รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566

วิทยาลัยนานาชาติ

วันที่ประเมิน: 8 ตุลาคม 2567, 09:30น.

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

[ตัวบ่งชี้ 1.1] ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน คะแนน
[1] จำนวนหลักสูตรทั้งหมดที่คณะรับผิดชอบ
[ไม่รวมหลักสูตรที่ใช้ระบบประกันคุณภาพอื่นๆ ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2563 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2565)]
3 3.51
[2] ผลรวมของค่าคะแนนประเมินของทุกหลักสูตร 10.52
[3] ผลลัพธ์ที่ได้ [2] / [1] 3.51

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 1.2] อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 40 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 17.00 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 8
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 47.06
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 40 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 1.3] อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 60 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 17.00 1.96
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 4
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 23.53
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 60 1.96

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

จำนวนอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการค่อนข้างน้อย ควรเร่งพัฒนาอาจารย์ให้เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการอย่างจริงจัง โดยจัดทำแผนพัฒนาอาจารย์รายบุคคล (IDP) ให้ชัดเจน

[ตัวบ่งชี้ 1.4] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] สามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า [ค่า FTES] รวมทุกหลักสูตร 528.46 0.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] 17.00
[3] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำที่เป็นจริง [1] / [2] 31.09
[4] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำแยกตามกลุ่มสาขาวิชา 25.00
[5] ร้อยละที่ได้ ([3] – [4] / [4]) X 100 24.36
[6] ผลลัพธ์ที่ได้ 0.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ควรจัดหาอาจารย์เพิ่ม ให้ได้ตามสัดส่วนที่กำหนด

[ตัวบ่งชี้ 1.5] การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

เกณฑ์ข้อ 1. ขอเอกสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ โครงการ/ กิจกรรมการให้คำแนะนำหรือความรู้เกี่ยวกับการใช้ชีวิตแก่นักศึกษา
เกณฑ์ข้อ 2. วิทยาลัยควรเพิ่มเติมข้อมูลว่า ตลอดปีการศึกษามีการให้ข้อมูลอะไรแก่นักศึกษาบ้าง ใช้ช่องทางไหน รวมทั้งควรมีการสอบถามความเห็นจากนักศึกษาด้วยว่า ได้รับข้อมูลทางใด ได้รับครบถ้วนหรือไม่ และนำไปใช้ประโยชน์อย่างไรได้บ้าง
เกณฑ์ข้อ 3. ขอเอกสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ/ กิจกรรมปัจฉิมนิเทศออนไลน์ และ โครงการ/ กิจกรรมส่งเสริมความพร้อมในการทำงาน รวมทั้งควรเพิ่มเติมการประเมินกิจกรรมที่จัดให้แก่นักศึกษาว่าเกิดประโยชน์ หรือนักศึกษาได้นำไปใช้ประโยชน์อย่างไรบ้าง
เกณฑ์ข้อ 4. พบการประเมินอาจารย์ที่ปรึกษา และประเมินการให้ข้อมูลของคณะ ซึ่งมีคะแนนผลการประเมินมากกว่า 3.51 ทั้ง 2 ประเด็น แต่ควรประเมินคุณภาพการจัดกิจกรรมและการจัดบริการให้แก่นักศึกษาตามเกณฑ์ข้อ 1-3  ให้ครบทุกข้อในปีการศึกษาถัดไป
เกณฑ์ข้อ 5.
มีการปรับปรุงข้อมูลในเว็บไซต์ของคณะให้เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษามากขึ้น และเพิ่ม Wechat เป็นช่องทาง สื่อสารกับนักศึกษาประเทศจีน และเพิ่มช่องทางในการสื่อสารกับนักศึกษาผ่านไลน์ออฟฟิเชียล (@RSUINTER) โดยได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของวิทยาลัยนานาชาติ ในการโต้ตอบกับนักศึกษาแบบเรียลไทม์ ขณะเดียวกันเปิดช่องทางไลน์กรุ๊ป (RIC Freshmen) สำหรับนักศึกษาใหม่ เพื่อให้มีการสื่อสารด้วยกันเองโดยมีนักศึกษารุ่นพี่ในกลุ่มในการให้ข้อมูลกับน้องใหม่

เกณฑ์ข้อ 6. วิทยาลัยนานาชาติ จัดสรรช่องทางการให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพสำหรับศิษย์เก่าผ่านทาง Line group (RIC Alumni), Facebook , RSUIP website ตลอดจนการเชิญศิษย์เก่ามาเป็นวิทยากร ถ่ายทอดหัวข้ออันเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและต่อการประกอบอาชีพ ในวันปฐมนิเทศ นักศึกษาใหม่เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการเรียน และใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย แต่ควรเพิ่มเติมในรายงานผลการดำเนินงานว่าในรอบปี 2566 ได้ให้ข้อมูลหรือความรู้อะไรบ้างแก่ศิษย์เก่า

[ตัวบ่งชี้ 1.6] กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
4.00
11
11
100.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

- กิจกรรมนักศึกษาตามตัวบ่งชี้ 1.6 หมายถึง กิจกรรมเสริมหลักสูตร (Extra-curricular activities) ไม่ใช่กิจกรรมที่เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการทั้งโดยคณะและโดยสโมสรนักศึกษา 
ไม่พบแผนการจัดกิจกรรมนักศึกษา (แผนปฏิบัติการประจำปี  ไม่ใช่แผนการจัดกิจกรรมนักศึกษา) 
- ไม่พบหลักฐานการมีส่วนร่วมของสโมสรนักศึกษาในการจัดทำแผนกิจกรรมนักศึกษา เช่น รายงานการประชุมกับทีมงานรองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา
- จำนวนโครงการพัฒนานักศึกษา ในรายงานการประเมินแผนปฏิบัติงานประจำปีมีแค่ 9 โครงการ (ยังไม่ได้แยกโครงการที่เป็นกิจกรรมนักศึกษาตามตัวบ่งชี้ 1.6)
- การกำหนดรหัสหมายเลขเอกสาร  (นชอ4.4.1.1.03) ควรกำหนดรหัสหมายเลข ตามเกณฑ์/ ตัวบ่งชี้ ที่กล่าวอ้างเป็นครั้งแรก
 

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 1

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวมอยู่ในระดับดี (3.51) ควรพัฒนาการบริหารจัดการหลักสูตรในประเด็นที่ยังสามารถพัฒนาได้อีก

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. จำนวนอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการค่อนข้างน้อย ควรเร่งพัฒนาอาจารย์ให้เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการอย่างจริงจัง โดยจัดทำแผนพัฒนาอาจารย์รายบุคคล (IDP) ให้ชัดเจน
  2. จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ควรจัดหาอาจารย์เพิ่ม ให้ได้ตามสัดส่วนที่กำหนด

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

[ตัวบ่งชี้ 2.1] ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

- วิทยาลัยนานาชาติควรมีระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ของวิทยาลัยเพิ่มเติมจากมหาวิทยาลัยด้วย
- ในประเด็นข้อที่ 6 ควรอ้างถึง ระเบียบมหาวิทยาลัยว่าด้วย การจัดการทรัพย์สินทางปัญญา

[ตัวบ่งชี้ 2.2] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายใน 0.00 0.00
[2] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายนอก 0.00
[3] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ทั้งภายในและภายนอก [1] + [2] 0.00
[4] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมอาจารย์ที่ลาศึกษาต่อ] 17.00
[5] จำนวนนักวิจัยประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมนักวิจัยที่ลาศึกษาต่อ] 0.00
[6] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบันต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัย [3] / ([4] +[5]) 0.00
[7] ผลลัพธ์ที่ได้ [6] X 5 / 25000 0.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

- ควรมีแผนดำเนินการเพื่อสนับสนุนให้อาจารย์ที่มีศักยภาพในการทำวิจัย ได้ขอทุนวิจัย

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = 60,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = 50,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = 25,000 บาทขึ้นไปต่อคน

[ตัวบ่งชี้ 2.3] ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย

หมายเหตุ เป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในรอบปีที่รับการประเมินเท่านั้น [ช่องไหนไม่มีผลงานให้ใส่ 0 ไม่ปล่อยว่าง]
จำนวนผลงานทางวิชาการตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 13 0 0 3
จำนวนผลงานสร้างสรรค์ตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 0 0 0
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] ผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ 8.20 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 17.00
[3] จำนวนนักวิจัยประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 0.00
[4] ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ [1] X 100 / [2] + [3] 48.24
[5] ผลลัพธ์ที่ได้ [4] X 5 / 20 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 20 ขึ้นไป

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 2

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. มีแผนบริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ วิทยาลัยนานาชาติ (2565-2569)

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ปรับปรุงแผนการปฏิบัติการเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่ตั้งไว้
  2. วิทยาลัยควรมีระบบสารสนเทศที่ใช้ในการบริหารงานวิจัยของตนเอง เพื่อช่วยสนับสนุนให้คณาจารย์ได้วางแผนและผลิตงานวิจัย รวมถึงการเผยแพร่และนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. วิทยาลัยควรใช้กลไกของแผนบริหารและพัฒนาอาจารย์ผลักดันให้ทุกสาขาวิชาฯ ให้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยทั้งภายในและภายนอกมากขึ้น รวมถึงใช้ระบบนักวิจัยพี่เลี้ยงเพื่อช่วยสนับสนุนให้อาจารย์รุ่นใหม่ได้มีโอกาสเริ่มทำงานวิจัยโดยได้รับทุนสนับสนุน

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

[ตัวบ่งชี้ 3.1] การบริการวิชาการแก่สังคม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
2.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

- ควรมีแผนบริการวิชาการประจำปีของวิทยาลัย หากไม่ได้มีรายละเอียดเพิ่มเติม อย่างน้อยให้อ้างอิงจากแผนบริการทางวิชาการของมหาวิทยาลัย 
- จากโครงการที่นำเสนอในเอกสาร ควรประสานงานแจ้งทางศูนย์บริการทางวิชาการเพื่อนำเข้าสู่แผนบริการทางวิชาการของมหาวิทยาลัย
- ควรมีแผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการของวิทยาลัย หากไม่ได้มีรายละเอียดเพิ่มเติม อย่างน้อยให้อ้างอิงจากแผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
- การประเมินผลสำเร็จจะประเมินตามตัวบ่งชี้ที่ระบุไว้ในแผนบริการวิชาการ จะเหมาะสมกว่าการประเมินตามแผนยุทธศาสตร์ของวิทยาลัย

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 3

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. - มีโครงการบริการวิชาการแบบมีรายรับ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ควรปรับปรุงระบบกลไกและการดำเนินงานด้านการบริการวิชาการแก่สังคม ตามแนวทางประกันคุณภาพ

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

[ตัวบ่งชี้ 4.1] ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 - 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
2.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

- กำหนดให้รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มีหน้าที่ความรับผิดชอบการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ไว้ใน JD แต่ไม่มีคำสั่งแต่งตั้ง และระบุบทบาทหน้าที่ในเรื่องนี้เป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง
- เกณฑ์ข้อ 2 - 5 ควรนำแผนการดำเนินงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม (เอกสาร นชอ4.4.1.1.02) ที่จัดทำไว้มาอธิบายผลการดำเนินงาน
- เกณฑ์ข้อ 1 เอกสาร นชอ4.4.1.1.02 ชื่อเอกสารที่ระบุใน SAR กับ ที่ upload ไม่ตรงกัน

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 4

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. การมีนักศึกษาต่างชาติ ทำให้มีโอกาสจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อแลกเปลี่ยนรู้วัฒนธรรมซึ่งกันและกัน
  2. การบูรณาการศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอนมีความโดดเด่น ควรสร้างสรรค์และพัฒนากิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ควรทบทวนกระบวนการจัดทำแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม รวมทั้งการกำกับติดตาม ประเมินผล และปรับปรุงแผนดังกล่าว

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

[ตัวบ่งชี้ 5.1] การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00
การจัดการความรู้ในแต่ละด้าน จำนวน
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการผลิตบัณฑิต [ยุทธ์ ฯ 1] 1
เรื่อง
  • Active Learning ผ่านกิจกรรมการแข่งขันเจรจาต่อรองและการขาย Thailand Negotiation ans Sales Competition 2023 (TNSC 2023) โดยอาจารย์อำพร พัวประดิษฐ์ อาจารย์อุษณีย์ มะลิสุวรรณ อาจารย์ศรีสองรัก พรหมวิทักษ์ Dr. Anna Davtyan
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการวิจัย [ยุทธ์ ฯ 2] 1
เรื่อง
  • How to get international students to conduct research abd publication โดย Dr. Anna Davtyan
การจัดการความรู้ ด้าน Smart Organization [ยุทธ์ ฯ 3] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Internationalization [ยุทธ์ ฯ 4] 1
เรื่อง
  • ทำอย่างไรให้นักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติมีปฏิสัมพันธ์กันผ่านกิจกรรมการบูรณาการทางวิชาการในรายวิชา โดยอาจารย์อำพร พัวประดิษฐ์ อาจารย์อุษณีย์ มะลิสุวรรณ อาจารย์ศรีสองรัก พรหมวิทักษ์ ได้รับรางวัลชมเชยจากสำนักงานพัฒนาบุคคล มหาวิทยาลัยรังสิต
การจัดการความรู้ ด้าน Reputation [ยุทธ์ ฯ 5]
(รวมด้านบริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม)
0
การจัดการความรู้ ด้านอื่น ๆ 0

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

เกณฑ์ข้อ 1. พบหลักฐานแผนกลยุทธ์หรือแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคณะทางด้านยุทธศาสตร์การวิจัยจากผลการวิเคราะห์ SWOT  โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของคณะและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะ สถาบัน รวมทั้งสอดคล้องกับกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะและพัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงินและแผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุผลตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์ แต่ในปีการศึกษาถัดไปจะต้องมีให้ครบทุกยุทธศาสตร์

เกณฑ์ข้อ 2. ในการประเมินประสิทธิผลของการดำเนินงาน คณะสามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิผล โดยสามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพมีอัตราร้อยละการได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษาภายใน 1 ปี ในปีการศึกษา 2566  เท่ากับร้อยละ..... และมีผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตตามผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรอยู่ในระดับ 4.21 คณาจารย์มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารทั้งในฐานสากลและฐาน TCI  รวม 16 ฉบับคิดเป็นอัตราร้อยละ 48.24 ของจำนวนอาจารย์ประจำ และมีทุนวิจัยภายในและภายนอกรวมต่ออาจารย์ประจำ 0 บาท

เกณฑ์ข้อ 3. พบหลักฐานรายงานการบริหารความเสี่ยงตาม format ของสำนักงานตรวจสอบภายใน แต่ในการรายงานใน SAR ถ้ามีการสรุประดับความเสี่ยงเปรียบเทียบรายปีการศึกษา เพื่อวิเคราะห์ผลสำเร็จของมาตรการลดความเสี่ยง ก็จะมีความชัดเจนมากขึ้น เช่นเปรียบเทียบความเสี่ยงด้านทุนวิจัย เป็นต้น

เกณฑ์ข้อ 4. มีการรายงานแนวทางการดำเนินงานภายใต้หลักธรรมาภิบาลต่างๆ ครบถ้วน แต่ไม่พบหลักฐานรายงานการประชุมกรรมการคณะ และขาดการรายงานผลการประเมินการบริหารงานของผู้บริหารคณะ เพื่อสะท้อนถึงผลการดำเนินงานเป็นไปตามหลักธรรมมาภิบาลจริง

เกณฑ์ข้อ 6.การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามไม่พบแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน ตามระบบ HRD ตลอดจนคณะควรรายงานความสำเร็จตาม Key Result ในการพัฒนาบุคลากรเป็นรายบุคคลตามยุทธศาสตร์ Smart Organization


เกณฑ์ข้อ 7. มีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในครบถ้วนตามระบบกลไกที่เหมาะสมทั้งการควบคุม ตรวจสอบ และประเมินคุณภาพ

[ตัวบ่งชี้ 5.2] ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ภาพรวม มีการแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพในระดับวิทยาลัย มีการประเมินคุณภาพทุกหลักสูตรตามกำหนดเวลาที่ผ่านองค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน และรายงานผลการประเมินต่อกรรมการบริหาร มีค่าเฉลี่ยผลการประเมินในระดับดีที่ 3.51 จาก 3 หลักสูตร
 

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 5

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. มีโครงสร้างการบริหารและการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ตามภารกิจของสถาบันการศึกษา และระบุงานที่ต้องรับผิดชอบอย่างชัดเจน และผู้บริหารใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงาน ควรให้มีการประเมินผู้บริหารคณะในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลโดยบุคลากรคณะ
  2. มีการรายงานความเสี่ยงครอบคลุมทุกด้าน แต่ควรเสริมการรายงานแนวโน้มของการลดค่าความเสี่ยงจากการดำเนินงานตามมาตรการลดความเสี่ยงให้ครบทุกด้าน
  3. มีการจัดการความรู้จากแนวปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จทั้งพันธกิจการผลิตบัณฑิต การวิจัย และความเป็นสากล

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. เห็นชอบตามที่คณะประเมินตนเองไว้ใน SAR หน้าที่ 129 ว่าควรให้มีการจัดทำแผนพัฒนาวิทยาลัยที่ชัดเจนที่มีการกำหนดกลยุทธ์ วัตถุประสงค์ และค่าเป้าหมาย ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต
  2. แผนพัฒนาบุคลากรควรเป็นแผนตาม format HRD กล่าวคือควรกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จในการพัฒนาอาจารย์และบุคลากรเป็นรายบุคคลเป็นรายปี
  3. หากมีการนำรายงานการประชุมคณะกรรมการคณะชุดต่าง ๆ ขึ้นสู่ระบบ DBS ก็จะทำให้กรรมการประเมิน QA มองเห็นกระบวนการดำเนินงานตามแนวทาง PDCA เสริมกับการรายงานใน SAR ชัดเจนยิ่งขึ้น

สรุปผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลดำเนินการ
กรรมการ
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม 3.51
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 1.96
ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ 0.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี 4.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 0.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม 2.00
ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 2.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร 5.00
ผลการประเมินเฉลี่ยรวม [13 ตัวบ่งชี้] 3.34

ตารางผลการวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566

องค์ประกอบคุณภาพ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
1 6 2.32 4.50 3.51 3.25 การดำเนินงานระดับพอใช้
2 3 0.00 5.00 5.00 3.33 การดำเนินงานระดับพอใช้
3 1 - 2.00 - 2.00 การดำเนินงานต้องปรับปรุง
4 1 - 2.00 - 2.00 การดำเนินงานต้องปรับปรุง
5 2 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
ผลการประเมิน 1.74 4.00 4.26 3.34 การดำเนินงานระดับพอใช้
ระดับคุณภาพ การดำเนินงานต้องปรับปรุง การดำเนินงานระดับดี การดำเนินงานระดับดี