รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566

สถาบันการบิน

วันที่ประเมิน: 18 ตุลาคม 2567, 09:30น.

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

[ตัวบ่งชี้ 1.1] ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน คะแนน
[1] จำนวนหลักสูตรทั้งหมดที่คณะรับผิดชอบ
[ไม่รวมหลักสูตรที่ใช้ระบบประกันคุณภาพอื่นๆ ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2563 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2565)]
1 2.53
[2] ผลรวมของค่าคะแนนประเมินของทุกหลักสูตร 2.53
[3] ผลลัพธ์ที่ได้ [2] / [1] 2.53

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

เนื่องจากผลลัพธ์ที่ได้มีค่าต่ำ จึงควรพัฒนาตามคำแนะนำของการตรวจหลักสูตร เช่น
- เพิ่มสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการหรือเครื่องมือแล็ปให้มากขึ้น
- หลักสูตรต้องวิเคราะห์ SWOT พร้อมกำหนดกลยุทธ์ในการรับนักศึกษา รักษาอัตราคงอยู่นักศึกษา ลดอัตราการตกออก เพิ่มอัตราการสำเร็จการศึกษาตามรอบระยะเวลา อย่างเร่งด่วน
- การวางแผนเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ

[ตัวบ่งชี้ 1.2] อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 40 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 7.00 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 3
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 42.86
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 40 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 1.3] อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 60 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 7.00 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 5
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 71.43
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 60 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

- ไม่พบชื่อ 2. ศ.พล.อ.ท.จิรศักดิ์ พรหมประยูร
                  3. ศ.พล.อ.ต.พิทักษ์ คูณขุนทด

- ในการเป็นอาจารย์ในเอกสาร กบอ 11.2.0.2 ซึ่งมีชื่อ อาจารย์ 6 ท่าน แต่คณะแจ้ง 7 ท่าน และถ้านับรวม 2 ท่านข้างต้นคิดเป็น 8 ท่าน เลยไม่แน่ใจจำนวนอาจารย์
- เอกสาร กบอ 11.3.0.2 ขออนุมัติแต่งตั้งตำแน่งวิชาการไม่ตรง เป็นอนุมัติจบการศึกษา

[ตัวบ่งชี้ 1.4] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] สามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า [ค่า FTES] รวมทุกหลักสูตร 41.34 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] 7.00
[3] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำที่เป็นจริง [1] / [2] 5.91
[4] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำแยกตามกลุ่มสาขาวิชา 20.00
[5] ร้อยละที่ได้ ([3] – [4] / [4]) X 100 -70.45
[6] ผลลัพธ์ที่ได้ 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ไม่มี (ถ้าอาจารย์มี 7 ท่าน)

[ตัวบ่งชี้ 1.5] การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 1.6] กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00
8
7
87.50

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ในข้อ 6 การนำผลการประเมินการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษา พร้อมแนวทางในการปรับปรุงกิจกรรมเพื่อพัฒนาเขียนไม่เด่นชัด ไม่บรรยายถึงการวางแผนของโครงการในปีการศึกษาหน้าว่าจะทำอย่างไรต่อไป โดยศึกษาผลของโครงการที่ได้ทำไปแล้ว
- ส่วนโครงการทำนุบำรุงศิลปฯ ประเภทที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย เช่น ไหว้ครูของมหาวิทยาลัยฯ การตักบาตรอื่นๆ ก็สามารถส่งเสริมนักศึกษาให้เข้าร่วมงานได้

สถาบันการบินมีการน าผลการประเมนการจดกจกรรมเพอพฒนานกศกษา พรอมแนวทางในการ ปรบปรงกจกรรมเพอพฒนา เพอเสนอทประชมคณะกรรมการประจาสถาบนการบนสาหรบพจารณาในการ นามาปรบปรงตอไปในปการศกษา 2566 ในเรื่องของการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร รายวิชา การเตรียมความ พร้อมทางด้านรางกายและจตใจ การพฒนาความรดานภาษาองกฤษเพอการใชงาน ความมทกษะทางดานการบน ดวยเครองฝกบนจาลองโดยการปรบปรง พฒนาระบบและกลไก การดาเนนการและการใหความรทงใน Home Room และอาจารย์ที่ปรึกษา

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 1

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. ในการบริหารหลักสูตร และสถาบันฯ ควรจัดทำแผนพัฒนาตนเอง และ พัฒนาตำแน่งวิชาการ เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่หลักสูตร
  2. ควรสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่คล้ายคลึงกัน และสร้างสัมพันธ์ในการใช้อุปกรณ์ และบุคลากรร่วม

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. การทำ MOU หน่วยงานที่คล้ายคลึงกัน ควรมีการร่วมมือกันเพื่อให้เกิดประโยขน์ต่อสถาบัน และมหาวิทยาลัย
  2. ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี และ ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี ควรทำกิจกรรม หรือโครงการอื่นๆ ที่นอกเหนือจากที่ทำประจำให้หลากหลายมากขึ้น เช่น พี่ๆ ศิษย์เก่าพบน้องเพื่อเล่าประสบการณ์ และ เตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาแก่นักศึกษา รวมถึงให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่นักศึกษา และเป็นการสร้างทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

[ตัวบ่งชี้ 2.1] ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

- ระบบ กลไก ส่วนใหญ่เป็นการจัดการของมหาวิทยาลัย ในส่วนที่คณะสามารถทำได้ ได้เขียนไว้ในข้อ (2) แต่ไม่ได้ทำ ในหน้าที่ 37...เช่น การจัดประชุมวิชาการ การจัดแสดงงานสร้างสรรค์ การจัดให้มีศาสตราจารย์อาคันตุกะหรือศาสตราจารย์รับเชิญ (Visiting Professor) 
- ข้อ 5. มีการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์และนักวิจัย มีการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องอาจารย์ และ นักวิจัยที่มีผลงานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ดีเด่น ไม่พบวิธีการ หรือ แนวทางกำกับและส่งเสริมให้อาจารย์ทำงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ สนับสนุนให้อาจารย์ผลิตผลงานเพื่อตีพิมพ์ผลงานในวารสารหรือแสดงผลงานที่ได้รับการยอมรับระดับชาติ

[ตัวบ่งชี้ 2.2] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายใน 0.00 0.00
[2] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายนอก 0.00
[3] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ทั้งภายในและภายนอก [1] + [2] 0.00
[4] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมอาจารย์ที่ลาศึกษาต่อ] 7.00
[5] จำนวนนักวิจัยประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมนักวิจัยที่ลาศึกษาต่อ] 0.00
[6] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบันต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัย [3] / ([4] +[5]) 0.00
[7] ผลลัพธ์ที่ได้ [6] X 5 / 60000 0.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

เอกสาร กบอ 22201 มีทุนพัฒนาการเรียนการสอน แต่เอกสารไม่สมบรูณ์ ควรจัดการตรวจสอบใหม่

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = 60,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = 50,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = 25,000 บาทขึ้นไปต่อคน

[ตัวบ่งชี้ 2.3] ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย

หมายเหตุ เป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในรอบปีที่รับการประเมินเท่านั้น [ช่องไหนไม่มีผลงานให้ใส่ 0 ไม่ปล่อยว่าง]
จำนวนผลงานทางวิชาการตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 1 0 0
จำนวนผลงานสร้างสรรค์ตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 0 0 0
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] ผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ 0.60 1.43
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 7.00
[3] จำนวนนักวิจัยประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 0.00
[4] ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ [1] X 100 / [2] + [3] 8.57
[5] ผลลัพธ์ที่ได้ [4] X 5 / 30 1.43

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

มีบทความน้อย  ดังนั้นต้องสร้างแรงจูงใจอย่างสูงให้อาจารย์ทุกท่านเขียนบทความวิชาการจากประสบการณ์ให้มากขึ้น  

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 20 ขึ้นไป

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 2

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. ส่งเสริม และสร้างแรงจูงใจให้อาจารย์ขอทุนวิจัย
  2. สร้างระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัย พร้อมการวางแผนสำหรับการขอทุน และการเขียนของสถาบันการบินเอง โดยไม่ต้องรอหน่วยงานมหาวิทยาลัย
  3. สร้างพันธมิตรต่างคณะ ต่างสถาบัน เพื่อการร่วมมือในการทำวิจัย และเขียนงานวิจัย
  4. เป็นกรรมการ และร่วมมือกับองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบินเพื่อศึกษา และทราบความก้าวหน้าของสายงาน และนำมาใช้ในการทำงานวิจัย

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. จุดที่ควรพัฒนา - การทำงานวิจัย และการเขียนผลงานวิจัย ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง - ร่วมมือกับองค์กรภายนอกในการทำงานวิจัย
  2. จุดที่ควรพัฒนา - การขอทุนวิจัยทั้งภายใน และภายนอก ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง - เริ่มจากทุนพัฒนาการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย - ทำงานวิจัยร่วมกับต่างสถาบัน - เป็นกรรมการองค์กรที่เกี่ยวข้องภายนอก

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

[ตัวบ่งชี้ 3.1] การบริการวิชาการแก่สังคม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ข้อ 1 จัดทำแผนการบริการวิชาการประจำปีที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จในระดับแผนและโครงการบริการวิชาการแก่สังคมและเสนอกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณาอนุมัติ 
- สถาบันการบินได้จัดทำแผนการบริการวิชาการสถาบันการบินประจำปีการศึกษา 2566 ที่สอดคล้องและตอบสนองความต้องการของสังคมเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านการบินและแรงจูงใจในการประกอบอาชีพนักบินพาณิชย์ ซึ่งเป็นความฝันของเยาวชนจำนวนหนึ่ง การกำหนดตัวบ่งชี้ความสำเร็จโดยโครงการการบริการวิชาการแก่สังคมของสถาบันการบิน มี 1 โครงการ ภายใต้ชื่อ “โครงการให้ความรู้ด้านการบินแก่บุคคลทั่วไปผ่านทาง Online”
- กบ.อ3.3.1.1.01 แผนการบริการวิชาการสถาบันการบิน ประจำปีการศึกษา 2566 แต่แนบเอกสารเป็น แผนการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2566 แต่ไม่มีผลงานของสถาบันการบิน

ข้อ 2 โครงการบริการวิชาการแก่สังคมตามแผน มีการจัดทำแผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการเพื่อให้เกิดผลต่อการพัฒนานักศึกษา ชุมชน หรือสังคม
สถาบันการบินได้จัดทำโครงการบริการวิชาการแก่สังคมตามแผนที่ตั้งไว้ และมีการจัดทำแผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ ซึ่งโครงการและทุกกิจกรรมบริการวิชาการที่ทำขึ้นล้วนเป็นประโยชน์และก่อให้เกิดผลต่อการพัฒนานักศึกษา และชุมชน เช่น กิจกรรมสอนการบิน Flight Simulator และกิจกรรมสอนน้องทำเครื่องร่อนพุ่งด้วยมือ
- การให้เลขเอกสารอ้างอิง ควรใช้เลขเดิมจากตัวบ่งชี้ 3.1 ข้อ 1 เนื่องจากเอกสารซ้ำกัน  ไม่จำเป็นต้อง Run เอกสารใหม่ 
- กบ.อ3.3.1.2.05 แผนการบริการวิชาการ แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ ประจำปี 2566  แต่แนบเอกสารเป็น แผนการบริการวิชาการมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2566
แต่ไม่มีผลงานของสถาบันการบิน

ข้อ 3 โครงการบริการวิชาการแก่สังคมในข้อ 1 อย่างน้อยต้องมีโครงการที่บริการแบบให้เปล่า
โครงการบริการวิชาการแก่สังคมของสถาบันการบินที่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการเป็นการบริการวิชาการแบบให้เปล่า เนื่องจากทางสถาบันการบินเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนานักศึกษา ชุมชน และสังคม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่มีความต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไปในอนาคต อาทิ การทำโครงการการบริการทางวิชาการให้ความรู้เกี่ยวกับการบิน Flight Simulator หลักการบินเครื่องบินเล็ก และเครื่องร่อนพุ่งด้วยมือ ให้แก่นักเรียนและผู้สนใจ
- การให้เลขเอกสารอ้างอิง ควรใช้เลขเดิมจากตัวบ่งชี้ 3.1 ข้อ 1 เนื่องจากเอกสารซ้ำกัน ไม่จำเป็นต้อง Run เอกสารใหม่ 

ข้อ 4 ประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการบริการวิชาการแก่สังคมในข้อ 1 และนำเสนอกรรมการประจำคณะ เพื่อพิจารณาผลการดำเนินงาน
สถาบันการบินมีการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนที่กำหนดไว้ และนำเสนอต่อคณะกรรมการประจาสถาบันการบิน เพื่อพิจารณาผลการดำเนินงานทุกปีการศึกษา โดยทุกกิจกรรมที่ดำเนินการตามโครงการต้องบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้และมีผู้เข้าร่วมโครงการไม่ต่ากว่าร้อยละ 80 และผลการประเมินของผู้เข้าร่วมโครงการไม่ต่ากว่า 3.51
- กบ.อ3.3.1.4.06 การประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนบริการวิชาการสถาบันการบิน ปี 2566 แต่เป็นเอกสาร ตารางที่ 1 ผลการประเมินตนเองรายตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับคณะ
- กบ.อ3.3.1.4.07 PDCA ผลการประเมินโครงการบริการทางวิชาการแก่สังคม แต่เป็นเอกสาร สรุปผลประเมินการดําเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 สถาบันการบิน

ข้อ 5 นำผลการประเมินตามข้อ 4 มาปรับปรุงแผนหรือพัฒนาการให้บริการวิชาการสังคม
สำหรับการให้ความรู้ด้านการบิน Flight Simulator แก่นักเรียนและผู้สนใจในปีที่ผ่านมา พบว่ามีนักเรียนและผู้สนใจเรื่องการบิน Flight Simulator เพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปี ซึ่งในปี 2566 สถาบันการบินมีเครื่อง Flight Simulator จำนวน 9 เครื่อง เป็นไปตามแผนที่ตั้งเป้าหมายไว้ ซึ่งเพียงพอสำหรับการเรียนการสอนและเพื่อใช้ในงานบริการวิชาการของสถาบันฯ ด้วยสถาบันการบินเล็งเห็นกลุ่มผู้มาเข้าร่วมงานว่าเป็นนักเรียนหรือประชาชน จึงได้จัดเทคโนโลยีที่เหมาะสม การเตรียมสิ่งของและอุปกรณ์ในการนำเสนอโดยนำมาให้ความรู้แก่นักศึกษาที่เรียนวิชาหลักการบิน เพื่อเตรียมให้นักศึกษามีความพร้อมและความรู้ที่ถูกต้องสำหรับการไปบริการวิชาการแก่นักเรียนและผู้สนใจในปีการศึกษาต่อไป
- การให้เลขเอกสารอ้างอิง ควรใช้เลขเดิมจากตัวบ่งชี้ 3.1 ข้อ 1 เนื่องจากเอกสารซ้ำกัน ไม่จำเป็นต้อง Run เอกสารใหม่ 

ข้อ 6 คณะมีส่วนร่วมในการบริการวิชาการแก่สังคมในระดับสถาบัน
สถาบันการบินมีส่วนร่วมในการบริการวิชาการแก่สังคมในระดับสถาบัน โดยสถาบันการบินได้พยายามเข้าร่วมในการทำโครงการกับมหาวิทยาลัย เพราะจะได้มีจำนวนคนที่มากพอและหมุนเวียนชมกิจกรรมของคณะต่างๆ ซึ่งในปีการศึกษา 2566 สถาบันการบินก็ได้เข้าร่วมโครงการกับมหาวิทยาลัย ได้แก่ กิจกรรมสอนการบิน Flight Simulator และการสอนทำเครื่องร่อนในวิชาหลักการบิน เป็นต้น รวมทั้งโครงการออกกำลังกายเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยรังสิตสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ การพัฒนานักศึกษาและบุคลากรได้ให้มีสุขภาวะและจิตตปัญญา สร้างการทำงานเป็นทีมและสร้างจิตสำนึกสร้างเสริมสุขภาวะสำหรับนักศึกษาและบุคลากร มหาวิทยาลัยรังสิต และสร้างเครือข่ายแกนนำเยาวชนด้านธรรมาธิปไตย

โดยภาพรวม การให้เอกสารอ้างอิง ควร run ตามตัวบ่งชี้ และมีการกำหนดเลขอย่างต่อเนื่อง ไม่ข้ามเลข

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 3

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. สถาบันการบินได้มีการจัดบริการวิชาการประจำปีการศึกษา 2566 ที่ชัดเจนสอดคล้องและตอบสนองความต้องการของสังคมเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านการบินและแรงจูงใจในการประกอบอาชีพนักบินพาณิชย์ ให้กับนักเรียนและผู้สนใจ ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์คณะ/สถาบันได้เป็นอย่างดี
  2. สถาบันการบินมีส่วนร่วมในการบริการวิชาการแก่สังคมในระดับสถาบัน โดยสถาบันการบินได้พยายามเข้าร่วมในการทำโครงการกับมหาวิทยาลัยเพราะจะได้มีจานวนคนที่มากพอและหมุนเวียนชมกิจกรรมของคณะต่างๆ ซึ่งในปีการศึกษา 2566 สถาบันการบินก็ได้เข้าร่วมโครงการกับมหาวิทยาลัย ได้แก่ กิจกรรมสอนการบิน Flight Simulator และการสอนทำเครื่องร่อนในวิชาหลักการบิน เป็นต้น รวมทั้งโครงการออกกำลังกายเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยรังสิตสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ การพัฒนานักศึกษาและบุคลากรให้มีสุขภาวะและจิตตปัญญา สร้างการทำงานเป็นทีมและสร้างจิตสำนึก สร้างเสริมสุขภาวะสำหรับนักศึกษาและบุคลากร มหาวิทยาลัยรังสิต และสร้างเครือข่ายแกนนำเยาวชนด้านธรรมาธิปไตย
  3. อาจารย์สถาบันการบินมีความรู้ ความสามารถ ศักยภาพในการให้บริการวิชาการ โดยเป็นกรรมการวิชาการในงานประชุมวิชาการ RSU Conference เป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ การประเมินผลงานวิชาการ การออกรายการโทรทัศน์ และการจัดรายการทางสถานีวิทยุในนามมหาวิทยาลัยรังสิต

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. การเข้าศึกษาในสถาบันการบินมีต้นทุนที่สูง ดังนั้นการบริการวิชาการของสถาบันอาจจะส่งผลให้กับนักเรียน/ผู้สนใจที่เป็นกลุ่มเป้าหมายจึงมีจำนวนไม่มาก ดังนั้นการจัดโครงการอาจจะทำให้ไม่บรรลุในเชิงปริมาณ อาจจะต้องประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

[ตัวบ่งชี้ 4.1] ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 - 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ข้อ 1 กำหนดผู้รับผิดชอบในการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
สถาบันการบิน มีการดำเนินโครงการด้านศิลปะและวัฒนธรรมตามแผนพัฒนาสถาบันการบิน พ.ศ. 2565 2569 โดยดำเนินกิจกรรมและโครงการต่างๆ อย่างมีระบบและกลไก ซึ่งสถาบันการบินได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อกำหนดนโยบายและผู้รับผิดชอบในการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม โดยมีการกำหนดบทบาทความรับผิดชอบตามความเหมาะสมทั้งในระดับคณะและหลักสูตร เพื่อเปิดโอกาสให้คณาจารย์สถาบันการบินได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมและการบูรณาการสู่นักศึกษาในรายวิชาต่างๆ ได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึง

ข้อ 2 จัดทำแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน
จากการดำเนินงานในปีที่ผ่านมาสถาบันการบินมีการจัดทำแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ตามแผนยุทธศาสตร์ของสถาบันฯ และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการและแผน ต้องมีผู้เข้าร่วมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 และความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการไม่ต่ำกว่า 3.51 และทางคณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปะ และวัฒนธรรมได้เสนอต่อคณะกรรมการประจำสถาบันการบินเพื่อพิจารณาอนุมัติและจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผนในทุกปีการศึกษา
- เอกสารอ้างอิง ควรมีการ run  number หากเอกสารอ้างอิงซ้ำจากข้อแรก ก็ควรอ้างอิงตามข้อแรก ไม่ต้อง run ใหม่

ข้อ 3 กำกับติดตามให้มีการดำเนินงานตามแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
สถาบันการบินได้ดำเนินงานตามแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และได้ดำเนินโครงการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ภายใต้การกำกับติดตามของสำนักวางแผนและสำนักงานงบประมาณ มหาวิทยาลัยรังสิต โดยมีคณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินกิจกรรมและโครงการ กำหนดให้มีการดำเนินการครบถ้วน เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ทุกประการ มีการวางแผนดำเนินการ ติดตามความคืบหน้าในการดำเนินการ สรุปผลการดำเนินการและผลการประเมินการทำกิจกรรมหรือโครงการ และรายงานให้คณะกรรมการประจำสถาบันการบินได้ทราบ เพื่อนำไปสู่การประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมต่อไป
- เอกสารอ้างอิง ควรมีการ run  number หากเอกสารอ้างอิงซ้ำจากข้อแรก ก็ควรอ้างอิงตามข้อแรก ไม่ต้อง run ใหม่
 
ข้อ 4 ประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ที่วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
สถาบันการบินได้ดำเนินงานตามแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และมีการประความสำเร็จตามตัวบ่งชี้
- เอกสารอ้างอิง ควรมีการ run  number หากเอกสารอ้างอิงซ้ำจากข้อแรก ก็ควรอ้างอิงตามข้อแรก ไม่ต้อง run ใหม่

ข้อ 5 นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
จากการวิเคราะห์การดำเนินโครงการฯ ตามแผนงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม นอกเหนือจากการดำเนินโครงการตามแผนฯ แล้ว ในปีที่ผ่านมาพบว่าสถาบันการบินได้ดำเนินกิจกรรมและโครงการซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม โดยผลการประเมินในการทำกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมที่ได้ดำเนินการแล้วนับว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งการดำเนินการในปีต่อไปได้นำผลการประเมิน ปี 2565 มาใช้ในการปรับปรุงแผนปี 2566
- เอกสารอ้างอิง ควรมีการ run  number หากเอกสารอ้างอิงซ้ำจากข้อแรก ก็ควรอ้างอิงตามข้อแรก ไม่ต้อง run ใหม่

ข้อ 6 เผยแพร่กิจกรรมหรือการบริการด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมต่อสาธารณชน
สถาบันการบินมีการเผยแพร่กิจกรรมหรือการบริการด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมต่อสาธารณชน โดยกิจกรรมที่จัดต่อเนื่อง ได้แก่ การเยี่ยมชมนิทรรศการและสถานที่ด้านศิลปะและวัฒนธรรมนำเสนอผ่านช่องทาง Website และ Facebook ของสถาบันการบิน
- เอกสารอ้างอิง ควรมีการ run  number หากเอกสารอ้างอิงซ้ำจากข้อแรก ก็ควรอ้างอิงตามข้อแรก ไม่ต้อง run ใหม่

ในภาพรวม ในการจัดทำเอกสารอ้างอิง ควรให้เลขที่อ้างอิงตามตัวบ่งชี้ ตามลำดับข้อ และหากซ้ำกันควรใช้เลขเดียวกัน ไม่ต้องออกเลขที่ใหม่ และการ run no. ควรลำดับอย่างต่อเนื่อง ไม่กระโดดข้ามเลข 

 

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 4

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. สถาบันการบินให้ความสำคัญต่อการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม โดยมีการกำหนดผู้รับผิดชอบ และจัดทำแผนการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมที่ดีงาม การกำกับติดตาม ประเมินผลสำเร็จของโครงการได้เป็นอย่างดี

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. การดำเนินโครงการและกิจกรรมโดยบูรณาการศิลปะและวัฒนธรรมเข้ากับรายวิชาเพื่อให้นักศึกษามีความตระหนักถึงความสำคัญในศิลปะวัฒนธรรมประเพณี ค่านิยมและวิถีชีวิตอันดีงาม การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

[ตัวบ่งชี้ 5.1] การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00
การจัดการความรู้ในแต่ละด้าน จำนวน
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการผลิตบัณฑิต [ยุทธ์ ฯ 1] 1
เรื่อง
  • การผลิตบัณฑิตที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความสามารถในการเรียนการสอน  จาก พล.อ.ท. ดร.ศุภกฤต  อริยะปรีชา รองคณบดีฝ่ายวิชาการและเทคนิค สถาบันการบิน
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการวิจัย [ยุทธ์ ฯ 2] 1
เรื่อง
  • การฝึกบินในห้องฝึกบินจำลอง (Flight Simulator Training) จาก ร.ท.ดร.ประพนธ์ จิตตะปุตตะ รองคณบดีฝ่ายบริหาร สถาบันการบิน
การจัดการความรู้ ด้าน Smart Organization [ยุทธ์ ฯ 3] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Internationalization [ยุทธ์ ฯ 4] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Reputation [ยุทธ์ ฯ 5]
(รวมด้านบริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม)
0
การจัดการความรู้ ด้านอื่น ๆ 0

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น: ดำเนินการได้ครบ  7 ข้อ
1. เกณฑ์ข้อ 1. มีการรายงานและหลักฐานการวิเคราะห์ SWOTมาเชื่อมโยงกับแผนการดำเนินงาน มีหลักฐานแผนพัฒนาคณะตามยุทธศาสตร์ทั้งห้าด้านตามแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ในปีการศึกษา 2567 ควรปรับปรุงแผนพัฒนาคณะตามแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต ฉบับปรับปรุง พศ.2567-2569

2. เกณฑ์ข้อ 2. ดำเนินการวิเคราะห์ความคุ้มค่าการบริหารหลักสูตรครบถ้วนหลักสูตรมีความคุ้มค่า คณะสามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิผล โดยสามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีอัตราร้อยละการได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษาภายใน 1 ปี ในปีการศึกษา 2566 เท่ากับร้อยละ 100 และมีผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตตามผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรอยู่ในระดับ 4.84 คณาจารย์มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารฐาน TCI 2 รวม 1 ฉบับคิดเป็นอัตราร้อยละ 42.86 ของจำนวนอาจารย์ประจำ

3. เกณฑ์ข้อ 3. มีการรายงานความเสี่ยงครอบคลุมทุกด้าน ควรรายงานสรุปแนวโน้มของการลดค่าความเสี่ยงจากการดำเนินงานตามมาตรการลดความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ

4. เกณฑ์ข้อ 4. มีการรายงานแนวทางการดำเนินงานภายใต้หลักธรรมาภิบาลต่างๆ ครบถ้วน มีการประชุมกรรมการคณะ แต่ขาดการรายงานผลการประเมินการบริหารงานของผู้บริหารคณะเพื่อสะท้อนถึงผลการดำเนินงานเป็นไปตามหลักธรรมมาภิบาลจริง

5. เกณฑ์ข้อ 5. มีการจัดการความรู้จากแนวปฏิบัติที่ดีของสถาบันการบินผ่านระบบ RKMS ทั้งพันธกิจผลิตบัณฑิต และวิจัยดังนี้
1) การผลิตบัณฑิตที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความสามารถในการเรียนการสอน  จาก พล.อ.ท. ดร.ศุภกฤต  อริยะปรีชา รองคณบดีฝ่ายวิชาการและเทคนิค สถาบันการบิน
2) การฝึกบินในห้องฝึกบินจำลอง (Flight Simulator Training) จาก ร.ท.ดร.ประพนธ์ จิตตะปุตตะ รองคณบดีฝ่ายบริหาร สถาบันการบิน


6. เกณฑ์ข้อ 6. มีการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนในลักษณะแผนดำเนินงานประจำปี มีการประเมินผลความสำเร็จตาม key result โดยครบถ้วน

7. มีดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในครบถ้วนตามระบบกลไกที่เหมาะสมทั้งการควบคุม ตรวจสอบ และประเมินคุณภาพ

[ตัวบ่งชี้ 5.2] ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ภาพรวม มีการแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพ มีการประชุมเตรียมความพร้อมเป็นระยะระหว่างหัวหน้าหลักสูตรร่วมกับคณบดีและรองคณบดี และการประชุมรายงานความก้าวหน้าเป็นวาระประกันคุณภาพในการประชุมกรรมการบริหารคณะ มีการประเมินคุณภาพหลักสูตรตามกำหนดเวลาที่ผ่านองค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน และรายงานผลการประเมินต่อกรรมการบริหารคณะ

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 5

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. สถาบันการบิน มีกระบวนการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เริ่มต้นจากการวิเคราะห์ SWOT เพื่อหาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และผลกระทบ กำหนดแผนพัฒนาสถาบันการบินสอดคล้องกับแผนพัฒนามหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2565-2569 ได้กำหนด ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ และเอกลักษณ์ ของสถาบันการบิน การบริหารจัดการเป็นระบบคณะกรรมการต่างๆ ร่วมกันพิจารณาเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อยมีประสิทธิภาพ
  2. คณะผู้บริหารทุกคนมีประสบการณ์การบริหารมาแล้วทั้งสิ้น มีอายุการทำงานมาหลายสิบปีและมีความรู้ประสบการณ์โดยตรงทางด้านการบินโดยตรง อย่างไรก็ตามการบริหารงานสมัยใหม่จำเป็นต้องบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล 10 ประการ โดยยึดกรอบด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่กำหนดไว้

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ในด้านความคุ้มค่าการบริหารหลักสูตรนั้น ได้รับผลกระทบจากการที่ประเทศไทยมีการชะลอตัวด้านธุรกิจการบินทำให้จำนวนนักศึกษาลดลง เกิดความเสี่ยงในการบริหารหลักสูตรนักบินพาณิชย์ จึงควรกำหนดมาตรการลดความเสี่ยงดังกล่าวผ่านแผนบริหารความเสี่ยงของคณะ
  2. ในอนาคตอาจจำเป็นต้องเตรียมแผนอัตรากำลังบุคคลากรสายอาจารย์ที่มีความสามารถและคุณสมบัติสอดคล้องตามข้อกำหนดสากลและเกณฑ์การประกันคุณภาพของสถาบันการบิน

สรุปผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลดำเนินการ
กรรมการ
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม 2.53
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 0.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย 1.43
ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร 5.00
ผลการประเมินเฉลี่ยรวม [13 ตัวบ่งชี้] 4.15

ตารางผลการวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566

องค์ประกอบคุณภาพ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
1 6 5.00 5.00 2.53 4.59 การดำเนินงานระดับดีมาก
2 3 0.00 5.00 1.43 2.14 การดำเนินงานต้องปรับปรุง
3 1 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
4 1 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
5 2 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
ผลการประเมิน 3.75 5.00 1.98 4.15 การดำเนินงานระดับดี
ระดับคุณภาพ การดำเนินงานระดับดี การดำเนินงานระดับดีมาก การดำเนินงานต้องปรับปรุง