รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566

คณะรัฐศาสตร์

วันที่ประเมิน: 15 ตุลาคม 2567, 09:30น.

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

[ตัวบ่งชี้ 1.1] ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน คะแนน
[1] จำนวนหลักสูตรทั้งหมดที่คณะรับผิดชอบ
[ไม่รวมหลักสูตรที่ใช้ระบบประกันคุณภาพอื่นๆ ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2563 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2565)]
3 3.22
[2] ผลรวมของค่าคะแนนประเมินของทุกหลักสูตร 9.66
[3] ผลลัพธ์ที่ได้ [2] / [1] 3.22

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

1. หน้า 8 ไม่มีข้อมูลของหลักสูตรปริญญาเอก คือหลักสูตรรัฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง 
2. หน้า 17 ข้อมูลประกอบการพิจารณา ให้ตรวจสอบการคำนวณผลรวมของค่าคะแนนประเมินของทุกหลักสูตร และคะแนนที่ได้

[ตัวบ่งชี้ 1.2] อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 40 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 11.00 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 7
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 63.64
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 40 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 1.3] อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 60 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 11.00 3.79
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 5
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 45.45
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 60 3.79

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

การตั้งค่าเป้าหมายของอาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ คณะตั้งค่าเป้าหมายไว้ที่ร้อยละ 50 ซึ่งถ้าตั้งค่าเป้าหมายที่ร้อยละ 60 ซึ่งเป็นคะแนนที่ได้เต็ม 5 คะแนน ก็จะแสดงถึงการผลักดันให้คณะหาวิธีการที่จะสนับสนุนให้อาจารย์ก้าวเข้าสู่การดำรงตำแหน่งทางวิชาการ

[ตัวบ่งชี้ 1.4] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] สามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า [ค่า FTES] รวมทุกหลักสูตร 606.51 0.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] 11.00
[3] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำที่เป็นจริง [1] / [2] 55.14
[4] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำแยกตามกลุ่มสาขาวิชา 25.00
[5] ร้อยละที่ได้ ([3] – [4] / [4]) X 100 120.56
[6] ผลลัพธ์ที่ได้ 0.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

คณะควรวางแผนการรับอาจารย์ประจำเพิ่มเติมหรือวางแผนกรอบอัตรากำลังในแต่ละปี ซึ่งต้องคำนวณต่อไปว่าถ้าปีต่อไป คณะยังคงมีจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าในจำนวนทำนองนี้อยู่ ต้องรับอาจารย์เพิ่มอีกกี่คน ถึงจะเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน

[ตัวบ่งชี้ 1.5] การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
4.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ข้อ 4 การประเมินคุณภาพของกิจกรรมฯ คณะควรให้นักศึกษาประเมินกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ให้มากขึ้น ซึ่งคณะมีจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า ระดับปริญญาตรี = 586.11 แต่ในด้านการบริการให้คำปรึกษาทางวิชาการ แนะแนวด้านการใช้ชีวิต มีนักศึกษาประเมินเพียง 73 คน ส่วนอีก 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการให้ข้อมูลของหน่วยงานที่ให้บริการ กิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร แหล่งงานทั้งเต็มเวลาและนอกเวลาแก่นักศึกษา และด้านการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานหลังสำเร็จการศึกษา ไม่มีการระบุจำนวนนักศึกษาในเล่มรายงาน และไม่พบเอกสารหลักฐานอ้างอิง รฐ.อ1.1.5.4.01 แบบสำรวจความพึงพอใจของการจัดกิจกรรมและจัดบริการ จึงไม่สามารถติดตามได้ว่ามีนักศึกษาประเมินคุณภาพของการจัดกิจกรรม มากน้อยเพียงใด
ข้อ 5 ไม่มีข้อมูลคะแนนความพึงพอใจในปี 2565 ด้านการให้ข้อมูลของหน่วยงานที่ให้บริการ กิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร แหล่งงานทั้งเต็มเวลาและนอกเวลาแก่นักศึกษา และด้านการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานหลังสำเร็จการศึกษา จึง
ไม่มีข้อมูลว่า ปี 2566 มีการปรับปรุงและพัฒนาในด้านดังกล่าวอย่างไร

[ตัวบ่งชี้ 1.6] กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00
2
2
100.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ข้อ 3 พิมพ์ผิด ต้องเป็น ภววิสัย ไม่ใช่ ภววิวัย
ข้อ 4 โครงการค่ายรัฐศาสตร์ จากหลักฐานอ้างอิง (PDCA โครงการค่ายรัฐศาสตร์) พบปัญหาเรื่องความล่าช้าในการเดินทางไปดูงานที่ศาลาว่าการเมืองพัทยาและการปลูกป่าชายเลนที่แหลมฉบัง ดังนั้นในครั้งต่อไปควรมีการวางแผนการเดินทางให้รอบคอบกว่านี้ แต่ในรายงานไม่มีการใส่ข้อมูลดังกล่าว
 

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 1

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. คณะมีอาจารย์ประจำที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในสาขารัฐศาสตร์

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. อาจารย์ประจำดำรงตำแหน่งทางวิชาการต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน คณะควรจัดทำแผนการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการเป็นรายบุคคล เพื่อให้สามารถวางเป้าหมายในการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์ได้ชัดเจนมากขึ้น
  2. จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานมาก คณะควรวิเคราะห์อัตรากำลัง และวางแผนการรับอาจารย์ประจำเพิ่มเติม ให้สอดคล้องกับจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าในจำนวนทำนองนี้อยู่ รวมทั้งจำนวนอาจารย์ที่อาจจะเกษียณในอนาคต

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

[ตัวบ่งชี้ 2.1] ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

- เพิ่มหลักฐานอ้างอิงเป็น ประกาศและเกณฑ์ในการขอรับทุนสนับสนุนงานวิจัย/ ทุนสนับสนุนการเผยแพร่งานวิจัย ของสถาบันวิจัย รวมถึงประกาศเกี่ยวกับจริยธรรมงานวิจัย 
- คณะควรให้ความสำคัญในการพัฒนาการสนับสนุนการบริหารงานวิจัยผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของคณะ ได้แก่ การทำ website ของคณะ เป็นต้น

[ตัวบ่งชี้ 2.2] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายใน 123,000.00 2.24
[2] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายนอก 0.00
[3] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ทั้งภายในและภายนอก [1] + [2] 123,000.00
[4] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมอาจารย์ที่ลาศึกษาต่อ] 11.00
[5] จำนวนนักวิจัยประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมนักวิจัยที่ลาศึกษาต่อ] 0.00
[6] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบันต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัย [3] / ([4] +[5]) 11,181.82
[7] ผลลัพธ์ที่ได้ [6] X 5 / 25000 2.24

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = 60,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = 50,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = 25,000 บาทขึ้นไปต่อคน

[ตัวบ่งชี้ 2.3] ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย

หมายเหตุ เป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในรอบปีที่รับการประเมินเท่านั้น [ช่องไหนไม่มีผลงานให้ใส่ 0 ไม่ปล่อยว่าง]
จำนวนผลงานทางวิชาการตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 3 1 0 1 0
จำนวนผลงานสร้างสรรค์ตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 0 0 0
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] ผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ 1.80 4.09
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 11.00
[3] จำนวนนักวิจัยประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 0.00
[4] ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ [1] X 100 / [2] + [3] 16.36
[5] ผลลัพธ์ที่ได้ [4] X 5 / 20 4.09

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 20 ขึ้นไป

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 2

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. -
  2. -
  3. -

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. คณะควรให้ความสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยในคณะ ได้แก่ ระบบฐานข้อมูลงานวิจัยใน website ของคณะ เป็นต้น
  2. คณะควรมีการพัฒนาทีมวิจัยเพื่อสร้างความเข้มแข็งในการรับทุนวิจัย และการทำงานวิจัยของคณาจารย์
  3. คณะควรมีแผนงานที่ครอบคลุมให้อาจารย์ในคณะมีการเผยแพร่งานวิจัยอย่างทั่วถึงทุกคน ซึ่งจะส่งผลในการขอตำแหน่งวิชาการของอาจารย์ต่อไป

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

[ตัวบ่งชี้ 3.1] การบริการวิชาการแก่สังคม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
2.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

- จากรายงานการประชุมครั้งที่ 8/2566 มีโครงการบริการวิชาการทั้งโครงการแบบให้เปล่าและโครงการแบบมีรายได้ แต่ไม่พบแผนการบริการวิชาการประจำปี 2566
- ไม่พบแผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการของคณะ
- จากรายงานการประชุมครั้งที่ 9/2566 วาระที่ 3.3 โครงการประกวดสุทรพจน์ เป็นการแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับเวลาและสถานที่จัดงาน ส่วนวาระที่ 3.4 เป็นการแจ้งให้ทราบว่าได้จัดงานเรียบร้อยแล้ว กำลังเขียนสรุปโครงการ และวาระที่ 3.5 โครงการอบรมรัฐบาลดิจิทัล เป็นการแจ้งรายละเอียดต่าง ๆ ของโครงการ  
- เนื่องจากไม่มีแผนการบริการวิชาการ จึงไม่พบการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผน  ส่วนระดับโครงการ พบการประเมินโครงการประกวดสุนทรพจน์โครงการเดียว

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 3

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. คณะรัฐศาสตร์มีคณาจารย์เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีชื่อเสียงในวงการศึกษาด้านรัฐศาสตร์ แนวทางเสริม ควรใช้จุดแข็งในข้อนี้เป็นโอกาสในการให้บริการวิชาการแก่สังคม ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งแบบให้เปล่าและสร้างรายได้

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ควรจัดทำแผนบริการวิชาการประจำปีของคณะให้ชัดเจน โดยมีการศึกษาหรือสำรวจความต้องการของสังคมหรือกลุ่มเป้าหมาย (feasibility study) รวมทั้งกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จในระดับแผน ระยะเวลาดำเนินการ และผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน
  2. ควรจัดทำแผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการเพื่อให้เกิดผลต่อการพัฒนานักศึกษา ชุมชน หรือสังคมให้ชัดเจน รวมทั้งมีการประเมินผลการดำเนินงานว่าได้เกิดผลต่อนักศึกษา ชุมชน หรือสังคม ตามที่กำหนดไว้
  3. ควรรายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการให้ครบถ้วนทั้ง 3 โครงการ

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

[ตัวบ่งชี้ 4.1] ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 - 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
1.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ไม่พบแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของคณะ ตลอดจนเอกสารหลักฐานการดำเนินงานตามเกณฑ์ประเมิน

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 4

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. มีการกำหนดผู้รับผิดชอบด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมที่ชัดเจน โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในเรื่องนี้ด้วย ควรใช้กลไกนี้ในการจัดทำแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม การกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จของแผน การติดตาม ประเมินผล และปรับปรุงแผน ตลอดจนการเผยแพร่กิจกรรมต่อสาธารณชน

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ควรจัดทำแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมให้ชัดเจน โดยใช้กลไกที่มีอยู่
  2. เนื่องจากโครงการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมกับกิจกรรมนักศึกษาทั้ง 2 โครงการ อาจยังไม่แสดงให้เห็นว่าเป็นกิจกรรมที่ช่วยฟื้นฟู อนุรักษ์ สืบสาน พัฒนา และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยอย่างชัดเจน ทางคณะควรทบทวนและพัฒนากิจกรรมด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้มีความชัดเจนและมีความหลากหลายมากขึ้น รวมทั้งมีความสอดคล้องกับแผนการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัย

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

[ตัวบ่งชี้ 5.1] การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00
การจัดการความรู้ในแต่ละด้าน จำนวน
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการผลิตบัณฑิต [ยุทธ์ ฯ 1] 1
เรื่อง
  • สมุดพกสำหรับรายงานศึกษาค้นคว้าอิสระ
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการวิจัย [ยุทธ์ ฯ 2] 1
เรื่อง
  • แนวทางการป้องกันการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การจัดการความรู้ ด้าน Smart Organization [ยุทธ์ ฯ 3] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Internationalization [ยุทธ์ ฯ 4] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Reputation [ยุทธ์ ฯ 5]
(รวมด้านบริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม)
0
การจัดการความรู้ ด้านอื่น ๆ 0

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

1. ในข้อ 1 ไม่พบหลักฐานอ้างอิงหมายเลข รฐ.อ5.5.1.1.03 แบบสอบถามความพึงพอใจบัณฑิตใหม่หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต และผลสรุปแบบสอบถามความพึงพอใจบัณฑิตต่อหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิตศึกษา 
2. ในข้อ 1
ไม่พบหลักฐานแสดงการทำ SWOT/ หลักฐานแสดงแผนปฏิบัติการ และกลยุทธ์การเงิน
3. ในข้อ 2 ไม่พบหลักฐานแสดงผลสรุปความสำเร็จของแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 2566 (จากสนง.วางแผน)
4. ในข้อ 3 ควรมีการรายงานให้เห็นลำดับความสำคัญของระดับความเสี่ยง และการลดความเสี่ยง ของรายการความเสี่ยง
5. ในข้อ 5
ไม่พบการ upload หลักฐานหมายเลข รฐ.อ.5.5.1.5.03 โครงการ Internationalization ซึ่งไม่ชัดเจนว่าจะเกี่ยวกับการจัดการความรู้หรือไม่
6. ในข้อ 5 ควรเพิ่มการรายงานประเด็นการจัดการความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตบัณฑิตและงานวิจัยของคณะ
7. ในข้อ 6 ไม่พบการ upload หลักฐานหมายเลข รฐ.อ5.5.1.6.02 เอกสารการพัฒนาบุคลากรสายวิชาการ
8. ในข้อ 6 ควรเพิ่มความชัดเจนในการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรในภาพรวม และแผนพัฒนาบุคลากรแยกเป็นรายบุคคล รวมทั้งต้องมีการแสดงความก้าวหน้าของการบรรลุผลตามแผนพัฒนาบุคลากร

 

 

[ตัวบ่งชี้ 5.2] ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 5

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. คณะให้ความสำคัญต่อคุณภาพการศึกษาของคณะ ที่ครบถ้วนตามกระบวนการของการประกันคุณภาพการศึกษา

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. คณะควรเพิ่มผลสรุปจากแผนบริหารความเสี่ยงโดยย่อ ที่เน้นลำดับความสำคัญของการดำเนินงานบริหารความเสี่ยงเพื่อลดความเสี่ยงในปีการศึกษาถัดไป ได้แก่ ทุนวิจัยจากภายนอก ความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษา การขอตำแหน่งวิชาการของอาจารย์ เป็นต้น
  2. คณะควรเพิ่มความชัดเจนในการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรในภาพรวม และแผนพัฒนาบุคลากรแยกเป็นรายบุคคล รวมทั้งต้องมีการแสดงความก้าวหน้าของการบรรลุผลตามแผนพัฒนาบุคลากร ได้แก่ การขอตำแหน่งวิชาการของอาจารย์ อัตรากำลังคนสายอาจารย์ การพัฒนาความสามารถของบุลากรสายสนับสนุน เป็นต้น
  3. คณะควรเพิ่มความชัดเจนเป็นรายละเอียดโดยย่อในแผนการจัดการความรู้ พร้อมทั้งผลที่เกิดขึ้น

สรุปผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลดำเนินการ
กรรมการ
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม 3.22
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 3.79
ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ 0.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี 4.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 2.24
ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย 4.09
ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม 2.00
ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 1.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร 5.00
ผลการประเมินเฉลี่ยรวม [13 ตัวบ่งชี้] 3.49

ตารางผลการวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566

องค์ประกอบคุณภาพ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
1 6 2.93 4.50 3.22 3.50 การดำเนินงานระดับพอใช้
2 3 2.24 5.00 4.09 3.78 การดำเนินงานระดับดี
3 1 - 2.00 - 2.00 การดำเนินงานต้องปรับปรุง
4 1 - 1.00 - 1.00 การดำเนินงานต้องปรับปรุงเร่งด่วน
5 2 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
ผลการประเมิน 2.76 3.86 3.66 3.49 การดำเนินงานระดับพอใช้
ระดับคุณภาพ การดำเนินงานระดับพอใช้ การดำเนินงานระดับดี การดำเนินงานระดับดี