รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566

วิทยาลัยนิเทศศาสตร์

วันที่ประเมิน: 3 ตุลาคม 2567, 09:30น.

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

[ตัวบ่งชี้ 1.1] ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน คะแนน
[1] จำนวนหลักสูตรทั้งหมดที่คณะรับผิดชอบ
[ไม่รวมหลักสูตรที่ใช้ระบบประกันคุณภาพอื่นๆ ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2563 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2565)]
14 3.69
[2] ผลรวมของค่าคะแนนประเมินของทุกหลักสูตร 51.61
[3] ผลลัพธ์ที่ได้ [2] / [1] 3.69

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 1.2] อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 40 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 69.00 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 30
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 43.48
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 40 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 1.3] อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 60 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 69.00 3.38
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 28
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 40.58
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 60 3.38

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 1.4] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] สามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า [ค่า FTES] รวมทุกหลักสูตร 4644.13 0.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] 69.00
[3] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำที่เป็นจริง [1] / [2] 67.31
[4] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำแยกตามกลุ่มสาขาวิชา 25.00
[5] ร้อยละที่ได้ ([3] – [4] / [4]) X 100 169.24
[6] ผลลัพธ์ที่ได้ 0.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

น่าจะมีการพิจารณาเรื่องการคำนวณค่า FTES 

[ตัวบ่งชี้ 1.5] การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

เอกสารอ้างอิง ข้อ 3 ถ้ามีการใส่รายละเอียดของกิจกรรมในโครงการต่างๆ หรือ แสดงตัวโครงการก็จะทำให้มีความชัดเจนมากขึ้น

[ตัวบ่งชี้ 1.6] กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00
29
29
100.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

- กิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษายังคงมีความหลากหลาย
- วิทยาลัยฯ ได้ออกแบบกิจกรรมให้นักศึกษาได้เข้ามามีส่วนร่วมและลงพื้นที่ปฏิบัติจริงเพิ่มรับประสบการณ์ตรงเพิ่มมากขึ้น

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 1

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. แนวทางการบริหารหลักสูตรและการพัฒนานักศึกษามีความชัดเจนเป็นรูปธรม

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ต้องพิจารณาและแก้ปัญหาเรื่องอัตราส่วนของจำนวนนักศึกษาเต็มเวลา : จำนวนอาจารย์ประจำ

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

[ตัวบ่งชี้ 2.1] ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ในเกณฑ์ข้อที่ 6 นั้น ผู้กำหนดมีความคาดหวังให้ระดับคณะ/วิทยาลัย ต้องมีระบบและกลไกเป็นของตนเองหรือใช้ร่วมกับมหาวิทยาลัยได้
ซึ่งในความเป็นจริงการกำหนดระบบและกฎเกณฑ์ของวิทยาลัยฯ เองน่าจะยากกว่าการที่ใช้ระบบกลไกร่วมกับมหาวิทยาลัย

[ตัวบ่งชี้ 2.2] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายใน 71,450.00 4.55
[2] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายนอก 1,499,900.00
[3] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ทั้งภายในและภายนอก [1] + [2] 1,571,350.00
[4] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมอาจารย์ที่ลาศึกษาต่อ] 69.00
[5] จำนวนนักวิจัยประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมนักวิจัยที่ลาศึกษาต่อ] 0.00
[6] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบันต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัย [3] / ([4] +[5]) 22,773.19
[7] ผลลัพธ์ที่ได้ [6] X 5 / 25000 4.55

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = 60,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = 50,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = 25,000 บาทขึ้นไปต่อคน

[ตัวบ่งชี้ 2.3] ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย

หมายเหตุ เป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในรอบปีที่รับการประเมินเท่านั้น [ช่องไหนไม่มีผลงานให้ใส่ 0 ไม่ปล่อยว่าง]
จำนวนผลงานทางวิชาการตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 5 6 21 0 0
จำนวนผลงานสร้างสรรค์ตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 0 0 53
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] ผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ 69.00 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 69.00
[3] จำนวนนักวิจัยประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 0.00
[4] ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ [1] X 100 / [2] + [3] 100.00
[5] ผลลัพธ์ที่ได้ [4] X 5 / 20 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 20 ขึ้นไป

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 2

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. แนวทางเสริม หากมีการเพิ่มเติมระบบสารสนเทศเกี่ยวกับการบริหารงานวิจัยของวิทยาลัยขึ้นเอง เพิ่มเติมจากของมหาวิทยาลัยก็จะทำให้ระบบการบริหารงานวิจัยมีความเข้มแข็งขึ้นอีก
  2. มีความสัมพันธ์ (connection) ที่ดีมากกับหน่วยภายนอกทั้งในเรื่องของแหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัยและสร้างสรรค์และพื้นที่ในการแสดงผลงานสร้างสรรค์

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. -

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

[ตัวบ่งชี้ 3.1] การบริการวิชาการแก่สังคม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 3

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. มีโครงการวิชาการแบบมีรายได้ที่มีมูลค่าสูง      
  2. มีโครงการหลากหลาย

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. -

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

[ตัวบ่งชี้ 4.1] ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 - 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

จุดเด่น : สร้างสรรค์ ภาพยนต์หนังสั้นจริยธรรมได้รับรางวัลประดับประเทศ

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 4

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. วิทยาลัยฯ สามารถสร้างสรรค์ภาพยนต์หนังสั้นจริยธรรมได้รับรางวัลประดับประเทศ
  2. วิทยาลัยฯ มีโครงการที่หลากหลาย

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. N/A

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

[ตัวบ่งชี้ 5.1] การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00
การจัดการความรู้ในแต่ละด้าน จำนวน
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการผลิตบัณฑิต [ยุทธ์ ฯ 1] 1
เรื่อง
  • การสร้างสรรค์โจทย์เชิงวิชาชีพเพื่อพัฒนาทักษะความรู้ในวิชาการออกแบบฉากและการจัดแสงเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ในงานโทรทัศน์มัลติแพลตฟอร์ม
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการวิจัย [ยุทธ์ ฯ 2] 1
เรื่อง
  • The adaptation of communication and cultural acclimatization among Chinese students.
การจัดการความรู้ ด้าน Smart Organization [ยุทธ์ ฯ 3] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Internationalization [ยุทธ์ ฯ 4] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Reputation [ยุทธ์ ฯ 5]
(รวมด้านบริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม)
0
การจัดการความรู้ ด้านอื่น ๆ 0

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

เกณฑ์ข้อ 1. ได้ดำเนินการเพิ่มเติมข้อมูลแล้ว

เกณฑ์ข้อ 2. วิทยาลัยฯ สามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพมีอัตราร้อยละการได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษาภายใน 1 ปี ในปีการศึกษา 2566 เท่ากับร้อยละ 91.87 และมีผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตตามผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรอยู่ในระดับ 4.56 คณาจารย์มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารทั้งในฐานสากลและฐาน TCI  รวม 27 ฉบับ คิดเป็นอัตราร้อยละ 39.13 ของจำนวนอาจารย์ประจำ และมีทุนวิจัยภายในและภายนอกรวมต่ออาจารย์ประจำ 22,773.19 บาท และผลวิเคราะห์ความคุ้มทุนหลักสูตรมีความคุ้มทุนทั้ง 14 หลักสูตร สรุปได้ว่าวิทยาลัยนิเทศศาสตร์สามารถบริหารหลักสูตรได้อย่างคุ้มค่ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และมีศักยภาพในการแข่งขัน

เกณฑ์ข้อ 3. หลักฐาน นท.อ5.5.1.3.03 รายงานการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน กำหนดให้ดำเนินการทั่วทั้งองค์การในปี 2566 ถูกต้องครบถ้วน 


เกณฑ์ข้อ 4. มีการรายงานแนวทางการดำเนินงานภายใต้หลักธรรมาภิบาลต่างๆ ครบถ้วน 

เกณฑ์ข้อ 6. วิทยาลัยฯ รายงานใน SAR ว่า ผลของการพัฒนาและบริหารบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การดำเนินงานของวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ประสบความสำเร็จ มีผลการดำเนินงานที่เป็นไปสูงกว่าเป้าหมาย ทั้งทางด้านการพัฒนาส่งเสริมในด้านการอบรมพัฒนาความรู้และทักษะทางด้านวิชาการและวิชาชีพ การสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาต่อให้มีคุณวุฒิปริญญาที่สูงขึ้น ในปี 2566 มีจำนวนทั้งหมด 30 คน การพัฒนาการดำรงตำแหน่งทางวิชาการ จำนวนทั้งหมด 28 คน โดยดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ 4 คน และผู้ช่วยศาสตราจารย์ 24 คน ผลการดำเนินงานที่เป็นไปสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ และยังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในอนาคตวิทยาลัยควรสรุปผลประเมินการพัฒนาบุคลากรตาม key result ยุทธศาสตร์ smart organization อ้างอิงการรายงานผ่านระบบ IDP ของ HRD

เกณฑ์ข้อ 7. วิทยาลัยฯ มีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในครบถ้วนตามระบบกลไกที่เหมาะสมทั้งการควบคุม ตรวจสอบ และประเมินคุณภาพ

[ตัวบ่งชี้ 5.2] ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ภาพรวม
- มีการแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพทั้งในระดับวิทยาลัยฯ มีการประชุมเตรียมความพร้อมเป็นระยะ ระหว่างหัวหน้าหลักสูตรร่วมกับคณบดีและรองคณบดี และการประชุมรายงานความก้าวหน้าเป็นวาระประกันคุณภาพในการประชุมกรรมการบริหารวิทยาลัย
(แต่วิทยาลัยฯ ยังไม่ได้อัพโหลดรายงานการประชุมในระบบ DBS)
- มีการประเมินคุณภาพทุกหลักสูตรตามกำหนดเวลาที่ผ่านองค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน และรายงานผลการประเมินต่อคณะกรรมการบริหาร มีค่าเฉลี่ยผลการประเมินในระดับดีที่ 3.69 จาก 14 หลักสูตร

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 5

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. วิทยาลัยนิเทศศาสตร์มีการบริหารจัดการภายในคณะอย่างดี โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการเรื่องบุคลากร งบประมาณ สิ่งอำนวยความสะดวก (วัสดุอุปกรณ์/สถานที่) โดยอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของผู้บริหารคณะ (กรรมการบริหารวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ ประกอบด้วย คณบดี รองคณบดี หัวหน้าหลักสูตร และเลขานุการ) โดยมุ่งเน้นการใช้หลักธรรมาภิบาลเพื่อให้วิทยาลัยนิเทศศาสตร์สามารถดำเนินงานให้บรรลุตามพันธกิจที่ได้ตั้งไว้ได้
  2. วิทยาลัยนิเทศศาสตร์สามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีอัตราร้อยละการได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษาภายใน 1 ปี ในปีการศึกษา 2566  เท่ากับร้อยละ 91.87 และมีผล การประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตตามผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรอยู่ในระดับ 4.56  คณาจารย์มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารทั้งในฐานสากลและฐาน TCI  รวม 27 ฉบับ คิดเป็นอัตราร้อยละ 39.13 ของจำนวนอาจารย์ประจำ และมีทุนวิจัยภายในและภายนอกรวมต่ออาจารย์ประจำ 22,773.19 บาท  และผลวิเคราะห์ความคุ้มทุนหลักสูตรมีความคุ้มทุนทั้ง 14 หลักสูตร สรุปได้ว่าวิทยาลัยนิเทศศาสตร์สามารถบริหารหลักสูตรได้อย่างคุ้มค่ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และมีศักยภาพในการแข่งขัน
  3. วิทยาลัยนิเทศศาสตร์มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจของคณะและมหาวิทยาลัย มีการดำเนินการตามระบบที่กำหนด โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรสายสนับสนุนทุกคนต้องเกิดความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งในระดับสาขาวิชาและระดับวิทยาลัย ส่งผลให้มีคะแนนประเมินหลักสูตรอยู่ในระดับที่ดีที่คะแนนเฉลี่ย 3.69 จาก 14 หลักสูตร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ควรพิจารณาการปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัย ที่ปรับตามแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต ฉบับปรับปรุง ปี พ.ศ.2567 โดยทบทวนการวิเคราะห์ SWOT และทบทวนกิจกรรม/โครงการที่สอดคล้องกับ SWOT Analysis และ key result ของแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต ฉบับปรับปรุง ปี พ.ศ.2567
  2. วิทยาลัยนิเทศศาสตร์มีการรายงานความเสี่ยงครอบคลุมทุกด้าน แต่ควรเสริมการรายงานแนวโน้มของการลดค่าความเสี่ยงจากการดำเนินงานตามมาตรการลดความเสี่ยง
  3. การรายงานการดำเนินงานภายใต้หลักธรรมาภิบาลต่างๆ ควรมีการประเมินผลการบริหารงานของผู้บริหารคณะโดยคณาจารย์และบุคลากรทั้งคณะ

สรุปผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลดำเนินการ
กรรมการ
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม 3.69
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 3.38
ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ 0.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 4.55
ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร 5.00
ผลการประเมินเฉลี่ยรวม [13 ตัวบ่งชี้] 4.36

ตารางผลการวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566

องค์ประกอบคุณภาพ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
1 6 2.79 5.00 3.69 3.68 การดำเนินงานระดับดี
2 3 4.55 5.00 5.00 4.85 การดำเนินงานระดับดีมาก
3 1 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
4 1 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
5 2 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
ผลการประเมิน 3.23 5.00 4.35 4.36 การดำเนินงานระดับดี
ระดับคุณภาพ การดำเนินงานระดับพอใช้ การดำเนินงานระดับดีมาก การดำเนินงานระดับดี