รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566

สถาบันการทูตและการต่างประเทศ

วันที่ประเมิน: 3 ตุลาคม 2567, 09:30น.

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

[ตัวบ่งชี้ 1.1] ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน คะแนน
[1] จำนวนหลักสูตรทั้งหมดที่คณะรับผิดชอบ
[ไม่รวมหลักสูตรที่ใช้ระบบประกันคุณภาพอื่นๆ ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2563 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2565)]
2 3.62
[2] ผลรวมของค่าคะแนนประเมินของทุกหลักสูตร 7.24
[3] ผลลัพธ์ที่ได้ [2] / [1] 3.62

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 1.2] อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 40 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 10.50 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 9
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 85.71
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 40 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 1.3] อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 60 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 10.50 2.38
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 3
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 28.57
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 60 2.38

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 1.4] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] สามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า [ค่า FTES] รวมทุกหลักสูตร 176.62 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] 10.50
[3] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำที่เป็นจริง [1] / [2] 16.82
[4] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำแยกตามกลุ่มสาขาวิชา 25.00
[5] ร้อยละที่ได้ ([3] – [4] / [4]) X 100 -32.72
[6] ผลลัพธ์ที่ได้ 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 1.5] การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 1.6] กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00
3
3
100.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 1

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. สถาบันมีการจัดการหลักสูตรที่มีคุณภาพ มีหลักสูตรที่ตรงกับความต้องการของผู้เรียน มีอาจารย์ที่มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกจำนวนมาก และการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานอย่างต่อเนื่อง
  2. สถาบันมีกิจกรรมที่หลากหลายในการให้บริการแก่นักศึกษา ซึ่งเป็นกิจกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. สนับสนุนให้อาจารย์ของสถาบันขอตำแหน่งวิชาการเพิ่มขึ้น โดยการวางแผนการพัฒนารายบุคคล (IDP)

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

[ตัวบ่งชี้ 2.1] ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 2.2] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายใน 105,500.00 2.01
[2] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายนอก 0.00
[3] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ทั้งภายในและภายนอก [1] + [2] 105,500.00
[4] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมอาจารย์ที่ลาศึกษาต่อ] 10.50
[5] จำนวนนักวิจัยประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมนักวิจัยที่ลาศึกษาต่อ] 0.00
[6] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบันต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัย [3] / ([4] +[5]) 10,047.62
[7] ผลลัพธ์ที่ได้ [6] X 5 / 25000 2.01

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = 60,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = 50,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = 25,000 บาทขึ้นไปต่อคน

[ตัวบ่งชี้ 2.3] ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย

หมายเหตุ เป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในรอบปีที่รับการประเมินเท่านั้น [ช่องไหนไม่มีผลงานให้ใส่ 0 ไม่ปล่อยว่าง]
จำนวนผลงานทางวิชาการตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 3 4 1
จำนวนผลงานสร้างสรรค์ตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 0 0 0
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] ผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ 6.00 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 10.50
[3] จำนวนนักวิจัยประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 0.00
[4] ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ [1] X 100 / [2] + [3] 57.14
[5] ผลลัพธ์ที่ได้ [4] X 5 / 20 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 20 ขึ้นไป

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 2

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. สถาบันมีระบบสารสนเทศในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของอาจารย์และนักศึกษา

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. สนับสนุนให้อาจารย์ขอทุนวิจัยที่แหล่งทุนภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

[ตัวบ่งชี้ 3.1] การบริการวิชาการแก่สังคม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ข้อสังเกต: 
- ตัวบ่งชี้ 3.1 เป็นตัวบ่งชี้ด้านกระบวนการ แต่การรายงาน SAR องค์ประกอบที่ 3 ของสถาบัน ฯ โดยเฉพาะเกณฑ์ข้อ 1 ไม่ได้อธิบายกระบวนการจัดทำแผนการบริการวิชาการให้เห็นชัดเจน   
- แผนการบริการวิชาการของสถาบันการทูต ฯ ที่ปรากฏในแผนของศูนย์บริการวิชาการ ระบุว่าสถาบันการทูต ฯ มีโครงการบริการวิชาการ 3 โครงการ คือ โครงการโรงเรียนวัดนาวง โครงการ IDIS Debate  และโครงการโต้วาทีสานสัมพันธ์ 4 มหาวิทยาลัย  ขณะที่ใน SAR ระบุว่า สถาบันมีโครงการบริการวิชาการ 2 โครงการ คือ โครงการการทูตสู่ชุมชน เป็นการบริการวิชาการให้แก่เด็กนักเรียน ป.5 โรงเรียนวัดนาวง และ โครงการ FRIENDSHIP DEBATE 2024 
- โครงการ FRIENDSHIP DEBATE 2024 ถ้าดูจากวัตถุประสงค์ของโครงการแล้ว น่าจะเป็นโครงการพัฒนานักศึกษามากกว่าการบริการวิชาการ 
- จากรายงานการประชุม ครั้งที่ 3/2566 รองคณบดีฝ่ายวิชาการ เสนอ โครงการ "การทูตสู่ชุมชน" เป็นโครงการบริการวิชาการ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เสริมสร้างความรู้เรื่องอาเซียนให้แก่นักเรียน 2) เสริมสร้างทักษะภาษาอังกฤษให้แก่นักเรียน และ 3) นักศึกษาได้ถ่ายทอดความรู้นอกห้องเรียน

- รายงานการประชุมของสถาบันการทูต ฯ ไม่มีการรับรองรายงานการประชุม 


ข้อเสนอแนะ :
-  การจัดทำแผนบริการวิชาการ ควรแสดงให้เห็นขั้นตอนหรือกระบวนการจัดทำแผนที่ชัดเจน ตั้งแต่ การสำรวจปัญหาและความต้องการของประชาชนหรือสังคม การวิเคราะห์และสรุปผลการสำรวจปัญหาและความต้องการ การนำผลวิเคราะห์และข้อสรุปจากการสำรวจปัญหาที่ได้มากำหนดโครงการบริการวิชาการแก่ประชาชนและสังคม การนำโครงการต่าง ๆ จัดทำเป็นแผนบริการวิชาการของสถาบัน 
- ขอให้ทางสถาบันพิจารณาและปรับแก้ข้อมูลโครงการบริการวิชาการในเอกสารสำคัญต่าง ๆ ให้ตรงกัน  เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนแก่ผู้อ่าน
- สถาบันควรพัฒนาโครงการบริการวิชาการใหม่ ๆ ตามความถนัดในด้านที่สถาบันมีความเชี่ยวชาญ  ทั้งแบบให้เปล่า และมีรายได้ เนื่องจากคณาจารย์ของสถาบันเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีชื่อเสียง มีผลงานทางวิชาการเป็นที่ประจักษ์และเป็นที่ยอมรับของสังคม เช่น การเสวนาวิเคราะห์สถานการณ์ระหว่างประเทศ การวิจัย
- สถาบันควรมีส่วนร่วมการบริการวิชาการแก่สังคมในระดับสถาบัน เช่น โครงการย่อยแผนงานร่วมทุน สสส. กับ มหาวิทยาลัยรังสิต 

- รายงานการประชุม เป็นเอกสารที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นหลักฐานที่แสดงผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมาของสถาบัน รายงานการประชุมที่มีการรับรองจากที่ประชุมแล้ว จึงถือเป็นเอกสารอ้างอิงที่ใช้ได้ตามกฎหมาย ดังนั้น ควรให้ที่ประชุมของสถาบันรับรองรายงานการประชุมทุกครั้ง

 

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 3

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. คณาจารย์ของสถาบันการทูต ฯ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีชื่อเสียง มีผลงานทางวิชาการเป็นที่ประจักษ์และเป็นที่ยอมรับของสังคม ดังนั้น สถาบันควรพัฒนาโครงการบริการวิชาการใหม่ ๆ ตามอัตลักษณ์และความถนัดในด้านที่สถาบันมีความเชี่ยวชาญ ในรูปแบบการฝึกอบรม การสัมมนา การบรรยาย หรือการเสวนาทางวิชาการ ทั้งแบบให้เปล่า และมีรายได้ เพื่อเป็นการให้การศึกษาต่อเนื่องแก่ศิษย์เก่า ประชาชน ผู้สนใจ รวมไปถึงการวิจัยเพื่อชี้นำและตอบคำถามต่าง ๆ ให้แก่ชุมชน สังคม และประเทศชาติ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ควรมีกระบวนการวางแผนการบริการวิชาการที่ชัดเจน ทั้งนี้ ควรมีการสำรวจปัญหาและความต้องการของประชาชน หรือสังคม เพื่อจะได้ออกแบบ/ จัดทำโครงการที่ตรงความต้องการ (Need) ของประชาชนอย่างแท้จริง แล้วนำโครงการต่าง ๆ มาจัดทำแผนบริการวิชาการของสถาบัน จัดให้มีกระบวนการติดตามประเมินผลและปรับปรุงแผน/พัฒนาการให้บริการวิชาการในปีถัดไป
  2. เนื่องจากรายงานการประชุม เป็นเอกสารที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นหลักฐานที่แสดงผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมาของสถาบัน รายงานการประชุมที่มีการรับรองจากที่ประชุมแล้ว จึงจะถือว่าเป็นเอกสารอ้างอิงที่ใช้ได้ตามกฎหมาย ดังนั้น ควรให้ที่ประชุมของสถาบันรับรองรายงานการประชุมทุกครั้ง

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

[ตัวบ่งชี้ 4.1] ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 - 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

  • ตามรายงานการประชุมมีรองคณบกีฝ่ายกิจการนักศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบงานทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม แต่ไม่มีคำสั่งแต่งตั้งรองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา (โดยคณบดี) เป็นผู้รับผิดชอบงานนี้ที่ชัดเจน เอกสารอ้างอิง เป็นคำสั่งแต่งตั้งรองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา โดยมหาวิทยาลัย
  • ขั้นตอนหรือกระบวนการจัดทำแผนไม่ชัดเจน
  • ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ ยังวัดเรื่องจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ กับ ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ จึงยังไม่เห็นว่าโครงการตอบสนองการสร้างคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะ การสร้างนักศึกษาให้มีคุณธรรม จริยธรรม
  • เอกสารที่นำมาอ้างอิง ไม่ส่งเสริมให้เห็นผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ประเมิน เช่น เอกสาร กท.อ4.4.1.1.01 คำสั่งแต่งตั้งรองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา  เอกสาร กท.อ1.1.6.1.03  โครงการเยี่ยมชมสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม และอนุรักษ์ธรรมชาติ เป็นเอกสาร clear เงินทดรองจ่ายกับสำนักงานการเงิน ไม่ใช่โครงการฉบับเต็ม

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 4

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. สถาบันการทูตและการต่างประเทศ มีนักศึกษาทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ นับเป็นโอกาสที่ดีที่จะให้นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมที่หลากหลาย แนวทางเสริม: สถาบันควรจัดกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในรูปแบบพหุวัฒนธรรม นอกเหนือจากการพาไปทัศนศึกษา

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ควรทบทวนกระบวนการจัดทำแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และเขียนอธิบายให้ชัดเจน
  2. ควรทบทวนและกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ ที่นอกเหนือไปจากการวัดเรื่องจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ และ ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ เช่น เมื่อระบุว่าโครงการเยี่ยมชมสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ฯ ตอบสนองการสร้างคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ด้านคุณธรรม จริยธรรม ก็ควรมีตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการในเรื่องนี้ และเป็นตัวชี้วัดที่ชัดเจน วัดได้จริง

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

[ตัวบ่งชี้ 5.1] การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00
การจัดการความรู้ในแต่ละด้าน จำนวน
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการผลิตบัณฑิต [ยุทธ์ ฯ 1] 1
เรื่อง
  • IDIS RSU - PPE TU 1ST FRIENDSHIP DEBATE 2023
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการวิจัย [ยุทธ์ ฯ 2] 1
เรื่อง
  • การพัฒนาความรู้และงานวิจัยของนักศึกษาปริญญาตรีสู่การตีพิมพ์ในวารสารที่อยู่ใน TCI ฐาน 1 และ 2
การจัดการความรู้ ด้าน Smart Organization [ยุทธ์ ฯ 3] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Internationalization [ยุทธ์ ฯ 4] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Reputation [ยุทธ์ ฯ 5]
(รวมด้านบริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม)
0
การจัดการความรู้ ด้านอื่น ๆ 0

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-การเขียนอธิบายถึงความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ไม่สอดคล้องกับตัวเลข ติดลบในตาราง

[ตัวบ่งชี้ 5.2] ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 5

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. -

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ควรมีการระบุกิจกรรมหรือโครงการที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของสถาบันการทูตฯ ให้ครบทุกยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่คณะรับผิดชอบ
  2. ควรมีการจัดสรรงบประมาณโครงการพัฒนาด้านการพัฒนาบุคลากรสอดคล้องกับแผนการพัฒนาอาจารย์ และตามแผนพัฒนารายบุคคล (IDP) และโครงการพัฒนาการเรียนการสอน
  3. ควรทบทวนการเขียนรายงานการประชุมให้ครบถ้วน โดยเพิ่มเติมวาระรับรองรายงานการประชุม เนื่องจากเป็นเอกสารสำคัญทางกฎหมาย

สรุปผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลดำเนินการ
กรรมการ
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม 3.62
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 2.38
ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 2.01
ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร 5.00
ผลการประเมินเฉลี่ยรวม [13 ตัวบ่งชี้] 4.46

ตารางผลการวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566

องค์ประกอบคุณภาพ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
1 6 4.13 5.00 3.62 4.33 การดำเนินงานระดับดี
2 3 2.01 5.00 5.00 4.00 การดำเนินงานระดับดี
3 1 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
4 1 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
5 2 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
ผลการประเมิน 3.60 5.00 4.31 4.46 การดำเนินงานระดับดี
ระดับคุณภาพ การดำเนินงานระดับดี การดำเนินงานระดับดีมาก การดำเนินงานระดับดี