รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565

วิทยาลัยนานาชาติ

วันที่ประเมิน: 16 ตุลาคม 2566, 09:30น.

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

[ตัวบ่งชี้ 1.1] ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน คะแนน
[1] จำนวนหลักสูตรทั้งหมดที่คณะรับผิดชอบ
[ไม่รวมหลักสูตรที่ใช้ระบบประกันคุณภาพอื่นๆ ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2563 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2565)]
3 3.61
[2] ผลรวมของค่าคะแนนประเมินของทุกหลักสูตร 10.82
[3] ผลลัพธ์ที่ได้ [2] / [1] 3.61

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

การเขียนชื่อหลักสูตร ในบทที่ 1 ส่วนนำ หน้าที่ 5 และ 6 ควรเขียนให้ตรงกับ หน้า 21 

[ตัวบ่งชี้ 1.2] อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 40 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 15.00 4.17
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 5
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 33.33
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 40 4.17

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

หน้า 37 คำนวณคะแนนที่ได้ = 4.125 ซึ่งที่ถูกต้องคือ 4.17

[ตัวบ่งชี้ 1.3] อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 60 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 15.00 2.22
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 4
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 26.67
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 60 2.22

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

วิทยาลัยนานาชาติ ควรส่งเสริม สนับสนุนและผลักดันให้อาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ โดยผู้รับผิดชอบในการขอตำแหน่งทางวิชาการของวิทยาลัย ศึกษาข้อมูลของอาจารย์แต่ละท่าน ทางด้านเอกสารคำสอน และงานวิจัย รวมทั้งเทคนิคการสอน มีระบบพี่เลี้ยงดูแลให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิดในจุดที่อาจารย์จะต้องมีการพัฒนาต่อไป

[ตัวบ่งชี้ 1.4] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] สามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า [ค่า FTES] รวมทุกหลักสูตร 263.16 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] 15.00
[3] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำที่เป็นจริง [1] / [2] 17.54
[4] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำแยกตามกลุ่มสาขาวิชา 25.00
[5] ร้อยละที่ได้ ([3] – [4] / [4]) X 100 -29.84
[6] ผลลัพธ์ที่ได้ 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 1.5] การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ไม่มี

[ตัวบ่งชี้ 1.6] กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00
11
11
100.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ไม่มี

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 1

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. วิทยาลัยนานาชาติ ให้การดูแลนักศึกษานานาชาติที่มีความหลากหลาย ทั้งด้านวิชาการและกิจกรรมนักศึกษาที่ส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ ได้อย่างครบถ้วน

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. วิทยาลัยนานาชาติ ควรส่งเสริม สนับสนุนและผลักดันให้อาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ โดยผู้รับผิดชอบในการขอตำแหน่งทางวิชาการของวิทยาลัย ศึกษาข้อมูลของอาจารย์แต่ละท่าน ทางด้านเอกสารคำสอน และงานวิจัย รวมทั้งเทคนิคการสอน มีระบบพี่เลี้ยงดูแลให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิดในจุดที่อาจารย์จะต้องมีการพัฒนาต่อไป

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

[ตัวบ่งชี้ 2.1] ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 2.2] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายใน 221,118.40 3.95
[2] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายนอก 75,381.60
[3] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ทั้งภายในและภายนอก [1] + [2] 296,500.00
[4] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมอาจารย์ที่ลาศึกษาต่อ] 15.00
[5] จำนวนนักวิจัยประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมนักวิจัยที่ลาศึกษาต่อ] 0.00
[6] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบันต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัย [3] / ([4] +[5]) 19,766.67
[7] ผลลัพธ์ที่ได้ [6] X 5 / 25000 3.95

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ข้อมูลจากสถาบันวิจัย ทุนวิจัยภายในและภายนอก =296,500 บาท 

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = 60,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = 50,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = 25,000 บาทขึ้นไปต่อคน

[ตัวบ่งชี้ 2.3] ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย

หมายเหตุ เป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในรอบปีที่รับการประเมินเท่านั้น [ช่องไหนไม่มีผลงานให้ใส่ 0 ไม่ปล่อยว่าง]
จำนวนผลงานทางวิชาการตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 4 10 7 0 0
จำนวนผลงานสร้างสรรค์ตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 0 0 0
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] ผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ 9.00 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 15.00
[3] จำนวนนักวิจัยประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 0.00
[4] ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ [1] X 100 / [2] + [3] 60.00
[5] ผลลัพธ์ที่ได้ [4] X 5 / 20 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-ผลงานลำดับที่ 20 และ 21 เป็น International Conference Proceeding = 0.40
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา คณะควรพัฒนาการตีพิมพ์ผลงานวิชาการในวารสารที่อยู่ในฐานระดับนานาชาติ

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 20 ขึ้นไป

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 2

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. วิทยาลัยฯ มีกิจกรรมส่งเสริมงานวิจัยในระดับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเป็นจำนวนมาก

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. วิทยาลัยฯ ควรส่งเสริมให้อาจารย์และนักศึกษาตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารที่อยู่ในฐานระดับนานาชาติให้มากขึ้น
  2. วิทยาลัยฯ ควรสนับสนุนให้อาจารย์ขอทุนวิจัยภายในและภายนอกมากขึ้น

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

[ตัวบ่งชี้ 3.1] การบริการวิชาการแก่สังคม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ข้อ 2 ไม่พบแผนการใช้ประโยชน์จากโครงการบริการวิชาการแบบมีรายรับ (การจัดตั้งศูนย์สอบ IELTS มหาวิทยาลัยรังสิต)
ข้อ 4 เพิ่มเติมรายละเอียดของผลลัพธ์ที่แสดงถึงการบรรลุเป้าหมาย เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ ผลการประเมินความพึงพอใจในด้านต่าง ๆ และการได้รับประโยชน์จากโครงการ เป็นต้น
-ขอให้วิทยาลัยฯ เขียนรายงานผลการดำเนินงานตามเกณฑ์เป็นหลัก รวมถึงการอ้างอิงเอกสารหลักฐานในระบบ DBS ให้ครบถ้วน

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 3

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. วิทยาลัยนานาชาติมีการให้บริการวิชาการที่ตอบสนองต่อความต้องการของนักศึกษา ชุมชน หรือสังคม รวมทั้งมีความร่วมมือกับองค์กรภายนอก ได้แก่ British Council (ประเทศไทย)

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. วิทยาลัยนานาชาติ ควรระบุแผนการใช้ประโยชน์จากโครงการบริการวิชาการ ให้ชัดเจน
  2. เพิ่มเติมรายละเอียดของผลลัพธ์ที่แสดงถึงการบรรลุเป้าหมายของโครงการบริการวิชาการ เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ ผลการประเมินความพึงพอใจในด้านต่าง ๆ และการได้รับประโยชน์

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

[ตัวบ่งชี้ 4.1] ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 - 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

การส่งเสริมงานด้านทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมของทางคณะ เป็นที่น่าชื่นชมและเป็นที่ยอมรับในมหาวิทยาลัยเป็นอย่างมาก เห็นควรผลักดันเรื่องมาตรฐานด้านศิลปะและวัฒนธรรมในระดับชาติ ในโอกาสต่อไป 
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา: วิทยาลัยฯ ควรมีการประเมินผลและติดตามผลการจัดกิจกรรม/โครงการ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด และประโยชน์ที่ได้รับจากกิจกรรม/โครงการให้ครบถ้วน 

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 4

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. วิทยาลัยฯ มีหลักสูตรที่สอดแทรกกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมเข้าไปอยู่ในแผนการสอนในรายวิชา คงไว้เพื่อเป็นแบบอย่างและแนวทางในการส่งเสริม สนับสนุน และต่อยอดต่อไป
  2. มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ด้วยบริบทของทางคณะที่มีนักศึกษานานาชาติเข้ามาศึกษา ส่งผลดีต่อการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่มีความหลากหลาย แต่อย่างไรก็ดีควรเพิ่มการมีส่วนร่วมจากนักศึกษาไทยจากคณะวิชาอื่นๆ เพื่อพัฒนากิจกรรมไปสู่งกว้าง

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ด้วยความหลากหลายของกิจกรรม ที่ทางคณะได้ดำเนินการทุกปี รวมถึงการบูรณาการเรื่องศิลปวัฒนธรรมเข้ากับรายวิชาของวิทยาลัยฯ ซึ่งสร้างความโดดเด่นเป็นอย่างมาก ควรสนับสนุนเพื่อการต่อยอด ผลงานหรือกิจกรรม /โครงการ เพื่อสร้างมาตรฐานด้านศิลปะและพหุวัฒนธรรม ที่ส่งผลให้เกิดการยอมรับในระดับชาติ

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

[ตัวบ่งชี้ 5.1] การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00
การจัดการความรู้ในแต่ละด้าน จำนวน
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการผลิตบัณฑิต [ยุทธ์ ฯ 1] 1
เรื่อง
  • Thailand Negotiation and Sales Competition 2022 (TNSC2022)
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการวิจัย [ยุทธ์ ฯ 2] 1
เรื่อง
  • การเตรียมความพร้อมเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยระดับนานาชาติใน 90 วัน
การจัดการความรู้ ด้าน Smart Organization [ยุทธ์ ฯ 3] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Internationalization [ยุทธ์ ฯ 4] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Reputation [ยุทธ์ ฯ 5]
(รวมด้านบริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม)
0
การจัดการความรู้ ด้านอื่น ๆ 0

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

เกณฑ์ข้อ 5 เอกสารอ้างอิง ของแนวปฏิบิติที่ดีด้านการผลิตบัณฑิต ใช้ชื่อว่า RIC Model เทคนิคการสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบสนองโจทย์ความต้องการในภาคธุรกิจ ไม่สอดคล้องกันกับการรายงานผล (ชื่อ Thailand Negotiation ans Sales Competition 2022)
เกณฑ์ข้อ 6 ไม่พบแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน 

[ตัวบ่งชี้ 5.2] ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการชุดต่างๆ ควรระบุหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการชุดนั้นๆ ในเอกสารคำสั่งด้วย

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 5

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. มีการบริหารแบบมีส่วนร่วม มีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดต่างๆ ซึ่งมีบุคลากรเข้ามาเป็นกรรมการเพื่อร่วมกันดำเนินงาน กำกับดูแลงานในวิทยาลัยให้ดำเนินไปตามแผนที่วางไว้ อย่างไรก็ดี ในการออกคำสั่งแต่งตั้ง ควรระบุหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการชุดนั้นๆ ด้วย

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. กำหนดแผนพัฒนารายบุคคลของบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนให้ชัดเจน
  2. กำหนดแผนการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ รวมอาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการแล้ว
  3. วิทยาลัยต้องวางแผนอัตรากำลังของคณาจารย์ให้สอดคล้องกับจำนวนนนักศึกษาที่เพิ่มขึ้น

สรุปผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลดำเนินการ
กรรมการ
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม 3.61
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 4.17
ตัวบ่งชี้ที่ 1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 2.22
ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 3.95
ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร 5.00
ผลการประเมินเฉลี่ยรวม [13 ตัวบ่งชี้] 4.53

ตารางผลการวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบคุณภาพ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
1 6 3.80 5.00 3.61 4.17 การดำเนินงานระดับดี
2 3 3.95 5.00 5.00 4.65 การดำเนินงานระดับดีมาก
3 1 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
4 1 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
5 2 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
ผลการประเมิน 3.84 5.00 4.31 4.53 การดำเนินงานระดับดีมาก
ระดับคุณภาพ การดำเนินงานระดับดี การดำเนินงานระดับดีมาก การดำเนินงานระดับดี