รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566

คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม

วันที่ประเมิน: 10 ตุลาคม 2567, 09:30น.

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

[ตัวบ่งชี้ 1.1] ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน คะแนน
[1] จำนวนหลักสูตรทั้งหมดที่คณะรับผิดชอบ
[ไม่รวมหลักสูตรที่ใช้ระบบประกันคุณภาพอื่นๆ ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2563 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2565)]
3 3.73
[2] ผลรวมของค่าคะแนนประเมินของทุกหลักสูตร 11.18
[3] ผลลัพธ์ที่ได้ [2] / [1] 3.73

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม มีหลักสูตรในปี การศึกษา 2566 เปิดสอนท้งหมด จำนวน  3 หลักสูตร และได้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรทุกหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ การศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2563 [ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2565] โดยมีผลการประเมินรายหลักสูตรสรุปได้ คะแนนเฉลี่ย 3.73

[ตัวบ่งชี้ 1.2] อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 40 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 8.50 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 6
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 70.59
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 40 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม มีจำนวนอาจารย์ประจำ ทั้งหมด [นับรวมที่ลาศึกษาต่อ] จำนวน 8.50 คน มีอาจารย์ประจำาที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก จำนวน 6 คน เมื่อคำนวณตามสูตร พบว่า ค่าร้อยละของอาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกเท่ากับ ร้อยละ 70.59 คะแนนที่ได้เท่ากับ 5 คะแนน

[ตัวบ่งชี้ 1.3] อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 60 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 8.50 4.90
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 5
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 58.82
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 60 4.90

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม มีจำนวนอาจารย์ประจำทั้งหมด [นับรวมที่ลาศึกษาต่อ] จำนวน 8.50 คน มีจำนวนอาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ จำนวน 5 คน เมื่อคำนวณตามสูตร พบว่า ค่าร้อยละของอาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการเท่ากับ ร้อยละ 58.82 คะแนนที่ได้เท่ากับ 4.90 คะแนน

[ตัวบ่งชี้ 1.4] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] สามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า [ค่า FTES] รวมทุกหลักสูตร 534.37 0.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] 8.50
[3] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำที่เป็นจริง [1] / [2] 62.87
[4] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำแยกตามกลุ่มสาขาวิชา 25.00
[5] ร้อยละที่ได้ ([3] – [4] / [4]) X 100 151.48
[6] ผลลัพธ์ที่ได้ 0.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ปีการศึกษา 2566 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า [FTES] รวมทุกหลักสูตร เท่ากับ 534.37 และจำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมอาจารย์ที่ลาศึกษาต่อ] 8.50 คน ดังนั้น จำนวนนักศึกษาเต็มเวลา เทียบเท่าต่ออาจารย์ประจำ เท่ากับ 62.87 : 1 คำนวณหาค่าความแตกต่างจากเกณฑ์มาตรฐาน ได้เท่ากับ = 151.47% ซึ๋งค่ามากกว่ามาตรฐาน ดังนั้น ได้ค่าคะแนนเท่ากับ 0 คะแนน

[ตัวบ่งชี้ 1.5] การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

คณะอาชญาวิทยา มีการดำเนินงานทั้ง 6 ข้อ 

[ตัวบ่งชี้ 1.6] กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00
21
21
100.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ทางคณะอาชญาวิทยา มีการดำเนินงานตามเกณฑ์การประเมินทั้ง 6 ข้อ โดยเห็นถึงประโยชน์ในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาและเพิ่มศักยภาพให้กับนักศึกษาโดยการจัดกิจกรรมต่าง ๆเพื่อส่งเสริมบัณฑิตตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิทั้ง 5 ด้าน รวมถึงการเข้าร่วมการแข่งขันในเวทีต่าง ๆ อีกทั้งยังมีการประเมินผลโครงการและนำผลประเมินมาใช้ในการปรับปรุงการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษาด้วย

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 1

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. ผู้บริหารและคณาจารยข์องคณะฯ เป็นผู้มีความรู้ความสามารถทั้งด้านคุณวุฒิการศึกษา และการดำรงตำแหน่งทางวิชาการ รวมถึง การมีเครือข่ายที่เข้มแข็งที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนานักศึกษาทั้งด้านทักษะ และศักยภาพ สำหรับบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ที่สอดคล้องกับคณะวิชาให้กับนักศึกษาได้อย่างดี

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ทางคณะฯ ควรส่งเสริมให้อาจารย์ทุกท่านทำผลงานทางวิชาการ เพื่อยื่นขอดำรงตำแหน่งทางวิชาการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
  2. ทางคณะฯ ควรมีการบริหารจัดการจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่ออาจารย์ประจำ ให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

[ตัวบ่งชี้ 2.1] ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ทางคณะฯ มีผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ทั้ง 6 ข้อ และในปี การศึกษา 2566 คณาจารย์ได้รับอนุมัติทุนสนับสนุนการวิจัย จำนวน 1 เรื่อง ได้แก่ อาชญากรรมสิ่งแวดล่อม : การศึกษาแนวทางการป้องกันการลักลอบขาเข้าขยะพลาสติกในประเทศไทย โดยมี ดร.พรรษพร สุวรรณากาศ เป็นผู้วิจัยหลัก

[ตัวบ่งชี้ 2.2] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายใน 133,500.00 3.14
[2] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายนอก 0.00
[3] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ทั้งภายในและภายนอก [1] + [2] 133,500.00
[4] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมอาจารย์ที่ลาศึกษาต่อ] 8.50
[5] จำนวนนักวิจัยประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมนักวิจัยที่ลาศึกษาต่อ] 0.00
[6] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบันต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัย [3] / ([4] +[5]) 15,705.88
[7] ผลลัพธ์ที่ได้ [6] X 5 / 25000 3.14

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

เมื่อคำนวณจำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกต่อจำนวนอาจารย์ประจำ ท้ั้งสิ้น 8.50 คน ได้รับเงินสนับสนุนทุนวิจัย จำนวน 133,500 บาท  เงินสนับสนุนทุนวิจัยเฉลี่ยรายบุคคลเท่ากับ 15,705.89 บาท และแปลงค่าจำนวนเงินต่อจำนวนอาจารย์ประจำตามกลุ่มสาขาวิชาฯ ได้คะแนนเท่ากับ 3.14 คะแนน

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = 60,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = 50,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = 25,000 บาทขึ้นไปต่อคน

[ตัวบ่งชี้ 2.3] ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย

หมายเหตุ เป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในรอบปีที่รับการประเมินเท่านั้น [ช่องไหนไม่มีผลงานให้ใส่ 0 ไม่ปล่อยว่าง]
จำนวนผลงานทางวิชาการตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 2 0 5 5 1
จำนวนผลงานสร้างสรรค์ตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 0 0 0
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] ผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ 8.40 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 8.50
[3] จำนวนนักวิจัยประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 0.00
[4] ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ [1] X 100 / [2] + [3] 98.82
[5] ผลลัพธ์ที่ได้ [4] X 5 / 20 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

คณาจารย์คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม จำนวน 7 ท่าน มีผลงานวิชาการ จำนวน 13 บทความ ดังนี้ ผลงานวิชาการตีพิมพ์ฐาน TCI กลุ่มที่ 1 จำนวน 5 บทความ , TCI กลุ่มที่ 2 จำนวน 5 บทความ ,SCOPUS จำนวน 1 บทความ และการประชุมระดับชาติ 2 บทความ

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 20 ขึ้นไป

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 2

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. คณาจารย์คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม จำนวน 7 ท่าน มีผลงานวิชาการ จำนวน 13 บทความ ดังนี้ ผลงานวิชาการตีพิมพ์ฐาน TCI กลุ่มที่ 1 จำนวน 5 บทความ , TCI กลุ่มที่ 2 จำนวน 5 บทความ, SCOPUS Q2 จำนวน 2 บทความ และการประชุมระดับชาติ 2 บทความ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์ในคณะขอรับทุนสนับสนุนการวิจัยจากหน่วยงานภายในและภายนอกให้มากขึ้น

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

[ตัวบ่งชี้ 3.1] การบริการวิชาการแก่สังคม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ข้อ 4
- คณะมีการรายงานผลประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการที่จัดทำขึ้น ให้กับคณะกรรมการประจำวิทยาลัยพิจารณา
แต่คณะควรนำมาสรุปผลการประเมินความสำเร็จของการบริการวิชาการตามตัวชี้วัดความสำเร็จลงในรายงาน SAR ของคณะด้วย

ข้อ 5
- คณะได้นำผลประเมินความสำเร็จจากข้อ 4 มานำเสนอผ่านการประชุมของคณะกรรมการ โดยอ้างอิงเพิ่มเติมเป็นรายงานการประชุมและ PDCA ของโครงการที่เกี่ยวข้องสอดคล้องตามข้อ 4 เพื่อนำมาปรับปรุงแผน ซึ่งพบหลักฐาน PDCA โครงการโคนันรุ่นจิ๋ว6
แต่ไม่ได้นำมารายงานใน SAR ของคณะ

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 3

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. มีกระบวนการในการวางแผนดำเนินการและปรับปรุงการดำเนินการโครงการบริการวิชาการแบบมีรายได้ที่โดดเด่นเป็นที่ยอมรับของสายวิชาชีพ สามารถดำเนินการและมีผู้สนใจเข้าร่วมอย่างต่อเนื่องเป็นจำนวนมาก (หลักสูตรการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.2562 (กพยช.รับรอง))

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. โครงการบริการวิชาการแบบให้เปล่าควรมีการติดตามผู้เข้าร่วมโครงการหลังจากเข้าร่วมโครงการแล้วนำผลประโยชน์ที่ได้รับไปดำเนินการต่ออย่างไร เพื่อให้เห็นผลลัพธ์ที่มีหลักฐานปรากฏชัดเจน

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

[ตัวบ่งชี้ 4.1] ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 - 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ข้อ 3
- พบการกำกับติดตามในรายงานการประชุม
แต่คณะควรนำมาสรุปผลการกำกับติดตามลงในรายงาน SAR ของคณะ

ในภาพรวม ควรนำสิ่งที่แก้ไขในรายการหลักฐานมารายงานเพิ่มเติมในเล่มรายงาน SAR ของคณะด้วย 

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 4

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. มีการบูรณาการด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมสอดแทรกในการสอนของรายวิชาต่างๆที่เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดี

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. จัดกิจกรรมส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมในภาพรวมของทั้งคณะ โดยมีส่วนร่วมของบุคลากรและนักศึกษาในทุกระดับ เช่น กิจกรรมตามประเพณีของไทย ซึ่งนอกจากจะส่งเสริมด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมโดยตรงแล้ว ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์และกิจกรรมร่วมกันของนักศึกษาด้วย
  2. ส่งเสริมให้มีการต่อยอดสู่การประกวด หรือโครงการต้นแบบ ให้กับสังคม ชุมชน ประเทศชาติ เพื่อสร้างมาตรฐานด้านศิลปะและวัฒนธรรมให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

[ตัวบ่งชี้ 5.1] การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00
การจัดการความรู้ในแต่ละด้าน จำนวน
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการผลิตบัณฑิต [ยุทธ์ ฯ 1] 1
เรื่อง
  • การเรียนรู้โดยนักศึกษามีส่วนร่วมผ่านการใช้ทักษะต่างๆ (Active Learning) ในรายวิชาทฤษฎีอาชญาวิทยา
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการวิจัย [ยุทธ์ ฯ 2] 1
เรื่อง
  • การออกแบบนวัตกรรมสําหรับกระบวนการทางนิติวิทยาศาสตร์
การจัดการความรู้ ด้าน Smart Organization [ยุทธ์ ฯ 3] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Internationalization [ยุทธ์ ฯ 4] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Reputation [ยุทธ์ ฯ 5]
(รวมด้านบริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม)
0
การจัดการความรู้ ด้านอื่น ๆ 0

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

เกณฑ์ข้อ 1. มีการรายงานและหลักฐานการวิเคราะห์ SWOT มาเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาคณะตามยุทธศาสตร์ทั้งห้าตามแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย แต่ยังไม่มีแผนกลยุทธ์ทางการเงิน  ส่วนในปีการศึกษา 2567 ขอให้ปรับ key result และเกณฑ์ตามแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2567-2569

เกณฑ์ข้อ 2.ดำเนินการวิเคราะห์ความคุ้มค่าการบริหารหลักสูตรครบถ้วนทุกหลักสูตรมีความคุ้มค่า มีการรายงานประสิทธิภาพและประสิทธิผลจากการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการงานประจำปีการศึกษา 2566 พบว่า จากงบประมาณที่ได้รับการอนุมัติจากมหาวิทยาลัย และกำลังทรัพยากรบุคคลที่มีคณะสามารถดำเนินกิจกรรม และโครงการต่างๆ ได้สำเร็จบรรลุเป้าหมาย คิดเป็นอัตราร้อยละ  100  ซึ่งคณะได้รายงานผลการดำเนินงานไว้แล้วในระบบการรายงานความก้าวหน้าการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการ  คณะสามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพมีอัตราร้อยละการได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษาภายใน 1 ปี ในปีการศึกษา 2566  เท่ากับร้อยละ 91.95 และมีผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตตามผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรอยู่ในระดับดีมาก คณาจารย์มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารทั้งในฐานสากลและฐาน TCI  รวม 14  ฉบับ  คิดเป็นอัตราร้อยละ 110.59  ของจำนวนอาจารย์ประจำ และมีทุนวิจัยภายในและภายนอกรวมต่ออาจารย์ประจำ 15,705.89 บาท

เกณฑ์ข้อ 3.มีการรายงานความเสี่ยงครอบคลุมทุกด้าน 

เกณฑ์ข้อ 4.มีการรายงานแนวทางการดำเนินงานภายใต้หลักธรรมาภิบาลต่างๆ ครบถ้วน
แต่ขาดการรายงานผลการประเมินการบริหารงานของผู้บริหารคณะเพื่อสะท้อนถึงผลการดำเนินงานเป็นไปตามหลักธรรมมาภิบาลจริง

เกณฑ์ข้อ 5. 
  • ด้านการผลิตบัณฑิต หัวข้อ การเรียนรู้โดยนักศึกษามีส่วนร่วมผ่านการใช้ทักษะต่างๆ (Active Learning) ในรายวิชาทฤษฎีอาชญาวิทยา ซึ่งได้รับรางวัลชมเชยในการประกาศรางวัลกิจกรรมการจัดการความรู้ (KM) ประจำปีการศึกษา  2566 ระดับมหาวิทยาลัย
  • ด้านการวิจัย หัวข้อ ตำรวจมหาวิทยาลัยรังสิตเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมระดับชุมชน และการจำลองสถานการณ์กราดยิงในรายวิชายุทธวิธีตำรวจ แต่ในหลักฐานและในระบบ RKMS คือเรื่อง "การออกแบบนวัตกรรมสําหรับกระบวนการทางนิติวิทยาศาสตร์"                  
เกณฑ์ข้อ 6.การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารมีการรายงานประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารงบประมาณโครงการได้ 100% มีการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน

เกณฑ์ข้อ 7.มีดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในครบถ้วนตามระบบกลไกที่เหมาะสมทั้งการควบคุม ตรวจสอบ และประเมินคุณภาพ

[ตัวบ่งชี้ 5.2] ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ภาพรวม มีการแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพทั้งในระดับวิทยาลัย และภาควิชา มีการประชุมเตรียมความพร้อมเป็นระยะระหว่างหัวหน้าหลักสูตรร่วมกับคณบดีและรองคณบดี และการประชุมรายงานความก้าวหน้าเป็นวาระประกันคุณภาพในการประชุมกรรมการบริหารวิทยาลัย มีการประเมินคุณภาพทุกหลักสูตรตามกำหนดเวลาที่ผ่านองค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน และรายงานผลการประเมินต่อกรรมการบริหาร มีค่าเฉลี่ยผลการประเมินในระดับดีที่ 3.73 จาก 3 หลักสูตร

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 5

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. คณาจารย์มีศักยภาพสูง มีชื่อเสียงในระดับชาติ และนานาชาติ สามารถเปิดสอนหลักสูตรทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอก
  2. คณะมีอัตราคณาจารย์ไม่ได้สัดส่วนกับนักศึกษา แต่ยังสามารถได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยประจำทุกปี ควรส่งเสริมให้คณาจารย์มีการตีพิมพ์วารสารระดับนานาชาติเพิ่มขึ้น
  3. มีการจัดการความรู้จากแนวปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จด้านการผลิตบัณฑิต และได้รับรางวัล good practice จากมหาวิทยาลัย

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ควรมีการเตรียมปรับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคณะตามแผนยุทะศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต ปี พ.ศ.2567-2569 และอาจให้มีการจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงินเพื่อใช้ประกอบการบริหารทางการเงินของคณะ
  2. การรายงานการดำเนินงานภายใต้หลักธรรมาภิบาลต่างๆ ควรมีการประเมินผลการบริหารงานของผู้บริหารคณะโดยคณาจารย์และบุคลากรทั้งคณะ

สรุปผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลดำเนินการ
กรรมการ
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม 3.73
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 4.90
ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ 0.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 3.14
ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร 5.00
ผลการประเมินเฉลี่ยรวม [13 ตัวบ่งชี้] 4.37

ตารางผลการวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566

องค์ประกอบคุณภาพ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
1 6 3.30 5.00 3.73 3.94 การดำเนินงานระดับดี
2 3 3.14 5.00 5.00 4.38 การดำเนินงานระดับดี
3 1 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
4 1 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
5 2 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
ผลการประเมิน 3.26 5.00 4.37 4.37 การดำเนินงานระดับดี
ระดับคุณภาพ การดำเนินงานระดับพอใช้ การดำเนินงานระดับดีมาก การดำเนินงานระดับดี