รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566

วิทยาลัยเภสัชศาสตร์

วันที่ประเมิน: 7 ตุลาคม 2567, 09:30น.

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

[ตัวบ่งชี้ 1.1] ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน คะแนน
[1] จำนวนหลักสูตรทั้งหมดที่คณะรับผิดชอบ
[ไม่รวมหลักสูตรที่ใช้ระบบประกันคุณภาพอื่นๆ ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2563 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2565)]
2 4.04
[2] ผลรวมของค่าคะแนนประเมินของทุกหลักสูตร 8.08
[3] ผลลัพธ์ที่ได้ [2] / [1] 4.04

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 1.2] อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 40 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 94.00 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 62
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 65.96
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 40 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 1.3] อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 60 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 94.00 3.90
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 44
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 46.81
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 60 3.90

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 1.4] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] สามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า [ค่า FTES] รวมทุกหลักสูตร 741.86 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] 93.00
[3] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำที่เป็นจริง [1] / [2] 7.98
[4] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำแยกตามกลุ่มสาขาวิชา 8.00
[5] ร้อยละที่ได้ ([3] – [4] / [4]) X 100 -0.25
[6] ผลลัพธ์ที่ได้ 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 1.5] การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

1. มีบริการให้คำปรึกษาทางวิชาการและการใช้ชีวิตแก่นักศึกษา และยังได้ดำเนินโครงการประจำปีเพื่อแนะนำการใช้ชีวิตและแผนการศึกษาในมหาวิทยาลัย
2. มีการนำเสนอผลงานนวัตกรรมต่างๆ ที่เป็นผลงานโดดเด่นที่วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ได้ผลิตและสร้างชื่อเสียง รวมถึงผลงานบริการวิชาการแก่สังคม เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษารุ่นใหม่ เป็นผู้ตระหนักในการมีส่วนร่วมเพื่อช่วยสร้างสรรค์นวัตกรรม (Innovative Co-Creator)
3. มีการดำเนินการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการเรียนการสอนและกิจกรรมต่างๆ นอกหลักสูตร เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา
4. มีการประสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์เพื่อให้บริการแก่นักศึกษาผ่านทางเว็บไซต์ของวิทยาลัยเภสัชศาสตร์ และ Facebook ของฝ่ายกิจการนักศึกษาวิทยาลัยเภสัชศาสตร์
5. มีการสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาในการรับบริการด้านการให้ข้อมูลเพื่อเป็นการบริการในปีการศึกษา 2566 มีคะแนนเฉลี่ย 4.16 จากคะแนนเต็ม 5
6. มีกิจกรรมการเตรียมความพร้อมสำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 6 เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่นักศึกษาทั้งในด้านวิชาการ และด้านการปรับตัวในสถานที่ทำงาน การมีทัศนคติที่ดีต่อรุ่นพี่ ต่อเพื่อนร่วมงาน และต่อวิชาชีพอื่นๆ รวมถึงแนวทางการแก้ปัญหาเมื่อพบกับอุปสรรคในสถานที่ทำงานที่นักศึกษาอาจจะต้องเผชิญ
7. มีการจัดกิจกรรม Pharmacy Job Fair เพื่อให้นักศึกษาผู้สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2566 ได้มีโอกาสพบกับแหล่งงานทางเภสัชกรรม ที่มาให้ข้อมูลการทำงาน และเปิดรับสมัครเภสัชกรน้องใหม่ ได้สมัครเข้าทำงานรวมถึงสัมภาษณ์งานในกิจกรรมด้วย
8. มีการประเมินความพึงพอใจการดำเนินงานของโครงการและกิจกรรมต่างๆ
9. มีการนำผลการประเมินจากโครงการและกิจกรรมต่าง มาปรับปรุงพัฒนาการให้บริการและการให้ข้อมูล เพื่อส่งให้ผลการประเมินสูงขึ้นหรือเป็นไปตามความคาดหวังของนักศึกษา
10. มีการดำเนินการให้ข้อมูลและความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการประกอบวิชาชีพแก่ศิษย์เก่า และผู้สนใจ โดยการประชาสัมพันธ์ข้อมูลกิจกรรมของวิทยาลัยและคลิปสาระความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่างๆ ให้แก่ศิษย์เก่าได้ทราบและเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านทางเว็บไซต์หลักของวิทยาลัยเภสัชศาสตร์
11. มีการประชุมสัมมนารูปแบบ onsite ซึ่งศิษย์เก่าและผู้สนใจทั่วไป ยังสามารถทบทวนและอัพเดทความรู้ตนเอง ผ่านการอ่านบทความวิชาการต่างๆที่วิทยาลัยเภสัชศาสตร์จัดทำขึ้น
12. มีการเผยแพร่ในรูปแบบ online และได้เผยแพร่บนเว็บไซต์ของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์สภาเภสัชกรรม

[ตัวบ่งชี้ 1.6] กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00
6
6
100.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

1. มีการจัดทำแผนการจัดกิจกรรมนักศึกษา โดยการดำเนินงานของสโมสรนักศึกษาวิทยาลัยเภสัชศาสตร์ ซึ่งได้สร้างแนวคิดและแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่เป็นผลดีต่อสังคม ซึ่งนักศึกษาจะเป็นผู้ร่วมสร้างนวัตกรรม (Innovative Co-Creator) ผ่านกิจกรรมต่างๆ
2. มีแผนการจัดกิจกรรมนักศึกษา ให้ดำเนินกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ 5 ประการ
3. มีการจัดกิจกรรมให้ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพการศึกษาแก่นักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566
4. มีการประเมินผลความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและนำผลการประเมินมาปรับปรุงการดำเนินงาน
5. มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา
6. มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงแผน หรือปรับปรุงการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษา

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 1

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. วิทยาลัยเภสัชศาสตร์มีหลักสูตรระดับปริญญาตรีทั้ง 2 สาขาผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานและผ่านการรับรองหลักสูตรโดยสภาเภสัชกรรม
  2. วิทยาลัยเภสัชศาสตร์มีหลักสูตรระดับมหาบัณฑิตและปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ได้รับการประเมินคุณภาพการศึกษาเป็นประจำทุกปี โดยมีคะแนนผลการประเมินในระดับดีและดีมาก
  3. วิทยาลัยเภสัชศาสตร์มีอาจารย์ที่มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกจำนวนมาก ซึ่งเพียงพอต่อจำนวนนักศึกษาที่มีอยู่ในหลักสูตร
  4. วิทยาลัยเภสัชศาสตร์มีการสนับสนุนให้อาจารย์ก้าวหน้าทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง
  5. วิทยาลัยเภสัชศาสตร์มีการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาได้ครบถ้วนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ทั้ง 5 ด้าน โดยทำเป็นประจำทุกปีการศึกษา
  6. วิทยาลัยเภสัชศาสตร์มีการออกแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการศึกษาแบบเน้นผลลัพธ์ในวิชาทดสอบพิษวิทยาได้รับรางวัลชมเชยในการประกวดความรู้ KM ปีการศึกษา 2566

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ควรสนับสนุนส่งเสริมให้อาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งวิชาการเพิ่มมากขึ้น

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

[ตัวบ่งชี้ 2.1] ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

มีการดำเนินการครบทั้ง 6 ข้อ โดยเฉพาะข้อ 2 มีกิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ โดยเป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดประชุมวิชาการเผยแพร่ผลงานวิจัยทางเภสัชศาสตร์ เช่น การจัดประชุมวิชาการนานาชาติ ร่วมกับสมาคมเภสัชกรอุตสาหการ ประเทศไทย (TIPA) มูลนิธิ International Society of Pharmaceutical Engineering (ISPE) ประเทศไทย และเครือข่ายสถาบันเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย รวมถึงสถาบันจากต่างประเทศ ในชื่องานประชุม International Conference and Exhibition on Pharmaceutical Sciences and Technology 2024 (PST 2024) ซึ่งเป็นการดำเนินการในระดับนานาชาติ

[ตัวบ่งชี้ 2.2] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายใน 2,352,500.00 5.00
[2] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายนอก 2,670,000.00
[3] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ทั้งภายในและภายนอก [1] + [2] 5,022,500.00
[4] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมอาจารย์ที่ลาศึกษาต่อ] 93.00
[5] จำนวนนักวิจัยประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมนักวิจัยที่ลาศึกษาต่อ] 6.00
[6] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบันต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัย [3] / ([4] +[5]) 50,732.32
[7] ผลลัพธ์ที่ได้ [6] X 5 / 50000 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

มีเงินทุน วิจัยจำนวนมาก ทั้งภายใน และภายนอกสถาบัน 

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = 60,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = 50,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = 25,000 บาทขึ้นไปต่อคน

[ตัวบ่งชี้ 2.3] ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย

หมายเหตุ เป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในรอบปีที่รับการประเมินเท่านั้น [ช่องไหนไม่มีผลงานให้ใส่ 0 ไม่ปล่อยว่าง]
จำนวนผลงานทางวิชาการตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 6 2 53
จำนวนผลงานสร้างสรรค์ตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 0 0 0
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] ผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ 58.20 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 94.00
[3] จำนวนนักวิจัยประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 6.00
[4] ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ [1] X 100 / [2] + [3] 58.20
[5] ผลลัพธ์ที่ได้ [4] X 5 / 30 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

- มีผลงานตีพิมพ์เป็นจำนวนมาก
- ส่งเสริมแนวทางการนำผลงานวิจัยไปเป็นนวัตกรรมหรือสิทธิบัตร

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 20 ขึ้นไป

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 2

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. มีระบบในการส่งเสริมการทำงานวิจัยที่ดีมาก ควรส่งเสริมให้มีการถ่ายทอดประสบการณ์การทำวิจัย การขอเงินทุนวิจัยให้กับอาจารย์ที่ยังไม่มีงานวิจัยได้เรียนรู้
  2. มีเงินทุนวิจัยเป็นจำนวนมาก ทั้งทุนวิจัยจากภายในสถาบัน และ ทุนวิจัยภายนอกสถาบัน จึงควรผลักดันให้เพิ่มทุนวิจัยจากภายนอกมากกว่าเดิมเพราะจะมีจำนวนเงินทุนวิจัย ที่มากกว่าและมีเงินสำหรับนักวิจัยด้วย
  3. มีผลงานวิจัยตีพิมพ์เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะทางด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ จึงควรส่งเสริมให้ทำผลงานด้านนวัตกรรม และการจดสิทธิบัตร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. -

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

[ตัวบ่งชี้ 3.1] การบริการวิชาการแก่สังคม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ควรมี PDCA ของทุกโครงการบริการวิชาการ ทั้งที่เป็นแบบมีรายได้ และแบบให้เปล่า

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 3

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. มีโครงการบริการวิชาการที่มีประสิทธิภาพ และเป็นงานบริการวิชาการที่มีคุณภาพทางวิชาการสูง ถ้าเพิ่มการบริการวิชาการสู่ชุมชนให้มากขึ้นจะทำให้เป็นการบริการวิชาการที่สมบูรณ์

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. -

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

[ตัวบ่งชี้ 4.1] ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 - 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

1. มีการแต่งตั้งรองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา เพื่อทำหน้าที่วางแผนการดำเนินงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม เป็นผู้รับผิดชอบและประสานงานการดำเนินกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับสโมสรนักศึกษา
2. มีการจัดทำแผนด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมไว้ เพื่อกำหนดกิจกรรมและแผนงานที่จะดำเนินการตลอดปีการศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการประจำปี ของวิทยาลัยเภสัชศาสตร์ ปีการศึกษา 2566 และเป็นไปตามกลไกการพัฒนาของมหาวิทยาลัยรังสิต ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาของมหาวิทยาลัยรังสิต (2565-2569)
3. มีการกำกับติดตามให้มีการดำเนินงานตามแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม โดยรองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและสื่อสารองค์กร ได้ติดตามการดำเนินงานของผู้รับผิดชอบในแต่ละโครงการ และรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการต่อคณะกรรมการประจำวิทยาลัยเภสัชศาสตร์รับทราบในที่ประชุม
4. มีการประเมินผลความสำเร็จของแผนงานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมตามตัวบ่งชี้ความสำเร็จที่ได้กำหนดไว้ โดยในปีการศึกษา 2566 วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ได้ดำเนินโครงการ การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมตามแผนการดำเนินงานได้ครบถ้วน ซึ่งทุกโครงการประสบผลสำเร็จสามารถบรรลุได้ตามเป้าหมายตัวชี้วัดความสำเร็จของกิจกรรม ที่ได้กำหนดไว้ในแต่ละโครงการ
5. วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ได้นำผลการประเมินโครงการและกิจกรรมต่างๆ รวมถึงข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประจำวิทยาลัย ซึ่งร่วมกำกับและติดตามการดำเนินงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ไปปรับปรุงการดำเนินการจัดโครงการหรือกิจกรรมในครั้งต่อไป
6. มีการดำเนินการเผยแพร่กิจกรรมหรือการบริการด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมต่อสาธารณชน และจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์การดำเนินโครงการและได้เผยแพร่ผ่านทางสื่อออนไลน์ทางการของวิทยาลัย เช่น Facebook (@rangsitpharmacy)
7. มียอดจำนวนผู้ติดตามมากถึงสองหมื่นหนึ่งพันคน ซึ่ง content ที่ได้เผยแพร่มีการสร้างสรรค์การผลิตโดยได้รับความร่วมมือจาก RSU Wisdom Media ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัย โดยวิทยาลัยมีเป้าหมายในการประชาสัมพันธ์วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ เพื่อให้เข้าถึงการรับรู้ของนักศึกษา และสาธารณชน

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 4

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. มีบุคลากรผู้รับผิดชอบดำเนินการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมที่มีศักยภาพ
  2. มีการกำหนดตำแหน่งและแต่งตั้งผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและสื่อสารองค์กรในโครงสร้างการบริหารของวิทยาลัย เพื่อร่วมสนับสนุนการดำเนินโครงการ/กิจกรรม กับรองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา
  3. มีบุคลากรสายสนับสนุนที่มีศักยภาพ ซึ่งทำงานได้เก่งรอบด้าน (all - rounder) สามารถบริหารดำเนินการ และทำงานสนับสนุนการจัดกิจกรรมต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. วิทยาลัยให้ความสำคัญที่จะใช้กิจกรรมทางด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ให้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการหล่อหลอมขัดเกลาจิตใจนักศึกษาให้มีจิตใจที่เข้มแข็ง มีเจตคติ และทัศนคติที่ดี
  5. * วิทยาลัยฯ มีแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินกิจกรรมพิธีทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง เจริญพระพุทธมนต์ และปฏิบัติธรรม โดยความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยเภสัชศาสตร์และวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาศรีมาราม ได้รับรางวัลชมเชยในการประกาศรางวัลการจัดการความรู้ (KM) ปีการศึกษา 2566

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกอย่างต่อเนื่อง เช่น content creator หรือ influencer ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการสร้างสรรค์ และเผยแพร่ content กิจกรรมต่างๆ เพื่อเพิ่ม impact ต่อการรับรู้ของผู้ที่สนใจและสาธารณชน ให้เผยแพร่ไปในวงกว้างมากขึ้น

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

[ตัวบ่งชี้ 5.1] การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00
การจัดการความรู้ในแต่ละด้าน จำนวน
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการผลิตบัณฑิต [ยุทธ์ ฯ 1] 1
เรื่อง
  • การออกแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการศึกษาแบบเน้นผลลัพธ์ในวิชาการทดสอบพิษวิทยา สำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการวิจัย [ยุทธ์ ฯ 2] 1
เรื่อง
  • การศึกษาแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมเพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเคลียร์-บีลอง พลัส ผสมใบกัญชาในผู้ที่มีภาวะลองโควิด
การจัดการความรู้ ด้าน Smart Organization [ยุทธ์ ฯ 3] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Internationalization [ยุทธ์ ฯ 4] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Reputation [ยุทธ์ ฯ 5]
(รวมด้านบริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม)
1
เรื่อง
  • พิธีทำบุญตักบาตรข้าวสาร อาหารแห้ง เจริญพระพุทธมนต์ และปฏิบัติธรรมโดยความร่วมมือ ระหว่างวิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม
การจัดการความรู้ ด้านอื่น ๆ 0

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ดำเนินการครบ 7 ข้อ

[ตัวบ่งชี้ 5.2] ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ดำเนินการครบ 6 ข้อ

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 5

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. วิทยาลัยเภสัชศาสตร์มีหน่วยงานที่หลากหลาย เช่น ศูนย์วิจัยฯ และสถานประกอบการเชิงพาณิชย์ ที่ส่งเสริมการดำเนินการของวิทยาลัย ทั้งด้านการวิจัย การเชื่อมโยงองค์ความรู้จากงานวิจัย/งานบริการวิชาการ สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การบูรณาการการเรียนการสอน รวมถึงการพัฒนานักศึกษาและอาจารย์ในองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเภสัชศาสตร์

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. -

สรุปผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลดำเนินการ
กรรมการ
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม 4.04
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 3.90
ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร 5.00
ผลการประเมินเฉลี่ยรวม [13 ตัวบ่งชี้] 4.84

ตารางผลการวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566

องค์ประกอบคุณภาพ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
1 6 4.63 5.00 4.04 4.66 การดำเนินงานระดับดีมาก
2 3 5.00 5.00 5.00 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
3 1 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
4 1 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
5 2 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
ผลการประเมิน 4.73 5.00 4.52 4.84 การดำเนินงานระดับดีมาก
ระดับคุณภาพ การดำเนินงานระดับดีมาก การดำเนินงานระดับดีมาก การดำเนินงานระดับดีมาก