รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565

คณะนิติศาสตร์

วันที่ประเมิน: 16 ตุลาคม 2566, 09:30น.

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

[ตัวบ่งชี้ 1.1] ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน คะแนน
[1] จำนวนหลักสูตรทั้งหมดที่คณะรับผิดชอบ
[ไม่รวมหลักสูตรที่ใช้ระบบประกันคุณภาพอื่นๆ ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2563 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2565)]
4 3.74
[2] ผลรวมของค่าคะแนนประเมินของทุกหลักสูตร 14.95
[3] ผลลัพธ์ที่ได้ [2] / [1] 3.74

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 1.2] อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 40 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 22.00 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 11
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 50.00
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 40 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 1.3] อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 60 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 22.00 1.89
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 5
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 22.73
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 60 1.89

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 1.4] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] สามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า [ค่า FTES] รวมทุกหลักสูตร 268.44 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] 22.00
[3] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำที่เป็นจริง [1] / [2] 12.20
[4] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำแยกตามกลุ่มสาขาวิชา 50.00
[5] ร้อยละที่ได้ ([3] – [4] / [4]) X 100 -75.60
[6] ผลลัพธ์ที่ได้ 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

สัดส่วนนักศึกษาตามเกณฑ์ 1: 50 แต่คณาจารย์ของคณะดูแลนักศึกษาได้  1: 12.20 คณะควรหาช่องทางให้ได้จำนวนนักศึกษาให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 

[ตัวบ่งชี้ 1.5] การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
3.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

1) ให้เพิ่มเติมผลการดำเนินงานในหัวข้อที่ 4 และ 5 โดยเฉพาะการประเมินกิจกรรมในข้อ 1 - 3 ด้วยคะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 3.51 คะแนน เพื่อนำผลคะแนนไปปรับปรุงกิจกรรม
2) ในข้อ 5 ขอให้เพิ่มเติมการนำผลการประเมินที่ดำเนินการจากข้อข้างต้นมารายงาน


 

[ตัวบ่งชี้ 1.6] กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
2.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

1) การนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำในข้อ 1 ควรให้สอดคล้องกับสัมพันธ์กับ ข้อมูลที่นำเสนอในข้อ 2 
2) ข้อ 3 เพิ่มเติมข้อมูลที่เป็นกิจกรรมของคณะเพิ่ม และ ผลการประเมินที่แสดงว่า นศ.มีความรู้ ความเข้าใจการประกันคุณภาพ และ การนำมาใช้ประโยชน์ได้
3) ข้อ 6 อาจเพิ่มเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์การพัฒนา

ไม่พบเอกสารหลักฐานในระบบ DBS 

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 1

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. นิติศาสตร์เป็นหลักสูตรวิชาชีพเฉพาะ ที่มี นศ.ที่หลากหลาย เนื่องจากมีการเรียนผ่านออนไลน์ ดังนั้น การจัดกิจกรรมเพื่อรวมนักศึกษา ต้องใช้การมีส่วนร่วมจากทั้งอาจารย์และนักศึกษา อย่างเข้มแข็ง แต่อย่างไรก็ตาม พบว่า คณะนิติศาสตร์มีการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ เพื่อเน้นคุณภาพนักศึกษาให้ได้รับการยอมรับอย่างต่อเนื่อง

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. จำนวนนักศึกษาในระดับปริญญาตรีที่มีจำนวนมาก ทำให้การจัดกิจกรรมและการนำนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมจำเป็นต้องกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมมากขึ้น
  2. คณะควรวิเคราะห์ถึงสาเหตุ และกำหนดค่า FTES ให้ได้ตามสัดส่วนที่กำหนด 1: 50
  3. คณะควรมีมาตรการส่งเสริมให้คณาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้น
  4. ให้แสดงเอกสารหลักฐานตามที่ได้รายงานใน SAR ให้ครบถ้วนในระบบฐานเอกสารกลาง DBS

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

[ตัวบ่งชี้ 2.1] ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

คณะนิติศาสตร์มีการดำเนินการครบทั้ง 6 ข้อ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. คณะนิติศาสตร์มีศูนย์วิจัยและพัฒนากฎหมายของคณะฯ เป็นศูนย์กลางในการบริหารงานวิจัยร่วมกับศูนย์ข้อมูลสารสนเทศของคณะฯ ร่วมกับระบบสารสนเทศของสถาบันวิจัย
2. คณะนิติศาสตร์การสนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ โดยมีศูนย์วิจัยและพัฒนากฎหมาย เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการให้คำปรึกษาคอยสนับสนุนเป็นพี่เลี้ยงให้กับอาจารย์ใหม่และอาจารย์ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการทำวิจัย มีห้องสมุดของคณะที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน *ควรระบุรายละเอียดเพิ่มเติม ข้อ 2.4 กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เรื่องการจัดประชุมวิชาการ คณะฯมีการเข้าร่วมโดยมีการจัดสรรค์ visiting professor/keynote speaker ทางด้านกฎหมาย/นิติศาสตร์ หรือไม่อย่างไร
3. คณะนิติศาสตร์สนับสนุนให้อาจารย์ขอทุนอุดหนุนการวิจัย ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนภายใน 119,500 บาท และแหล่งทุนภายนอก  880,000  บาท รวมจำนวนทั้งสิ้น 999,500 บาท 
4. คณะนิติศาสตร์ได้อ้างอิงข้อมูลจากสถาบันวิจัย สถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยได้มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อให้อาจารย์และบุคลากรที่ต้องการนำผลงานวิจัยไปเผยแพร่ในการประชุมระดับชาติหรือนานาชาติ ควรระบุผลการดำเนินงานให้ชัดเจนเป็นรูปธรรม เช่น จำนวนผลงาน
5. คณะนิติศาสตร์มีศูนย์วิจัยทางกฎหมาย เพื่อให้คำปรึกษากับคณาจารย์ที่ต้องการทำงานวิจัยหรือขอทุนวิจัยเพื่อพัฒนาสมถรรถนะของอาจารย์ 
6. คณะนิติศาสตร์มีระบบการให้คำปรึกษาทางกฎหมายกับบุคลากรที่จะนำผลงานไปจดทะเบียนกับกรมทรัพย์สินทางปัญญากระทรวงพาณิชย์


****ขอให้ปรับปรุงการรายงานตามเกณฑ์ข้อ 4-6 โดยเพิ่มเอกสารหลักฐานที่สอดคล้องกับการดำเนินงานในข้อ 4-6 ในนะบบ DBS *****

[ตัวบ่งชี้ 2.2] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายใน 69,500.00 5.00
[2] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายนอก 880,000.00
[3] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ทั้งภายในและภายนอก [1] + [2] 949,500.00
[4] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมอาจารย์ที่ลาศึกษาต่อ] 22.00
[5] จำนวนนักวิจัยประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมนักวิจัยที่ลาศึกษาต่อ] 0.00
[6] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบันต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัย [3] / ([4] +[5]) 43,159.09
[7] ผลลัพธ์ที่ได้ [6] X 5 / 25000 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

1. ทุนวิจัยจากภายใน (อ.สุธีราภรณ์ แสงจันทร์ศรี)  จำนวน 69,500 บาท 
2. ทุนวิจัยภายนอก-วช. (ผศ.ดร.ธานี วรภัทร์) จำนวน 880,000 บาท
รวมทั้งสิ้น 949,500 บาท
จำนวนอาจารย์ 22 คน = 43,159.09 บาทต่อคน


 

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = 60,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = 50,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = 25,000 บาทขึ้นไปต่อคน

[ตัวบ่งชี้ 2.3] ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย

หมายเหตุ เป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในรอบปีที่รับการประเมินเท่านั้น [ช่องไหนไม่มีผลงานให้ใส่ 0 ไม่ปล่อยว่าง]
จำนวนผลงานทางวิชาการตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 4 8 1 1
จำนวนผลงานสร้างสรรค์ตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 0 0 0
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] ผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ 8.20 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 22.00
[3] จำนวนนักวิจัยประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 0.00
[4] ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ [1] X 100 / [2] + [3] 37.27
[5] ผลลัพธ์ที่ได้ [4] X 5 / 20 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ปีการศึกษา 2565  คณะนิติศาสตร์ มีอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด จำนวน 22 คน มีนักวิจัย มีผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการ เท่ากับ 8.20 คิดเป็นร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการ ที่ร้อยละ 37.27 เมื่อแปลงค่าร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำตามกลุ่มสาขาวิชาฯ  ได้คะแนนเท่ากับ 5 คะแนน

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 20 ขึ้นไป

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 2

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. -

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ควรส่งเสริ ริมให้อาจารย์ทุกท่านตีพิมพ์บทความวิจัยเผยแพร่ในวารสารระดับชาติและนานาชาติเพิ่มมากขึ้น
  2. ควรส่งเสริ ริมให้อาจารย์ขอทุนสนับสนุนการวิจัยทั้งจากหน่วยงานภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัยรังสิตเพิ่มมากขึ้น
  3. ให้แสดงเอกสารหลักฐานตามที่ได้รายงานใน SAR ให้ครบถ้วนในระบบฐานเอกสารกลาง DBS

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

[ตัวบ่งชี้ 3.1] การบริการวิชาการแก่สังคม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
1.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ข้อ 5 ขอให้เพิ่มเติมข้อมูลการนำผลการประเมินมาปรับปรุงให้ชัดเจนขึ้น โดยอาจกำหนดวัตถุประสงค์ในการนำมาปรับปรุงเพิ่มเติม

ไม่พบเอกสารหลักฐานในระบบ DBS 

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 3

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. นิติศาสตร์ มีผู้นำที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล และมีเครือข่ายที่เข้มแข็ง สามารถดำเนินกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคม บริการวิชาการที่เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงได้อย่างต่อเนื่อง

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. การนำเสนอในประเด็นต่างๆ ควรกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ในการดำเนินการ เพื่อจะได้รายงานข้อมูลตามตัวบ่งชี้ให้สอดคล้องกับเป้าหมายในการดำเนินกิจกรรมของเราได้ง่ายขึ้น
  2. ให้แสดงเอกสารหลักฐานตามที่ได้รายงานใน SAR ให้ครบถ้วนในระบบฐานเอกสารกลาง DBS

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

[ตัวบ่งชี้ 4.1] ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 - 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
3.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

1. คณะนิติศาสตร์มีการกำหนดผู้รับผิดชอบในการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมชัดเจน
2. การจัดทำแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ต้องระบุตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนให้ชัดเจนเป็นรูปธรรม (ยังไม่มีข้อมูล)
3. การกำกับติดตาม ยังไม่มีการระบุข้อมูล ปี 2565 
4. ไม่มีข้อมูล คณะฯควรระบุการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ที่วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
5. ไม่มีข้อมูล คณะฯ ต้องระบุการนำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
6. คณะนิติศาสตร์มีการเผยแพร่กิจกรรมต่อสาธารณชนผ่านเฟสบุ๊คของคณะ
7. N/A

*****หมายเหตุ: ข้อมูลองค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมยังขาดข้อมูลสำคัญ คณะควรเพิ่มเติมให้ครบถ้วน


 

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 4

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. ไม่มี

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ควรวางแผนและจัดทำโครงการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมให้สามารถบูรณาการเข้ากับพันธกิจของคณะฯ
  2. เพิ่มการประเมินผลการดำเนินงานโครงการ โดยเน้นการประเมินผลสำเร็จของโครงการที่เป็นผลลัพธ์ที่เชื่อมโยงกับคุณลักษณะบัณฑิตและภารกิจของคณะ
  3. ให้แสดงเอกสารหลักฐานตามที่ได้รายงานใน SAR ให้ครบถ้วนในระบบฐานเอกสารกลาง DBS

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

[ตัวบ่งชี้ 5.1] การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
4.00
การจัดการความรู้ในแต่ละด้าน จำนวน
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการผลิตบัณฑิต [ยุทธ์ ฯ 1] 0
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการวิจัย [ยุทธ์ ฯ 2] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Smart Organization [ยุทธ์ ฯ 3] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Internationalization [ยุทธ์ ฯ 4] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Reputation [ยุทธ์ ฯ 5]
(รวมด้านบริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม)
0
การจัดการความรู้ ด้านอื่น ๆ 0

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

1.ไม่พบการรายงานการจัดการความรู้
2.ไม่พบแผนการบริหารและการพัฒนาบุคลากรเป็นรายบุคคล
3.ในการบริหารงานตามหลักธรรมมาภิบาลไม่พบการรายงานและหลักฐานการประเมินผู้บริหาร

***** ให้แสดงเอกสารหลักฐานตามที่ได้รายงานใน SAR ให้ครบถ้วนในระบบฐานเอกสารกลาง DBS 

[ตัวบ่งชี้ 5.2] ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
4.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ภาพรวม มีการแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพในระดับคณะ แต่ไม่พบรายงานประชุมกรรมการประกันคุณภาพ  มีการประเมินคุณภาพทุกหลักสูตรตามกำหนดเวลาที่ผ่านองค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน และรายงานผลการประเมินต่อกรรมการบริหาร มีค่าเฉลี่ยผลการประเมินในระดับดีที่ 3.74 จาก 4 หลักสูตร และพบการแสดงหลักฐาน improvement plan ของทั้งระดับหลักสูตร 

 

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 5

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. คณะมีคณาจารย์ที่มีศักยภาพสูง มีจำนวนอาจารย์ปะจำที่เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอนและการดูแลนักศึกษา มีค่าอัตราส่วนจำนวน FTES ต่อจำนวนอาจารย์ประจำอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก
  2. คณะมีการบริหารความเสี่ยงให้คณาจารย์จัดทำแผนพัฒนาตนเองในด้านการดำเนินการจัดทำงานวิจัยหรือการเผยแพร่งานวิชาการเป็นรายบุคคลโดยให้ระบุระยะเวลาในการดำเนินงานตามเป้าหมายอาจารย์ในคณะได้ขอทุนวิจัยและทำวิจัยเพิ่มขึ้น จนมีค่าทุนวิจัยและค่าร้อยละผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำเหนือกว่าเกณฑ์
  3. คณะมีศูนย์ช่วยเหลือประชาชนทางสังคมและกฎหมาย (คลินิกกฎหมาย) ศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศทางกฎหมาย (ห้องสมุดกฎหมาย) และสถาบันประเทศไทย ต่อต้านการทุจริต แห่งมหาวิทยาลัยรังสิต ในการให้บริการวิชาการทั้งสู่สาธารณะ และแบบเฉพาะ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. คณะควรตรวจสอบการกำกับ ติดตามการพัฒนาตนเองของคณาจารย์ และ ความคุ้มค่าในการดำเนินงานของคณะฯ ตามหลักความประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผล แล้วนำผลวิเคราะห์มาประกอบการวางแผนกำหนดกลยุทธ์
  2. คณะควรให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นกับการจัดการความรู้เพื่อการทำให้เกิดแนวปฏิบติที่ดีและการนำไปใช้
  3. คณะควรรายงานผลการประเมินการบริหารของผู้บริหารคณะโดยคณาจารย์ประจำตามหลักธรรมาภิบาล
  4. คณะควรให้ความสำคัญกับการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อนำไปสู่การวางแผนและพัฒนาคณะต่อไป
  5. ให้แสดงเอกสารหลักฐานตามที่ได้รายงานใน SAR ให้ครบถ้วนในระบบฐานเอกสารกลาง DBS

สรุปผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลดำเนินการ
กรรมการ
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม 3.74
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 1.89
ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี 3.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม 1.00
ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 3.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ 4.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร 4.00
ผลการประเมินเฉลี่ยรวม [13 ตัวบ่งชี้] 3.66

ตารางผลการวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบคุณภาพ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
1 6 3.96 2.50 3.74 3.44 การดำเนินงานระดับพอใช้
2 3 5.00 5.00 5.00 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
3 1 - 1.00 - 1.00 การดำเนินงานต้องปรับปรุงเร่งด่วน
4 1 - 3.00 - 3.00 การดำเนินงานระดับพอใช้
5 2 - 4.00 - 4.00 การดำเนินงานระดับดี
ผลการประเมิน 4.22 3.14 4.37 3.66 การดำเนินงานระดับดี
ระดับคุณภาพ การดำเนินงานระดับดี การดำเนินงานระดับพอใช้ การดำเนินงานระดับดี