบันต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัย [3] / ([4] +[5]) 91,606.17
[7] ผลลัพธ์ที่ได้ [6] X 5 / 60000 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-
 

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = 60,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = 50,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = 25,000 บาทขึ้นไปต่อคน

[ตัวบ่งชี้ 2.3] ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย

หมายเหตุ เป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในรอบปีที่รับการประเมินเท่านั้น [ช่องไหนไม่มีผลงานให้ใส่ 0 ไม่ปล่อยว่าง]
จำนวนผลงานทางวิชาการตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 1 4 0 1 8
จำนวนผลงานสร้างสรรค์ตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 0 0 0
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] ผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ 10.60 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 20.00
[3] จำนวนนักวิจัยประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 0.00
[4] ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ [1] X 100 / [2] + [3] 53.00
[5] ผลลัพธ์ที่ได้ [4] X 5 / 30 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-
 

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 20 ขึ้นไป

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 2

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. วิทยาลัยมีห้องปฏิบัติการที่หลากหลาย ช่วยให้คณาจารย์สามารถผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ ทั้งยังได้รับรางวัล รวมถึงรองรับความต้องการอาหารในอนาคต
  2. คณาจารย์ของวิทยาลัยมีศักยภาพที่สูง สามารถขอทุนวิจัยทั้งภายในและภายนอกเป็นจำนวนเงินที่สูง

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. วิทยาลัยมีผลงานที่วิจัยที่ดีหลายผลงาน ควรมีการผลักดันให้มีการผลิตและสร้างรายได้อย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น โดยอาจจะร่วมกับสถานประกอบการเพื่อเพิ่มสายการผลิตใหม่ หรืออาจจะร่วมกับคณะอื่นในการขายสินค้าอย่างเป็นระบบ เช่น คณะบริหารธุรกิจ เป็นต้น

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

[ตัวบ่งชี้ 3.1] การบริการวิชาการแก่สังคม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ข้อ 1 ผ่าน
ข้อ 2 ผ่าน
ข้อ 3 ผ่าน
ข้อ 4 มีข้อสังเกตคือ พบการประเมินโครงการ แต่ไม่พบการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผน สามารถเพิ่มเติมข้อมูลส่วนนี้ได้ โดยใช้ข้อมูลจากยุทธศาสตร์การพัฒนาศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ มีวัตถุประสงค์ไว้ 4 ข้อ (ดูจากเอกสารแนบไว้ใน DBS) ได้กำหนด OKR ไว้ว่า ร้อยละ 10 ของนักศึกษาปีที่ 4 ได้รับการตีพิมพ์ ในงานประชุมวิชาการ หรือ วารสารในระดับมากกว่า TCI 3 ดังนั้น ควรเพิ่มเติมการเขียนรายงานในส่วนนี้ว่าทำการประเมินความสำเร็จตาม OKR หรือไม่ ได้ผลลัพธ์เป็นอย่างไร (เชื่อว่าทางวิทยาลัยมีข้อมูลเหล่านี้อยู่แล้ว จึงเพิ่มเติมไม่ยาก)
ข้อ 5 มีข้อสังเกตคือ เมื่อประเมินความสำเร็จในส่วนที่เพิ่มเติมข้อ 4 หากยังตีพิมพ์ไม่ได้ร้อยละ 10 ก็หาแนวทางปรับปรุงในปีต่อไป
ข้อ 6 ผ่าน

 

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 3

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. วิทยาลัยมีการดำเนินการด้านบริการวิชาการอย่างเป็นระบบ และก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งชุมชน อาจารย์ และนักศึกษาด้วย
  2. วิทยาลัยมีงานบริการวิชาการทั้งแบบให้เปล่า และแบบมีรายได้หลายโครงการ และผลจากงานบริการวิชาการดังกล่าวสามารถบูรณาการร่วมกับการวิจัยก่อให้เกิดผลงานวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. -

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

[ตัวบ่งชี้ 4.1] ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 - 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ข้อ 1 ผ่าน
ข้อ 2 ผ่าน
ข้อ 3 ผ่าน
ข้อ 4 ผ่าน
ข้อ 5 ผ่าน
ข้อ 6 ผ่าน

 

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 4

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. วิทยาลัยสามารถบริหารจัดการระบบ และกลไกด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ทั้งการกำหนดผู้รับผิดชอบที่เป็นความร่วมมืออย่างเข้มแข็งระหว่างคณกรรมการสโมสรนักศึกษา บุคลากร และคณะกรรมการส่งเสริมคุณภาพ คุณธรรมจริยธรรม ศิลปวัฒนธรรม และจิตอาสาของนักศึกษา ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้การดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม ด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ประสบความสำเร็จในระดับสูง
  2. วิทยาลัยให้ความสำคัญของตัวชี้วัดโครงการ/กิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมเชื่อมโยงกับมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ 5 ประการ ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนานักศึกษาโดยใช้โครงการเป็นฐาน

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. วิทยาลัยมีการริเริ่มการดำเนินงานเพื่อสร้างมาตรฐานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมให้เป็นแบบอย่าง และแสดงถึงเอกลักษณ์ของวิทยาลัย ให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ ต่อไป

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

[ตัวบ่งชี้ 5.1] การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00
การจัดการความรู้ในแต่ละด้าน จำนวน
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการผลิตบัณฑิต [ยุทธ์ ฯ 1] 3
เรื่อง
  • เทคนิคการจัดการเรียนการสอนแบบ Story Line สไตล์นวัตกรรมเกษตร
  • การสร้างเสริมทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษาสาขาธุรกิจฯ อาหาร ผ่านกระบวนการปฏิบัติงานจริงของโครงการธุรกิจจำลอง บุญตะวัน
  • การขอเลขสถานที่ผลิตอาหารในกรณีไม่เข้าข่ายโรงงาน
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการวิจัย [ยุทธ์ ฯ 2] 1
เรื่อง
  • การสร้างตัวตนบนเวทีวิชาการแก่หลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพด้วยผลงานนวัตกรรมวิจัย
การจัดการความรู้ ด้าน Smart Organization [ยุทธ์ ฯ 3] 2
เรื่อง
  • หนองสาหร่ายโมเดลต้นแบบ นวัตกรรมภูมิปัญญา
  • การขอเลขสถานที่ผลิตอาหารในกรณีไม่เข้าข่ายโรงงาน
การจัดการความรู้ ด้าน Internationalization [ยุทธ์ ฯ 4] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Reputation [ยุทธ์ ฯ 5]
(รวมด้านบริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม)
0
การจัดการความรู้ ด้านอื่น ๆ 0

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ข้อ 1 ผ่าน
ข้อ 2 วิทยาลัยได้วิเคราะห์ต้นทุนของหลักสูตร โดยทั้ง 4 หลักสูตรคุ้มทุน
ข้อ 3 วิทยาลัยมีคณะกรรมการบริการความเสี่ยง และมีการดำเนิการบริหารความเสี่ยงตามกรอบความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
ข้อ 4 มีการบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วน
ข้อ 5 มีการจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดี จำนวน 5 รายการ 
ข้อ 6 ผ่าน
ข้อ 7 ผ่าน

[ตัวบ่งชี้ 5.2] ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ข้อ 1 วิทยาลัยมีการดำเนินการประคุณภาพการศึกษาครบตามองค์ประกอบ
ข้อ 2 ผ่าน
ข้อ 3 ผ่าน
ข้อ 4 ผ่าน
ข้อ 5 ผ่าน
ข้อ 6 ผ่าน

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 5

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. -

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ทุกหลักสูตรของวิทยาลัยคุ้มทุนทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตาม จะพบว่าร้อยละของรายได้สูงกว่ารายจ่ายจะมี 1 หลักสูตรที่ต่ำสุด (56.51%) อาจจะหาแนวทางในการบริหารจัดการเพื่อให้ร้อยละของรายได้สูงกว่ารายจ่ายเพิ่มขึ้น
  2. ควรหาแนวทางบริหารผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของหลักสูตร ในการต่อยอดผลิตภัณฑ์เพื่อก่อให้เกิดรายได้

สรุปผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลดำเนินการ
กรรมการ
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม 3.95
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 4.17
ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร 5.00
ผลการประเมินเฉลี่ยรวม [13 ตัวบ่งชี้] 4.86

ตารางผลการวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566

องค์ประกอบคุณภาพ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
1 6 4.72 5.00 3.95 4.69 การดำเนินงานระดับดีมาก
2 3 5.00 5.00 5.00 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
3 1 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
4 1 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
5 2 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
ผลการประเมิน 4.79 5.00 4.48 4.86 การดำเนินงานระดับดีมาก
ระดับคุณภาพ การดำเนินงานระดับดีมาก การดำเนินงานระดับดีมาก การดำเนินงานระดับดี