รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565

คณะรัฐศาสตร์

วันที่ประเมิน: 10 ตุลาคม 2566, 09:30น.

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

[ตัวบ่งชี้ 1.1] ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน คะแนน
[1] จำนวนหลักสูตรทั้งหมดที่คณะรับผิดชอบ
[ไม่รวมหลักสูตรที่ใช้ระบบประกันคุณภาพอื่นๆ ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2563 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2565)]
2 3.53
[2] ผลรวมของค่าคะแนนประเมินของทุกหลักสูตร 7.06
[3] ผลลัพธ์ที่ได้ [2] / [1] 3.53

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 1.2] อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 40 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 11.00 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 8
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 72.73
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 40 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 1.3] อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 60 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 11.00 3.79
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 5
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 45.45
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 60 3.79

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 1.4] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] สามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า [ค่า FTES] รวมทุกหลักสูตร 286.25 3.98
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] 11.00
[3] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำที่เป็นจริง [1] / [2] 26.02
[4] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำแยกตามกลุ่มสาขาวิชา 25.00
[5] ร้อยละที่ได้ ([3] – [4] / [4]) X 100 4.08
[6] ผลลัพธ์ที่ได้ 3.98

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 1.5] การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาในปีการศึกษา 2566 ขอให้ทางคณะพิจารณาทบทวนแผนปฏิบัติการ ที่ตอบโจทย์ตัวบ่งชี้ 1.5 ให้ชัดเจน เพื่อจำแนกการบริการนักศึกษาและศิษย์ก่า โดยกำหนดวัตถุประสงค์โครงการ กลุ่มเป้าหมาย และตัวชี้วัดความสำเร็จเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ขอให้ปรับระบบกำกับดูแลการดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และมีการรายงานผลการดำเนินงานอย่างจริงจัง เพื่อให้ได้ข้อมูลป้อนกลับที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

[ตัวบ่งชี้ 1.6] กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00
1
1
100.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาในปีการศึกษา 2566 ขอให้ทางคณะพิจารณาทบทวนแผนปฏิบัติการ ที่ตอบโจทย์ตัวบ่งชี้ 1.6 ให้ชัดเจน เพื่อจำแนกกิจกรรมหรือโครงการพัฒนานักศึกษา โดยกำหนดวัตถุประสงค์โครงการ กลุ่มเป้าหมาย และตัวชี้วัดความสำเร็จเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ขอให้ปรับระบบกำกับดูแลการดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และมีการรายงานผลการดำเนินงานอย่างจริงจัง เพื่อให้ได้ข้อมูลป้อนกลับที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 1

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. อาจารย์ประจำเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีชื่อเสียงในวงการศึกษาทางด้านรัฐศาสตร์ และมีวุฒิปริญญาเอกจำนวนสูงกว่าเกณฑ์ แนวทางเสริม ใช้จุดแข็งในข้อนี้เป็นโอกาสในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัย รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพของบัณฑิต

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ค่า FTES สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ และการดำรงตำแหน่งทางวิชาการต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ดังนั้น ทางคณะควรวางแผนปรับปรุงการดำเนินการในประเด็นของการพัฒนาอาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ และการรักษาค่า FTES ให้เป็นไปตามเกณฑ์ โดยการวิเคราะห์อัตรากำลัง ณ ปัจจุบัน และกำหนดเป้าหมายการดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ที่จะทำให้คณะมีผลการดำเนินงานเป็นไปตามเกณฑ์ ให้การสนับสนุนอย่างจริงจังกับอาจารย์ที่จะต้องพัฒนาตนเองให้เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการตามเป้าหมาย และพิจารณาความเหมาะสมของการเปิดรายวิชาในแต่ละภาคการศึกษา รวมทั้งจำนวนอัตรากำลังว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมหรือไม่
  2. ควรพิจารณาเพิ่มจำนวนกิจกรรมพัฒนานักศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อเพิ่มโอกาสแก่นักศึกษาสามารถเข้าร่วมกิจกรรมนอกเหนือจากค่ายสิงห์รังสิต นอกจากนี้ควรวางแผนและออกแบบกิจกรรมให้มุ่งสู่การพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
  3. ขอให้ทางคณะพิจารณาทบทวนแผนปฏิบัติการ ที่ตอบโจทย์ตัวบ่งชี้ 1.5 และ 1.6 และ 4.1 ให้ชัดเจน เพื่อจำแนก การบริการนักศึกษาและศิษย์ก่า กับ กิจกรรมหรือโครงการพัฒนานักศึกษา และโครงการหรือกิจกรรมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยกำหนดวัตถุประสงค์โครงการ กลุ่มเป้าหมาย และตัวชี้วัดความสำเร็จเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ขอให้ปรับระบบกำกับดูแลการดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และมีการรายงานผลการดำเนินงานอย่างจริงจัง เพื่อให้ได้ข้อมูลป้อนกลับที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

[ตัวบ่งชี้ 2.1] ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

- มีระบบการเป็นอาจารย์พี่เลี้ยงในการวิจัยภายในคณะ 
- มีการจัดพื้นที่ให้อาจารย์ที่ทำวิจัยนำเสนอผลการวิจัยต่อที่ประชุมของคณาจารย์และนักศึกษาของคณะ
- ปีการศึกษา 2565 มีอาจารย์ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยทั้งภายใน 2 ท่าน และจากภายนอก 1 ท่าน
- มีการสร้างขวัญและกำลังใจแก่อาจารย์ที่ได้รับทุนวิจัย โดยกำหนดให้อาจารย์ที่ได้ทุนวิจัยมากกว่า 1 แสนบาท เทียบเท่าภาระงาน 8 หน่วยกิตต่อ 1 ผลงาน
 

[ตัวบ่งชี้ 2.2] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายใน 216,270.00 5.00
[2] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายนอก 298,000.00
[3] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ทั้งภายในและภายนอก [1] + [2] 514,270.00
[4] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมอาจารย์ที่ลาศึกษาต่อ] 11.00
[5] จำนวนนักวิจัยประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมนักวิจัยที่ลาศึกษาต่อ] 0.00
[6] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบันต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัย [3] / ([4] +[5]) 46,751.82
[7] ผลลัพธ์ที่ได้ [6] X 5 / 25000 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = 60,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = 50,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = 25,000 บาทขึ้นไปต่อคน

[ตัวบ่งชี้ 2.3] ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย

หมายเหตุ เป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในรอบปีที่รับการประเมินเท่านั้น [ช่องไหนไม่มีผลงานให้ใส่ 0 ไม่ปล่อยว่าง]
จำนวนผลงานทางวิชาการตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 7 2 1 1 0
จำนวนผลงานสร้างสรรค์ตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 0 0 0
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] ผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ 3.60 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 11.00
[3] จำนวนนักวิจัยประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 0.00
[4] ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ [1] X 100 / [2] + [3] 32.73
[5] ผลลัพธ์ที่ได้ [4] X 5 / 20 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

- ผลงานวิชาการที่เผยแพร่ส่วนใหญ่เป็นการนำเสนอในการประชุมวิชาการ (9 ชิ้น) ที่เหลือเป็นบทความตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติ ที่อยู่ในฐาน TCI 1-2
- ผลงานวิชาการส่วนใหญ่เป็นของอาจารย์ท่านเดียว (รศ.ดร.ธำรงศักดิ์) ถึง 8 ชิ้น

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 20 ขึ้นไป

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 2

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. ปีการศึกษา 2565 ที่ผ่านมา คณะได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยทั้งภายในและภายนอก และเงินทุนวิจัยต่ออาจารย์ประจำสูงกว่าเกณฑ์
  2. มีระบบสนับสนุนภายในคณะในการทำวิจัย ได้แก่ ระบบพี่เลี้ยงในการวิจัย ระบบการคำนวณเทียบภาระงานให้อาจารย์ผู้ได้รับทุนวิจัยที่มีมูลค่า 1 แสนบาทขึ้นไป และการจัดพื้นที่ในการนำเสนอผลงานวิจัยของอาจารย์ให้แก่คณาจารย์และนักศึกษาร่วมรับฟัง

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ผลงานวิชาการที่นำเสนอในการประชุมวิชาการและวารสารวิชาการต่างๆ ยังกระจุกตัวอยู่กับอาจารย์บางท่าน อาจมีนโยบายการทำวิจัยร่วมกันเป็นทีม เพื่อสร้างศักยภาพนักวิจัยเพิ่มขึ้น
  2. ควรมุ่งพัฒนาการเผยแพร่ผลงานวิชาการในวารสารระดับชาติและนานาชาติเพิ่มขึ้น

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

[ตัวบ่งชี้ 3.1] การบริการวิชาการแก่สังคม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-ไม่พบว่ามีการบรรจุกิจกรรมหรือโครงการการบริการวิชาการลงในแผนปฏิบัติการประจำปี มีเพียงการหารือกันในที่ประชุมคณะ จึงทำให้ไม่เห็นผลการดำเนินงานของกิจกรรม/โครงการบริการวิชาการในรูปแบบของ PDCA 
-ไม่มีกิจกรรมบริการวิชาการที่ก่อให้เกิดรายได้ ทั้งนี้ส่วนใหญ่จะเป็นกิจกรรมที่มุ่งการประชาสัมพันธ์คณะกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักเรียน
-ไม่มีการติดตามประเมินผลการจัดบริการวิชาการ
***ขอหลักฐานการมีส่วนร่วมกับมหาวิทยาลัยในการให้บริการวิชาการ***

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 3

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. -

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. โครงการที่อ้างอิงการบริการวิชาการ เป็นโครงการที่จัดทางด้านวิชาการให้แก้นักเรียนนักศึกษา จึงเสนอให้เพิ่มเติมการบริการวิชาการที่จัดให้ชุมชนหรือสังคมมากขึ้น โดยจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษาเชื่อมโยงกับผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ (KR) ของแผนยุทธศาสตร์
  2. ควรมีการสรุปผลการดำเนินงานการบริการวิชาการในรูปของ PDCA และจัดบริการวิชาการทั้งที่มีรายได้และแบบให้เปล่า เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตามนโยบายของแผนการพัฒนาประเทศ

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

[ตัวบ่งชี้ 4.1] ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 - 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

- มีการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบในด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของคณะ ซึ่งมีรองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาเป็นประธานและมีกรรมการประกอบไปด้วยตัวแทนคณาจารย์และนักศึกษา
- ปีการศึกษา 2565 ที่ผ่านมา มีการดำเนินโครงการด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 3 โครงการ ได้แก่ 
   1) โครงการค่ายสิงห์รังสิตเพื่อจิตสาธารณะ 
   2) โครงการค่ายรัฐศาสตร์ 
   3) โครงการการเมืองการปกครองท้องถิ่น ชุมชน และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
- มีการกำกับติดตามและประเมินความสำเร็จของโครงการต่างๆ ผ่านการประชุมของคณะกรรมการผู้รับผิดชอบด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของคณะ อย่างไรก็ดี มีข้อสังเกตว่า เอกสารอ้างอิง มีเอกสารรายงาน PDCA ของโครงการค่ายสิงห์รังสิตเพื่อจิตสาธารณะ เพียงโครงการเดียว

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 4

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. คณะรัฐศาสตร์มีการสร้างการมีส่วนร่วมของคณาจารย์และนักศึกษา ในการดำเนินกิจกรรมด้านการวางแผนและดำเนินโครงการด้านการทำนุบารุงศิลปะและวัฒนธรรม โดยแต่งตั้งให้รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา เป็นประธานกรรมการทำนุบารุงศิลปะและวัฒนธรรม และใช้หลักการมอบอำนาจให้ประธานกรรมการสามารถแต่งตั้งกรรมการท่านอื่นๆ ได้ ซึ่งที่ผ่านมาได้แต่งตั้งกรรมการสโมสรนักศึกษาประจำคณะให้ดำรงตำแหน่งกรรมการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมควบคู่ไปด้วย

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. มีการกำหนดแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษาด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมที่ชัดเจน ตลอดจนมีการกำกับ และการประเมินผลความสำเร็จของโครงการและแผนอย่างครบถ้วน
  2. ควรนำผลการประเมินการดำเนินงานกิจกรรม/โครงการ มาใช้ในการปรับปรุงหรือพัฒนากิจกรรมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้มีความหลากหลายมากขึ้น และสอดคล้องกับแผนการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัย

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

[ตัวบ่งชี้ 5.1] การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
3.00
การจัดการความรู้ในแต่ละด้าน จำนวน
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการผลิตบัณฑิต [ยุทธ์ ฯ 1] 0
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการวิจัย [ยุทธ์ ฯ 2] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Smart Organization [ยุทธ์ ฯ 3] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Internationalization [ยุทธ์ ฯ 4] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Reputation [ยุทธ์ ฯ 5]
(รวมด้านบริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม)
0
การจัดการความรู้ ด้านอื่น ๆ 0

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

เกณฑ์ ข้อ 1  ไม่ผ่าน เนื่องจากการรายงานผลการดำเนินงานไม่ถูกต้อง และเป็นการคัดลอกจากปี 2564 สำหรับหลักฐานแผนพัฒนายุทธศาสตร์คณะ เขียนขื่อไม่ถูกต้อง และขาดกระบวนการวิเคราะห์ SWOT  ไม่พบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาแผน และการพิจารณาจากคณะกรรมการประจำคณะแต่อย่างใด รวมทั้งการเชื่อมโยงยังพันธกิจสถาบัน จากการพิจารณาแผนยุทธ์ศาสตร์ พบว่าไม่มีข้อความใดที่จะทำให้เชื่อได้ว่าเป็นแผนยุทธศาสตร์ของคณะรัฐศาสตร์
เกณฑ์ข้อ 5  รายงานไม่ตรงประเด็น และหลักฐานไม่ตรงประเด็น ไม่มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีในด้านการเรียนการสอนและการวิจัย ที่กำหนดไว้เป็นอย่างน้อย   
เกณฑ์ข้อ 7 รายงานไม่สะท้อนถึงการทำให้การประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานตามปกติของคณะ ในแนวทางของควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ ทั้งสามส่วนนี้ในการดำเนินงานของคณะ

-ในภาพรวมของเกณฑ์ข้อที่ไม่ผ่าน (เกณฑ์ข้อ 1, 5 และเกณฑ์ข้อ 7) ผลการดำเนินงานที่รายงานไม่สะท้อนถึงระบบและกลไกการดำเนินงาน ที่ชัดเจน เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ และไม่ตรงกับเกณฑ์เท่าที่ควร รวมทั้งหลักฐานที่แสดงไม่เพียงพอที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าคณะได้มีการบริหารจัดการองค์กรในตัวบ่งชี้ทั้งสามอย่างมีคุณภาพ  

[ตัวบ่งชี้ 5.2] ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา ในปีการศึกษา 2566 ขอให้ปรับปรุงการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพของคณะ ทั้งในระดับหลักสูตร และระดับคณะ  โดยพิจารณาทบทวนตั้งแต่กระบวนการจัดทำแผน การกำกับดำเนินงาน การประเมิน และการรายงานคุณภาพ โดยใช้คู่มือมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ของมหาวิทยาลัย
 

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 5

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. ไม่พบ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ปรับปรุงระบบและกลไกการบริหารคณะอย่างมีคุณภาพ และการให้ความสำคัญต่อการบริหารและดำเนินงานอย่างมีคุณภาพ ในทุกองค์ประกอบ เพื่อให้การประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานตามปกติ
  2. คณะกรรมการชุดต่างๆ ที่มีการแต่งตั้งของคณะ ควรมีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ ในการจัดทำแผน การดำเนินงานตามแผน และการติดตามประเมินผล
  3. ควรมีการมอบหมายผู้บริหารคณะให้รับผิดชอบกำกับติดตามการรายงานผลการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน อย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลการดำเนินงานโดยแท้จริง

สรุปผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลดำเนินการ
กรรมการ
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม 3.53
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 3.79
ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ 3.98
ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ 3.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร 5.00
ผลการประเมินเฉลี่ยรวม [13 ตัวบ่งชี้] 4.56

ตารางผลการวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบคุณภาพ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
1 6 4.26 5.00 3.53 4.38 การดำเนินงานระดับดี
2 3 5.00 5.00 5.00 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
3 1 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
4 1 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
5 2 - 4.00 - 4.00 การดำเนินงานระดับดี
ผลการประเมิน 4.44 4.71 4.27 4.56 การดำเนินงานระดับดีมาก
ระดับคุณภาพ การดำเนินงานระดับดี การดำเนินงานระดับดีมาก การดำเนินงานระดับดี